พัฒนาศักภาพการทำวิจัยของคณาจารย์ มมส.


ต้องการจะได้เห็น ศาสตราจารย์ คนแรกของ มมส. จากผลงานการวิจัยและพัฒนา ในเวลาอันใกล้นี้

msu research 2550

  • ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2549 กองการเจ้าหน้าที่ร่วมกับกองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  โครงการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการเขีนข้อเสนอโครงการวิจัยเอขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ตลอดจนเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรให้มีความเข้มแข็งทางด้านวิจัย นำองค์ความรู้ใหม่ไปปรับปรุงพัฒนางานของตนเองและองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
  • หลังจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย สมัปปิโต รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายแผนและวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิดแล้ว  ได้บรรยายถึงเงื่อนไขที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการวิจัย และ สิ่งที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนการวิจัยเช่น Central Laboratory, University Business Incubator และ Technology Business Incubator เป็นต้น  สิ่งที่ท่านอธิการบดีคาดหวังจากการสนับสนุนการวิจัยของคณาจารย์อันหนึ่งก็คือ ต้องการจะได้เห็น ศาสตราจารย์ คนแรกของ มมส. จากผลงานการวิจัยและพัฒนา ในเวลาอันใกล้นี้
  • ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ฤทธิ์  สมบัติสมภพ จากคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในหัวข้อ ก้าวสู่ความสำเร็จด้วยการวิจัยและการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย 

    อาจารย์ได้เล่าถึงแนวทางการทำวิจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่มีผลกระทบสูงต้องมีการทำงานเป็นทีม หรือ เป็นกลุ่ม โดยได้เล่าถึง กลุ่มวิจัยการผลิตและขึ้นรูปพอลิเมอร์ (Polymer Processing and Flow) หรือ ที่เรียกย่อว่า กลุ่ม P-PROF ของอาจารย์ทำงานร่วมกันอย่างไร ?  ต้องสร้างบรรยากาศห้องวิจัยให้สมาชิกอยากทำงานโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามที่สมาชิกต้องการ  การสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่โดยการให้ยืมเงินจากกองกลางของกลุ่มไปใช้ก่อน  เป็นต้น     นอกจากนั้นอาจารย์ยังเน้นการทำงานร่วมกับนักวิจัยกลุ่มอื่น ๆ ในลักษณะเป็นเครือข่าย

research msu 2550

  • อาจารย์ได้ให้ข้อคิดว่า อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เน้นวิจัยจะต้อง มีความรู้และจัดการความรู้ใน 3 ลักษณะ คือ 
         1.     การผลิตความรู้และองค์ความรู้  - จากการประดิษฐ์ วิจัยและพัฒนา และ ออกแบบทางวิศวกรรม
        
    2.  การกระจายความรู้ - จากการสอน การตีพิมพ์เผยแพร่ หรือการนำเสนอในวิธีการต่าง ๆ
        
    3. การใช้ความรู้  - จากความร่วมมือกับภาคการผลิต และ การใช้งานจริงอื่น ๆ   

  • ปัจจัย หรือ กุญแจสู่ความสำเร็จ (Key Success Fator)          
        
    1. ต้องมีการทำงานเป็นทีม หรือ เป็นกลุ่ม         
        
    2. เน้นการทำงานร่วมกับนักวิจัยกลุ่มอื่น ๆ ในลักษณะเป็นเครือข่าย
หมายเลขบันทึก: 65827เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • อึ้งครับศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ฤทธิ์  สมบัติสมภพ อายุแค่ 34 ปีเอง
  • ท่านเก่งเหลือเกิน แวะมาดู มมส มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยครับผม
  • ผมคงสวนทางกับอาจารย์ เพราะผมไปงานช่วงบ่าย และคงฝากเรื่องเล่าของอาจารย์เป็นช่วงเช้า
  • ช่วงบ่าย บางช่วงบางตอนผมได้นำเสนอแล้วที่นี
  • วันนี้ (วนที่ 8 ธ.ค.49)  ผมคงจะได้เก็บเกี่ยวเรื่องราวมา ลปรร. ต่อไป ครับ
  • ขอบคุณครับ

ส่งกำลังใจให้ทีม MSU-KM ครับ ...ผมติดภารกิจ เรื่อง "วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติฯ ในหลวง ที่ กทม. ครับ"

วิชิต ชาวะหา
ณ หอสมุดแห่งชาติ
8 ธ.ค. 2549

  • ทึ่งเหมือนกันค่ะที่ทราบมาว่า ศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ฤทธิ์  สมบัติสมภพ เป็น ศาสตราจารย์ ตั้งแต่อายุ 34 อ่ะค่ะ

 

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ร่วมสัมมนาเพราะว่าติดภารกิจอื่น แต่ก็ได้รับความรู้โดยการอ่านจาก blog  ขอขอบคุณทุกท่านที่แบ่งปันสิ่งดีๆให้นะคะ

 

  • ต้องขอขอบพระคุณ  อาจารย์ PANDA มากๆค่ะ  ในฐานะแกนนำสำคัญของ msu_km  และทีม msu_km ทุกท่าน  ที่มาช่วยสกัดความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการในครั้งนี้...

 

ขอบคุณคะอาจารย์..

รู้สึกว่า ทีม...msu_km เริ่มคึกคักมากขึ้นนะคะ...

(^_____^)

ส่งแรงใจมาช่วยคะ...

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท