ตัวอย่างองค์กรในประเทศไทย


กรมสุขภาพจิต เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีการนำ KM มาใช้ประโยชน์
วิสัยทัศน์
   

วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ กรมสุขภาพจิต และเกณฑ์การมองตนเอง

วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ กรมสุขภาพจิต เป็นเข็มมุ่งในการจัดการความรู้ได้กำหนดขึ้นจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ประกอบด้วยวิสัยทัศน์หลัก และวิสัยทัศน์ย่อยดังนี้

วิสัยทัศน์หลักคือ "เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรสุขภาพจิต ในการดำเนินงานให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี"

  • วิสัยทัศน์ย่อยที่ 1 เพื่อพัฒนามาตรฐานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต
  • วิสัยทัศน์ย่อยที่ 2 เพื่อพัฒนามาตรฐานการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุขภาพจิต
  • วิสัยทัศน์ย่อยที่ 3 เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการและได้รับการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  • วิสัยทัศน์ย่อยที่ 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางด้านสุขภาพจิตให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องและประชาชนเข้าถึงได้

ปีงบประมาณ 2549 กรมสุขภาพจิตได้กำหนดนโยบายการจัดการความรู้ในเรื่องสำคัญ 2 เรื่องคือ

1.สุขภาพจิตชุมชน เป็นเรื่องที่กรมสุขภาพจิตมีประสบการณ์ทั้งด้านวิชาการ บริการ และการดำเนินงานมายาวนาน ในเรื่องนี้ คณะทำงานได้ร่วมกันกำหนดองค์ประกอบหรือปัจจัยอีก 4 ด้าน เพื่อให้มีการจัดการความรู้ที่ครอบคลุมมากขึ้นคือ
1.1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิตในด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การช่วยเหลือผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการฟื้นฟู
1.2 การถ่ายทอด ได้แก่การถ่ายทอดความรู้สุขภาพจิตไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ด้วยรูปแบบต่างๆ โดยการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
1.3 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย การค้นหากลุ่มเสี่ยง การเตรียมความพร้อมบุคลากร การพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมจิตใจในสถานบริการสาธารณสุข
1.4 การช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่าย การเตรียมครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย การป้องกันการป่วยซ้ำ การลดตราบาปในผู้ป่วยจิตเวช
2. การช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การบริหารจัดการ การให้ความช่วยเหลือ
จากองค์ประกอบปัจจัยข้างต้น ได้กำหนดเป็น เกณฑ์การมองตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการประเมินการจัดการความรู้เรื่อง สุขภาพจิตชุมชนและสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ ดังนี้

เกณฑ์การมองตนเอง เรื่อง สุขภาพจิตชุมชน

องค์ประกอบ / ปัจจัย
เกณฑ์ / กิจกรรม
1. การพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพจิตชุมชน ( การส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน การรักษาแต่แรกเริ่มโดย สอ. / PCU / รพช. และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน) ระดับ 1 จัดทำเทคโนโลยีจากประสบการณ์และมีการประมวลความรู้เท่าที่สามารถกระทำได้
ระดับ 2 มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการทางสังคม (รวมทั้ง การวิเคราะห์ผู้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และกลุ่มเป้าหมาย)
ระดับ 3 มีกระบวนการพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยี
ระดับ 4 มีการทดสอบองค์ประกอบเทคโนโลยี
ระดับ 5 มีการประเมินผล การนิเทศ ติดตามและพัฒนาต่อยอด เทคโนโลยี
2.การถ่ายทอดเทคโนโลยี ระดับ 1 ถ่ายทอดตามเทคโนโลยีต้นแบบที่ได้รับมา
ระดับ 2 มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และออกแบบการถ่ายทอด
ระดับ 3 มีการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและบริหารจัดการ
ระดับ 4 มีการจัดการกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการถ่ายทอด (ทั้งด้าน วิชาการและบริหารจัดการ)
ระดับ 5 มีการประเมินผลและปรับปรุงการถ่ายทอด(ทั้งด้านวิชาการและบริหารจัดการ)
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ระดับ 1 มีการค้นหาและช่วยเหลือผู้พยายามฆ่าตัวตายในชุมชน
ระดับ 2 มีการเตรียมบุคลากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้พยายามฆ่าตัวตายในชุมชน
ระดับ 3 มีการพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำ ทั้งในชุมชนและสถานบริการ ( เฝ้าระวัง การช่วยเหลือ ข้อมูลข่าวสาร การส่งต่อ การลดความรู้สึกเป็นตราบาป )
ระดับ 4 มีการพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมจิตใจในสถานบริการสำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ( เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง )
ระดับ 5 มีการพัฒนาช่องทางพิเศษในสถานบริการเพื่อการรักษาผู้พยายามฆ่าตัวตาย
4. การช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในชุมชนได้ ระดับ 1 มีการเตรียมผู้ป่วยจิตเวชก่อนจำหน่าย
ระดับ 2 มีการเตรียมครอบครัว / ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
ระดับ 3 มีการทดลองให้ผู้ป่วยอยู่ในครอบครัว อยู่ในชุมชน ทำงาน เป็น การชั่วคราว
ระดับ 4 มีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วย
จิตเวช
ระดับ 5 มีการดำเนินการเพื่อลดตราบาปในผู้ป่วยจิตเวช / การเจ็บป่วยทางจิต ( ผู้ป่วย สถานบริการ และชุมชน )

เกณฑ์ “ การมองตนเอง ” เรื่อง สุขภาพจิตกับภัยพิบัติ

องค์ประกอบ / ปัจจัย
เกณฑ์ / กิจกรรม
1. การช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ ระดับ 1 มีการช่วยเหลือแต่ไม่มี Intervention ที่ชัดเจน
ระดับ 2 มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในกา
รช่วยเหลือ ออกแบบ Intervention program ทั้งเนื้อหา รูปแบบ วิธีการ / กิจกรรม ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลา
ระดับ 3 มีการเตรียมด้านบริหารจัดการ บุคลากร
ชุมชน และพื้นที่
ระดับ 4 มีการจัดการกับปัญหาอุปสรรค ขณะให้ Intervention program
ระดับ 5 มีการประเมิน ติดตามผล Intervention

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://mhtech.dmh.moph.go.th/km1/index.php?option=com_content&task=view&id=14&Itemid=40
คำสำคัญ (Tags): #กรมสุขภาพจิต
หมายเลขบันทึก: 63236เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท