อเมริกาทุ่ม ๒ หมื่นล้านให้การศึกษาทางเลือกนำปฏิรูปสังคมและทั้งระบบการศึกษาเพื่อเป็นผู้นำของศตวรรษ ๒๑


กระทรวงศึกษาและคณะทำงานเชิงนโยบายการศึกษาของอเมริกา  ได้รับแรงหนุนจากประธานาธิบดีบาราค โอบามา ประกาศให้ทุน ๕๐๐ ล้านดอลลาร์ (ประมาณกว่า ๒ หมื่นล้านบาท... เรื่องเดียว แต่ประมาณการวงเงินที่จะทุ่มงบประมาณให้มากกว่า ๔๐ เท่าของงบประมาณสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย) ในการระดมพลังสังคมในทุกมลรัฐเพื่อปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ของอเมริกาอย่างบูรณาการ มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว โดยเน้นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็กก่อนปฐมวัย (Early Learning) นับแต่แรกเกิดถึงเกรด ๓

  Changes : วิสัยทัศน์การศึกษาเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง 

การดำเนินการและการเคลื่อนไหวสังคมดังกล่าวนี้ มีความคาดหวังที่จะบรรลุผลให้ได้ภายในปี ๒๐๒๐ โดยเชื่อว่าจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับดีขึ้น, ลดปัญหาสังคม, เข้าถึงการศึกษาทุกกลุ่มพิเศษและสร้างความยุติธรรมทางการศึกษา ขยายตำแหน่งงาน, จัดการศึกษาสร้างผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยได้สูงที่สุดของโลก, และเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ โดยจะเริ่มดำเนินการอย่างเต็มที่ในปีหน้า ๒๐๑๒ ที่จะถึงนี้

  มาตรการสำคัญ 

พัฒนาเชิงคุณภาพการศึกษาทางเลือกสำหรับเตรียมเด็กเล็กก่อนปฐมวัยอย่างบูรณาการ ทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย สังคม อารมณ์และความรู้สึก และความพร้อมทางด้านต่างๆเพื่อการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ กระบวนการที่สำคัญ คือ

  • มุ่งยกระดับคุณภาพการจัดโปรแกรมการศึกษาสำหรับเตรียมความพร้อมวัยแรกเริ่มเรียนรู้ของเด็กเล็กก่อนปฐมวัยให้มากยิ่งๆขึ้น
  • ขยายโอกาสการเข้าถึงโปแกรมการศึกษาสำหรับวัยแรกเริ่มเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จจากการเรียนในโรงเรียน
  • พัฒนาทรัพยากร กิจกรรมสังคมวัฒนธรรม โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน ก่อนและหลังเวลาเรียน ของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุในท้องถิ่นของทุกมลรัฐ ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน รวมไปจนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มความสนใจตามความศรัทธาและศาสนาที่แตกต่างกัน และกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษจากสังคม เช่น สภาพแวดล้อมเพื่อการศึกษาเรียนรู้ในห้างสรรพสินค้า พิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ ย่านบันเทิง ถนนศิลปวัฒนธรรมและธุรกิจบันเทิง แหล่งใช้ชีวิตนอกบ้านและท่องเที่ยวกลางแจ้ง สวนสัตว์ อะควาเรี่ยม สวนสาธารณะ ห้องสมุด สื่อ แหล่งหนังสือ แหล่งส่งเสริมการพบปะและแสดงออกเพื่อความสร้างสรรค์
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินงานที่เชื่อมโยง บูรณาการ กับการดูแลสุขภาพมารดาและเด็ก การพัฒนาด้านโภชนาการ การพัฒนามิติสังคม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และมิติอื่นๆให้มุ่งเป้าสู่การพัฒนาพลเมืองเด็กเล็กก่อนปฐมวัย

  จัดโปรแกรมการศึกษาเพื่อเด็กเล็กอย่างหลากหลาย 

  • กระตุ้นส่งเสริมให้รัฐต่างๆและหน่วยบริหารท้องถิ่นจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณมุ่งเป้าเพื่อการศึกษาเด็กเล็กก่อนปฐมวัย
  • ให้การส่งเสริมมลรัฐต่างๆและองค์กรภาคีที่ดำเนินงานการศึกษาท้องถิ่นกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆที่ได้จัดการศึกษาเพื่อเด็กเล็กก่อนปฐมวัยของตนเองภายในแต่ละมลรัฐและชุมชน
  • ดำเนินการด้านการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาเพื่อพลเมืองเด็กและเด็กเล็กก่อนปฐมวัยโดยดำเนินการผ่านสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์การศึกษา (IES : Institute of Education Sciences)
  • ให้ทุนอุดหนุนและการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อการสร้างพลเมืองเด็กและเด็กเล็กก่อนปฐมวัย ครอบคลุมทั้งการพัฒนาการรู้หนังสือ การพัฒนาสุขภาพ การพัฒนามิติสังคม ตลอดจนการพัฒนาด้านอารมณ์และความรู้สึก
  • สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลและการรายงานในระยะยาวของทุกรัฐทางด้านการศึกษาเพื่อพลเมืองเด็กและเด็กเล็กก่อนปฐมวัยที่ดำเนินการขึ้น

  ข้อสังเกตการทำงานเชิงนโยบายและความริเริ่มทางการปฏิบัติ 

การดำเนินนโยบายการศึกษาของอเมริกาเพื่อมุ่งปฏิรูปการศึกษาและนำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างบูรณาการในทศวรรษ ๒๐๒๐ ดังกล่าว มีข้อที่น่าสนใจดังนี้ 

  • Innovative Management for Change : การดำเนินงานเชิงนโยบายในลักษณะที่เป็นความริเริ่ม (Initiatives Program) ทั้งมุ่งแก้ปัญหาสำคัญและต้องสร้างแนวดำเนินการใหม่ๆโดยที่ไม่มีตัวแบบให้ทำตามมาก่อนในลักษณะนี้ เป็นลักษณะการดำเนินโครงการที่มีนัยสำคัญ ๒ ประการ คือ (๑) เป็นวิธีคิดและริเริ่มดำเนินการสิ่งสำคัญต่างๆในวิถีของผู้ซึ่งตระหนักในความเป็นผู้นำของตนเอง และ (๒) ต้องการแก้ปัญหาพร้อมกับพัฒนานวัตกรรมการจัดการทางสังคมและนวัตกรรมทางการศึกษาในยุคใหม่ไปด้วย
  • Integration Strategies : เป็นการดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษาอย่างบูรณาการ ใช้ประเด็นทางการศึกษาทั้งระบบเป็นประเด็นชี้นำ แต่ใช้ข้อมูลการวิจัยเชื่อมโยงประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคม ให้ดำเนินการส่งเสริมกันอย่างบูรณาการ คือ การพัฒนาสุขภาพ อนามัยแม่และเด็ก การพัฒนาสังคม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
  • Intersectoral Collaboration for Education : ระดมการมีส่วนร่วมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างสาขามาสู่การพัฒนาเด็กและนำไปสู่การระดมสรรพกำลังเพื่อการศึกษาอีกต่อไป
  • Voluntary and Localized Authorities Participation : ระดมการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างกว้างขวางด้วยการส่งเสริมพลังความริเริ่มนอกภาคการศึกษา หน่วยงานทางด้านสุขภาพ องค์กรพัฒนาเอกชน รวมไปจนถึงกลุ่มและเครือข่ายธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม รัฐบาลและองค์กรท้องถิ่น

การดำเนินการดังกล่าวนี้ เป็นการแสดงความตระหนักและมุ่งสนองตอบต่อการเสื่อมถอยหลายด้านของอเมริกา โดยเฉพาะการถดถอยทางด้านเศรษฐกิจและการเกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยต่างๆที่บ่งชี้ว่า พื้นฐานชีวิตทางด้านต่างๆกับเด็กเล็กวัยเตาะแตะก่อนปฐมวัยนั้น จะส่งผลต่อชีวิตของปัจเจกในทุกมิติได้อย่างแตกต่าง มากกว่าสิ่งบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์จากการทุ่มเทและเข้มงวดกวดขันเมื่อเด็กอยู่ในวัยเรียนระดับประถมศึกษา.

................................................................................................................................................................................

สรุปและนำมาเล่ารายงาน จาก Early Learning Initiative U.S. Department of Education, America
อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.ed.gov/early-learning

หมายเลขบันทึก: 452692เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

สวัสดีค่ะอาจารย์

กำลังหาข้อมูลว่า หากต้องการพระไตรปิฎกภาษาบาลี จะหาได้จากที่ไหน เลยพบว่า ม. มหิดล ทำการบันทึกลงคอมพิวเตอร์ไว้

จะบอกว่าใกล้เกลือกินด่างก็ได้มังคะนี่

สวัสดีครับคุณณัฐรดาครับ
มหิดลได้ทำเผยแพร่และสามารถเข้าถึงเพื่อการศึกษาค้นคว้าได้ทั่วโลกมานานพอสมควรแล้วครับ เมื่อตอนเริ่มดำเนินการนั้นผมก็พอได้เข้าบ่อยอยู่ครับเพราะช่วยกันใช้ทดลองระบบ

สวัสดีค่ะ

"......รวมทั้งสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยต่างๆที่บ่งชี้ว่า พื้นฐานชีวิตทางด้านต่างๆกับเด็กเล็กวัยเตาะแตะนั้น จะส่งผลต่อชีวิตของปัจเจกในทุกมิติได้อย่างแตกต่าง มากกว่าสิ่งบ่งชี้จากผลสัมฤทธิ์กับการทุ่มเทและเข้มงวดกวดขันเมื่อเด็กอยู่ในวัยเรียนระดับประถมศึกษา...."

อ่านตรงนี้แล้วนึกถึงหนังสือ...กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว....ค่ะ

อาจารย์คะเรียนเชิญมาช่วยชาวสพป.สุพรรณเขต๒นะคะ ๑๓-๑๔ ส.ค.๕๔

ดีใจมากค่ะเห็นอาจารย์ขจิตบอกว่าอาจารย์รับว่าจะมา...

สวัสดีครับคุณครูลำดวนครับ

เหมือนกันเลยครับ อ่านไปก็นึกถึงหนังสือเมื่อถึงอนุบาลก็สายเสียแล้วไปด้วยเลยครับ
จะได้เจอคุณครูด้วยหรือครับ ดีจังเลยครับ เราแว่บไปเที่ยวหาอาจารย์ศิวกานท์กันไหมครับ ไกลจากที่จัดประชุมไหมครับเนี่ย แกอยู่แถวบ้านอู่ทอง จระเข้สามพัน

  • กลัวอาจารย์ลืม
  • ได้พบครู 130 ท่าน อยากพบเด็กๆๆด้วยก้ได้นะครับ

 

  • เอารายละเอียดมาให้อ่านครับ

กำหนดการกิจกรรมบูรณาการการสอนอย่างไรให้นักเรียนมีความสุข

ณ โรงเรียนวัดสระยายโสม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

วันที่ 13-14 สิงหาคม 2554

วันที่ 13 สิงหาคม 2554

08.00-08.30  -ลงทะเบียน

08.30-09.00  - พิธีเปิด

09.00-10.30  - ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล

                       และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           

                     -ครูพี่เลี้ยงที่สอนดีและนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  แบ่งฐาน 5 ฐาน

                     -นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมแบ่งเป็นกลุ่มเข้าฐาน 5 ฐานการเรียนรู้ (เริ่มฐานที1)

10.30-10.45 - เบรกเช้า

10.45-12.00  - ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดลและ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์     

-นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 2

12.00-13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00     -ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล

                        และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังเกตหรือร่วมกิจกรรมจากฐานการ

                        เรียนรู้

-นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 3        

14.0 0-15.00 --ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล

                        และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังเกตหรือร่วมกิจกรรมจากฐานการ

                        เรียนรู้

-นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 4

15.00-16.00 –ครูร่วมสรุปกิจกรรมและให้ข้อมูลย้อนกลับ(Reflection)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

และกิจกรรมจากฐานการเรียนรู้

        -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 5                        

16.00-16.30 -นักเรียนให้ข้อมูลย้อนกลับ

16.30            -จบกิจกรรม

วันที่ 14 สิงหาคม 2554

09.00-10.30  -นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ที่ 1 กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

10.30-10.45 – เบรกเช้า

 

10.45-12.00  -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 2

 

12.00-13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน

 

13.00-14.00  -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 3           

14.0 0-15.00 -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 4

15.00-16.00 –นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 5                                   

16.00-16.30 -นักเรียนให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflection)และสรุปบทเรียนจากกิจกรรมที่ได้

                      เรียนรู้

16.30            -จบกิจกรรม

 

 

ครูเข้าร่วมกิจกรรมและสังเกตการณ์ จำนวน 130  คน

ครูพี่เลี้ยงและนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

  1. นางสาวอำพร วุฒิฐิโก

http://www.gotoknow.org/blog/glueykai/436830

 

2. นางสาวธัญยดา ทาเอื้อ

3.นางสาวรัตนาภรณ์ เชยชิด

4.นางสาวกรพินธุ์ บุญเลิศ

5.นางสาวณัฐนรี สงวนสุข

6.นายวศิน ชูมณี

 http://www.gotoknow.org/profiles/users/wasinchumanee

 

7. นายมงคล สีส้มซ่า

8.นายธเนศ เจริญทรัพย์

 http://www.gotoknow.org/profiles/users/tcharoensub

 

 

อาจารย์ที่เชิญเป็นวิทยากร

  1. อาจารย์ประยุทธ พันธุ์บัว โรงเรียนบางลี่ http://www.gotoknow.org/blog/mryutki/197942

 

2. อาจารย์กัญญาพัชร เกตุแก้ว โรงเรียนบรรหารแจ่มใส 1

http://www.gotoknow.org/blog/kanyapat/196980

 

  1. อาจารย์พิณวดี บัวแตง โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์"
  2. อาจารย์ สุมาลี อนันตสุข โรงเรียนวัดทับกระดาน
  3. อาจารย์กฤษณา ถาวรพรหม โรงเรียนวัดกกม่วง

http://www.gotoknow.org/blog/kritsananok/202682

 

 

สถาบันอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

       1) ณัฐพัชร์ ทองคำ

       http://www.gotoknow.org/profiles/users/nattapach


2) เริงวิชญ์ นิลโคตร

       http://www.gotoknow.org/profiles/users/silwit


3) กานต์ จันทวงษ์

       http://www.gotoknow.org/blog/betterforlife


4)ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่ คณะสังคมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

       http://www.gotoknow.org/profiles/users/wiratkmsr

 

 

โรงเรียนบ้านหนองผือ

       5) ผอ.ชยันต์ เพชรศรีจันทร์
ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองผือ

  • ขนาดนี้เชียวหรือเนี่ยอาจารย์
  • แต่ช่วยกันออกแบบกระบวนการดีๆก็คงจะเป็นโอกาสได้ทำสิ่งดีๆหลายอย่างให้เกิดขึ้นจากเวทีครั้งนี้นะครับ

อาจารย์ครับ ขอบคุณมากๆครับ ผมตรวจสอบกับบ้านอาจารย์ศิวกานท์แล้วเสียดายอาจารย์ไม่อยู่ อาจารย์ไปเป็นวิทยากรที่จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้านอาจารย์ศิวกานท์อยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนวัดสระยายโสมมากนักครับ....

ดูๆแล้วน่าจะมีน้องๆหลายคนเลยละครับ เมื่อก่อนนี้ยังพอมีรุ่นเพื่อนๆพี่ๆอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ดูๆแล้วน่าจะเหลืออยู่แต่รุ่นน้องๆ , มทร.ล้านนานี่ มีผลงานและความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเสมอๆดีจังเลยละครับ, อาจารย์ไฟแรงและมีบรรยากาศการเป็นชุมชนเรียนรู้-ชวนกันทำงานแบบเพื่อนๆพี่ๆน้องๆดี

  • สวัสดีค่ะ
  • อาจารย์ศิวกานท์เป็นคนอู่ทองด้วยค่ะ
  • ถ้าอยู่จะได้พบกันแน่ค่ะ
  • แต่ลำลำดวนพาไปเที่ยวทุ่งสักอาศรมของอาจารย์ได้ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ ขอบพระคุณมากเลยครับอาจารย์ อันที่จริงมีรุ่นพี่อยู่แถวนั้นด้วยหลายคน แต่ไม่เห็นตัวและชื่อที่คุ้นๆเลย สงสัยไม่เจอกันนานไปหน่อย เลยเกษียณกันไปบ้างแล้วหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ

สวัสดีครับคุณครูลำดวนครับ

  • ตอนนี้กำลังคิดกระบวนการอยู่ครับว่าจะใช้โอกาสนี้เรียนรู้สถานการณ์ต่างๆทางการศึกษาและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในสภาพปัจจุบันจากเวทีครั้งนี้ด้วยกันให้ดีที่สุดอย่างไรดี อาจจะช่วยกันเห็นความเป็นจริงและเห็นโอกาสที่จะริเริ่มสิ่งต่างๆด้วยตนเองได้ดีเหมือนกันนะครับ การดึงเอาทุนประสบการณ์มาดูเพื่อถอดบทเรียนและสานพลังปฏิบัติด้วยกัน อย่างนี้จะดีไหมครับ
  • อีกมุมหนึ่ง ในใจก็อยากจะช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาเครือข่ายการจัดการตนเองของเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ที่เชื่อมโยงกันได้ในเชิงพื้นที่สุพรรณบุรีนี้ ว่าจะสามารถทอดผ้าป่าแรงกายแรงใจช่วยเป็นกลไกเสริมพลังให้กันในครั้งนี้ได้อย่างไรบ้างน่ะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หลายๆท่านฝากสิ่งดีๆผ่านบันทึกนี้มากมายเลยค่ะ

กำหนดการของอาจารย์ขจิต แน่นเอี๊ยดด้วยสาระน่ารู้เลยนะคะ

ไทยทุ่มงบนับแสนล้านต่อปีให้นักการเมืองมือใหม่ นโยบายใหม่ คิดใหม่ เอาของใหม่ ๆ ipad iphone จากอเมิรกามาให้เด็กไทยใช้งาน ครับผม

ขอบพระคุณอาจารย์ณัฐพัชร์อย่างยิ่งครับ
กำลังต้องการใช้อยู่พอดีครับ กำลังอัพเดทข้อมูลหน้าประวัติให้ผู้อ่านใหม่น่ะครับ

สวัสดีครับคุณณัฐรดาครับ

เวทีนี้ทำให้ผมนึกถึงคนทำงานที่มีมิติการศึกษาและพัฒนาชีวิตด้านในบูรณาการอยู่ด้วยมากเลยละครับ โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่ใช้เครื่องมือและวิธีการเรียนรู้พัฒนาด้านใน ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสติภาวนาในความหมายของกระบวนการทางการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่มิติรูปแบบทางศาสนาและกิจกรรมประเพณี ศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี การพัฒนาระบบและกระบวนการคิด ซึ่งใน gotoknow นี้ผมเห็นเยอะจนแทบจะเรียกว่า ลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งของคนที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองเป็นสมาชิกของ gotoknow ได้พอสมควรนั้น มีความเป็นผู้ใช้ความมีพื้นฐานการทำสิ่งต่างๆสะท้อนออกมาจากฐานใจ เป็นหลักชีวิตและหลักในการทำงานที่เด่นนำมิติอื่นๆ

เกริ่นอย่างนี้ก็เพื่อจะบอกว่า นอกจากนึกถึงแล้วผมพูดกับน้องๆว่างานอย่างนี้ ให้มีอันต้องนึกถึงคุณณัฐรดา และอีกหลายคน ทีมีภาษาข้างใน เป็นอย่างมากเลยละครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์โสภณครับ

อาจารย์ว่าไหม น่าจะมุ่งสร้างคนให้รักวัฒนธรรมความรู้ รักการเรียนรู้และศรัทธาวิถีแห่งปัญญาที่จะสะท้อนไปสู่การปฏิบัติและการกล่อมเกลารสนิยมในการทำการงาน ดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะสาธารณะตามอัตภาพแห่งตน แล้วส่งเสริมทุกทางให้เขาสามารถเลือกเข้าถึงได้อย่างเสรี มีอิสรภาพพอสมควรว่าจะเลือก ipod iphone หรือเลือกวิธีการอื่นๆที่เหมาะสมกับความจำเป็นในชีวิตกับเงื่อนไขสภาพแวดล้อมของตน นะครับ ก็แปลกดีนะครับ

สวัสดีวันแม่ค่ะอาจารย์

มาเรียนอาจารย์ว่า เกิดความคิดขึ้นมาค่ะ ว่าบางเรื่องที่เชื่อต่อๆกันมา และอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป อาจเป็นประโยชน์กับชีวิตจริงของเราได้ หากมองในมุมที่ต่างออกไป

ทดลองเขียนเรื่องของไพ่ทาโรต์ ที่มองในมุมของศาสนาพุทธดูค่ะ  

 Ico64_tm14 http://www.gotoknow.org/nlog/nadrda/453311

Ico64_tm12-1 http://www.gotoknow.org/blog/nadrda/450790

คงมีโอกาสได้มากราบสวัสดีอาจารย์อีกนะคะ

สวัสดีครับคุณณัฐรดาครับ
หากมองในแนวคติชนวิทยา เขาก็ต้องมองกันว่าความเชื่อและกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของสังคมต่างๆนี่ กว่าจะลงตัวและสืบทอดมาถึงยุคสมัยปัจจุบันนี้ได้นั้น ได้ผ่านการเรียนรู้ ตรวจสอบ บันทึกสถิติข้อมูลในวิถีชาวบ้าน กระทั่งมีพลังอธิบายและให้ความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ต่างๆได้ ซึ่งบางทีก็ไม่แพ้วิธีการสมัยใหม่ จึงทำให้คนที่สนใจศึกษา สามารถนำไปใช้ได้ตามเงื่อนไขชีวิตอันหลากหลายของผู้คนได้แม้ในปัจจุบันนะครับ ชอบดูและชอบศึกษาเรื่องราวลักษณะอย่างนี้เหมือนกันครับ      

สวัสดีครับ อาจารย์ฯ

ตอนนี้ในวิชาที่ผมสอน  ผมกำลังเผชิญกับวัฒนธรรมการสอนในห้องที่มีนิสิตเยอะๆ แต่มันแย้งกับกรอบแนวคิดที่ผมต้องการคนเรียนในจำนวนหนึ่งที่เราสามารถนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะหน้าตรงนั้น...คาดว่าเทอมหน้าคงได้เปิดใจ เปิดโต๊ะเจรจากันยกใหญ่ถึงวิธีการและปลายทางที่ว่านั้น

ผมกำลังเชื่อมการเรียนนอกหลักสูตรเข้าสู่การเรียนในหลักสูตร  โดยใช้กิจกรรมจากประสบการณ์ตรงในเวทีต่างๆ ไปบูรณาการการสอน...กำลังปักธงไปสู่การทำงานและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  เสริมจิตอาสาฯ  เสริมทักษะผู้นำและผู้ตามไปพร้อมๆ กันโดยไม่ใช่เน้นหนักแต่เรื่องผู้นำ

และที่สำคัญก็คือ เรื่องสำนึกรักบ้นเกิด ก็เป็นอีกประเด็นที่ผมผูกโยงเอาไว้...

ยังเหมือนโยนหินถามทาง-แต่ไม่ท้อครับ

  • การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เกิด  Active learning กับกลุ่มใหญ่ๆนี่ จะว่าไปแล้วก็ท้าทายและในอนาคตก็คงมีความจำเป็นมากเลยนะครับ อาจารย์แผ่นดินกับชาว มมส.พัฒนาเป็นประสบการณ์เฉพาะของตัวเองไปได้เยอะแยะเลยนะครับ
  • กิจกรรมนอกหลักสูตรกับการบูรณาการการศึกษาทางเลือก เพื่อพัฒนาการศึกษาในระบบ ก็เป็นเรื่องที่เล่นได้อีกเยอะ แล้วก็คงจะสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับแน่ๆเลยละครับ
  • มีความสุขครับผม

สวัสดีครับ

เป็นตัวอย่างที่ดีของรัฐที่ใส่ใจและตระหนักถึงอนาคตของ"คน" ครับ อะไรที่ดี ก็ขอให้เป็นโดมิโนมายังสังคมไทยบ้างนะครับ

เอาแค่ภาษาอังกฤษ เราต้องรีบวิ่งให้ทันเพื่อนสมาชิกอาเซียนแล้วครับ ถ้าภาษาอังกฤษดี อย่างอื่นก็จะตามมาครับ

อยากเห็นรัฐบาลใหม่ ทุ่มเพื่อการศึกษาบ้างครับ...ให้โอกาสครับ

เมื่อไหร่กระทรวงศึกษาธิการ จะวางแผนพัฒนาการศึกษาให้ชัดเจนเสียที...ผมเห็นเด็กยุคหลังมีคุณภาพในการเรียน การทำงาน ด้อยลงไปเรื่อยๆ จะอคติหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่เรามีการวางแผนพัฒนาเยาวชนในอนาคตอย่างไรที่จะผลิตคนที่เขียนภาษาของเราเองรู้เรื่อง มีสัมมาคารวะ มีระเบียบวินัย รักการเรียนรู้ ขอบ่นนิดหน่อยนะครับ

  • สวัสดีอีกรอบครับอาจารย์
  • ตามมาทักทายในเว็บไซต์ต่อหลังจากพบตัวจริง

สวัสดีครับท่านทูตพลเดชครับ

  • ขอสนับสนุนเพื่อเป็นแรงกระเพื่อมด้วยคนครับ
  • อีกทางหนึ่ง การพัฒนาระบบ อำนวยความสะดวก และส่งเสริมให้ผู้คนต่างสังคม สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ราคาถูก ค่าใช้จ่ายไม่มาก เปิดกว้างทางสังคมวัฒนธรรม เดินทางไปมาหาสู่กัน ทำเศรษฐกิจ ทำมาค้าขาย ทำมาหากิน ผู้คนก็จะสามารถพัฒนาการสื่อสารในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสามารถพัฒนาวิถีการอยู่ร่วมกันได้มากยิ่งๆขึ้น

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ

ประทับใจอาจารย์ นิสิตและทีมม.เกษตร และคณะครูเมืองสุพรรณฯ ดีใจที่ได้ร่วมทำกิจกรรมดีๆด้วยกันนะครับ ไม่รู้ว่าได้อะไรกันบ้างหรือเปล่า ตอนนี้ผมพอนึกภาพออกบ้างแล้วว่าแนวการจัดกระบวนการของอาจารย์ และแนวความสนใจของเครือข่ายครูนั้น เป็นอย่างไร หากมีโอกาสได้ทำสิ่งต่างๆด้วยกันออกก็พอจะทำงานความคิดและออกแบบกระบวนการต่างๆได้ดีกว่านี้นะครับ ครั้งนี้ผมกับทีมออกแบบไปเผื่อล่วงหน้าแบบไปเพื่อเสริมกำลังใจให้กันก่อน พอไปถึงก็ต้องออกแบบและเตรียมตนเองใหม่ที่หน้างานนั้นเลยจริงๆ อาจารย์เก่งมากจริงๆครับ

สวัสดีครับท่านอัยการชาวเกาะครับ
วันนี้ผมได้ไปร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของเครือข่ายครูที่สุพรรณบุรีมาครับ
เขาพากันเดินจับมือกันพัฒนาการเรียนการสอนให้กับเด็กๆในแนวทางใหม่ๆ เป็นกิจกรรมเล็กๆแต่สื่อสะท้อนความมีจิตใหญ่ต่อการสร้างคน พัฒนาสังคมไทย และสร้างคนออกไปเป็นพลเมืองของโลกกว้าง ที่น่านับถือมากเลยละครับ

สวัสดีครับวศินครับ
หายเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วหรือยัง ขอแสดงความชื่นชมวศินกับเพื่อนทีมนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสนมากเลยนะครับ เป็นคนรุ่นใหม่ที่น่าภูมิใจ เก่งทั้งทางวิชาการ ภาวะผู้นำ ความีจิตอาสาต่อสังคมส่วนรวม ความเป็นผู้กระตือรือล้นต่อการเรียนรู้และแสวงหาประสบการณ์ทางวิชาการเพื่อความเป็นมืออาชีพและบ่มเพาะจิตวิญญาณของความเป็นครู นำประสบการณ์และความคิดดีๆมาถ่ายทอดให้ได้ติดตามอ่านไปด้วยเสมอๆนะครับ เยี่ยมมากครับ

  • อาจารย์ครับ
  • หายเหนื่อยหรือยัง
  • ขอบพระคุณมากๆๆที่ไปช่วยให้ครูมีเครื่องมือในการทำงาน ขนาดอาจารย์และพี่เหมียวงานยุ่งยังปลีกตัวมาซึ้งใจมากๆๆ
  • เอามาฝากด้วยครับ
  • http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/454023

ขอบพระคุณอาจารย์มากอย่างยิ่งด้วยเช่นกันครับ
ผมจะหาจังหวะประมวลข้อมูล บทเรียน ข้อสังเกต บนเวที จะได้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเครือข่ายครูเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในเชิงพื้นที่ได้ต่อๆไปอีกนะครับ

เห็นเรื่องนี้แล้วก็ให้นึกถึงสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ๒๕๔๐ ของประเทศไทย ที่ก่อนหน้านั้น ประเทศไทยก็ทำแผนพัฒนาประเทศที่มีปรัชญาและกระบวนทัศน์การพัฒนาแตกต่างจากในอดีตมาก โดยเน้นการพัฒนาคน ชุมชน และสังคม มากยิ่งกว่าแผนพัฒนาประเทศฉบับใดๆก่อนหน้านั้น แต่หลังจากนั้น ยังไม่ทันได้ดำเนินการต่างๆตามแผนได้มากนัก ก็เกิดวิกฤตถดถอยและกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่มีงบประมาณและกำลังที่จะทำตามแผน

สถานการณ์ของอเมริกาในขณะนี้ก็เช่นกัน หลังจากเกิดยุทธศาสตร์ที่สำคัญและดีมากอย่างนี้แล้ว ก็ประสบภาวะวิกฤตทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนอกจากจะขาดงบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผนและมาตรการยุทธศาสตร์ต่างๆได้อย่างเต็มที่แล้ว ประเด็นส่วนรวมและลำดับความจำเป็นก็แตกกระจายไปสู่เรื่องต่างๆ อีกมากมายหลายเรื่อง กลายเป็นตกสู่สถานการณ์ต้องบริหารจัดการตนเองในภาวะวิกฤต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท