เรื่องเล่าจากดงหลวง 119 สำนึกคืนถิ่นเกิด


“สุ” นั่งลงที่สวนทบทวนความคิดตัวเอง ไม่เห็นเราจะต้องรีบตื่นแต่เช้ามืดเลย เราเข้าสวนก็มีอาหารติดมือกลับบ้านทุกวัน วันวันไม่มีรายจ่ายอะไรเลย พืชผักที่พ่อปลูกก็ขายได้ ทั้งเพื่อนบ้านและแม่ค้ามาสั่งให้เก็บโน่น เก็บนี่ขาย ก็พอมีรายได้เกือบทุกวัน ..ไม่ต้องแข่งขัน ไม่มีใครมาดุด่า มีแต่ความรักที่พ่อแม่มีให้

หนุ่มสาวอีสานหรือไม่ว่าภาคไหนๆต่างก็ฝันว่าอยากเข้าไปทำงานกรุงเทพฯ หรืออย่างน้อยก็ไปเที่ยวสักครั้ง ก็เห็นเพื่อนบ้านเดินทางไปกันทั้งนั้น ทั้งหญิง ชาย ต่างกลับมาดูเท่ห์ ดูแกร่งกล้า และทันสมัยอย่างที่วิทยุ ทีวีเขานิยมกัน บางคนเดินทางกลับมาตอนทำนา ตอนสงกรานต์ หรือช่วงงานบุญบ้านเรา..  

สุพรรษา หรือ สุ เยาวชนหญิงสาวบ้านหนองสองหางก็ฝันอย่างนั้น เธอเฝ้ารอวันเรียนจบมัธยมจะรบเร้าขอแม่เข้าไปทำงานกรุงเทพฯตามเพื่อนพี่พี่เขาให้ได้ ใจเธอแทบไม่อยู่ติดบ้านเลย พ่อแม่ชวนไปทำนาทำสวนก็ไม่สนใจ ทำไปทำไม งานหนัก ตากแดดผิวดำ สู้ไปทำงานกรุงเทพฯดีกว่า ได้แต่งตัวสวยๆ ได้เดินห้างแอร์เย็นฉ่ำ  เมื่อเธอเรียนจบ ม. 6 จึงไม่รอให้เพื่อนชวนแต่อย่างใด เธอซะอีกที่ออกปากชวนเพื่อนเดินตามรอยรุ่นพี่เข้ากรุงเทพฯไปขายแรงงาน...  

ชีวิตในกรุงเทพฯสนุกสนามจริงๆอย่างที่ฝัน  แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่ฝันทั้งหมด สุได้มาทำงานหลายอย่างเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามใจชอบ โดยเริ่มจากเป็นพี่เลี้ยงเด็กเล็ก  งานร้านซุปเปอร์มาร์เกต เธอจะเปลี่ยนงานทันทีที่เมื่อพบว่างานเดิมมีปัญหา งานสุดท้ายของ สุมาทำงานโรงพิมพ์ งานนี้เธอสนุกมาก มีเพื่อนมากมาย ได้แต่งตัวสวยๆที่เธอชอบตามยุคสมัย ทำงานในห้องแอร์เย็นสบายไม่ต้องตากแดด   

นานเข้า...นานเข้า สุ เกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้นมาใหม่... แม้ว่าจะมีรายได้พอสมควร แต่กรุงเทพฯค่าครองชีพสูงเหลือเกิน  เธอพบว่าเงินที่ได้มาชักไม่พอรายจ่ายในแต่ละเดือน ค่าเช่าบ้าน ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าเครื่องสำอาง และอื่นๆจิปาถะ เมื่อถึงปลายเดือนต้องมานั่งกังวลว่าจะทำอย่างไรกับเงินที่รับมาไม่พอกับค่าใช้จ่าย เธอพยายามคิดว่าจะหาทางหารายได้เพิ่มได้อย่างไร  แต่ความรู้แค่ ม.6 กับสังคมกรุงเทพฯที่เธอไม่รู้จักใคร ในที่สุดเธอก็ออกปากขอเงินจากทางบ้าน  เธอพบว่าวันๆก็ต้องรีบเร่งเดินทาง ทำงานให้ทันตามคำสั่งเจ้านาย ทำไม่ดีก็โดนดุด่า จิตใจลึกๆเธอเริ่มสับสน เธอตั้งใจเข้ามาเมืองหลวงหางานทำเพื่อเก็บเงิน แต่ต้องกลับขอเงินจากทางบ้านมาใช้เพิ่ม...ทำไม ??  

เมื่อถึงช่วงเทศกาลงานบุญ สุ ขอลางานกลับบ้านมาพบพ่อแม่ ญาติพี่น้อง  และทุกครั้งที่กลับมาบ้านพ่อแม่เฝ้าชักชวนเธอทำนาทำสวน แม่กับพ่อเตรียมไว้ให้ลูกสาวคนนี้แล้ว แต่ใจเธอก็ผูกติดกับเมืองกรุงเสียแน่นแล้ว   แต่วันที่ฟ้าเปลี่ยนสีก็มาถึง เมื่อพ่อที่เป็นที่รักของเธอไม่สบายหนัก สุ ต้องตัดสินใจกลับไปดูแลพ่อ กระนั้นเธอยังคิดว่าจะมาแค่ชั่วคราวเท่านั้น  เมื่อพ่อดีขึ้นจะกลับเข้าเมืองกรุงอีก... 

สุ ต้องดูแลพ่อที่ป่วยแล้วยังต้องฝืนเข้าสวนที่พ่อทำเกษตรผสมผสานทิ้งไว้ให้ อย่างไม่ตั้งใจเท่าไหร่นัก สุ เข้าสวนทุกวันเพราะพ่อปลูกพืชหลายอย่างไว้ ต้องดายหญ้า เอาปุ๋ยใส่ต้นผัก และไม้ผล เอาอาหารให้ปลาในสระน้ำ ดูแลต้นไม้นานาชนิดรอบคันสระน้ำ และรอบๆเถียงซึ่งโตทึบไปหมด ไม่โดนแดดเท่าไหร่ วันหนึ่ง สุ นั่งลงที่สวนทบทวนความคิดตัวเอง ไม่เห็นเราจะต้องรีบตื่นแต่เช้ามืดเลย เราเข้าสวนก็มีอาหารติดมือกลับบ้านทุกวัน วันวันไม่มีรายจ่ายอะไรเลย พืชผักที่พ่อปลูกก็ขายได้ ทั้งเพื่อนบ้านและแม่ค้ามาสั่งให้เก็บโน่น เก็บนี่ขาย ก็พอมีรายได้เกือบทุกวัน ..ไม่ต้องแข่งขัน ไม่มีใครมาดุด่า มีแต่ความรักที่พ่อแม่มีให้ ญาติพี่น้องก็อยู่กันครบทั่วหน้า คิดถึงใครก็เดินไปเยี่ยมไปหากัน..หมู หมา ก็มีให้เราได้เล่นเพลินๆ   

เราอิสระจริงๆ เงินทองเรามีเก็บด้วยซ้ำไปแม้ว่าจะได้น้อยแต่เราก็ไม่มีรายจ่าย หรือจ่ายน้อย  พอเพียงแล้ว... สุบอกกับตัวเองว่าจะแต่งตัวไปให้ใครดูกัน หน้าตาเราก็สวยแบบธรรมชาติอยู่แล้วไม่ต้องเสริมแต่งอะไร.. 

สุ ตัดสินใจไม่กลับไปกรุงเทพฯอีกแล้ว เธอพบชีวิตที่แท้จริงแล้ว เธอพบสิ่งที่เธอต้องการแล้ว  นอกจากงานในสวน เธอยังพอมีเวลาเหลือ เธอตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มเยาวชนที่เรียกว่า นักนิเวศวิทยาชุมชน เข้าไปศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ พี่ๆ ถึงเรื่องของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ท้องถิ่นเรา เธอคิดว่าน่าสนใจมาก เธอไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลยหลายเรื่อง เช่นเรื่องต้นไม้ต่างๆในสวนของเธอว่ามันเป็นสมุนไพร แก้โรคต่างๆ ฯลฯ  

เธอเห็นว่าตัวเธอมีคุณค่าต่อสังคมท้องถิ่นของเธอ และเธอคือคนหนึ่งที่เป็นผู้อธิบายให้แก่เพื่อนๆ น้องๆที่คิดจะลงไปทำงานกรุงเทพฯ เหมือนอย่างที่เธอเป็นมาก่อน... 

ตาใสซื่อของเธอ มองไปข้างหน้าอย่างมีความหมาย.. 

สุพรรษา เธอคือสำนึกแห่งยุคสมัย..

หมายเลขบันทึก: 104385เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

นับเป็นนิมิตรหมายอันดีค่ะ ที่มีคนอย่างสุ อยากให้มีมากๆ เพราะส่วนใหญ่กลับไปแล้วก้กลับมากรุงเทพอีก บอกว่า ไม่รู้จะทำอะไรที่โน่นค่ะ

สวัสดีครับท่าน
P

ครับ เราอยากให้มี น้อง สุ มากๆ กลับบ้านเกิดเถอะ 100 คนอาจจะมีสัก 5 คนกระมังครับ

  • หรือกลับบ้านเหมือนกันแต่ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ คือไม่อยากทำอะไร เอาแต่ขี่มอเตอร์ไซด์เที่ยว ผลาญน้ำมันเล่นไปวันวันหนึ่ง แบบนี้ก็มีให้เห็น ที่
  • หรือกลับมาเพราะมีลูกมีสามี ภรรยากันก็หอบกันกลับบ้าน เอาลูกทิ้งให้ย่าให้ยายเลี้ยงแล้วกลับเข้ากรุงกันอีก
  • เราไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมกับคนกลุ่มนี้เท่าใดนัก แม้แต่ราชการเองก็ตาม
  • ความจริงคนกลุ่มมีก็มีดีหลายอย่างหากจิตใจเขาสำนึกถึงบ้านเกิดมากๆ เพราะหลายคนมีประสบการณ์ทางช่าง ก็สามารถเอาความรู้ไปพัฒนาถิ่น หรือความรู้อื่นๆ หากมีการสำรวจแล้วลองหาทางให้เขาเอาศักยภาพออกมาพัฒนาชุมชนก็น่าที่จะเกิดประโยชน์แก่ชุมชนเขาได้บ้าง
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ดีใจที่มีคนอย่าง สุ อยู่บ้างค่ะ ถึงน้อยก็ยังเป็นแนวโน้มที่ดี ...

เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนว่าถ้า สุ ไม่อดทน ไม่ยอมตรากตรำ กรำแดดบ้าง สุ ก็คงกลับกรุงเทพฯ อีก..

ดิฉันว่าตากแดด มือด้าน ดีกว่าโดนดุด่าแล้วไม่มีเงินใช้ค่ะ ...

สุขภาพกาย และสุขภาพใจดีกว่าเยอะค่ะ ทำงานแล้วได้ออกกำลังไปในตัว.. มีรายได้ ไม่เป็นหนี้ และอยู่กับธรรมชาติ สบายใจกว่ากันเยอะเลยใช่ไหมคะ

ขอบคุณที่นำเรื่องประเด็นดีๆ มาเล่าสู่กันฟังเสมอนะคะ

 

สวัสดีครับอาจารย์
P

ความจริงลึกๆ งานที่เราทำส่วนหนึ่งก็ต้องการดึงคนกลับท้องถิ่น  แต่ดูจะทำได้เพียงไม่กี่คน  สู้แรงดึงทางใจของสังคมเมืองไม่ได้

แต่ก็ดีที่มี case ของ "น้องสุ" พอจะอ้างอิงได้บ้างว่ากิจกรรมเกษตรผสมผสานนั้นหากทำให้เต็มที่แล้วสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ในระดับสังคมชุมชน แต่สังคมเมืองนั้นยากครับ

เหลือแต่ว่าเราจะถึงตัวกลุ่มเป้าหมายให้มารับรู้และทำอย่างไรจึงจะให้เกิดสำนึกอย่างน้องสุได้ ยากจริงๆครับ  แต่เมื่อได้น้องสุหนึ่งคน คำพูดของเธอมีน้ำหนักมากกว่าเราพูด 100 คนครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

  • น้องชายผมเข้า ๆออกๆบ้านกรุงเทพฯหลายคราว
  • ไปคราวไหนกลับมาก็บอกว่าจะไม่ไปอีก
  • แต่สักพักก็ไปอีก เหมือนเคย
  • ได้แต่ปล่อยให้เรียนรู้ด้วยตนเองครับ
  • ใส่ความคิดท้องถิ่นไปที่ละน้อยเวลาเขาคิดถึงบ้านนาของเรา
  • ผมคิดว่าสักวันเขาจะกลับมาอยู่บ้านนาของเรา
  • สวัสดีครับ
  • ดีนะที่เรื่องจบลงด้วย "ความสุข"
  • สุ  คงเป็นตัวแทนผู้คนในสังคมไทยอีกหลายล้านคน
  • แต่ที่น่าเศร้า คือ ส่วนหนึ่งกลับดูถูกถิ่นเกิดของตัวเอง  ก็ยังมีให้เห็นอีกมาก
  • ขอขอบคุณครับ  สวัสดี

สวัสดีครับคุณบางทราย

ผมคิดว่าคนอย่าง"สุ"คงหาได้ยากมากในสังคมชนบทอีสานครับ

ปัญหาจากสภาพความแห้งแล้งของพื้นที่เพาะปลูก ผู้คนมีการศึกษาน้อย งานที่มีให้ทำก็น้อย   ทุกชีวิตจึงต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด  

ร้าน"ลาบเป็ดอุดร ลาบร้อยเอ็ด ฯลฯ" หรือรถเข็นขายส้มตำไก่ย่างของคนอีสาน มีให้พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศไทย  นอกนี้คนขับแท็กซี่และพนักงานทำความสะอาดในเมืองหลวง มากกว่าครึ่งเป็นคนอีสาน

ผมเชื่อว่าในใจลึกๆแล้วคนอีสานคงไม่ได้อยากทิ้งบ้านเกิดของตัวเองหรอกครับ  แต่ถ้าไม่ทำอย่างนี้แล้ว ผมก็ยังนึกไม่ออก ว่าพวกเขาควรจะทำอย่างไรจึงจะอยู่รอด?

สวัสดีครับคุณ

P
  • ไม่ได้คุยกันเสียนาน
  • ผมเองก็ไม่ได้โผล่ไปไหนเลย Post เสร็จก็แวบออกไปทำรายงานต่อ เยอะจริงๆครับ
  • ผมคิดว่าสักวันเขาคงเข้าใจโลกมากขึ้น ตนเราบางทีต้องการช่วงเวลาที่สรุปบทเรียนด้วยตัวเอง ขอเวลาให้เขาหน่อย  แต่หากเรามีโอกาสคุยกับเขาบ้างก็ดีครับ
  • ผมเห็นด้วยครับ

สวัสดีครับ น้อง

P
  • พี่เห็นและพบน้อง สุ ก็ทึ่งในการตัดสินใจของเขา และประทับใจ แบบสะใจโก๋ เพราะเราไม่ค่อยพบกรณีแบบนี้มากนัก
  • ส่วนมากเป็นจิ๊กโก๋ ผมฟูเต็มหัวกลับมาบ้าน พ่อแม่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เขาก็ล่องลอยไปวันวันเท่านั้น
  • พบกรณีน้อง สุ เลยชื่นใจครับ
สวัสดีครับ อาจารย์
P
  • ข้อคิดเห็นของอาจารย์ผมเห็นด้วยว่าหายากกรณีแบบน้อง สุ
  • และเหตุสำคัญที่พี่น้องอีสานต้องมาอยู่ต่างถิ่นก็เพราะหางานทำ นั่งแท็กซี่ก็ไม่พลาด คันไหนคันนั้น
  • กลับไปบ้านก็ไม่มีเงื่อนไขที่ดีพอที่จะทำมาหากิน แหล่งน้ำก็ไม่มี หากมีก้ไม่รู้จะปลูกอะไร ปลูกทีไรก็ขายไม่ได้ หรือถูกกดราคาต่ำ ลงมาจนขาดทุน  แล้วจะฝืนเสี่ยงไปทำไม
  • ไปหางานทำที่เสี่ยงน้อยกว่า หรือไม่เสี่ยงเลยดีกว่า  นี่คือประเด็นใหญ่ที่สุดที่คนทำงานพัฒนาคิดอยู่ว่รจะทำอย่างไรให้คนไหลออกจากภาคการเกษตรน้อยที่สุด ซึ่งไม่เคยพบวิธีการที่ดีเพียงพอเลย อาจจะมีกลับบ้านบ้างก็เปอร์เซนต์น้อยมากๆ อย่างกรณีน้อง สุ น่ะครับ
  • จุดอ่อนในงานพัฒนาโดยรัฐมีมากมาย สาธยายไม่หมด เป็นว่าโครงการพิเศษที่ผมทำอยู่นี้ก็พยายามใช้ความพิเศษนี้ทำงานด้านนี้ด้วย  แต่ก็มองไม่เห็นฝั่งในเรื่องดึงคนกลับถิ่น มีน้อยจริงๆครับ
  • เลยเอาคนที่อยู่พื้นที่นั่นแหละ ทำให้เขาดีขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้เงื่อนไขของโครงการพิเศษ แต่ก็ไม่ได้วิเศษอะไรเลย...ครับ

 

สวัสดีค่ะพี่ไพศาล นุชไม่ได้เข้ามาบล็อกนานเป็นอาทิตย์ๆ อย่างที่เคยบอกไว้ค่ะ เพราะต้องมีสมาธิในการเขียนหนังสือทั้งเล่ม ขนาดไม่ถึงร้อยหน้าก็รู้สึกว่าต้องใช้ สมาธิ สติ ปัญญา และหลักธรรมอีกหลายข้อ เลยพูดเล่นๆว่าหายไป ปฏิบัติธรรม ผ่านการเขียนหนังสือ(วิชาการ ที่อยากให้อ่านเพลิน)เรื่อง "มหัศจรรย์ KMเบาหวาน" เพิ่งเขียนต้นฉบับเสร็จวันนี้เองค่ะ

ไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพต้องBuild อารมณ์นาน แถมบางทีก็มีภารกิจครอบครัว กระท่อนกระแท่นกว่าจะเสร็จลงได้ มีความภูมิใจเล็กๆว่าได้ทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคม(บ้าง)

อ่านเรื่องแบบน้องสุนี้ทำให้มองชีวิต มีความหวังและสดชื่น เหมือนเรื่องเล่าอีกหลายๆเรื่องในหนังสือที่เขียน คือเขียนชี้ถึงปัญหาและก็ชี้ถึงทางออก แสดงตัวอย่างที่ดีได้จากเรื่องเล่าค่ะ

สวัสดีครับ น้องคุณนายดอกเตอร์

  • หายหน้าไปก็คิดถึงกัน เข้าใจว่าคงมีภารกิจสำคัญอยู่หรอก
  • พี่เองก็ไม่ต่อเนื่องเพราะต้องออกสนาม เก็บข้อมูล ทำรายงาน ก็เขียนเหมือนกัน แต่เป็นรายงาน ยังไม่เสร็จเลยครับ
  • การเขียนหนังสือต้องมีสมาธิมากๆและต่อเนื่อง หากมีอะไรมาตัดอารมณ์ กว่าจะเริ่มใหม่บางทีใช้เวลานานเหมือนกัน  แต่ถ้าไหล ก็ไหลเป็นน้ำเลย
  • หวังว่าคงสะบายดีนะครับ

สวัสดีค่ะพี่บู๊ท

หนิงก็เคยโดนหลายๆคนถามว่า  กลับมาทำไม  เมื่อครั้งทิ้งงานที่ รพ.บำรุงราษฏร์ กลับมารับราชการที่มหาสารคามค่ะ  ตอนนั้นก็คิดเหมือน   

นานเข้า...นานเข้า สุ เกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้นมาใหม่... แม้ว่าจะมีรายได้พอสมควร แต่กรุงเทพฯค่าครองชีพสูงเหลือเกิน   ค่ะ  แต่หนิงไม่ถึงกับขอเงินที่บ้านใช้หรอกนะคะ  แค่ทำอยู่ 2 ปี  แม้จะไม่ถึงกับอาบเหงื่อต่างน้ำเพราะทำในห้องแอร์ตลอดค่ะ       แต่รู้สึกว่า...ทำมาตั้งนานไม่เห็นเก็บได้สักเท่าไหร่ เวลาก็ผ่านไปๆ  ชีวิตเหมือนไม่มีอะไรเลย นอกจากหอพักกับward    เลยกลับบ้านค่ะพี่  อีกอย่างช่วงนั้นคุณแม่ประสบอุบัติเหตุเลยกลับมาแล้วไม่อยากกลับไปอีกค่ะ  อย่างน้อยๆอยู่ที่นี่  บ้านเรา แม่เรา  เป็นอะไรก็ได้ดูแลกันเนอะ  มีลูกเรียนพยาบาล  ก็หวังฝากฝีไข้ ยามแก่เฒ่าหละค่ะ  แล้วเราจะมัวไปดูคุณแม่คนอื่นอยู่กทม.ทำไม

สวัสดีอีกครั้งครับ  พี่ไพศาล

ทุกเรื่องราว  ผมว่าเป็นประสบการณ์ชองคนๆน้น  เราเพียงแต่ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีงาม  ที่สร้างสรรค์  แก่กันและกัน  เพื่อจะไม่ต้องตกกับดัก หรือในวังวนโง่ซำซากอีก  ประมาณนั้น

เออ  พี่กรุณาส่งเบอร์อีเมลของพี่ให้ผมด้วย  หรือจะเข้าบล็อคของผมตรงใบสมัคระฟดห

ขอโทษยังไม่จบ  เครื่องมันรับเข้าไปดื้ออย่างนั้นแหละ

ผมจะได้นำชื่อที่อยู่เข้าระบบของเรา  เพราะทำงานกันหลายคน  มีข่าวสารจะได้ส่งให้ครับ  สมัครสมาชิกtafs

สวัสดีน้องหนิง
P

 

พี่คิดว่าการตัดสินใจเช่นนั้นประเสริฐแล้ว หากมีโอกาสก็ต้องดูแลท่านให้ดีที่สุด เป็นบุญ เป็นมงคลนะครับน้องหนิง

กรุงเทพฯเหมาะสำหรับคนกรุงเทพฯที่เคยชินกับสภาพเช่นนั้น คนต่างจังหวัดมาอยู่ในสภาพที่โปร่งกว่ากรุงเทพฯ ให้คนกรุงเทพฯอิจฉาเราดีกว่า

คำพระในมงคลสูตรยังกล่าวว่า การดูแลบุพการีให้มีความสุขตามอัตภาพเป็นมงคลยิ่งนัก ครับ

สวัสดีครับ TAFS

.เราท่องเที่ยวไปในโลกชนบท เห็นอะไรก็เอามาบอกกล่าวกัน ดีบ้าง แย่บ้าง อ่านแล้วสุขบ้างทุกข์บ้าง ก็มันเป็นความจริงในสังคมน่ะครับ  บางเรื่องคนในเมืองอาจะยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำไป บางเรื่องคนทั่วไปอาจจะยังไม่เข้าใจความหลากหลายของชีวิต เราก็เอามาเล่าสู่กันฟัง

เพีงแต่ว่าบางช่วงงานล้นมือก็ไม่ค่อยมีโอกาสเข้ามาและไม่มีเวลาไปเยี่ยมเพื่อนๆใน G2K ครับ เดี๋ยวพี่จะตามไปเอา mail address ให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท