เรียนรู้เรื่องมหาวิทยาลัยกับการตั้งวิทยาเขตใหม่ในต่างจังหวัด


          วันที่ ๑๔ พ.ย. ๔๙   สภามหาวิทยาลัยมหิดลไปเยี่ยมคณะสิ่งแวดล้อมฯ   ซึ่งมีศูนย์วิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ   จึงคุยกันต่อเรื่องวิทยาเขตนครสวรรค์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ   คือ พื้นที่ที่เป็นวิทยาเขตอยู่ในบริเวณที่มีชื่อว่า   "บึง........"   ซึ่งเป็น  "แก้มลิง"  อยู่โดยธรรมชาติ   ดังนั้น ปีนี้น้ำจึงท่วมขนาดที่เขื่อนสูง ๒.๘ เมตร เอาไม่อยู่   และน้ำท่วมอาคารถึงครึ่งความสูงของชั้นล่าง

          มีคนพูดว่ามหาวิทยาลัยโดนหลอก   ให้เข้าไปใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรใช้   เพราะควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่าง   และว่าตอนเลือกสถานที่ก็มีการขัดแย้งกันภายในจังหวัด

          ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่   แต่ก็ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า   การเรียกร้องตั้งมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด   และการเลือกสถานที่อาจมีผลประโยชน์ส่วนบุคคลแอบแฝง   ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะต้องดูแลเรื่องแบบนี้อย่างระมัดระวังและรอบคอบ

          การพูดคุยลามไปถึงวิทยาเขตกาญจนบุรี   ว่าขึ้นไปตั้งอยู่บนเขา   ไม่มีน้ำ   ต้องปั๊มน้ำขึ้นไปจากแม่น้ำแควน้อย   ซึ่งอยู่ต่ำลงไปมาก

          การพูดคุยวันนั้นมีมิติเชิงลบอยู่มาก   ผมไม่ทราบว่าจริงแค่ไหน   เป็นความท้าทายต่อระบบ governance มหาวิทยาลัย   ว่าต่อไป   เมื่อมหาวิทยาลัยออกไปอยู่นอกระบบราชการ   กลไก governance  จะต้องเข้มแข็งขึ้น   จะดูแลเรื่องที่ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยเองก็ไม่คุ้นเคยได้อย่างไร

วิจารณ์   พานิช
๑๕  พ.ย.  ๔๙

หมายเลขบันทึก: 63611เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อย่าว่าแต่มหิดลถูก Convince ให้มาลงบึงเสนาทนี้เลย

หากสังเกตอีกนิดนึง ก็จะเห็นอาคารย่อมๆ อยู่ข้างติดกันก่อนถึงมหิดล

มีสภาพยังไม่ใช้งานแต่ถูกทิ้งร้าง

บนอาคารติดป้าย "สำนักโยธาผังเมืองนครสวรรค์"

ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ออกผังเมืองเองและระบุว่าตรงนี้เป็นบึงสีเขียว

นับว่าการเมืองแรงจริงๆ

หน่วยงานที่ว่าก็ไม่ยอมมาใช้อาคารนี้หรอกครับ! ถือว่ายังไม่เสียท่า...............

http://gotoknow.org/blog/council/63611

ผมเห็นภาพว่าผู้บริหารระดับสูงพ่อหมอท่านๆ คงจะว่าๆ โปรเจกต์กันไปโดยลืมไปว่ามีคณะสิ่งแวดล้อมฯ, คณะวิศวกรรมฯ เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่จะสามารถปรึกษาได้ 

อาจเพราะถือว่ามีสถาปนิกใหญ่จากข้างนอกเป็นที่ปรึกษาประจำ แม้ในสภาก็รู้สึกจะมีท่านนึง

พอเกิดปัญหาค่อยโยนมาทางนี้ก็ถูกมองว่าทำไมไม่ดูแล.....ทั้งที่ไม่รู้เรื่องไม่ได้รับเชิญปรึกษาด้วยเลย

สถาปนิกในมหิดลก็มีจำนวนไม่น้อย เฉพาะในคณะสิ่งแวดล้อมก็มีเป็นอาจารย์ถึง 3 ท่าน

ตอนนี้ก็มีสถาปนิกปริญญาเอกวางแผนผังเมืองด้วยซ้ำ ผมเองน่ะเห็นแล้วอึดอัด

ยิ่งฟังรู้มาว่าคุณอนุชาตินักสังคมเที่ยวพูดไปว่ามหิดลเราไม่มีสถาปนิกเลยต้องเชิญคนข้างนอกมาปรึกษา ฟังแล้วเจ็บใจครับ (ที่ประชุมวางผังศาลายา ตค.2550)  บริษัทที่ปรึกษาภายนอกนั้นกร่างในที่สุดก็ดันงานเข้าบริษัทตนถ้าทำแล้วออกมาประเสริฐศรีไม่ว่า

แต่ทำแล้วออกมาเป็นตึกๆ แถวๆ เบอะบะคับที่คับทาง แทนที่จะออกมาให้มันดูมีนวัตกรรมลำสมัยสมกับที่ใช้งบประมาณสูงๆ ก็ขอ Comment เสียหน่อยนะครับ

           P_POP อ.พิจักษณ์ คณะสิ่งแวดล้อมฯ โทร 089-690-3696

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท