kae
นางสาว กนกพร อินทร์ทอง

ตัวอย่างการนำ KM ไปประยุกต์ใช้ในประเทศ


"KM" เครื่องมือในการเคลื่อนยุทธศาสตร์งานของโหนดลำพูน

"KM" เครื่องมือในการเคลื่อนยุทธศาสตร์งานของโหนดลำพูน

จุดเริ่มต้นของการใช้เครื่องมือ KM ในการแก้ปัญหาโหนดลำพูน

ประเด็นปัญหาที่ เกิดขึ้นกับโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในจังหวัดลำพูนส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมของ

สถาบันวิจัยหริภุญชัยในบทบาทของพี่เลี้ยงโครงการวิจัยที่มีข้อจำกัดกับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสถาบันวิจัยหริภุญชัยของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก จึงทำให้มีการทบทวนและกำหนดแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน เน้นในเรื่องการพัฒนาคน การกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นเพื่อสร้างพื้นที่รูปธรรมของการดำเนินงาน การเตรียมความพร้อม การพัฒนาทักษะ การสร้างคนให้เกิดแนวคิดความเชื่อมั่น แรงระเบิดภายใน การหนุนเสริมและการเชื่อมโยงกับแหล่งทุน/ภาคี การสร้างกลไกการสื่อสารกับสาธารณชน/คนภายนอก การเชื่อมโยงเครือข่ายทางความคิด คน และความรู้ โดยมีการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้หรือ KM (Knowledge Management) ในการหนุนเสริมกระบวนการทำงานของสถาบันวิจัยหริภุญชัย โดยเฉพาะการหนุนเสริมกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการกำหนดแนวทางการทำงานนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยมีการใช้ฐานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเดิม เน้นการใช้ทรัพยากรบุคลากรที่มีอยู่เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยในพื้นที่ การนำเอาเครื่องมือการจัดการความรู้ หรือ KM มาใช้ในการสนับสนุนกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเริ่มต้นจากการเข้าร่วมเรียนรู้กับสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)โดยมีอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ เป็น ผู้อำนวยการ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ซึ่งอาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ เปรียบเสมือนเป็นผู้นำเอาเครื่องมือการจัดการความรู้มาให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่ หลายในพื้นที่จังหวัดลำพูน เริ่มแรกได้นำเอาเครื่องมือการจัดการความรู้เข้ามาใช้กับ สหกรณ์ในจังหวัดลำพูนโดยมีการจัดตลาดนัดความรู้สหกรณ์ในจังหวัดลำพูน สถาบันวิจัยหริภุญชัย จากการที่ได้เข้าร่วมเป็นบุคคลากรในการหนุนเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในตลาดนัดสหกรณ์ ทำให้มองเห็นว่า เครื่องมือการจัดการความรู้ น่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกอันหนึ่งสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันวิจัยหริภุญชัยและกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อนำมาเป็นแนวทางการดำเนินการสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของจังหวัดลำพู น โดยได้วางเป้าหมายไว้ ได้แก่

1) การพัฒนาคน (การสร้าง คนรุ่นใหม่ + คนที่อยู่ในองค์กร/หน่วยงาน) 2) การจัดการความรู้/การเสริมสร้างการเรียนรู้

2.1) ระดั บชุมชน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู ้(การออกแบบการเรียนรู้) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของชุมชน (การรวบรวมความรู ้ สร้ างความรู้ ยกระดับความรู้และถ่ายทอดความรู้)

2.2) ระดับองค์กร การจัดกระบวนการเรียนรู้ขององค์กร/หน่วยงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยงานและองค์กร

2.3) ระดับเครือข่าย การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ / ตลาดนัดความรู้

คัดลอกส่วนหนึ่งมาสามารถอ่านทั้งหมดได้ที่นี้ค่ะ ฉบับเต็ม

จาก : จดหมายข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2549 homepage : http//www.vijai.org

หมายเลขบันทึก: 63222เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท