Patho OTOP2 (19) : ลดเวลาในการค้นหาสิ่งส่งตรวจ


มีการบันทึกว่า "ใคร" ที่ไม่ทำตามระบบ ท่านผู้นั้นจะต้องถูกตักเตือนเป็นพิเศษ ที่ทำอย่างนี้ใช่ว่า จะหาคนทำผิด แต่เป็นการ สร้างนิสัยให้ทำตามระบบที่วางไว้ ทีมที่ทำโครงการเค้าหวังว่าถ้าทำไปเรื่อยๆ บ่อยๆ ซักพักจะชินจนเป็นนิสัย

รู้สึกว่าโครงการ Patho OTOP ของเราจะวนๆ  อยู่กับการจัดการสิ่งส่งตรวจหลายๆ โครงการ    (เมื่อวานก็เล่าไปหนึ่งเรื่อง ที่นี่)     อันนี้เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้ว    เพราะถ้าสิ่งส่งตรวจไม่มีคุณภาพ    อย่างอื่น....ไม่ต้องพูดถึง

ทีมนี้ก็เช่นกัน   ทีม "Sero OK"    กับโครงการลดเวลาในการค้นหาสิ่งส่งตรวจ     เคยเขียนเล่าเรื่องของทีมนี้ไว้บ้างเล็กน้อยในนี้      โครงการนี้ต่อเนื่องจาก OTOP1    ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการจัดการกับสิ่งส่งตรวจ    โดยปรับปรุงทั้งในแง่ของวิธีการปั่นแยกซีรั่ม  จัดเก็บ  และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง       แต่ปัญหาที่ยังคงมีอยู่ก็คือ   หาสิ่งส่งตรวจ (serum)   ไม่เจอ     คือมันไม่อยู่ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้     แล้วมันไปอยู่ที่ใดหนอ      พอหาไม่เจอบ่อยๆ  ผลกระทบที่ตามมาคือ    

  1. ทำให้การทดสอบล่าช้า  รายงานผลได้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา
  2. ส่งผลให้งานอื่นๆล่าช้าไปด้วย
  3. ผู้ปฏิบัติงานอารมณ์เสีย   ไม่ปลื้ม หงุดหงิด  แก่เร็ว    เครียด (เป็นโรคกระเพาะ)

ข้อสุดท้ายนี่สำคัญสุดเลยล่ะ      ด้วยความที่กลัวแก่เร็ว    คุณกุศล   หัวหน้าทีมและบรรดาลูกๆ  ทีม   คือคุณสุวัติ  คุณพนิดา  คุณนภัสกร  เลยต้องช่วยกัน คิด..คิด   คิด   หลายรอบ    สุดท้ายได้ความว่า   ปัญหาที่ว่าน่าจะเกิดจาก

  1. ซีรั่มน้อย  และส่งตรวจหลายการทดสอบ    ผู้ทำการทดสอบแรกๆ  ไม่นำตัวอย่างส่งคืนกล่องเดิม
  2. เก็บซีรั่มผิดกล่อง (เก็บผิดที่ เขียนชื่อผิด/ ไม่ชัด)
  3. เขียนชื่อการทดสอบไม่ครบ

เมื่อทราบถึงต้นตอของปัญหาแล้ว  ทีมงานก็เลย   จัดระบบการจัดเก็บซะใหม่  ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงต้องอาศัยความร่วมมือจากคนทำงานในห้องทั้งหมด   มีการบันทึกว่า "ใคร"   ที่ไม่ทำตามระบบ    ท่านผู้นั้นจะต้องถูกตักเตือนเป็นพิเศษ    ที่ทำอย่างนี้ใช่ว่า   จะหาคนทำผิด   แต่เป็นการ  สร้างนิสัยให้ทำตามระบบที่วางไว้     ทีมที่ทำโครงการเค้าหวังว่าถ้าทำไปเรื่อยๆ  บ่อยๆ   ซักพักจะชินจนเป็นนิสัย

จากการประเมินผลหลังการดำเนินโครงการ  สามารถลดจำนวนรายในการ  

  • ตามหาตัวอย่างตรวจทีมีปริมาณน้อยจากเดิมประมาณ   20 ราย/เดือน ลดเหลือ     ประมาณ 2 ราย  (ในเดือนตุลาคม)
  • ลดการตามหาตัวอย่างตรวจ จากการเก็บผิดที่ เขียนชื่อผิดการทดสอบและอื่นๆจากประมาณ 100 รายต่อเดือน ลดเหลือประมาณ 5 รายต่อเดือน

ดูตัวเลขแล้ว...ดูดีจังเลย  จนผู้ชมในห้องประชุมสงสัย      พี่กุศลเลยขยายความว่า   มีตัวช่วยอย่างอื่นอีก    คือช่วงหลังๆ  มีการเพิ่มจำนวนรอบในการทำการทดสอบ  จากเดิมทำจันทร์  พุธ  ศุกร์  ตอนนี้เปลี่ยนมาทำทุกวัน (เพราะสิ่งส่งตรวจมีจำนวนมากขึ้น)     ทำให้มี serum ที่ต้องจัดเก็บน้อยลง    ความผิดพลาดจึงลดลงไปด้วย   และอีกประการหนึ่ง   บางทีก็ลืมบันทึกเหตุการณ์.....มีเหมือนกันค่ะ    ใช่ว่าจะต้องการให้ตัวเลขดูดี    มันลืมจริงจริ๊ง....

มีข้อเสนอจากท่านผู้ชมเพิ่มเติมอีกว่า  "ลายมือ"   ที่เขียนชื่อการทดสอบ    ดูเหมือนจะอ่านยาก   น่าจะใช้วิธี พิมพ์  และ print  ออกมาเลย   เป็นไอเดียที่ดีทีเดียวเชียวล่ะ         อยากให้เป็นอย่างนี้ค่ะ   ลงทะเบียนในคอมฯ  เสร็จแล้ว  สามารถ print ชื่อการทดสอบต่างๆ  ลงใน sticker  ได้เลย   เหมือนกับ  ชื่อและ HN ของคนไข้    ถ้าทำได้นะ .....สุดยอด



คุณกุศล...เตรียมตัวมาอย่างดี  
นำเสนอและตอบคำถามได้ดีมากเลยค่ะ  
เรียกได้ว่าเกินความคาดหมายของพี่เลี้ยง   ที่ปรึกษา  และกองเชียร์

หมายเลขบันทึก: 63614เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ดีจังเลยครับ
  • ทำงานเป็นระบบมีความคิดสร้างสรรค์ดี
  • ขอบคุณมากครับ
คุณ nidnoi รายงานได้สมกับอยู่หน่วย Seroฯด้วยเลยค่ะ (มีแถมขอพิเศษด้วย...ฟังดูน่าจะได้นะคะ ขอให้ดังๆขึ้นอีกหน่อย)
ขอบคุณคุณขจิตและพี่โอ๋  ค่ะ
อันที่จริงตอนทำโครงการนี้   เห็นว่ามันเป็นโครงการเล็กน้อย...ซะเหลือเกิน     แต่พอทำจริงๆ  มันก็มีคุณค่าเหมือนกันนะ

ชอบ Idea อ.พรพรตมากค่ะ น่าสนใจเอาไปใช้ได้นิ

แทนที่จะแค่ตักเตือนก็ให้ปรับเป็นเงินหย่อนใส่กระปุกไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท