Patho OTOP2 (18) : ร่วมมือร่วมใจดูแลความปลอดภัยของสิ่งส่งตรวจ


มาอีกแล้วค่ะ  "เจ้าแม่"  คนเดิม    คนที่ตั้งอกตั้งใจเพิ่มคุณภาพของสิ่งส่งตรวจ   คราวนี้เจ้าแม่แห่ง center lab  คุณเพ็ญแข  คงทอง  รวบรวมลูกศิษย์  ลูกหา  (สมาชิกน่ะค่ะ)  จากหลายหน่วยงาน  ทั้ง OPD Lab  เคมีคลีนิค   และช่างจากวิศวซ่อมบำรุง   ทำไมงานห้องแล็บต้องมีช่างซ่อมฯ  มาเกี่ยวด้วย    ก็เพราะว่าโครงการนี้มีเครื่องมือตัวสำคัญที่ช่างเป็นคนดูแลอยู่ด้วย

โครงการนี้ชื่อว่า  "ลดความเสียหายของสิ่งส่งตรวจในกระสวยที่ส่งมาทางท่อลม"    โดยทีม "ร่วมใจลดภัยจากท่อลม"

ท่อลม  ที่พูดถึงคือท่อที่ใช้ส่ง  สิ่งส่งตรวจ (เลือด)  จากหอผู้ป่วยมายังห้องแล็บ    โดยผู้ส่งต้องห่อสิ่งส่งตรวจ (tube, ขวดเลือด)  ในซองพลาสติก  หรือผ้า  หรืออะไรบางอย่าง  แล้วใส่ในกระสวย    กระสวยจะถูกดันไปตามท่อโดยแรงดันลม   จนถึงจุดหมายปลายทาง

    ท่อลม

กระสวยรุ่นเก่าสีฟ้า  รุ่นใหม่สีแดง

ข้อดีของการส่งทางท่อลมคือ   เร็ว   ประหยัดทั้งเวลาและกำลังคน  แต่บางครั้งมีปัญหาคือ   หลอดที่ใส่เลือด  แตก  ฝาจุกหลุด  เลือดกระเด็น  หกเลอะเทอะ   สาเหตุเพราะท่อลมมีแรงดันและแรงกระแทก   ถ้าปิดฝาจุกไม่ดี   หรือห่อไม่หนาพอ   อาจเกิดปัญหาตามมา  และแน่นอนต้องเจาะเลือดผู้ป่วยใหม่อีกครั้ง   ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวหลายครั้งและผลแล็บล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น

ปัญหาที่กลุ่มนี้ต้องหาทางแก้ไขคือ  ทำอย่างไรจึงจะลดความเสียหายอันนี้ลงให้น้อยกว่า 1 %  หลังจากระดมสมองกันหลายยก  จึงได้แนวปฏิบัติว่า

  • ทำแผ่นแปะ (poster เล็กๆ)  แสดงวิธีการห่อสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง  ส่งไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ (วิธีการห่อแบบนี้คือ  ห่อด้วยแผ่นกันกระแทก  ทดลองมาหลายครั้งแล้วว่า "ไม่แตก"  แน่นอน)
  • มี label  ที่กระสวยทุกตัว  เป็นข้อเตือนใจว่า   "เพื่อความปลอดภัยต้อง....."
  • ทำหนังสือขอความร่วมมือจากหอผู้ป่วย

ผลสำเร็จของโครงการคือ  สามารถลดอัตราความเสียหายจากเดิม 1.35 %   เหลือ 0.51 %

พี่เพ็ญ  กำลังโชว์แผ่นโปสเตอร์ 
ส่วนคุณอำนวยพี่เม่ย   กำลังจ้อง..มอง

มีคำถามและข้อสังเกตจากผู้ฟังในห้องประชุม    ถึงสาเหตุของความเสียหายของสิ่งส่งตรวจเหล่านี้     ว่าเกิดจากอะไรกันแน่   (เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกจุด)

  • จำนวนสิ่งส่งตรวจ  ต่อหนึ่งกระสวย   (ถ้าส่งมาจำนวนมากเกินไป..  แตกง่ายกว่า..มั๊ย)
  • ฝาจุกกับหลอดใส่เลือดไม่พอดีกัน  ทำให้หลุดง่าย
  • ฝาจุกเป็นชนิดหลุดง่าย   ไม่เหมาะที่จะส่งขวดแบบนี้ทางท่อลม
  • กระสวยเก่าเกินไป   ตัวกำมะหยี่ (วงสีดำที่หัวกระสวย)  ซึ่งเป็นตัวที่ใช้เบรก  ไม่ให้กระสวยลงมาแบบกระแทกมากเกิน     อาจหลุดลอกไปบ้าง  ทำให้กระสวยถูกกระแทกมาก  .....ประเด็นนี้ช่างจากวิศวซ่อมบำรุง  ตอบว่าเป็นคนดูแลอยู่แล้ว   ถ้าอันไหนที่สมควรเปลี่ยน (ประเมินจากสายตา)    จะส่งซ่อม
  • ความดันในท่อลม   เหมาะสมหรือไม่

เท่าที่ฟังมา...ปัจจัยที่ทำให้   หลอดแตก  ฝาจุกหลุด   คงมีหลายๆๆๆ  อย่าง    เห็นทีว่าคุณเพ็ญแขคงจะต้องกลับไปคิดต่อได้อีกหลายโครงการ..เป็นแน่แท้

หมายเลขบันทึก: 63243เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบอกว่า ใครไม่ได้ไปร่วมฟังการนำเสนองาน อ่านบันทึกของคุณลิขิตแบบคุณศิรินี่ก็ได้เนื้อหาครบถ้วนจริงๆค่ะ เยี่ยมๆ
เอ๊า...จะเขียนว่าคุณศิริ กับคุณ nidnoi มือไวไปหน่อยค่ะ เรียกได้ว่าทั้งสองคุณลิขิตของเรา "ไร้เทียมทาน"จริงๆค่ะ ขออำภัยคุณ nidnoi มาตรงนี้ด้วยนะคะ

คุณ nidnoi ค๊ะ เจ้าแม่ เอ๊ย ! พี่เพ็ญ เขามีโครงการจะทำอีกเพียบและจะรอเสนอ OTOP3, 4, 5,......เลยค่ะ

 

ไม่เป็นไรค่ะพี่โอ๋...เข้าใจค่ะเข้าใจ   (เหมือนจดหมายผิดซองเลยค่ะ...เหอะๆ)
.
pathoOTOP ทุกบันทึก ตั้งใจเขียนค่ะ    เผื่อว่าจะได้รวมเล่มป็นหนังสือ   น่ารวมเล่มนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท