พัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มมส # 1


“วิจัยปัญหาอีสาน แต่ให้ได้มาตรฐานสากล”

   หลังจากที่ติดตามแสดงความคิดจากเรื่องเล่ามาพอสมควร  วันนี้ผมก็ได้ไปเก็บเกี่ยวบรรยากาศในงาน โครงการพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 9 ธันวาคม 2549 เพื่อมาเล่าและ สปรร. ครับ 

บรรยากาศช่วงเช้าติดตามจากอาจารย์อรรณพ  ส่วนบรรยากาศช่วงบ่ายผมขอหยิบยกบรรยากาศและประเด็นจากการบรรยายของ รศ.ดร.อารันต์  พัฒโนทัย ผู้ได้รับรางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ปัจจุบันท่านเป็นอาจารย์ประจำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  วันนั้นท่านได้มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง เขียนบทความอย่างไรให้ได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งผมขอสรุปประเด็น (Version ผมเอง) ดังนี้

1. การทำวิจัย มาก่อน การเขียนรายงานการวิจัย  คนที่เขียนรายงานต้องเป็นคนที่ทำวิจัย

2. งานวิจัยต้องคำนึงถึง Impact Factor ที่จะเกิดขึ้น  มีการประเมิน มีการนำไปอ้างอิง

3. สาระสำคัญของงานวิจัย ก็คือการตอบคำถามว่า ทำอะไร  ทำไปทำไม ทำไมถึงต้องทำ มีคนทำแล้วหรือยัง  ถ้าทำในทำนองเดิมแล้วสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นเป็นอย่างไร  ขายองค์ความรู้หรือขายวิธีการ

4. มาตรฐานงานวิจัย  แม้ว่าเราจะอยู่ภาคอีสาน งานวิจัยก็ขอให้เป็น วิจัยปัญหาอีสาน แต่ให้ได้มาตรฐานสากล 

Format For The Paper

1. Title and Authors               

- Informative                - Specific                - Not too long

2. Abstract               

- สรุปปัญหา และวัตถุประสงค์

3. Introduction               

- เขียนยากที่สุด                - ตอบคำถามอะไร ทำไมสนใจ                - 1-4 Paragraphs                - วัตถุประสงค์                - มีอะไรใหม่ ทำไมจึงมีความสำคัญ                - ให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจพื้นฐานและที่มาของการศึกษา

4. Materials And Methods               

- อธิบายให้รายละเอียดให้ผู้อื่นสามารถทำตามได้                - ระบุวิธีการ วิธีเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์  สถิติ

5. Results (Tables and Figures)                - อธิบายและแสดงผล                - ชี้ประเด็นสำคัญในแต่ละตาราง ภาพ หรือกราฟ                - เรียงลำดับผลการวิจัย ให้เป็นเรื่องราวเชื่อมโยงกัน

6. Discussion And Conclusion                 - อธิบายผลที่ขัดแย้ง หรือที่ไม่เป็นไปตามคาดหมาย                - ประเมินผลว่า เหมือนหรือต่างจากงานวิจัยที่ทำมาก่อน                - สรุปผลที่นำไปสู่การค้นพบที่สำคัญ                - ประเมินว่าองค์ความรู้ที่ได้เป็นประโยชน์อย่างไร และเสนองานวิจัยต่อเนื่องที่ควรทำ

7. Acknowledgment               

- กล่าวถึงผู้ให้ทุน                - กล่าวถึงผู้ให้ความช่วยเหลือ8. Reference                - ถูกต้องตาม Format 

ประเด็นอื่นๆ

1. ภาษาอังกฤษ

2. ความถูกต้อง

3. การให้เวลากับการเขียนรายงานการวิจัย

4. หา Paper ที่เป็นแม่แบบ

5. ให้เพื่อนช่วยอ่านและวิจารณ์

6. หาผู้ทรงคุณวุฒิช่วยอ่าน 

ต้องซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณ

1. ไม่ขโมยเรื่อง ขโมยผลงาน

2. ไม่เอาผลงานผู้อื่นมาโดยไม่ได้อ้างอิง

3. ไม่ลอกข้อความมาทั้งหมด โดยไม่ดัดแปลง

4. ไม่ Make Up ตัวเลข  ไม่ Bias

5. ไม่โกงแหล่งทุน   วันนี้ (วันที่ 8 ธ.ค. 49)

  ผมก็คงได้ไปเก็บเกี่ยวเรื่องเล่า และบรรยากาศต่างๆในงาน โดยวันนี้ จะมีการแยกกลุ่มย่อย ซึ่งผมจะได้ติดตามมาเล่า และ ลปรร กับทุกท่านต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 65913เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ดีมากครับ กล้วย 
  • จะรออ่านของวันต่อ ๆ ไป วันนี้ผมคงไม่มีเวลาแวะไป แต่คิดว่า กล้วย และ แจ๊ค ริน คงเก็บเกี่ยวมาเล่าสู่กันฟัง
  • ทุกอย่างถ้าไม่มีครั้งแรก ก็จะไม่มีครั้งที่สอง สาม .....ต่อไป

ส่งกำลังใจให้ทีม MSU-KM ครับ ...ผมติดภารกิจ เรื่อง "วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติฯ ในหลวง ที่ กทม. ครบั"

วิชิต ชาวะหา
ณ หอสมุดแห่งชาติ
8 ธ.ค. 2549

ผมสนใจในการทำวิจัยครับ มหาวิทยาลัยเราไม่จัดสำหรับบุคลากรหรือครับ ผมละคนหนึ่งที่เริ่มทำวิจัยปี 49 ผมก็ได้รับทุนวิจัย ปี 50 ผมก็ได้เสนองานวิจัยครับ อยากมีความรู้การทำวิจัยและการเขียนบทความครับ ขอบคุณครับกล้วย ที่มาเล่าให้ฟัง และจะติดตาม ในแต่ละวันครับ ผมไม่ได้ไป อยากไปร่วมฟังครับ

  • ขอบคุณทั้ง 3 ท่าน
  • คงไม่ผิดหวังครับ ผมคงจะได้นำเสนอ Version อื่นๆต่อไป

 

  • นานทีจะได้อ่านบันทึกกล้วย แต่ก็เต็มไปด้วยเนื้อหา และสอดแทรกความคิดเห็น
  • แต่ถ้าเพิ่มขนาดตัวอักษร ปรับวรรคตอน เพิ่มสีสันอีกนิดหนึ่ง จะเยี่ยมเลยครับ
  • กลับไปหลังจากวันที่ 11 ฝ่ายจัดการความรู้ของโครงการฯที่ไปปฏิบัติหน้าที่ที่ มมส. ได้แต่งตั้งคงต้องมีreport ซักชิ้นเสนอมหาวิทยาลัย และต้องนำลิขิตของแต่ละคนที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ มาปรับหัวข้อ เนื้อหา ให้แบบformat เดียวกันอีกครั้งครับ เนื่องจากเราแทบไม่เวลาทำ BAR เรื่องรูปแบบของการบันทึกเลย
  • และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือทบทวนบทเรียน AAR
  • ขอฝากบันทึกห้อง TCC กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนฯให้อ่านด้วยนะครับ

ขอปรบมือให้ blog นี้ของกล้วยค่ะ  ^__^ เก็บได้ดีมากเลยค่ะ

  • โครงการหน้าจะเป็นของสายสนับสนุนค่ะ  มีแน่นอน   :) 
  • โปรดติดตาม

 

  • ขอบคุณ  คุณกล้วย มมส. นอกจากเข้ามาในฐานะทีม msu_km  
  • ยังเข้ามาช่วยเป็นกำลังเสริม  ในฐานะเจ้าหน้าที่โสตฯ อีกแรงหนึ่ง
  • มากด้วยน้ำใจจริงๆ  ขอปรบมือดังๆ
และแล้ว กล้วยก็สามารถสกัดความรู้ได้จริงๆ..และดีมากด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท