ความดีคืออะไร : ว่าด้วยการวิเคราะห์ทฤษฎีแบบของพลาโต้


พลาโต้กล่าวสรุปปรัชญาของปรัชญาจารย์ของตนว่า ให้รู้จักตัวเอง ให้เชื่อว่าความดีตั้งอยู่บนฐานของความรู้ ส่วนความชั่วตั้งอยู่บนฐานของความไม่รู้ การเอาชนะจิตใจคนอื่นได้อยู่ที่การรู้สึกดีต่อกัน[1] อาจกล่าวได้ว่าทฤษฏีแบบของพลาโต้(form หรือ ideas-มโนคติ) ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎี มโนภาพ” (concept) ของ Socrates[2] แบบของพลาโต้จะเป็น อะไร ที่อยู่นอกความคิด เป็นสิ่งสากล พลาโต้ถือว่าการสนทนาเป็นวิธีทางสู่การเข้าถึง อะไร นั้น เพราะ อะไร นั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แบบของพลาโต้จะมีโลกส่วนตัวที่สัมพันธ์เป็นลำดับชั้น โดยมีแบบอันเป็นที่สูงสุด ครอบคลุม พลาโต้กล่าวว่า แบบ (form or idea) หรือ อะไร ที่สูงสุดนั้นก็คือ ความดี” (Good – Αγάθόν - agathon) ซึ่งมีลักษณะอัน ประณีตที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และมีเพียงหนึ่งที่ครอบคลุมทุกแบบอื่นทั้งหมด เป็นจุดสิ้นสุดของทุกสิ่ง (Τέλος - telos) [3] อีกทั้งเป็นแบบที่ก่อกำเนิดทุกสิ่ง เป็นภาวะอันเป็น แก่นแท้ที่สุดยอด เป็น แก่นแท้ของแก่นแท้ ของทุกๆแบบ แบบของความดีของพลาโต้มีลักษณะเป็น being[4] ดังนั้นจึงไม่สามารถหาจุดกำเนิด หรือสุดสิ้นสุด การที่ความดีเป็นตัวควบคุมแบบอื่นทั้งหลายที่อยู่ภายในอาณาเขตของแบบแห่งความดี ก็เกิดได้โดยควบคุมความขัดแย้งต่างๆเอาไว้ด้วยกันด้วย วจนะ”(Λόγος - logos)[5]  ในอีกทางหนึ่งสำหรับพลาโต้ความรู้ ก็คือการรู้จักโลกแห่งเหตุผล[6] พลาโต้ได้จัดกระบวนการแห่งการได้มาซี่งความรู้ ที่มาจากการรับรู้ของจิตเป็น ๔ ขั้นอันได้แก่[7]

๑. Είκασία – eikasia (imagining or perception ) พลาโต้ใช้อธิบายการรับรู้ที่ตาสัมผัสเข้ากับภาพแล้วรายงานสิ่งที่รับรู้สู่จิต ภาพที่รับรู้นั้นพลาโต้บอกว่าคือ ภาพเหมือน” Είκονεσ - eikones ที่มีความเป็นจริงน้อยกว่า แบบ ของภาพนั้นๆ เพราะมันการจำลองแบบ(Μίμεςης - mimesis) และเป็นเพียง ภาพที่หยิบยืม” (Σύντροφος - syntrophos) ความเป็นจริงมาจากแบบ หรือ เป็นสิ่งที่จำลอง - Αντανακλαστικός (antanaklastikos)[8] มาจากโลกแห่งแบบ  การที่มนุษย์ยอมรับภาพเพียงในระดับนี้ก็เหมือนกับว่าเป็นการหนีออกจากแบบที่เป็นจริง

๒. Πίστισ – pistis (belief) ภาพที่รับรู้ในระดับแรกนั้น เมื่อคิดถึงสิ่งนั้น หมกมุ่นกับสิ่งนั้น และสร้างรูปร่างหน้าตาของสิ่งนั้น และเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งนั้นด้วยประสาทสัมผัสก็จะยืนยันภาพที่เห็นว่าเป็นความจริง แต่สิ่งที่ได้จากการรับรู้นั่นเป็นไปตามพื้นฐานทางประสาทสัมผัสรับรู้ของแต่ละคน ซึ่งในขณะเดียวกับสำหรับคนอื่นๆนั้น การรับรู้ก็อาจแตกต่างออกไป พลาโต้เรียกความรู้ที่ยังไม่เป็นความรู้ที่แท้จริงใน ๒ ระดับนี้ว่า ทัศนะ-Δόξα - doza

๓. Διανοια – dianoia (reasoning) คือการก้าวพ้นโลกแห่งประสาทสัมผัส (ผัสสะ) เพื่อค้นพบสิ่งสากล ซึ่งพลาโต้ใช้วิธีแบบนักคณิตศาสตร์ หรือเรขาคณิต โลกของเหตุผลเป็นโลกของความรู้ที่บริสุทธิ์ เพราะเหตุผลจะทำให้ค้นพบบางหน่วยสัญลักษณ์(Symbolic)ของ แบบ ด้วยการตั้งสมมติฐานแล้วยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจริงแล้ว

๔.  Νόησις or Έπιστήμη – noysis or epistyme(perfect intelligence) ความรู้ระดับนี้เป็นความรู้ที่จิตรับรู้จากแบบโดยตรง โดยจิตจะแยกเป็นอิสระจากประสาทสัมผัส และรับรู้ถึงแบบโดยปราศจากสัญลักษณ์ ซึ่งก็หมายความว่าปราศจากสมมติฐานด้วย ณ จุดนี้จึงไม่มีข้อจำกัดของการรับรู้ ทำให้จิตค้นพบเอกภาพของแบบทั้งหลายในโลกแห่งแบบ ความรู้ที่เป็นระดับนี้จึงเป็นความรู้ที่แท้จริง วิธีที่จิตจะเข้าถึงโลกแห่งแบบได้ก็ด้วย วิภาษวิธี-Διαλεκτική - dialectik หรือในที่สุดแล้ว ความรู้ ของพลาโต้ ก็คือ การรู้จักโลกของแบบ นั่นเอง(ประยูร ธมฺมจิตฺโต. ๒๕๔๔ : ๑๔๕ - ๑๔๗) จะเห็นว่าจากทฤษฎีแบบของพลาโต้นั้น ความรู้คือวิถีทาง เข้าถึง โลกแห่งแบบ แต่ปัญหาก็คือช่วงระหว่างทางของกระแสธารของการได้มาซึ่งความรู้ของพลาโต้นั้นมี ๔ ขั้นตอน ที่หากมองพัฒนาการของความรู้นี้อย่างคร่าวๆแล้ว ดูราวกับว่า พลาโต้มองขั้นตอนนั้นต้องพัฒนาจาก ๑ à à à ๔ แต่การที่พลาโต้ถือว่าโลกมี ๒ โลก คือโลกแห่งความรู้ทางผัสสะ (Sensible World) และโลกแห่งความรู้ทางมโน (Transcendental World) นั้นการเข้าถึง ความดี ในโลกแห่งแบบจึงเป็นปฏิบัติการณ์ที่เข้าใจได้ง่าย แต่เข้าถึงได้ยาก ในประเด็นอย่างน้อยดังนี้

๑. การที่โลกแห่งสสารเป็นเพียงเงาที่ลอกแบบมาจากโลกแห่งแบบ

๒. พัฒนาการทางความรู้ในการเข้าถึงโลกแห่งแบบต้องเริ่มจากการรับรู้ (eikasia) ไปสู่การเชื่อ (pistis) ที่เป็นความรู้อันได้มาจากโลกแห่งผัสสะ แต่พอเข้าสู่ช่วง การใช้เหตุผล (dianoia) นั้นความรู้ที่ได้มากลับมาจากอีกโลกหนึ่งซึ่งการจะได้มาซึ่งความรู้ขั้นนี้ หมายความว่าใน ๒ ขั้นตอนแรก ความรู้ต้องเป็นในแบบที่ควรจะเป็นซึ่งสะท้อนมาจากโลกแห่งแบบ การเข้าถึงโลกแห่งแบบจึงเกี่ยวพันกับได้มาซึ่งความรู้ ซึ่งหมายความว่า ปัญหาของการเข้าถึงโลกแห่งแบบอยู่ที่ความเข้าใจของมนุษย์ที่ได้มาซึ่งความรู้นั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่ามนุษย์ผู้นั้น หรือความรู้ที่เขาได้มานั้นจะเป็นสิ่งที่ผิด แต่เป็นเพราะมนุษย์ผู้นั้นและความรู้ที่ได้มา ไม่ใช่/ไม่เหมือน กับที่มีอยู่ในโลกแห่งแบบต่างหาก ซึ่งเป็นปัญหาในทางปรัชญาที่เราเรียกว่า ปัญหาทาง สัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าในแต่ละชุด ความจริง/แบบ นั้นการ รับรู้/เข้าใจ/เข้าถึง นั้นต่างกันไปตาม มุมมอง-focus” ของแต่ละคนนั้นๆนั่นเอง[9]

 

หมายเลขบันทึก: 50053เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
เยี่ยมค่ะ คุณพิมพ์ภาษาละตินได้ด้วยหรือค่ะ เก่งจังค่ะ :)

บทความนี้เขียนได้ดี แต่อ่านยากค่ะ อาจจะเป็นเพราะการจัดรูปแบบตัวอักษรค่ะ

ส่วนความดีความชั่วคืออะไรนั้นหาคำตอบได้ยากค่ะ สมัยดิฉันยังวัยรุ่นอยู่ก็ชอบค้นหาคำตอบลักษณะนี้ค่ะ แต่ตอนนี้หยุดแล้วค่ะ (แก่แล้ว) ลงมือทำเลยค่ะ ไม่ต้องคิดมาก เชื่อมั่นว่าเราทำในสิ่งที่ถูกต้องสิ่งที่ดีตามใจบริสุทธิ์ของเราเองค่ะ :)

     ความดี และ หนทาง/เครื่องมือไปสู่ความดี บางครั้งเรายังใช้ปน ๆ กัน ตามที่ผมคิดนะ และผมคิดต่อว่าเมื่อเราติดว่าได้ใช้เครื่องมือในการทำความดีแล้วเช่น การปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า เราเลยคิดว่านี่เป็นความดี ได้แล้วพอแล้ว หากแต่ทั้งนกและปลานั้น ก็หมุนเวียนกลับไปกลับมา ตามหลักการอุปสงค์ อุปทาน ไม่สิ้นสุด
     ไม่ได้มีที่มาที่ไปอะไรเลย ลองนำสิ่งที่คิดมา ลปรร.ดูนะครับ โต้แย้งได้ตลอดล๊ะครับ

ขอบคุณที่ติชมครับ

ดีชั่วไม่สำคัญ สำคัญตรงที่ หากคนเราแยกไม่ออกว่าสิ่งที่ทำไปดีหรือชั่ว สมควรหรือไม่สมควรที่จะกระทำ

นั่นคือสถานการณ์ที่แลวร้ายที่สุด

 ยิ่งสภาพการณ์ของปัจจุบัน ขอบของความชั่วยกระดับสูงขึ้น ตรงกันข้ามกับจิตใจของคน ทำให้ตัดสินใจกระทำความชั่วได้โดยง่าย โดยอาจจะมีข้ออ้างเพียงแค่ ใครๆเขาก็ทำกัน....เป็นต้น 

ใครๆ เขาก็เห็นแก่ตัวกัน

ใครๆ เขาก็แก้ผ้ากันแข่งกันขึ้นปก

ใครๆ เขาก็พูดคำว่ามึงกูกัน

ใครๆ เขาก็กินตามน้ำกัน

ใครๆ เขาก็........ฯลฯ.

จนกระทั่งคนที่จะทำความดีกลายเป็นแกะดำในฝูง

คนดีเลย อยู่ดีได้ไม่นาน....ถ้าไม่ใช้ปัญญาในการทำดี

 

ความดี ในความเห็นดิฉัน   น่าจะเกิดจาก คิดดี พูดดี ทำดี

คิดดีๆ จิตใจบริสุทธ์ผ่องใส มีเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญ ไม่คิดเบียดเบียนคนอื่น ไม่เอาเปรียบ

ทำดี ให้มีสติอยู่กับงานที่ทำ มีคุณค่า โปร่งใส ยุติธรรม เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

พูดดี ไม่โกหก ส่อเสียด พูดเอาความดีใส่ตัว ความชั่วใส่คนอื่น เป็นต้น

บางครั้งสิ่งที่เราทำดีๆ คนอื่นไม่เห็นวันนี้ เขาก็เห็นวันหน้า ถ้าเราทำดีต่อเนื่อง ไม่เห็น ก็ไม่เป็นไร เรารู้อยู่กับตัวเอง และสบายใจที่ทำดี

คนเราพยายามแสวงหาความดีจากคนอื่น...แต่ไม่ค่อยมีคนที่พยายามทำความดีเพื่อคนอื่นเลย

ความดีคือ ความไม่เสีย หมายถึงดี สวย งาม เรียบร้อย เพราะ จัด เก่ง ชอบ และอยู่ในสภาพปกติ ถ้าเป็นสิ่งของ ของดี ของสวย ของงาม ของเรียบร้อย ของเพราะ ของจัด ของเก่ง ของชอบ

ถ้าเป็นคน คือคนดี คือคนที่รู้จักเหตุ -ผล-ตน-ประมาณ-กาล-บริษัท-บุคคลเรียกว่าคนดี ซึ่งถ้าตรงกันข้ามก็เรียกว่าคนชั่ว

หลักธรรมของพระพุทธเจ้ามีหลายหมวดกล่าวถึงคนดี เช่น ความกตัญญูกตเวีที เป็นเครื่องหมายของคนดี หรือ กุศลกรรมบท ๑๐

เป็นต้น

ความดีไม่ใช่แฟน ทำแทนกันไม่ได้

จงเข้าใจเหตุผลทุกคนจ๊ะ

ปัจจัตตังเป็นของตนเฉพาะตนนะ

เป็นคำพระพุทธองค์ผู้ทรงฌาน

ไม่ทำร้าย พูดร้าย หรือคิดร้าย

บ้านเมืองไทยหมดปัญหาสารพัน

จะเสื้อเหลืองเสื้อแดงตะแบงกัน

เหตุผลนั้นคือทำดีคิดดีพอฯ

ความดี” คือการทำให้เกิดผลดีอย่างมีคุณค่าต่อผู้อื่น ต่อส่วนรวม รวมถึงต่อตนเอง ดังนี้

• ผลดีต่อผู้อื่น โดยเฉพาะที่ไม่จำกัดพวก เหล่า ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ

• ผลดีต่อส่วนรวม รวมถึงต่อหมู่คณะ ต่อองค์กร ต่อชุมชน ต่อสังคม ต่อโลก ฯลฯ

• ผลดีต่อตนเอง ได้แก่การพัฒนาตนเองอย่างเป็นคุณและสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาทางกาย ทางอารมณ์ ทางความคิด ทางจิตวิญญาณ ทางสติ ปัญญา ความสามารถ ฯลฯ

“ความดี” เป็นสิ่งที่มีมาในอดีต มีอยู่ในปัจจุบัน และจะมีต่อไปในอนาคต

“ความดี” คืออุดมการณ์อันสูงส่ง ของสังคมที่พึงปรารถนา

“ความดี” คือรากฐานอันแน่นลึก ของสังคมอุดมธรรม

“ความดี” คือแรงขับเคลื่อนอันทรงพลัง ซึ่งจะช่วยให้สังคมเคลื่อนไปในทิศทางที่พึงประสงค์

“ความดี” คือสายใยอันนุ่มเหนียว ที่ร้อยโยงผู้คนหลากหลายไปสู่ความสันติ ความเจริญ และความสุข ร่วมกัน

เมื่อจะพูดถึงความดี ต้องแบ่งคนในโลกเป็น 2 คน คือ หนึ่งตัวเรา และสองคนอื่น ความดีจึงเป็นการกระทำ และปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการกระทำนั่นเองซึ่งจะทำหรือพูดก็ได้ ความดีมีนิยาม 4 ประการ เป็นหลักสากล ดังนี้ ความดีหมายถึง

ก.การคิดและการกระทำใดๆก็ได้ ที่ตนเองและผู้อื่นไม่เดือดร้อน เช่นการเลือกงาน เลือกทานอาหาร เลือกเสื้อผ้าการแต่งกาย อยากตัดสินใจทำอะไรก็ทำได้ หรือบอกความรู้สึกว่าตนกำลังโกรธยังไม่พร้อมที่จะฟังเรื่องนี้ ขอผลัดเป็นเวลาอื่น การพูดหยาบคายในกลุ่มเพื่อนสนิท แม้แต่การไม่พูดความจริงถ้า

ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็เป็นความดีได้

ข.การคิดและการกระทำใดๆก็ได้ ที่ตนเองไม่เดือดร้อน และผู้อื่นพอใจด้วย เช่น ขณะเดินทางไปทำงานพบคนเป็นลม เต็มใจที่ช่วยเหลือพาคนไปส่งโรงพยาบาลโดยที่ตนเองไม่เดือดร้อน และผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือพอใจ ระลึกในบุญคุณที่ได้รับการช่วยเหลือ เป็นต้น

ค.การคิดและการกระทำใดๆก็ได้ ที่ตนเองพอใจและผู้อื่นไม่เดือดร้อน เช่นการไปยืนตะโกนด่าใครสักคนทีทะเลโดยไม่มีใครได้ยิน หรือการเขียนไดอารี่ระบายอารมณ์ รัก โกรธ เกลียด ฯลฯ อยากด่าก็เขียนได้เต็มที่หากกลัวก็ใช้โค๊ตแทนบุคคลที่ต้องการด่าหรือพูดระบายกับเพื่อนสนิท สามี ภรรยา จิตแพทย์

นักจิตวิทยา เป็นต้น หรือการช่วยตัวเอง โดยการทำ มาสเตอร์เบชั่น แล้วนึกภาพคนที่ตนเองหลงรักแทนการไปข่มขืนหรือทำอนาจาร รวมถึงการพูดคุยล้อเลียนกันในหมู่เพื่อนฝูงก็ทำได้

ง.การคิดและการกระทำใดๆก็ได้ ที่ตนเองพอใจและผู้อื่นก็พอใจด้วย ซึ่งถือเป็นความดีระดับสูงสุด ตัวอย่างสนับสนุนความหมายของความดี ขอให้นึกย้อนไปถึงเรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งสั่งสอนกันเสมอว่า เป็นทานบารมีชั้นสูงสุดและเรียกกันว่าเป็นความดี(บารมีแปลว่า ดี) นั้นเป็นความดีจริงหรือ เพราะการ

กระทำดังกล่าว เป็นการพอใจเพียงฝ่ายเดียวของพระเวสสันดร ส่วนโอรสธิดาและพระมเหสีกลับได้รับความเดือดร้อน พระเวสสันดรก็หาได้รู้สึกพอพระทัยอย่างแท้จริงไม่ เพียงแต่กดเก็บความโกรธเอาไว้อย่างมาก ถ้าเป็นความดีจริงพระเวสสันดร ก็คงจะบรรลุนิพพานไปแล้ว เรื่องนี้เป็นเพียงพระพุทธองค์เล่า

ให้ฟังถึงความพยายามลองผิด ลองถูก ในอดีตให้ฟังว่าได้ทดลองทำความดีโดยคิดว่า ถ้าเราพอใจแล้วใครจะเดือดร้อนก็ไม่เป็นไรแล้วกระทำลงไป ซึ่งผลที่สุดตัวเองก็ต้องเดือดร้อนจากผลที่ทำลงไปนั้นด้วย พุทธประวัติสมัยเมื่อพระสิทธัตถะออกบวชใหม่ๆ ก็คิดและทำให้ตัวเองเดือดร้อนโดยไม่ทำให้

คนอื่นเดือดร้อน เช่น นั่งตากแดด ตากฝน อดอาหาร เป็นต้น ก็ไม่ใช่ความดีอีกเช่นกัน ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ได้คิดว่าถ้าดี ตนต้องไม่เดือดร้อนและผู้อื่นก็ไม่เดือดร้อน จึงเริ่มฉันอาหารแล้วก็ได้ตรัสรู้ต่อมา และการอยู่ต่อมาหลังตรัสรู้อีก 45 ปี นั้นก็เป็นการทำความดีอย่างแท้จริง คือทำในสิ่งที่พระพุทธองค์พอใจและผู้อื่นก็พอใจด้วย นั่นคือการออกเทศนาเผยแพร่พระ

ธรรมคำสั่งสอนทำให้พระภิกษุ เป็นพระอรหันต์ได้มากมาย สำหรับในชีวิตประจำวัน ความดีที่ทำได้ง่ายที่สุดโดยไม่ต้องลงทุนอะไร ก็ได้แก่การพูดจาภาษาดอกไม้ระหว่างพ่อ แม่ ลูก เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ก็ถือเป็นความดีตามหลักเกณฑ์นี้เช่นกัน เพราะผู้พูดก็มีความสุข ผู้ฟังก็มีความสุข

เป็นการทำตนเองให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของตนเองและผู้อื่น ใครอยู่ใกล้ก็มีความสุข ความพอใจ.

เก็บความจากหนังสือ ยุทธศาสตร์ การพัฒนา คุณภาพชีวิต

ความดีคือการทำธาตุ,สาร(จิตวิญญาณ,ตนเอง)ให้เกิดความบริสุทธ์ขึ้นตามลำดับจนถึงที่สุดนิพพาน...

 

((((ดีมากๆชอบหยิบเอาไปหลายบท))))

การศึกษาธรรมะภาษิตเป็นความดี

ความมักน้อยสันโดษเป็นความดี

ความไม่เบียดเบียนเป็นความดี

การไม่คิดประทุษร้ายเป็นความดี

การฟังโอวาทโดยเคารพเป็นความดี

การระวังในทุกๆที่เป็นความดี

การประพฤติตามธรรมเป็นความดี

ความสุจริตเป็นความดี

ศีลห้าเป็นความดี

การอยู่โดยไม่มีห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ

ผมเพิ่งเขียนบทความชื่อ กฏและธรรมชาติกับสภาวะลักลั่นในคุณค่าความดีในทางการเมือง

นำเสนอในงานประชุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสน์แห่งชาติ ครั้งที่ 11

ว่างๆ จะเอามาลงให้อ่านเปรียบเทียบกันดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท