เรื่องนี้ท่าจะยาว...มั้ง (8): ทำอย่างไร ขึ้นยานแบบไม่ยอมลง!?


ทำอย่างไร ขึ้นยานแบบไม่ยอมลง!?

เมื่อตอนบ่าย ณ ห้องไผ่ขจี โยดาบอกว่าคืนนี้จะว่าด้วย "ทำอย่างไร ขึ้นยานแบบไม่ยอมลง!? " ทำเอาบรรดาเด็กๆในห้องไผ่ขจีน้ำหูน้ำลายไหลกันยืดยาด

ภาษา Ken Wilber ก็คือ ทำอย่างไรเราจะยก state of conscious ให้เปลียน stage นั่นเอง

การได้สภาวะจิตนั้น เราทุกคนทำได้ทั้งนั้น เพราะทุกคนมีเครื่องมือเครื่องไม้พร้อมอยู่แล้ว เมื่อเข้าบริบทที่เหมาะสม จิตเราก็จะสามารถบรรลุสภาวะจิตนั้นได้ระยะหนึ่ง หลังจากบริบทหมดไปก็ลงมาใหม่ state of consciousness เป็นเสมือนก้อนเมฆที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเรื่อยๆ บางครั้งวิจิตรพิศดารดั่งปราสาทนิรมิตของวิษณุกรรมเทพ บางครั้งก็เป็นก้อนขยุกขยุยธรรมดาๆ บางครั้งเราหัดดนตรีอยู่ วันดีคืนดีก้เกิดเล่นได้ไพเราะเพราะพริ้งเหลือเกิน จนไม่อยากหยุดเล่น เพราะวันต่อมาก็เล่นอย่างนั้นไม่ได้แล้ว

ต่างจากเมื่อเราเปลี่ยนระดับจิต เปลี่ยน stage of consciousness เสมือนดั่งเราฝึก state ไปบ่อยๆ เรื่อยๆ ทุกลมหายใจ ในที่สุดเราก็กลายเป็น maestro ทางเครื่งอดนตรีที่เราเพียรฝึกฝน ในสภาวะจิตของบีโธเฟน โมสาร์ท นั้น เขาก็จะคิด มอง รับรู้ ใน stage อีก stage หนึ่งของดนตรี และไม่เคยเปลี่ยน stage ลงมาระดับต่ำกว่าอีกเลยตลอดไป

สภาวะของ I ที่พัฒนาเป็น We ที่พัฒนาต่อไปเป็น all of us นั้น ก็จะเปลี่ยนจากการพัฒนา stage ของปัจเจกบุคคล กลายเป็น stage of community เปลี่ยนจาก folk lore ไปเป็น myth ไปเป็นศาสนาหรือวัฒนธรรม เปลี่ยน "ยุคของคุณค่าของสังคม" ไปหมดทั้งชุมชน บางทีการที่ evolve เปลี่ยน stage หรือ "วิวัฒน์" นั้น จำเป็นในการแก้ปัญหาที่ยุ่งเหยิง

Einstein

"Every problem cannot be solved by the mind at the same level that created it in the first place

เข้า session ค่ำ การโดดลงเหวของหมอชาย

พอจะเริ่ม session กลางคืน ของวันที่สองงานมหกรรมฯ อ.ประสาทก็เล่นบทถนัดที่สุด (และผมว่าแก enjoy ที่สุดด้วย !!) คือการถีบคนลงเหว เดินไปเดินมาอยู่พักนึง พี่กิจจามือกีตาร์จากนครพิงค์ก็ยังไม่มา มีน้องแพรลูกพี่ยักษ์นั่งดีดต๊องๆ แต๊งๆ อยู่ อ.ประสาทค่อยๆย้ายร่าง (พุง) มาใกล้มองชาย จนต้องช้อนตาละห้อยขึ้น รู้ตัวอีกทีก็เมื่อกีตาร์ถูกจับยัดใส่มือเรียบร้อย "เอ้า หมอ.... นำเข้าหน่อยสิ"

ณ เวทีนี้มีดีอยู่อย่างนึง ใครก็ตามถูกถีบลงเหว ก็จะไม่ว่าอะไร อย่างมากก็ค้อนนิดหน่อย แล้วก็ตะเกียกตะกายอากาศ แหวกว่ายไปเท่าที่ร่ำเรียนมาจะหาได้ตอนนั้น หมอชายก็มีภูมิเก่าใช่เล่า เป็นนายวงดนตรี "สลึง" อยู่ ใช่ย่อยที่ไหน เพียงแต่คราวนี้ต้องมาจับคู่เล่ากับมือกีตาร์คลาสสิกชิงรางวัลอย่างน้องแพร ก็ต้องควักหัวใจออกมาดูกันหน่อย

สมาชิกก็เริ่มหลับตา เข้าสมาธิ ปล่อยใจล่องลอยไปตามสุนทรียโสตนำไปจากกีตาร์คู่ อาจจะมีก็แต่พี่ยักษ์กระมังที่ชำเลืองดูฝีมือลูกสาวที่มาโชว์ฝีมือกลางวงแบบนี้เป็นระยะๆ การกระโดดลงเหวนี้ดูเหใอนจะเป็นมุขฝึกปรือฝีมือของวงนี้ถี่ขึ้นๆ (พี่วิธานเคยบอก "อย่าให้ใครรู้เชียวว่ากลัวอะไร รับรองเป็นโดนถีบลงเหว (คือบังคับทำ) เรื่องนั้นแน่ๆ ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมที่สุด (ชนิดอาจจะเหลือแต่เตี่ยวในตัวเดียวกับมือหนึ่งข้างไว้ปิดเท่านั้น!!")

การถีบ หรือถูกถีบลงเหว เป็นการเพิ่มศักยภาพของคนได้อย่างดี ครู (หรือคนถีบ) นั้น ต้องเป็นกลัยณมิตรที่จิตอยู่เหนือ realm นั้นๆ เห็นได้ว่าไม่มีเลือดตกยางออก แล้วก็ค่อยๆบรรจงทาบฝ่าเท้าเข้ากับบั้นท้าย ยันออกไปอย่างนุ่มนวลเต็มแรง หลังจากนั้น ไม่ว่าจะทำสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ ไม่สำคัญมากเท่ากับเป็นประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือนของคนที่ลช่องลอยมาจากขอบเหว 

คำถามที่กระหึ่มอยู่ ณ ขณะนี้ก็คือ อย่างไรจึงจะเป็นวิถีชีวิตของคนที่ขึ้นยานแบบถาวร? เขายังเป็นคนอยู่ไหมหนอ หรือว่ากินมื้อเดียว ไม่หลับนอน ปลีกวิเวกอยู่ในป่าลึก อยู่ในถ้ำ รอคอยผู้มีบุญวาสนาเดินทาง (หรือตกเหว) มาพบเพื่อกราบเรียนวิชา?

พี่วิธาน:  "การจัดการความกลัว เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ และที่เรากลัวนั้น มักจะไม่ใช่กลัวสิ่งที่เราจะทำด้วย แต่เป็นการกลัวเพราะไม่รู้ ไม่มั่นใจ ไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น"

หมออภิชาติ (และทีม สปร) "อย่าลืมดูแลฐานกาย ออกกำลังกาย โดยเฉพาะแบบที่ฝึกสมาธิไปด้วย เช่นจีกง ไท้ชีฉวาน wave ดูแลซึ่งกันและกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ดูแลครอบครัวตัวเองด้วย สำคัญมากๆ" มีเสริมจากทีมด้วย "ความเข้าใจจากคนใกลชิดเป็นการหล่อเลี้ยงพลังที่ดีที่สุด มีคนเข้าใจ ดูแล มารับมาส่ง เวลาเราไปทำกิจกรรม แม้เพียงเล็กๆน้อยๆก็มีความหมาย และมีกำลังใจอย่างยิ่ง"

คุณณา อ.น้อง พี่ยักษ์ "สังฆะ สำคัญมาก และเหนืออื่นใดคือ "ครูใหญ่" เป็นเสมือนร่มโพธิ์ ร่มไทร เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นความอบอุ่นใจที่เมื่อมีอุปสรรค ก็จะรู้แก่ใจว่าจะหันหน้าไปหาใครได้"

สกล "งานที่เราทำ ทุกขณะจิต เราต้องรู้สึกว่าได้อะไร จะดีมากที่สุดก็น่าจะเป็น ทุกครั้งที่คนอื่นได้ เราได้ด้วย เมื่อนั้นงานก็ไม่เหมือนงาน ไม่เป็นภาระ ไม่เป็นอุปสรรค เป็นการเพาะปลูก เป็นการหว่านเมล็ดพืชเพื่อความสวยงามที่รอเวลาสุกงอมงอกงาม เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่สำคัญ การมีกัลยาณมิตรก็ช่วย บางทีเรารับรู้ถึงพลังของคนข้างเคียง เมื่อเรารับรู้ เราก็จะสามารถ "หยิบยืม" ได้ เสริมพลังที่พร่องไปเป็นครั้งคราวได้ ให้ยืมคนอื่นเมื่อถึงวาระก็ได้ หล่อเลี้ยงซึ่งกันและกันตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำงานขอให้มี conviction ว่าดีแล้ว ควรแล้ว เป็นมงคลแล้ว เพื่อเพาะ moral couragement โดยไม่ต้องกังวลกับผลลัพธ์มากไป"

โยดา (อ.วิศิษฐ์) "ถ้าหากคนเราได้ทำแต่สิ่งที่ตนเองรัก ในที่สุด เราก็จะได้อยู่ท่ามกลางสิ่งที่เรารัก John Holt"

ในผู้นำสี่ทิศนั้น การบูรณาการทุกทิศไม่เพียงแต่เป็นเรื่องสมควร แต่เป็นความจำเป็นที่ถ้าจะทำใหเกิดสมดุลของมณฑลแห่งพลัง และการจะทำเช่นนี้ ก็แปลว่าเราต้องสามารถศึกษา ค้นพบ หล่อเลี้ยงตัวตนของตนเองให้ได้ ทุกมิติ ทุกพลังงานที่มีสะสมอยู่ หรือคือการ work with the shadow นั่นเอง วิธีหนึ่งที่เรากำลังศึกษา ฝึกปรือไปพร้อมๆกัน ก็คือ voice dialogue ของ Dr Hal & Sidra Stone นั่นเอง หรือการปรับจิต สนทนากับเสียงภายในตัวเอง สายของ Carl Jung ศิษย์แยกสำนักจาก Sigmund Freud นั้นเอง

ทิศเหนือ ธาตุไฟ หรือกระทิงนั้น ก็คือฐานกายนั่นเอง เน้นการกระทำ ทำให้สำเร็จลุล่วง ทำด้วยจิตตั้งมั่น มี determination

ทิศใต้ ธาตุน้ำ หรือหนูนั้น ก็คือ ฐานใจนั่นเอง ฐานแห่งอารมณ์ ความรู้สึก ฐานแห่งความรัก โอบอ้อมอารี เมตตา กรุณา

ฐานความคิดนั้นก็มีสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา หรือ logistic/mathematic และ จินตนาการ สร้างสรรค์ ก็เป็นทิศตะวันตก ธาตุดิน หรือหมี และทิศตะวันออก ธาตุลม หรืออินทรีย์นั่นเอง

จะเห็นว่าแม้การทำงานด้วยพลังสภาวะ หรือจิตตื่นรู้ หรือฌานทัศนะนั้น จะเป็นของอินทรีย์ก็ตาม ที่จะนำเอา intuition มาใช้ หรือการทำงานระกับที่ 5 ของ Dreyfuss & Dreyfuss แต่อินทรีย์นั้นไม่สามารถนั่งลงทำงานการให้เสร็จสิ้นเป็นชิ้นเป็นอันได้ ต้องอาศัยพลังงานของหมีมาช่วยสานต่อให้เสร็จ สามารถสอนให้คนอื่นๆต่อไปทำเป็นได้ด้วย พลังอารมณ์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นธาตุไฟของกระทิง หรือธาตุน้ำของหนู ก็จะมีส่วนช่วยหล่อเลี้ยง และให้ "ความเป็นมนุษย์" เกิดขึ้นแก่คนทำงาน

 Johann Wolfgang von Goethe

"ในการที่จะเรียนรู้บางครั้ง ต้องใช้การพิจารณาใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งเนิ่นนาน จนกระทั่งเกิดมี "อวัยวะใหม่" เกิดขึ้น เพื่อที่จะรับรู้เรื่องราวใหม่ๆนี้" เกอเธ

ครั้งหนึ่งเมื่อโคลัมบัสนำเรือลำแรกเดินทางไปถึงชายทะเลแห่งหนึ่งของทวีปอเมริกา พวกอินเดียนแดง ชาวพื้นเมือง ณ สมัยนั้น ไม่มีใครรู้จักเรือมาก่อน แต่พวกเขารู้จักกระแสคลื่นที่พัดมากระทบฝั่ง แล้วก็ทราบว่ามีกระแสที่ผิดปกติไปจากเดิม ด้วยความกลัวและไม่รู้ ชาวพื้นเมืองก็ได้ไปเชิญอินทรีย์ของหมู่บ้าน หรือ หมอผี นั่นเอง มาช่วยแก้ปัญหานี้

หมอผีได้นั่งลง พิจารณาคลื่น อยู่เนิ่นนาน ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง

จนในที่สุด ก็ มองเห็นเรือที่จอดอยู่ในทะล เมื่อนั้นหมอผีก็ "เข้าใจ" หลังจากที่หมอผีเข้าใจ อธิบายให้ลูกบ้านฟัง ทุกคนก็สามารถมองเห็นเรือได้ตั้งแต่นั้นมา

การเรียนรู้นั้นเป็นประสบการณ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ การด่วนตัดสิน เป็นการทำงานของเทปม้วนเก่า เป็นการทำงานของฐานคิดที่อยู่ใน mode ปกป้อง ไม่ได้สร้างสรรค์ แต่จะคิด จะสรุป ไปในแนวทางเดิมๆที่เคยคิด เคยสรุป เคยทำ เป็น judgmental attitude หรือ จิตที่ไม่เรียนรู้ เครื่องมือที่สำคัญอีกประการก็คือ การห้อยแขวน แขวนจนเกิด "วิกฤติของข้อมูล ความคิด และความรู้สึก" การรับรู้นั้นก็ค่อยๆลอยขึ้นจากก้นตัว U (Theory U, Otto Scharmer)

 Otto Scharmer

 

 

หมายเลขบันทึก: 104383เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท