ผลได้ข้างเคียงจากการเป็นพี่เลี้ยง โครงการ Patho-OTOP


"คุณแม่เปลี๊ยนไป๋"

   บันทึกนี้ต้องขอเลียนแบบชื่อบันทึกมาจากเจ้าของชุมชนที่ได้บันทึกไว้เมื่อ 16/07/2005 สักหน่อย  ถึงแม้เรื่องราวจะค่อนข้างเป็นส่วนตัว แต่ก็เป็นผลเกี่ยวเนื่องกับการได้ร่วมกิจกรรม Patho-OTOP เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อสองวันก่อน ลูกสาวคนเล็ก (ชื่อน้องจิ้น) เรียนอยู่ชั้น ป.5 ได้ปรึกษาเรื่องจะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ส่งคุณครู โดยทำเป็นงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน 2-3 คน ลูกสาวมีปรไดะสบการณ์ในการทำโครงงานมาบ้าง สามารถคิดเค้าโครงเรื่อง วางแผนว่าจะทำอะไรเองได้ แต่พอให้ลองเขียนโครงงานมาให้ดู ปรากฏว่าคุณแม่อ่านไม่รู้เรื่องเลย ถ้าเป็นเมื่อก่อนคุณแม่คนนี้ก็คงทำได้ 2 ทางคือ ให้เขียนๆไปเถอะ เดี๋ยวคุณครูก็แก้ไขหรือช่วยเองแหล่ะ  อีกวิธีหนึ่งก็คือ เอาปากกากับกระดาษมาเร็ว เดี๋ยวแม่จะเขียนให้ รับรองแจ๋วแน่ๆ 

   แต่ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆ หลังจากที่ได้มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ช่วยหาแนวทางในการดำเนินงานให้กลุ่มนักพัฒนาหลายๆกลุ่ม หลากหลายความคิด และหลากหลายวิธีการ ก็ทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น ใจเย็นขึ้น จึงใช้วิธีพูดคุยกับลูก ให้ลูกเล่าให้ฟังโดยละเอียดว่าลูกคิดจะทำอะไร ทำไปทำไม และมีเหตุผลอะไรสนับสนุนบ้าง ค่อยๆตั้งคำถามตามลำดับ และให้เขียนคำตอบลงในกระดาษ หลังจากนั้นจึงให้นำคำตอบเหล่านั้นไปเขียนเป็นร่างโครงงานตามรูปแบบที่คุณครูกำหนดมาให้  ได้ผล! ร่างโครงงานที่ลูกเขียนมาใหม่อ่านได้เข้าใจ ชัดเจน มีคำถามและคำตอบอยู่ในตัว แต่สำนวนก็คงเป็นประมาณเด็กประถมนั่นแหละ ลูกภูมิใจในผลงานของตัวเอง และบอกว่า "คุณแม่เปลี๊ยนไป๋" แม่ไม่ใช้วิธีเขียนๆๆแล้วโยนผลุงให้ลูกลอกอีกแล้ว  ตรงนี้ต้องขอบคุณโครงการ Patho-OTOP และสมาชิกนักพัฒนาทุกคน ที่ช่วยให้ได้ประสบการณ์ในการเป็นพี่เลี้ยงจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 1916เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2005 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะขอนำเทคนิคไปใช้กับลูกบ้าง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท