วิชาการไร้ราก


 

          ในการประชุม กพอ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา) เมื่อวันที่ ๒๘ ธ.ค. ๕๐ มีการพิจารณาเรื่อง “โครงการเครือข่ายกลยุทธเพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ปี ๒๕๕๑” (ซึ่งผมจะบันทึกโดยละเอียดในบันทึกหน้า) ผมเกิดความเข้าใจว่าวิชาการไทยกำลังวิกฤตจากโรค “รากเน่า” หรือ “รากกุด” ทำให้กลายเป็นวิชาการไร้ราก   

          เพราะเรามุ่งเรียนเพื่อไปทำงาน     ไม่มีการเน้นเรียนเพื่อให้เข้าใจลึกลงไปที่รากของวิชาการ    ไม่เรียนประวัติ ที่มา ของวิชาการสาขาหรือด้านนั้นๆ     ไม่เรียนวิชาที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจ     มุ่งแต่เรียนเพื่อเอาไปใช้ทำงาน หรือเพื่อปฏิบัติ     เราจึงขาดแคลนนักวิชาการหรืออาจารย์ที่รู้ลึกรู้จริงในศาสตร์สาขานั้นๆ    

          การเรียนเพื่อรู้ลึกรู้จริง มุ่งทฤษฎี ไม่มุ่งประยุกต์ ไม่เน้นการใช้งานหรือทำมาหากิน    เป็นการเรียนที่ยาก และขาดแรงจูงใจ    จึงไม่ค่อยมีคนอยากเรียน    ประกอบเข้ากับสถาบันต้นสังกัดก็ไม่ให้คุณค่า เพราะมัวแต่เน้นวิชาการตื้นๆ เชิงประยุกต์     เน้นที่ประโยชน์ใช้สอย     ผลคือบ้านเมืองของเราเวลานี้ในหลายศาสตร์มีผู้รู้จริงอยู่เพียงคนสองคนและเป็นผู้ที่อายุมากแล้ว   

          กรรมการ กพอ. จึงช่วยกันระบุชื่อสาขาวิชาที่เป็นรากฐานที่ต้องการพัฒนาผู้รู้จริงและรู้ลึกขึ้นมาให้แก่ประเทศ

 

วิจารณ์ พานิช
๒๘ ธ.ค. ๕๐
   

คำสำคัญ (Tags): #วิชาการไทย
หมายเลขบันทึก: 157187เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2008 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คำสอนที่อาจารย์ที่ปรึกษาผม (Prof. Dr. Anthony F. Norcio) บอกว่าเป็นหัวใจของการเรียนทั้งหมดคือ

Nothing is more practical than a good theory.

การเรียนปริญญาเอกของผมทั้งหมดคือการฝึกฝนและตีความประโยคนี้ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท