Food Science/HR


ร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้กับนักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารได้ที่นี่

11 มิถุนายน 2549

สวัสดีครับนักศึกษาที่รักทุกคน และชาว Blog,

           ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นช่องทางการสื่อสาร ส่งข้อมูลระหว่างลูกศิษย์กลุ่มลาดกระบังฯ และขยายออกไปสู่สังคมในวงกว้างได้ต่อไป

                                                               จีระ  หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 33634เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2006 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (124)
ยม "ยินดีรู้จักปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ผมขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ให้โอกาสและให้เกียรติผมอย่างมาก ที่ได้เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปะทะความรู้ และได้รู้จักกับ น.ศ. ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่ พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ   ผมหวังว่า นศ.ป.โทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คงจำผมได้ ผมแนะนำตัวให้ น.ศ.รู้จักผมเพิ่มเติม ครับ ผมชื่อ ยม ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท อาหารสยาม จำกัด(มหาชน) และ เป็น น.ศ. ป.เอก รัฐประศาสศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ม.อุบลราชธานี(กทม.)  เป็นลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ     ยินดีที่ได้มีโอกาสรู้จักกับนักศึกษาทุกคน

 

ใน Blog ที่ผมเขียนวันนี้ ผมนแนะนำให้นักศึกษาติดตามสาระน่ารู้ ได้จาก http://www.chiraacademy.com/  มีทฤษฎีและแนวคิดที่น่าสนใจ น.ศ.สามารถเข้าไปศึกษาได้ล่วงหน้า ก่อนการเรียน จะดีที่สุด ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการทีวี รายการวิทยุ  น.ศ.สามารถดูรายละเอียดของรายการดังกล่าวได้ ใน  http://www.chiraacademy.com/ เช่นกัน

 

นอกจากนี้ ผมขอแนะนำให้ น.ศ. ศึกษา ติดตามศึกษาสาระน่ารู้ จากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนใน  น.ส.พ.แนวหน้า อย่างเป็นประจำเพื่อประเทืองปัญญา สะสมทุนทางความรู้และทุนทางปัญญา ให้กับตนเอง 

 

ใน น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 มิ.ย. 2549 อาจารย์เขียน บทความเรื่อง "การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์"  มีสาระน่าสนใจ เวลา น.ศ.อ่านบทความต้องพยายามจับประเด็นให้ได้ และเขียนให้ได้มากกว่าผม  เนื่องจากผมมีเวลาจำกัดเท่าที่ผมจับประเด็นได้ อาจารย์กล่าวถึง สาระ ดังนี้

 

  • สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่ในหลวงของเรา
  • คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม ต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม
  • การสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร
  • การเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's
  • เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity
  • Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ
  • Talent น่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน ( คนอื่นอาจจะคิด แนวอื่น ) -
  • ทฤษฎี 20/70/10 ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับคนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยฯ
  • การบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น
  • และการทูตภาคประชาชน บทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และการไปเยือนลาวฯ

 

ผมอ่านแล้ว รู้สึกว่าได้สาระความรู้ และเหมือนกับได้ไปลาวกับอาจารย์ด้วย ที่น่าสนใจ มากคือเรื่องเกี่ยวกับ Talent Management ที่สั้น เข้าใจง่าย แบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้เรื่อง Talent Management กับ ศ.ดร.จีระ โอกาสต่อไป แต่หากศึกษาไว้ล่วงหน้า ก็จะยิ่งทำให้เข้าใจได้ง่าย ตรงไหนไม่เข้าใจ ก็เตรียมไว้ถามอาจารย์ในห้องเรียน   นอกจากนี้ ท่านผู้อ่าน หรือ นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าร่วมการอบรมกับ Asia business forum สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ง่าย

 

ท่านผู้อ่านที่มีครอบครัวยังสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับ Talent Management ไปบริหารจัดการลูกหลานได้อีกด้วย เช่น ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า องค์ประกอบของ Talent มี 3 อย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน คือ KSM, knowledge(ความรู้) Skill (ทักษะ ความชำนาญ) Mindset (ทัศนคติ) 3 อย่างนี้ ท่านสามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างบุตรหลานของท่าน ให้เป็นมรกดกแก่แผ่นดินได้ เป็นอย่างดี    

 

ส่วนการทูตภาคประชาชน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างทุนทางสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่าย สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ได้

รายละเอียดบทความของ ศ.ดร.จีระ ในเรื่อง ดังกล่าว ผมคัดมาให้ไว้ตอนท้ายนี้  ขอให้ นักศึกษาและผู้อ่านทุกท่านโชคดี

สวัสดี

ยม

 

 

การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์ *

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์มหามงคลแห่งความปลื้มปีติของคนไทย นอกจากที่สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่พระองค์ท่านแล้ว ยังมีรางวัลของ European Union เรื่องสิทธิบัตร "ฝน หลวง" ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวง ชนชาวไทย ในยุคโลกไร้พรมแดนนี้

 

ในสัปดาห์นี้ สีเหลืองเป็นสีที่ทุกคนภาคภูมิใจและหล่อหลอมรวมดวงใจของคนไทยด้วย แต่มีพ่อค้าบางคนยังเอาเปรียบสังคม ขายราคาแพง ยุคนี้คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม จริยธรรม หากรัฐบาลใดยังเน้นเรื่อง growth การเจริญเติบโต เรื่องความร่ำรวย การบริโภคนิยม และวัตถุนิยม โดยไม่มองมิติอื่นๆ ก็จะทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความรุนแรง เพราะแข่งขันกัน และเอารัดเอาเปรียบกันตลอดเวลา ยิ่งนานไป เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียนราคาแพง ให้คนไทย ฉะนั้นคนไทยต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม ในที่สุดแล้ว ความดีน่าจะสำคัญกว่าความเก่ง ซึ่งไปเพิ่ม ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมคงไม่ได้

 

ช่วงนี้ คนไทยทุกคนควรจะต้องปรับตัว และคิดให้รอบคอบว่าอะไรจะเกิดกับสังคมไทย ระหว่างที่อ่านบทความนี้เป็นช่วงที่หยุดหลายวัน นอกจากพักผ่อนแล้วก็ขอความกรุณา สนใจข่าวสารและเรียนรู้ในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปด้วย

 

เพราะอีก 2 -3 สัปดาห์ข้างหน้าคงจะมีการต่อสู้ทางการเมืองรุนแรงต่อไป และคงจะเป็น การต่อสู้ที่กำหนดอนาคตของประเทศไทย คนไทยต้องเฝ้ามอง ระวังและตั้งสติให้ดี สัปดาห์นี้ ผมทำงานใหญ่หลายเรื่อง

เรื่องแรกคือ ในการสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปแสดงความคิดเห็นด้วย การประชุมเช่นนี้ น่าสนใจที่ว่า ผู้ที่ไปร่วมประชุมจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับค่อนข้างสูงของธุรกิจใหญ่ บางแห่งเป็นธุรกิจ ระหว่างประเทศที่เริ่มเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์และเน้นทรัพยากรมนุษย์เป็น ยุทธศาสตร์มากขึ้น

 

ผมเน้นว่าการเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's ด้วย เพราะฉะนั้นการมีผู้แสดง ความเห็นจำนวนมาก แต่คนละแนว บางครั้งจะได้ประโยชน์ไม่มาก เพราะได้แต่ความคิด แต่ไม่ได้ ปะทะกับความจริง ทฤษฎี 2 R's และไม่ตรงประเด็น เป็นแบบดาวกระจาย แทนที่จะเน้นการเรียน เป็น team work ผมพูดเพียง 1 ชั่วโมง แต่ก็เห็นความสนใจของผู้ฟังที่อยากจะออกความเห็น และ อยากเอาไปใช้ share ความรู้ให้มากขึ้น

 

เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity ซึ่ง Talent ก็คือเรื่องทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง แต่ที่สำคัญสุดก็คือ

 - องค์กรต้องปรับตัวและแข่งขันมาก ( Change and Innovate )

- customer ในโลกมีความคาดหวังสูง สลับซับซ้อน และมีประสบการณ์ในการบริโภค มายาวนาน

- สินค้าและบริการมีวงจรสั้นลง ต้องปรับตัวทั้งการผลิตและการบริการให้รวดเร็วอยู่ ตลอดเวลา วงจรจะสั้นลงเรื่อยๆ

- สุดท้าย Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ เพราะ performance ผลประกอบการใน การทำงานมี Benchmark มาตรฐานอันเดียวคือ Global benchmark มาตรฐานโลก คือ มีการแย่งตัวกันระดับระหว่างประเทศ

สรุป Talent ในความเห็นของผมน่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน ( คนอื่นอาจจะคิด แนวอื่น )

- skill

- ความรู้

- ทัศนคติ mindset

คนที่จะทำงานสำเร็จได้จะต้องเป็นคนที่มีหลายๆอย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน Talent ที่ดี ทำงานคนเดียวไม่ได้ ผมยกทฤษฎี 20/70/10 มาให้ดูว่า ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับ คนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยคือถ้า 20% เป็น Talent อีก 70% จะต้องพัฒนาด้วย และอีก 10% ที่ไม่เอาไหน จะต้องดูแลว่าจะให้เขาอยู่อย่างไร

 

และสุดท้ายการบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น

1) หาได้อย่างไร

2) เก็บรักษาได้อย่างไร

3) บริหารไปสู่ High performance ผลการทำงานอย่างไร

 

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมภาคภูมิใจคือ การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ระดับชาติของไทยได้ไปจัดงานคืนสู่เหย้าที่ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อคืนวันที่ 6 มิถุนายนที่ ผ่านมา เพราะมหาวิทยาลัยขอนแก่นผลิตบุคลากรคนลาว ที่จบระดับปริญญาทั้งตรี โท เอก ประมาณ 200 คนและมีตำแหน่งสูงในประเทศ หากนับคนลาวที่มาเรียนหลักสูตรระยะสั้นอีก ก็มี ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ซึ่งได้จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อธิการบดี ดร.สมกต มังหน่อเมฆ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของลาวมาร่วมงานด้วย

 

ฝ่ายขอนแก่นนำโดยนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น พลตำรวจเอกเภา สารสิน ได้ร่วมกัน จัดพบปะศิษย์เก่ากว่า 300 คนในคืนนั้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ โดยมีท่านทูต ไทย คุณรัฐกิจ มานะทัต ซึ่งเป็นทูตที่ให้ความสนใจเรื่องการทูตภาคประชาชน แสดงความเห็นเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย /ลาว ร่วมกัน ชี้ให้เห็นถึงการทูตภาคประชาชนยุคใหม่ ซึ่งมี ภาควิชาการมาร่วมทำงานเป็นรูปธรรมมากขึ้น

แนวคิดทางการทูตภาคประชาชน เป็นแนวคิดที่ปฎิบัติได้ และจะช่วยทำความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความไว้ใจ trust ระหว่างกัน เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศลาวได้ประท้วงผู้สร้างหนัง ไทย " หมากเก็บ โลกตะลึง " ที่ไม่ได้มองความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คนไทย มักจะดูแคลนว่าประเทศลาวยากจน โดยไม่ได้คิดลึกซึ้งในด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานและ วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จะทำหน้าที่การทูตภาคประชาชนต่อไป และ คงขยายความร่วมมือไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นด้วย เช่น พม่า เขมร จีน เวียดนาม รวมทั้ง มาเลเซีย

 

อนาคต รัฐบาลไทย น่าจะเพิ่มทุนให้กับรัฐบาลของลาว ให้ส่งนักศึกษามาเมืองไทยมากขึ้น และในระดับปริญญาเอกมากขึ้นด้วย และไปช่วยสร้างอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวด้วย จะสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ผมในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นผู้คิดเรื่องการทูตภาคประชาชน ซึ่งได้ทำอยู่ตลอดเวลาในนามของ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย/ ลาว น่าจะเป็นบันไดไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาก็เป็นการ แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของสองประเทศด้วย ซึ่งในคืนนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมของทั้งสอง ประเทศรวมกันอย่างสวยงาม โดยการรำวง

 

ผมภูมิใจมากครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์ [email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

------------------------------------------

*คัดมาจาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97

นาย กิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก
เรียน อาจารย์ที่เคารพและนับถือ กระผม นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ที่พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง สาขาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ก่อนอื่นผมต้องบอกอาจารย์ก่อนว่า ผมมีความโชคดีและดีใจอย่างมากที่ได้มีโอกาสได้เรียนรู้กับอาจารย์ ถึงแม้นเป็นระยะเวลาที่สั้นๆเพียงหนึ่งเทอมเท่านั้น แต่ก็ทำให้มีความเข้าใจถึงหลักการเบื้องต้นของทรัพยากรมนุษย์ได้บ้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงในทุกๆด้าน ไม่ว่าในองค์กรต่างๆตลอดจนถึงภายในครอบครัวของตนเอง จากการเรียนในวันแรกที่อาจารย์ได้สอนกระผม และถามว่าได้อะไรบ้างหลังจากเลิกเรียนแล้วสิ่งที่ได้ที่ดีที่สุดคือคำว่ามนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จในการทำงาน แต่ยังไม่มีใครเข้าใจแก่นแท้ของคำว่า"ทรัพยากรมนุษย์"อย่างแท้จริง แต่เมื่อได้เรียนกับอาจารย์แล้วถึงจะได้รู้ว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้นต้องมีการพัฒนาให้สู่ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้คนและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กรได้นั้นต้องมีการศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการตามแนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและองค์กรต่อไป
น.ส. พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์
เรียน ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้จากการเรียน HR ในวันที่ 12 มิถุนายน 2549 ดิฉัน นางสาวพันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์ นักศึกษา ป.โท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ดิฉันมีความคิดว่าในการบริหารองค์กรต่างๆ นั้นสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งขององค์กร คือทรัพยากรบุคคลตามที่ ศ.ดร.จิระ ได้พูดเน้นถึงว่าการที่องค์กรจะดำรงอยู่ได้หรือไม่นั้น ล้วนแล้วแต่มีบุคคลเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเปรียบเสมือนกับคนภายในองค์กร ร่วมที่จะร้องเพลงเดียวกันคือเพลงเพื่อองค์กร ในแต่ละหน่วยภายในองค์กรมีตัวโน๊ตที่แตกต่างกันไป แต่ทุกตัวโน๊ตนั้นมีความสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนเพื่อให้เพลงนั้นออกมาอย่างสมบูรณ์ หากขาดตัวโน๊ต ตัวหนึ่งตัวใดไปแล้ว เพลงที่ออกมาก็อาจจะไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าองค์กรมีคนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะทุกๆหน่วยงานในองค์กรมีคนเป็นผู้บริหารอยู่ภายในทั้งสิ้น

คน เป็นผู้บริหารจัดการ พัฒนา และวางแผนเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ และเมื่อหลายๆองค์กรประสบความสำเร็จ นั้นก็แสดงว่า คนที่อยู่ภายในองค์กรมีประสิทธิภาพ เมื่อคนมีประสิทธิภาพแสดงว่าประเทศชาติมีแนวโน้มในการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน อีกส่วนหนึ่งที่ดิฉันได้จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ คือการยืดหลักคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงาน ทำงานตามหน้าที่ ที่เราได้รับผิดชอบเพราะทุก ทุกหน้าที่ภายในองค์กรล้วนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขาดส่วนใด ส่วนหนึ่งไปย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยงานต่างๆภายในองค์กร.

เรียนท่านอาจารย์ จีระ            ก่อนอื่นต้องเรียนอาจารย์ว่ารุ่นผมโชคดีมาก ที่มีโอกาสได้เรียนและแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และทีมงาน ความรู้สึกแรกในการเข้าเรียน ยอมรับว่าตกใจ ตื่นเต้น และคิดอยู่ตลอดว่า แนวทางการสอนของอาจารย์จะเป็นอย่างไร ทำให้รู้สึกตื่นตัวและอยากติดตามตลอดเวลา            ก่อนที่จะเริ่มเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์  ผมมองว่าวิชานี้ ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับเรามากนัก เนื่องจากไม่ได้ทำงานในส่วนของฝ่ายทรัพยากรบุคคล แต่เมื่อได้รับฟังความหมายและความสำคัญของวิชานี้แล้ว ยอมรับว่าตัวเองคิดผิดมากๆ เนื่องจากทุกๆกิจกรรมไม่ว่าระดับใด ฝ่ายหรือส่วนใด ล้วนใช้ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ คน เข้าไปทำหน้าที่ขับเคลื่อนทุกอย่างทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ หน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมคือ ครอบครัว องค์กรขนาดเล็ก องค์กรขนาดใหญ่ ระดับชาติ หรือองค์กรระหว่างประเทศหลักการที่ท่านอาจารย์ให้ มองภาพทรัพยากรมนุษย์ ต้องมองจาก Macro สู่ Micro ในความคิดเห็นของผมนั้น เชื่อว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่ของคนในสังคม ไม่ได้มองและคิดแบบนี้ เนื่องจากทุกคนจะมุ่งที่จะทำเพื่อตนเอง (มองMicro) เป็นหลัก โดยที่ไม่ได้สนใจหรือใส่ใจภายนอกคือสังคมหรือส่วนรวมมากเท่าใดนัก เช่น ถ้าเป็นผู้ประกอบการก็มุ่งมั่นเรื่องผลกำไรสูงสุด หรือแม้แต่รัฐบาลเอง ก็มุ่งที่จะทำให้แต่ละปีมีตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยไม่ได้สนใจแหล่งที่มาของตัวเลขเหล่านั้นมากนัก นั่นเป็นเหตุผลที่ผมมองว่า ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจมาหลายฉบับแล้ว แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของชาติยังอยู่ระดับเดิม หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากว่าไม่ได้ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชาตินั่นคือ คน ส่งผลให้การคิดเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพตนเอง การวางแผนการทำงาน การทำงานร่วมกับคนอื่น (ทำงานเป็นทีม) รวมทั้งการรู้จักให้ตอบแทนคืนสู่สังคมของคนในชาตินั้นมีน้อยมาก ดังนั้นผมจึงคิดว่าแนวคิดนี้ควรจะขยายผลให้สู่บุคคลในสังคมให้มากที่สุด โดยที่พวกเราต้องช่วยกัน            ผมดีใจมากนะครับที่อาจารย์ สนใจในวิชา Food Science เนื่องจากตัวผมเองมาจากลูกเกษตรกร คิดมาตั้งแต่เด็กแล้วว่า ทำไมอาชีพของพ่อกับแม่ถึงลำบากมากนัก คาดการณ์ผลผลิตอะไรไม่เคยได้ จึงตั้งใจไว้ว่าอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้อาชีพเกษตรกรดีขึ้น มีความรู้พัฒนาตนเองมากขึ้น นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมถึงตอบคำถามของอาจารย์ ที่ถามว่าปีที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกข้าวมีมูลค่าเท่าใด เนื่องจากได้ติดตามเรื่องนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ และล่าสุดทราบว่า ยอดส่งออกข้าวต่อเดือนของเวียดนามเริ่มแซงหน้าประเทศไทยแล้วในปี2549 นี้ ทั้งที่เราเป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกมาตลอด เนื่องจากคุณภาพและราคาที่ถูกกว่านั่นเอง ผมจึงคิดว่าถ้าเราพัฒนาทรัพยากรบุคคลของเราที่จบทางด้าน Food Science ปีละหลายพันคน ได้ต่อยอดในการรู้จักคิด และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นจุดแข็ง (ที่แท้จริง) ของประเทศไทย ให้แข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ประเทศของเราน่าจะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้            สังคมแห่งการเรียนรู้หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นประโยคหนึ่งที่ผมได้รับรู้ และมีความประทับใจในการเรียนครั้งนี้ เนื่องจากอยากให้เกิดขึ้นกับทุกคนในสังคมรวมทั้งตัวเราเอง ที่ผ่านมาในการสัมภาษณ์พนักงานเข้าทำงาน ผมมักจะถามผู้มาสมัครงานอยู่เสมอว่า คุณมีความคิดที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งผู้ที่ตอบว่าอยากเรียนและคิดจะเรียน ผมจะรับมาทำงานด้วย และเปิดโอกาสให้ลาไปสอบหรือทำกิจกรรต่างๆได้ เนื่องจากมองว่า พนักงานกลุ่มนี้ มีความตั้งใจสูง มีเป้าหมายในชีวิตพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง ดังนั้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการทำงานจึงมากกว่ากลุ่มที่ทำงานไปวันๆ            เนื่องจากความรู้เปรียบเสมือนผักสด และต้องกินผักสดหลายๆชนิดพร้อมกัน ตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ในชั้นเรียน เป็นอีกประโยคหนึ่งที่โดนใจมาก ผมรู้ตัวทันทีว่าถึงแม้จะชอบกินผักสด แต่ก็กินผักสดอยู่ไม่กี่ชนิดทำให้ไม่เคยได้อ่านบทความของอาจารย์ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้าเลย เนื่องจากผักสดที่กินเป็นประจำ คือ มติชน ข่าวสด และคมชัดลึก ดังนั้นหลังจากนี้เป็นต้นไปต้องกินผักสดให้มากชนิดขึ้น และกินตลอดเวลาครับ            สุดท้ายต้องขอขอบพระคุณอาจารย์และทีมงานอีกครั้งที่สละเวลาที่มีค่ามาสอนให้กับพวกเรา ทำให้ผมบอกกับตัวเองได้ว่าคิดไม่ผิดที่ตัดสินใจเรียนต่อ

     เรียน ดร.จีระ ที่เคารพ กระผมนายปรัชญา พุดดี นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรเเละอุตสาหกรรมอาหารที่ลาดกระบัง ผมมีเรื่องจะสารภาพว่าครั้งเเรกที่ผมได้เรียน รู้สึกตื่นเต้นมากกับสไตล์การสอนของอาจารย์ ที่สามารถสะกดให้ผู้ฟังตั้งใจฟังเเละคิดตามอย่างมีเหตุผล ทราบมาว่าอาจารย์เป็นผู้ก่อตั้งหลักสูตร mba ที่สเเตมป์ฟอร์ด

ด้วยใช่มั๊ยครับ พอดีน้าผมเรียนอยู่ที่นั่นด้วยเค้าเล่าให้ฟังครับ น้าผมเองก็เป็นอีกคนที่ชื่นชมอาจารย์มากครับ

     จากการบรรยายวันเเรกของอาจารย์ เรื่องที่อาจารย์เน้นมากคือเรื่องของทรัพยากรมนุษย์เเละคุณธรรมในการทำงาน เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กรเเต่ถึงจะมีความรู้ความสามารถมากเเต่ขาดคุณธรรม ก็คงจะมีเเต่ผลเสียมากกว่าผลดี

     ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องทำงานร่วมกับทีมงานกลุ่มเล็กๆประมาณ15 คนที่มาจากพื้นฐานที่เเตกต่างกันเเต่ต้องทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน มีทั้งราบรื่นเเละอุปสรรคครับ เเต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวความรู้จากอาจารย์เเละจากการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำให้ได้มากที่สุดเพราะบางครั้งการที่เราได้มีส่วนร่วมในการทำให้คนบางคนที่ไม่มีอะไรเลยให้สามารถยืนได้ด้วยตัวเองนั้นคงจะเป็นความรู้สึกที่วิเศษมากใช่มั๊ยครับอาจารย์

 

นางสาวปรียานันท์ ไทยงามศิลป์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         ดิฉัน น.ส.ปรียานันท์ ไทยงามศิลป์ ค่ะ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ค่ะ 

          ดิฉันอาจจะยังดูเป็นเด็กในสายตาของอาจารย์และพี่ๆ ร่วมชั้นเรียน  ซึ่งยังมีประสบการณ์ในชีวิตไม่มาก และยังขาดความรอบรู้ในหลายๆ ด้าน  ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะนิสัยที่ไม่ดี การไม่ติดตามข่าวสารบ้านเมือง ข่าวธุรกิจ เพราะคิดว่าเป็นเรื่ิองไกลตัวนั้น  ถึงวันนี้แล้ว ดิฉันเข้าใจแล้วว่าเป็นความคิดที่ผิด  จริงๆ แล้วก็มีอาจารย์ท่านอื่นๆ ได้เตือนแล้ว  ว่าให้สนใจและให้ติดตามข่าวบ้าง  แต่ดิฉันก็ไม่สามารถทำได้ตลอด  เพราะไม่เข้าใจในสิ่งที่สื่อกำลังรายงาน  ไม่ทราบต้นเหตุของปัญหา และไม่เข้าใจศัพท์บางคำในทางธุรกิจ/เศรษฐศาสตร์    แต่ตอนนี้  ยังไงก็แล้วแต่  ดิฉันก็จะต้องเปลี่ยนตัวเอง  หันมาสนใจข่าวอีกครั้ง และจะทำให้ได้ตลอดค่ะ

            สำหรับวันแรกในการปฐมนิเทศของอาจารย์นะคะ  อาจารย์ทำให้ดิฉันตื่นเต้นในการเรียนมาก  ยอมรับว่าเกร็งค่ะ อาจารย์เสียงดัง ตอนแรกก็คิดว่าอาจารย์เป็นคนดุ  แต่พอนั่งฟังไปสักพัก  ก็เริ่มคุ้นเคยและพอจะเข้าใจว่าอาจารย์ต้องการจะสื่ออะไร  อย่างน้อยๆ ก็อยากให้ตื่นตัว ฟังและคิดตามในสิ่งที่อาจารย์พูด  มันมีความหมายลึกๆ ในสิ่งที่อาจารย์ได้พูดออกไป  ทั้งในเรื่องที่เราทุกคนกำลังเรียนป.โทกันอยู่นั้น  จริงๆ แล้วเราต้องการอะไร  และอาชีพ หน้าที่การงานที่ตัวเองกำลังปฏิบัติอยู่นั้น  มันตอบแทนประเทศชาติของเรามากน้อยแค่ไหนแล้ว   

             ทั้งนี้อาจารย์ก็ยังได้ตอกย้ำ และให้เข้าใจโดยทั่วกันว่า ทรัพยากรทีี่มีค่าที่สุดในองค์กรนั้นก็คือ คน  ไม่ใช่ เงินหรือสิ่งของ  เพราะสิ่งของนั้นนานวันเข้าก็ยิ่งด้อยค่า แต่คนนั้นยิ่งอยู่ ยิ่งนานวันยิ่งมีคุณค่า  และการให้เกียรติคนนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ไม่ว่าใครก็ตามทุกคนทุกชนชั้น ล้วนมีความสำคัญ และมีศักดิ์ศรีด้วยกันทั้งนั้น

              องค์กรใดก็ตามจะเจริญยั่งยืนได้นานเท่าใดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุญหรือเวรกรรม  แต่เกิดจากคน คนทุกคนในองค์กร จะร่วมกันก่อตั้งหรือจะทำลาย  จะสร้างปัญหาหรือจะแก้ปัญหา  จะร่วมกันก่อให้เกิดประโยชน์หรือหวังแต่จะรอรับผลประโยชน์  จะหวังดีหรือหวังร้ายต่อองค์กร  ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากคน  ว่ามีความดี สามัคคี ซื่อสัตย์ มีธรรมมะ  มีจรรยาบรรณ การให้เกียรติ และความรักทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น องค์กรหรือไม่   และการสร้างคนในการทำงานก็ต้องสร้างให้กับคนทุกระดับ  เพื่อที่จะสื่อสารกันได้โดยตลอด  และเราก็จะต้องเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ดีของคนในองค์กรให้ได้ด้วย   แล้วคนทุกคนก็จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างมหาศาล

              ทั้งนี้อาจารย์ก็ยังได้ให้ข้อคิดอีกหลายข้อเช่น " การไม่รู้จริงจะทำให้ไม่ยั่งยืน"   , " สิ่งที่อยากให้มีในการทำงาน..ว่าควรมีความสุขในการทำงาน  การมองมนุษย์ด้วยการให้เกียรติ   การเกิด high performance"  เป็นต้น

              ดิฉันขอขอบคุณในสิ่งที่อาจารย์ได้กล่าวตักเตือน และกระตุ้นให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบ เทคนิคการศึกษาและนำความรู้ที่ได้กลับไปใช้ในทางที่ถูก และใช้ในการพัฒนาประเทศ  ดิฉันเชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของดิฉันได้เป็นอย่างมากค่ะ  และต่อไปนี้ดิฉันก็จะเริ่มทาน ผักสด ที่อาจารย์ได้แนะนำให้ทานนะคะ

                                            

 

 

 

 

น.ส.สุพัชชา ขับกล่อมส่ง
                 กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดิฉันชื่อ นางสาวสุพัชชา  ขับกล่อมส่ง   เดิมทีเดียวดิฉันไม่เคยรู้จัก หรือทราบเกี่ยวกับอาจารย์มาก่อนเลย  จนกระทั่งได้เรียนวิชานี้กับอาจารย์  เมื่อทราบประวัติ ผลงาน และประสบการณ์ของอาจารย์แล้ว  ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นเต้น ภาคภูมิใจ  และเป็นเกียรติมากที่ได้มีโอกาสอันดีในการเรียนกับอาจารย์  เป็นธรรมดาที่คนเรามักกลัวในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ครั้งนี้ก็เช่นกัน ดิฉันรู้สึกกังวล  และหนักใจอยู่บ้างกับวิธีการเรียนแบบนี้ ซึ่งดิฉันไม่เคยเจอ  แต่ก็จะเปิดใจรับและพยายามให้ดีที่สุด  ให้สมกับที่มีโอกาสดี ๆ แบบนี้  ขอขอบพระคุณอาจารย์  รวมถึงทีมงาน  โดยเฉพาะคุณยม  ที่ได้เสียสละเวลามาสอนพวกเรา                      อาจารย์พยายามเน้นย้ำถึงการเรียนรู้อยู่เสมอ วันแรกที่เริ่มเรียนอาจารย์จะบอกว่าอาจารย์ไม่ได้มาสอน แต่มาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็นซึ่งกันและกัน  ดิฉันคิดว่าการที่เราจะแลกเปลี่ยนความเห็นกับใครได้นั้นเราต้องมีความคิดของเราเป็นพื้นฐานเดิมอยู่บ้างแล้ว  ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าพูดกันคนละภาษา  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นมากในการใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อให้มีความรู้กว้างขวาง  ในเรื่องของการใฝ่รู้อยู่เสมอนี้ไม่ใช่ไม่ทราบ  แต่เพราะไม่เห็นความสำคัญ คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว จึงทำให้ดิฉันไม่ค่อยสนใจ  แต่มาวันนี้อาจารย์ได้แนะนำการใฝ่หาความรู้เหมือนการกินผักสด  ถ้าเปรียบเทียบอย่างนี้  นับว่าดิฉันเป็นคนเลือกกินผักพอสมควร   กินไม่กี่ชนิด  แต่ต่อไปนี้จะปรับตัวหัดกินผักสดให้มากและหลากหลายชนิดขึ้น  เพราะเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของมัน                     ในส่วนของการเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์  เดิมดิฉันคิดเพียงแต่ว่า  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การบริหารบุคคลภายในองค์กร เช่น การคัดเลือกคนเข้าทำงาน การฝึกอบรมพนักงาน แต่ ดิฉันกลับได้รับความคิดใหม่จากอาจารย์ ว่า การการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นกว้างกว่านั้นมาก  เราควรมองภาพจาก Macro คือ จากภาพรวม จากระดับประเทศ หรือระดับโลก แล้วค่อยมองย่อยลงมาจนถึงระดับ Micro เช่น องค์กรของเราเอง  ทั้งนี้เนื่องจากทุกระดับ ทุกหน้าที่งาน ย่อมเกี่ยวข้องกับคน  การบริหารทรัพยากรบุคคลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก พอๆ กับการบริหารด้านอื่น เช่น  การเงิน การตลาด  เทคนิค  และการบริหารทรัพยากรบุคคลอาจสำคัญมากกว่าด้านอื่นด้วยซ้ำ  ทั้งนี้เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  ถ้าบุคคลมีความรู้ความสามรถ เป็นคนดีมีศีลธรรม ย่อมนำองค์กรนั้นไปสู่ความสำเร็จ  ส่งผลต่อสังคม ประเทศชาติที่จะมีการพัฒนาต่อไป                      ดังที่ได้ฟังอาจารย์พารณ  ได้กล่าวเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคลว่า ต้องมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน  เห็นความสำคัญของคน  ที่สำคัญนอกจากจะส่งเสริมให้คนเป็นคนเก่งแล้วต้องส่งเสริมให้คนเป็นคนดีด้วย  ดิฉันคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ  ปัจจุบันนี้สังคมของเรามีคนเก่งมาก  แต่คนที่เก่งและดีด้วยมีน้อย  คนที่เก่งนั้นหากเป็นคนไม่ดีก็จะใช้ความเก่งไปในทางที่ชั่ว เพื่อหาผลประโยชน์ต่อตัวเองและพวกพ้อง  แต่ดิฉันคิดว่าการสร้างให้คนเป็นคนดีได้นั้นควรเริ่มจากครอบครัวและสังคมรอบข้างก่อน  จึงเห็นได้ว่าแม้ในระดับครอบครัวและสังคมเล็ก ๆ ก็สามารถนำเอาการบริหารจัดการคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน                    แม้ว่าอาจารย์จีระ และอาจารย์พารณ  เน้นย้ำถึงความสำคัญของคนว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กร  แต่หลายต่อหลายครั้งที่ยังคงพบเห็นว่ามีการปฏิบัติต่อคนอย่างไม่ยุติธรรม  โดยเฉพาะนายจ้างบางคนที่หวังเพียงผลประโยชน์จากการใช้แรงงานลูกน้อง  ไม่ดูแลเอาใจใส่  ไม่เคารพในความเป็นคน  จึงทำให้ยังคงพบเห็นการเอารัดเอาเปรียบกันอยู่เสมอ  ซึ่งองค์กรที่มีลักษณะดังกล่าวย่อมทำให้คนในองค์กรไม่มีความจงรักภักดี ย่อมส่งผลเสียต่อองค์กรแน่นอน  อยากให้ทุกองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เห็นความสำคัญและคุณค่าของคน  มีความเคารพซึ่งกันและกัน  ทำให้คนมีความสุขกับการทำงาน ก็จะส่งผลดีต่อองค์กร  สังคม  ประเทศชาติต่อไป                    ประทับใจในคำพูดหนึ่งที่ว่า  คนไม่ใช่ต้นทุน  แต่เป็นกำไร     จริงอยู่ที่แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า  ของฟรีไม่มีในโลก  ดังนั้นการจะหวังเอากำไรจากคนแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ลงทุนนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้  เราต้องลงทุนก่อน  แต่เป็นการลงทุนที่สมควรลงทุนและคุ้มค่ามากที่สุด  เพราะเมื่อลงทุนกับคนแล้ว ย่อมนำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรต่อองค์กรในที่สุด      สุดท้ายแล้วคนย่อมนำมาซึ่งกำไรนั่นเอง
พัทธนันท์ สกุลกฤติ

สวัสดีคะ ดร.จีระ เพื่อนๆนักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ดิฉัน นางสาวพัทธนันท์ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เข้ามาใน blog ของอาจารย์จีระคะ รู้สึกแปลกใจพอสมควรที่มีบุคคลต่างๆเข้ามา share ความรู้ในเรื่องราวที่หลากและน่าสนใจ ที่จริงก็ยังไม่ได้อ่านทุกบทความหรอกนะคะ แต่จะพยายาม อ่านให้ครบทุกเรื่องคะ

ในวันที่ 11 มิถุนายน 2549 ท่านอาจารย์จีระได้ให้ความกรุณามามอบความรู้ทางด้าน HR. แก่นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สิ่งที่ได้ในวันนั้นเป็นเรื่องราวของHR. ที่แตกต่างจากที่เคยรับรู้จากการเรียนที่ผ่านมา ทำให้เกิดทัศนคติใหม่ๆ กับการบริหารทรัพยากรบุคคล

ความคิดใหม่ๆที่ได้รับจากการเรียนกับท่านอาจารย์จีระในวันนั้น คือ การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องไม่ยึดติดกับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมากเกินไป  เพราะโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็เช่นกันต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน  แต่สำหรับสังคมไทยนั้นก็ยังมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ต้องยึดถือในการบริหารบุคคลก็คือ การเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และเคารพในตัวบุคลที่เราทำงานด้วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของนามธรรมไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงิน หรือ ตัวเลขได้  มันเป็นการซื้อใจด้วยใจ เราอยากได้งานอย่างไรจากเค้าเราก็ควรปฎิบัติเช่นนั้นต่อเค้าเช่นกัน

ในส่วนวีดีโอ การสัมภาษณ์คุณพารณ นั้นมีอยู่หลายๆเรื่อง ที่นักบริหารหลายคนมักมองข้ามทรัพยากรที่มีค่าตัวนี้ไป ทรัพยากรบุคคลเป็นส่วนที่ทำให้กิจการประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้ ถึงแม้บริษัทจะมีการจัดการระบบในส่วนต่างๆ ไม่ว่าการเงิน การตลาด การผลิต การประชาสัมพันธ์ดีเท่าไหร่ แต่ผู้ปฎิบัติไม่สร้างสรรผลงานเหล่านั้นอย่างเต็มความสามารถ ระบบที่ดีนั้นก็ไม่อาจเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารต้องคิดก็คือ ทำอย่างไรพนักงานของเค้า จึงจะทุ่มเทกำลังกายและใจให้กับงานอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งคุณพารณได้กล่าวก็คือ

เริ่มต้นการทำงาน : คือ การให้เงินเดือน ค่าจ้าง ในขั้นที่ดี เหมาะสมกับงานและหน้าที่ที่รับผิดชอบ

ระหว่างช่วงที่ทำงาน : คือ การมีสวัสดิการที่ดี มีการปกครองอย่างเป็นธรรม มีการให้รางวัลกับผลงานที่ดี

การออกจากกงาน : การให้เงินบำนาญ ที่เหมาะสมในการครองชีพ หลังจากเกษียณออกไปแล้ว

ถ้าผู้บริหารสามารถสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้  การรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ก็เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ คะ

สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหาร ควรปลูกฝังให้กับพนักงานและกลุ่มผู้บริหารเองก็คือ การมีจริยธรรมและคุณธรรมในการทำงาน การเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานการทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม  ไม่รับสินบน ไม่มีใต้โต๊ะ สิ่งเหล่านี้นอกจากสร้างความน่าเชื่อถือของการบริหารงานภายในแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ทำให้คนอยากเข้าไปร่วมงานด้วยทั้งคนภายในคือ พนักงานบุคคลากร และคนภายนอกคือ ลูกค้า

และดิฉัน ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยากเสนอให้กับ การบริหารงานบุคคลคือ ความจริงใจในการบริหารบุคคล  หากสิ่งไหนที่คิดว่าดีกับองค์กรแต่ไม่ดีกับพนักกงาน ควรมีการชี้แจง อธิบายถึงเหตุผล ไม่ควรปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วเสนอเฉพาะสิ่งที่ดีกับองค์กรออกมาเท่านั้น

ขอบคุณคะ สำหรับโอกาสที่อาจารย์จีระ เปิดให้ นักศึกษาอย่างดิฉันได้เสนอความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์คะ
นางสาว พรชนก สุขอาจ
เรียนท่านอาจารย์ จิระ ดิฉัน นางสาวพรชนก สุขอาจ รู้สึกโชคดีที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ อาจารย์ ซึ่งมีความเป็นอาจารย์ โดยเนื้อแท้ ทำให้ได้เกิดทัศนคติใหม่ๆในชีวิต ขึ้นมาแม้จะเป็นเพียงในคาบเรียนแรกเท่านั้น             สิ่งที่ได้จากอาจารย์ ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2549 ทำให้ดิฉันเห็นว่า ทรัพยากรมนุษย์นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กร ที่ทำให้องค์กรอยู่รอดและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ นอกเหนือไปจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และแผนงานแล้ว ซึ่งอาจารย์ได้ชี้แจงให้เห็นว่า การเกิดขึ้นขององค์กรได้นั้น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้คนทั้งสิ้น แม้ว่าบางขั้นตอนจะใช้เครื่องจักร มาทำงานแทนคน แต่สุดท้ายก็ต้องอาศัยคนเป็นผู้วางแผนและควบคุมให้เครื่องจักรทำงาน ได้ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพอยู่ดี เพราะฉะนั้นคนที่มาควบคุมจึงต้องเป็นผู้ที่ประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำงานให้กับองค์กรทุกๆ คน ก็ควรมีประสิทธิภาพที่จะทำงานในหน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด บรรลุเป้าหมายขององค์กร            คนทุกคนในองค์กร ล้วนแต่เป็นผู้ที่ส่วนสำคัญทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะมีตำแหน่งระดับต่ำ หรือระดับสูง และการที่องค์กรนั้นๆ จะประสบความสำเร็จได้มากหรือ น้อยเพียงใด ก็ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของคนในองค์กรทั้งสิ้น  โดยเฉพาะผู้นำ            คุณสมบัติที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กรควรนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด1.      ความใฝ่รู้ :  มีความทะเยอทะยานอยากเรียนรู้ แบบไม่มีที่สิ้นสุด  ซึ่งเมื่อได้รับความรู้แล้ว สามารถ Share ความรู้เหล่านั้นกับบุคคลอื่น และ Share แล้วสามารถนำมาต่อยอด ให้แตกต่างจากเดิมไปในทิศทางที่สร้างสรรค์ องค์เกิดก็จะเกิดการพัฒนา สามารถแข่งขันกับคู่ค้าได้  ยังผลไปสู่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ 2.      มีความรักประเทศ และมีคุณธรรม  :  คนที่มีใจรักประเทศชาติ จะสามารถสร้างสรรค์สังคมและองค์กรได้มากกว่า คนที่ไม่รักประเทศและไม่มีคุณธรรม ซึ่งจะคิดถึงแต่ผลกำไร ผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ ไม่ว่าจะได้ด้วยวิธีการที่ถูกหรือผิดก็ตาม  เปรียบได้กับการโกงกินชาติ ขายชาติ หรือการทำนาบนหลังคน  ถ้าเป็นเช่นนี้ก็คงไม่ต่างอะไรกับ การที่คนไทยเอาเปรียบคนไทยด้วยกันเอง   แล้วประเทศชาติที่บรรพบุรุษแลกมาด้วยเลือดเนื้อ จะสามารถธำรงคงอยู่ต่อไปได้อย่างไร3.      รู้น้อยเรื่องแต่รู้ให้จริง :   คือถ้าเราคิดจะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ควรตั้งใจทำให้จริง ทำมันด้วยใจรัก มีใจที่ศรัทธา งานที่ตั้งใจก็จะสำเร็จได้ไม่อยาก  บรรลุเป้าหมายที่วางไว้4.      ความมั่นใจ  :  ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีความมั่นคง หรือมั่นใจใน Concept ที่ตนเองกำหนดขึ้น  แล้วเราจะมีพลังในการที่จะก้าวหรือลงมือปฏิบัติในงาน นั้นๆให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างไร5.      มองมนุษย์ด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน  :  ก่อนอื่นคงต้องเริ่มจากการปรับใจตัวเองเสียก่อน  โดยการปรับให้เกิดทัศนคติ รักลูกน้อง รักเพื่อนร่วมงาน เป็นการรักอย่างจริงใจมิได้เสแสร้ง สิ่งที่ได้ตามมาหลังจากการปรับใจแล้วคือ พฤติกรรมที่แสดงออกต่อเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องจะเป็นแบบอบอุ่น จริงใจ เต็มใจช่วยเหลือ บรรยากาศการทำงานที่ดีก็จะเกิดขึ้นในองค์กร และทุกคนก็จะเกิดความสามัคคี พาองค์กรบรรลุเป้าหมายได้จากคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น  ดิฉันจะพยายามเค้นและนำออกมาจากตัวเราเองให้ได้มากที่สุด ใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงที่สุด                 
นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล

 

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉันชื่อ นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล ดิฉันไม่เคยรู้จัก หรือทราบเกี่ยวกับอาจารย์มาก่อนเลย ตั้งใจว่ากลับบ้านไปจะไปหาข้อมูลอาจารย์ทาง Internet แต่ปรากฏว่าไม่ต้องเลย เพราะท่านอาจารย์ได้แนะนำเว็ปไซต์ไว้หมดแล้ว และเมื่อเรียนวิชานี้กับอาจารย์ และทราบประวัติ ผลงาน และประสบการณ์ของอาจารย์แล้ว ทำให้ดิฉันรู้สึก ภาคภูมิใจ และเป็นเกียรติมากที่ได้มีโอกาสดีในการเรียนกับอาจารย์  

สิ่งที่ได้รับมาในการเรียนการสอนวันแรก ซึ่งแตกต่างไปจากการเรียนการสอนแบบเดิมที่นั่งฟังอาจารย์ที่บรรยาย อยู่หน้าห้อง เราก็ฟังแล้วจด ตอนนี้สำหรับท่านอาจารย์เปลี่ยนลักษณะการเรียนตั้งแต่โต๊ะเรียนเป็นลักษณธตัว U ซึ่งทำให้เราเห็นหน้ากันทุกคน และเราจะนั่งฟังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราจะต้องการสื่อสารสองทาง(Two-Way Communication) “ คือเราแรกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และแน่นอนมันเป็นลักษณะการเรียนแนวใหม่ ไม่มีหลังตายตัวทางการเรียนรู้ สนใจสิ่งไหนเราสามารถยกประเด็นมาพูดกันได้ สำหรับอาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้ และเป็นการให้เราเรียนรู้แบบ 4 L’s นี่คือวัตถุประสงค์ของอาจารย์

ในส่วนของการเรียนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่ท่านอาจารย์ได้ให้ไว้กับพวกเราคือ 1.   เราต้องคิดนอกกรอบ ตามที่ดิฉัน เข้าใจคือ สิ่งที่เราเรียนรู้มาเราควรจะรู้จริง รับรู้ให้มากกว่าสิ่งที่ได้รับรู้ ท่านอาจารย์ให้เราอ่านหนังสือหาองค์ความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา ไม่เพียงแต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เราควรจะรู้รอบตัวเพื่อให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง ถ้าเราคิดว่าวันนี้เราเก่ง แต่ไม่มีการพัฒนาตัวเอง ไม่คิดจะเรียนรู้ต่อไป อนาคตเราก็ไม่เก่งเพราะเราหยุดนิ่งในขณะที่คนอื่นๆปรับตัวตลอดเวลา เราจะตามโลกไม่ทัน ซึ่งตามปกติแล้วดิฉันสนใจติดตามข่าวเฉพาะที่ตัวเองสนใจ ดิฉันคิดว่าไม่พอแล้ว เราควรสนใจสิ่งไกลตัวไปบ้าง ซึ่งก็น่าจะนึกถึงสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้พูดถึง 2R’s คือ Reality การมองความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศ องค์กร และ Relevance  การอ่านเน้นตรงประเด็น และหาความรู้ใหม่ เอาไปสร้างมูลค้าเพิ่ม  2.    วิธีการเรียนการสอนของท่านอาจารย์ จีระท่าได้ให้เรามองทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro ไปสู่ Micro 3.   จากการดู Clip VDO สัมภาษณ์ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กับท่านอาจารย์ จีระนั้น คุณพารณได้กล่าวว่า คน เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร ฉะนั้นการบริหารงานบุคคลเป็นหัวใจแท้ๆ การรักษาคนในองค์กร สร้างความผูกพัน ความสัมพันธ์ การให้สวัสดิการที่ดี ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกัน ให้ความใกล้ชิดเป็นกันเองในทุกระดับ ผู้บังคับบัญชารักลูกน้อง ลูกน้องก็จะรักกลับ และก็จะทำงานให้องค์กรอย่างเต็มหน้าที่                         ก็เหมือนองค์กรของบริษัทดิฉันเป็นองค์กรของคนกลุ่มใหญ่ และเป็นบริษัทอาหารเช่นกัน การที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นกฏหมายอาหาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงผลเสียหากขาดระเบียบวินัยในการทำงาน ฝ่ายฝึกอบรมของบริษัทตลอดจนฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะจัดอบรมทั้งบริษัท เพื่อให้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกัน  ฉะนั้นถ้าเราสามารถทำให้พนักงาน หรือที่เราเรียกว่า คนทำงานให้เราอย่างมีประสิทธิภาพเราต้องให้ความสำคัญกับ คน/พนักงานในองค์กร สำหรับท่านอาจารย์ จีระ จะกล่าวถึง ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่เงิน เครื่องจักร หรือสิ่งของ แต่เป็น คน  ฉะนั้น HR ที่ ท่านอาจารย์ จีระ กล่าวถึงมี 2 ลักษณะ คือ 1. HR ที่ทำงานไปวันๆ และ 2. HR ที่เพิ่มมูลค่า  4.      การเปลี่ยน คน ไม่ได้เปลี่ยนง่ายๆ เพราะเราต้องพัฒนาทั้งชีวิต คือ เราต้องทำอย่างต่อเนื่อง 5.       การจัดความรู้ KM = Knowledge Management  คือ ความรู้, แชร์ความรู้ , ทำอย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ Performance6.     3 อย่างที่อยากให้มีในการทำงาน คือ Happiness การสร้างความสุขในการทำงาน, การให้เกียรติซึ่งกันและกัน และ High Performance

             นี่คือสิ่งที่ได้จากท่านอาจารย์ จีระ ในการเรียนการสอนวันแรก ส่วนทีมงานของท่านขอขอบคุณ คุณยม นาคสุข ที่ได้ช่วยเสริม สรุปองค์ความรู้ต่างๆให้ และ เสริม

4ท คือ 1.ท้าทาย  2.ท่าทีที่ดีต่อตังเอง 3.ทบทวน  4.ทำ   ส่วนท่านอาจารย์ จีระ เสริมข้อที่ 5. การมั่นใจตังเอง    สุดท้ายขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ จีระ ที่ให้โอกาสสอนพวกเรานักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรเเละอุตสาหกรรมอาหารที่ลาดกระบัง ด้วยระยะเวลาหนึ่งเทอม และขอบคุณคะ สำหรับโอกาสที่อาจารย์จีระ เปิดให้ นักศึกษาอย่างดิฉันได้เสนอความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์คะ  ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเก็บเกี่ยวความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์ จีระ และการแลกเปลี่ยนทัศนคติต่างในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม 

              

นางสาวจุฑาวรรณ เทพลิบ
สวัสดีค่ะ  ศ.ดร.จีระ  ดิฉันนางสาวจุฑาวรรณ  เทพลิบ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่สละเวลามาสอนพวกเรานะค่ะ  รู้สึกโชคดีมาก ๆ ที่ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์  ยอมรับเลยว่าตื่นเต้นมากกับสไตล์การสอนของอาจารย์  การเรียนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา  เป็นการเรียนที่ยังใหม่อยู่สำหรับเมืองไทย  น้อยครั้งมากที่จะพบอาจารย์ที่ share  ความรู้กัน  อาจารย์สอนให้กล้าพูดกล้าคิดมากขึ้น  รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ  สำหรับวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในตอนแรกคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่ายาก  แต่พอได้เรียนรู้จากอาจารย์ก็พบว่ามีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ 

การจัดการทรัพยากรมนุษย์นับว่าเป็นการจัดการที่ยาก  แต่จะทำอย่างไรให้ทรัพยากรที่มีอยู่เกิดประสิทธิภาพ  เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร  หากขาดบุคลากรที่มีความรู้  สามารถที่ดี  อาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กรได้  ทั้งการแข่งขันและการพัฒนา  ทั้งนี้ควรมีการฝึกอบรมแก่บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้  ความสามารถให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น  สิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรพึงมี  ก็คือ  การดูแลบุคคลภายในองค์กรตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทำความสะอาด  ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานจวบจนวันสุดท้ายที่ลาออกหรือเกษียณอายุไป  ด้วยการให้เงินเดือน  จัดสวัสดิการต่าง ๆ  เช่น  ค่ารักษาพยาบาล  ค่าเล่าเรียนของบุตร  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้จะทำให้บุคลากรทุ่มเทความสามารถในการทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มที่  โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแวดล้อมต่าง ๆ  บุคลากรก็จะมีความสุขกับการทำงาน  งานที่ออกมาก็จะมีประสิทธิผล  ทำให้องค์กรมีการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง  หากมีผู้บังคับบัญชาที่เก่งคิด  เก่งงาน  และเก่งคน  โดยเฉพาะเก่งคน  รัก  ดูแล  เข้าใจและให้ความเป็นธรรมกับลูกน้อง  สิ่งที่ตามมาก็คือความรักจากลูกน้องที่มีต่อผู้บังคับบัญชาและองค์กร  ความรักความผูกพันและความสามัคคีจะส่งผลให้องค์กรประสบผลสำเร็จและมีการพัฒนา  บุคลากรเหล่านั้นก็ยังอยู่ในองค์กรนั้นต่อไป  ไม่เพียงแต่การดูแลบุคคลในองค์กรเท่านั้น  แต่ยังรวมไปถึงบุคคลภายนอกองค์กรด้วย  ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าหรือบุคคลทั่วไปก็ได้  ทางองค์กรควรยึดมั่นคุณธรรม  ธุรกิจก็ดำเนินต่อไปได้ด้วยดีและยาวนาน  ลูกค้าก็จะชอบและพอใจในสินค้า  แล้วนำไปสู่การซื้อสินค้านั้นอีกครั้ง 

 

นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ

กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

                สวัสดีค่ะดิฉันนางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เจอท่านอาจารย์และคณะ วิธีการสอนของอาจารย์เป็นแบบแนวใหม่ และแนะนำว่าควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองให้มาก แล้วนำความรู้ที่ได้นำมาใช้แล้วคิดต่อเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างความคิดนอกกรอบ สิ่งที่ได้รับจากการเรียนกับอาจารย์                ศักยภาพของคนมีทั้งหมด 100 % แต่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะดึงออกมาใช้เท่าไหร่บางหน่วยงานดึงออกมาใช้มาก บางหน่วยงานก็ใช้น้อย ทั้งนี้ก็เป็นเพราะในหน่วยงานแต่ละหน่วยงานขาดความกระตุ้นและขาดการบริหารคนดังนั้นก็จะเห็นได้ว่า คนนี่แหละเป็นตัวการสำคัญที่จะทำประโยชน์ให้กับหน่วยงานหรือองค์กร ดังนั้นคน เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร                ความรู้ต่างๆที่เราได้รับมาแล้วควรที่จะมีการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นด้วย เพื่อที่ว่าจะได้นำแนวความคิดหรือความรู้ที่ได้มาคิดต่อยอด หรือเป็นการสร้างแนวความคิดนอกกรอบเหมือนที่อาจารย์ว่า แต่จะให้สมบูรณ์ที่สุดก็ต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด หลักการนี้สามารถนำไปใช้ใช้ได้กับทุกๆองค์กร                 การที่เราจะทำงานหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จำเป็นต้องรู้เยอะ อาจจะรู้น้อยก็ได้แต่ต้องรู้ให้จริง การที่จะรู้ให้จริงได้ก็ต้องอาศัยการอ่าน หาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันนี้คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ                 สิ่งที่อาจารย์แนะนำ        -      เป็นมนุษย์ต้องมีความสุขในการทำงาน-          เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในเรื่องนี้พอดีไปอ่านหนังสือเจอ เรื่องข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต มีอยู่ข้อหนึ่งบอกไว้ว่า จงปฏิบัติตาม 3Rs (ของอาจารย์มีทฤษฎี 2R’s) เลยเอามาให้ดูกันค่ะน่าจะนำไปใช้ได้1)      Respect for self เคารพตนเอง หากเราไม่เคารพตนเอง แล้วใครจะเคารพเรา2)       Respect for others เคารพผู้อื่น เมื่อเราเคารพตัวเองแล้ว เราต้องเคารพคนอื่นด้วย3)      Responsibility for all your action หากเราไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของเราแล้ว ใครจะมาเคารพเรา รับผิดแทนเรา-          เกิดผลประกอบการที่ดี (high performance)จากที่ได้ดูการสัมภาษณ์ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา - เชื่อมั่นในคุณค่าของคน เนื่องจากงานส่วนใหญ่สำเร็จก็เพราะคน เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งของต่างๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เมื่อระยะเวลาเปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้มีแต่จะเสื่อมลง แต่คนเมื่อเวลานานขึ้นยิ่งเก่ง และมีความสามารถ - การทำงานต้องมีเทคโนโลยีที่ใหม่ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ คน แบ่งออกเป็น คนในองค์กร ซึ่งการสร้างคนในองค์กรต้องสร้างในทุกระดับ , คนนอกองค์กร ต้องมีการแข่งขันกันในระดับโลก-การที่จะมอบอำนาจให้พนักงานระดับล่างทำงานได้ดี ต้องมีความแน่ใจว่าสามารถใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง-กลวิธีในการรักษาคนในองค์กรไว้ ต้องสร้างความผูกพัน ดูแลพนักงานตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายที่เข้าทำงานให้ดี เมื่อมาอยู่แล้วต้องมีสวัสดิการที่ดี และเมื่อเกษียณไปแล้วต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีสุดท้ายนี้ถึงแม้ว่าจะเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรกแต่ดิฉันคิดว่าน่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในชีวิตของดิฉันอย่างแน่นอนเพราะทุกวันนี้ดิฉันมักจะอ่านแต่หนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำแต่ยังขาดความรอบรู้ในด้านอื่นๆ อีกมาก และดิฉันจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้จากอาจารย์มาผนวกกับการ Share Idea กับเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนแล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดค่ะ                
นางสาวศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา
  กราบเรียน ศ.ดร. จีระ  ดิฉัน นางสาวศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จากการได้เรียนวิชา HR กับอาจารย์ เป็นครั้งแรก รู้สึกได้เลยว่าจะต้องฝึกตัวเองให้มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น กับการที่อาจารย์จะใช้วิธีการสอนแบบให้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ประกอบกับได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์มาก่อนนับว่าดิฉันโชคดีที่จะได้รับความรู้ต่างๆจากประสบการณ์ของอาจารย์             จากที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า วิชานี้ควรจะมีความคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับทฤษฎีเก่าๆ หรือการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะต้องดึงความสามารถของคนคนนั้นมาใช้ ไม่ใช่แค่สั่งให้ทำ เนื่องจากแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทฤษฎีเพียงอย่างเดียวไม่อาจนำมาใช้ได้ดีกับคนทุกคน หากรู้ถึงความสามารถและมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถที่มีอยู่นั้นงานที่ได้ย่อมจะออกมาดีกว่างานที่จำเป็นต้องทำ  อาจารย์ได้เน้นถึงการมองภาพจาก Macro สู่ Micro เพราะ ภาพรวมนั้นย่อมต้องมีผลกระทบถึงจุดเล็กๆ หรือการที่จะดำเนินงานในองค์กร ก็จะต้องคำนึงถึงสังคมส่วนรวมด้วย  อาจารย์ได้กล่าวถึงทฤษฎี 2 R’s คือ 1.Reallity  คิดถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และ 2. Relevance คือการอ่านจับประเด็นให้ถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการสื่อ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการอ่านที่ไม่มีการจับประเด็น เข้าใจคลาดเคลื่อน ทำให้ไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ หรืออาจไม่ได้อะไรเลยก็ได้             จากเทปการสนทนาของ อาจารย์ กับ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ก็ทำให้ได้รับความรู้และข้อคิดดีๆหลายอย่าง เช่น            - คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร  เพราะ สิ่งของ ยิ่งใช้มาก ก็จะมีแต่จะเกิดความเสื่อม คุณค่าลดลง ในขณะที่คนยิ่งนานวัน การสะสมประสบการณ์ยิ่งทำให้คนคนนั้นมีคุณค่ามากขึ้น            -การบริหารงานบุคคลเป็นหัวใจขององค์กร ถ้าองค์กรพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถ และสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กรนั้นได้ องค์กรนั้นจะมีความมั่นคงและไปได้เร็ว ซึ่งการพัฒนาบุคลคล จะต้องพัฒนาทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ส่วนการสร้างความรักและความผูกพันธ์ต่อองค์กร เช่น มอบหมายงานตามความสามารถ เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจและอยากทำให้ได้ตามที่ได้รับความเชื่อมั่นนั้น ให้ความยุติธรรม มีสวัสดิการตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงออกจากงาน ให้ความสนิทสนมกับคนงานทุกระดับ    นอกจากนี้อาจารย์ยังได้เสริมเรื่อง KM  ด้วยว่า ทุกวันนี้เราได้รับความรู้มาจากอะไร ได้มาแล้วมีการ Share กันหรือไม่ และจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากควารู้นั้นอย่างไร ซึ่งความรู้ไม่จำเป็นต้องรู้มาก แต่ขอให้รู้จริง และยังได้รับข้อคิด 4 ท.จากคุณยม นาคสุข ด้วยคือ            1.ท้าทาย  2.ท่าที  3.ทบทวน และ 4.ทำ   

ตามความเข้าใจก็คือ กล้าและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีท่าทีที่ดีกับอาจารย์และตัวเอง การที่อาจารย์ดุ หรือเตือนก็เพราะมีความปราถนาดีอยากให้ลูกศิษย์เป็นคนเก่งและคนดี ส่วนการทบทวนก็คือยิ่งทบทวนมากยิ่งเข้าใจมากขึ้น และทำเพื่อให้มั่นใจว่าความรู้ที่ได้รู้นั้นเป็นความรู้ที่ถูกต้อง

  
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  และท่านผู้อ่านทุกท่าน             ดิฉัน  น.ส.วิชชุวรรณ  ชอบผล  นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  ลูกศิษย์ของอาจารย์ในวิชา HR ค่ะ             หลังจากได้รับการสอนจากอาจารย์แล้ว  ดิฉันรู้สึกว่าได้มองข้ามอะไรที่ดีๆไปหลายอย่างในชีวิต  หนังสือพิมพ์ก็มีทุกวัน  แต่ไม่เคยสนใจข่าวที่ต้องมาเกี่ยวข้องกับตนเองในตอนนี้  เหมือนเป็นคนที่ชอบเขี่ยผักออกจากจานที่วางอยู่ตรงหน้าทิ้งไป  ทั้งๆที่รู้ว่ามันมีประโยชน์  หลังจากนี้จะไม่ทำอีกแล้วค่ะ  เพราะทราบแล้วค่ะว่าจะโตได้อย่างไรถ้าไม่กินผัก             ความรู้มากมายที่ดิฉันได้รับในวันนั้นมันก็เหมือนเป็นผักพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเห็น  ไม่เคยได้กิน  มันเป็นผักที่มีคุณค่ามากจริงๆค่ะ  มันอาจกลายเป็นผักสร้างคน  ซึ่งเป็นสิ่งมีค่าที่สุดในองค์กร  สร้างองค์กรที่เต็มไปด้วยคนที่มีคุณธรรม  มีการสื่อสารที่เข้าใจกัน  มีการปกครองที่ดี  ที่แฝงไปด้วยความผูกพันและการเอาใจใส่ดูแล  มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีสวัสดิการที่ดี  มีการให้โอกาสในการมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร ทำให้บุคคลในองค์กรมีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกัน  และสุดท้ายก็จะเกิดผลประกอบการที่ดี ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้องค์กรที่สร้างมาถึงแม้จะมีความมั่นคงแค่ไหน  ก็คงล้มลงได้           

            นี่คือผักที่อาจารย์ได้หยิบยื่นให้ดิฉันทานเข้าไปในวันนั้น  และดิฉันก็ยังคงต้องการทานผักที่มีคุณค่าเช่นนี้อีกค่ะ  เพื่อความเป็นเลิศ  ความคิดนอกกรอบ  กล้าที่จะต่อยอดความคิด  ความมั่นใจในตัวเอง  กล้าแสดงความคิดเห็น  และมีคุณค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมค่ะ 

              รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ 

 

นาย ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์

  กราบเรียน อาจารย์ ศ. ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน กระผมนาย ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์ มีความรู้สึกดีใจมากที่ได้เรียนวิชานี้กับอาจารย์ เพราะแนวทางการสอนของอาจารย์จะแตกต่างจากอาจารย์ท่านอื่นๆที่เคยเรียนมา สำหรับเนื้อหาที่ได้รับเมื่อการเรียนวันที่ 11 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมากระผมพอจะสรุปได้ดังนี้

   1 โลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน ดังนั้นการที่อีกประเทศหนึ่งทำอะไรขึ้นมาอย่างหนึ่ง เดิมจะไม่มีผลกระทบต่ออีกประเทศหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว การที่ประเทศหนึ่งประเทศใดกระทำอะไรก็ตามมักจะมีผลกระทบจากประเทศอื่นเป็นอย่างมาก เช่น การที่จีนเปิดประเทศ หรือการที่ อเมริกามีข้อพิพาทกับอิหร่าน ก็ส่งผลทำให้ราคานำมันแพงขึ้นเป็นอย่างมาก (และไม่มีที่ท่าจะลดลง)เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆทั่วโลกกระทบจนหมด  ดังนั้นมุมมองของนักบริหารจะต้องปรับเปลี่ยนให้มองดูระดับโลกก่อนแล้วค่อยปรับองค์กรตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก (มอง Macro สู่ Micro) ซึ่งก่อนหน้านี้องค์กรส่วนใหญ่จะมองสินค้าและบริการของต้นเป็นแบบ inside out (คือมองหา ทุน คน เครื่องจักร สินค้า แล้วค่อยมองหาตลาด ซึงเมื่อก่อนก็สามารถทำได้เนื่องจากผู้ผลิตมีน้อยราย) มาเป็น outside in (คือมองที่ความต้องการของลูกค้าก่อนแล้วจึงผลิตสินค้าหรือให้บริการ) จากสถานการณ์ดังกล่าวบางแนวคิดของเรา Guru ที่ใช้ในปัจจุบันจะต้องปรับเปลี่ยนเช่น การทำ SWOT Analysis ก็มีผู้แย้งมาแล้วว่าล้าสมัยเพราะเป็นการมององค์กรก่อนที่จะมองถึงภาพรวม

   2 การดำเนินขององค์กรต้องเน้นการทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ดังนั้นแต่ละบริษัทควรมีการวางแผนในการพัฒนาบุคคลากรอย่างเหมาะสมเพื่อให้บุคคลากรนั้น competent แต่ปัจจุบันแต่ละองค์กรกลับให้ความสำคัญน้อยมาก เท่าที่เคยตรวจโรงงานในประเทศไทย หลายโรงงานให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรมากกว่าการฝึกอบรมพนักงานด้วยซ้ำ จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่

    3 การจัการด้าน HR ในปัจจุบันควรมุ่งเน้นทางด้าน Strategic มากกว่า routine เพราะถ้า HR ยังคงยุ่งกับงานประจำพวก การปรับเงินเดือน การขาด ลา มาสายของพนักงาน องค์กรจะเสียเปรียบในการแข็งขันที่มีสูงขึ้นในปัจจุบัน

 เรื่องอื่นๆที่ขอ share กับอาจารย์ และเพื่อนๆดังนี้

    1 เรื่องทัศนะคติผิดๆของคนไทยที่เรามุงหวังในใบประกาศมากเกินไป เช่นที่อาจารย์กล่าว ประเทศไทยมีผู้ที่เรียนปริญญาโทกันเยอะ(รวมทั้งผมที่กำลังเรียนด้วย) แต่การพัฒนาประเทศนั้นไม่ได้เป็นสัดส่วนตามการเรียนนั้น ผมมีกรณีตัวอย่างที่คล้ายกันคือ การที่เมื่องไทยเป็นประเทศที่ได้รับการรับรองด้าน ISO 14000 มากที่สุดในภูมิภาคนี้แต่ศักยภาพในการแข่งขันกไม่ได้มากขึ้นตามไปด้วยเพราะเราทำเพื่อมุ่งหวังใบประกาศจนมากเกินไปผู้ที่เข้าใจในระบบจึงมีน้อย(ไม่เกิน 2% ของทั้งองค์การ) ดังนั้นเมื่อนำระบบมาใช้จึงทำให้หลายๆองค์กรติดขัดจนมีผู้กล่าวว่า ISO ย่อมาจาก Idiot System Organizations ไป

    2  เรื่องข้าวผมมีข้อมูลดังนี้ ปัจจุบันผลผลิตต่อไร่ของประเทศไทยตำมากเมือ่เปรียบกับคู่แข่งคือ

2.1 ประเทศไทย 380 กิโลกรัมต่อไร่

2.2 ประเทศพม่า 500 กิโลกรัมต่อไร่

2.3 ประเทศเวียดนาม 600 กิโลกรัมต่อไร่

2.4 ประเทศจีนกำลังมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว"ซุปเปอร์ไรซ์" ที่ให้ผลผลิตถึง 2000 กิโลกรัมต่อไร่

  ที่เป็นอย่างนี้เพราะเรามีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีกันเยอะมากจนทำให้ดินเสีย( ในปี 2547 ไทยนำเข้าปุ๋ยเป็นเงิน 33000 ล้านบาท) ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการไม่รู้ของเกษตรกรเอง และการที่มีพนักงานขายปุ๋ยและสารเคมีที่ไม่มีจริยธรรมไปหลอกทางเกษตรกร (การใช้ปุ๋ยและสารเคมีเป็นอะไรที่เรามีตัวอย่างอยู่แล้วแต่ไม่เคยจำเช่น เมื่อก่อนส้มรังสิตเป็นส้มที่มีชื่อเสียงมากแต่ปัจจุบันเหลือแต่ชื่อเพราะที่ดังกล่าวไม่สามารถปลูกส้มได้อีกแล้วเนื่องจากดินเสียอย่างรุนแรงจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างบ้าเลือด) ดังนั้นการที่ข้าวไทยจะยังคงเบอร์ 1 ของโลกอยู่ได้เราคงต้องเน้นทางด้าน คน(ให้มีความรู้มากขึ้น) เทคโนโลยีในการผลิตที่จะทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นมากกว่านี้ ปัจจุบันทาง วว. เองก็มีการใช้เทคโนโลยี่สาหร่ายมาใช้ในการเพิ่มสารอาหารในดินแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

 สุดท้ายสำหรับเพื่อนทุกคนผมอ่านเจอนำจิ้มอาหารสมองที่อยาก share ให้ทุกคนดังนี้

The man who graduates today and stops leaning tomorrow is uneducated the day after. (Newton D. Baker)

ขอแสดงความนับถือ

ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์

เรียน อาจารย์ที่เคารพ ดิฉันนางสาว ศรีทอง โคตะมะ ลูกศิษย์ สาขาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากการพบกันครั้งแรก ดิฉันได้สังเกต                                      ( ครั้งแรกยังไม่ได้ร่วมแสดงแนวความคิดของตนเอง เพราะพึ่งเป็นการเริ่มต้นรุ้จักกันและกัน)จากแนวความคิดที่อาจารได้ถ่ายทอดออกมาในการมองมนุษย์ และการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนได้นั้นเราต้องทราบความเป็นไปของสี่งรอบข้าง ความเป็นไปของธรรมชาติของบ้านเมือง และความเป็นไปของสังคมโลกที่เราต้องมีความเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกรูปแบบเต็มๆ 100 %                                                                          ( จริง ๆ แล้วก็เกี่ยวข้องกันมาตลอด อยู่ที่ว่าใครจะมองเห็นและมองได้ทันต่อผลอนาคตที่จะตามมาหรือไม่ แต่ที่ผ่านมาดิฉันยอมรับว่ามองเป็นเรื่องไกลตัวมาก)                

  และการที่เราคนไทย จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนและเป็นสุขในสังคมโลกนั้นเราต้องมีแนวทางที่ต้องพัฒนาคนอย่างรู้ทิศทางและเท่าทัน ครั้งนี้ท่านอาจารย์ได้จุดประกายแนวความคิดนี้ให้กับดิฉัน  และดิฉันมีความตั้งใจว่า สิ่งดีจะไม่ได้จบที่ตัวเอง แต่สิ่งดีเหล่านี้จะได้รับการกระจายไปสู่คนรอบข้าง สังคมครอบครัว สังคมการทำงาน และสักวันไม่ไกลดิฉันจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดแนวคิดที่ดีในการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกๆที่ที่อยู่ เพื่อความยั่งยืน 

  มีแนวความคิดหนึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าว และเป็นสี่งที่ดิฉันได้ทำและเชื่อมาตลอดคือ มีความเชื่อที่ดี  เคารพตนเอง และเคารพผู้อื่น

   สำหรับอาทิตย์นี้ เป็นการเริ่มต้นที่ตรงใจ  ขอใช้คำของท่านอาจารย์นะคะ  " โป๊ะเช๊ะ " มากค่ะ

                                      ขอแสดงความเคารพอย่างสูง

                                                   ลูกศิษย์

กัลย์สุดา วังชนะชัย

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ และเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน

ตั้งแต่ก้าวแรกที่ย่างกรายเข้าไปในห้อง  บรรยากาศภายในห้องทำให้รู้สึกทันทีว่าวันนี้มันไม่ธรรมดาซะแล้ว  แล้วการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ก็ได้เริ่มขึ้น   ศ.ดร.จีระได้แนะนำตัวและทีมงานของท่านให้สมาชิกนักศึกษาปริญญาโททุกคนรู้จัก  ยอมรับตามตรงว่าตัวดิฉันเองไม่เคยรู้จักท่านมาก่อน  สิ่งแรกที่ดิฉันต้องทำคือต่อสู้กับความตื่นเต้นผสมความกลัวของบรรยากาศเหล่านั้นให้ได้  และเปิดใจยอมรับเพื่อที่จะเรียนรู้ไปพร้อมกับอาจารย์และเพื่อนๆทุกคน  มีคนเคยบอกไว้ว่าให้ทำตัวเราเองเหมือนแก้วเปล่า  แล้วค่อยๆรองรับน้ำ(ความรู้  ประสบการณ์) จากอาจารย์  แต่ดิฉันว่าการเรียนกับอาจารย์ที่ชื่อว่า ศ.ดร.จีระ  คงไม่ใช่แค่มาเปิดใจเปิดสมองรับความรู้จากอาจารย์เพียงฝ่ายเดียว  แต่เราต้องพยายามขวนขวายหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆไปพร้อมๆกัน  และอีกสิ่งหนึ่งที่อาจารย์ได้บอกไว้ว่าวันแรกของการเรียนกับอาจารย์เป็นวันที่สำคัญที่สุด  ดิฉันคิดว่ามันใช้ได้กับหลายๆสถานการณ์เลยทีเดียว  เช่น  ตัวดิฉันเองเคยคิดไว้หลายครั้งแล้วว่าการที่เรามาเรียนในสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารเราก็ต้องติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้อง  ทันยุคทันสมัย  แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มทำจริงจังซะที  และแล้ววันที่จะทำให้ก้าวแรกของดิฉันได้เริ่มต้นก็มาถึง  เมื่อได้รับแรงกระตุ้นจากอาจารย์  แม้อาจารย์จะดุเราไปบ้างแต่ความจริงแล้วที่ทำไปก็เพราะความหวังดีที่จะเปลี่ยนแปลงเราไปในทางที่ดีขึ้น  ให้รู้จักคิดมากขึ้น

 

สรุปสาระสำคัญหลักๆ

  • คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด  คนที่มีคุณภาพนอกจากจะเป็นคนเก่งแล้วยังต้องเป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม  ต้องคิดถึงส่วนรวม ไม่ใช่คิดแต่ประโยชน์ส่วนตัว (รถ ,บ้าน, เงิน)  แต่ให้คิดว่าเราได้ทำอะไรตอบแทนประเทศชาติบ้างแล้วหรือยัง
  • HR คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร  และคนคือมูลค่าเพิ่ม  ไม่ใช่ต้นทุน
  • การรู้อะไรต้องรู้จริงและนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆได้จริง
  • การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากระดับโลก(macro)ไปสู่องค์กร(micro)
  • การเรียนรู้ต้องเรียนไปตลอดชีวิตอย่างสม่ำเสมอ  สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการหยุดเรียนรู้
  • การเรียนหรือทำงานต้องช่วยกัน  อย่าเก่งคนเดียว
  • HR ควรทำอยู่ 3 อย่าง

1.ต้องมีความสุขในการทำงาน

2.มองมนุษย์ด้วยความให้เกียรติซึ่งกันและกัน

3.เกิดผลประกอบการที่ดี

 

ข้อคิดเห็น

การคัดเลือกคนที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานเป็นสิ่งที่ยากแล้ว แต่สิ่งที่ยากกว่านั้นคือรักษาบุคลากรเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรไปตลอดนั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า  ดิฉันจึงคิดว่าควรใช้หลัก  5 ค

1.ครอบครัว   องค์กรต้องทำให้พนักงานทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน

2.ครอบคลุม  ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่กับทุกคนเท่าเทียมกัน

3.คุ้มครอง     เมื่อยามที่เขาได้รับความเดือดร้อนก็ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

4.คุ้นเคย        สร้างความเป็นมิตรและสนิทสนม

5.คุณค่า         ทำให้เขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในองค์กร

 

มีกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาให้อ่านกันค่ะ " ใครไม่เคยถูกตี ถูกทุบ เจอเรื่องเลวร้ายในชีวิตมาเลยนั้น จงอย่าได้คิดทำการใหญ่ "

 สุดท้ายนี้ขอขอบritคุณอาจารย์และพี่ๆทีมงานทุกคนที่เสียสละเวลาอันมีค่า มาทำให้นักศึกษาทุกคนเป็นคนที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
นายสุทธิพงศ์ คงขาว
เรียนอาจารย์ ดร.จีระ ที่เคารพ    ผมเป็นนักศึกษาป.โท สาขาการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมีสิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันที่  11  มิถุนายน  2549            ผมยอมรับว่าไม่เคยทราบชื่อเสียงของอาจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ มาก่อนเลย  แต่หลังจากอาจารย์เริ่มสอนกลับรู้สึกว่าผมโชคดีมากที่ได้เข้าเรียนในวิชา Human Resource Management  ซึ่งท่านอาจารย์ให้เกียรติมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์  ทำให้ผมได้แนวทางในการปรับปรุงความคิดของผมหลายอย่าง                อาจารย์กล่าวว่าเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด โดยเราไม่ควรหยุดศึกษาหลังจากเราจบการศึกษา  แต่เราควรมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดทางความคิดและนำเรื่องที่เราสนใจไปขยายผลเพื่อสร้างองค์กรแห่งการรู้  โดยให้แนวทางในการปฏิบัติคือมาก่อนเวลาเรียนประมาณ   15  นาทีเพื่อนำข้อมูลและความคิดเห็นมา Share Idea กัน  ซึ่งในด้านความคิดควรหัดคิดนอกกรอบบ้าง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในองค์กร                อาจารย์กล่าวเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนมุมมองในการดำเนินธุรกิจ  โดยให้มองทั้ง Micro และ Macro เพื่อให้ประเทศเราสามารถเข้าสู่สนามแข่งขันทางการค้าได้จึงยกตัวอย่างการมอง Micro ของเศรษฐกิจของประเทศไทยรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศขึ้นอยู่กับธุรกิจประกอบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม เช่น การประกอบยานยนต์   ส่วนการมองแบบ Macro ให้มองประเทศเพื่อนบ้านเช่นประเทศเวียดนามเรื่องค่าแรงงานที่ต่ำกว่าในอนาคตอาจมีย้ายฐานการผลิตการประกอบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมไปยังประเทศเวียดนาม   ทำให้ผมคิดว่าต่อไปเราควรวางแผนรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว  เช่น  การส่งเสริมการธุรกิจเกษตรมากขึ้นอาจารย์ได้ให้ดูวีดีโอเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่สัมภาษณ์ คุณ พารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา และได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับ มนุษย์ว่าเป็นหัวใจขององค์กร   โดยมองว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าเพิ่ม  ( Value added)  ทั้งความรู้และประสบการณ์ โดยการที่จะรักษาคนให้อยู่ในองค์กรเป็นสิ่งที่ HR ต้องสร้างให้มีขึ้น ได้แก่  การทำงานให้มีความสุข ,การให้ความนับถือซึ่งกันและกัน,การทำให้ผลประกอบการดี  โดยให้บริหารงานควบคู่คุณธรรมเสมอ                อาจารย์ที่ ให้แนวทางในการศึกษาความอ่านอย่างสม่ำเสมอและโดยเปรียบการอ่านข้อมูลใหม่ๆ ก็เหมือนการบริโภคผักสดจะได้ประโยชน์กว่าการอ่านข้อมูลเก่าหรือบริโภคผักเก่า  โดยทำให้ผมได้วิธีการในการหาความรู้ในการบริหารทรัพยาการมนุษย์โดยอ่านผ่านทาง Blog   ท้ายที่สุดนี้กระผมขอขอบพระคุณอาจารย์  ดร. จีระ  เป็นอย่างสูงครับ
นางสาวณัฏฐา มั่นคง
เรียน ศ.ดร.จีระ ดิฉัน นางสาวณัฏฐา มั่นคง นักศึกษาป.โท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารค่ะ    เมื่อได้ยินชื่อ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ครั้งแรก บอกตามตรงว่าไม่เคยรู้จักเลย อาจเป็นเพราะเรายังเด็ก ยังไม่ค่อยจะสนใจสิ่งรอบตัวเท่าไหร่ แต่เมื่อได้เจอตัวจริงแล้วต้องตกใจ คนอะไรมีความสามารถหลายด้านขนาดนั้น จากที่ได้ฟังท่านบรรยายไปเรื่อยๆ พบว่าท่านมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สอนให้เรารู้จักมองภาพรวมโดยทั่วๆไปของสิ่งที่เราจะทำก่อนที่จะหันไปมองภาพย่อยๆ  จริงอย่างที่ท่านว่าถ้าเราไม่มองภาพรวมก่อน เราจะไม่รู้ว่าอะไรที่จะมีผลกระทบกับตัวเรา  เพราะสภาพแวดล้อมโดยรวมกับความต้องการและการทำงานของเราอาจจะขัดแย้งกันก็ได้ อย่างดิฉันทำงานสอนหนังสือเด็กประถม ตอนทำงานครั้งแรกคิดว่าเราสอนตามแผนที่เขียนแนะนำและเตรียมตัวตามนั้น แต่ผลกระทบที่มองข้ามไปก็เกิดขึ้น เมื่อเจอเด็กวันแรกสถานการณ์กลับตรงกันข้าม เพราะสิ่งที่เราสอนเด็กไม่สนใจและไม่เข้าใจ ต้องทำความเข้าใจกับเด็กนานเหมือนกัน หลังจากได้เรียนกลับไปทำให้คิดว่า เราไม่ได้ดูเลยว่าเด็กๆสมัยนี้สนใจเกี่ยวกับอะไร มีความต้องการ หรือมีความรู้สึกกับสิ่งใดเป็นพิเศษที่จะทำให้เค้ามีสมาธิและสนใจกับสิ่งนั้นเป็นเวลานาน เราจึงทำสื่อแบบนั้นโดยใช้เนื้อหาที่เด็กต้องเรียนแทรกเข้าไป เป็นต้น อีกทั้งท่านยังแนะนำวิธีการเรียนที่จะทำให้เรามีความเป็นเลิศอีกด้วย ทำให้ดิฉันคิดได้ว่า  จากวันนี้ไปเราต้องอ่านหนังสือให้หลากหลาย ไม่ใช่แค่เรื่องที่เคยเรียนเพียงเรื่องเดียว เพราะการที่เรารู้มากจากการอ่านจะทำให้เรามีความคิดที่แตกต่างออกไปจากความคิดเดิม เมื่อมีความรู้  ก็จะทำให้เรากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นเองโดยไม่อายใคร เพราะเรามีความรู้ทำให้มั่นใจมากขึ้น  และนำความรู้ที่มีมาพูดคุยแรกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นให้เกิดความรู้ใหม่ที่แตกไปจากเดิมและเข้าใจถ่องแท้ขึ้นอีกด้วย  เรื่องสุดท้ายที่ท่านสอนเราคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับคน และเราเรียนเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากที่ได้ฟังท่านบรยายและฟังการสนทนาของท่านพารณ ทำให้เข้าใจได้ว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดก็คือมนุษย์ เราจะทำอย่างไรให้คนอยากทำงานให้กับเรา ก็เหมือนกับการทำงานถ้าเราผูกพันกับคนในองค์กร เป็นงานที่เรารักและถนัด หรือสวัสดิการดี  ก็จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขและสนุกกับการทำงานนั้น  แต่ก็มีบางอย่างที่ทำให้เราอยากออกจากงาน เช่น งานที่ทำเราไม่ถนัด  สวัสดิการไม่ดี และเรื่อง คน เพราะคนสามารถทำได้ทุกอย่างทั้งสนับสนุนเราหรือทำลายเรา ความเสียหายขององค์กรส่วนใหญ่เกิดจากคนด้วยกันทั้งนั้น ถ้าคนเก่ง แล้วมีคุณธรรมด้วยองค์กรคงจะอยู่รอดมากกว่านี้  จะเห็นได้ว่าองค์กรจะอยู่รอดได้หรือไม่ได้ต้องอาศัยทรัพยากรที่ชื่อว่า มนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น เรามีทรัพยากรต่างๆมากมายแต่ไม่มีผู้ค้นพบหรือนำออกมาใช้อย่างคุ้มค่า ทรัพยากรนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์ขึ้นมาเช่นกัน ดังนั้นต้องรู้จักคุณค่าของคนและเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน

จากที่ได้ฟังบรรยายจากท่านทั้ง 3  ชั่วโมงเต็ม ทำให้ดิฉันเปลี่ยนความคิดในหลายๆด้าน บางคำพูดของท่านโดนใจทำให้มีความมุ่งมั่นว่าต้องเปลี่ยนแปลงให้ได้ ไม่ใช่เพราะอยากเอาชนะแต่เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ และคนที่ได้คือตัวเราไม่ใช่ใครอื่น อีกสิ่งหนึ่งคือสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้

น.ส. ศิริรัชน์ หินกล้า

เรียน ศ.ดร. จีระ และเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน

ดิฉัน น.ส.ศิริรัชน์ หินกล้า นักศึกษาป.โท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารค่ะ ดิฉันรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์

เช้าวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2549 ดิฉันมาถึงห้องเรียนประมาณ 8 โมง 45 นาที พอก้าวขาเข้ามาในห้องแล้วมองไปรอบๆ มีคนอยู่ไม่กี่คนหนึ่งในนั้นก็มีผู้ชายท่าทางดุและน่าเกรงขามกำลังนั่งคุยกับทีมงานอีก 2- 3 คน ดิฉันก็คิดในใจว่าคนนี้แน่ๆเลยที่เป็นอาจารย์สอนวิชา HR พอถึงเวลาเรียนหลังจากที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวแนะนำตัวเองและทีมงานแล้ว  ดิฉันก็เกิดความรู้สึกกลัวและเกร็งขึ้นมาทันทีเพราะท่านอาจารย์เสียงดังและบรรยากาศในห้องนั้นเงียบกริบและตึงเครียด แต่พอเรียนไปสักพักบรรยากาศในการเรียนก็ดีขึ้นเพราะอาจารย์มีความเป็นกันเองกับลูกศิษย์  ใช้วิธีการสอนที่ไม่เหมือนใครคือไม่ใช่การปิ้งแผ่นใสแล้วบรรยายหน้าชั้นให้นักศึกษาจดตาม  แต่อาจารย์ใช้การสอนที่ให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน

ดิฉันชอบที่อาจารย์สอนว่า ความรู้เปรียบเสมือนผักสด เราควรกินผักสดหลายๆ ชนิด  ดิฉันเพิ่งเคยได้ยินประโยคนี้ ในปัจจุบันดิฉันกินผักเพียงไม่กี่ชนิด ผักชนิดไหนที่ไม่ชอบก็จะไม่กินถึงแม้จะรู้ว่ามันมีประโยชน์ต่อร่างกายก็ตาม แต่พอได้ฟังคำพูดของอาจารย์แล้วดิฉันก็จะพยายามกินผักเหล่านั้นให้มากขึ้น และอีกอย่างที่อาจารย์เน้นคือ ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในองค์กรและสิ่งที่ต้องทำเพื่อรักษาทรัพยากรอันมีค่าให้อยู่กับองค์กรนานๆ คือ การทำงานให้มีความสุข  การให้เกียริซึ่งกันและกัน  ความยุติธรรม

สุดท้ายอยากขอขอบพระคุณอาจารย์และทีมงานอีกครั้งที่สละเวลามาสอนพวกเรา ... ขอบคุณค่ะ

 

นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล

กระผมขอกล่าวสวัสดีอาจารย์ กระผมรู้สึกตื่นเต้นมากที่ครั้งหนึ่งในชีวิตจะได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ผู้ที่เปี่ยมด้วยความรู้และประสบการณ์บุคคลหนึ่งของประเทศ  (กระผมยังนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเลย) จากการที่ได้เข้าเรียนกับอาจารย์ในชั่วโมงแรก  ถือว่าเป็นการกล่าวชี้ทาง  ในเรื่องของ แนวทางการเรียน อาจารย์ ชอบที่จะกล่าวให้เรา  คิดนอกกรอบ อย่างสร้างสรรค์ ต่อสังคม และตัวเรา   กระผมก็จะขอกล่าวบรรยาย ตามประสาคนชอบพูด    ถือว่าเป็นการร่วมกันศึกษา ระหว่าง กลุ่มนักศึกษากับ อาจารย์ 

ถึงแม้การเรียนรู้จะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ให้เราได้พบและเลือกศึกษา  มีอยู่มากมายในชีวิตของเรา  แต่จะมีใครสามารถยืนยันได้ว่าความรู้ไหนดีที่สุด  สุดท้ายก็จะกลับมาถามกันอีกว่าเราควรจะเรียนรู้อะไร  จากใคร  อย่างไร  เอาไปทำอะไร  แล้วดีหรือเปล่า  มีคำพูดอยู่หนึ่งคำของท่านอาจารย์ ที่กระผม ให้ความสำคัญ  และก็ตระหนัก อยู่ในใจ ก็คือ คำว่า เป็นคนดี   ทุกครั้งที่ผมมีโอกาส ผมจะคอยบอกกล่าว คำว่าเป็นคนดี ให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่ที่ผมสอน     ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ ที่ว่าเก่งแล้วเป็นคนไม่ดี อยู่ในบ้านเมืองของเรามากๆ จะเป็นยังไง  ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้นแล้ว  และในปัจจุบันประเทศก็กำลังประสบปัญหาอยู่ 

                 ที่กระผมผมขอนำเรื่องนี้มากล่าวก่อน เพราะกระผมถือว่า

 มันเป็นเรื่องของ  อดีต(ที่เกิดขึ้นมาแล้ว และเป็น

                                        ประสบการณ์)   

             ปัจจุบัน(เราจะต้องมาช่วยกับเรียนรู้

                        แก้ไข   และป้องกัน) 

         สุดท้ายก็คือ อนาคต( สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม คนใกล้

                                         ชิด  คนที่เรารัก และตัวของเรา)

ในปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มแนวความคิดที่จะเสริมจริยธรรมลงในการเรียนการสอน ให้กับนักเรียนหรือเยาวชนรุ่นใหม่  เผื่อไว้ให้สังคมในอนาคต 

จากวันแรกสิ่งที่ได้คือ มุมมองใหม่ๆ ที่ท่านอาจารย์ได้พยายามป้อนให้กับพวกกระผม  ซึ่งตัวกระผมเองก็ยังไม่ทราบบ้าง  ทราบแต่ไม่ใส่ใจบ้าง  และผมก็คาดหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าจะต้องมีบางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่มากก็น้อย

ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแล้วแต่มีที่มา  (ขอนำเอาหลักทางพระพุทธศาสนามากล่าว)   มีเหตุ และมีผลในตัวของมัน ถ้าจะกล่าวได้ว่ามันน่าจะเป็นไปตามธรรมชาติก็ว่าได้  แม้กระทั่งในหลักภาษาที่กล่าว ว่า  มีประธาน  กิริยา  และกรรม   กรรมคือผู้ถูกกระทำ  ใครเป็นผู้กระทำ  ผู้กระทำที่ถือว่ามีความสำคัญในบทเรียนนี้  คือ  มนุษย์ หรือภาษาท้องถิ่นที่เรียกว่า  คน   แน่นอนย่อมมีความหลากหลายปนเปกันไปเหมือนชื่อ  แต่เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม  มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกัน  มีกิจกรรมร่วมกัน  รวมตัวกับเป็นกลุ่ม หรือองค์กร มีกันหลายขนาด  เป็นทั้งตัวผลักดันที่จะทำให้เกิดอะไรหลายๆอย่างขึ้น  เพื่อความอยู่รอดของตนเอง และส่วนรวม

ถ้าจะขอเริ่มที่ตัวเราเองก่อน เพราะอยู่กับเราตลอดเวลา  หลายครั้งที่ตัวกระผมเองยังรู้สึกไม่เข้าใจตนเองในบางเรื่อง บางอย่างโดยที่หลายครั้งที่ตัวกระผมก็ต้องการใครสักคนที่จะมาเข้าใจตัวเรา  ผมไม่ปฏิเสธว่าบางอย่างเรารู้ แต่เราไม่ทำ บางอย่างไม่รู้ แต่กล้าทำ  และผมคิดว่านี่คือ ที่มาของปัญหาที่เกิดจากมนุษย์

เรายังโชคดีที่มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  เป็นสิ่งที่ชี้ทางสว่าง  นำมาใช้กับปัจจุบัน คือโลกของความเป็นจริงได้  บางครั้งเราอาจลืมนึกถึงไป  ตัวกระผมเคยไปพบกับ กลุ่มนักศึกษาที่มาจาก สันติอโศก ซึ่งได้มาเยี่ยมชมงานที่ทำงานผม  เขาสนใจนำสำรอง ที่ขึ้นชื่อ  สิ่งที่เขานำติดตัวมาฝากกระผม คือ ความมีศิลธรรม และความพอเพียง  จากการซักถาม ก็ทราบว่า ที่นั้นเน้นให้อยู่ในศีล 5  แววตาของพวกเขาเหล่านั้นมันชั่งแปลกกว่าที่ผมเคยเห็น  พูดกันง่ายๆ คือ ดูซื่อๆ  แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ฉลาดนะ เพราะสิ่งที่นำพาให้พวกเขาเหล่านั้นมา คือ ต้องการความรู้   ที่กล่าวยกตัวอย่างมานี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงความผูกพันของชีวิตมนุษย์ กับศาสนาพุทธ  ดังนั้นคิดว่าไม่แปลกอะไรที่จะสามารถเอาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

จะทำอย่างไรให้บุคคลในองค์กร นำเอาศักยภาพที่แท้จริงที่มีอยู่ในตัวตน  นำมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า และถูกต้องเหมาะสมมากที่สุด จะทำยังไง.. (คำถามนี้ตอนนี้ตัวกระผมเองก็ยังตอบไม่ได้ ก็ต้องมาอาศัย ท่านผู้รู้ และมีประสบการณ์ มาเป็นผู้ชี้แนะต่อไป)

ในความคิดส่วนตัวกระผมเอง ทุกอย่างที่ทำต้องมีการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์  เหมือนที่บอกของฟรี ไม่มีในโลก  ต้องมีข้อแลกเปลี่ยน  บางคนทำไปโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน แล้วความพอใจส่วนตัวความสบายใจที่ได้ มันถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนที่ตัวเราอยากได้แล้วสร้างมันมาหรือเปล่า            ถ้าหากเรารักที่จะหามจั่ว  เราก็น่าจะหามได้อย่างดีกว่าคนที่ไม่รัก  เพราะถ้าเรารักที่จะทำอะไร  ให้ใครแล้วเราย้อมหาทางทำให้ดีที่สุด  ทำยังไงถึงจะทำให้คนในองค์กรมีความรักต่อกัน รักหน้าที่ รักหัวหน้า รักองค์กร รักสังคม  ง่ายๆ แต่หายากหน่อยคือ อย่าเห็นแก่ตัวมากนัก  ไม่ว่าที่จะเห็นแก่ตัว แต่ขอให้เห็นแก่ส่วนรวมบ้าง  สิ่งที่เราจะใช้  ต้องป้อนเข้าไปในลักษณะของการกระตุ้นคนในองค์กร  การกระตุ้นที่ดีนั้นจะต้องเข้าใจธรรมชาติทั่วไปของ คน ในองค์กรก่อน จึงจะมาชี้เฉพาะเป็นรายบุคคลไป  อย่างเช่น  ไม่มีใครอยากให้คนอื่นมาขัดใจตน  คนเรานิยมคำชื่นชม  เป็นต้น  

 บริษัทก็เหมือนรถแท็กซี่ที่มีทั้งคนนั่ง และคนขับ ทั้งสองคนต่างก็มีจุดมุ่งหมาย  หากขับโดยไม่สนใจคนอื่น หรือสิ่งรอบข้างก็จะทำให้เกิดปัญหา  หากเกิดการทะเลาะกันระหว่างคนขับกับคนนั่งก็เกิดปัญหา  รถไม่ดีมีปัญหาก็ ต้องโทษคนดูแล  สิ่งไหน น่าจะต้องมาแก้ไขก่อนถึงจะดี

สิ่งเดียวที่จะรู้เทาทันความไม่แน่นอนได้นั้น  คือ ความไม่ประมาท  สามารถใช้ได้กับทุกสิ่ง  แต่ถามว่าแก้ใขความไม่แน่นอนได้หรือเปล่า....  ตอบว่าไม่ได้  ได้แค่ทำให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด

ปัจจุบันคนที่มีความรู้ในเรื่องหนึ่งจริงๆ หายาก (ไม่ใช่ว่าไม่มี) ส่วนใหญ่มักรู้หลายเรื่อง  จะดีไหมถ้าเราจะรู้ได้อย่างรายการแฟนพันธุ์แท้ ที่หลายต่อหลายคนต่างรู้สึกทึ่งกันอยู่

การอยู่รอดควรจะสมดุลกับความถูกต้องเหมาะสม

ชีวิตคนเราควรทานสลัดให้มากขึ้น เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายและสมอง  ความรู้ก็เหมือนสลัดสด  อย่าลืม จะกินให้รสชาติดีกินง่าย ต้องมีน้ำสลัด  ก็จะมีทั้งข้น และใส  แล้วแต่ชอบ

การโทษตัวเราเองน่าจะเป็นผลดีที่สุด เพราะจะได้สำรวจตนเองบ้าง  ดีกว่าไปโทษคนอื่น แต่ถ้าขาดการแก้ไข  เราก็จะถูกทั้งคนอื่นและตัวเราโทษตลอดไป

 สิ่งหนึ่งที่บริษัท ความจะซื้อ คือ ซื้อใจพนักงาน

ที่กล่าวมาทั้งหมด  มันอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่ อาจารย์สอนในวัน ที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา  แต่กระผมก็หวังที่จะให้อาจารย์ภูมิใจในตัวของพวกกระผมทุกคน  จากลูกศิษย์ของอาจารย์  ขอคุณครับ

นายปราโมทย์ เลิศสถาพร

        กราบเรียนท่านอาจาร์ย ศ.ดร.จิระ และสวัสดีครับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกท่านที่ได้เข้ามายัง Foodscience/HR

     เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มิ.ย.ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้เรียนรู้"แนวทางการเรียนรู้"จากท่านอาจารย์ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่าเรื่องราวในโลกภายนอก(Macro)แห่งนี้ที่ข้าพเจ้าสงสัยคงมีคำตอบอยู่แล้วเพียงแต่ข้าพเจ้ายังค้นหาไม่พบ เช่นเดียวกันกับโลกภายใน(Micro)ของข้าพเจ้าก็ยังมีคำถามอีกมากมายที่รอคำตอบ

     ข้าพเจ้าหวังว่าดวงจิตของข้าพเจ้าจะตั้งมั่นที่จะเรียนรู้ตามการชี้แนะของท่านอาจารย์เพื่อค้นหาคำตอบที่ถูกต้องในโลกMacro และโลกMicro แห่งนี้

                                  ขอแสดงความเคารพอย่างสูง

                                    นายปราโมทย์ เลิศสถาพร

                                 วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๔๙

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นส.ทิพวรรณ คงเมือง นักศึกษาป.โท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง จากความรู้สึกแรกก่อนเข้าเรียนวิชา Human Resource Management มีคำถามในใจมากมาย วิชานี้น่าจะเป็นวิชาท่องจำ แบบนกแก้วนกขุนทอง น่าเบื่อ แล้วทำไมทางสถาบันฯ ถึงให้ความสำคัญมาก ขนาดต้องให้อาจารย์ระดับ ศ.ดร.มาสอน ยิ่งไปกว่านั้นคือเป็น ศ.ดร.จีระ ซึ่งเป็นกูรูที่ดังมากๆ แต่หลังจากมีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ เพียงแค่ 3 ชม.แรก ไม่น่าเชื่อเลยค่ะว่าอาจารย์สามารถเปลี่ยนทัศนคติในใจดิฉันเกี่ยวกับวิชานี้ได้ และเริ่มเข้าใจมากขึ้น ว่า HR มีความสำคัญมากๆเพื่อเรียนรู้และเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร และหน่วยงาน อาจารย์สอนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ หาเหตุผลและรู้จักมองโลกภายนอกให้กว้าง มองจากจุดใหญ่ระดับมหภาคแล้วย้อนมามองจุดเล็กระดับจุลภาค สอนให้กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าคิดกล้าทำ สอนให้เห็นคุณค่าของคน มองคนเป็นทรัพยากรมนษย์ที่เป็นกำไรไม่ใช่ต้นทุน ซึ่งแตกต่างกับสังคมโลกธุรกิจบางรายที่มองวัตถุสิ่งของ และเงินเป็นกำไร แต่มองทรัพยากรมนุษย์เป็นต้นทุน ซึ่งจะสังเกตได้ว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านั้นจะไปได้ไม่ไกลนัก ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์จีระ และขอบคุณพี่ยม นศ.ป.เอกและทีมงานของอาจารย์ด้วยค่ะที่ช่วยสรุปใจความสำคัญที่อาจารย์บรรยาย ทำให้ลดช่องว่างระหว่างนิสิตป.โท และศ.ดร.ที่มีความรู้ความสามารถมากมายขนาดนี้ได้เป็นอย่างดี ดิฉันจะไขว่คว้าหาความรู้และเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง เพื่อนำความรู้เหล่านี้ถ่ายทอดให้รุ่นน้อง และคนรอบข้างได้รู้เท่าๆกัน จะได้พัฒนาและเพิ่มมูลค่าแก่ตนเองและองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ .....ขอบคุณค่ะ 

น.ส.อโณทัย แก้วสำอางค์
 

 เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

นับเป็นครั้งแรกและถือเป็นโชคดีมาก ที่ได้มีโอกาสได้พบและได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักดีในเมืองไทย รวมถึงต่างประเทศในด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งท่านได้เสียสละเวลา ให้เกียรติมาเป็นอาจารย์เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในวิชา Human Resource Management (การจัดการทรัพยากรมนุษย์) ให้กับนักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดภาคเรียนนี้

จากการที่ได้พบกับท่านอาจารย์ครั้งแรกในวันนี้ ก็ทำให้ทราบได้ว่าอาจารย์เป็นคนเก่งและมีความรู้รอบด้าน และมีประสบการณ์ที่มากมาย หลากหลาย โดยทราบได้จากการที่อาจารย์เป็นผู้ที่ชอบติดตามหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ และจะเน้นกับนักศึกษาเสมอว่า นักศึกษาต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ในทุกๆด้าน อย่ามองอะไรด้านเดียว รวมทั้งต้องเปิดใจและรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนหรือเฉพาะในขณะที่เป็นนักเรียนนักศึกษาเท่านั้น และที่สำคัญคืออย่ามองอะไรแคบๆ ให้มองกว้างๆ มองโดยรวม เพราะการมองภาพรวมไปหาจุดย่อย จะช่วยให้เข้าใจกระบวนการต่างๆและสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีระบบ แต่ถ้ามองแบบฉาบฉวย มองแคบๆ จะทำให้ vision ของเราแคบตามไปด้วย

ในการเรียนครั้งแรกวันนี้ อาจารย์ได้สอนและแนะนำให้นักศึกษารู้จัก HR ในภาพรวมกว้างๆว่า HR คืออะไร ทำไมจึงต้องมีการเรียนการสอนวิชานี้ และสำหรับองค์กรต่างๆ รวมถึงประเทศชาติ HR มีบทบาทและความสำคัญมากแค่ไหน ซึ่งสไตล์การสอนของอาจารย์ ดร.จีระ ค่อนข้างจะแตกต่างจากอาจารย์ท่านอื่นๆ จะไม่มีตำราตายตัว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่เน้นการได้แสดงความคิด แลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยให้ทุกคนฝึกคิดนอกกรอบ มองหลายๆด้าน และกล้าที่จะแสดงออก และในช่วงท้ายอาจารย์ได้ให้นักศึกษาดู VDO การสัมภาษณ์คุณพารณ อดีตผู้บริหารเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งท่านเป็นอีกท่านหนึ่งที่มีความรู้และให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มาก ซึ่งในแนวคิดของท่านถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากขององค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ระดับประเทศ เพราะการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นคนเป็นกำลังสำคัญที่สุด เนื่องจากคนเป็นตัวขับเคลื่อนทุกกระบวนการในองค์กร ถึงแม้ว่าองค์กรนั้นจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดคนที่จะมารองรับหรือใช้เทคโนโลยีนั้นได้ เทคโนโลยีนั้นก็หมดประโยชน์ ดังนั้นในองค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนาคนอยู่เสมอ และในการพัฒนาคนนั้นจะต้องทำทุกระดับไม่ใช่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง หรือเรียกได้ว่าต้องพัฒนาทั้งระบบคือ Macro แล้วค่อยลงจุดเล็ก(Micro) เพื่อให้สามารถทำงาน ประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณพารณได้ให้ข้อคิดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพนั้นก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆเพราะ คนเปลี่ยนยากต้องทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนอกจากการพัฒนาคนแล้ว เรายังต้องพยายามที่จะเก็บรักษาคนที่มีคุณภาพของเราเอาไว้ด้วย เพราะคนเหล่านั้นถือเป็นผลกำไรขององค์กร ซึ่งการจะเก็บรักษาไว้นั้น เราจะต้องสร้างความรัก ความศรัทธาในองค์กรแก่พนักงาน โดยคำนึงเสมอว่า หากผู้บริหารหรือองค์กร รัก ศรัทธาและให้เกียรติแก่พนักงาน พนักงานก็ย่อมรัก ศรัทธา และเกียรติองค์กรเช่นกัน

สำหรับการเรียนในวันนี้ถึงจะเป็นครั้งแรกแต่ก็รู้สึกว่าได้รับประโยชน์และความรู้ใหม่ๆหลายอย่าง รวมทั้งความสำคัญของ HR ซึ่งผู้บริหารบางคนอาจมองข้ามและคิดว่าไม่จำเป็น ไม่สำคัญ ซึ่งจากการได้รับฟังอาจารย์ในวันนี้รู้สึกว่า จริงๆแล้ว HR สำคัญมากๆต่อองค์กรและต่อประเทศชาติ และวันนี้ทำให้ได้แนวคิดอย่างหนึ่งว่า “ คนทุกคนมีความสามารถอยู่ในตัวเอง เพียงแต่ว่าคนคนนั้นจะนำความสามารถของตนเองออกมาใช้ได้มากแค่ไหน และถ้าหากเราเป็นผู้บริหาร เราจะสามารถกระตุ้นหรือพัฒนาคนของเราให้นำเอาความสามารถที่มีอยู่ออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มใจและรักที่จะทำงานกับเราได้อย่างไร...........ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์  เป็นครั้งแรกที่ผมใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ประกอบกับการศึกษา ในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์  การเรียนในนี้  เป็นการเรียนแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ในการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์  และความคิดซึ่งเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง แต่พวกเราก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่ทางเดินไปสู่จุดหมายต่อไปของคนจะไม่เหมือนกัน  และจุดหมายสูงสุดของคนเราก็ไม่เหมือนกันมันอยู่ที่ความพอดีของคนนั้นๆ   แต่ถ้าเราตั้งใจจะก้าวหน้าต่อไปอีกก็ต้องศึกษาหาความรู้ต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด และผมเชื่อใน ความตั้งใจของคน และสุภาษิตไทยว่า มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยุ่นับแสนในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์  ที่เรียนมาในวันอาทิตย์ ที่ 11/6/06 สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ1. การเรียนแบบ  4 L’s คือ 1.       Leaning  Methodology  2.       Leaning  Environment  3.       Leaning  Opportunities4.       Leaning  Communitiesหลักการ  4 ข้อนี้ คือหลักการที่จะสอนหรือทำให้คน มีระเบียบและเหตุผล มีความสนุกสนาน  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยนช์ และเผ่ยแพร่ความรู้ เป็นการเรียนรู้ในทฤษฎี แบบ 4 L’s คือการสร้างนิสัยให้คนในการเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุด2. มอง Macro ไปสู่ Micro คือการมองภาพใหญ่ไปแล้วค่อยไปสู่ภาพเล็ก ซึ่งตอนนี้รับรู้ได้ถึงภาพใหญ่แต่ยังเห็นภาพเล็กไม่ค่อยชัดเจนครับ ผมจึงต้องหาแว่นขยาย จึงอยากให้อาจารย์ ช่วยแนะนำทางการเรียนรู้ การมอง Macro ไปสู่ Micro ร่วมกับการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองของผม เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยการค้นคว้า และคนที่มีประสบการณ์คอยชี้นำ เมื่อรู้แล้วก็ต้องนำไปใช้ประโยนช์  ไม่กับตนเอง สังคม หรือ ประเทศชาติ ขอบคุณมากครับอาจารย์                                                                                                                                                ด้วยความเคารพอย่างสูง
สวัสดีครับ อาจารย์ เป็นครั้งแรกที่ผมใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ประกอบกับการศึกษา ในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเรียนในนี้ เป็นการเรียนแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ในการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และความคิดซึ่งเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง แต่พวกเราก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่ทางเดินไปสู่จุดหมายต่อไปของคนจะไม่เหมือนกัน และจุดหมายสูงสุดของคนเราก็ไม่เหมือนกันมันอยู่ที่ความพอดีของคนนั้นๆ แต่ถ้าเราตั้งใจจะก้าวหน้าต่อไปอีกก็ต้องศึกษาหาความรู้ต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด และผมเชื่อใน ความตั้งใจของคน และสุภาษิตไทยว่า มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยุ่นับแสน ในวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่เรียนมาในวันอาทิตย์ ที่ 11/6/06 สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ 1. การเรียนแบบ 4 L’s คือ 1. Leaning Methodology 2. Leaning Environment 3. Leaning Opportunities 4. Leaning Communities หลักการ 4 ข้อนี้ คือหลักการที่จะสอนหรือทำให้คน มีระเบียบและเหตุผล มีความสนุกสนาน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยนช์ และเผ่ยแพร่ความรู้ เป็นการเรียนรู้ในทฤษฎี แบบ 4 L’s คือการสร้างนิสัยให้คนในการเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุด 2. มอง Macro ไปสู่ Micro คือการมองภาพใหญ่ไปแล้วค่อยไปสู่ภาพเล็ก ซึ่งตอนนี้รับรู้ได้ถึงภาพใหญ่แต่ยังเห็นภาพเล็กไม่ค่อยชัดเจนครับ ผมจึงต้องหาแว่นขยาย จึงอยากให้อาจารย์ ช่วยแนะนำทางการเรียนรู้ การมอง Macro ไปสู่ Micro ร่วมกับการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองของผม เพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยการค้นคว้า และคนที่มีประสบการณ์คอยชี้นำ เมื่อรู้แล้วก็ต้องนำไปใช้ประโยนช์ ไม่กับตนเอง สังคม หรือ ประเทศชาติ ขอบคุณมากครับอาจารย์ ด้วยความเคารพอย่างสูง
พิมพ์พร เอี่ยมสอาด

กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์  

จากการเรียน3ชั่วโมงแรก  อาจารย์ชี้ให้เห็นว่า งานด้านHuman Resource ทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก คนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำขององค์กร  ผู้นำด้านเศรษฐกิจได้ ต้องให้ความสำคัญ Human Resource Management คือต้องใช้คนให้เป็น ต้องใช้คนให้ถูกกับงาน และต้องรักษาคนไว้ให้อยู่กับองค์กรให้ได้ตลอดไป

สาเหตุที่เราจะต้องเรียน Human Resource Management เพราะ
  1. คนเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นๆทุกปี เนื่องมาจากประสบการณ์ที่สะสมขึ้นบวกกับการฝึกอบรมต่างๆที่เขาได้รับ  ฉะนั้นการบริหารคน และใช้คนให้ถูกหน้าที่และเหมาะกับงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ  
  2. “Royalty” การที่จะทำให้คนมีความสามัคคี และจงรักภักดีต่อองค์กรนั้น HRจะต้องมีกลยุทธ์อะไรบ้างในการจูงใจ เพราะไม่มีใครรู้ได้ว่าเขาจะจงรักภักดีกับบริษัทไปนานแค่ไหน
  3. โลกเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากองค์กรใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะไม่สามารถอยู่ได้ ฉะนั้น HRยุคใหม่ ต้องสามารถมีบทบาทในแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯให้มากขึ้น  ต้องทราบถึงความต้องการของลูกค้า, ต้องวิ่งตามคู่แข่งให้ทัน ต้องเรียนรู้โลกธุรกิจให้มากขึ้น  และต้องรู้จักนำเทคนิคและประสบการณ์หรือข้อผิดพลาดต่างๆขององค์กรใหญ่ๆ มาประยุกต์ใช้ และปรับแผนกลยุทธ์ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรของตน
ดิฉันคิดว่าที่สำคัญ คือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม รู้จักคิดนอกกรอบ และรู้จักประยุกต์ใช้ให้เป็นและเหมาะสมกับองค์กรและสังคมของเรา คือ หากจะรับเอาระบบการทำงานขององค์กรอื่นมาใช้ เราก็ต้องรู้จักปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับลักษณะวัฒนธรรมองค์กรของเรา คือเราต้องรู้จัก Think Global, Be Local  เราถึงจะสู้เขาได้ค่ะ
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และผู้สนใจทุกท่าน วันนี้ ผมขอร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ โดยการนำเอาบทความผมเขียนไว้ เมื่อครั้งศึกษาอยู่ที่ นิด้า ในหลักสูตร การจัดการภาครัฐและเอกชนรุ่นที่ 9 หลังจากได้ศึกษา งานวิจัยในหนังสือ GOOD TO GREAT  จากบริษัทที่ดี สู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่ และ  BUILT TO LAST องค์กรอมตะของ James C.Collins. และทีมงาน  ผมได้เรียบเรียงเขียนบทความนี้ โดยทำสรุปเปรียบเทียบบริษัทที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ได้รับการยอมรับจากบริษัทต่าง ๆ ว่าเป็นบริษัทที่เจริญก้าวหน้า(อยู่ในตารางด้านซ้าย)  กับบริษัทที่ยังไม่สามารถประสบความสำเร็จ ยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมว่าเจริญก้าวหน้า(อยู่ในตารางด้านขวา) ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จ กับบริษัท ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ มีพฤติกรรมการบริหารจัดการอย่างไร  จากนั้นผมได้นำเอา ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ มาเชื่อมโยงกับพฤติกรรม ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร ตัวอย่างเช่น  พฤติกรรมขององค์กรที่ประสบความสำเร็จประการหนึ่ง คือ การฝันที่จะยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่กำไร  การจะมีพฤติกรรมเช่นนี้ได้ องค์กรนั้นต้องมีทุนทางปัญญา และคิด ตัดสินใจใด ๆ นึกถึงความยั่งยืน ก็คือต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมองค์กรที่เจริญแล้ว บางพฤติกรรมยังสอดคล้องกับแนวคิดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย     ผมมีความเชื่อมั่นว่าหากองค์กร ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ รัฐหรือเอกชน ประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้าแล้ว ก็จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าไปด้วย    ผมหวังว่าสิ่งที่แลกเปลี่ยนความรู้ จะเกิดประโยชน์กับท่านผู้สนใจ ครับ เชิญท่าน ติดตามสิ่งที่ผมเรียบเรียง ไว้ ดังต่อไปนี้  สวัสดีครับ ยม  

GOOD TO GREAT

จากบริษัทที่ดี สู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ทำกันอย่างไร 
บริษัทที่ประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศ เป็นที่ยอดรับกันทั่วไป
บริษัทที่ยังไม่สามรถสู่ความเป็นเลิศและยิ่งใหญ่ได้

·         ฝันที่จะยิ่งใหญ่ ไม่ใช่คิดแค่กำไร (ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความสุข)

·     พนักงานทุกคนได้รับการจรรโลงใจด้วยอุดมคติในอันที่จะสร้างความก้าวหน้าต่อบริษัท (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม  ทุนทางความสุข) 

·         คิดแต่เรื่องกำไรเพียงอย่างเดียว·         พนักงานทำงานอย่างเดียว
·         ไม่ได้คิดถึงกำไรเป็นอันดับแรก การคิดถึงเรื่องกำไรเป็นเรื่องที่มาทีหลัง (ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน) ·         คิดถึงเรื่องกำไรเป็นหลัก เป็นอันดับแรก
·         สามารถยึดอุตมคติและยังดำเนินธุรกิจด้วยความสำเร็จได้ (ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุน)·         ทุ่มเททรัพยากรไปในเรื่องของการวิจัย เพื่อสร้างความมั่นคั่งให้กับบริษัท (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งทางด้าน IT )·         เริ่มกิจการด้วยหลักการ   (ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนแห่งความยั่งยืน)·         มีหลักการที่ทำให้พนักงานหล่อหลอมเป็นทีมงานที่มีสปิริตและงานชนิดทุ่มเท ทุ่มใจให้กับนวัตกรรม องค์กรก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งทางด้าน IT ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         ไม่มีอุดมคติ มุ่งแต่ดำเนินธุรกิจไปอย่างเดียว·         ไม่มีการวิจัย·         เริ่มธุรกิจด้วยทุนอย่างเดียว·         ไม่ส่งเสริมให้พนักงานทำงานเป็นทีม 
·         เคารพและสนับสนุนความสามารถของบุคคลให้ไปถึงจุดสุดยอด  (ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม )·         ภารกิจ คุณและการชี้นำของหลักการ คือหัวใจสำคัญ ไม่ใช่เครื่องจักร  (ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน )·         คน(PEOPLE) ผลิตภัณฑ์(PRODUCT) กำไร(PROFIT) คนต้องมาก่อน ต้องลงทุนเรื่องคนก่อน (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         ให้การสนับสนุน ให้ความเคารพเฉพาะผู้มีระดับ·         กำไร คือหัวใจ·         คน(PEOPLE) ผลิตภัณฑ์(PRODUCT) กำไร(PROFIT) กำไรต้องมาก่อน มุ่งเน้นผลิตเพื่อสร้างกำไร คนอันดับรอง
·         มีวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่มากกว่าคิดว่าจะต้องกำไร   กำไรเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ขององค์กร  กำไรเป็นเงือนไขที่จำเป็นที่จะทำให้บริษัทอยู่ได้ เปรียบเสมือน อากาศที่เราหายใจ  ซึ่งแท้ที่จริง อากาศไม่ใช้วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิต (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งทางด้าน IT ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         ยังไม่เห็นว่าอะไรจะสำคัญกว่า กำไร·         กำไรคือวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่
·         สร้างผลิตภัณฑ์และให้บริการแก่สังคมได้นั่น คือคุณค่าหลักที่แท้จริงของบริษัท  (ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงสังคม
·         การทำกำไร ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย แต่เป็นระยะทางที่ทรงคุณค่า เพื่อจะบรรลุเป้าหมาย  แต่ต้องผสมผสานระหว่าง กำไรและวัตถุประสงค์ของบริษัท (ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         กำไรเป็นเป้าหมายหลักเพียงอย่างเดียว
·         สร้างและให้ความพึงพอใจแก่ลูกค้า วัตถุประสงค์อันยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่กำไร แต่อยู่ที่ลูกค้ายอมรับเรา  เมื่อเราได้สร้างสิ่งที่เราภูมิใจ ถ้าลูกค้ายอมรับเรานั่นแหละคือกำไรโดยแท้ (ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         วัตถุประสงค์หลัก สร้างกำไร·         สร้างงานให้เกิดกำไร
·         การพัฒนาองค์กรและการบริหาร ตลอดจนการพัฒนาการผลิต จะไม่หยุดนิ่งและมีความคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ   (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         เน้นขบวนการผลิตเพื่อผลให้ได้ตามเป้า ส่งของให้ทันเพียงอย่างเดียว
·         ตระหนักถึง การพัฒนาการบริหาร การปรับปรุงองค์กร เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจมากที่สุด  เสมอ   (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         คำนึงถึงเรื่องกำไร เป็นหลัก
·         สร้างสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อที่จะได้กำไรอย่างเพียงพอต่อบริษัท และเพื่อที่พนักงานจะได้มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์   เสมอ   (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         สร้างสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อที่จะได้กำไร เท่านั้น

·         บริการที่ดี

·         คุณภาพที่ดี ราคายุติธรรม·         สร้างกำไรให้กับบริษัท พนักงานและต่อสังคม เสมอ   (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม )

·         บริการที่ดี

·         คุณภาพที่ดี ·         สร้างกำไร
·         พนักงานต้องมาก่อน โดยพัฒนาในด้านความซื่อสัตย์ พยายามมองเห็นความดีของพนักงานและพัฒนาให้เป็นคนดีมีคุณภาพ  แต่งตั้งพนักงานที่เห็นว่าสามารถทำได้ ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ลาออกไป มีอารมณ์ขันในการทำงาน ทำงานให้เป็นเรื่องสนุกเสมอ   (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         กำไรต้องมาก่อน เน้นไปทางกำไร อย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพคน
·         ธุรกิจเกี่ยวข้องกับคน เราให้โอกาสเขาทั้งด้านทักษะและความสำเร็จต่อเขา พนักงานที่มีคุณภาพก็จะทำงานให้บรรลุถึงเป้าหมาย พนักงานที่ทำงานไม่ถึงเป้าหมายจะถูกเชิญออกไป  ทำงานให้หนักแต่สนุกเสมอ   (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         ธุรกิจเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
·         กล้าที่จะเปลี่ยน  ปรับปรุง พัฒนา กล้าที่จะท้าทายอยู่เสมอเสมอ   (ทุนทาง IT  ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         คิดหนักถ้าจะปรับเปลี่ยน
·         เคารพความคิดสร้างสรรค์ของผู้อื่น   สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์  เคารพต่อพนักงาน เอาใจใส่ต่อพนักงานแต่ละคน·         เป็นกันเอง  เอาใจเขามาใส่ใจเรา·         สร้างระบบการให้รางวัลต่อพนักงานดีเด่น ที่ชัดเจน·         คนคือพลัง  สินค้ามาจากพลังของพนักงาน(ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         ทำตามที่สั่ง ทำตามที่เขียนไว้เป็นกฎเท่านั้น พนักงานคือคนระดับล่าง ผู้ปฎิบัติการ ·         แบ่งชั้น แยกระดับ  เผด็จการ ·         ไม่มีระบบการให้รางวัลต่อพนักงานดีเด่นที่ชัดเจน·         คนงานคือลูกจ้าง  ต้องใช้งานให้คุ้มค่า
·         มุ่งมั่นเพื่อความเจริญก้าวหน้า (ความมุ่งมันนั้นเกิดจากความรู้สึกของมนุษย์ที่ต้องการจะค้นคว้า สร้างและค้นพบเพื่อที่จะปรับปรุง) จึงทำให้มีการพูดคุยยอดขาย และธุรกิจกับพนักงาน  เพื่อกระตุ้นการสร้าง และจงสร้างความก้าวหน้าไปทุก ๆ วัน (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         มุ่งมั่นเพื่อสร้างกำไร  ไม่จำเป็นต้องพูดคุยกับพนักงานมาก ให้ทุกคนทำงานให้คุ้มค่า
·         สร้างระบบการฝึกอบรม โรงเรียนในบริษัท เพื่อรองรับการพัฒนาพนักงาน ปลูกฝังให้พนักงานได้รู้เป้าหมาย และอุดมการณ์ของบริษัท มีหลักสูตรพัฒนาให้พนักงาน ·         ทำให้พนักงานเข้าใจ ถึงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่า จะเป็นที่หนึ่งหรือที่สอง ของธุรกิจนี้·         กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น แรงเหวี่ยง การจรรโลงและทำให้พนักงานมีขวัญกำลังใจ มีความคิดสร้างสรรค์ (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทาง IT ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         ไม่มีระบบการฝึกและพัฒนาบุคลากร หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ อุดมการณ์ เป้าหมายของบริษัท·         ไม่จำเป็นที่จะต้องให้พนักงานรู้เรื่อง เข้าใจวัตถุประสงค์หลักของบริษัท แค่ผู้บริหารก็พอ·         ไม่มีเวลาพอที่จะกระตุ้นพนักงานให้มีขวัญกำลังใจ
·         มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัท ที่ล้ำเลิศ และเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ ยกฐานะของสังคม ประเทศชาติ (ทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ และทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ) ·         มีความมุ่งมั่นในการที่จะสร้างกำไร เพียงอย่างเดียว
ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

เช้านี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

 

สวัสดีครับ

 

 ยม

 

                         คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน*

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

 


ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย
- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป

 


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร

 


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี

 


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ

 


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

 


สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน

 


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค

 


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น

 


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

 


ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7

 


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง

 


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง

 


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

 


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom

 


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

 


ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท

 


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

......................................................

 

 

ยม "รายการ เจาะลึกประเทศไทย สัมภาษณ์ ดร.จีระ" ออกอากาศทางทีวี ช่อง 5 เสาร์ที่ 24 มิ.ย.นี้ เวลา 8.30 น."

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และนักศึกษา ป.โทโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ผมขอบคุณ ศ.ดร.จีระ มาก ที่เปิดโอกาสให้ผมเข้าไปร่วม แลกเปลี่ยนความรู้ กับ น.ศ. ป.โทฯ เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา  

 วันนี้ ผมทราบข่าวว่า เจ้าของรายการ เจาะลึกประเทศไทย ซึ่งออกอากาศทางทีวี ททบ.ช่อง 5 ทุกวันเสาร์ที่ 24 มิ.ย. นี้ เวลา 8.30 น. มาทำการสัมภาษณ์ ศ.ดร.จีระ เกี่ยวกับ ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยั่งยืน เนื้อหาในรายการเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบรายละเอียดมากนัก แต่ผมเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้ออกอากาศไปในรายการนี้ จะเป็นประโยชน์กับประชาชนเป็นอย่างมาก และถ้านักศึกษา ได้มีโอกาสชมรายการนี้ จะทำให้เข้าใจและนำองค์ความรู้ที่ได้จาก ศ.ดร.จีระ ไปบูรณาการใช้ในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้เป็นอย่างดี   

ผมจึงเชิญชวน น้อง ๆ นักศึกษา ป.โทฯ และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ติดตามชมรายการนี้ รายการ เจาะลึกประเทศไทย ออกอากาศทางทีวี ททบ.ช่อง 5 วันเสาร์นี้ เวลา 8.30 น. หรือหากมีเครื่องบันทึกเทป วีดีโอหรือ CD,DVD  ผมแนะนำให้บันทึกไว้ ศึกษาทบทวนและแบ่งบันกันในสังคมแห่งการเรียนของเรา ชาวลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ ครับ

 

หากนักศึกษาได้ชมทันในวันเสาร์นี้ จะได้นำสิ่งที่ได้พบได้เรียนรู้ จากรายการมาเล่าสู่กันฟังในห้องเรียนวันอาทิตย์ที่ 25 มิ.ย.นี้ ครับ  ขอให้ทุกท่านโชคดี

สวัสดีครับ 

ยมน.ศ. ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)

 

นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก

เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนนักศืกษารวมทั้งผู้สนใจทุกท่าน

กระผมนายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากการที่ได้อ่านหนังสือ"ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ของอาจารย์แล้วมีความรู้สีกว่า การที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร ในยุคโลกาภิวัฒน์ได้นั้นต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ที่อยู่อย่างยั่งยืนควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีโดยมีแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงซื่งสอดคล้องกับทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า

วงกลมที่หนื่ง ความสำคัญของระบบสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

วงกลมที่สอง ว่าด้วยทฤษฎีเพิ่มศักยภาพของคนเช่น การบริหารเวลา ภาวะผู้นำ เป็นต้น

วงกลมที่สาม เน้นหลักการPersonnel managementให้เกิดขึ้นจริง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นต้นทุนแต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและลึกซึ้งมากเพราะการลงทุนจะให้ผลตอบแทนในระยะยาวและไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของทุนทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วย ทรัพยากรมนุษย์เป็นต้นทุนขององค์กรย่อมจำเป็นต้องมีการลงทุน ประกอบด้วยทุน 8 ทุนได้แก่

-ทุนมนุษย์

-ทุนทางปัญญา

-ทุนทางจริยธรรม

-ทุนแห่งความสุข

-ทุนทางสังคม

-ทุนแห่งความยั่งยืน

-ทุนทางเทคโนโลยสารสนเทศ

-ทุนทางความรู้,ทักษะและทัศนคติ

ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ได้ความเป็นเลิศและอยู่อย่างยั่งยืนได้นั้นเป็นของยากแต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ องค์กรจะต้องมุ่งมั่น ปัจจัยที่จะไปสู่ความสำเร็จมีความสลับซับซ้อน ซึ่งบางครั้งเราอาจจะต้องปรึกษาผู้รู้ข้างนอก หรือแสวงหาความคิดใหม่ๆแปลกๆตลอดเวลาเพื่อให้ได้"ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้"ที่พัฒนาแล้วและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

นางสาวพรชนก สุขอาจ
กราบเรียนท่านอาจารย์  จีระ  ดิฉันนางสาวพรชนก สุขอาจ    นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบังสิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้คนเก่ง  คนดี  จากประโยควลีดังกล่าว สามารถเปรียบได้กับบุคคล 2 ท่าน  คือ คุณพารณ และท่านอาจารย์จีระ  เห็นจะเหมาะสมที่สุด  ซึ่งความเก่งของท่านนั้นจาก การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีความคิดที่เป็นระบบ วิเคราะห์ความรู้ แล้วนำมาสร้างสรรค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ส่วนการจะเป็นคนดีได้อย่างท่าน ก็คือ การเป็นคนที่มีจิตใจที่มีคุณธรรม  พร้อมช่วยเหลือสังคม ไม่เอาเปรียบผู้อื่น  ตัวอย่าง เช่น  วิธีการที่ใช้จัดการกับอุปสรรค ที่จะมาขัดขวางความสำเร็จหรือความก้าวหน้าในการทำงาน   ก็ควรจะเป็นวิธีการที่ใสสะอาด ซื่อตรง อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ไม่เอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า  ซึ่งท่านทั้ง 2 ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว  ในเรื่องที่ว่า  เราสามารถเอาชนะกับอุปสรรคขัดขวางเป้าหมายที่วางไว้  ด้วยวิธีการที่มีพื้นฐานของคุณธรรมมาใช้แก้ปัญหานั้นๆ  อย่างประนีประนอมและสันติ  แม้ว่าจะเห็นผลช้าและต้องอดทนกับเสียงคัดค้านต่างๆ  มากมาย แต่เมื่อถึงเส้นชัยที่เราตั้งเป้าไว้  เราก็จะรู้สึกถึงความภาคภูมิใจได้อย่างมากทีเดียว    (การใช้วิธีที่ใสสะอาด  มีคุณธรรม ก็ทำให้สามารถเราถึงจุดหมายได้แบบภาคภูมิใจมากกว่า)   เพราะดิฉันคิดว่า    สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคนเราก็ คือ  การอยู่อย่างมีเกียรติ   อย่ายอมให้ต้องอยู่อย่างไร้เกียติเป็นอันขาด                          หลักในการบริหารของคุณพารณ  คือ เห็นคนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กรเป้าหมายจะสำเร็จได้ เพราะทุกคนในองค์กรช่วยกัน  ดังเช่น  เม็ดทรายทุกเม็ดที่ต่างเป็นส่วนหนึ่งของแก้ว  ยิ่งถ้าเม็ดทรายแต่ละเม็ดได้รับการเจียระไน   แก้วใบนั้นก็จะออกมางดงามเป็นที่ชื่นชมของผู้พบเห็น  เฉกเช่นกับการเจียระไนคนในองค์กรนั้นเอง โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนต่างมีความสามารถในตนเองทุกคน  ซึ่งถ้าองค์กรสามารถดึงความสามารถที่แต่คนมีอยู่ในตัวออกมาได้ องค์กรนั้นก็จะก้าวหน้าพัฒนา  และประสบความสำเร็จ  โดยคุณพารณ สามารถดึงความสามารถนี้ออกมาได้ โดยใช้หลัก คนไม่ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินเพียงอย่างเดียว    แต่ต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย จากวลีดังกล่าว ทำให้ดิฉันนึกถึงทฤษฎี ของ MASLOW  ที่ชี้ให้เห็นความต้องพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน    ดังนี้ 1.      ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological Needs) :  องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้  ด้วยการให้เงินเดือนที่เหมาะสม ยุติธรรม  มีค่าล่วงเวลา ไม่เอาเปรียบ2.      ความต้องการความมั่นคง  (Safety Needs)  :   องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้  ด้วยการความปลอดภัย  โดยการให้อุปกรณ์ป้องกันภัยต่างๆ เช่น Ear plug ,ผ้าปิดปากกันฝุ่นผง ,หมวกนิรภัย  หรือสวัสดิการรักษาพยาบาล เป็นต้น3.      ความต้องการความรัก และ การเป็นเจ้าของ (Love and Belonging  Needs)  :   โดยธรรมชาติมนุษย์ทุกคนต้องการความรักจากคนอื่น  ซึ่งองค์กรสามารถอตอบสนองความต้องการนี้ได้   โดยผู้นำต้องสร้างบรรยากาศภายในองค็กรให้เกิดขึ้น เริ่มจากการทำให้เขาเหล่านั้นเกิดความรู้สึกผูกพันกันแบบญาติพี่น้อง  และให้รู้ว่าเขาเป็นส่วนที่สำคัญต่อองค์กร  องค์กรต้องพึ่งพาความสามารถของเขา  องค์กรจึงสามารถอยู่ได้   การทำเช่นนี้เป็นเหมือนการให้ความรักกับพวกเขา  ซึ่งเมื่อพวกเขาได้รับความรัก จากองค์กรแล้ว  เขาก็จะรู้สึกอบอุ่น  มีความสุข  และเกิดกำลังใจในการทำงานแต่อย่างไรก็ตาม  ก่อนที่เราจะให้ความรักกับคนอื่น  เราต้องรู้จักรักตัวเองก่อน  เพราะถ้าเมื่อใดที่เรายังไม่รู้จักรักตัวเอง  แล้วความรักที่มีให้คนอื่นจะบริสุทธิ์ และจริงใจแน่หรือ? ”     4.     ความต้องการมีคุณค่า และศักดิ์ศรี  (Esteem  Needs)  :  เป็นการต้องการ การ                 ยอมรับจากตนเองและผู้อื่น  จึงเกิดความอยากมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ทั้งในสายตาตนเอง    และผู้อื่น   ดังนั้นองค์กรสามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ได้  โดยการชมเชยเมื่อเขาทำงานได้ดี  ดังเช่น  คุณพารณปฏิบัติกับลูกน้องของ ท่าน   ลูกน้องก็จะปลาบปลื้ม  เพราะมีคนเห็นคุณค่าในตัวเขา      5.    ความต้องการรู้จักตัวตน เอง  ตรงตามสภาพความเป็นจริง  (Self-actualization  Needs)  :   เมื่อบุคคลได้รับการตอบสนองทั้ง  4  ข้ออย่างเหมาะสมแล้ว  บุคคลก็จะ มีความต้องการรู้จักตัวเอง  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  พร้อมยอมรับคำวิจารณ์ คำชม จากผู้อื่น  อย่างสงบ  ไตร่ตรองด้วยใจเป็นกลางอย่างละเอียด  ขณะเดียวกันก็ยอมรับข้อดี-ข้อบกพร่องของผู้อื่น  มีความสุขในการทำงาน   ในความเป็นไปของชีวิต  พร้อมที่จะพัฒนาตนเองตลอดอยู่เสมอ  (รู้เป้าหมายตนเองเป็นอย่างดี)   ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปได้อย่างไม่สิ้นสุด  (ถือป็นการต่อยอดตามแนวความคิดของท่านอาจารย์ จีระ)                                    ซึ่งจากทฤษฎีของ MASLOW คุณพารณ ได้ใช้ความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ของมนุษย์  เป็นแนวทางการตอบสนองความต้องการของลูกน้อง  ด้วยความจริงใจ และเต็มใจในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง                        ส่วนท่านอาจารย์จีระ  ท่านได้แสดงให้เห็นว่า การทำอะไรให้สำเร็จ ต้องเริ่มจากใจที่ศรัทธา  และมีความสุขกับสิ่งที่ทำก่อน (สำคัญมาก) จึงจะทำได้ดี สำเร็จ    สำหรับในจุดนี้ดิฉันรู้สึกชื่นชอบและจุดประกายในตัวเองมาก ว่า  ต่อไปนี้ดิฉันจะพยายามไม่ทำอะไรที่ฝืนใจตัวเอง แต่จะพยายามทำทุกอย่างด้วย ใจ และสิ่งที่จะทำจะต้องตั้งอยู่บนหลักคุณธรรม  ถูกศีลธรรม                                                จากการศึกษาชีวประวัติ  และการดำเนินงานของท่าน ทั้ง 2  ทำให้ดิฉันเห็นว่าการปรับแนวความคิด  ให้รู้สึก  คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร  และดำเนินการตามแนวคิด  จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน   ในองค์กร และองค์กรจะเกิดการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด  ซึ่งถึงแม้ดิฉันจะไม่เคยนำแนวความคิดนี้ไปปฏิบัติ  แต่จากผลลัพธ์ที่ท่าน ได้แสดงให้ดิฉันประจักษ์แล้วนี้   ดิฉันจึงเกิดความมั่นใจอย่างยิ่ง ที่จะยึดแนวทางนี้ไปปฏิบัติเพราะ ณ ขณะนี้ดิฉันมีความรู้สึก ศรัทธา และมีความสุขที่อยากจะเป็นคนเก่ง คนดี  และในอนาคตดิฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  ดิฉันจะสามารถพัฒนาตนเองจนเป็น  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  
นางสาวจุฑาวรรณ เทพลิบ
กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกคน                ดิฉันนางสาวจุฑาวรรณ  เทพลิบ  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาการจัดการธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ดิฉันเป็นคนหนึ่งซึ่งไม่เคยได้เรียนกับสไตล์การสอนแบบนี้มาก่อน  ยอมรับเลยว่ารู้สึกแปลกและกลัวในเวลาเดียวกัน  ความงุนงงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  ยังจับจุดไม่ถูก  แต่พอได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาคำว่า  ศรัทธา  ก็ได้เกิดขึ้น  ดิฉันศรัทธาในการสอนและแนวความคิดของอาจารย์  จะมีคนสักกี่คนที่จะเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์  เพราะว่าคนไม่ใช่เครื่องจักร  พอใช้แล้วหมดประโยชน์ก็ทิ้งขว้างไป                อาจารย์เป็นคนเปิดโลกทัศน์ให้กับดิฉัน  ตั้งแต่เปิดเทอมมา  2  สัปดาห์  ได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากอาจารย์   เมื่อก่อนไม่เคยคิดที่จะอ่านหนังสือที่อาจารย์แนะนำเลย  อย่างเช่น  Time  แต่ต่อไปนี้สัญญาค่ะว่าจะอ่านและจะพยายามทำความเข้าใจกับมัน                สำหรับหนังสือ  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ที่อาจารย์ให้อ่านนั้นดิฉันคิดว่าเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งของเมืองไทยมิฉะนั้นจะได้พิมพ์ถึง  4  ครั้งเชียวหรือ  หากเปรียบเป็นภาษาวัยรุ่นก็อาจเรียกหนังสือเล่มนี้ว่า  เจ๋ง  จริง ๆ  หรืออ่านแล้วตรงประเด็นอย่างที่อาจารย์ชอบกล่าวว่า  โป๊ะเช๊ะ  ก็ว่าได้                องค์กรก็เปรียบเสมือนครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง  ซึ่งมีคุณตาเป็นประธานกรรมการ  มีคุณยายเป็น กรรมการผู้จัดการ  มีคุณพ่อ-คุณแม่หรือไม่ก็มีลุง  ป้า  น้า  อาเป็นผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ  ตามหน้าที่  และมีลูก ๆ  หลาน ๆ  เป็นบุคลากรขององค์กร  หากพ่อ-แม่ไม่ได้เลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูก ๆ  ลูก ๆ ก็ย่อมขาดความอบอุ่นเป็นธรรมดา  อ้างว้างและเดียวดาย  จนบางครั้งลูกก็คงอยากออกจากบ้านเพราะเมื่อพ่อ-แม่ไม่รักอยู่แล้วไม่มีความสุข  ถึงแม้พ่อแม่จะมีเงินทองให้มากมาย  แต่ก็ขาดความรัก  ความอบอุ่น  ก็เหมือนกับองค์กรอย่างที่คุณพารณได้กล่าวไว้ว่า  แม้กระทั่งค่าจ้างสูง ๆ ก็ไม่ช่วยให้เราดึงตัวพวกเขาให้อยู่กับเราได้  ถ้าเขาไม่มีความพอใจในงานที่พวกเขากำลังทำอยู่  บางครั้งญาติ ๆ ก็ให้ความรักควมอบอุ่นแต่ก็ไม่เหมือนความรักโดยตรงจากพ่อแม่(ผู้บังคับบัญชาโดยตรง)                ดิฉันเคยมีประสบการณ์ทางอ้อมจากบุคคลท่านหนึ่ง  เค้าเคยทำงานกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งมีการแบ่งชนชั้นเป็นอย่างมาก  มีผู้บังคับบัญชาที่คอยแต่รับชอบแต่ไม่เคยรับผิด  จริงอยู่ที่เงินซื้อทุกอย่างได้แต่สิ่งหนึ่งที่ซื้อไม่ได้คือ ใจคน  หากผู้บังคับบัญชาทำอย่างนี้ไม่ซื้อใจบุคลากรของตน  แล้วเมื่อไหร่องค์กรจะมีทีมเวิร์คที่ดี  ดังคำกล่าวของคุณสุชาญ  “all  manager  are  personnel  manager”   ไม่ว่าคุณจะอยู่ฝ่ายไหนก็ตามคุณก็ต้องดูแลและก็ซื้อใจเค้าให้ได้  ต่อจากนั้นความจงรักภักดีต่อองค์กรก็เกิดขึ้น                การที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรได้นั้น  ต้องมี  เก่ง 4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน เก่งคิด  เก่งเรียน  และรวมไปถึง  ดี 4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คุ่คุณธรรม  เก่ง 4 ดี 4  ดิฉันคิดว่าเป็นคำจำกัดความที่ครอบคลุมจริง ๆ  ยากมากที่จะสอดแทรกข้อที่ 5 ตอนแรกดิฉันคิดว่าควรจะเพิ่ม ความซื่อสัตย์  ไว้ด้วยแต่พอคิดดูอีกทีมันก็อยู่ในหมวดของคุณธรรม  เลยยากที่จะเพิ่มเข้าไป  หากองค์กรใดมีบุคลากรที่ดีมีคุณภาพอย่างนี้ดิฉันเชื่อว่า  องค์กรต้องรุดหน้าอย่างรวดเร็วและแน่นอน  เพราะคนเราจะเก่งอย่างเดียวไม่ได้ต้องควบคู่ไปกับความดี  หากใช้ความเก่งในทางที่ผิดก็อาจส่งผลเสียต่อองค์กรและในบางครั้งอาจส่งผลเสียต่อประเทศเลยก็ได้ 

 

      

นางสาววิชชุวรรณ ชอบผล
สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ  และท่านผู้อ่านทุกท่าน             ดิฉัน  น.ส.วิชชุวรรณ  ชอบผล  นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง               เป็นอีกครั้งที่ได้เจอกับทุกคนใน  blog  ของอาจารย์ค่ะ หลังจากที่ได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้   จบแล้ว  เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า คน   นั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กรจริงๆ  อย่างที่ไม่มีเหตุผลกลใดมาลบล้างความคิดนี้ได้  แต่การที่เราจะทำให้คนที่อยู่กับเราให้มีค่านั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่สามารถทำได้ถ้าเรามีความเชื่อหรือศรัทธาว่าคนทุกคนมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง   ·       การที่เราจะดึงความสามารถของคนในองค์กรออกมานั้นต้องอาศัยความอดทน  อย่างที่ทั้งสองท่าน  ( คือคุณพารณและอาจารย์จีระ ) มี  ท่านอดทนยอมรับความแตกต่างได้สูง  ท่านบอกว่าคนแต่ละคนต้องแตกต่างกัน  ท่านไม่ตำหนิติเตียนกัน  เมื่อทำผิดพลาด  อาจมีการดุกันบ้างแต่   มีการให้อภัยเสมอ   ·       เรื่องใจก็สำคัญ  ทั้งสองท่าน มีการเอาใจใส่  ดูแลแม้กระทั่งความรู้สึก  ท่านพร้อมที่ขอโทษถ้าทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่ดี  เวลาที่มีปัญหาก็สามารถพูดคุยปรึกษา  เป็นการสร้างบรรยากาศครอบครัว จึงทำให้เกิดความรักในงาน  เพื่อนร่วมงาน  ผู้บังคับบัญชา  จนกลายเป็นความจงรักภักดีต่อองค์กร  เกิด team work ในการทำงาน ·       มาถึงเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน  คนเรานั้นจะไม่มีแรงจูงใจในการทำงานเลย ถ้างานที่ได้รับนั้นมีแต่ความซ้ำซากจำเจ งานที่ได้รับควรที่จะสร้างความรู้สึกท้าทายโอกาสก้าวหน้า และเป็นงานที่ยากขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถ  และเต็มไปด้วยความสนุก การเรียนรู้ จะทำให้พนักงานมีความพอใจในงานที่ได้รับ มีความสุขในการทำงาน จึงจะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ทำงานแบบ ชุ่ย ไม่มีคุณภาพ ·       เมื่อเราเพิ่มประสิทธิภาพในการงานให้เขาได้แล้ว แต่ถ้าเขาไม่มีคุณธรรมหรือเขาไม่เป็น คนดี   ก็ไม่สามารถที่จะพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้  คนที่เก่งแล้วต้องไม่คิดว่าตัวเองนั้นเก่ง  ( อย่างที่ทั้งสองท่านเป็น  ท่านทั้งสองมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ) ไม่หลงในอำนาจ ใช้อำนาจในทางที่ผิด ต้องมีวินัยในการทำงาน ·       ผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่ายิ่งต้องมองลงมาข้างล่าง เพื่อดูแลคนที่อยู่ข้างล่าง ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี มีการบริหารงานที่โปร่งใส มีความเชื่อมั่นในความสามารถของลูกน้อง ให้โอกาสในการร่วมงาน และให้อิสระในการทำงาน ต้องรู้งานทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่ฝ่ายตัวเองฝ่ายเดียว เพื่อ “ team work ในองค์กร             และที่ดิฉันชอบที่สุดก็คือเรื่องความยั่งยืนและความสุขค่ะ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวสยาม   ดิฉันคิดว่านี่อาจเป็นบทสรุปส่วนหนึ่งในการบริหารองค์กรให้เจริญเติบโต เรามีต้นแบบที่ดีเลิศอยู่แล้ว ก็คือท่านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ต้องหาที่ไหนไกลเลย               ได้กินผักอีกแล้วค่ะ   ดิฉันอยากจะบอกอาจารย์แบบนี้จริงๆค่ะ ดิฉันจะทำให้ผักที่กินเข้าไปนั้น ไปเพิ่มคุณค่าให้ตัวเองและคนรอบข้าง เหมือนที่อาจารย์สอนว่าอ่านหนังสือแล้วรู้ ก็สู้ลงมือปฏิบัติจริงไม่ได้ ดิฉันจะนำสิ่งที่ได้ไปปฏิบัติค่ะ             ขอขอบคุณอาจารย์จีระ และทีมงานเป็นอย่างสูงค่ะ                                         

 

นางสาวศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ทำให้ได้เห็นประโยชน์จากการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ผ่านประสบการณ์และความคิดของ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งทำให้ได้คิด และเห็นความสำคัญของคน รวมทั้งตัวเองมากขึ้น ได้รู้แนวทางในการพัฒนาตัวเองด้วยการเป็นคนใฝ่รู้และไม่หยุดที่จะเรียนรู้

ในหนังสือกล่าวถึงคน 2 คน ที่มีความแตกต่างกัน แต่กลับมีความเหมือกันในเรื่องของการให้ความสำคัญกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ในสมัยก่อนอาจถูกมองข้ามไป เพราะกิจการส่วนใหญ่ต้องการเห็นผลสำเร็จที่อยู่ในรูปของผลกำไร และมองว่า ค่าตอบแทนของคนถือเป็นเพียงค่าใช้จ่ายขององค์กรเท่านั้น

แต่ทั้งคุณพารณ และ ศ.ดร.จีระ มีความเห็นว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด เป็นหัวใจขององค์กร การสร้างคนเป็นการพัฒนาองค์กรแบบยั่งยืน

คุณพารณ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการทำให้เครือซีเมนต์มีความเจริญอย่างมาก โดยการให้ความสำคัญกับคน และมองว่าการพัฒนาคนเป็นการลงทุนที่เห็นผลในระยะยาว ซึ่งนอกจากจะพัฒนาทางด้านทักษะ แล้วยังต้องพัฒนาทางด้านคุณธรรมด้วย ทำให้ได้คิดว่า คนเราถ้าเก่งอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำทุกอย่างได้สำเร็จ ต้องมีทีมงานที่ดีด้วย การที่จะมีทีมงานที่ดีก็มาจากการที่คนอื่นมีความรู้สึกที่อยากทำงานกับเรา ซึ่งก็ต้องมาจากการที่เรามีคุณธรรมนั่นเอง อีกเรื่องที่ชอบมากคือการเชื่อมั่นในคุณค่าของคน โดยดึงความสามารถของคนมาใช้และพัฒนาคนให้มีพร้อมรับกับโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการที่รัก ดูแล ให้ความสำคัญกับลูกน้องทุกระดับ  ความรักที่มีต่อองค์กรก็จะตามมา และจะเกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานโดยไม่คิดว่าเป็นการทำงาน เพราะเป็นงานที่ทำด้วยความสุข

ส่วนอาจารย์จีระ ได้คิดทฤษฎีต่างๆไว้มากมาย แต่อาจารย์จะมีการอธิบายโดยไม่ใช้วิธีการแบบวิชาการที่คนส่วนใหญ่เข้าใจได้ยากแต่จะเทียบกับประสบการณ์และความคิดของท่าน ความเข้าใจอของดิฉันคืออาจารย์อยากให้คิดมากกว่าจำ  จึงไม่จำเป็นต้องยึดติดกับทฤษฎีจนเกินไป อย่างเช่นทฤษฎี ทุนทางสังคม ทั้ง 8 ข้อสามารถโยงถึงกันได้แล้วแต่ว่าเราจะนำมาเชื่อมโยงอย่างไร สำหรับดิฉัน คิดว่า จะเริ่มจาก ทุนมนุษย์ คือทุกคนเกิดมามีทุนเหมือนกัน แต่คนเราต่างกันจากการนำทุนมาใช้ บางคนใช้แต่ทุนที่มีอยู่ ไม่นานก็หมด แต่ถ้านำมาลงทุนตามแนวทางที่ดี ก็จะเกิดผลกำไร การแสวงหาความรู้และการพัฒนาทักษะ ก็จะได้กำไรเป็นทุนทางปัญา  ส่วนการเป็นคนดีมาจากทุนทางจริยธรรม การได้รับการยอมรับในสังคม อย่างยั่งยืน และมีความสุขในการทำงาน

อีกสิ่งที่ทั้งสองท่านเหมือนกันก็คือ การสร้างเครือข่ายมนุษย์ จากการที่ท่านให้ความสำคัญกับคนทุกระดับ ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักในวงกว้าง การติดต่อประสานงานก็ง่ายขึ้น อีกเรื่องก็คือ การไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และยังได้นำมาถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆ เช่นการวางระบบการศึกษาแนวใหม่ที่ช่วยให้เยาวชนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น

จากที่ได้อ่านมาพอจะสรุปความเข้าใจในการมุ่งไปสู่เป้าหมาย หรือ Goal จาก

G         ต้องมีความรู้สึกที่ดี (Good) กับงานที่จะทำรวมถึงองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน

ลักษณะของงาน เมื่อเราเกิดความรู้สึกที่ดีกับงาน และอยากทำงานนั้นแล้ว อีกเรื่องที่จะลืมไม่ได้ คือต้องมีความรู้สึกที่ดีกับตัวเอง มีความเชื่อมั่นว่า เราต้องทำได้  

O         หาโอกาส (Opportunity) ที่จะได้แสดงความสามารถ ไม่ใช่รอโอกาส ในการทำงานบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องรองานหรือคำสั่งอย่างเดียว หรือถ้าเรามีวิธีที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็ไม่ควรปล่อยโอกาสให้ผ่านไป

A         เตรียมพร้อม (Alert) ที่จะทำงาน และพร้อมที่จะปรับตัว เมื่อองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเรารู้ได้ก่อนก็ย่อมที่จะเป็นข้อได้เปรียบ (Advantage) ต่อองค์กร

L          ให้คิดเสมอว่า ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เรารู้เรื่องของวันนี้ พรุ่งนี้ก็จะมีเรื่องใหม่ๆมาให้เราได้เรียนรู้อีก ดังนั้นการที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็มาจากการเรียนรู้ (Learning) นั่นเอง

สัปดาห์ที่ 2 นี้ ดิฉันรู้สึกว่าเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเอง เลือกรับอาหารที่มีประโยชน์ เหมือนอย่างที่อาจารย์เรียกว่าผักสด ทุกคนก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และไม่ได้หายากเกินไป อยู่ที่ว่าใครจะเลือกรับอะไรเท่านั้น

 

นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล
กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดรจีระ  ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ สอง ที่ผมได้ส่ง blog มาให้อาจารย์อ่าน จากที่อาจารย์ฝากงานที่ว่า ชอบหรือไม่ชอบ อย่างไร เกี่ยวกับ คติการทำงานอย่างมีความสุขของอาจารย์ 12 ข้อ  ผมขอตอบได้เลยว่า เห็นด้วย  มันสามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดีมากทีเดียว  ถ้าจะขอวิจารณ์ที่ละหัวข้อเลย ก็  กลัวจะไปซ้ำของเก่าที่อาจารย์สอนไปแล้ว    จากคำพูดที่ บอกว่า การจะทำอะไรต้อง เริ่มที่การคิดดีก่อน  แล้วก็ทำดี   เมื่อมันเริ่มที่จิตใจของคน  มันก็ต้องไปแก้ที่จิตใจของตน     งานที่เราทำมีสอง รูปแบบใหญ่ ๆ  คือ  งานที่อยากทำ    กับงานที่ไม่อยากทำ   เหมือนขาว  กับดำ   (งานที่อยากทำอย่างน้อยก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี  และก็น่าจะทำให้ดี)  และ (งานที่ไม่อยากทำ  มันก็ต้องเป็นสิ่งที่ดี  และก็น่าจะทำให้ดีด้วยเช่นกัน)    สิ่งที่มัน  intersection  ก็คือ  คำว่า  งาน    สิ่งที่ดี   และ ทำให้ดี                 งาน  คือ ภาระหน้าที่ ที่คนทำการปฏิบัติ ในที่นี้ขอกล่าวถึงงานในอาชีพ   สิ่งที่ดี  คือ  มองที่ผลที่เกิดขึ้น ว่าทำไปแล้วมันสร้างสรรค์แก่ส่วนรวม หรือตนเองหรือเปล่า  และสุดท้าย คำว่า       ทำให้ดี  เป็นคำที่ทุกคนในหน่วยงาน หรือองค์กร อยากให้มันเกิดขึ้น และต้องทำทุกคน    โดยผู้ประกอบการ หรือหัวหน้า   พยายามที่จะหาวิธีต่าง ๆ มาใช้ในปัจจุบันผมอยากเป็นอีกคนที่กระหายอยากหาความรู้  อยากทำงานที่ตนเองถนัด   แต่โชคไม่ค่อยดีที่ผมค้นพบตัวเองช้าไป   ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็คือ พยายามที่จะทำให้ดีที่สุด   และผมก็เชื่อว่ายังมีคนอีกมากมายที่ ไม่ได้ทำอย่างที่ตนเองอยากทำ   เพราะขาดซึ่งการวางแผน หรือค้นหาเป้าหมายในชีวิต   ถ้าเป็นเวียดนาม เขาจะจัดคนที่ถนัด หรือเก่งด้านไหนเป็นพิเศษ  ก็มาทำด้านนั้นและนั่นน่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ประเทศเขาพัฒนาเร็วจนต้องจับตามอง     ความสุขในการทำงาน ของอาจารย์เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกินง่ายๆ กับทุกคน  ยังมีกลุ่มคนอีกมากมายที่เขายังไม่ได้เข้าไจในเรื่องนี้ผมขอเอาเรื่องขับรถไปเที่ยว หรือไปทำอะไรสักอย่างที่ต้องทำและอยากจะทำ (ไม่ได้ไปส่งยาบ้าแน่นอน) มาขยายความจุดมุ่งหมาย   กับจุดหมาย ก็ใกล้เคียงกัน (ก็น่าจะมีขอบเขตบ้าง) คือไปเพื่ออะไร มันดีไหม คิดว่าทำได้หรือเปล่าทั้งตัวคุณ และรถนั้นล่ะ พร้อมไหม(คนก็ห้ามหลับใน รถก็ห้ามเสีย) แล้วจะไปกับใคร ระหว่างทางคุณไปพบอะไรบ้าง สนุกไหม  สุดท้ายกลับมาแล้วได้อะไร  ถามว่าจะไปอีกไหม   อย่าลืมสิ่งที่คาดไม่ถึงที่จะเกิดขึ้น นั้นก็หมายถึงสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิด แต่มันก็เกิดจนได้   แล้วถ้ามันเกิดจะทำอย่างไร  เผื่อใจไว้บ้างหากว่ามันไม่สมหวังขึ้นมา  มันอาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ภายในจิตใจของคนเฉพาะบางกลุ่มก็ได้  สิ่งหนึ่งที่คนพึงมี คือ ความอดทน และความมีสติ  ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาไม่มีวันเชยอย่างแน่นนอน ใช้ได้ตลอดชีวิตของเราที่ยังเวียนวนอยู่ นั่นเองสิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มที่อาจารย์แนะนำนี้ มันมีมากมายหลายอย่า และล้วนแล้วแต่สามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งนั้น  ทั้งสองท่านล้วนแล้วแต่เป็นคนที่เก่ง ตน  คือ สามารถปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของผู้อื่นได้  เหมือนที่พูดกันว่า จะสั่งคนอื่นได้เราก็น่าจะทำเป็นก่อน การชมเชย  การสร้างความเป็นกันเอง เป็นการลดแรงตึงเครียด และเป็นการเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้อีก ด้วย   ผมพยายามหรือสนใจคำว่าซื้อใจ     เราจะเข้าไปอยู่ในมุมของความรู้สึกที่ดีๆของคนคนนั้นตลอด      ซึ้งใจ     เห็นค่าในสิ่งที่ดีที่เรามอบให้กับเขา       เชื่อใจ    กล้าที่จะให้สิ่งสำคัญไว้กับเรา หรือทำในสิ่งที่เราให้ทำไว้ใจ         รู้ใจ        ทราบถึงจุดมุ่งหมายที่แต่ละคนทำ       คู่ใจ       สามารถที่จะทำงานรู้กันได้เป็นอย่างดี       เปิดใจ    ไม่ปกปิด หรือพร้อมจะให้โอกาสเขาอยู่เสมอ       สนใจ    ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาทำ        ใส่ใจ      คอยติดตามอยู่เรื่อยๆ ไม่ทิ้ง       เข้าใจ     สามารถแนะนำให้ถูกต้องแก่เขาได้ทุกคำที่กล่าวมาถึงแม้มันจะลงท้ายด้วยใจแต่จริงๆแล้ว  ใจ  ต้องมาก่อน   ทุกคำที่ผมกล่าวถึงมันคือสิ่งที่ผมเห็นจากหนังสือเล่มนี้   ความรู้สึกเหล่านี้ที่กล่าวไปมันน่าจะเกิดได้กับ คนในคนในครอบครัว   เพื่อนแท้หรือเพื่อนตาย(ที่ยังหายใจอยู่)   คนรัก(สมัยนี้ไม่แน่ใจเท่าไรนัก)  ถ้าคำเหล่านี้มันเกิดที่ไหน ที่นั่นก็น่าอยู่ ซึ่งคุณพารณฯ ก็ได้พยายามกระทำให้มันเกิดขึ้นในองค์กร  ถ้าเราคิดดี สิ่งต่อไปที่ควรจะทำคือ พยายามผลักดันให้คนอื่นรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ดี และถ้าเขาทำได้ก็จะดีมีความยุติธรรม  มีระบบระเบียบ ........มีธรรมภิบาลcapability  และ  acceptability  ถ้าทั้งสองสิ่งนี้มันเกิดขึ้นได้พร้อมกันก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากในหน่วยงานนั้นมีการขึ้นเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์  แล้วความรู้ความสามารถ ความดี ของพนักงาน เพิ่มขึ้นกี่ เปอร์เซ็นต์สร้างศรัทธา   ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร รวมทั้งสร้างความรัก ให้เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยี ต้องควบคู่ไปกับความเข้าใจคนทุกคน มีพื้นฐานที่คล้ายกัน แต่ไม่เท่ากับ เปรียบดั่งดอกบัวทุกอย่างมีคุณค่าในตัวของมัน  จงเลือกที่จะทราบและเข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของมัน
นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล
กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดรจีระ  ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ สอง ที่ผมได้ส่ง blog มาให้อาจารย์อ่าน จากที่อาจารย์ฝากงานที่ว่า ชอบหรือไม่ชอบ อย่างไร เกี่ยวกับ คติการทำงานอย่างมีความสุขของอาจารย์ 12 ข้อ  ผมขอตอบได้เลยว่า เห็นด้วย  มันสามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดีมากทีเดียว  ถ้าจะขอวิจารณ์ที่ละหัวข้อเลย ก็  กลัวจะไปซ้ำของเก่าที่อาจารย์สอนไปแล้ว    จากคำพูดที่ บอกว่า การจะทำอะไรต้อง เริ่มที่การคิดดีก่อน  แล้วก็ทำดี   เมื่อมันเริ่มที่จิตใจของคน  มันก็ต้องไปแก้ที่จิตใจของตน     งานที่เราทำมีสอง รูปแบบใหญ่ ๆ  คือ  งานที่อยากทำ    กับงานที่ไม่อยากทำ   เหมือนขาว  กับดำ   (งานที่อยากทำอย่างน้อยก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี  และก็น่าจะทำให้ดี)  และ (งานที่ไม่อยากทำ  มันก็ต้องเป็นสิ่งที่ดี  และก็น่าจะทำให้ดีด้วยเช่นกัน)    สิ่งที่มัน  intersection  ก็คือ  คำว่า  งาน    สิ่งที่ดี   และ ทำให้ดี
     งาน  คือ ภาระหน้าที่ ที่คนทำการปฏิบัติ ในที่นี้ขอกล่าวถึงงานในอาชีพ   
    สิ่งที่ดี  คือ  มองที่ผลที่เกิดขึ้น ว่าทำไปแล้วมันสร้างสรรค์แก่ส่วนรวม หรือตนเองหรือเปล่า  และสุดท้าย คำว่า     

   ทำให้ดี  เป็นคำที่ทุกคนในหน่วยงาน หรือองค์กร อยากให้มันเกิดขึ้น และต้องทำทุกคน    โดยผู้ประกอบการ หรือหัวหน้า   พยายามที่จะหาวิธีต่าง ๆ มาใช้ในปัจจุบัน
ผมอยากเป็นอีกคนที่กระหายอยากหาความรู้  อยากทำงานที่ตนเองถนัด   แต่โชคไม่ค่อยดีที่ผมค้นพบตัวเองช้าไป   ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็คือ พยายามที่จะทำให้ดีที่สุด   และผมก็เชื่อว่ายังมีคนอีกมากมายที่ ไม่ได้ทำอย่างที่ตนเองอยากทำ   เพราะขาดซึ่งการวางแผน หรือค้นหาเป้าหมายในชีวิต   ถ้าเป็นเวียดนาม เขาจะจัดคนที่ถนัด หรือเก่งด้านไหนเป็นพิเศษ  ก็มาทำด้านนั้นและนั่นน่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ประเทศเขาพัฒนาเร็วจนต้องจับ ตามอง     
    ความสุขในการทำงาน ของอาจารย์เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกินง่ายๆ กับทุกคน  ยังมีกลุ่มคนอีกมากมายที่เขายังไม่ได้เข้าไจในเรื่องนี้
ผมขอเอาเรื่องขับรถไปเที่ยว หรือไปทำอะไรสักอย่างที่ต้องทำและอยากจะทำ (ไม่ได้ไปส่งยาบ้าแน่นอน) มาขยายความ
    จุดมุ่งหมาย   กับจุดหมาย ก็ใกล้เคียงกัน (ก็น่าจะมีขอบเขตบ้าง) คือไปเพื่ออะไร มันดีไหม คิดว่าทำได้หรือเปล่าทั้งตัวคุณ และรถนั้นล่ะ พร้อมไหม(คนก็ห้ามหลับใน รถก็ห้ามเสีย) แล้วจะไปกับใคร ระหว่างทางคุณไปพบอะไรบ้าง สนุกไหม  สุดท้ายกลับมาแล้วได้อะไร  ถามว่าจะไปอีกไหม   อย่าลืมสิ่งที่คาดไม่ถึงที่จะเกิดขึ้น นั้นก็หมายถึงสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิด แต่มันก็เกิดจนได้   แล้วถ้ามันเกิดจะทำอย่างไร  เผื่อใจไว้บ้างหากว่ามันไม่สมหวังขึ้นมา  มันอาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ภายในจิตใจของคนเฉพาะบางกลุ่มก็ได้  สิ่งหนึ่งที่คนพึงมี คือ ความอดทน และความมีสติ  ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาไม่มีวันเชยอย่างแน่นนอน ใช้ได้ตลอดชีวิตของเราที่ยังเวียนวนอยู่ นั่นเอง
    สิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มที่อาจารย์แนะนำนี้ มันมีมากมายหลายอย่า และล้วนแล้วแต่สามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งนั้น  ทั้งสองท่านล้วนแล้วแต่เป็นคนที่เก่ง ตน  คือ สามารถปฏิบัติตนให้ เป็นแบบอย่างของผู้อื่นได้  เหมือนที่พูดกันว่า จะสั่งคนอื่นได้เราก็น่าจะทำเป็นก่อน การชมเชย  การสร้างความเป็นกันเอง เป็นการลดแรงตึงเครียด และเป็นการเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้อีก ด้วย   ผมพยายามหรือสนใจคำว่า
ซื้อใจ     เราจะเข้าไปอยู่ในมุมของความรู้สึกที่ดี ๆ ของคนคนนั้นตลอด
      ซึ้งใจ     เห็นค่าในสิ่งที่ดีที่เรามอบให้กับเขา
       เชื่อใจ    กล้าที่จะให้สิ่งสำคัญไว้กับเรา หรือทำในสิ่งที่เราให้ทำไว้ใจ  
       รู้ใจ        ทราบถึงจุดมุ่งหมายที่แต่ละคนทำ
       คู่ใจ       สามารถที่จะทำงานรู้กันได้เป็นอย่างดี
       เปิดใจ    ไม่ปกปิด หรือพร้อมจะให้โอกาสเขาอยู่เสมอ
       สนใจ    ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาทำ
       ใส่ใจ      คอยติดตามอยู่เรื่อยๆ ไม่ทิ้ง
       เข้าใจ     สามารถแนะนำให้ถูกต้องแก่เขาได้
ทุกคำที่กล่าวมาถึงแม้มันจะลงท้ายด้วยใจแต่จริงๆแล้ว  ใจ  ต้องมาก่อน   ทุกคำที่ผมกล่าวถึงมันคือสิ่งที่ผมเห็นจากหนังสือเล่มนี้   ความรู้สึกเหล่านี้ที่กล่าวไปมันน่าจะเกิดได้กับ คนในคนในครอบครัว   เพื่อนแท้หรือเพื่อนตาย(ที่ยังหายใจอยู่)   คนรัก(สมัยนี้ไม่แน่ใจเท่าไรนัก)  ถ้าคำเหล่านี้มันเกิดที่ไหน ที่นั่นก็น่าอยู่ ซึ่งคุณพารณฯ ก็ได้พยายามกระทำให้มันเกิดขึ้นในองค์กร  
    ถ้าเราคิดดี สิ่งต่อไปที่ควรจะทำคือ พยายามผลักดันให้คนอื่นรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ดี และถ้าเขาทำได้ก็จะดี
มีความยุติธรรม  มีระบบระเบียบ ........มีธรรมภิบาล
    capability  และ  acceptability  ถ้าทั้งสองสิ่งนี้มันเกิดขึ้นได้พร้อมกันก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากในหน่วยงานนั้น
    มีการขึ้นเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์  แล้วความรู้ความสามารถ ความดี ของพนักงาน เพิ่มขึ้นกี่ เปอร์เซ็นต์
    สร้างศรัทธา   ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร รวมทั้งสร้างความรัก ให้เกิดขึ้นด้วย
เทคโนโลยี ต้องควบคู่ไปกับความเข้าใจ
คนทุกคน มีพื้นฐานที่คล้ายกัน แต่ไม่เท่ากับ เปรียบดั่งดอกบัว
    ทุกอย่างมีคุณค่าในตัวของมัน  จงเลือกที่จะทราบและเข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของมัน

     สิ่งที่ผมได้รับจากอาจารย์ ผมจะนำไปปรับ เพื่อถ่ายทอดให้นักศึกษารุ่นใหม่ต่อไป
นางสาวณัฏฐา มั่นคง
เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ จบแล้ว พอสรุปได้ว่า คน เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร งานทุกงานจะสำเร็จได้ก็เพราะคน การเพิ่มคุณค่าของคน ต้องเชื่อมั่น ศรัทธา และให้ความรักก่อน จากนั้นให้ความรู้และคุณธรรมควบคู่ไปด้วย เน้นเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการใช้ทฤษฎีทุน 8 ประเภท  และทฤษฎี 3 วงกลม ที่พูดถึงเรื่อง IT ที่เข้ามาช่วยในการหาความรู้ สืบค้นข้อมูล  การบริหารเวลา ภาวะผู้นำ นวัตกรรม และการสร้างแรงบันดาลใจให้มองว่าเป็นงานที่ท้าทาย ไปถึงการทำงานเป็นทีม  คนก็จะทำงานตามศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่  และสิ่งที่จะได้รับตอบแทนมา คือ ความสามารถในการเพิ่มมูลค่า เพราะคนได้ทำงานตามความสามารถที่มีและยังได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆจนเกิดความชำนาญและมีความสุข องค์กรก็จะพัฒนาขึ้น เมื่อเราซื้อใจได้แล้ว เค้าจะรักองค์กรและพร้อมที่จะทำงานให้และเสียสละให้กับองค์กร ท้ายที่สุดทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้ถ้าคิดแล้วนำไปปฏิบัติให้สำเร็จจะเกิดผล ก็จะได้คนเก่งที่เป็นคนดีและอยู่อย่างยั่งยืนด้วย                สมุนไพรมีประโยชน์และโทษอยู่ในตัวมันเอง  อยู่ที่เราจะนำประโยชน์จากสมุนไพรแต่ละชนิดมาใช้ได้ตรงกับสรรพคุณของมันหรือไม่ ถ้าเกิดใช้ผิดประเภทมันก็อาจจะเกิดโทษกับเรา เช่นเดียวกับคน ถ้าเลือกคนถูกกับงาน ถูกความสามารถเราก็จะมีมูลค่าเพิ่มจากคนอย่างเต็มที่ แต่ถ้าเลือกผิด งานออกมาไม่ดี องค์กรก็แย่ไปด้วย ดังนั้นต้องศึกษาคนให้ท่องแท้ และดูทุนมนุษย์ก่อนเพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีคนก็ไม่สามารถนำทรัพยากรอื่นมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้เช่นเดียวกัน 
น.ส. พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์
เรียนท่านอาจารย์ จีระ ครั้งนี้คงเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ที่ดิฉันมีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่าน Blog ร่วมกับเพื่อนๆหลังจากที่ดิฉันได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (HR Champions) ที่อาจารย์แนะนำให้อ่าน และร่วมแสดงความคิดเห็น สิ่งที่ดิฉันมองเห็น ได้อย่างชัดเจน คือ แนวความคิดและการทำงานของ ท่านพารณ ฯ และอาจารย์จีระนั้นคล้ายกัน อาจจะแตกต่างกันอยู่บ้างในเรื่องขององค์ที่ทั้ง 2 ท่านทำงานอยู่ แต่ก็มีแนวคิดและการทำงานเหมือนกันและก็ต้องการที่จะทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จ หลักการทำงานของทั้ง 2 ท่าน จะเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์เป็น ทรัพย์สินที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร เราต้องดูแลเขาให้เปรียบเสมือนเป็นคนที่อยู่ในครอบครัว ท่านพารณฯกล่าวว่า เราจะต้องดุแลเขาตั้งแต่ที่เขาก้าวเข้ามาทำงานในบริษัท จนกระทั่งเขาเดินออกจากบริษัทไป ว่าหลังจากที่ออกจากบริษัทไปแล้วเป็นอย่างไร ดิฉันค่อนข้างแปลกใจมากที่ได้ยินคำกล่าวนี้ เพราะในสังคมการทำงานที่ดิฉันเคยผ่านมานั้น ไม่เคยมีผู้บริหารคนไหนจะมีแนวความคิดในการบริหารงานแบบนี้ มันยิ่งกลับทำให้ดิฉันสนใจในแนวความคิดนี้ยิ่งขึ้น มันคงเป็นเหตุผลที่ว่า คนเป็นได้ทั้งผู้สร้าง และผู้ทำลายได้ในคน คนเดียวกัน ด้วยแนวความคิดนี้ท่าน พารณฯ ได้นำมาใช้ในเครือซิเมนต์ไทยเริ่มตั้งแต่การคัดบุคคลากรเข้ามาทำงานให้กับบริษัทโดยตั้งหลักในการคัดเลือกว่าต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี คนเก่ง คือคนที่รู้จักพัฒนาตนเอง นำสิ่งใหม่ๆมาสู่ตนเองอยู่เสมอ คนดี คือคนที่รู้จักอดทนต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัวเองได้ และสามารถปรับตัวเองไปกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องยึดหลักคุณธรรมในการปฏิบัติงาน เมื่อเราได้คนที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีแล้ว อย่างที่ 2 เราจะมีวิธีอย่างไรในการเพิ่มผลผลิตขององค์ให้มากขึ้น? มันคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากคน ท่านพารณฯ เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ท่านได้เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัฒน์กับเทคโนโลยีต่างๆที่ก้าวหน้าไปไกล หากบุคลากรของบริษัทไม่ได้รับการพัฒนาตัวเองในด้าน IT ก็ไม่สามารถที่จะตามโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้ ท่านพารณฯจึงจัดให้มี Course อบรมสำหรับพนักงานระดับต่างๆเป็นแผนประจำปี บางบริษัทมันเป็นการเสี่ยงที่จะลงทุนตรงจุดนี้ แต่ดิฉันกับเห็นว่านอกจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองค์กรแล้ว ยังเป็นการสร้างความรักและความผูกพันธ์กับองค์กรทางอ้อมด้วย (นอกจากความเป็นผู้บริหารที่ห่วงใยดูแลลูกน้องที่ท่านพารณฯได้ทำอยู่เป็นประจำ) ซึ่งนี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทั้งท่าน พารณฯ และอาจารย์จีระมีเหมือนกัน อีกอย่างที่ดิฉันเห็นว่ามันสำคัญนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โอกาสเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานต่างๆมาก เพราะหากขาดโอกาสแล้วคงไม่มีที่ทางที่ใครสักคนหรืออีกหลายๆคน จะแสดงความสามารถและศักยภาพที่เขาได้เรียนรู้และสั่งสมมา หากไม่มีโอกาสผลงานต่างๆคงไม่เกิดแน่นอน ซึ่งทั้ง 2 ท่าน ได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ดังเช่นที่ท่านพารณฯได้จัดอบรมแก่พนักงานประจำปี และอาจารย์จีระได้ให้โอกาสลูกศิษย์มาฝึกทำงานกับท่าน ดังที่ท่านเคยได้รับมาตอนเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดิฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มี วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม คนในประเทศเป็นคนอ่อนโยน เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันและที่สำคัญเป็นคนใจอ่อน มันจึงทำให้แนวคิดของท่านทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ทั้ง 2 ท่านมีแนวโน้มที่จะเป็นที่ยอมรับของคนทั้งประเทศในไม่ช้านี้แน่นอน สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากถึงท่านอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ว่าท่านเปรียบเสมือนเป็นแผนที่ ในการนำทางให้บุคลากรทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม ได้เดินทางไปสู่จุดมุ่งหมายที่เขาตั้งไว้ได้เป็นอย่างดี ถ้าดิฉันจะเปรียบว่าพลังความคิดของคนเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ โดยมีคนเป็นผู้เริ่มขับเคลื่อนมัน ให้เดินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้ ท่านอาจารย์ทั้ง 2 ก็เปรียบเสมือนเป็นแผนที่ คอยแนะนำการเดินทางนั้นให้ไปสู่จุดมุ่งหมายอย่างสมบูรณ์ ด้วยความเคารพอย่างสูง
พัทธนันท์ สกุลกฤติ
สวัสดีคะ ท่านอาจารย์จีระ คุณยม เพื่อนๆการจัดการธุกิจเกษตรและ อุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีลาดกระบัง และท่านอื่นๆที่เข้ามาใน blogนี้คะ ดิฉันนางสาวพัทธนันท  สกุลกฤติ หลังจากได้เรียนกันอาจารย์จีระมา 2 ครั้งแล้ว รู้สึกได้ว่าความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์มีสิ่งใหม่ให้ค้นหาและติดตามอยู่เสมอ รวมทั้งครั้งนี้ที่ได้ให้เราลองอ่าน ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งเป็นหนังสือที่บอกเล่าความเป็นอาจารย์ จีระและคุณพารณ ได้อย่างดีโดยเฉพาะแนวความคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือ ทุนมนุษย์ ที่เน้นคุณค่าของพนักงานที่ต้องมาจากข้างในคือ ต้องเป็นคนดีไปพร้อมๆกับการที่เป็นคนเก่ง  และชอบที่อาจารย์จีระและคุณพารณเป็นคนทีมีแนวความคิดการบริหารคนแบบผสมผสานกัน คือ 1 ) แบบตะวันตก เป็นการให้เค้ามีเสรีภาพทางปัญญา มีสิทธิที่คิดหรือเสนอความคิดในมุมมองของตัวเองออกมาทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดที่จะนำไปพัฒนาองค์กร ซึ่งก็จะทำให้เกิด Productivity”2) แบบตะวันออก จะเป็นการให้ความเอาใจใส่ และความศรัทธาในตัวพนักงานให้เหมือนคนในรครอบครัว ให้ความดูแลและคำปรึกษา ซึ่งจะทำให้เกิด ความภักดีแก่บริษัทและเมื่อทั้งสองส่วนรวมกันทำให้เกิดทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ  เมื่อคนมีคุณภาพงานที่คนคนนั้นสร้างขึ้นก็จะมีคุณภาพไปด้วย แนวความคิดอีกส่วนหนึ่งที่ดิฉันรู้สึกว่าถ้าหากมีอยู่ในทุกองค์กรแล้วการพัฒนาภายในองกรณ์จะเกิด Efficiency ก็คือ  “Learning Organization” การที่ให้มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาจะทำให้พนักงานมีคุณค่า (ไม่ใช่แค่มีค่านะคะ) ต่อองค์กรองค์กร เหมือนกับที่ อาจารย์จีระ บอกกับพวกเราอยู่ตลอดว่าไม่มีคำว่าพอในการที่จะเรียนรู้  เพราะถ้าเรารู้มากขึ้นคุณค่าของตัวเราก็จะมากขึ้น ซึ่งคุณค่าเหล่านั้นจะแสดงออกมาให้เห็นจากงานที่ออกมา และมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทุนมนุษย์อย่างพวกเราต้องการคือ opportunity จะเห็นได้จากท่านอาจารย์จีระ และคุณพารณต่างได้อยู่ในที่ที่มีการให้โอกาสที่จะแสดงความเก่ง ความสามารถ และทัศนคติ จนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ ของ ผู้บริหารฝ่ายบุคคลหลายๆท่าน ดังนั้นดิฉันคิดว่านอกจากทุนต่างๆที่อยู๋ในทรัพยากรมนุษย์แล้ว ปัจจัยภายนอกอย่างโอกาส ก็มีส่วนช่วยให้การเพิ่มคุณค่าในตัวพนักงาน ด้วยคะ

นายปรัชญา พุดดี นศ.ป.โทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรเเละอุตสาหกรรมอาหาร kmitl.

สวัสดีครับ อ.จีระ ผมได้อ่านหนังสือ"ทรัพยากรมนุษย์พันธ์เเท้"เเล้ว นับว่าเป็นหนังสือด้าน HR อีกเล่มหนึ่งที่มีคุณค่าต่อผู้สนใจในงานด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง จากที่ได้อ่านเนื้อหา พอจะสรุปเเนวคิดและวิธีการบริหารงานด้าน HR ที่คุณพารณใช้ได้ดังนี้ครับ

  • การชื่นชมความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาควรเเสดงด้วยความจริงใจ เเสดงออกทั้งความรู้สึกภายนอกเเละภายใน เพื่อเป็นกำลังใจเเละทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระตือรือร้นมีกำลังใจในการทำงาน
  • วีธีหนึ่งที่จะทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี คือ การอดทนคนอื่นได้เก่ง
  • การจะทำอะไรสักอย่างต้องมีความเชื่อในเรื่องนั้น ไม่ควรทำตามกระเเสหรือแฟชั่น
  • คนที่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เเละเก่งเรียน จะเรียกได้ว่าเป็นคนเก่ง  ส่วนคนที่ ประพฤติดี มีนำใจ ใฝ่ความรู้ และมีคุณธรรม สามารถเรียกได้ว่าเป็นคนดี
  • การจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นคนดี คนเก่งนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องเป็นเเบบอย่างด้วย
  • นอกจากการตอบเเทนพนักงานด้วยค่าจ้างเเล้ว ควรคำนึงถึงสวัสดิการเเละการดูเเลพนักงานในส่วนอื่นๆด้วยเพราะ " คนไม่ได้ต้องการผลตอบเเทนที่เป็นเงินเพียงอย่างเดียว เเต่ยังต้องการผลตอบเเทนทางใจด้วย
  • บุคคลต้องมีคุณธรรมในการทำงาน เพราะเมื่อมีคุณธรรมในการทำงานเเล้ว ก็จะส่งผลดีต่อบริษัท ทำให้บริษัทเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จไปด้วย ดังอุดมการณ์การทำธุรกิจของเครือซีเมนต์ไทยที่ว่า "บุคคลเจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินชีวิตฉันใด บริษัทก็เจริญได้ด้วยจริยธธมฉันนั้น"
  • ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชาที่ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติสำคัญ 2ประการ คือ มีความสามารถในการทำงาน(capability)และการเป็นที่ยอมรับ(acceptability)

นี่ก็เป็นเพียงข้อคิดเเละแนวทางในการบริหารงานด้าน HR ของเครือซีเมนต์ไทยเพียงบางส่วน ที่ผมพอจะสรุปได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ คิดว่าผู้อ่านหลายๆท่านอาจจะมีข้อคิดอื่นๆอีกหลายข้อที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะงานของเเต่ละงานย่อมเเตกต่างกัน เราก็สามารถนำเเนวคิดเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ของเเต่ละงานได้ เเละสุดท้ายอยากฝากทุกท่านไว้ว่า"การจะบริหารการทำงานของผู้อื่นนั้น จะต้องบริหารตัวเองหรือทำตัวเองให้เป็นเเบบอย่างที่ดีก่อน"

ขอบคูณครับ

น.ส.ศิริรัชน์ หินกล้า

เรียนอาจารย์จีระและสวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคนค่ะ ดิฉัน น.ส. ศิริรัชน์ หินกล้า นศ.ป.โทธุรกิจเกษตรและ อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

` แนวคิดใหม่ที่คุณพารณและดร.จีระให้ไว้คือ การมองคนเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร   องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและไม่ดี คนที่สามารถพาองค์กร ให้ประสบความสำเร็จทั้งเก่ง ทั้งดี คนเก่ง ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน ดี ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่หาความรู้ คู่คุณธรรม

` การสร้างองค์กรให้มีบรรยากาศของครอบครัว เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันธ์เหมือนพี่น้อง หัวหน้าต้องดูแลลูกน้องทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว หากลูกน้องมีทุกข์แล้วไม่แก้ไขถือว่าคนนั้นไม่ใช่ หัวหน้าที่ดี การดูแลกันระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องลูกศรต้องลงอย่างเดียวคือ สูงสุด รองลงมา ลดหลั่นลงมาตามลำดับ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วพนักงานจะเข้ามาทำงานด้วยความอุ่นใจและมีความสุขในการทำงานผลงานที่ออกมาก็จะดีและตรงตามเป้าหมายขององค์กร

` ทฤษฎี 3 วงกลมของดร.จีระ วงกลมที่1 พูดถึงเรื่อง IT ว่ามีความสำคัญในการบริหารทรัพยากร มนุษย์มากขึ้น วงกลมที่ 2 พูดถึงเรื่องภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา หรือเรียกว่าเป็นทฤษฎี เพิ่มศักยภาพของคน วงกลมที่ 3 ต้องมองงานทุกอย่งเป็นงานท้าทาย ซึ่งเราจะได้มีโอกาสใช้ความ รู้ความสามารถที่เรามีทำมันให้สำเร็จ

` การที่เราจะทำอะไรสักอย่าง เราต้องมีหัวใจให้กับสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ มีศรัทธาและความเชื่อต่อสิ่ง ที่เราจะทำอย่างไม่สั่นคลอน เพราะสิ่งเหล่านั้นจะเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้เราทำงานนั้นสำเร็จได้

` การให้ค่าจ้างหรือค่าแรงที่สูงกว่าเพื่อดึงตัวพนักงานออกจากองค์เดิมไปสู่องค์กรใหม่ จะไม่เป็นผล หากพนักงาน มีความสุขเต็มที่กับงานที่เขาทำและองค์กรที่เขาทำงานอยู่ แสดงให้เห็นว่าเงินไม่ใช่ตัว ตัดสินชี้ขาดที่แสดง ถึงความจง รักภักดีต่อองค์กร

2 สัปดาห์ผ่านไปดิฉันเริ่มปรับตัวได้ดีขึ้นแล้ว เริ่มกินผักได้มากขึ้น ขอบคุณผักสดดีๆ ที่อาจารย์มอบให้นะคะ

กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉัน นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล ศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากการที่ได้อ่านหนังสือ"ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ของอาจารย์แล้วมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งสองมองไปที่การพัฒนาคน โดยเน้นที่การวัดผล แบบความยั่งยืนระยะยาว และการแสวงความรู้ความคิดใหม่ๆ และการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร จะต้องมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานมากขึ้น,เน้นการมีความส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อให้เกิดความผูกพันกับองค์กร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุน ที่ไม่ใช่ต้นทุน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8(พ.ศ.2540-2544)ต่อเนื่องจนถึงแผนฯ 9 (พ.ศ.2545-2549) ซึ่งเป็นแผนฯที่ใช้ในปัจจุบันนั้น ได้ตระหนักว่าทิศทางการพัฒนาจะต้องให้น้ำหนักความสำคัญกับ “ ทรัพยากรมนุษย์ ” โดยเน้นให้ “ คนเป็นศูนย์กลาง ” การพัฒนาเพื่อประสิทธิผลที่ “ ยั่งยืน ” และสิ่งที่ได้คือ •“คนเก่ง” คือคนที่เก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน •“คนดี” คือคนที่มี 4 ดี คือ ประพฤติดี น้ำใจดี ใฝ่หาความรู้ดี และคุณธรรมดี •“คนที่มีความสุข คือคนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง” ก็เป็นประโยคที่น่าสนใจ •คนไม่ได้ต้องการเงินทอง แต่ต้องการการตอบแทนทางใจ •เน้นให้เกิดความจงรักภักดี และวินัยในองค์กร หลักการพัฒนาองค์กร 1. ท่านทั้งสองมองต่างกัน แต่เป้าหมายเดียวกัน คือการพัฒนาองค์กร ตาม ทฤษฎี 4 L 2. ทฤษฎี 8 K ทุนมนุษย์, ทุนทางปัญญา, ทุนทางจริยธรรม, ทุนแห่งความสุข, ทุนทางสังคม, ทุนแห่งความยั่งยืน,ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ หลักการวางวางแผน ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นกลยุทธ์ในการนำมาพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งต้องมองภาพรวมขององค์กรให้ได้จึงนำมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิผล วงกลมที่1 นำระบบ IT (สารสนเทศ)มาใช้ทั้งภายในและนอก ในองค์กรเพื่อช่วยในการบริหารขั้นตอนการทำงาน ภายนอกด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมายฯลฯ วงกลมที่2 เน้นทักษะ และศักยภาพเพื่อให้บุคคลากรมีความรู้ ความสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาให้มีภาวะผู้นำ จะทำให้องค์กรเติบโตตามทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วงกลมที่3 เรื่องสร้าง Motivation (แรงจูงใจ) ให้มองว่างานที่เราทำเป็นสิ่งที่ท้าทายหรือต้องมีแรงบันดาลใจ ไม่อย่างนั้นจะเบื่อหน่ายกับงานไม่มีความตื่นเต้น ทำให้องค์กรขาดคนที่มีความสามารถในการทำงาน ฉะนั้นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนมี Imaginative ซึ่งผู้นำจะต้องรับบทบาททั้งในการสร้างความสามารถ (Capability) ของคนในองค์กรให้เป็นที่ยอมรับ (Acceptability) รวมทั้งการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ และต้องยึดหลัก 1.ต้องทำให้สำเร็จ 2.มีพลังบารมี 3.ยั่งยืน ดิฉันคิดว่า ความเชื่อความศรัทธา ในตัว คน จะเป็นที่มาของความสำเร็จในทุกประการดังเช่นแนวคิดของท่านทั้งสอง ฉะนั้นดิฉัน ศรัทธา ในท่านอาจารย์ และเปิดใจเรียนรู้สิ่งที่ท่านได้มอบให้ หัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นการกล่าวถึงว่า การที่เราจะทำอะไรสักอย่าง เราต้องมีหัวใจกับสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ มีความศรัทธาและความเชื่อต่อสิ่งที่เราจะทำอย่างไม่ย่อท้อ เพราะสิ่งนั้นจะเป็นแรงผลักดันให้เราทำงานสำเร็จได้เป็นอย่างดี ด้วยความเคารพอย่างสูง นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล
ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์

เรียน อาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

     ตามที่กระผมได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ของท่านอาจารย์และท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา แล้วพอสรุปได้ดังนี้

   1)คนที่จะประสบผลำเร็จในชีวิตควรเป็นคนที่มีอย่างน้อย 4ดีและ 4เก่งเหมือนที่ท่าน พารณ กล่าวไว้การเป็นคนเก่งอย่างเดียวแต่ไม่เป็นคนดีจะมีโอกาศที่จะนำความรู้ความสามารถไปใช้ในทางที่ผิด องค์กรจะเกิดความเสียหายได้ ส่วนการที่เป็นคนดีอย่างเดียวแต่ไม่เก่งก็จะทำให้องค์กรพัฒนาไม่ได้เต็มที่ ดังหลักการประเมินพนักงานที่จะประกอบด้วย

 Capability สำหรับการประเมินความเก่ง

 Acceptability สำหรับการประเมินความดี

  2)การจะเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้นั้นคุณต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และต้องมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ตามสถานะการ ภูมิประเทศ อย่างเหมาะสมดังที่ท่านพารณได้นำความรู้จากที่ได้รับจาก Shellและจากญี่ปุ่น(Kubota) มาใช้กับปูนใหญ่และบริษัทในเครือ

 3)บริษัทต้องยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาองค์กรเพราะองค์กรจะดีหรือแย่ก็ขึ้นอยู่กับคนมากกว่าครึ่งของปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่ input เข้าไป

4) คนที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตต้องมีทุนอยู่ 8 ประการ (ทฤษฎี 8 k's)

5) การที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตนั้นการบริหารนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm Shift) ตลอดเวลา เพื่อมาปรับปรุงกลยุทธ์ขององค์กร(กลยุทธ์ที่ใช้ในองค์ควรเป็นแบบ dynamic strategic ไม่ใช่ Static strategic)

ขอแสดงความนับถือ

นายชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์

 

นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ
กราบเรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉัน นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากการที่ได้อ่านหนังสือ"ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ของอาจารย์แล้วสิ่งที่ได้จากหนังสือ ทำให้ได้แนวคิดและหลักการที่สามารถนำมาใช้ได้ในเรื่องของการพัฒนาคนเลยก็คือ เกิดมาเพื่อเรียนรู้และเรียนรู้ (ปรัชญาของ HR ) และเน้นด้วยว่าต้องมีความสุขซึ่งไปสอดคล้องกับทุน 8 ประการของอาจารย์ เป็นทุนที่4 คือ ทุนแห่งความสุข ซึ่งการที่จะทำสิ่งใดไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหนถ้าเรามีความสุขกับสิ่งที่เราทำย่อมทำให้ประสบผลสำเร็จได้ และการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นั้นความรู้จะต้องทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง เพราะ HR ที่จะเข้าสู่สังคมโลกาภิวัฒน์ได้จะต้องมีความรอบรู้ในทุกๆ ด้าน ถ้าเราเป็น Good Learner เมื่อมีอะไรเปลี่ยนแปลงเราสามารถเรียนรู้และรับมือกับมันได้ อาจารย์จีระมีสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง คือ ทฤษฏี 3 วงกลม วงกลมที่ 1 เรื่องContext เรื่องของ IT การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ระบบสารสนเทศ วงกลมที่ 2 เรื่องภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา เป็นทฤษฏีเพิ่มศักยภาพของคน(Competencies) วงกลมที่ 3 คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีแรงบันดาลใจ(Motivation) นอกจากนี้ดิฉันได้แนวความคิดและความรู้ที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อนำมาใช้กับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรและประเทศชาติได้ในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ (เรียนรู้ก่อนแล้วนำไปใช้จริง) - การที่จะพาให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ บุคคลนั้นต้อง เป็นคนเก่ง–คนดี เรื่องของคนเก่ง มีเก่งอยู่ 4 อย่างคือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ส่วนคนดีมีอยู่ 4 อย่างคือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม - ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคนเป็นสิ่งสำคัญเพราะคนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด เราต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะได้เป็น คนเก่ง 4 ดี 4 อย่างที่คุณพารณทำตนป็นต้นแบบ - ควรมีความเอาใจใส่ ดูแลทุกข์สุขของคนในองค์กร แล้วผลตอบแทนที่จะตามมาก็คือ ความจงรักภักดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตด้วย ความจงรักภักดีเกิดขึ้นเมื่อลูกน้องกับนายมีความเข้าใจกัน ถ้า ทั้ง 2 ฝ่ายขัดแย้งกันความจงรักภักดีก็ไม่เกิด องค์กรนั้นๆ อาจขาดคนเก่ง-คนดีไปได้ เท่ากับว่าอาจเป็นการสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาไปด้วยแต่สามารถจัดการได้ เพราะ ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้าง และผู้ที่มีบทบาทในการสร้างความจงรักภักดี นั้นจะต้องเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์เสียก่อนถึงจะประสบความสำเร็จ - เรื่องของแรงจูงใจเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะเป็นตัวที่ทำให้คนสู่ความเป็นเลิศในหลายๆ ด้าน แรงจูงใจมีทั้งด้านลบและด้านบวก ในแง่ของด้านบวก นอกเหนือจากค่าตอบแทนแล้ว ยังหมายถึงโอกาสที่ได้เช่นในเรื่องของตำแหน่งงาน หน้าที่การงานที่สูงขึ้น แต่ก็มีด้านลบ เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน เกิดความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นพบได้ในทุกองค์กร - การทำงานเป็นทีม ย่อมดีกว่าทำงานคนเดียว ทำให้องค์กรมีคุณภาพ - การที่จะทำอะไรก็ตามต้องมีความเชื่อในสิ่งที่ทำหรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์เพราะจะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่นและกำลังใจ - คุณสมบัติ 3 ประการที่ทำให้คนก้าวสู่ระดับโลกได้ ได้แก่ ความคล่องแคล่วในภาษา, เทคโนโลยี และคุณธรรม ดังนั้นการเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้นั้น ต้องทำให้สำเร็จ ต้องมีบารมี และต้องยั่งยืนแล้วนำทฤษฎีต่างๆ ของท่านอาจารย์มาประยุกต์ใช้จริง
นางสาวศรีทอง โคตะมะ
สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์และเพื่อนๆร่วมรุ่นทุกคน

        ในชีวิตที่ผ่านมาดิฉันจะชอบหาอ่านหนังสือเกี่ยวกับการจูงใจคน  การพัฒนาแนวความคิดของคน ทั้งหมดก็เพื่ออยากนำมาพัฒนาตนเองและน้องๆที่ร่วมงานด้วย แต่ยังไม่มี Concept ที่ดีและแนวทางยังไม่ชัดเจน เห็นภาพได้ยากจากคำบรรยายแบบทฤษฎีจากหลายเล่มที่เป็น pocket book   และมีหนังสือแนวอื่นที่อ่าน พอยกตัวอย่างหนังสือได้ เช่น สารคดี   The Nation  ไทยรัฐ     ไคเซน  Who moved  my  cheese?  สอนให้ลูกน้องจับปลา  นิตยสารเชิงปาปารัสซี่  การทำการเกษตร  ส่วนแนวอื่นๆ ที่บางทีไม่ได้ช่วยประเทืองปัญญาก็มีมาก  จะเห็นได้ว่าผักที่ดิฉันเลือกกินยังหนักไปทางจำพวกที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและความคิด  ถึงวันนี้ดิฉันศรีทองขอขอบคุณในการแนะนำของท่านอาจารย์ในการเลือกอ่านหนังสือ และเลือกหนังสือที่ดีให้อ่าน โดยเฉพาะเล่ม  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ค่อนข้างเห็นภาพในวิธีการดูแลและแนวความคิดการพัฒนาคนชัดขึ้น เป็นการเพิ่ม  Ratio ของสิ่งที่ดีในชีวิต    กล่าวถึงสังคมที่บ้านและที่ทำงานของดิฉันก่อนหน้านี้เรามีการพูดคุย แลกเปลี่ยนหนังสือและความเห็นในกลุ่ม ( มีสมาชิกรวม ประมาณ  5-6 คน ) และดิฉันได้ใช้เป็น Topic คุยในกับเพื่อนสมาชิก      หลายคนสนใจและอยากอ่าน แต่ดิฉันบอกว่าเดี๋ยวให้ส่งการบ้านของอาจารย์ก่อนจะให้ยืม  แต่ที่ตั้งใจไว้มากๆ ว่าจะส่งเป็นของขวัญแด่ผู้ใหญ่ที่นับถือที่ทำงานฝ่าย  HR  ของ Advance agro (Public )Co.,Ltd   เพราะมีหลายอย่างที่ตัวดิฉันเองเห็นแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้แล้วอยากให้คนอื่นรอบตัวในที่ที่ตนอยู่ได้ซึมซับเช่นกัน

                มีแนวความคิดของคุณ พารณ ที่ได้กล่าวในหนังสือเล่มนี้แล้ว ดิฉันรู้สึกว่า  ใช่และเห็น  คือคนเราต้อง   เก่ง 4    ดี 4                       

                  เก่ง 4    ------------------- >  เก่งงาน   เก่งคน  เก่งคิด  เก่งเรียน

 

                  ดี  4    ------------------- >   ประพฤติดี    มีน้ำใจ   ใฝ่ความรู้    คู่คุณธรรม

  

และที่ประทับใจอีกจุดคือ  Concept  ที่ว่า     การเอาจริงเอาจัง  ---- >   ทำจนจบ  ----  >  มองระยะยาว

เป็นสิ่งที่ดิฉันได้คิดทบทวนในเวลาที่ผ่านมาสำหรับตัวเองแล้วว่า      ยังขาด   แต่ก็ดีใจที่ได้มีสิ่งหนึ่งมาจุดประกายให้    ได้เริ่ม  หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ  ก็กินเวลาไปหลายวัน  จากการส่งการบ้านท่านอาจารย์น่าจะพอทราบนะคะ     ได้มีคำถามในใจ    อะไรเป็นแรงบันดาลใจของทั้ง  2  ท่านที่มีเมตตาในการที่จะช่วยในการพัฒนาคนในชาติให้สามารถต่อสู้และอยู่ได้ในสังคมโลกอย่างยั่งยืนและมีความสุข  

 

กัลย์สุดา วังชนะชัย

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ และเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ

-         ถ้าผู้บริหารเป็นตัวอย่างที่ดี เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง ทำให้ลูกน้องเคารพรัก  ก็จะทำให้เค้าอยากทำงานให้ออกมาดีเพื่อที่จะไม่ทำให้เจ้านายผิดหวัง  และจะส่งผลดีกับองค์กร

-         การที่เราจะทำอะไรสักอย่างย่อมเกิดปัญหา  ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ  บางครั้งเราเห็นคนที่ในขณะนี้ประสบความสำเร็จ  แล้วย้อนกลับมามองเราว่าทำไมเราไม่โชคดีอย่างเค้าบ้าง  แต่อย่าลืมว่ามันไม่ใช่โชค  แต่กว่าที่เค้าจะมายืนอยู่ ณ.จุดนี้เค้าต้องผ่านอะไรมาบ้าง  มันคงไม่ได้มาอย่างง่ายๆ เราต้องมีหัวใจให้กับสิ่งนั้น

1.สนใจ

2.ใส่ใจ

3.ตั้งใจ

และมีความเชื่อ+ศรัทธา  แล้วก็จะพบกับความสำเร็จอยู่ข้างหน้า

     

-         การพัฒนา HR ให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลกระทบกับระดับสูงนั้น  ควรจะต้องประกอบด้วยมิติทางเศรษฐศาสตร์,จิตวิทยา,การบริหารการจัดการและกลยุทธ์

-         ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดในปัจจุบันไม่ใช่ Communities หรือสินค้าแต่เป็นความรู้      

ข้อมูล                ข่าวสาร                ความรู้               เพิ่มมูลค่า      การสร้างมูลค่าเพิ่ม คือนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหา  การคิดค้นสิ่งแปลกใหม่  

-          คนเราต้องมีทุนทางจริยธรรมด้วยจะมีเพียงความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียวไม่ได้  หรือจะเรียกว่าต้องมี ความรู้คู่คุณธรรมซึ่งทุนทางจริยธรรมนี้เราต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ

-          ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

1.คุณภาพของคน

2.ผู้บริหารระดับสูง            

3.ทัศนคติของฝ่ายจัดการ     

4.การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง

-      คนจะเป็น assets   ที่สำคัญขององค์กร จะเป็นจุดสร้าง Competitive advantages ให้องค์กร    หากองค์กรใดหรือระบบบริหารใดสามารถให้มนุษย์เป็นได้ทั้ง assets และ resource ได้ ก็จะได้รับชัยชนะ

-        บันไดแห่งความเป็นเลิศ

         1.ลองทำอะไรที่เริ่มจาก Good ideas          Action        สู่ผลสำเร็จ

         2.อย่าทำอะไรโดยไม่มี priority ลำดับความสำคัญเริ่มก่อน

         3.ทำโดยให้มี participation ของทุกคน ทุกระดับ

         4.ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

-        การศึกษา  ความรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้  เป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน  แต่สิ่งที่ดิฉันได้ยินมาคือ สมัยนี้อาชีพครูไม่ใช่อาชีพที่ใครๆปรารถนา  อาจเป็นเพราะเงินเดือนน้อย  เพราะฉะนั้นคนเก่งๆจะไปเรียนในสาขาอื่นๆกัน  ส่วนคนที่เลือกเรียนอะไรไม่ได้ก็จะมาเรียนเป็นครูกัน  แล้วอย่างนี้การศึกษาของประเทศไทยจะมีคุณภาพได้อย่างไร  อีกประการหนึ่งก็คือ เด็กๆสมัยนี้เรียนพิเศษกันจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว  ครูบางคนในโรงเรียนก็ไม่ค่อยจะสอนอะไร  แล้วก็ให้เด็กไปเรียนพิเศษเพราะจะเอาแบบฝึกหัดที่สอนตอนเรียนพิเศษมาออกข้อสอบ  แต่ยังไงก็ตามครูที่เก่งและดีและเสียสละเพื่อสังคมก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน  เพราะฉะนั้นคุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนควรมี  แล้วมันก็ต้องย้อนกลับมาดูการปลูกฝัง  พื้นฐานของครอบครัว และสิ่งแวดล้อม  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดมันก็คือตัวของเราเอง  ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด  ตั้งแต่  ครอบครัว     การศึกษา   วัฒนธรรม    สิ่งแวดล้อม   และตัวเอง

                 
                                                                                 

-               วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงาน  เช่น คนไทยมักชอบเกรงใจกัน  แต่ถ้าจะแข่งขันในระดับโลกเราต้องตัดความรู้สึกนั้นออกไป

รู้สึกว่าตั้งแต่เรียนกับอาจารย์แล้วมีความรู้ที่หลากหลายขึ้นและยังทำให้จิตใจถูกขัดเกลาให้เป็นคนดีมากขึ้นด้วยคะ

ขอบพระคุณมากคะที่ให้ความกรุณา

 
เรียนท่านอาจารย์ จีระจากที่ผมได้อ่านหนังสือทรัพยากรพันธุ์แท้ของท่านอาจารย์  ในรายละเอียดทั้งหมดผมพอจะสรุปประเด็นสำคัญของความเป็น HRพันธุ์แท้  ซึ่งจะอธิบายตามวงจรที่ผมขอเรียกว่า  วงจรแห่งความดีเพื่อความเป็น HRพันธุ์แท้   ดังนี้ครับ                                                               

    1.มีพื้นฐานครอบครัวที่ดี

 
   

3.มีรูปแบบการปฏิบัติงานดี

 

    

 
22.       มีการศึกษาและอบรมที่ดี 
5.สร้างสรรค์สังคมที่ดีให้ยังยืน 
4.มีระบบการถ่ายทอดความรู้ที่ดี 
      
1.       มีพื้นฐานครอบครัวที่ดี- คุณพารณเกิดในครอบครัวใหญ่ที่มีระบบการปกครองดูแลคนส่งผลให้เข้าใจชีวิต  ของคน-         ได้รับการอบรมในเรื่องคุณธรรมในการดำเนินชีวิตการเคารพผู้ใหญ่มีสัมมาคาราวะ-         อาจารย์จีระมีเครือข่ายการเรียนรู้จากบิดามารดาตั้งแต่เด็กๆ  เป็นคนเกิดในปีวอกมีบุคลิกชอบแสวงหาความรู้  เมื่อโตขึ้นชอบเล่นกีฬาฟุตบอลตำแหน่งศูนย์หน้าทำให้ชอบความท้าทายและมีความมุ่งมั่นหาโอกาสทำประตู (สร้างโอกาสให้ตนเองเสมอ)2.       มีการศึกษาและอบรมที่ดี-         คุณพารณมีโอกาสร่วมงานกับบริษัทต่างชาติ (บริษัทเชลล์) ซึ่งมีการทำงานเป็นระบบแบบตะวันตก  และทำงานกับประเทศญี่ปุ่นที่มีวินัยในการทำงานแบบตะวันออกผสมกับจิตใจที่ดีแบบคนไทย-         ได้รับโอกาสในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาบริษัทลูกของเครือซีเมนต์ไทยจนประสบความสำเร็จ-         อาจารย์จีระมีพื้นฐานการศึกษาจากต่างประเทศที่ให้ผู้ศึกษาเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้-         ได้รับโอกาสในการบริหารจัดการสถาบันทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยดูจากความรู้ความสามารถมากกว่าระบบอาวุโส-         เป็นอาจารย์ผู้สอนที่มีรูปแบบการถ่ายทอดแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.       มีรูปแบบการปฏิบัติงานดี-         เป็นต้นแบบที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่อง  เก่ง 4 ดี 4  ซึ่งเก่ง 4 ประกอบด้วย  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียนรู้  ส่วนดี  4  ประกอบด้วย  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม-         เห็นคุณค่าของคนโดยมองคนเป็นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุนเพื่อให้เกิดคนเก่ง ( capability) และเป็นคนดีได้รับการยอมรับ (acceptability)-         ดูแลทุกข์สุขผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด (holistic concern) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (high tech and high touch) สร้างระบบพี่เลี้ยง(mentoring)เพื่อให้องค์กรมีบรรยากาศแบบครอบครัว-         เน้นการสอนหนังสือแบบให้มีจริยธรรม (educated mide) มากกว่าการมีความรู้สูง( educated person)-         สร้างระบบความจงรักภักดี ทุกคนที่เข้ามาทำงานต้องอาศัยความสามารถ  มีกฏเกณฑ์ในการพิจารณาโดยคณะกรรมการต่างๆ  สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแบบมีชีวิต(Living company) มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ตลอดไป  เน้นรักเขา  ให้เกียรติเขา ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบของครอบครัว  เป็นโค้ชที่ดีของลูกน้องคือเข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็ง-         สร้างระบบแรงจูงใจ(Motivation)  ประกอบด้วยการมีส่วนร่วม การทำงานที่ท้าทาย  การทำงานเป็นทีม  ให้รางวัลพิเศษ  เพิ่มพูนความรู้  สร้างวัฒนธรรมในการทำงาน  ประเมินผลอย่างโปร่งใส่ มีสภาพแวดล้อมในการทำงานดี และมีการให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม-         มีวิสัยทัศน์ในการทำงานที่กว้างไกลโดยมองทรัพยากรทั้งในและต่างประเทศ  เช่นเชิญวิทยากรระดับโลกเข้ามาให้ความรู้4.         มีระบบการถ่ายทอดความรู้ที่ดี-         ให้ความรู้  ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับบุคคลทุกระดับโดยไม่แบ่งแยกสถาบันและให้ความสำคัญกับสถานศึกษาที่มีคนส่วนใหญ่ของสังคมศึกษาอยู่ -         มีการวางแผนงานที่ดี  เน้นการทำงานอย่างเดียวไม่พอต้องมีวิธีการทำให้สำเร็จ-         มีการทำงานเป็นทีม ปรึกษาหารือกัน  ผู้ใดมีส่วนร่วมจะเชิญมาทำให้เกิด network and partnership  มีการรับฟัง (Listening skill) และบูรณาการความคิดของหลายๆความคิดเข้าหากัน  -         มีข้อมูลครบถ้วนและเชื่อมโยงกันได้ดี  มีวิธีการบริหารแบบเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradign shift) หรือการบริหารแบบนอกกรอบ -         มีความเป็นผู้นำที่ทำการถ่ายทอดความรู้แบบหัวถึงฟ้าขาติดดิน-         มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างลึกซึ้งถึงแก่นเพื่อให้เกิดความรู้ก่อนถ่ายทอดแม้กระทั่งการเตรียมการสอนก็วิจัยมาก่อน-         ให้ความสำคัญกับทุน 8 ทุนโดยเน้นที่ทุนทางจริยธรรมและทุนทางปัญญา-         เน้นถ่ายทอดให้คนมีความคิด  วิเคราะห์เป็นและนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็น ตามรูปแบบดังนี้จากข้อมูล(Data)  เพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร(Information)  เป็นความรู้(Knowledge)  นำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value added)  นำไปวางแผนแก้ไขปัญหา(Wisdom)นำความรู้จากทฤษฎีไปสู่แนวความคิดเชิงความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาคน (บริษัทปูนซีเมนต์ไทย) โดยอาศัย  4  ปัจจัยดังนี้1.       สร้างคุณภาพคนให้มีความชอบธรรม2.       ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและลงมากระทำด้วยตนเอง3.       เปลี่ยนทัศนคติของฝ่ายจัดการให้มองการพัฒนาคนเป็นการลงทุนระยะยาว4.       ปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเองทั้ง  4  ปัจจัยนี้ จะเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมดุลใน  3  ทักษะคือทักษะในเชิงปฏิบัติการ(Functional skill) ทักษะเชิงแนวความคิด(Conceptual skill)  ทักษะด้านบุคลิกภาพการทำงานร่วมกับผู้อื่น(Personal skill)5 .สร้างสรรค์สังคมที่ดีให้ยังยืน-         เน้นการวิจัยเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาแก่คนหมู่มาก  เช่น  โครงการวิจัยผู้บริหารของมหาวิทยาลัย-         สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเน้นคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันตามคำพูดที่ว่า  การเพาะปลูกสำคัญก็จริงแต่การเก็บเกี่ยวสำคัญกว่า-         สร้างต้นแบบศูนย์กลางการเรียนรู้(Learner centered learning)โดยให้ผู้เรียนเป็นคนลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ  ซึ่งมีโรงเรียนต้นแบบคือ  โรงเรียนบ้านสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่  เป็นการทดลองแบบห้องเดียวและนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดสถาบันแห่งการเรียนรู้คือโรงเรียนดรุณสิกขาลัย -         สร้างสถาบันส่งเสริมคุณภาพโดยรวม(Total quality promotion center)เพื่อสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต ทั้งหมด 5 ความดีนี้ ผมคิดว่าน่าจะทำให้คนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ครับ                                                                                                                                                                           ขอบคุณครับ                                                                            ประชา  กองสุข

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ และเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน ดิฉันนิสิต ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอาหาร สถาบันพระจอมเกล้าฯ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คงต้องบอกว่าวางไม่ลงจริงๆค่ะ เนื้อหาอ่านเข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริง หลังจากอ่านจบทำให้ทราบว่า แม้ผู้เขียนทั้งสองท่านซึ่งมาจากตระกูลที่ดี และมีชื่อเสียง ยังเห็นคุณค่าของมนุษย์ด้วยกัน ท่านมองมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่า และสามารถเพิ่มคุณค่าได้ ซึ่งในองค์กรใดๆก็ตาม ล้วนมีมนุษย์เป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น และการที่มนุษย์มาบริหารมนุษย์ด้วยกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้องค์กรมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ต้องใช้ศิลปะและจิตวิทยา ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจและทำได้ยาก แต่อาจารย์ทั้งสองท่าน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินชีวิตที่ต่างกันคือผู้บริหารและนักวิชาการ แต่สามารถสรุปและอธิบายให้เข้าใจง่าย และสามารถใช้ได้จริงคือ ทฤษฎี 4'Lของศ.ดร.จีระ ซึ่งจะนำไปสู่ Goal คือ

G = good (ความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน)

O = Opportunity(หาโอกาสอยู่เสมอ)

Alert = (เตรียมพร้อมที่จะปรับตัวทุกสถานการณ์)

 L= Leanning (การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด)

และแนวความคิดของคุณพารณเกียวกับผู้บริหารที่ต้องเก่งและดีคือมีคุณธรรมด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ
       ต่อจากนี้ไปเมื่อดิฉันได้แนวความคิดจากบทเรียนแห่งความจริงของอาจารย์ทั้งสองท่าน มาช่วยในการเรียบเรียงความคิดที่กระจัดกระจาย ให้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในทุกๆด้าน ข้าพเจ้าจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ท้ายสุด ขอฝากให้ท่านผู้อ่านที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน Blog นี้ลองไปหาอ่านหนังสือเล่มนี้ดูนะคะ แล้วท่านจะพบความจริงหลายอย่างที่ท่านมองข้ามไป และสามารถนำมาแก้ไขเพื่อให้อนาคตหลายอย่างดีขึ้นจริง ๆ

                                      ขอบคุณค่ะ

                                นส.ทิพวรรณ  คงเมือง 

นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์จีระ  และผู้อ่านทุกท่านค่ะ                ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 ที่ดิฉันได้มีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog นี้ ซึ่งวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวที่ได้อ่าน  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์  เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์    ดิฉันต้องขอบอกก่อนเลยว่า จากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกชื่นชมท่านทั้งสองมากขึ้นและรู้สึกว่าท่านทั้งสองนี้แหละคือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ตัวจริง                หนังสือเล่มนี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักท่านทั้งสองมากขึ้นอีกมากเลยทีเดียว จากเมื่อก่อนที่เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านจากสื่อต่างๆมาบ้าง และจากการที่คุณพ่อของดิฉันเคยพูดถึงท่าน แต่ก็ไม่ละเอียด หรือจะเป็นท่านอาจารย์จีระซึ่งก่อนหน้านี้ก็รู้จักท่านจากการที่เคยได้ยินชื่อเสียง  และจากการที่ท่านให้เกียรติมาสอนวิชา  HR ให้เป็นครั้งที่2 แต่ก็ยังไม่รู้จักท่านในแง่ลึกจริงๆ แต่พอหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้ทราบอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับชีวิตของท่านทั้งสอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องวัยวุฒิแล้วถึงจะมีความแตกต่างกัน แต่ว่าท่านทั้ง 2 กลับมีเป้าหมายเดียวกันคือ  การมุ่งมั่นในเรื่องคน ซึ่งท่านทั้ง2 ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิต มุ่งมั่นและอดทนในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องบนรากฐานของความยั่งยืน  โดยทั้ง 2 ท่านมี ความเชื่อ เหมือนกันคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร  จึงทำให้ท่านทั้ง 2 ใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในการที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งคู่เชื่อว่าหากคนทั้งประเทศชาติของเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราจะสามารถยืนหยัด และแข่งขันในตลาดโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างแน่นอน                จาการได้อ่านทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของท่านทั้ง2 ทำให้ดิฉันได้เปิดมุมมอง และเปิดใจยอมรับในเรื่องของ HR มากขึ้น และตอนนี้ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับท่านทั้ง 2 ว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร  และดิฉันคิดว่าในการพัฒนาคนนั้น สิ่งที่เรายังขาดอยู่ตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีทั้งความรู้  มีคุณภาพ  มีความสามารถในการที่จะช่วยชี้นำให้คน เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นมนุษย์ที่เรียนรู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง  คนดี มีความสุข และที่สำคัญตองเป็นคนที่อดทน  เสียสละ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนจริงๆ เหมือนเช่นคุณพารณ และท่านอาจารย์จีระนั่นเอง

                                                                                                                                                ขอบคุณค่ะ

นางสาว อโณทัย  แก้วสำอางค์

นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์จีระ และผู้อ่านทุกท่านค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 ที่ดิฉันได้มีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog นี้ ซึ่งวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวที่ได้อ่าน “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ ดิฉันต้องขอบอกก่อนเลยว่า จากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกชื่นชมท่านทั้งสองมากขึ้นและรู้สึกว่าท่านทั้งสองนี้แหละคือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ตัวจริง หนังสือเล่มนี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักท่านทั้งสองมากขึ้นอีกมากเลยทีเดียว จากเมื่อก่อนที่เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านจากสื่อต่างๆมาบ้าง และจากการที่คุณพ่อของดิฉันเคยพูดถึงท่าน แต่ก็ไม่ละเอียด หรือจะเป็นท่านอาจารย์จีระซึ่งก่อนหน้านี้ก็รู้จักท่านจากการที่เคยได้ยินชื่อเสียง และจากการที่ท่านให้เกียรติมาสอนวิชา HR ให้เป็นครั้งที่2 แต่ก็ยังไม่รู้จักท่านในแง่ลึกจริงๆ แต่พอหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้ทราบอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับชีวิตของท่านทั้งสอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องวัยวุฒิแล้วถึงจะมีความแตกต่างกัน แต่ว่าท่านทั้ง 2 กลับมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน ซึ่งท่านทั้ง2 ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิต มุ่งมั่นและอดทนในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องบนรากฐานของความยั่งยืน โดยทั้ง 2 ท่านมี “ความเชื่อ” เหมือนกันคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร จึงทำให้ท่านทั้ง 2 ใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในการที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งคู่เชื่อว่าหากคนทั้งประเทศชาติของเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราจะสามารถยืนหยัด และแข่งขันในตลาดโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างแน่นอน จาการได้อ่าน“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของท่านทั้ง2 ทำให้ดิฉันได้เปิดมุมมอง และเปิดใจยอมรับในเรื่องของ HR มากขึ้น และตอนนี้ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับท่านทั้ง 2 ว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร และดิฉันคิดว่าในการพัฒนาคนนั้น สิ่งที่เรายังขาดอยู่ตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีทั้งความรู้ มีคุณภาพ มีความสามารถในการที่จะช่วยชี้นำให้คน เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นมนุษย์ที่เรียนรู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และที่สำคัญตองเป็นคนที่อดทน เสียสละ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนจริงๆ เหมือนเช่นคุณพารณ และท่านอาจารย์จีระนั่นเอง ขอบคุณค่ะ นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์จีระ และผู้อ่านทุกท่านค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 ที่ดิฉันได้มีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog นี้ ซึ่งวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวที่ได้อ่าน “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ ดิฉันต้องขอบอกก่อนเลยว่า จากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกชื่นชมท่านทั้งสองมากขึ้นและรู้สึกว่าท่านทั้งสองนี้แหละคือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ตัวจริง หนังสือเล่มนี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักท่านทั้งสองมากขึ้นอีกมากเลยทีเดียว จากเมื่อก่อนที่เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านจากสื่อต่างๆมาบ้าง และจากการที่คุณพ่อของดิฉันเคยพูดถึงท่าน แต่ก็ไม่ละเอียด หรือจะเป็นท่านอาจารย์จีระซึ่งก่อนหน้านี้ก็รู้จักท่านจากการที่เคยได้ยินชื่อเสียง และจากการที่ท่านให้เกียรติมาสอนวิชา HR ให้เป็นครั้งที่2 แต่ก็ยังไม่รู้จักท่านในแง่ลึกจริงๆ แต่พอหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้ทราบอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับชีวิตของท่านทั้งสอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องวัยวุฒิแล้วถึงจะมีความแตกต่างกัน แต่ว่าท่านทั้ง 2 กลับมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน ซึ่งท่านทั้ง2 ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิต มุ่งมั่นและอดทนในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องบนรากฐานของความยั่งยืน โดยทั้ง 2 ท่านมี “ความเชื่อ” เหมือนกันคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร จึงทำให้ท่านทั้ง 2 ใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในการที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งคู่เชื่อว่าหากคนทั้งประเทศชาติของเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราจะสามารถยืนหยัด และแข่งขันในตลาดโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างแน่นอน จาการได้อ่าน“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของท่านทั้ง2 ทำให้ดิฉันได้เปิดมุมมอง และเปิดใจยอมรับในเรื่องของ HR มากขึ้น และตอนนี้ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับท่านทั้ง 2 ว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร และดิฉันคิดว่าในการพัฒนาคนนั้น สิ่งที่เรายังขาดอยู่ตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีทั้งความรู้ มีคุณภาพ มีความสามารถในการที่จะช่วยชี้นำให้คน เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นมนุษย์ที่เรียนรู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และที่สำคัญตองเป็นคนที่อดทน เสียสละ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนจริงๆ เหมือนเช่นคุณพารณ และท่านอาจารย์จีระนั่นเอง ขอบคุณค่ะ นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์จีระ และผู้อ่านทุกท่านค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 ที่ดิฉันได้มีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog นี้ ซึ่งวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวที่ได้อ่าน “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ ดิฉันต้องขอบอกก่อนเลยว่า จากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกชื่นชมท่านทั้งสองมากขึ้นและรู้สึกว่าท่านทั้งสองนี้แหละคือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ตัวจริง หนังสือเล่มนี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักท่านทั้งสองมากขึ้นอีกมากเลยทีเดียว จากเมื่อก่อนที่เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านจากสื่อต่างๆมาบ้าง และจากการที่คุณพ่อของดิฉันเคยพูดถึงท่าน แต่ก็ไม่ละเอียด หรือจะเป็นท่านอาจารย์จีระซึ่งก่อนหน้านี้ก็รู้จักท่านจากการที่เคยได้ยินชื่อเสียง และจากการที่ท่านให้เกียรติมาสอนวิชา HR ให้เป็นครั้งที่2 แต่ก็ยังไม่รู้จักท่านในแง่ลึกจริงๆ แต่พอหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้ทราบอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับชีวิตของท่านทั้งสอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องวัยวุฒิแล้วถึงจะมีความแตกต่างกัน แต่ว่าท่านทั้ง 2 กลับมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน ซึ่งท่านทั้ง2 ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิต มุ่งมั่นและอดทนในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องบนรากฐานของความยั่งยืน โดยทั้ง 2 ท่านมี “ความเชื่อ” เหมือนกันคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร จึงทำให้ท่านทั้ง 2 ใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในการที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งคู่เชื่อว่าหากคนทั้งประเทศชาติของเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราจะสามารถยืนหยัด และแข่งขันในตลาดโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างแน่นอน จาการได้อ่าน“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของท่านทั้ง2 ทำให้ดิฉันได้เปิดมุมมอง และเปิดใจยอมรับในเรื่องของ HR มากขึ้น และตอนนี้ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับท่านทั้ง 2 ว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร และดิฉันคิดว่าในการพัฒนาคนนั้น สิ่งที่เรายังขาดอยู่ตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีทั้งความรู้ มีคุณภาพ มีความสามารถในการที่จะช่วยชี้นำให้คน เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นมนุษย์ที่เรียนรู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และที่สำคัญตองเป็นคนที่อดทน เสียสละ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนจริงๆ เหมือนเช่นคุณพารณ และท่านอาจารย์จีระนั่นเอง ขอบคุณค่ะ นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์จีระ และผู้อ่านทุกท่านค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 ที่ดิฉันได้มีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog นี้ ซึ่งวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องราวที่ได้อ่าน “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ ดิฉันต้องขอบอกก่อนเลยว่า จากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกชื่นชมท่านทั้งสองมากขึ้นและรู้สึกว่าท่านทั้งสองนี้แหละคือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ตัวจริง หนังสือเล่มนี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักท่านทั้งสองมากขึ้นอีกมากเลยทีเดียว จากเมื่อก่อนที่เคยได้ยินชื่อเสียงและผลงานของท่านจากสื่อต่างๆมาบ้าง และจากการที่คุณพ่อของดิฉันเคยพูดถึงท่าน แต่ก็ไม่ละเอียด หรือจะเป็นท่านอาจารย์จีระซึ่งก่อนหน้านี้ก็รู้จักท่านจากการที่เคยได้ยินชื่อเสียง และจากการที่ท่านให้เกียรติมาสอนวิชา HR ให้เป็นครั้งที่2 แต่ก็ยังไม่รู้จักท่านในแง่ลึกจริงๆ แต่พอหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้ทราบอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับชีวิตของท่านทั้งสอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องวัยวุฒิแล้วถึงจะมีความแตกต่างกัน แต่ว่าท่านทั้ง 2 กลับมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน ซึ่งท่านทั้ง2 ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิต มุ่งมั่นและอดทนในการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องบนรากฐานของความยั่งยืน โดยทั้ง 2 ท่านมี “ความเชื่อ” เหมือนกันคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร จึงทำให้ท่านทั้ง 2 ใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในการที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งคู่เชื่อว่าหากคนทั้งประเทศชาติของเราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราจะสามารถยืนหยัด และแข่งขันในตลาดโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างแน่นอน จาการได้อ่าน“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ของท่านทั้ง2 ทำให้ดิฉันได้เปิดมุมมอง และเปิดใจยอมรับในเรื่องของ HR มากขึ้น และตอนนี้ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับท่านทั้ง 2 ว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร และดิฉันคิดว่าในการพัฒนาคนนั้น สิ่งที่เรายังขาดอยู่ตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีทั้งความรู้ มีคุณภาพ มีความสามารถในการที่จะช่วยชี้นำให้คน เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว เป็นมนุษย์ที่เรียนรู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และที่สำคัญตองเป็นคนที่อดทน เสียสละ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนจริงๆ เหมือนเช่นคุณพารณ และท่านอาจารย์จีระนั่นเอง ขอบคุณค่ะ นางสาว อโณทัย แก้วสำอางค์
สวัสดีครับ อาจารย์ผมได้อ่านหนังสือของท่านอาจารย์แล้วครับ ได่อนบทที่ 1 คือ ทางชิวิตทั้งสองแชมป์ ได้เนื้อหาสาระหลายอย่างครับ ในการคิดที่จะก้าวไปสู้แชมป์  ซึ่งชอบความคิดที่ว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เพราะจากที่ผมคิดตาม โลกจากยุคดึกดำบันถึงยุคปัจจุบัน โลกมีเปลี่ยนแปลงหลายด้านเพราะมนุษย์ ทุกอย่างมนุษย์เป็นคนสร้างร่วมกับธรรมชาติ คุณ พารณ มีความคิด ที่เห็นคนเป็นสมบัติ เป็นทุนในองค์กร ถ้าคนในองค์กรพัฒนาในด้านความรู้การศึกษา จะแปรผันตรงกับองค์กร และพยายามสร้างคนในองค์กรมีคุณธรรม เคารพผู้ใหญ่ และมีศิลธรรมเพื่อจะได้เกิดความมีวินัยและความรักแองค์กร จะพัฒนาองค์กรด้านไหน ก็จะประสบผลสำเร็จ จนได้ประสบความสำเร็จในการทำงาน โดยท่านได้หลักการทำงานที่ดี ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานเริ่มแรก จึงมีพื้นฐานการจัดการ และบริหารงาน  จึงบริหารและจัดการบุคลากรในองค์กรเครือซิเมนต์ไทยทำให้องค์กรเจริญเติบโตได้ และมีความคิดริเริมสร้างสรรค์ ในความท้าทาย ในการปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพควบคู๋ไปกับการพัฒนาคนอย่างจริงจังจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่องส่วนท่านอาจารย์ มีคุณวุติที่สูง แล้วมีพื้นฐานที่ดีทางครอบครัวทั้งคุณพ่อคุณแม่ต่างรับใช้แผ่นดิน และผสมกับความมุ่งมานะ และมีคุณธรรม จึงพยายามจัดตั้ง สถาบันทัพยากรมนุษย์ เป็นผลสำเร็จและได้ทำการจัดตั้งสถาบันต่างๆจนถึงสถาบันระดับประเทศชาติที่เกี่ยวของกับทรัพยากรมนุษย์ การเดินทางไม่เหมือนกันแต่ก็มีจุดหมายเหมือนกัน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์                                                                                                                                ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางสาวปรียานันท์ ไทยงามศิลป์
 เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์
           จากที่อาจารย์ได้แนะนำหนังสือที่ดีมีคุณภาพและมีคุณค่ามากเล่มหนึ่งให้อ่านนั้น  
ดิฉันอ่านแล้วได้ประโยชน์อย่างมาก  ทำให้มองเห็นภาพถึงสิ่งที่อาจารย์บอกอยู่ทุกครั้งว่า
ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความสำคัญอย่างไร  และมีองค์กรหรือบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ได้ใช้
แนวความคิดแบบนี้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก  และทุกบริษัทก็ควรจะนำไปปฏิบัติด้วย
          โดยเนื้อแท้แล้ว  อยากให้ทุกองค์กรเห็นคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์
ที่มีอยู่ในองค์กรของตนให้มาก  เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่ทุกวันนี้เค้าทำงานให้กับคุณอยู่นั้น เป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร  เราควรจะให้การศึกษา บริหารจัดการ พัฒนาเค้า
ให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา  มีคำกล่าวไว้ว่า การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนของ
บริษัทมิใช่ต้นทุน  และเป็นผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร  ดังนั้นเราจะได้ผลกำไรมากเท่าไหร่
ก็อยู่ที่ว่าเราดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้อย่างจริงจัง
 สม่ำเสมอและเป็นระบบหรือไม่  นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างร่วมด้วยเช่น
 การทำงานที่ดีนั้นเราก็ต้องให้ทุกคนเอาความสามารถของแต่ละบุคคลออกมาให้มากที่สุด 
และเอาความสามารถของแต่ละคนมารวมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การมีทุนแห่งความสุข
และความสมดุล  รวมถึงวัฒนธรรมองค์กร  จากข้อคิดที่ได้จากคุณพารณ   ซึ่งคุณพารณเป็นคนเก่ง ดี อบอุ่นสามารถคุยกับคนได้ทุกระดับ ให้ความสนใจ ใส่ใจ และยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคน  รวมถึงการ
ให้โอกาสทางการศึกษานั้น คุณสมบัตินี้จะทำให้พนักงานทุกคนรวมถึงผู้ที่ร่วมงานกับคุณพารณนั้น
รักและจงรักภักดีคุณพารณมาก  และสิ่งที่กล่าวว่าเป็นคนมีการศึกษาดี เรียนดีอย่างเดียวนั้นไม่พอ
 ต้องเป็นคนดีมีจริยธรรมด้วยนั้นก็เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำได้เพราะการเป็นคนดีนั้นไม่ยากเลย
            อาจารย์จีระ ได้เสนอทฤษฎีไว้หลายทฤษฎี  ทั้งทฤษฎี 4L's  (Learning methodology,
 Learning environment, Learning opportunity, Learning community) ทฤษฎี 3 วงกลม
ซึ่งเป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือ Changing Management  และยังเป็น
หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและมีความโปร่งใส ก้าวไปสู่การทำงานเป็นทีม  ทำให้รู้ว่าคนเราเก่งอย่างเดียวไม่ได้  ต้องมีความสามารถด้วยจึงจะเป็นคนที่มีศักยภาพ(Personel competency)  และทฤษฎี 8 K's โดยเน้นถึงทุนแห่งความสุข ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง
เราทุกคนมักจะทำสิ่งต่างๆ ที่ตนเองอยากทำและมักจะทำได้ดีและนานเมื่อตนเองมีความสุขที่จะทำ
              เมื่อการพัฒนามนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญแต่มักจะไม่ประสบความสำเร็จ  ซึ่งอาจารย์จีระก็ได้วิเคราะห์ไว้ว่า  เกิดจากการลงทุนในด้านนี้นั้นจะให้ผลตอบแทนในระยะยาวและใช้เวลาซึ่งโดยนิสัยคนไทยก็มักจะต้องการเห็นผลในทันตา ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ 
 และการลงทุนด้านนี้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน  แต่ถ้าผู้นำมีความอดทน
 มุ่งมั่น กระทำอย่างต่อเนื่อง ดิฉันเชื่อว่า ผู้นำจะต้องรับมือกับผลตอบแทนที่จะย้อนกลับคืนมาไม่ไหวเลยทีเดียว
                นอกจากนี้อาจารย์จีระ ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาของเด็กไทย 
ให้พร้อมสู่การเป็น Global Citizen อีกด้วย 
น.ส.สุพัชชา ขับกล่อมส่ง
เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน                  ดิฉันรู้สึกประทับใจและดีใจที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ที่อาจารย์จีระได้กรุณาแนะนำให้พวกเราได้อ่าน  พออ่านแล้วทำให้ดิฉันมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น  จากเดิมที่ยังมีข้อสงสัยอยู่บ้างก็ได้รับการเติมในส่วนนั้นลงไปให้เข้าใจยิ่งขึ้น  เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่ามันยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น    ประเด็นต่าง ๆ ก็จะมุ่งเน้นถึงความสำคัญและแนวทางที่เกี่ยวโยงไปถึงมนุษย์  ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร  การมองการทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ในแบบเดิม ๆ ที่เน้นการสรรหาบุคคล  ระบบเงินเดือน  สวัสดิการ โบนัส ประกันสังคม  คงใช้ไม่ได้กับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่อยู่ในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงเช่นในปัจจุบัน  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรเปลี่ยนบทบาทมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร  โดยการสร้างพนักงานขององค์กรให้เป็นคนที่เก่ง และดี ควบคู่กันไป  เพื่อให้องค์กรมีบุคลากรที่มีศักยภาพทำให้องค์กรสามารถพัฒนาและเจริญก้าวหน้าต่อไป                  การที่องค์กรเน้นที่จะสร้างคนเก่งควบคู่กับคนดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ  เคยมีคนถามว่า  คนเก่งแต่ไม่ดี  กับคนดีแต่ไม่เก่ง  ใครอันตรายกว่ากัน  ดิฉันคิดว่า  อันตรายพอ ๆกัน  เพราะคนเก่ง  หากเป็นคนไม่ดี ก็จะใช้ความเก่งไปในทางที่ไม่ดี  ส่งผลเสียต่อองค์กร  ส่วนคนดีแต่ไม่เก่ง  เขาก็อาจจะทำสิ่งต่างๆ ผิดพลาดเนื่องจากความไม่รู้ ไม่ชำนาญทำให้องค์กรเกิคความเสียหายได้มากเช่นกัน  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้บุคคลในองค์กรเป็นทั้งคนเก่ง และคนดี  ดังที่คุณพารณได้กล่าวถึงในแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของปูนซิเมนต์ไทย  ซึ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี  เพื่อให้องค์กรมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร  ทำให้องค์กรมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าต่อไป                เพิ่งทราบจากหนังสือเล่มนี้ว่าอาจารย์จีระ มีส่วนสำคัญในการผลักดันกฎหมายแรงงาน  และประกันสังคม  ดิฉันคิดว่าเป็นแนวทางที่ดีมาก ๆ เพราะกฎหมายแรงงานจะได้เป็นตัวเชื่อมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  สร้างความยุติธรรม  และผลประโยชน์ที่ดีร่วมกันทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการกำหนดราคาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ไม่ให้นายจ้างได้เปรียบ  หรือลูกน้องเสียเปรียบเกินไป ขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเสียไปจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น  แต่ดิฉันเห็นว่า  ปัจจุบันนี้ราคาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจะต่ำกว่าความเป็นจริงของสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่มาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ค่าครองชีพสูงขึ้น สินค้ามีราคาแพงขึ้น  ดังนั้นเมื่อรายได้ต่ำก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และจะส่งผลต่อสังคมด้านอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นน่าจะปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันมากขึ้น                คุณพารณ ได้กล่าวถึง Global Citzen  ว่าเราต้องสร้างเด็กไทยให้มีความพร้อมกับการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก  คือ  ต้องคล่องแคล่วในเรื่อง ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี  โดยอาจารย์จีระ  ได้เพิ่มเติมในส่วนของ  คุณธรรมลงไปด้วย  ดิฉันคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดที่ดีมาก ๆ แต่จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  ดิฉันเห็นว่าประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้ครบถ้วนตามที่กล่าวไว้  เช่น  ภาษาอังกฤษ  เด็กไทยเรียนภาษาอังกษตั้งแต่เด็กจนโต รวมแล้วสิบกว่าปี  แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ยังพบว่า  คนไทยก็ยังอ่อนภาษาอังกฤษอยู่  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระบบการสอนวิชานี้ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ  จริง ๆ แล้วน่าจะเริ่มจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน  แต่เท่าที่จำได้เราเริ่มเรียนเขียน อ่าน ตั้งแต่ยังพูดหรือฟังไม่รู้เรื่องเลย  และอีกอย่างที่ดิฉันเห็นคือ นักเรียนรุ่นปัจจุบันนี้ถูกสอนเน้นด้าน เทคโนโลยีเกินไป  แต่ไม่สนใจด้านคุณธรรม จริยธรรมแล้ว  มีน้องที่เรียนมัธยมเล่าให้ฟังว่า  บางโรงเรียนเน้นสอนแต่วิชาที่เป็นหลัก ๆ เช่น คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ส่วนวิชาสังคม จริยธรรม พุทธศาสนา  กลับให้เรียนเป็นเพียงวิชาเลือกเสรี  แค่ไม่กี่หน่วยกิต  จะเห็นว่าผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการศึกษาของนักเรียน เน้นเฉพาะด้านวิชาการเพื่อเสริมสร้างถึงเทคโนโลยี  แต่กลับไม่สนใจเรื่อง  คุณธรรม จริยธรรมเลย  แล้วอย่างนี้จะให้เยาวชนของชาติมีคุณภาพครบทุกด้านอย่างที่สังคมต้องการได้อย่างไร                 ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นองค์กร   เด็กก็เป็นทรัพยากรรุ่นใหม่ขององค์กร  เขาจึงควรได้รับการพัฒนาให้ครบทุกด้าน  ด้วยความเอาจริงเอาจัง เอาใจใส่ และสม่ำเสมอ  จากผู้เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี  มีคุณภาพต่อไป                อาจารย์จีระยังได้กล่าวในเรื่องของทุน  โดยแบ่งเป็น 8 ทุน  โดยทุนแต่ละตัวย่อมมีความสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน   ทุนมนุษย์ นั้นควรเน้นการให้การศึกษาเพื่อให้มนุษย์มีความรู้  ทั้งนี้ต้องเสริมทุนทางปัญญา ด้วย  คือ  ต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็น  ที่สำคัญคือ ต้องมีทุนทางจริยธรรมด้วย  ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการเสริมสร้างทุนตัวนี้ เพราะในปัจจุบันจะเห็นว่าคนขาดทุนในเรื่องนี้มาก  ทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย และพัฒนาไปได้ยากเพราะคนขาดคุณธรรม จริยธรรม  ดังนั้นควรเสริมสร้างให้กับพนักงานในองค์กร  รวมทั้งควรเสริมสร้างตั้งแต่เริ่มแรก คือ จากครอบครัว  ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง                คุณพารณ  เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้บริหารที่น่าชื่นชม   ตัวท่านทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้พนักงาน สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะการทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีนั้นย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานในการที่จะปฏิบัติตาม  ท่านสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน  ท่านทำให้พนักงานมีกำลังใจ  มีการกระตุ้นให้แรงเสริมในทางบวกแก่พนักงาน ทำให้พนักงานมีความเต็มใจในการทุ่มเทกำลังเข้าทำงาน  สิ่งนี้ดิฉันประสบมาด้วยตัวเอง  ดิฉันมีหัวหน้าโดยตรงอยู่ สองคน  คนแรกมักยึดเอาความคิดของตัวเป็นหลัก  ให้ความสำคัญกับลูกน้องแค่ลักษณะผิวเผิน    มุ่งเน้นแต่เรื่องงาน  ส่วนอีกคนให้ความเป็นกันเอง  ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง  ให้ความชื่นชมและความสำคัญต่อผลงานแม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ  ดิฉันรู้สึกว่าการทำงานให้เจ้านายคนแรกนั้นก็เพราะหน้าที่ จบงานก็คือจบ  แต่สำหรับเจ้านายอีกคน  ดิฉันกลับรู้สึกว่าทำงานด้วยความต้องการที่จะให้งานออกมาดี ทำด้วยความตั้งใจและทุ่มเทเต็มที่ อยากให้เขารู้สึกดีใจในผลงานที่ดีของดิฉัน  จะเห็นได้ว่า  การปฏิบัติต่อลูกน้องที่ต่างกันของเจ้านายสองคน  ส่งผลต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างจากลูกน้องจริง ๆ                ดิฉันคิดว่าอาจารย์จีระ เองก็มีความพยายามในการสร้างแรงจูงใจ และสริมกำลังใจแก่นักศึกษาในชั้นเรียนเช่นกัน  จะเห็นได้ว่าเมื่อนักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น  อาจารย์จะชมและให้กำลังใจเป็นอย่างมาก  ทำให้นักศึกษารู้สึกมั่นใจในความคิด ความสามารถของตน  ทำให้กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เกิดความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น  ในการทำงานก็เช่นกัน  ถ้าหัวหน้าให้กำลังใจและกระตุ้นพนักงานในลักษณะนี้  ย่อมทำให้พนักงานมีความกล้าที่จะแสดงศักยภาพและความสามารถของตัวเองออกมา  ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์จากตัวพนักงานเต็มที่                  บรรยากาศในองค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน  ระบบราชการมักมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย  บางเรื่องก็เป็นสิ่งเกินจำเป็น ทำให้พนักงานไม่มีความเป็นอิสระในการทำงาน การคิด  และตัดสินใจต่าง ๆ ตรงข้ามกับหน่วยงานเอกชน  ซึ่งมีอิสระในการทำงานมากกว่า  ส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  นำศักยภาพในตัวเองออกมาใช้งานได้อย่างเต็มที่  ดังนั้นบรรยากาศในการทำงานถือเป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพ  ควรสร้างบรรยากาศที่น่าทำงาน  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ                จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ยังให้ข้อคิดอีกประการที่สำคัญ  โดยทั้งอาจารย์จีระ  และคุณพารณ  มักเน้นย้ำอยู่เสมอว่า  ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่ามากในองค์กร  องค์กรควรส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่เสมอ   ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ควารมุ่งเน้นในการพัฒนาพนักงานอยู่เสมอ ดังนั้น  ถ้าเรามองในแง่กลับกันว่า  ในเมื่อตัวพนักงานเองทราบแล้วว่าตัวเองเป็นสิ่งมีค่าในองค์กร องค์กรจะพัฒนาได้ดีหรือไม่ขึ้นกับคนในองค์กร  ดังนั้นพนักงานเองก็ควรเห็นคุณค่าในตัวเอง  พยายามพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  ไม่ต้องรอให้ HR มาช่วยเพียงอย่างเดียวแต่ให้  ตั้งใจทำงาน  ศึกษางานทั้งในส่วนของตัวเอง  และส่วนที่เกี่ยวข้อง ใฝ่รู้อยู่เสมอ  พยายามเพิ่มมูลค่าให้ตัวเอง ก็ย่อมส่งผลดีต่อตัวพนักงานเอง  และส่งผลดีสืบเนื่องไปถึงองค์กรต่อไป
นายสุทธิพงศ์ คงขาว

เรียน อาจารย์ดร. จีระ ที่เคารพ

                ผมเป็นนักศึกษาป.โท สาขาการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมีสิ่งที่ได้รับจากการเรียน จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ ดร. จีระในวันที่ อาทิตย์ ที่ 18 มิถุนายน  2549 อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  หลังจากอ่านทำให้ผมทราบผลงานของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  ว่าท่านได้เข้ามาทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ บริษัทเครือซิเมนต์ไทยได้ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์โดยจัดแบ่งงบมาประมาณมา Training  ทำให้ทรัพยากรมนุษย์มูลค่าเพิ่ม(Value added) ส่วนงานที่ทำให้สังคมไทยพัฒนาทางด้าน Learning Organization เช่น ทำความร่วมมือกับ  MIT  ให้มีการสอนแบบ Constructionism  เพื่อให้นักเรียนสามารถฝึกทักษะและเรียนรู้โดยมีการดำเนินการที่  โรงเรียนดรุณสิกขาลัย  และโรงเรียนบ้านสันกำแพง ซึ่งเป็นต้นแบบของ e-school   และทราบถึงแนวความคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของคุณพารณอย่างคร่าวๆ โดยใช้                -  หลัก ทฤษฏี 4L’s พารณ  เพื่อสร้าง Learning Organization-  เก่ง 4 ได้แก่    เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และ เก่งเรียน  -  การทำงานเป็นทีม โดยถือคติ สองหัวดีกว่าหัวเดียว -   บันไดแห่งความเป็นเลิศ (PDCA->Priority focus-> สร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม -> ทุกโครงการต้องมีเจ้าของ (Ownership)  -   Global  Citizen ฯลฯ          ส่วนอาจารย์ ดร. จีระ  มีผลงานทางด้านการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยเป็นผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนแรก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เคยได้ทุนวิจัยแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติจากาสภาพัฒน์ๆ นานหลายปี  และมีแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์-          หลักทฤษฎี 4 L’s จีระ  เพื่อสร้าง Learning Organization-          ทฤษฏี  8K-          ทฤษฏี 3 วงกลมเป็นสูตรรับมือการเปลี่ยนแปลง( Context , Competenciesc และ Motivation) ฯลฯ           จากการอ่านทำให้ผมมีแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้น โดยการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่ทำงานเช่นให้ทีมงาน Share Idea กัน
นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก

เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนนักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทุกท่าน

กระผมนายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากการที่ได้เรียนรู้กับอาจารย์เมื่อวันที่25มิถุนายน ที่ผ่านมาทำให้ทราบถึงการคิดนอกกรอบนั้นมีประโยชน์อย่างไรในการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าอย่างสูงสุดในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านเช่น พลังงาน,การศึกษา,การลงทุนและสภาพแวดล้อมเป็นต้น แนวทางในการคิดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆต้องมีการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆโดยอาศัยแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นพื้นฐานในการจัดการและพัฒนาสู่ความยั่งยืนและการที่จะทำให้สำเร็จได้ต้องมีทุนของมนุษย์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งแบ่งได้ 5 ทุน ได้แก่

1.innovation capital ทุนทางนวัตกรรม หมายถึงกลยุทธ์หรือยุทธวิธีในการพัฒนาปรับปรุงสิ่งต่างๆที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วให้เกิดมูลค่าเพิ่มมีความรู้ใหม่ๆที่เป็นระบบสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และประสบความสำเร็จได้อย่างสูงสุด การที่จะได้มาซึ่งทุนทางนวัตกรรมนั้นต้องมีการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีระบบแบบแผนที่ชัดเจน คิดเป็นทำเป็น วิเคราะห์เป็นเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางนวัตกรรม

2.creativity capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ เป็นทุนที่ได้จากความคิดแปลกๆใหม่ๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติและสังคมมนุษย์ให้มีประโยชน์สูงสุดสอดคล้องกับจริยธรรม และคุณธรรมที่ดี

3.knowledge capital ทุนแห่งความรู้ เป็นทุนที่ได้จากการแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมมีการแบ่งปันความรู้ที่ได้มาให้กับสังคมเพื่อที่จะนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถนำไปวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

4.cultural capital ทุนทางวัฒนธรรม เป็นทุนที่เกิดจากมนุษย์อย่างแท้จริงและยิ่งใหญ่ที่สุด บนพื้นฐานของสังคมที่มีความแตกต่างและหลากหลายในสภาพแวดล้อมของตนเองเป็นจุดกำเนิดเอกลักษณ์ที่ต้องดำรงค์รักษาเอาไว้เป็นสมบัติของชาติสืบเนื่องต่อไปในขณะที่สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การที่จะได้มาของทุนทางวัฒนธรรมได้นั้นเป็นสิ่งมีความละเอียดอ่อนอย่างมากในการทำให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สิ่งเหล่านี้เกิดจากสภาวะด้านจิตใจที่มุ่งมั่นทำ "ทำด้วยจิตใจที่ดีงาม" บนพื้นฐานของการเป็นตัวเป็นตนของตัวเองไม่ต้องลอกเลียนแบบมาจากใคร

5.emotional capital ทุนทางอารมณ์เป็นทุนแห่งความรู้สึกที่เกิดจากสภาวะจิตใจของแต่ละคนที่มีอยู่ในตนเองในแต่ละสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นที่มีทั้งดีและไม่ดี การที่จะได้มาทุนทางอารมณ์นั้นต้องไม่ประมาทความรู้สึกของตัวเองให้ยึดมั่นถือมั่นในทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อช่วยจรรโลงจิตใจให้ใสสะอาดมีจิตใจที่ดีงามบำบัดอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุและสภาพแวดล้อมบนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะพัฒนาประเทศชาติและสังคมให้ประสบความสำเร็จ อยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างเป็นส่วนประกอบแต่ที่สำคัญที่สุดคือ"ทรัพยากรมนษย์"ที่มีคุณค่าและมีคุณภาพโดยมีทุนมนุษย์เป็นแนวทางในการพัฒนา

ประโยชน์ของทุนมนุษย์ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถนำไปคิดใหม่ทำใหม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเพื่อความสำเร็จขององค์กรให้มีความยั่งยืนตลอดไป

กรรม

นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก

เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนนักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทุกท่าน

เรื่องขอแก้คำผิดในประโยคสุดท้าย ว่าด้วยคำนวัตกรรมที่ตกหล่นเหลือแต่คำว่านวัตแต่คำว่ากรรมไปจัดอยู่ใต้สุดของบทความ ดังนั้นข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นเจ้าของบทความนี้ต้องขออภัยที่เกิดการผิดพลาดมาในบทความดังกล่าว

ด้วยความเคารพ

  นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก

เรียนท่านอาจารย์จีระที่เคารพ   ทฤษฎี 5 K ผมขอวิเคราะห์ที่มาตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา (หลักเหตุ และผล) เรื่องอริยสัจ 4  คือ ทุกข์(การมีอยู่ของทุกข์) สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์)และมรรค (หนทางแห่งการดับทุกข์)  หากนำมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ ในการใช้ชีวิตจริง และการทำงานด้านต่างๆน่าจะได้ดังนี้
  1. ประเทศชาติ หรือองค์กรทางธุรกิจประสบปัญหากิจการขาดทุน สินค้าขายไม่ได้ตามเป้าหมาย  การแข่งขันสู้ต่างชาติไม่ได้ ประชาชนยังยากจน และขาดความรู้ ส่งผลให้ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต ซึ่งก็คือทุกข์ ของประเทศชาติหรือองค์กร
  2. การที่ประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดการพัฒนาไม่ยั่งยืน หรือว่าองค์กรกำลังประสบปัญหาในการดำเนินกิจการต่างๆ อยู่ เช่น กิจการสู้คู่แข่งไม่ได้ ต้นทุนสูง ส่วนแบ่งทางการตลาดหดหายไป วางแผนทางธุรกิจผิดพลาด ประเมินความสามารถทางการแข่งขันไม่ถูกต้อง ประชาชนหรือพนักงานในองค์กรขาดความรู้ และทักษะในการทำงาน ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็คือ สมุทัย เป็นเหตุแห่งทุกข์ของประเทศชาติและองค์กร
  3. การที่ประเทศชาติแข่งขันได้อย่างยั่งยืนประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขในชีวิต หรือองค์กรมีการพัฒนา มีการเจริญเติบโต ร่วมสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ ซึ่งก็คือการดับทุกข์หรือ นิโรธ นั่นเอง
  4. เมื่อต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ วิธีการหรือเครื่องมือที่จะช่วยให้ทำแล้วประสบผลสำเร็จ ก็คือ มรรค หรือหนทางแห่งการดับทุกข์
ในทางพุทธศาสนาใช้หนทางของมรรค 8 ในการดับทุกข์ สำหรับทางโลก ผมมองว่าทฤษฎี 5 k น่าจะนำมาใช้เป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาของการประกอบการ หรือทุกข์ของประเทศชาติ ขององค์กรได้ โดยทุนที่จะต้องสร้างให้มีก่อนและต้องรักษาไว้ให้อยู่กับองค์กรหรือชนในชาติตลอดไป คือ ทุนทางวัฒนธรรม(Cultural Capital)  เนื่องจากเป็นทุนที่ต้องใช้เวลาสั่งสมมานาน เป็นเอกลักษณ์ที่ลอกเลียนแบบได้ยาก ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นว่าประเทศชาติหรือองค์กรของเรามีจุดแข็งเรื่องอะไร จากนั้นจึงพยายามสร้างทุนแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Capital) อย่างต่อเนื่องให้เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กรหรือประชาชนในชาติ  เมื่อมีความรู้สิ่งที่จะตามมาคือ การทำงานหรือประกอบอาชีพอย่างสร้างสรรค์ พยายามคิดหรือแก้ไขปรับปรุงงานผลงานตัวเองให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา(Creativity Capital) ส่งผลให้ประเทศชาติหรือองค์กรที่คนคนนั้นอาศัยอยู่ มีการคิดปรับปรุงพัฒนางาน หรือการสร้างสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นตลอดเวลา องค์กรหรือประเทศนั้น ก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยหรือแปลกๆใหม่ๆ (Innovation Capital)มาเป็นจุดขายได้อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้ทุนทั้งสี่ทุนข้างต้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าขาดทรัพยากรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้เกิดทุนทั้งหมดนั่นคือ คน เนื่องจากการบริหารจัดการ การประสานงาน สั่งงานต่างๆจะต้องอาศัยทุนทางอารมณ์(Emotional Capital) ให้สามารถนำมาใช้ในการทำงานร่วมกัน รู้จักการให้อภัยกัน การเคารพในการตัดสินใจ การแสดงความคิดเห็น เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคน หรือรู้จักการทำงานเป็นทีมที่ดีได้

            ความเกี่ยวข้องของทุนทั้ง 5 ทุน กับด้าน Food Science ผมคิดว่าประเทศหรือองค์กรจะเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้อย่างยั่งยืน บุคลากรด้านนี้จะต้องมีการคิดและนำทุนทั้ง 5 ไปใช้ อย่างครบถ้วนจึงจะคิดหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับแข่งขันในโลกปัจจุบันได้ ตัวอย่างงานที่ผมมองว่ามีการคิดโดยการนำทุนทั้ง 5 มาใช้คือการเกิดขึ้นของ บริษัทบ้านไร่กาแฟ ที่นำการขายกาแฟแบบทั่วๆไปมาประยุกต์เข้ากับทุนทางวัฒนธรรมของไทยที่มีคือ รูปแบบร้านที่เป็นบ้านทรงไทย มีดนตรีไทยเป็นจุดขาย จนประสบความสำเร็จ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ผมอยากเสนอเพิ่ม ทุน ที่ควรสร้างให้เกิดกับคนไทยมากๆ คือ  ทุนแห่งความมั่นใจ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย  เพื่อสร้างตราสินค้าไทยให้ก้องโลก

                                                                                                           ขอบคุณครับ                                                                                                                ประชา 
น.ส. พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ ที่เคารพ

ดิฉัน น.ส.พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ปี 1ตามที่อาจารย์ได้ให้หัวข้อในการวิเคราะห์ ทฤษฎี 5 K ตามความคิดและความเข้าใจถึงที่มาและการนำไปเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์นั้น ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้ว่า



Innovation capital ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีต่างๆ ทัศนะคติความคิดของคนที่มุ่งไปสู่การพัฒนาที่เป็นเลิศ ทุกๆการกระทำที่นำมาซึ่ง แนวทางการพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ๆที่ดีกว่าเดิม ย่อมเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่สนใจ และเข้าไปศึกษาในแนวทางการกระทำนั้นๆเพื่อนำส่วนที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับองค์กรหรือประเทศที่เราอยู่ นำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดประสิทธิ์ภาพสูงสุด

 

Creativity capital บุคคลทุกคนย่อมมีความคิดเป็นของตัวเอง และความคิดนั้นๆย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามา เวลาและประสบการณ์เป็นส่วนสำคัญและเป็นฐานแห่งความคิดเพื่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ นำไปสู่การกระทำเพื่อพัฒนา องค์กรและประเทศให้สามารถดำรงอยู่ได้กับสภาวะการณ์ต่างๆของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


Knowlegde capital องค์ความรู้เกิดจากสิ่งต่างๆรอบๆตัวเกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามา เราสามารถเรียนรู้มันได้ในทุกเวลาที่เราพร้อมจะเปิดใจยอมรับและคิดตาม เพื่อนำมาพัฒนาและปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เหนือสิ่งอื่นใดมันอยู่กับ การยอมเปิดใจ ที่จะรับ และเรียนรู้ เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาต่อตัวเอง ครอบครัว องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป

 



Cultural capital สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศบนโลกยอมมีความแตกต่างกัน ก่อนที่จะเริ่มต้นทำอะไร สิ่งที่สำคัญคือการศึกษาและหาข้อมูลของประเทศนั้นๆก่อน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยังคงยืดถือและปฏิบัติตามวัฒนธรรม ประเพณีในแบบดั่งเดิม การที่จะยอมรับในการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น บนโลกมันจึงต้องใช้เวลา และทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ในการกระทำที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงในทางที่ดี เช่นเดียวกับในองค์กรต่างๆก็มีวัฒนธรรม ภายในองค์กร การที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนให้ไปสู่สิ่งใหม่ๆที่ดีกว่า ย่อมเป็นการยากที่จะทำ ภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการที่จะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงอะไร จำเป็นที่ต้อง ศึกษา หาข้อมูลและทำมัน อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไปสู่จุดที่เราตั้งไว้ โดยมีเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ถึงผลงานการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นขององค์กร

 

Emotional capital การขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารหรือผู้นำ นั้นมันคงไม่ยาก แต่การจะเป็นผู้บริหารหรือผู้นำที่ดีนั้น มันคงไม่ง่ายแน่ มีผู้นำและผู้บริหารหลายคนที่ต้องผิดพลาดในการบริหารงาน เพราะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล คนเก่งหลายคนมักจะประสบกับปัญหาด้านอารมณ์ เพราะคิดอยู่เสมอว่าสิ่งที่คิดและทำมันถูกต้องแล้ว และมักจะไม่ยอมรับกับสภาวะการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์กรหรือสังคมที่อยู่ นั้นเป็นเพราะเขายังขาดประสบการณ์ ประสบการณ์และเวลาจะสอนให้รู้จักคำว่ายั้งคิด รู้จักรุก ตั้งรับ และถอยเมื่อจำเป็น ตามสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้สติพิจารณา

ทฤษฎี 5 K ของอาจารย์ ดร.จีระ นั้นถ้าให้ดิฉันตั้งข้อสังเกตุ สำหรับตัวดิฉันเองคิดว่า ทุกๆข้อล้วนมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์และเวลา ที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ให้เกิดความมีสติ คิด พิจารณา ถึงเหตุและผล ในการทำงานและการดำเนินชีวิตต่อไป

                                                                                 ด้วยความเคารพ

นางสาวจุฑาวรรณ เทพลิบ
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  และเพื่อนนักศึกษาทุกคน  ดิฉันนางสาวจุฑาวรรณ  เทพลิบ  นักศึกษาปริญญาโท  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจากการเรียนในวันที่  25  มิ.ย.ที่ผ่านได้เรียนเรื่องทฤษฎี 5 k’s  และได้นำมาวิเคราะห์  ดังนี้1.  Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม - เป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งโดยเฉพาะเทคโนโลยีต่าง ๆ  หากหยุดนิ่งแล้วจะไม่เกิดการพัฒนา  การที่จะเกิดนวัตกรรมขึ้นมาได้ต้องมาจากคนบวกกับการใช้ความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นระบบจึงจะเกิดผลงานใหม่ ๆ ขึ้นมาได้2.   Creativity  Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์  -  เป็นการสร้างแนวคิดที่ไม่เหมือนใครแต่ต้องสร้างสรรค์และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่จึงจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติ3.     Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้  -  ความรู้เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตและตลอดเวลา  โดยไม่มีที่สิ้นสุด  ไม่ใช่แค่รับปริญญาแล้วก็จบ  ประสบการณ์บางอย่างไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน  ทั้งที่มีจากประสบการณ์ทางตาง(ตนเอง)และประสบการณ์ทางอ้อม(คนรอบข้าง)  เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบและนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่  หรือไม่ก็อาจมา  share  ความรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์แล้วนำมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป4.   Cultural  Capital  ทุนทางวัฒนธรรม  -  วัฒนธรรมกับประเพณีมักจะอยู่คู่กันเสมอ  แต่วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันมีเอกลักษณ์เฉพาะตนไม่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานใดที่เป็นตัวตัดสินว่าถูกหรือผิด  บางองค์กรอาจมีวัฒนธรรมแบบไทยบางองค์องอาจมีวัฒนธรรมแบบเมืองนอก  ซึ่งเราก็ต้องปรับตัวให้ได้กับสภาพความเปลี่ยนแปลง5.    Emotional  Capital  ทุนทางอารมณ์  -  ยิ่งสูงยิ่งหนาว  จะใช้ได้แน่ ๆกับผู้บริหารที่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล  บ่อยครั้งที่เราพบผู้บริหารที่บริหารงานเก่งแต่ไม่เคยบริหารอารมณ์ของตนเลย  ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่(บางครั้งความคิดนั้นมันผิดก็ได้)โดยไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้นต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน  จึงจะเป็นทีมเวิร์คที่ดีและงานก็จะประสบผลสำเร็จ ทฤษฎี 5 k’s  หากใช้กับองค์กรและระดับประเทศน่าจะส่งผลดีอย่างแน่นอนเพราะประเทศไทยเราเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างมากมายจนปัจจุบันนี้วัฒนธรรมบางอย่างเลื่อนหายไปบ้างแล้ว  เอกลักษณ์ของเราป็นหนึ่งเดียวในโลก  หากมีนวัตกรรมให้ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า  ดิฉันเชื่อว่าสินค้านั้นพร้อมที่จะ  go  inter  อย่างแน่นอน
นางสาวพรชนก สุขอาจ
กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ   และสวัสดีเพื่อนนักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทุกท่านดิฉัน นางสาวพรชนก สุขอาจ  นศ.ปริญญาโท  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบังจากการได้รับโอกาสที่ดีเข้ามาในชีวิต คือการได้มีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์  แม้เพิ่งจะเริ่มเรียน แต่ก็ทำให้เกิดแนวความคิดว่า... ชีวิตของคนเรา นั้นก็เหมือนต้นไม้ ต้นไม้ ต้นหนึ่งๆประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 2 ส่วน  คือราก และ ระบบลำเลียง โดยถ้า ราก มีความแข็งแรง  รากนั้นก็จะสามารถ  ชอนไช หาแร่ธาตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วส่งต่อไปยัง ระบบลำเลียง ที่ทรงประสิทธิภาพ ก็จะยิ่งทำให้ต้นไม้  ต้นนั้น  สามารถยืนต้นและแตกกิ่งก้าน ขยายให้ร่มเงา   เป็นประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้อาศัย และเป็นที่พักผ่อน (ในร่มเงาที่เกิดขึ้น)เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์  มนุษย์ก็ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือร่างกาย และ จิตใจ  ถ้าเราสามารถทำให้ทั้ง 2 ส่วนมีประสิทธิภาพสมดุลย์  เราก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง และสังคม (ทางบวก) ได้เช่นเดียวกับร่มเงา ของต้นไม้เริ่มจากทำให้ร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพได้โดย บริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่  และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายก็จะแข็งแรง เหมือนรากต้นไม้  ที่พร้อมชอนไชหาแร่ธาตุต่างๆ ในดิน หรือก็คือการทำให้ร่างกายเกิดพร้อมในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอส่วนทางด้านจิตใจ เราสามารถทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้โดย ใช้อาหารธรรมะ คือ การมีสติ  สมาธิ  ศีล และปัญญา มาเป็นตัวทำให้เรารู้เท่าทันความเป็นจริงของชีวิต และโลก จนสามารถเห็นถึงความไม่เที่ยง  ปล่อยวาง เช่นตัวอย่าง เรื่องการทำงาน  ก็คือรับผิดชอบ แต่ไม่ยึดติดติดอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ด้วยเหตุนี้ ทำให้เรามีชีวิตอย่างไม่เครียด   เข้าใจความจริง  รู้เป้าหมายของชีวิตอย่างชัดเจน  และสุดท้ายสำคัญมาก คือ เกิดความสุข  ในการที่จะทำสิ่งต่างๆ    ซึ่งตรงส่วนจิตใจนี้  เปรียบได้กับ  ระบบลำเลียงของต้นไม้ที่มีหน้าที่กระตุ้นให้รากดูดแร่ธาตุในดินขึ้นมาใช้ประโยชน์   เช่นเดียวกับจิตใจที่มีความสุข  ก็จะสามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความต้องการอยากใฝ่รู้ด้วยใจสนุก  และความมุ่งมั่นในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ  พร้อมทั้งเกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ                 สรุป คือ ถ้าเราสามารถทำให้ทั้ง 2 ส่วนนี้สมดุลกัน เราก็จะมีพลังขับเคลื่อน พลังใจ ในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ ก้าวข้ามอุปสรรคได้อย่างมั่นใจ และมีความสุข แล้วต่อมา ดิฉันขอใส่ปุ๋ย  เพื่อให้ต้นไม้แตกกิ่งก้านให้ร่มเงา หรือก็คือ...เปรียบได้กับการเพิ่มมูลค่าในตัวมนุษย์   ซึ่งจะใช้ปุ๋ย “5K”   ที่ประกอบไปด้วย1.ทุนทางอารมณ์ (Emotional  Capital) : การพยายามรักษาสภาพทางอารมณ์ให้สามารถระงับความโกรธ อย่าพูดอะไรตามอารมณ์โกรธ  ตามภาษิตจีน ที่ว่า  ถ้าท่านอดทนต่อความโกรธเพียงชั่วครู่ได้  ท่านจะหลีกเลี่ยงจากความโศกเศร้าได้ถึง 100 วัน  (ไม่ก่อปัญหาเพิ่มนั่นเอง)2.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital) :   ประเทศแต่ละประเทศก็ต่างมีวัฒนธรรม ที่เฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์งดงาม  ถ้าเราสามารถนำจุดนี้  มานำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะเพิ่มมูลค่าตรงจุดนี้ให้เพิ่มขึ้น3. ทุนทางความรู้  (Knowledge Capital) :  หมั่นแสวงหาความรู้ใส่ตัวอย่างสม่ำเสมอ  มิให้ขาด เพื่อที่เราจะได้พัฒนาตัวเองได้ทุกๆวัน  จนสามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างความประสบความสำเร็จ4. ทุนแห่งการสร้างสรรค์  (Creativity Capital) :  เป็นการนำทั้ง 3  ทุนข้างต้น  มาผ่านความคิดที่เป็นระบบ  เพื่อให้เกิด Idea  (หรือความคิดที่เป็นเลิศ)  ในทางบวก  5.  ทุนทางวัฒนธรรม  (Innovation  Capital) :  เป็นการนำ Idea ที่เกิดขึ้นในข้อ 4 มาลงมือปฏิบัติจริง   จนเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา    สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆ (ประเทศไทยจะได้มีเทคโนโลยีเฉพาะตัว)  หลังจากใส่ปุ๋ย “5K”   ให้กับชีวิตที่มีสภาพพร้อมขับเคลื่อนแล้วนั้น   ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่าสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง องค์กร และประเทศได้ย่างแน่นอน   สุดท้ายในฐานะเด็ก  Food  Science   ดิฉัน ขอนำเสนอสูตรอาหาร... ดังนี้  สูตรอาหารสมานไมตรี  เครื่องปรุง   :     การให้อภัย  3  ส่วน:     ความปรารถนาดี  3  ส่วน:     ความดี  3  ส่วน    (วาจาไพเราะพอประมาณ):      ความโอบอ้อมอารีย์  3  ส่วน วิธีปรุง       :   ใส่ความหวังดีและให้อภัยให้เข้ากัน  เตรียมวาจาไพเราะ  พอประมาณ   แล้วค่อยๆ ผสมความ                    ปรารถนาดีลงไป    ส่วนความเห็นใจ และความโอบอ้อมอารีย์ ก็บรรจงคนใส่ให้เข้ากับส่วนอื่น  นำไปอบในหัวใจที่อบอุ่น  โดยมีน้ำใจ และรอยยิ้มเป็นครีมราดหน้า  แล้วแจกจ่ายรับประทานโดยทั่วกัน หมายเหตุ   : 3   ส่วน  คือ  1.คนที่เรารัก,  2. คนที่เราไม่รัก,   3. คนทั่วไป ลองนำไปปฏิบัติเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง  นะค่ะ  ขอบคุณค่ะ
นางสาวศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา
จากการที่ได้เรียนวิชา HR จากอาจารย์จีระและทีมงานเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ดิฉันได้รู้จักคิด และ วิเคราะห์มากขึ้น อย่างสัปดาห์นี้ ได้รู้จักกับ ทฤษฎี 5 K ซึ่งดิฉันมองว่าเป็นทุนที่มาจากการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของโลกในยุคปัจจุบัน เราจำเป็นจะต้องมีทุนที่จะทำให้เราก้าวตามโลกให้ทัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบสังคมหรือองค์กรอื่น                 ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) เป็นความสามารถในการนำเอาเทคโนโลยีในด้านต่างๆมาใช้ในการเพิ่มมูลค่า เช่นการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อลดขั้นตอนการผลิต เป็นการประหยัดเวลาและเพื่อให้เกิดมาตรฐาน แต่การที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เราก็ต้องพัฒนาคนที่จะใช้ให้เข้าใจและนำมาใช้ได้ถูกต้องด้วย                 ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creative Capital) เป็นสิ่งใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือระบบการทำงาน หากไม่มีการสร้างสรรค์ก็จะไม่เกิดสิ่งๆใหม่ ถ้าจะมองย้อนไปในอดีต ถ้าไม่มีการสร้างสรรค์ก็จะไม่มีอะไรเลย เช่น เครื่องบิน รถไฟ หรือเทคโนโลยีทั้งหลาย ก็เริ่มต้นจากความคิดสร้างสรรค์ที่ในสมัยก่อนก็คือความคิดเพ้อฝันนั่นเอง ดังนั้นการที่องค์กรสนับสนุนให้คนในองค์กรกล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ทั้งจากสิ่งใหม่ๆและสิ่งที่มีอยู่แต่พัฒนาให้ดีขึ้น                 ทุนแห่งความรู้ (Knowledge Capital) ไม่ได้หมายความเฉพาะความรู้ในตำราเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงความรู้จากประสบการณ์ หรือข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ผู้ที่จะนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั้น จะต้องรู้จริง นำมาประยุกต์ใช้ได้ และไม่หยุดที่จะเรียนรู้ เหมือนกับการมีทุนแต่ไม่มีการสะสมเพิ่ม ยิ่งใช้ไปก็ยิ่งน้อยลงจนหมดในที่สุด ควรมีการให้ความรู้ใหม่ๆกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้องค์กรเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้                ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) เป็นสิ่งที่สังคมไทยของเรามีอยู่แล้ว แต่นับวันความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมค่อยถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมตะวันตก ลองคิดดูว่าถ้าเราไม่มีจุดเด่นของเรา แล้วเราจะมีอะไรเป็นจุดสนใจของเราอีก เช่นเดียวกับในองค์กร ผู้บริหารต้องมีแนวปฏิบัติที่ให้ทุกคนรับรู้และปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในองค์กร เพราะถ้าทุกคนทำตามความต้องการของตัวเองย่อมเกิดปัญหาแน่นอน เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการพัฒนาองค์กร                ทุนทางอารมณ์ (Emotion Capital) สำคัญมาก เพราะทุกคนไม่ได้อยู่คนเดียว จริงอยู่ที่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิด แสดงออกอย่างไรก็ได้ แต่ก็ต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน สำหรับบางคนอาจเป็นสิ่งที่ยาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องทำ ยิ่งกับคนที่เป็นหัวหน้า ไม่ได้หมายความว่าจะแสดงอารมณ์อย่างไรก็ได้ การเป็นผู้ใหญ่ที่สุขุมควบคุมอารมณ์ได้นอกจากเป็นที่เกรงใจของลูกน้องยังเป็นแบบอย่างที่ดีอีกด้วย ในความคิดของดิฉัน การแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด รุนแรง ยิ่งจะสร้างความแค้น และลดประสิทธิภาพในการทำงานด้วย                ในทางธุรกิจเช่น ธุรกิจอาหาร ได้มีการนำทุนทั้ง 5 มาใช้ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลกำไร เช่น นำทุนทางด้านนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต การใช้เครื่องจักรจะเป็นการประหยัดเวลา และทำให้ผลผลิตมีมาตรฐานเดียวกัน แต่อย่างไรก็ต้องมีคนที่มีส่วนสำคัญในการใช้และรักษา เครื่องจักรที่ใช้ไปนานๆย่อมเสื่อมโทรมคนที่ใช้คอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่ผู้บริโภคจะได้รับอันตรายหรือไม่พอใจในสินค้า ความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับความปลอดภัย ในธุรกิจอาหารจึงต้องใส่ใจตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต จนถึงผลิตภัณฑ์   เราต้องใส่ใจกับทุกอย่างต้องมีความรู้ในหลายด้าน รวมถึงต้องติดตามข้อกำหนด กฎหมาย ที่เกี่ยวกับอาหาร ยิ่งถ้ามีการส่งออกก็ต้องรู้ข้อกำหนดของแต่ละประเทศ และ ควรมีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคด้วย สำหรับการส่งออกจะทำอย่างไรให้สินค้าเรามีความแตกต่าง น่าสนใจเมื่อต้องไปวางขายรวมกับสินค้าจากประเทศอื่น เราสามารถนำวัฒนธรรมการกินมาใช้ได้ อาหารไทยมีความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบหรือประโยชน์ เราสามารถเพิ่มมูลค่าโดยการใส่ความคิดสร้างสรรค์ไปในรูปแบบของอาหาร บรรจุภัณฑ์ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ส่วนการควบคุมอารมณ์ ในธุรกิจ หลีกเลี่ยงการร่วมงานกับคนอื่นไม่ได้ ทั้งกับหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อน หรือลูกค้า ถ้าต่างคนต่างร้อนเข้าหากัน การพัฒนาก็จะเป็นไปได้ยาก พยายามควบคุมอารมณ์ ทุกอย่างก็จะดีเอง
นางสาววิชชุวรรณ ชอบผล
สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ  และท่านผู้อ่านทุกท่าน           ดิฉัน  น.ส.วิชชุวรรณ  ชอบผล  นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังค่ะ ลูกศิษย์อาจารย์ในวิชา HR ค่ะ           คนเราทุกคนเกิดมา ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดก็คืออารมณ์ ( Emotional  Capital) ทุกคนย่อมมีอารมณ์ แต่จะควบคุมได้แค่ไหน นั่นคือการบริหารอารมณ์ของตัวเอง ใครทำได้ดีกว่าก็จะประสบความสำเร็จมากกว่า และเมื่อโตขึ้นมาแน่นอนว่าทุกคนต้องมีความรู้( Knowledge Capital )  ถึงคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ นั่นก็คือคนมีความรู้ รู้จากไหนล่ะ ก็รู้จากประสบการณ์ตรง แต่คนที่รู้จากประสบการณ์จะแตกต่างจากคนที่รู้ในห้องเรียนตรงที่ จากประสบการณ์นั้น สามารถนำไปใช้ได้จริง ถ้าองค์กรมีแต่คนที่เก่งทฤษฎี แต่ไม่เคยทำจริงเลย กับองค์กรที่มีแต่คนที่มีแต่ประสบการณ์ ดิฉันว่า 2 องค์กรนั้นก็คงก้าวช้ากว่าองค์กรที่มีคนที่เคยผ่านประสบการณ์และคนที่เก่งทฤษฎีอยู่ด้วยกัน ช่วยกัน share กันระหว่างประสบการณ์และทฤษฎี แต่ความรู้นั้นไม่ได้หยุดนิ่ง ข่าวสารใหม่ๆ การค้นพบใหม่ๆ ( Innovation Capital ) อาจทำให้เรานั้นตามไม่ทัน โทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นถ่ายรูปได้ แต่ของเราถ่ายไม่ได้ ของเราก็ขายไม่ออก หรือผลิตสินค้าเหมือนกัน แต่คนอื่นมีเทคโนโลยีที่ดีกว่า ผลิตโดยเสียต้นทุนต่ำกว่า ราคาขายต่ำกว่า ของเราก็ขายไม่ได้เช่นกัน ในยุคโลกาภิวัฒน์ โลกที่ไม่มีการหยุดนิ่ง ก้าวนำตลอดเวลา แล้วถ้าเราหยุด เราจะสามารถตามทันได้อย่างไร แต่ก็ไม่ใช่ว่าไล่ตามคนอื่นเสียจนลืมความเป็นตัวของตัวเอง ( Cultural Capital ) บางครั้งวัฒนธรรมของเรานี่แหละที่เป็นจุดแข็ง จุดขายของเรา เหมือนกับประเทศไทยเรามีวัฒนธรรมของเราดีอยู่แล้ว ไม่เห็นจะต้องไปลอกเลียนแบบใครเลย ดังเช่นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ใครจะว่าไทยเชยก็ว่าไป ไม่ต้องไปสนใจ เราพอมีพอกินอยู่เท่านี้ก็ดีอยู่แล้ว แต่เรานำวัฒนธรรมที่เรามีมาสร้างสรรค์ ( Creativity Capital ) ไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าขององค์กรของเราเอง  อาจไม่เห็นผลทันตานัก แต่ก็เป็นสิ่งที่มีค่าในระยะยาวค่ะ ดิฉันคิดว่าความสำเร็จขององค์กรแต่ละองค์กรคงขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของทฤษฎี 5K ว่ามากหรือน้อย องค์กรไหนมีมาก มีการนำไปใช้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ก็มีความสำเร็จมากกว่า ธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารก็เช่นเดียวกับองค์กรอื่นตรงที่ คนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด เพียงแต่คนในนี้ถนัดด้านเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรและอาหารก็ย่อมมีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการสร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านทฤษฎี ความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ผลิตผลใหม่ เราต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ สามารถรับมือกับมันได้ แก้ปัญหาได้ ด้วยความอดทน เข้มแข็งค่ะ           ดิฉันคิดว่าถ้าทุกคนเพิ่มทุนทั้ง 5 ให้กับตัวเอง ก็จะเพิ่มคุณค่าของตัวเองได้และถ้าสามารถที่จะเพิ่มให้องค์กรได้ องค์กรก็จะประสบความสำเร็จและยั่งยืนค่ะ            ขอขอบคุณอาจารย์จีระ และทีมงานเป็นอย่างสูงค่ะ  

สวัสดีคะ อาจารย์จีระ เพื่อนๆการจัดการธุริจเกษตรและอุตสาสหกรรมอาหารและทุกท่านที่เข้ามาแชร์ความคิดกันใน BLOG นี้ 

วันนี้ดิฉันขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ 5’K ที่ท่านอาจารย์ได้พูดถึงในชั้นเรียนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา 5’K คือทุนที่ทุนมนุษย์ทุกคนควรจะมี ขวนขวายให้มี และปฏิบัติได้จริง ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) เป็นสิ่งที่มาควบคู่กับความเริญก้าวหน้าของโลกใบนี้  เพราะถ้าเราหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวตามโลกใบนี้ก็คงเหมือนสิ่งก่อสร้างที่ไม่เคลื่อนไหวตามแรงลมและแรงน้ำ สักวันก็คงแตกหักหรือพังทลาย ไม่เหมือนกับต้นไม้ที่ยั่งรากลึกลงไปแต่ส่วนยอดก็มีการเจริญเติบโตอย่างไม่นิ่ง และพร้อมที่จะเคลื่อนไหวไปตามแรงลมและแรงน้ำ ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างไม่หยุดนิ่งดังนั้นทุนทางนวตกรรมก็เปรียบเสมือนต้นไม่ที่พร้อมจะเติบโตได้อยู่เสมอ  ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creative Capital) การสร้างสรรค์ของทุนมนุษย์คือ การสร้างสรรค์ทางความคิด โดยสิ่งที่คิดนั้นต้องเป็นสิ่งที่คิดแล้วต้องพยามยามทำให้เป็นจริง และ ดำเนินไปอย่างมีระบบ  โดยความคิดนั้นต้องเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลและองค์กร ถ้าเปรียบกับต้นไม้ก็เหมือนกับการปรับปรุงพันธุ์ พืชเพื่อเพิ่มผลผลิต เพื่อสร้างความแตกต่างและให้ได้คุณภาพที่ผู้บริโภคต้องการ  ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ความรู้เป็นสิ่งที่เราสามารถแสวงหาได้ไม่มีวันจบ ไม่ว่าจากการเรียน จากประสบการณ์ การลองผิดลองถูก และการที่ต้องเผชิญกับปัญหา ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสิ่งเพิ่มความรู้ให้เราทั้งสิ้น แล้วทุกความรู้ที่เราได้รับจะสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับชีวิต สิ่งไหนดี ก็ต้องพยามทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ สิ่งไหนที่ไม่ดี ก็ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงให้มันดีขึ้น ดังนั้นทุนทางความรู้ก็เหมือนกับแร่ธาตุอาหารที่อยู่ในดิน ถ้าพืชอยู่ดินที่ขาดธาตุอาหารอีกไม่นานก็คงจะหยุดเติบโตและตายไปในที่สุด  ก็เหมือนคนที่ขาดความรู้เค้าก็คงมีหน้าที่การงานที่อยู่กับที่ และอาจถึงนั้นพิจารณาให้ออก ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) เป็นเสมือนพื้นฐานชีวิต เป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมของคนไทยมีอยู่มากมายที่คอยคำจุนสังคมของคนไทยเอาไว้ ถ้าจะเปรียบวัฒนธรรมก็คือสิ่งแวดล้อมต่างที่ช่วยให้ต้นมีมีการเจริญเติบโตที่ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งแวดล้อมแต่ละแบบก็เอื้ออำนวยให้กับต้นไม้แต่ละชนิด ก็เหมือนกับสังคมไทยที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่อาจจะแตกต่างจากที่อื่น ดังนั้นการบริหารงานในสังคมไทยก็ควรมีการผสมผสานวัฒนธรรมการทำงานแบบไทย คือ การเห็นผู้ร่วมงานเหมือนคนในครอบครัว ให้ความเข้าใจ ใส่ใจกัน ทุนตัวสุดท้าย ทุนทางอารมณ์ (Emotion Capital)เป็นปัจจัยที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล ว่ามีความสามารถในการ control ได้มากน้อยเท่าไหน ใช้เท่าที่จำเป็นให้เหมาะสมกับเวลา และสถานะภาพ   ทุกอย่างควรตั้งบนความพอเพียงสุดท้ายขอฝากคุณธรรม 4 ประการตามพระบรมราโชวาทให้เป็นคุณธรรมหลักของประเทศ (การรักษาสัจจะ การข่มใจฝึกใจตนเอง การอดทน อดกลั้น อดออม และการละวางความชั่วและรู้จักสละประโยชน์ส่วนตน) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่สามารถจัดการความรู้ได้ด้วยดี ส่งเสริมความเป็นชุมชนและเป็นสังคมเอื้ออาทร (caring)
นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล
สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ จากวันที่ 25 มิถุนายน 49 ที่ผ่านมา ผมได้รับความรู้ในหลายๆ อย่างจากท่าน  ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก  จากที่ได้ทราบทฤษฎี 5 K เกี่ยวกับทุนด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางนวัตกรรม   จะขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ แต่ละที่อาจไม่เหมือนกัน โดยคนเป็นคนขับเคลื่อนทางเทคโนโลยี  และวิทยาการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสิ่งที่สร้างสรรค์  หรือเป็นประโยชน์ใหม่ๆ แก่สังคม  สุดท้ายก็เพื่อความอยู่รอดของสังคมทุนแห่งการสร้างสรรค์  ต้องเป็นการสรรค์สร้างในสิ่งที่ดีมีประโยชน์  ไม่ทำให้เกิดผลกระทบแก่สังคมในระยะยาวด้วยทุนทางความรู้  ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับรู้  จดจำ คิดพิจารนาเห็นควร  แล้วสามารถนำไปใช้ได้จริงตามที่รู้นั้นๆทุนทางวัฒนธรรม  แนวทางต่างๆ ที่ยึดถือปฏิบัติกันมา รวมถึงลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมที่สืบเนื่องกันมา  ซึ่งจะส่งผลต่อแนวทางของพฤติกรรมคนในสังคมนั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง  แต่อาจไม่ทันทีทันใด  ซึ่งล้วนแล้วแต่หวังถึงความอยู่รอดของคนในสังคมด้วยทุนทางอารมณ์  เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน  ซับซ้อนของแต่ละคน  ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาจอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติของมนุษย์(สิ่งมีชีวิตที่สามารถรับทราบถึงเหตุผลได้) ซึ่งจะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับตัวบุคคลนั้นๆ และอาจส่งผลไปยัง บุคคลอื่นๆ ด้วยซึ่งจากทั้งห้าหัวข้อนี้  จะมีอยู่ สองสิ่งที่เกี่ยวพันกันอยู่ คือ คน กับ สังคม   กระผมจึงได้ตั่งคำถามขึ้นมาหนึ่งคำถามว่า  ทำอย่างไรให้คนในสังคมนั้นไม่ว่าจะเป็นสังคมที่ใหญ่ หรือสังคมเล็ก สามารถพึ่งพาอาศัยกันไปบนโลกแห่งความวุ่นวาย และสวยงามใบนี้ให้ยั่งยืน และยาวนานที่สุด..ทุนต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้นนั้น  ล้วนแล้วแต่จะมีความสำคัญยิ่งกับเรื่อง HR ในวิชาเรียนแล้ว กระผมก็ได้แนวความคิดเพิ่มเติมหลายอย่าง ซึ่งผมขอเรียกว่า ประชาธรรมานิยม  โดยส่วนตัวกระผมขอให้คำแปลว่า พฤติกรรมที่ดีที่คนหมู่มากยอมรับว่าถูกต้อง ฟังดูแล้วอาจจะแปลกๆไปบ้าง แต่ถ้าบอกว่า สิ่งดีๆ ที่ควรทำในองค์กร น่าจะใกล้เคียงกับที่เรากำลังเรียนอยู่มากกว่า  ประชา  หมายถึง คนหมู่มากที่มีอยู่ในสังคมหรือองค์กร  ธรรม  หมายถึง สิ่งที่ดี ที่ถูกต้องที่ควรพึงจะปฏิบัติ(เป็นประจำ หรือเป็นนิสัย)  นิยม  หมายถึง  สิ่งที่เป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก หรือสังคมมีคนเคยกล่าวว่า  ชาวตะวันออกมีเอกลักษณ์การยืดหยุ่น(ให้นึกถึงคนไทยก่อนก็แล้วกัน)  ส่วนชาวตะวันตกชอบความเป็นระเบียบ  แต่ละอย่างก็มีข้อดีแตกต่างกันไป  ถ้าเราจับนำมาผสมกันโดยเอาความเป็นระเบียบขึ้นมาก่อน การยืดหยุ่นตามมาที่หลังล่ะ (ที่ใช้คำว่ายืดหยุ่น เพราะเห็นว่า คนไม่ใช่เครื่องจักร)  ผลที่ได้ออกมาจะเป็นอย่างไร    กระผมขอกล่าวเน้นคำว่า  ระเบียบ หรือระบบ  มันถือว่าเป็นหัวใจหลักที่มนุษย์ทุกคนพึงมี มันเป็นตัวที่ช่วยจัดการความยุ่งยากสับสนต่างๆ ให้ดูเป็นขั้นตอน และง่ายแก่ความเข้าใจมากขึ้น  ฟังดูแล้วท่าทางจะดีนะ  แต่ถ้าบุคคลใดไม่มีระเบียบทำอะไรก็ไม่ค่อยจะสำเร็จเท่าไรนัก   ถ้าองค์กรที่ดีแต่มีบุคลากรที่ขาดระเบียบ  ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่พึงระวังอย่างมาก  จากพื้นฐานที่ว่า คนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน  จึงเกิดคำถามตามมาว่าทำอย่างไร  เราถึงจะปลูกฝังสำนึก1ความมีระเบียบวินัย2ให้เกิดขึ้น3กับทุกคน4ในองค์กร5ได้    หรือจะย่อลงมาอีก จะได้ว่า ทุกคนในองค์กรมีระเบียบวินัยอยู่เป็นนิจ  แล้วเอาคำว่า ประชาธรรมานิยม  มาเป็นตัวบังคับ  หากทุกคนมีสำนึกแห่งความเป็นระเบียบ  ออกกฎอะไรมา ก็น่าจะได้ผลตามที่ได้ตั่งเป้าหมายไว้                จากคำที่ว่า มรดกทางความคิด(ปัญญา)  มันเป็นสิ่งที่ทำให้โลกเราเป็นอยู่ได้อย่างทุกวันนี้  มรดก ก็น่าจะเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดไปยังคนรุ่นต่อๆ ไปได้  (ในทางที่ดีนะ )  ฉะนั้นเราจึงควรรู้จักที่จะถ่ายทอดสิ่งดีที่เป็นประโยชน์  ให้แก่คนรุ่นหลังทราบอย่าปล่อยให้มันสูญหายไปกับตัวเอง มันชั่งน่าเสียดายยิ่งนัก  ควรทำให้เหมือนกับการทิ้งมรดกให้ลูกหลาน หรือครอบครัวของตัวเอง                จากทฤษฎี  สามวงกลม ได้แก่ Context ,Competencies และ Motivation  เป็นการกระตุ้นให้มีการสื่อสารหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ระหว่างกันโดยจะต้องมีความถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำให้ได้    ผมก็ยังมีความสงสัยอยู่ว่า ช่องว่างทั้งสี่ช่อง  ที่ทั้งสามวงกลมซ้อนทับกันอยู่  รวมทั้งช่องร่วมตรงกลาง มันน่าจะเป็นอะไรสักอย่าง (สำหรับบุคคลอื่นที่เปิดมาอ่าน Blog นึกภาพไม่ออกลองวาดวงกลมรูปช่องเจ็ดสีดู)  แต่ผมนึกไม่ออกครับ หรือมันน่าจะเป็น  ความถูกต้อง  ที่อยู่ตรงกลางของวงกลมทั้งสามวงก็ได้                สุดท้ายก่อนจะขอจบ Blog ในครั้งนี้ จะขอกล่าวว่า การมองการไกลอย่างไม่ประมาท เขาจะไม่มองแต่ในเฉพาะชาตินี้ เขาจะต้องมองเผื่อไว้ชาติหน้าด้วย มันถึงจะถูกต้อง......ขอบคุณครับ                               
นางสาวปรียานันท์ ไทยงามศิลป์

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
    จากทฤษฎี 5K's ที่ได้เรียนในครั้งนี้  ดิฉันคิดว่าที่มาหรือบ่อเกิดของทุน
แต่ละตัวนั้นอาจารย์ได้จากการสังเกตและวิเคราะห์จากสิ่งที่อาจารย์ได้เห็นและ
ได้สัมผัส  ทำการรวบรวม แยกแยะข้อมูลแล้วสรุปออกมาเป็นทฤษฎี 5K's
จากคำว่าทุน(capital)นั้นมักจะหมายถึงทรัพย์สินที่ถูกใช้เป็นปัจจัย
การผลิตสินค้าหรือบริการ  หากจะเปรียบเทียบกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใน
แต่ละวัน  เปรียบได้ว่าเรากำลังผลิตความสำเร็จของชีวิต  กำไรที่ได้คือความสุข
ที่หาซื้อไม่ได้และขอแบ่งจากใครไม่ได้เช่นกัน  และการผลิตความสำเร็จของชีวิตนี้
 ก็ต้องใช้ปัจจัยในการผลิตด้วย  โดยใช้ทุน 5 ประการ หรือเรียกว่า 5K
เริ่มจาก  - อารมณ์ของแต่ละบุคคล  ซึ่งมีความหลากหลาย หลายต่อหลายคนที่ใช้อารมณ์
เป็นที่ตั้ง  ทำให้ขาดสติในการคิดพูดและกระทำ  ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
ดังนั้นควบคุมอารมณ์ของตนเองจัดการและบริหารอารมณ์ให้อยู่ภายใต้เหตุผล
 ก็จะทำให้มีสุขภาพดี มีความสุข   มีจิตวิทยาในการพูดสื่อสารกับผู้อื่นก็จะทำให้เรา
มีทุนทางอารมณ์(Emotional capital)     
-การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งความรู้นั้นล้วนแต่อยู่รอบตัวเรา  ได้ทั้งจากห้องเรียน
 กาารดำเนินชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือแม้แต่
การพูดคุยกับผู้ที่มีความรู้ ดังคำว่า"คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล"ความรู้ที่ได้เหล่านี้
ก็จะติดตัวเราและควรจะแบ่งปันให้ผู้อื่นด้วย ก็จะทำให้เรามีทุนทางความรู้
(Knowledge Capital) แต่การเรียนเพื่อให้รู้เพียงอย่างเดียวนั้น
ไม่เกิดผล  จะต้องนำความรู้ที่ได้นั้นไปปฏิบัติหรือก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง
 สังคม และประเทศชาติด้วย 
-วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ดีงาม ที่มีคุณค่า ที่คนในสังคมประพฤติปฏิบัติ 
 หากสังคมใดมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้  ทุกคนในสังคมนั้นก็ล้วนแต่จะเป็นคนที่มีความสามารถ
ร่วมกับการกระทำในสิ่งที่ดีงาม  ก็จะถือว่ามีทุนทางวัฒนธรรม(Cultural capital)
-คนใดที่มีความคิดสร้างสรรค์  คิดนอกกรอบ หลุดพ้นจากความคิดเดิมๆ แตกต่างจากผู้อื่น
 เป็นคนที่ไม่ยึดติดกับหลักการ  ระเบียบ กฏเกณฑ์ แต่ไม่ทำให้ผู้อื่น สังคมเดือดร้อนหรือ
ผิดกฏหมายก็ถือว่ามีทุนแห่งการสร้างสรรค์(Creativity Capital)
-นวัตกรรม เป็นการกระทำในสิ่งใหม่ที่ได้จากความคิดใหม่  ปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว
 โดยใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์และมีประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภค  ซึ่งเป็นทุนทางนวัตกรรม
(Innovation Capital)
    ทฤษฎี 5K's หรือ ทุน 5 ประการนี้หากศึกษาให้ดีและนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในองค์กรในธุรกิจอาหาร หรือ นัก Food science ทั้งหลายแล้วก็จะทำให้ธุรกิจอาหาร
ของประเทศไทยก็จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก  เพราะทุกคนเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ
สร้างสรรค์ผลงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาด ประพฤติปฏิบัติโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม
ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ผลกระทบต่อผู้อื่น ใช้เทคโนโลยี มีนวัตกรรมใหม่ๆ และบริหารงาน
สื่อสารกับผู้อื่นสามารถบิหารอารมณ์ของตนเองได้อย่างชาญฉลาด เพียงเท่านี้ความสำเร็จในชีวิต
ความสำเร็จขององค์กร และความสำเร็จของประเทศไทย ก็จะเกิดขึ้นได้ด้วยทฤษฎี 5K's นี้
แต่นอกจากนี้ควรจะเพิ่มเติมเรื่องของทุนแห่งความพอเพียง พอประมาณด้วยเพื่อยับยั้งกิเลสของบางคนด้วย

 

 

นาย ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์
เรียน อาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน         ตามที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้ศึกษาเรื่องทฤษฎี 5K ใหม่นั้นทางกระผมได้ทำการศึกษาและสรุปตามความเข้าใจรวมถึงแสดงตัวอย่างการนำไปใช้ ได้ดังนี้1) Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)นวัตกรรม คือ ความสามารถในการเรียนรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยี หรือ การจัดการมาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ในส่วนของทางต่างชาติก็มีผู้ให้นิยามไว้หลายท่านดังต่อไปนี้( Classic definitions) 1) The act of introducing something new : something newly introduced( The American Heritage Dictionary)2) The introduction of something new(Merriam-Webster Online)3) The successful exploitation of new ideas (Dept of Trade and Industry,UK)4) Change that creates a new dimension of performance ( Peter Drucker)แต่การจะกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นนวัตกรรมหรือไม่มีการกล่าวอ้างทีเล่นทีจริงไว้ดังนี้ นวัตกรรมจะไม่ใช่นวัตกรรมจนกระทั่งมีผู้ใดผู้หนึ่งนำไปปฎิบัติและสามารถมีรายได้จากความคิดนั้นๆ   ชนิดของนวัตกรรมที่ทำให้เกิดทุนของนวัตกรรมในองค์กรมักประกอบไปด้วย- Business Model Innovation จะนำไปสู่การจับคู่ทางธุรกิจที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเช่น Ipod กับ Nike เป็นต้น- Marketing Innovation คือการพัฒนาตลาดแนวใหม่โดยการพัฒนาแบบของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ การทำโปรโมชั่น หรือการตั้งราคาใหม่- Organizational Innovation จะนำไปสู่การประดิษฐ์หรือการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางธุรกิจ วิธีการและต้นแบบใหม่ๆ- Process Innovation จะนำไปสู่การนำไปใช้ของการผลิตและการขนส่งด้วยวิธีการใหม่ที่แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ- Product  Innovation  จะนำไปสู่การแนะนำสินค้าใหม่ๆ- Service Innovation จะนำไปสู่การแนะนำบริการใหม่ๆ- Supply Chain Innovation  จะเกิดขึ้นในแหล่งของทรัพยากรจากผู้ส่งมอบจนกระทั่งการขนส่งถึงลูกค้า       จุดมุ่งหมายของนวัตกรรม พัฒนาคุณภาพสร้างตลาดใหม่ขยายช่วงของผลิตภัณฑ์ ( product range)ลดต้นทุนด้านแรงงานพัฒนากระบวนการลดการใช้ทรัพยากรลดการทำลายสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การทดแทนของสินค้าและบริการแบบเก่าลดการใช้พลังงานถูกต้องตามกฎหมาย        ความล้มเหลวของนวัตกรรมอาจเกิดจากการนำของผู้นำในองค์กรไม่ดีองค์กรไม่ดีการสือสารภายในองค์กรไม่ดีการกระจายอำนาจ การมอบอำนาจ(Empowerment) ไม่ดีการจัดการความรู้ในองค์กรไม่ดี2) Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์)นักวิชาการทางความคิดสร้างสรรค์ได้ในคำจำกัดความของคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ความสามารถในการผลิตวานที่มีองค์ประกอบของความใหม่และความเหมาะสม (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ การคิดเชิงสร้างสรรค์) องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์1 ต้องเป็นสิ่งใหม่ (New , Original)2 ต้องใช้การได้ ( Workable)3 ต้องมีความเหมาะสม ( Appropriate)    หนทางที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ประกอบไปด้วย1 เริ่มจากจินตนาการแล้วย้อนกลับสู่ความเป็นจริง2 เริ่มจากความรู้แล้วคิดต่อยอดเป็นสิ่งใหม่3) Knowledge Capital (ทุนทางความรู้)ความรู้เป็นสิ่งที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์จากทางตรงและทางอ้อม แล้วนำมาประมวลใช้ให้เข้าสถานะการณ์ 4) Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)ทุนทางวัฒนธรรมเป็นคำที่ Pierre Boudieu เป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรกใน “ Cultural Reproduction and Social Reproduction ,1973” โดยให้ความหมายว่าเป็น ส่วนประกอบของความรู้ ทักษะ การศึกษา จากคำจำกัดความนี้เองทำให้เราเข้าใจว่าผู้ปกครองทำไม่ต้องการให้ลูกของต้นศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียงเช่น เตรียมอุดม  จุฬา ธรรมศาสตร์ เพราะลูกๆของตจะได้มีทุนทางวัฒนธรรมสูงกว่าคนอื่น     ทุนทางวัฒนธรรมประกอบด้วย 3 ส่วนคือEmbodied/cultural habitus คือบุคคลิกภาพ และแนวทางความิดของแต่ละบุคคลObjectified คือสี่งของที่ถือครองเช่น เครื่องมือวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ Institutionalised คือใบประกาศนียบัตร (educational qualification)5) Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)ข้อนี้เป็นจริงตามหลักทางพุทธศาสนาที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว คนที่ประสบสำเร็จในชีวิตต้องเป็นคนที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีมากกว่าคนที่ตกเป็นทาสของอารมณ์ แต่เราก็สามารถนำอารมณ์มาเป็นทุนได้เนื่องจาก อารมณ์จะเป็นตัวขับเคลื่อนความรู้ (ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ tacit –ความรู้แห้งและ codified – ความรู้ที่นำไปปฎิบัติเผยแพร่ได้) ในส่วนของความรู้แห้งให้เกิดการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ดังที่อาจารย์พยายามให้ทุกคนใน class ตั้งแต่ class แรกเป็นต้นมาให้เกิดความกดดัน แล้วเกิดทุนตัวนี้ขึ้นใน class ซึ่งก็จกลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมของ class ต่อไป ตรงนี้ต้องยอมรับว่าอาจารย์เก่งมากในการทำให้ทุนทางอารมณ์เกิดขึ้น6) การนำไปใช้เช่นการที่จะทำให้เกิดสินค้าใหม่ในองค์กรก็สามารถทำได้โดยการ สร้าง Knowledge capital ในองค์กรก่อนโดยการส่งบุคคลากรไปอบรมหรือทาง HR ทำ Inhouse training  ก่อนหลังจากนั้นก็ต้องสร้าง Creativity และ Innovation capital โดยการใช้ Emotional capital เป็นตัว drive (ซึ่งจุดนี้ทาง HR จะมีช่วยร่วมโดยมากในการที่จะประชาสัมพันธ์ การใช้เสียงตามสายในการปลุกเร้าอารมณ์ สุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็น Cultural capital ขององค์กรต่อไป ขอแสดงความนับถือนายชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์   
นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ ดิฉัน นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ  นศ.ปริญญาโท  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง จุดเริ่มต้นของทุกสังคม ทุกองค์กร ทุกชุมชน ทุกคนต้องการ คนมีคุณภาพ คุณภาพ คือความก้าวหน้า เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จได้ และเป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศในทุกๆด้าน การที่จะเป็นคนมีคุณภาพได้ต้องมีปัจจัยเสริมหรือเรียกว่าทุน ประกอบไปด้วยทุน 5 ประการ  

(1)  ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) คำว่า นวัตกรรม เป็นการเรียนรู้ การจัดการความรู้  และการใช้ประโยชน์จากความคิดที่เราคิดใหม่ๆ และสามารถนำความคิดที่คิดใหม่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ถ้ามีทุนนวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันกับองค์กรคู่แข่งได้ เช่น การคิดค้นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ในปัจจุบันทุนนวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจแต่ละประเภท และมักเห็นคำว่า นวัตกรรมค่อนข้างเยอะ  นวัตกรรมอาหารแห่งศตวรรษ หรือ นวัตกรรม Food Matrix”  จะเห็นได้ว่าทุนนวัตกรรมส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหรรมได้ทุกประเภท

(2)  ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องอาศัยการมองในมุมที่ต่างจากคนอื่นเป็นการคิดนอกกรอบ หรือฉีกกรอบ เพื่อให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์ ความคิดที่แปลกแตกต่างถือว่าเป็นประโยชน์ แต่จะมีประสิทธิภาพมากก็คือคิดอย่างสร้างสรรค์แล้วต้องลงมือทำด้วย การก่อรูปความคิดสร้างสรรค์ จะมีความสัมพันธ์กันกับนวัตกรรม ผลสุดท้ายของการสร้างสรรค์ก็คือการนำเข้าสู่นวัตกรรม

(3)  ทุนทางความรู้ (Knowledge Capial)“ ผู้มีปัญญาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสนและความรู้เปรียบเสมือนทรัพย์สินที่กินไม่รู้หมดความรู้จะเกิดได้ไม่ใช่แค่เรียนในห้องเรียนหรือดูจากวุฒิบัตรทางการศึกษาเท่านั้น สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เช่น บทเรียนชีวิตที่ล้มเหลวหรือชีวิตที่ประสบความสำเร็จ การลองผิดลองถูก การแลกเปลี่ยนความรู้ (Share Idea)  สุดท้ายจะเกิดประสิทธิผลก็ต้องนำความรู้ที่ได้เหล่านี้ไปสร้างมูลค่าให้กับองค์กรและประเทศชาติ ในปัจจุบันถ้าความรู้น้อยหรือรู้ไม่จริงก็อาจส่งผลธุรกิจได้

(4)  ทุนวัฒนธรรม (Cultural Capital)  วัฒนธรรม เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม ประพฤติปฏิบัติร่วมกัน หรืออาจประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่แล้วประพฤติปฏิบัติร่วมกัน วัฒนธรรมมีหลายอย่าง เช่น วัฒนธรรมการกินของแต่ละประเทศหรือชุมชนก็ไม่เหมือนกัน , การแต่งกาย  แต่วัฒนธรรมที่สำคัญที่สุด คือ การเรียนรู้ เช่น การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น

(5)  ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) อารมณ์เป็นสิ่งที่ควบคุมยากบางครั้งควบคุมได้ บางครั้งก็ไม่ได้  บุคคลที่มีอารมณ์ดีย่อมได้รับการพูดคุยมากกว่า การควบคุมอารมณ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ต่างๆ ถือว่าประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งหรือใช้หลักทางพระพุทธศาสนาและพระราชดำรัสของในหลวงในการบริหารอารมณ์ได้

                   ทุนทั้ง 5 ประการมีความสัมพันธ์กันหมดทุกทุนขาดทุนใดทุนหนึ่งไปไม่ได้จริงๆ   
น.ส.ศรัญญา จำเนียรกาล
                    กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉัน นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง                    สำหรับการนำทฤษฎี 5 K มาเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ของตัวดิฉันเอง จากการวิเคราะห์คือEmotional Capital ทุนทางอารมณ์                     ในสังคมเศรษฐกิจความรู้ (Knowledge Based Society) สิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจ คือ สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่มีคุณค่ามหาศาล นั่นก็คือความรู้ซึ่งขายความคิดกันเป็นล่ำเป็นสันในปลายศตวรรษที่ 200 ควบคู่กันมากับการขายความคิดเรื่องความรู้ คือ เรื่องของอารมณ์กับสิ่งที่กำลังท้าทายทางความคิด คือ ทุนทางอารมณ์ (emotional capital) ซึ่งมีความสำคัญต่อความเป็นคนอย่างมาก เพราะ ทุนทางอารมณ์ : จับจุดอ่อนความเป็นคน  มีหลักปรัชญา หรือสมมติฐานเบื้องต้นซึ่งจะขอฝากข้อคิดจากแนวคิดของอาจารย์ของมาร์กซ์ คือ กรุนไดซ์ ที่เฉียบคมเอาไว้ว่า "คนที่ฆ่าตัวเราได้ดีที่สุด คือตัวเราเอง" ในทางกลับกัน "คนที่จะสร้างตัวเราได้ดีที่สุด ก็คือตัวเราอีกนั่นแหละ" แล้วตัวที่ทั้งฆ่าและสร้างเราตรงนี้ต้องขอใช้หลักทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์กัน ก็คือ "อารมณ์ในตัวเราเอง"   เพราะคนมีหลากหลายอารมณ์เช่น 1. อารมณ์อยากเป็นเจ้าของ 2. อารมณ์ท้าทาย 3. อารมณ์ตัณหาราคะ 4. อารมณ์ความผูกพัน 5. อารมณ์บงการ หรืออยากกำหนดอะไรก็ได้ 6. อารมณ์อยากรู้อยากเห็น   7. อารมณ์รัก โกรธ 8. อารมณ์ภูมิใจ หยิ่งทระนง 9. อารมณ์เชื่อ และศรัทธา 10. อารมณ์เปลี่ยนแปลง หรือไม่อยากเปลี่ยนแปลง เราสามารถนำทุนทางอารมณ์ที่นี้มาช่วยในทางธุรกิจและการตลาด เมื่อทราบถึงอารมณ์มนุษย์แล้ว พร้อมหรือยังที่จะกล้าเอาอารมณ์มาเล่นเพื่อสร้างผลกำไรทางธุรกิจ และเป็นกลยุทธ์นำการตลาด...ถางทางสู่ความมีชัย Knowledge Capital ทุนทางความรู้  หรือ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)ไม่ว่าอยู่ที่ใด  ต้องแสวงหาปัญญาเพราะปัญญา มีอยู่ในทุกหย่อมหญ้าที่เราเหยียบย่างทุนทางปัญญา ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิทางปริญญาเอกมารวมตัวกันที่ห้องแล็บเพื่อทดลองและหาสูตรพิเศษให้กับบริษัทและทรัพยากรทางปัญญาก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเอกสารทางสิทธิบัตรเท่านั้น สิทธิบัตรเป็นแต่เพียงผลพลอยได้ ที่ตามมา ทุนทางปัญญาคือ รวมทั้งหมดที่ทุกๆ คนในบริษัทได้นำความรู้ที่ตนเองมีมาปรับเข้าด้วยกัน และทุนทางปัญญาในที่นี้ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทุนทางปัญญาตามนิยามที่นักบัญชีและนักธุรกิจเข้าใจกันว่าคือโรงงาน ที่ดิน เครื่องจักรหรือ เครื่องมือ และเงิน เพราะทุนทางปัญญาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้"  "ทุนทางปัญญาจึงหมายถึงเนื้อหาทางปัญญาและทางความคิด คือความรู้ ข่าวสาร ทรัพย์สินทางปัญญา และประสบการณ์" อันเป็นอำนาจที่คิดอ่านมาจากสมอง ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะให้นิยามและยิ่งยากมากยิ่งขึ้นเมื่อจะนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ถ้า ใครเข้าใจและสามารถนำใช้ได้แล้ว เขาผู้นั้นคือผู้ชนะ นั่นเป็นยุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารซึ่งต่างจากยุคอุตสาหกรรมในอดีต Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรมต้นไม้ไม่มีราก ฉันใด สังคมก็มีรากฉันนั้น รากของสังคมคือวัฒนธรรม                    ทุนวัฒนธรรม คือ การนำเอาวัฒนธรรมประเพณีมาเป็นธุรกิจนั่นเอง อย่างเช่น เรามองหาจุดเด่นด้านประเพณี วัฒนธรรม การดำรงชีวิตของคนในสังคมเรา มาสร้างโอกาสทางธุรกิจ ประเทศไทยเรามีขนบธรรมเนียมประเพณีอันเก่าแก่ที่ควรอนุรักษ์ เราก็นำมาสร้างให้เกิดคุณค่า อาหารไทยก็สามารถนำมาทำให้ชาวโลกได้รู้จัก อย่าให้ใครมาเป็นต้นแบบแทนเรา และสิ่งที่เราสร้างควรเป็นวัฒนธรรมที่ดี มิใช่สิ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสังคมCreativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์                    มนุษย์ เรามีศักดิ์ศรีที่จะไม่จมปลักกับสิ่งเก่า ๆ เรื่องราวเก่า ๆ เราต้องคิดใหม่ทำใหม่ แหกคอกเข้าไว้ คิดเล่น ๆ คอกเขาเอาไว้ขังอะไรหว่า ตามประสาคนบ้าความคิด มาต่อกัน เราต้องมีการแข่งขันกันเพื่อเข้าถึงจุดหมายคือการกินดีอยู่ดีถึงจะมีความสุขและมีศักดิ์และศรีของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ซึ่งการคิดแบบสร้างสรรค์ควรมีระบบของความคิดที่ดี จึงเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถนำทุนทางอารมณ์ ประกอบกับทุนแห่งปัญญา ความรู้ และรวมกับวัฒนธรรมที่ดี ก่อให้เกิด ทุนนวัตกรรม Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

                    Innovation หรือ นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีมาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย สรุปก็คือ นวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ อันได้แก่ ความคิด พฤติกรรม หรือสิ่งใหม่ๆ ที่ต่างกับสิ่งที่เป็นอยู่ และ การรับรู้ในของใหม่ และแบบอย่างใหม่ๆ ในวัฒนธรรมหนึ่ง 

                ประเด็นที่สำคัญของ เราหรือประเทศไทยคงต้องกลับมาทบทวน ด้านการปฏิรูปการศึกษา” “วิทยาศาสตร์...มีคำตอบ” (สิ่งนี้ทำได้ดีมาก แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น) และการสร้างนวัตกรรมระดับโลกซึ่งต้องได้มาจากการวิจัยและพัฒนา และสิ่งที่ท้าทาย เรื่องของ นวัตกรรมกลายเป็นปัจจัยใหม่ในความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจและประเทศ  

โลกเศรษฐกิจที่ผ่านมาเราสามารถสัมผัสและซื้อขายสินค้าเชิงกายภาพได้ ปัจจัยในการสร้างและประดิษฐ์สินค้า ได้แก่ ที่ดิน ทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่นน้ำมันหรือแร่ธาตุ แรงงานมนุษย์ และเครื่องจักรและเป้าหมายขององค์กรคือการดึงดูดเงินตราซึ่งพวกเขาก็ทำได้ ตามเป้าหมาย แต่ต่อไปในยุคโลกาภิวัตน์การแข่งขันมีมากมาย ทรัพย์สินที่มีค่าสุดคือทรัพย์สินที่เราสัมผัสไม่ได้ซึ่ง ก็คือ ทุนทั้ง 5 ดังกล่าว เรานำมาใช้กับองค์กรของเรา พัฒนาให้เกิดประโยชน์  องค์กรเราก็สามารถเป็นหนึ่งได้ แต่การพัฒนาดังกล่าวจะต้องยั่งยืน ซึ่งจะเห็นได้จาก แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ซึ่งจะกล่าวถึง สังคมที่มีความสุขและยั่งยืน

 

 ด้วยความเคารพอย่างสูง 
น.ส.อโณทัยแก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์จีระ และสวัสดีเพื่อนๆชาว Blog ทุกท่าน                จากการได้ศึกษาทฤษฎี 5 k ใหม่ของท่านอาจารย์จีระแล้ว ดิฉันสามารถสรุปวิเคราะห์ตามความเข้าใจ และการนำไปใช้ได้ดังนี้                -ทุนตัวแรก ทุนทางนวัตกรรม คำว่านวัตกรรมนั้นหมายถึง การนำเอาความรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาพัฒนาเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์และเป็นการเพิ่มมูลค่า  จะเห็นว่านวัตกรรมนั้นไมได้มีแค่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ต้องเป็นการนำเอาความรู้ความคิดนั้นนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จขึ้น  ความรู้ความคิดนั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่ใหม่แตกต่างไปจากเดิม และต้องสามารถนำไปทำได้จริง จึงจะจัดว่าเป็นนวัตกรรม  ส่วนการนำเอาทุนนี้ไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจอาหารนั้น  ก็ได้แก่การนำเอานวัตกรรมไปช่วยในการเพิ่มผลผลิต ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดเวลา ลดต้นทุน และเพื่อให้สินค้าอาหารได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารมีข้อกำหนดมาตรฐานค่อนข้างมากและเข้มงวด ดังนั้นการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยได้มาก  หรือไม่ว่าจะเป็นการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาก็ถือเป็นนวัตกรรมเช่นกัน                - ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คือความคิดในการริเริ่มสิ่งใหม่ ที่เป็นประโยชน์และสามารถเป็นไปได้จริง  ซึ่งทุนตัวนี้สำคัญมากในการพัฒนา เพราะการสร้างสรรค์นำไปสู่นวัตกรรม  นวัตกรรมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง  มูลค่าเพิ่มและความสำเร็จ                - ทุนทางความรู้ คือองค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ทุกอย่างตลอดชีวิตของมนุษย์ ทั้งที่ได้จากประสบการณ์จากการเรียน  การทำงาน  ชีวิตประจำวัน การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ทุกสิ่งทุกอย่างทำให้มนุษย์เรียนรู้  แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การนำเอาความรู้ที่มีอยู่ นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์และนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า อย่างที่อาจารย์พูดเสมอว่าความรู้เปรียบเหมือนผักสด เราต้องกินทุกวันจึงจะดีต่อร่างกาย ดังนั้นหากเปรียบความรู้ = ผักสด  กระบวนการในการนำเอาความรู้ไปสู่การสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ก็น่าจะ = ระบบในการย่อยและดูดซึมสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโตของร่างกายนั่นเอง  หากเรามีระบบย่อยและดูดซึมอาหารที่ไม่ดี ต่อให้กินผักสดคุณภาพดีทุกวันก็นำไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้                - ทุนทางวัฒนธรรม คำว่าวัฒนธรรมก็คือสิ่งที่คนหรือสังคมปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งแน่นอนว่าสังคมไทยของเราที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน ก็ย่อมมีวัฒนธรรมต่างๆมากมายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย  แต่ทุกวันนี้จะเห็นว่าวัฒนธรรมที่ดีงามต่างๆกำลังค่อยๆเลือนหายไป เหตุเพราะ         คนไทย ไม่เห็นคุณค่า ทั้งๆที่นานาประเทศต่างชื่นชมและชื่นชอบในวัฒนธรรมไยของเราด้วยซ้ำไป  ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำอย่างแรกกับทุนตัวนี้ คือ ต้องทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยก่อน จากนั้นจึงค่อยนำเอานวัตกรรมมาเพิ่มคุณค่าให้กับวัฒนธรรม  อย่างเช่นในธุรกิจอาหารนั้น วัฒนธรรมการกิน(อาหารไทย)ของเรามมีจุดเด่นอยู่แล้วทั้งด้านรสชาติ  ความหลากหลาย รวมทั้งคุณประโยชน์ แต่ยังขาดการสร้างสรรค์ที่จะมาทำให้เกิดนวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าให้เท่านั้นเอง                -  ทุนทางอารมณ์  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนแต่จะแตกต่างกันไป แล้วแต่พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน และหากจะพูดจริงๆแล้ว คนไทยน่าจะได้เปรียบด้วยซ้ำในทุนตัวนี้ เพราะสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นสังคมพุทธยึดมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  โดยเฉพาะพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา  และโดยเฉพาะอุเบกขา ซึ่งหมายถึงการวางเฉย การเดินทางสายกลาง มองสิ่งต่างๆเป็นธรรมดาของโลก หากคนมีธรรมมะข้อนี้จะสามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรต่างๆได้ดีมาก ทำให้รู้จักควบคุมอารมณ์และใช้อารมณ์อย่างฉลาด นำไปสู่ความสำเร็จ
น.ส.ศรัญญา จำเนียรกาล
กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉัน นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง                    สำหรับการนำทฤษฎี 5 K มาเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ของตัวดิฉันเอง จากการวิเคราะห์คือEmotional Capital ทุนทางอารมณ์                     ในสังคมเศรษฐกิจความรู้ (Knowledge Based Society) สิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจ คือ สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่มีคุณค่ามหาศาล นั่นก็คือความรู้ซึ่งขายความคิดกันเป็นล่ำเป็นสันในปลายศตวรรษที่ 200 ควบคู่กันมากับการขายความคิดเรื่องความรู้ คือ เรื่องของอารมณ์กับสิ่งที่กำลังท้าทายทางความคิด คือ ทุนทางอารมณ์ (emotional capital) ซึ่งมีความสำคัญต่อความเป็นคนอย่างมาก เพราะ ทุนทางอารมณ์ : จับจุดอ่อนความเป็นคน  มีหลักปรัชญา หรือสมมติฐานเบื้องต้นซึ่งจะขอฝากข้อคิดจากแนวคิดของอาจารย์ของมาร์กซ์ คือ กรุนไดซ์ ที่เฉียบคมเอาไว้ว่า "คนที่ฆ่าตัวเราได้ดีที่สุด คือตัวเราเอง" ในทางกลับกัน "คนที่จะสร้างตัวเราได้ดีที่สุด ก็คือตัวเราอีกนั่นแหละ" แล้วตัวที่ทั้งฆ่าและสร้างเราตรงนี้ต้องขอใช้หลักทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์กัน ก็คือ "อารมณ์ในตัวเราเอง"   เพราะคนมีหลากหลายอารมณ์เช่น 1. อารมณ์อยากเป็นเจ้าของ 2. อารมณ์ท้าทาย 3. อารมณ์ตัณหาราคะ 4. อารมณ์ความผูกพัน 5. อารมณ์บงการ หรืออยากกำหนดอะไรก็ได้ 6. อารมณ์อยากรู้อยากเห็น   7. อารมณ์รัก โกรธ 8. อารมณ์ภูมิใจ หยิ่งทระนง 9. อารมณ์เชื่อ และศรัทธา 10. อารมณ์เปลี่ยนแปลง หรือไม่อยากเปลี่ยนแปลง เราสามารถนำทุนทางอารมณ์ที่นี้มาช่วยในทางธุรกิจและการตลาด เมื่อทราบถึงอารมณ์มนุษย์แล้ว พร้อมหรือยังที่จะกล้าเอาอารมณ์มาเล่นเพื่อสร้างผลกำไรทางธุรกิจ และเป็นกลยุทธ์นำการตลาด...ถางทางสู่ความมีชัย Knowledge Capital ทุนทางความรู้  หรือ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)ไม่ว่าอยู่ที่ใด  ต้องแสวงหาปัญญาเพราะปัญญา มีอยู่ในทุกหย่อมหญ้าที่เราเหยียบย่างทุนทางปัญญา ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิทางปริญญาเอกมารวมตัวกันที่ห้องแล็บเพื่อทดลองและหาสูตรพิเศษให้กับบริษัทและทรัพยากรทางปัญญาก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเอกสารทางสิทธิบัตรเท่านั้น สิทธิบัตรเป็นแต่เพียงผลพลอยได้ ที่ตามมา ทุนทางปัญญาคือ รวมทั้งหมดที่ทุกๆ คนในบริษัทได้นำความรู้ที่ตนเองมีมาปรับเข้าด้วยกัน และทุนทางปัญญาในที่นี้ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทุนทางปัญญาตามนิยามที่นักบัญชีและนักธุรกิจเข้าใจกันว่าคือโรงงาน ที่ดิน เครื่องจักรหรือ เครื่องมือ และเงิน เพราะทุนทางปัญญาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้"  "ทุนทางปัญญาจึงหมายถึงเนื้อหาทางปัญญาและทางความคิด คือความรู้ ข่าวสาร ทรัพย์สินทางปัญญา และประสบการณ์" อันเป็นอำนาจที่คิดอ่านมาจากสมอง ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะให้นิยามและยิ่งยากมากยิ่งขึ้นเมื่อจะนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ถ้า ใครเข้าใจและสามารถนำใช้ได้แล้ว เขาผู้นั้นคือผู้ชนะ นั่นเป็นยุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารซึ่งต่างจากยุคอุตสาหกรรมในอดีต   Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรมต้นไม้ไม่มีราก ฉันใด สังคมก็มีรากฉันนั้น รากของสังคมคือวัฒนธรรม                    ทุนวัฒนธรรม คือ การนำเอาวัฒนธรรมประเพณีมาเป็นธุรกิจนั่นเอง อย่างเช่น เรามองหาจุดเด่นด้านประเพณี วัฒนธรรม การดำรงชีวิตของคนในสังคมเรา มาสร้างโอกาสทางธุรกิจ ประเทศไทยเรามีขนบธรรมเนียมประเพณีอันเก่าแก่ที่ควรอนุรักษ์ เราก็นำมาสร้างให้เกิดคุณค่า อาหารไทยก็สามารถนำมาทำให้ชาวโลกได้รู้จัก อย่าให้ใครมาเป็นต้นแบบแทนเรา และสิ่งที่เราสร้างควรเป็นวัฒนธรรมที่ดี มิใช่สิ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสังคม Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์                    มนุษย์ เรามีศักดิ์ศรีที่จะไม่จมปลักกับสิ่งเก่า ๆ เรื่องราวเก่า ๆ เราต้องคิดใหม่ทำใหม่ แหกคอกเข้าไว้ คิดเล่น ๆ คอกเขาเอาไว้ขังอะไรหว่า ตามประสาคนบ้าความคิด มาต่อกัน เราต้องมีการแข่งขันกันเพื่อเข้าถึงจุดหมายคือการกินดีอยู่ดีถึงจะมีความสุขและมีศักดิ์และศรีของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ซึ่งการคิดแบบสร้างสรรค์ควรมีระบบของความคิดที่ดี จึงเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถนำทุนทางอารมณ์ ประกอบกับทุนแห่งปัญญา ความรู้ และรวมกับวัฒนธรรมที่ดี ก่อให้เกิด ทุนนวัตกรรม  Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม                    Innovation หรือ นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีมาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย สรุปก็คือ นวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ อันได้แก่ ความคิด พฤติกรรม หรือสิ่งใหม่ๆ ที่ต่างกับสิ่งที่เป็นอยู่ และ การรับรู้ในของใหม่ และแบบอย่างใหม่ๆ ในวัฒนธรรมหนึ่ง  ประเด็นที่สำคัญของ เราหรือประเทศไทยคงต้องกลับมาทบทวน ด้านการปฏิรูปการศึกษา” “วิทยาศาสตร์...มีคำตอบ” (สิ่งนี้ทำได้ดีมาก แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น) และการสร้างนวัตกรรมระดับโลกซึ่งต้องได้มาจากการวิจัยและพัฒนา และสิ่งที่ท้าทาย เรื่องของ นวัตกรรมกลายเป็นปัจจัยใหม่ในความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจและประเทศ  โลกเศรษฐกิจที่ผ่านมาเราสามารถสัมผัสและซื้อขายสินค้าเชิงกายภาพได้ ปัจจัยในการสร้างและประดิษฐ์สินค้า ได้แก่ ที่ดิน ทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่นน้ำมันหรือแร่ธาตุ แรงงานมนุษย์ และเครื่องจักรและเป้าหมายขององค์กรคือการดึงดูดเงินตราซึ่งพวกเขาก็ทำได้ ตามเป้าหมาย แต่ต่อไปในยุคโลกาภิวัตน์การแข่งขันมีมากมาย ทรัพย์สินที่มีค่าสุดคือทรัพย์สินที่เราสัมผัสไม่ได้ซึ่ง ก็คือ ทุนทั้ง 5 ดังกล่าว เรานำมาใช้กับองค์กรของเรา พัฒนาให้เกิดประโยชน์  องค์กรเราก็สามารถเป็นหนึ่งได้ แต่การพัฒนาดังกล่าวจะต้องยั่งยืน ซึ่งจะเห็นได้จาก แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ซึ่งจะกล่าวถึง สังคมที่มีความสุขและยั่งยืน ด้วยความเคารพอย่างสูง

สวัสดีครับ ดร.จีระ ผมนายปรัชญา พุดดี นศ.ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรเเละอุตสาหกรรมอาหาร

Innovation Captital (ทุนทางนวัตกรรม) จากสาเหตุที่โลกในยุคปัจจุบันมีการเจริญก้าวหน้า พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆจึงควรให้ความสนใจเรื่องนวัตกรรมเป็นพิเศษ นวัตกรรมต่างๆย่อมเหมาะสมกับสภาพธุรกิจที่เเตกต่างกันออกไป การเลือกใช้นวัตกรรมจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องพิจารณาว่าองค์กรเป็นเเบบใด เหมาะกับนวัตกรรมเเบบไหน เพราะบางครั้งการเร่งพัฒนาจนเกินไปทำให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ควรค่อยๆปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เหมือนกับข้อความหนึ่งที่ผมเคยได้รับจากการอวยพรวันเกิดคือ "หนึ่งก้าวที่ยาวไกลอาจหวั่นไหวเเละล้มลง...เเต่หนึ่งก้าวที่มั่นคง เเม้จะสั้นเเต่มั่นใจ..." สำหรับปัญหาของการนำนวัตกรรมใหม่ๆไปใช้ที่พบเห็นบ่อยๆคือ ปัญหาของตัวบุคคล ยกตัวอย่างเช่น พนักงานอาวุโสที่อยู่กับองค์กรมาหลายปี อาจจะคุ้นเคยกับรูปแบบเดิมๆ เมื่อต้องพบกับนวัตกรรมใหม่ๆอาจเกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับ ซึ่งปัญหานี้ควรใช้วิธีการซึมซับนวัตกรรมนั้นเข้าไปอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะช่วยเเก้ปัญหาในจุดนี้ได้

Creativity Capital ทุนเเห่งการสร้างสรรค์ การคิดสร้างสรรค์เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ การสร้างสรรค์เเละนำไปปฏิบัติได้จริงย่อมทำให้เกิดการพัฒนา อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงสิ่งที่ทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมเเละสิ่งเเวดล้อมหรือไม่ การสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกๆคน เเต่เกิดจากประสบการณ์เเละการเรียนรู้พร้อมกับการนำไปประยุกต์ใช้ สำหรับประเทศไทยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้มีอยู่มาก เเต่ปัญหาคือบุคคลเหล่านี้ขาดเเรงผลักดัน ขาดการสนับสนุน เปรียบเหมือนเพชรที่รอวันเจียระไนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตัวมันเอง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องหันกลับมามองตัวเองว่ามีความสามารถ มีศักยภาพในด้านใดเเล้วเค้นเอาสิ่งนั้นออกมา ทำให้ดีที่สุด เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง

Knowledge Capital ทุนทางความรู้ การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ไม่มีวันสิ้นสุด ผู้ที่มีความรู้มากเเละสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ย่อมเป็นที่ต้องการขององค์กร ความรู้ไม่ได้มีอยู่เพียงในตำราเท่านั้น ดังคำพูดที่ว่า "ประสบการณ์ที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน" บางครั้งผู้ที่จบการศึกษาสูงอาจประสบความสำเร็จน้อยกว่าผู้ที่จบการศึกษาตำกว่าก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม มนุษย์เมื่อมีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเเล้ว มีการติดต่อสัมพันธ์กันย่อมจะเกิดวัฒนธรรมขึ้น ในสังคมหนึ่งๆจะมีวัฒนธรรมที่เเตกต่างกันไป วัฒนธรรมนี้เป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่เพราะเป็นเรื่องของจิตใจเเละความรู้สึกเเละยังส่งผลต่อภาพรวมด้วย สำหรับงานด้าน HRควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องของภาพรวม หากจะไปเปลี่ยนเเปลงหรือดำเนินการใดๆที่กระทบต่อวัฒนธรรม โดยที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเป้าหมาย อาจส่งผลให้เกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับ ทำให้กิจกรรมนั้นไม่บรรลุเป้าหมาย ผู้ที่ทำงานด้านHR นี้ต้องทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมขององค์กร การสร้างวํฒนธรรมขององค์กรนั้นจะเป็นผลดี เพราะในการดำเนินการบางอย่าง ถ้าวิธีการนั้นเป็นไปตามเเนววัฒนธรรมขององค์กรเเล้ว น่าจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยไม่ต้องบังคับ

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ ในการทำงานใดๆสิ่งที่เป็นตัวกระคุ้นให้มีความรูสึกอยากทำงานอีกอย่างหนึ่งคือ สภาวะอารมณ์ ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ผู้บริหารที่ดีควรเอาใจใส่ต่อพนักงานในด้านนี้ด้วย เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน จะส่งผลไปกระตุ้นพนักงานให้ปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าทฤษฎี 5 k นี้ได้กล่าวถึงทุนต่างๆไว้ เเต่ละทุนล้วนมีความสำคัญเเละมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน หากสามารถนำทุนเหล่านี้มาปรับใช้ให้เข้ากับองค์กร จะส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้..

น.ส.ศิริรัชน์ หินกล้า
เรียน ดร.จีระ  ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆ นศ..โท บริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารทุกคน  จากการที่ได้เรียนรู้ทฤษฎี  5 K จากท่านอาจารย์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้ค่ะ Innovation  Capital   -  ปัจจุบันโลกของเราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ละ องค์กรต่างก็มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นเลิศ  เทคโนโลยีที่ทันสมัยถูกนำมาใช้ในองค์กรทั้งด้านการผลิต การตลาด และอีกหลายๆ ด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร Knowledge  Capital   -  ทุนทางความรู้  การเรียนรู้ของคนเรานั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มหายใจจนกระทั่งเราหมดลมหายใจ การเรียนรู้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง มันเป็นสิ่งที่เคียงคู่กับการใช ้ชีวิต ไม่ใช่่เฉพาะความรู้ในตำราอย่างเดียวที่ต้องเรียนรู้และเพิ่มพูนแต่ความรู้  จากประสบการณ์ (ทั้งจากตน เองและคนรอบข้าง)์ หรือข่าวสารจากแหล่งอื่นๆ ก็ต้องมีด้วย เมื่อมีความรู้แล้วต้องนำมาปรับใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อองค์กร  และประเทศชาติด้วย Creativity  Capital   -  ทุนแห่งการสร้างสสรค์ เป็นการคิดสิ่งแปลกใหม่หรือแตกต่างจากเดิม  ความคิดสร้างสรรที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องความคิดในทางที่ดี  ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ Emotional  Capital   - อารมณ์เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด  เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนยากแก่ การควบคุม  แต่คนเราต้องรู้จักบริหารหรือจัดการอารมณ์ให้ดี  อย่าให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลเพราะถ้าเรา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้แล้วจะเกิดความเสียหายตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าต่อหน้าที่การงานหรือผู้คน รอบข้าง Cultural  Capital     -  ทุนทางวัฒนธรรม แต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม  ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ต่างก็มีจุดเด่นหรือจุดแข็งเป็นของตัวเอง  ดังเช่นประเทศไทยซึ่งมีเอกลักษณ ์ ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นหลายอย่างเช่น อาหารไทย  การไหว้ และกิริยาที่นอบน้อมต่างๆ หากนำจุดนี้ มาใช้ในทางธุรกิจ ตัวอย่างการเปิดร้านอาหารโดยเน้นอาหารไทยที่มีรสชาดอร่อย มีคุณค่าทางโภชนา การและมีการต้อนรับอย่างไทยๆ มีการแสดงการละเล่นหรือนาฎศิลป์ให้ในระหว่างที่ทานอาหารก็จะเป็น จุดเด่นที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ สุดท้ายดิฉันมีสิ่งที่อยากฝากให้ทุกคนลองทำคือ ทุกๆ เช้าก่อนออกจากบ้าน …. อย่าลืมคิดถึงสิ่งที่ต้องใช้ใน ชีวิตประจำวันเหล่านี้  1.       เครื่องประดับที่สวยที่สุดบนเรือนร่าง คือ …รอยยิ้ม ….2.       งานที่ทำแล้วพอใจที่สุดคือ …. การช่วยเหลือผู้อื่น…..3.       ความสุขที่สุดคือ …การให้ …4.       อาวุธร้ายแรงที่ต้องระมัดระวังและเก็บรักษาให้ดีที่สุด คือ … คำพูดทำร้ายผู้อื่น ….5.       พลังยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จคือ … ความรัก…6.       ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ … การทำร้ายตัวเอง…7.       ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่จะต้องเอาชนะให้ได้ คือ…. ความกลัว …8.       ยานอนหลับที่ให้ผลดีที่สุดคือ … ความสงบภายในใจ ..ขอบคุณค่ะ
กัลย์สุดา วังชนะชัย
ทฤษฏี 5 K 1.Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม นวัตกรรม  คือ ความรู้ที่เป็นระบบ+ความคิดสร้างสรรค์  ประกอบด้วย 3 ป.1.แปลก  (Idea ใหม่ๆ)2.ปรับปรุง  (นำแนวคิดที่เคยมีมาแล้วมาทำให้เป็นระบบมากขึ้น)3.ประยุกต์  (นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับยุคสมัยและองค์กร)การที่เราจะมีนวัตกรรมได้เราต้องยอมรับและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา 2.Creativity  Capital  ทุนแห่งความสร้างสรรค์  ความสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม  ความคอดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดมีมากมีน้อยไม่เท่ากัน  ซึ่งส่วนนี้เรียกได้ว่าพรสวรรค์  แต่การเลี้ยงดูและการฝึกฝนก็เป็นส่วนสำคัญ  เรียกว่าพรแสวง และเมื่อมีทุนเมื่อมีทุนแห่งความสร้างสรรค์แล้วนั้นจะเป็นต้นทุนในการก้าวไปสู่ทุนทางนวัตกรรมปัจจุบันนี้คนที่มีความคิดล้ำหน้าคนอื่นและได้รับการยอมรับจะประสบความสำเร็จ  เช่น ถ้าจะทำธุรกิจก็ต้องคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่แปลกแตกต่างจากที่มีอยู่ในท้องตลาด  และทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค 3.Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้ ความรู้หาได้จากหลายๆทางทั้งการเรียน,ประสบการณ์จริง(โดยตรง),ประสบการณ์ทางอ้อม(ได้จากการบอกเล่า) เมื่อเรามีความรู้แล้วเราต้องนำความรู้นั้นไปสร้างมูลค่าเพิ่มและปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับ HR ต้องมีความรู้ความสามารถในทุกๆด้านและมีทัศนคติที่กว้าง จะได้ประสานงานกับทุกๆส่วนในองค์กรได้ 4.Cultural  Capital  ทุนทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมานานและสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน  ซึ่งคนไทยทุกคนควรรักษาวัฒนธรรมอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของเราไว้และดึงมาเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตและการทำงาน เช่น การผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายก็ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมการรับประทานของผู้บริโภค  เช่น ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามผลิตภัณฑ์อาหารนั้นก็ต้องได้รับเครื่องหมาย Halal  และเกี่ยวกับ HR คือเราควรปลูกฝังให้พนักงานทุ่มเทกับงานและดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้อย่างเต็มความสามารถ และเป็นคนดี จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร 5.Emotion Capital  ทุนทางอารมณ์การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญการทำงานร่วมกัน เพราะทุนทางอารมณ์ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน เราต้องรู้ว่าเราควรแสดงอารมณ์อย่างไรในสถานการณ์นั้นๆ ไม่มีใครอยากทำให้เกิดความผิดพลาด การตำหนิจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีในการแก้ปัญหา เราควรจะต้องช่วยหาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  และเราควรแยกแยะอารมณ์ส่วนตัวอย่าให้มารบกวนการปฏิบัติงาน  วิธีฝึกพัฒนาความคิดสรรค์โดยการตั้งคำถาม1.ทำอะไร                            (ทำสิ่งที่แปลกและแตกต่าง)2.ทำเพื่อใคร                         (ทำเพื่อความพอใจของผู้บริโภค)3.ทำได้ไหม                          (ต้องลองทำ)4.ทำอย่างไร                         (ทำให้โดนใจ)5.ทำแล้วจะสำเร็จไหม             (อยู่ที่ความตั้งใจและประสบการณ์ ค่อยๆทำไปอย่ารีบเร่ง)
พิมพ์พร เอี่ยมสอาด
ทุกวันนี้ เราคงไม่ได้แค่ต้องการจะขายสินค้าเราแค่เพียงในประเทศ   แต่เราต้องการกระจายสินค้าเราสู่ตลาดโลก ฉะนั้นแบรนด์ของเราต้องแข็งแกร่งและมีความเป็นเอกลักษณ์ (Brand Identity)  ซึ่งมันต้องมีองค์ประกอบอื่นๆอีก คือเราต้องสามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละภูมิภาคในตลาดโลกได้ โดยที่ยังคงยึดมั่นกับคุณค่าหลักของแบรนด์เราอยู่ เช่น แมคโดนัลด์ยึดมั่นในคุณค่าของความรวดเร็ว สะดวก สะอาด เมื่อต้องการเปิดตลาดที่อินเดีย แมคโดนัลด์ก็มีการปรับรูปแบบการบริการและผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนอินเดียที่ส่วนมากไม่ทานหมูหรือเนื้อวัว จึงเกิดแฮมเบอร์เกอร์ที่เป็นแกงกะหรี่มังสวิรัติ (Tikka burger) ที่เป็นรสชาติพิเศษของคนอินเดียเท่านั้น  นอกจากชาวอินเดียยังไม่นิยมการซื้อแบบขับรถมาสั่ง จึงต้องมีการเน้นการจัดส่งเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แต่ก็เป็นระบบที่คุ้นเคยกันอยู่ เช่น สกูตเตอร์หรือจักรยานหรืออีกแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากโดยใช้กลยุทธ์ด้านการยืดหยุ่นในการปรับตัวของกิจการให้เหมาะสมกับตลาดภูมิภาค เราจะเห็นว่า KFC มี การคิดค้นสูตร hot and spicy , ข้าวยำ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองลูกค้าคนไทยที่ชอบอาหารประเภทรสจัด แต่ถึงแม้จะมีการปรับเมนูผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาดที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ยึดมั่นเพื่อคงคุณค่าของการบริการไว้คือคุณภาพของวัตถุดิบ และลักษณะการบริการที่เหมือนกันทั่วโลก เพื่อให้เกิดคุณค่าด้านความสะดวกสบายนั่นเอง  หรืออีกตัวอย่างที่นำเอาจุดเด่นของวัฒนธรรมไปเป็นจุดขาย คือภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้งที่สามารถอยู่ในสถิติ Box Office ได้ ก็ด้วยความโดดเด่นของวัฒนธรรมไทย หากพูดถึงประเทศไทย ต่างชาติมักนึกถึงช้างและมวยไทย อันนี้เป็นตัวอย่างของการนำเอาวัฒนธรรมไปสร้างเป็นจุดขาย โดยไม่จำเป็นต้องปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอื่นแต่เคลล็อก คอร์นเฟลก กลับเป็นตัวอย่างของความล้มเหลว  ซึ่งเคลล็อกคอร์นเฟลกเองถือเป็นอาหารเช้าที่นิยมกันอย่างมากในอเมริกาและหลายประเทศทั่วโลก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในอินเดียและเอซีย เนื่องจากความแตกต่างของความเชื่อนั่นเอง  คนเอเซียจะเห็นว่าอาหารเช้าควรเป็นอาหารที่ร้อน เนื่องจากเป็นมื้อแรกของวัน ซึ่งหากรับประเทานอาหารเช้าที่เย็นจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายฉะนั้น ในการที่เราจะประสบความสำเร็จในตลาดโลกได้ ไม่ใช่แค่การแปลความหมายของแบรนด์ให้เป็นอีกภาษาหนึ่ง หรือไม่ใช่แค่ปรับรูปแบบการบรรจุหีบห่อก็สามารถจะเข้าไปทำตลาดในแต่ละประเทศได้แล้ว แต่เราต้องสามารถหลอมรวมกันสร้างสิ่งที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง จะต้องสามารถสร้างเอกลักษณ์ทางการแข่งขันขึ้นมาให้ได้  ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะสอดคล้องกับหลักของทฤษฎี 5K’s ที่ประกอบไปด้วย
  1. Innovation capital (ทุนทางนวัตกรรม) ซึ่งหมายถึงนวัตกรรม การคิดริเริ่ม หรือปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งเก่าที่มีอยู่ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่และมีคุณค่า
  2. Creativity capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์) หมายถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หากเรารู้จักสร้างสรรค์ จะนำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ
  3. Knowledge capital (ทุนทางความรู้) หมายถึงการหาความรู้ทั้งจากในตำราและนอกตำรา แล้วรู้จักนำเอาความรู้นั้นไปใช้ก่อให้เกิดมูลค่า
  4. Cultural capital (ทุนทางวัฒนธรรม) หมายถึง การพยายามสร้างproductใหม่ๆ แต่ยังคงยึดมั่นคุณค่าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
  5. Emotional capital (ทุนทางอารมณ์) หมายถึง การรู้จักควบคุมอารมณ์ ,rhythm รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
 ทุนทั้ง 5 ดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่ว่าจะสามารถเกิดหรือมีกันได้เพียงชั่วข้ามคืน HR สามารถมีส่วนช่วยในการปลูกฝังและพัฒนาคนในองค์กรให้รู้จักการเรียนรู้บนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสุดท้ายก็จะนำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ
นายสุทธิพงศ์ คงขาว
เรียนอาจารย์ ดร.จีระ ที่เคารพ    ผมเป็นนักศึกษาป.โท สาขาการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมีสิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันที่  25  มิถุนายน  2549            ในทุกประเทศจะมีทุน 5k อยู่แล้วซึ่งได้แก่ Creativity capital, Knowledge capital , Emotional capital, Innovation Capital , Cultural Capitalผมมองมาที่ประเทศของเราจะพบว่า จุดแข็งของเราน่าจะเป็นทุนทางด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital) ยกตัวอย่างเช่น  food  Cultural , human relationship  ซึ่งในปัจจุบันทุนทางด้านวัฒนธรรมสามารถนำมาทำเป็นจุดขายได้เช่น ร้านอาหารไทยต้อนรับลูกค้าโดยการไหว้ทำให้ลูกค้าประทับใจทุนทางนวัตกรรม  (Innovation  Capital) เป็นทุนที่สร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในโลกต้องอาศัยนักวิจัย นักประดิษฐ์  ฯลฯ  ในประเทศไทยควรส่งเสริมพัฒนาทุนทางด้านนี้เช่น  การใช้ภูมิปัญญาทางด้านยาสมุนไพรมาประยุกต์เพื่อสร้างยาต่างๆ             ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  (Creativity capital) อาจมองได้ว่าเป็นจุดเริ่มของนวัตกรรม (Innovation) ต่างๆ  โดยอาศัยความคิดแปลกใหม่ ความคิดที่แตกต่าง ควรมีการสร้างให้คิดนอกกรอบ  เช่น  ในอดีตคิดว่าทำอย่างไรให้คนบินได้  ในอนาคตคิดว่าทำอย่างไรให้คนไปอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ได้            ทุนทางด้านความรู้ (Knowledge Capital) เมื่อเรามีความคิดสร้างสรรค์การที่จะทำให้เกิดผลงานขึ้นได้เราต้องมีความรู้และการสร้างองค์ความรู้ (Learning  Organization ) จะทำให้ประเทศชาติพัฒนามาขึ้นเพราะคนแต่ละคน share Idea กันแล้วนำไปต่อยอดความรู้            ทุนทางด้านอารมณ์ (Emotional Capital) เป็นทุนที่มีอยู่เฉพาะตัวบางคนอารมณ์ร้อน บางคนอารมณ์เย็น ดังนั้นงานที่แต่ละคนได้รับมักเป็นผลจากอารมณ์จะแตกต่างกัน             สุดท้ายเมื่อเรามี ทุน 5k แล้วควรมีแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จโดยใช้พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เมื่อจะทำงาน อย่าเอาความขาดแคลนเป็นข้ออ้าง  จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้บรรลุ จงทำงานด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์
ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง เรื่อง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา  ผมอดที่จะขอขอบคุณพี่ พี่บุญญา หลีเหลด ซึ่งเรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยกันไม่ได้  พี่บุญญามีส่วน เป็นจุดเริ่มต้นทำให้อาจารย์ของพวกเรา ได้มีโอกาสทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ที่น้อยคนจะได้มีโอกาสเข้าไป ณ จุดนี้ ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริง ได้น่าสนใจ เช่น
  • เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต ประโยคนี้ มีความหมายกับชีวิตมาก และน้อยคนที่จะทำได้ดี  แต่ ศ.ดร.จีระ เป็นอยู่ทุกวันนี้ อาจารย์น่าจะจัดอบรม ในเรื่องนี้ให้กับเยาวชนไทย ได้มีความรู้และเทคนิคเรื่องพวกนี้ เพราะคนเยาวชนไทย ส่วนมากเรียนแล้วมักจะเป็นลูกจ้างไปตลอดชีวิต ไม่มีอิสรภาพในชีวิตเพียงพอ ทำให้ขาดทุนทางความสุข เครียดกับงาน เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง
  • ตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป  ระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่งประโยคนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมองข้ามศาสตร์ มองนอกกรอบ เป็นเรื่องสำคัญ องค์กรใดก็ตามถ้าใช้เพียงศาสตร์เดียวบริหาร สั่งการ จะทำให้มีปัญหาตามมาได้  และผู้มีอำนาจ ผู้บริหารที่มีหลายศาสตร์จะมีความได้เปรียบในการบริหารจัดการ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้มากยิ่ง ๆ ขึ้น
  • ศ.ดร.จีระได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน  ประโยคนี้ ผมประทับใจอาจารย์ตรงที่ อาจารย์มักจะใช้คำว่า แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกัน  อาจารย์เป็นคนให้เกียรติผู้อื่นเสมอ แม้กระทั่งลูกศิษย์ของอาจารย์ ก็ได้รับเกียรติ ได้รับความรักกันทั่วหน้า สิ่งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่นักบริหารที่เป็นเลิศพึงมี  มีความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์  
  • ผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ประโยคนี้ ทำให้ผมคิดถึง อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ และทราบว่า ศ.ดร.จีระ ก็เป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ซึบซับทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนอื่น ๆ จากอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อาจารย์ไม่ลืมครูอาจารย์ ทั้งยังสานต่อเจตนารมณ์ มุ่งมั่น ยึดมั่นทำความดี ต่อสังคมประเทศชาติ ตรงนี้ ตอกย้ำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บรรดาลูกศิษย์ ของอาจารย์จีระ ที่จะซึมซับคุณความดีเหล่านี้และนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างทีดีต่อไป
  • การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา  ประโยคนี้ย้ำว่า ในยุคปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และมีผลต่อการบริหารจัดการทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  จำเป็นที่จะต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลง และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก มองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของโลก มาสูการปรับเปลี่ยนในประเทศ ในองค์กร ในชุมชน ระบบตุลาการศาลยุติธรรมโชคดีที่มีอาจารย์เข้าไปร่วมตรงนี้ เพราะอาจารย์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ ถึงขั้นที่พร้อมจะแบ่งบันให้กับสังคมโลก
  • เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ประโยคนี้ ทำให้เห็นวิสัยทัศน์และแนวความคิดในการบริหารที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ มีวิสัยทัศน์เพราะการบริหารในสมัยนี้ และสมัยหน้า เน้น out put /out come ไม่ได้เน้นที่ วิธีปฏิบัติมากนัก หลายองค์กรจึงหันมาพูดถึงเรื่อง competencies กัน  ถ้าระบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีตรงนี้ จะมีประโยชน์มากกต่อการบริหารและการพัฒนาการทำงาน  และจะเกิดผลดีต่อประชาชน และ ศ.ดร.จีระ ยังเน้นเรื่อง ทุนทางความสุข เชื่อมโยงกับการทำงานกับประชาชน ซึ่งแม้แต่ฝรั่งยังทำได้ยาก และมาขอเรียนรู้กับอาจารย์  เป็นข้อคิดที่ดีว่า การทำงานต้องควบคู่กันไปกับการทำความสุข  จะนำไปสู่ความสุขในการทำงาน

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้  ขอบคุณพี่บุญญา หลีเหลด อีกครั้ง ที่มีส่วนทำให้ผมได้เรียนรู้บทเรียนจากความเป็นจริงในเรื่องนี้  และหากพวกเราที่เรียน ป.เอก ทุกคน มีความคิดเช่น พี่บุญญา นี้ เมื่อเราจบ ป.เอก มาแล้ว เราจะทีมที่ช่วยประเทศชาติได้เป็นอย่างมาก

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

 

 

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

 

 

สวัสดีครับ

ยม

น.ศ.ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา[1]

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ลูกศิษย์และผู้เกี่ยวข้องต่างประหลาดใจ เมื่อปรากฏชื่อผมเป็นผู้แข่งขันเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กับคุณประมุท สูตะบุตร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ซึ่งผมได้รับคัดเลือกด้วยคะแนน 108 ต่อ 49

 ผมจะเล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอย่างไร ข้อสำคัญ บรรดาตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมคาดหวังอะไร เขาพอใจการเลือกตั้งวิธีนี้หรือไม่ ประเทศได้อะไร


ก่อนอื่น ชีวิตของผม ที่คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ได้สรุปว่า เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

เหตุเกิดขึ้นเพราะ ลูกศิษย์ผมซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ชื่อคุณบุญญา หลีเหลด เรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

คุณบุญญาพยายามอธิบายว่าสมาชิกวุฒิสภาต้องสรรหาตุลาการศาลยุติธรรมแทนท่านที่ลาออกไปสมัครเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

ผมจะทำอะไร ไม่เคยอยากเป็นหรือสมัคร และจะต้องมีตำแหน่งเพื่อทำงาน ในทางตรงกันข้าม ผมกลับหลีกเลี่ยงที่จะให้เสนอชื่อผมในตำแหน่งต่างๆ แม้กระทั่งการเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผมก็ไม่เคยอยากเป็น แต่มีบรรดานักเรียนเก่าหลายกลุ่ม มาขอให้ผมช่วย

 

ผมเห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาอย่างคุณบุญญาเห็นคุณค่าของผม ผมจึงส่งใบสมัครไปแข่งขัน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ผมถูกเรียกไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีอยู่ 10 กว่าท่าน และผมก็ได้เรียนท่านไปว่า ผมมาสมัครเพราะลูกศิษย์ผม คุณบุญญาอยากให้ผมได้ช่วยระบบตุลาการ และมีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติทางกฎหมาย กรุณาอย่าเลือกผมเลย

 

บรรดากรรมการสรรหาก็รับฟังและยังอยากให้ผมมีโอกาส ถามผมว่า ถ้าผมเป็น ผมจะทำอะไร

 

ผมได้บอกว่า ระบบตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป แต่ประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายนัก ผมยังอยากให้ระบบตุลาการเป็นระบบที่ทรงคุณค่า และเป็นที่พึ่งของประชาชนส่วนใหญ่ได้

 

ดังนั้นความรู้ของระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่ง สิ่งที่ผมถนัดคือเรื่องพัฒนาคุณภาพของผู้พิพากษาและพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในระบบศาลให้เขาทำงาน มีคุณภาพมากขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงาน ดูระบบการบริหารและการทำงานเป็นทีม อาจจะต้องพัฒนาระบบการทำงาน ใช้ IT มีการทำวิจัยให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง Networking กับต่างประเทศและมหาวิทยาลัยมากขึ้น ให้มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งก็ทำได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

เพราะอย่างน้อย ผมได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน เพื่อให้ระบบตุลาการได้ทำงานสะดวก มีการมองกฎหมายในมิติของธุรกิจ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคม การเมือง หรือมุมมองอื่นๆ

 

หลังจากผมได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ได้ทราบว่า ผมได้คะแนน 10 จาก 12 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูง ผมภูมิใจที่วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ เห็นความสำคัญ รู้ว่า ผมทำในสิ่งที่ผมพูด

 

หลังจากนั้น ผมลืมเรื่องนี้ไปเลย เพราะอาจจะไม่มีโอกาสได้ให้วุฒิสมาชิกทั้งคณะเลือก เพราะหากกรรมการสรรหาชนะ แต่อาจจะแพ้ที่คณะสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ เพราะสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นอิสระอย่างที่รู้ๆ กัน และยิ่งไปกว่านั้น เวลาก็น้อยลงเพราะหมดวาระแล้ว

 

แต่วันนั้นก็มีวาระเรื่องนี้ และสมาชิกวุฒิสภา 108 ท่านกรุณาลงคะแนนให้ผม ซึ่งผมต้องขอขอบคุณอย่างมากที่ให้โอกาส

 

ในชีวิตการทำงานของผม ถือว่าเป็นความรู้สึกลึกๆ ว่า มีคนในสังคมไทยยังมองผมดี มีประโยชน์ เป็นที่พึ่งของประเทศได้ เพราะผมไม่ได้ lobby อะไรเลย ถ้าผมไม่ได้ พี่ประมุทก็ทำงานได้ดี เพราะพี่ประมุทมีประสบการณ์มากกว่าผม

 

เมื่อผมได้รับเลือก ต้องการเรียนว่า ที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาเป็น Block vote อะไรนั้น อาจจะไม่จริงทุกเรื่อง เพราะผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านก็ติดตามต่อไปว่า งานของผมจะเป็นอย่างไร แต่อย่าคาดหวังอะไรมาก เพราะตุลาการศาลยุติธรรมมีหน้าที่สนับสนุนให้ระบบบริหาร ระบบการแต่งตั้งของตุลาการให้มีความโปร่งใส ยุติธรรม

 

เรื่องที่น่าสนใจคือ ช่วงนี้มีคดีสำคัญที่เกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง อยากให้ทุกอย่างผ่านไป โดยให้ความยุติธรรมยังอยู่ โดยไม่มีอิทธิพลเหนือระบบตุลาการยุติธรรม เพราะประเทศไทย จะต้องอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

 

ฉะนั้น การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะการเมือง สังคมภาคประชาชน และธุรกิจ รวมทั้งเรื่องคดีต่าง ๆ ในระดับระหว่างประเทศด้วย เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ใช้วิธีการต่างๆ ช่วยให้ข้อพิพาทต่างๆ ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการเจรจา การประนีประนอมนอกศาล รวมทั้งทำงานร่วมกับระบบยุติธรรมอื่นๆ ไม่ว่าตำรวจ อัยการ หรือแม้กระทั่ง สภาทนายความ

 บรรดาผู้ที่เป็นที่รักของผม คงสนใจว่า ผมได้รับเลือกเพราะอะไร จะได้เข้าใจและช่วยส่งข้อมูลที่ดีๆ มาให้ผม ผมจะได้ทำงานให้ดีที่สุด และขอขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีที่ส่งมาถึงผมมากมาย  

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

น.ส.สุพัชชา ขับกล่อมส่ง
เรียนอาจารย์จีระ และสวัสดีเพื่อน ๆ รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน                องค์กรจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์เป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้ประสบความสำเร็จ  ถ้าองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความพร้อม  มีทุนที่หลากหลาย  ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร  ทุนที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ  ตาม ทฤษฎี  5 K ได้แก่  ทุนทางวัฒนธรรม  ทุนแห่งการสร้างสรรค์  ทุนทางความรู้  ทุนทางวัฒนธรรม  และทุนทางอารมณ์  ซึ่งที่มาของแต่ละทุน  และการนำทุนแต่ละชนิดไปใช้ในการพัฒนาองค์กรและประเทศชาติ  ดังนี้                1. ทุนทางนวัตกรรม  โลกและสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี  องค์กรจึงต้องมีการคิด พัฒนาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น  โดยอาศัยทุนทางนวัตกรรม  ซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ผสานกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แล้วคิดสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ นวัตกรรมนั้น นอกจากจะพัฒนาจากความรู้และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ แล้ว  ยังอาจพัฒนามาจากความรู้และแนวความคิดพื้นฐานเดิมที่มีอยู่  แล้วนำมาต่อยอดต่อไปก็ได้  จะเห็นได้ว่าทุนทางนวัตกรรมนั้นมีพื้นฐานมาจากทุนทางความรู้ และทุนแห่งการสร้างสรรค์ด้วย                2. ทุนทางความรู้  เป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กรมาก  การจะทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จย่อมต้องมีความรู้ ความสามารถ  ความรู้เป็นสิ่งที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ ทั้งจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง กลั่นกรองเป็นความรู้  หรือจากการเรียนรู้ประสบการณ์จากผู้อื่น โดยการอ่าน ฟัง พูดคุย  ส่วนการคิด ค้นคว้า ศึกษา ทดลอง เพื่อพิสูจน์  เกิดเป็นหลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ  ก็เป็นการนำมาซึ่งความรู้เช่นกัน  ความรู้เป็นสิ่งที่มีมากมาย  และเกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ  เราจึงต้องเรียนรู้อยู่เสมอ  และเมื่อมีความรู้แล้วก็ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา องค์กร สังคม และประเทศชาติ                3.  ทุนแห่งการสร้างสรรค์  เป็นทุนที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความคิดริเริ่มที่จะคิดสิ่งใหม่ ๆ ออกมา การสร้างสรรค์นี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงด้วย  ต้องคิดอย่างมีหลักการและเหตุผล  และที่สำคัญต้องมีความอดทน ในการนำเอาความคิดนั้นมาใช้ให้เกิดผลจริง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นความคิดที่เลื่อนลอย เพ้อเจ้อ  ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้นอกจากใช้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มของตัวบุคคลแล้ว  สภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการคิดแบบสร้างสรรค์เช่นกัน โดยควรเป็นแบบเปิดรับความคิดเห็นใหม่ ๆ ให้โอกาสแก่บุคคลแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้บุคคลกล้าที่จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เชิงสร้างสรรค์  การคิดสร้างสรรค์ย่อมจะสร้างสิ่งใหม่ ๆขึ้นมาทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาอยู่เสมอ                4. ทุนทางวัฒนธรรม  เป็นทุนที่มีค่ายิ่งของสังคม  เป็นสิ่งที่ดีงาม  สืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่ละชุมชนก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป  สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แนวความคิด ความเชื่อ รวมทั้งศาสนา  ที่ต่างกันย่อมส่งผลต่อวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนที่ต่างกัน  ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมที่งดงาม  ทั้งภาษา การแต่งกาย การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย อาหารการกิน  ซึ่งเป็นที่ชื่นชมและสนใจจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก   ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทันสมัย โลกเล็กลง ทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน เราควรใช้สติ ในการพิจารณา เพื่อรับเอาวัฒนธรรมที่ดี เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเรา  เราต้องช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของไทยเอาไว้ให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยต่อไป   หากพิจารณามาภายในองค์การ  จะเห็นว่าทุกองค์การต่างก็มีวัฒนธรรมในการทำงานที่แตกต่างกัน  เราควรสร้างวัฒนธรรมที่ดีในการทำงาน ส่งเสริมการทำดี ความซื่อสัตย์ ความขยัน อดทน ในการทำงาน สร้างให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ย่อมทำให้องค์กรพัฒนาต่อไป                5.  ทุนทางอารมณ์  แต่ละคนย่อมมีอารมณ์ที่แตกต่างกันขึ้นกับสภาพแวดล้อม สภาพครอบครัวที่ปลูกฝังกันมา  และแตกต่างกันตามสถานการณ์ด้วย  อารมณ์ยังเป็นส่วนกำหนดลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลด้วย   บางคนแม้มีความรู้ ความสามารถ แต่หากไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ย่อมส่งผลเสียต่อการทำงานอย่างแน่นอน  การฝึกปฏิบัติสมาธิตามหลักการทางพุทธศาสนามีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์เป็นอย่างมาก  ช่วยให้เรารับรู้ถึงอารมณ์ที่มากระทบ รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์นั้น เป็นการเตรียมตัวเองให้พร้อมรับกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของเรา  ซึ่งบางบริษัทเห็นความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยกำหนดเป็นข้อกำหนดในการรับพนักงานเข้าทำงานว่าต้องผ่านหรือยอมที่จะทำการการฝึกสมาธิเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกสมาธิเป็นการช่วยให้เราควบคุมอารมณ์ได้ดี  เมื่อเราควบคุมอารมณ์ได้ดีแล้วย่อมทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพ ทั้งงานของตน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้ามองถึงระดับสังคมหรือประเทศ หากบุคคลมีทุนทางอารมณ์ที่มั่นคงก็ย่อมจะดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง การทำร้ายร่างกาย ทำให้สังคมมีความสงบ                จะเห็นได้ว่าทุนแต่ละตัวมีที่มาที่แตกต่างกัน การนำเอาทุนแต่ละตัวมาใช้ในการพัฒนาองค์กร หรือ ประเทศนั้นต้องใช้ความสามารถในการผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยถ้าองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความพร้อม  มีทุนที่หลากหลาย  ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป                ด้าน food science ก็สามารถนำทุนแต่ละชนิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  เพราะวงการ food science เองก็ต้องมีการพัฒนาต่อไปเช่นกัน  เช่น อาศัยทุนทางนวัตกรรม ทุนทางความรู้ และทุนแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคิดค้น พัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหาร  ลดต้นทุนการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  การพัฒนาสูตรอาหารต่าง ๆ ก็ต้องใช้ทุนต่าง ๆเหล่านี้เช่นกัน และในฐานะ food science ควรคำนึงถึงทุนที่สำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง คือ ทุนทางวัฒนธรรมด้วย  เพราะวัฒนธรรมเรื่องอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยควรเอามาผสานกัน  โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับการผลิตอาหารไทย เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา รักษาคุณภาพผลผลิต และยังคงความมีเอกลักษณ์ของไทยเอาไว้
นางสาวณัฏฐา มั่นคง
เรียน ศ.ดร.จีระ และสวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ  จากเรื่องทฤษฎี 5k ใหม่ของศ.ดร.จีระ ดิฉันเปรียบได้กับการขายอาหาร คือ การทำอาหารแม้ตำราเล่มเดียวกัน แต่อาหารกลับอร่อยไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับน้ำมือ และเคล็ดลับของแต่ละคนด้วย (ทุนความรู้) เมื่ออาหารอร่อยเหมือนกัน แต่การจัดอาหารลงบรรจุภัณฑ์แตกต่างกัน ก็จะทำให้คุณค่าของอาหารแตกต่างกัน (ทุนการสร้างสรรค์) บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแต่เป็นอันตรายต่อคนรับประทานและสิ่งแวดล้อม ก็ย่อมไม่มีคุณค่าเช่นเดียวกัน (ทุนวัฒนธรรม) เราจึงต้องหาวิธีการทำบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยโดยใช้เทคนิค วิธีการและเครื่องมือที่ทันสมัย  ต้องเป็นที่ยอมรับในสังคม (ทุนนวัตกรรม) เมื่อได้อาหารที่มีทั้งคุณภาพและคุณค่าครบถ้วนแล้ว คนขายต้องมีอารมณ์แจ่มใส รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา อดทนและให้อภัยต่อลูกค้าในบางเรื่องที่ขัดแย้งกัน ก็จะเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าต้องการซื้ออาหารของเรา (ทุนอารมณ์)                เช่นเดียวกับทรัพยากรมนุษย์ ต้องให้เกียรติ  ศักดิ์ศรี และคุณค่าในตัวคนก่อน เมื่อคนเห็นว่าเราเห็นคุณค่าของเค้าแล้วก็จะทำงานให้องค์กรเอง โดยใช้ความรู้ที่มีอย่างเต็มที่ เมื่อความรู้ที่แตกต่างกันมารวมกันมากๆก็จะมีการแลกเปลี่ยนความคิด ได้เป็นสิ่งใหม่ออกมา ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนเกิดเป็นนวัตกรรม ท้ายที่สุดแล้วทุกอย่างจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าคนที่อยู่ร่วมกันไม่ควบคุมอารมณ์ในการทำงาน
นางสาวศรีทอง โคตะมะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์   ดิฉันศรีทอง โคตะมะค่ะ 

                เมื่อเรากล่าวถึงทุนต่างๆในการประกอบขึ้นเพื่อความสมบูรณ์แบบของการที่จะเป้นมนุษย์ที่มีความสุขและมีคุณค่าในสังคมในทุกเวลานั้น ดิฉันเข้าใจและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในทุนทางความรุ้  ว่าจะต้องเกิดจากกระบวนทางความคิด  เพราะถ้าเป็นความรู้  แบบจำข้อมูล  ณ เวลาหนึ่ง  อาจจะไม่มีค่าเลยในอีกเวลาหนึ่ง   แต่ถ้าเป็นความรู้ที่เกิดจากการรู้จักการคิดโยงความสัมพันธ์ของเหตุและผลจากข้อมูลที่ปัจจุบันนั้นๆ  เราจะได้ความรู้ที่ทันสมัยเสมอ  และใช้ได้จริงกับสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น   และนอกเหนือจากนี้มีความรู้อย่างหนึ่งที่ดิฉันได้พบและคิดว่าสำคัญมาก ยิ่งสำหรับตัวดิฉันคือ ความรู้ที่เกิดจาก   การรู้เท่าทัน  เท่าทันอะไร ?       ประการที่ 1  การรู้เท่าทันตนเอง   รู้ความสามารถว่าการจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรามี  skill พอไหม  ขาดอะไร       ต้องเพิ่มให้ทัน        ประการที่  2  การมีความรู้ด้านทรัพยากรของตนเอง  จะใช้เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชน  สังคม ตนเองอย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลย์        ประการที่  3 การรู้การเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก  เพราะเราไม่สามารถป้องกันการรุกล้ำจากภายนอกได้ 100  %  ฉะนั้นเราต้องรุ้ผลกระทบเพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อม       ปัจจัยภายนอกกระทบเราได้  แต่เรานั้นต้องไม่กระเทือน                                                       ขอแสดงความนับถือ ค่ะ    
  สวัสดีครับ อาจารย์ นี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่ผมได้ใช้ทุนทาง IT มาใช้ในการหาทุนทาง ความรู้ ในวิชาทรัพยากรมนุษย์ สำหรับทฤษฎีทุน 8 ประการ ซึ่งมี 1.       ทุนมนุษย์2.       ทุนทางปัญญา3.       ทุนทางจริยธรรม4.       ทุนแห่งความสุข5.       ทุนทางสังคม6.       ทุนแห่งความยังยืน7.       ทุนทางสารสนเทศ8.       ทุนทางทัศนะคติซึ่งอาจจะขาดคุณสมบัติอะไรบ้างอย่าง ในการทำงานหรือ ในการพัฒนาองค์กร ในระดับต่างๆ โดยอาศัยจากการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของอาจารย์ ที่มากมาย จึงได้เกิด ทฤษฎีใหม่ คือทฤษฎี 5 K’s ดังนี้1.       ทุนทางนวัตกรรม คือ การคิดในสิ่งที่แตกต่าง และนำไปใช้ประโยชน์ได้2.       ทุนแห่งการสร้างสรรค์ คือ มีความคิดในทางสร้างสรรค์3.       ทุนทางความรู้ คือ การหาความรู้ใส่ตัว4.       ทุนทางวัฒนธรรม คือ การเรียนรู้ ประเพณี ธรรมเนียม ในท้องถิ่นต่างๆ5.       ทุนทางอารมณ์ คือ มีสมาธิด้วยความเครพอย่างสูงครับ
ยม "Food Business ประสบการณ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ น.ศ. ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารทุกท่าน เมื่อวันอาทิตย์ ผมได้มีโอกาสไปสอน น.ศ.เรื่อง Food Business ประสบการณ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของผม  มาเล่าสู่กันฟัง แชร์ความรู้กับ น.ศ. เสียดายที่เวลามีจำกัด ได้เล่าประสบการณ์การทำงานในสาย HR ตั้งแต่เป็นพนักงานจนถึงผู้อำนวยการฝ่ายฯ ผ่านมาหลากหลายองค์กร  สิ่งที่ผมได้พูดให้ น.ศ.ฟัง ไป มีประเด็นใหญ่ ๆ ได้แก่§       FOOD BUSINESS กับการเปลี่ยนแปลงของโลก§       กลยุทธ์ธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน§       โครงสร้างองค์กรธุรกิจ อาหาร จากประสบการณ์ §       ความหมาย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร) §       กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์§       การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่สอดคล้องกับกับกลยุทธ์ธุรกิจ§       ประสบการณ์ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (กรณีศึกษา)§       พนักงานที่ขาดทุนทางความสุข§       พนักงานที่ขาดทุนทางปัญญา§       พนักงานที่ขาดทุนทางจริยธรรมฯก่อนพูดคุยในสาระ ผมได้ให้การบ้านนักศึกษาไป 3 ข้อ โดยให้ส่งทาง Blog ภายในวันพฤหัสฯ  ดังนี้1.    ในความเข้าใจของนักศึกษา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร) หมายถึงอะไร กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์(ระดับองค์กร) มีอะไรบ้าง จงอธิบาย2.    ถ้าท่านได้มีโอกาสบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านคิดว่าจะบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดประโยชน์ สุข สูงสุด ทำ HR ให้ดีที่สุด ได้อย่างไร3.    ให้นักศึกษาเขียนว่าเรียนกับผมแล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง ให้ตอบ เป็นประเด็น ๆ  

การบ้านนี้ มีคะแนนเก็บ ไว้ช่วยตอนสอบด้วย   -

·       ส่งตรงเวลา ภายในวันพฤหัสฯ  

·       เขียนตอบได้ อธิบายได้สาระ ชัดเจน ถูกต้อง มีข้อคิด แง่คิด เป็นของตัวเองเสริม

 

ในระหว่างที่เล่าประสบการณ์ ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้กับ น.ศ. ผมสังเกตเห็นนักศึกษาที่ตั้งใจเรียนเป็นพิเศษ ดูจะเป็นผู้มีบุญในการเรียน คือ สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ อย่างมาก บางคนเรียน ป.โท เหมือนฝรั่งเรียน คือมีปฏิสัมพันธ์ดี ถามด้วยความอยากรู้ จริง  ผมคิดว่า การปฏิบัติธรรม(ตั้งใจ ดี) ธรรมจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติให้มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ได้เป็นอย่างดี ขอให้ น.ศ. ที่ตั้งใจ จงประสบความสำเร็จ ในการประกอบกิจกรรมทั้งหลาย โชคดีจงมีแด่ทุกคน

 

สวัสดียม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  หลักสูตร               บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารรหัสวิชา-ชื่อวิชา   04147152 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)อาจารย์ผู้สอน       ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy                              Email: [email protected]    Office: 0-2884-9420-1วัน-เวลา                ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00 12.00 น.  แนวการศึกษา
  1. เรียนเพื่อนำไปใช้ และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. หลักสูตรขึ้นอยู่กับนักเรียน ถ้าสนใจอะไรก็สามารถเพิ่มเติมได้
  3. อาจารย์เป็นผู้ประสานความรู้
  4. วิธีการเรียนแบบ 4L’s
 
ครั้งที่ วันที หัวเรื่อง
1 วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2549 ปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียนการสอนแนะนำ concept 4L’s มอง Macro ไปสู่ Microอ่านหนังสือพันธุ์แท้ HR แบบเก่า แบบใหม่โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
2 วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2549 ทฤษฎีทุน 8 ประการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทุนใหม่ 5 ประการที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ (1) การวิเคราะห์ทฤษฎี 3 วงกลมกับการบริหารคนในยุคโลกไร้พรมแดนโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
3 วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2549 HR and Innovationโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
4 วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2549 ประสบการณ์ของผมในหัวข้ออาหาร และ HRโดย ยม นาคสุข
5 วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2549 Workforce Alignment in an Organizationโดย คุณพจนารถ ซีบังเกิด
6 วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2549 ประสบการณ์ของผมเรื่องเศรษฐกิจและการบริหารในญี่ปุ่นและ Latin Americaโดยคุณพิทยา  พุกกะมาน
7 วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2549 Learning Organization and Knowledge managementโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์
8 วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2549 การบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยคุณประกาย ชลหาญ
9 วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2549 Performance Management System for Successful Managerโดยคุณพจนารถ ซีบังเกิด
10 วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2549 Employee Engagement for Sustainable Growthโดยคุณพจนารถ ซีบังเกิด
11 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2549 สอบกลางภาค
12 วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2549 Executive Coaching : การวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ทฤษฎี 2R’s
13 วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2549 Balanced Scorecard for Strategy Executionโดยคุณพจนารถ ซีบังเกิด
14 วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2549 Study Tour ( Kanjanabury)
15 วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2549 Leadership โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
16 วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2549 สอบปลายภาค
      การวัดผลการเรียน1. ทุกอาทิตย์ จะต้องส่งการทาง Blog ซึ่งจะมี Blog ชื่อ Food Science/HR ซึ่งมีการวัดผล          20%2. ดูงานทัศนศึกษานอกสถานที่ และสรุปที่ได้ดูมา ซึ่งมีการวัดผล                                       10%3. Mid-term Exam                                                                                            15%4. Final Exam                                                                                                  15%5. มีการทำ case study แต่จะทำโดยการศึกษาโจทย์ที่เรื่องอาหารว่ามีวิธีการบริหารคนจุดอ่อน    20%    จุดแข็งอย่างไร * Bonus  เป็น quality index คือใครมี discover อะไรใหม่ ๆ ในห้อง จะได้รางวัลพิเศษ   Reading List
  1. หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
  2. Human Resource Management
By : Mirza S. SaiyadainISBN : 050275-7Format : BC 505 pagesPub Date : Copyright : Edition : 3Product Line : McGraw-Hill/TATA McGraw-Hill
  1. ROADMAP to STRAEGIC HR
By : RALPH CHRISTENSEN (FORWORD DAVE ULRICH)ISBN : 0 8144 0867 2Format : BC 270 pagesPub Date : Copyright : 2006Edition : Product Line : AMACOM (American Management Association)
  1. Human Resource Management
By : Bernardin, H. JohnISBN : 0072987251Format : BC 736 pagesPub Date : 2006-03-07Copyright : 2007Edition : 4Product Line : McGraw-Hill/Irwin McGraw-Hill/Irwin  
บทเรียนจากความจริง : เรื่องเล่าในห้องเรียน น.ศ. ป.โท อาทิตย์ ที่ 2 ก.ค. (ตอนที่ 1) โดย ยม
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ น.ศ.ทุกคน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมและคุณสมภพ ได้มีโอกาสไปแชร์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกับ น.ศ.ปริญญาโท ที่เทคโนโลยี่ลาดกระบังฯ บรรยากาศตอนเช้าที่นั่นสดชื่น เงียบสงบ  ได้เห็นทีมงานของ ศ.ดร.จีระ คุณเอ๊ะ ทำให้คิดถึงอาจารย์จีระ ว่ามีทีมงานที่ดี คอยดูแลเอาใจใส่งานดี  ดูคุณเอ๊ะ ก็ได้รับทุนทางความสุข จากอาจารย์ อย่างต่อเนื่อง และการได้ติดตาม ศ.ดร.จีระ และทีมงาน เช่นนี้ จะทำให้ได้ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา อย่างมาก ผมเชื่อมั่นว่า ในอนาคตคุณเอ๊ะ จะเป็นคนที่เก่งมาก เพราะสังเกต ดูว่าเป็นคนมีบุญ คือ สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ ทุกเรื่องของ ศ.ดร.จีระ ได้เป็นอย่างดี  ผู้นำที่มีเพื่อนร่วมงานเช่นนี้ ก็มีบุญเช่นกัน เพราะให้ความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ต่อทีมงาน  ทำให้มีทุนมนุษย์ หลายทุนเกิดขึ้นในทีมงาน  นั่นเป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ผมเริ่มการแชร์ความรู้ด้วยการ เชิญให้ทุกคน นำ Coffee morning มาพูดคุยในห้องบรรยาย แชร์ไปดื่มกาแฟกันไป มี น.ศ.ทยอยมา น.ศ.ที่นี่มาตรงเวลากันเป็นส่วนใหญ่  ผมได้พูดคุยกัน น.ศ. เกี่ยวกับประสบการณ์ด้าน HR คุณสมภพได้แชร์เรื่องจำนวนประชากร จากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไปถึง ปี ค.ศ. 2100 ถึงเวลานั้น มนุษย์จะมากขึ้น มนุษย์ต้องการอาหารมากขึ้น ขณะที่พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง คาดว่าประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งอาหารสำหรับมนุษย์ จะได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า และเป็นที่หมายปองของประเทศมหาอำนาจ    ผมได้ใช้ Google earth  ฉายภาพให้เห็นภาพโลกที่กำลังหมุนเวียนรอบตัวเองอย่างช้า ๆ ให้น.ศ.เห็นว่า พื้นที่ของโลก จากภาพถ่ายดาวเทียม นับวันจะมีพื้นที่สีเขียวน้อยลง  พื้นที่สีเขียวเป็นแหล่งอาหารของโลก ในภาพเห็นชัดว่า พื้นที่สีเขียวเข้มยังคงมีอยู่มากในแถบเอเชีย โดยเฉพาะแถบ ไทย ลาว กัมภูชา พม่า มาเลเซีย จีนฯ ผมเชื่อว่าแถบประเทศดังกล่าว จะเป็นแหล่งอาหารของโลก ธุรกิจอาหารยังคงรุ่งเรืองต่อไปในแถบนี้   ที่ทำงานผมทำธุรกิจสัปปะรด ขนาดใหญ่ ส่งออก 100 % ไปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และจีน  ธุรกิจนี้ ย้ายจากฮาวาย มาไทย มาอยู่ที่ สัปปะรด ศรีราชา สัปปะรดภาคใต้ และที่บริษัททำธุรกิจนี้เลียนแบบที่ฮาวาย  เราให้ฝรั่งมาออกแบบไร่ และโรงงาน ดำเนินกามากว่า 36 ปีแล้ว   ในอดีตเราได้เปรียบในเรื่อง อัตราค่าแรงที่ถูก และสภาพแวดล้อมที่ดี  แต่นับจากปีที่หนึ่งของธุรกิจ มาปีที่ 36 แล้ว และแนวโน้มในอนาคต เราเพิ่มอัตราค่าจ้าง ต้นทุนค่าแรงมาทุกปี  เราเริ่มประสบปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมธรรมชาติและต้นทุนค่าแรง  ค่าน้ำมันและพลังงาน  ประเทศคู่แข่งขันมีมากขึ้น  ลูกค้ามีโอกาสเลือกมากขึ้น ในอนาคตธุรกิจสัปปะรด อาจจะย้ายจากไทยไปลาว จีนหรือเวียดนาม ด้วยปัญหาด้านต้นทุน ค่าแรง และทรัพยากรธรรมชาติ  เหมือนกับที่ย้ายจากฮาวายมาไทย ครับ  ช่วงบทเรียนจากความจริง  เรื่องเล่าในห้องเรียน น.ส. ป.โท อาทิตย์ ที่ 2 ก.ค. (ตอนที่ 1 ) ผมเขียนมาเพื่อเล่าสู่กันฟัง และให้ น.ส. ที่สนใจได้มีโอกาส ทบทวนสิ่งที่ได้พูดคุยกันไป ของแบบนี้ ใครมีบุญก็ได้ความรู้ไปครับ  พบกันใหม่ใน Blog ต่อไป ผมจะเขียนตอนที่ 2 จะเล่าสู่เนื้อหาสาระประสบการณ์ HR ที่พูดคุยกันในห้องเรียน ให้ น.ศ.ได้เรียนจากความจริงที่เราได้คุยกัน  ขอให้ทุกท่านโชคดี   สวัสดีครับ ยม
นางสาวพรชนก สุขอาจ

            กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ  เรียนพี่ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทุกท่านดิฉัน นางสาวพรชนก สุขอาจ  นศ.ปริญญาโท  สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง

            

 วันอาทิตย์ทิ่  2  กรกฎาคม วันนี้ได้มีโอกาสศึกษาแนวความคิดของ  พี่ยม  ทำให้ทราบว่าพี่ยมไม่ธรรมดาอย่างที่เห็น  (อย่างที่ท่าน อ.จีระ บอก)  พี่ยมได้ทำให้ดิฉันเกิดการ “Click” กับตัวเอง  เมื่อพี่ยมได้พูดถึงเรื่องความ จริงใจ  ซึ่งพี่ยมแสดงให้เห็นว่ามันมีอยู่จริงและ จะเป็นตัวช่วยนำเราไปสู่ความสำเร็จ ได้จริง  แม้ดิฉันก็ได้ลบความเชื่อและความศรัทธา  ตรงนี้ออกไปจากตัวเอง  เนื่องจากประสบการณ์การทำงานที่ไม่ได้สวยงามอย่างที่วาดฝันไว้ 

 ขออนุญาตย้อนหลังถึงประวัติการทำงานซักเล็กน้อย วันแรกที่ดิฉันได้ก้าวสู่ชีวิตการทำงาน   โรงงานอาหารแห่งหนึ่ง (หลังจากได้ผ่านการเลือกงานมาแล้ว 5 บริษัทด้วยกัน หนึ่งในนั้นมี เบทาโกร แต่ด้วยเหตุบางประการจึงปฏิเสธ)  วันแรกที่เข้าไป  ดิฉันมีความมุ่งมั่น  ตั้งใจ  และพร้อมจะมอบความจริงใจให้กับทุกคน ด้วยใจที่เกินร้อย ในตำแหน่ง  PRODUCTION  SUPERVISOR และด้วยตำแหน่งงาน  ทำให้ดิฉันสามารถแสดงความจริงใจ(ปฏิบัติงาน)ได้ กับผู้ที่อยู่ระดับล่าง  และระดับสูง   ซึ่งในขณะนั้นดิฉันมีความคิดว่า ทุกคนที่ดิฉันทำงานด้วยนั้นเปรียบเสมือนคนในครอบครัวของดิฉัน  ฉะนั้น ความจริงใจที่แสดงออกมา  จึงเป็นแบบไม่เสแสร้ง  ซึ่งตรงจุดนี้ พี่ๆคนงานเขาสามารถรับรู้ได้  ซึ่งดูได้จากการที่เขาแสดงความจริงใจตอบกลับมา ในรูปของการทำงานที่ทุ่มเท  คือเมื่อเกิดการผิดพลาดในกระบวนการผลิต  พวกพี่ๆ เขาจะมารายงานความผิดอย่างตรงไปตรงมา(แทนที่จะปกปิด) และ พร้อมช่วยกันแก้ไขปัญหา ,  ...โดยในจุดนี้  ความสัมพันธ์ระหว่างดิฉันกับลูกน้อง จึงเป็นความสัมพันธ์ที่อยู่ในรูปแบบที่ปรารถนาดีต่อกันและกัน   ซึ่งจะต่างกับความสัมพันธ์ระหว่างดิฉันกับผู้บริหารระดับสูง  แม้ดิฉันจะมอบความจริงใจ(ปฏิบัติงาน)ให้  กับท่าน  โดยการรายงานผลการทำงานอย่างตรงไปตรงมา  ทำงานอย่างทุ่มเทแม้นอกเวลางาน  แต่ท่านก็ดูจะไม่เห็นความจริงใจเหล่านี้  และดูจะมองข้ามไปเสียด้วย  แต่ขณะที่  เพื่อนที่เป็นSUP. อีกแผนก  เขาทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม  ชอบก้าวก่ายงาน แผนกอื่น  แล้วนำเรื่องต่างๆ  ไปรายงานให้กับผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบ  โดยเรื่องส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่รู้ไม่จริง  ทำให้ความจริงคลาดเคลื่อน  ผลกระทบจึงมาตกอยู่ที่ดิฉัน  และเพื่อนๆ แต่พฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสของเพื่อนคนนี้   กลับได้รับการชื่นชมจากผู้บริหารระดับสูงอยู่เสมอ  ดิฉันจึงรู้สึกได้ถึงความไม่ยุติธรรม  และเริ่มหมดศรัทธากับการที่จะใช้ ความจริงใจ กับการทำสิ่งต่าง ๆ  รวมทั้งกับทุกๆคนด้วย   และเกิดความคิดว่า  คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานได้นั้น  ไม่จำเป็นต้องใช้ ความจริงใจ  ก็สามารถประสบความสำเร็จได้  (นี้ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดิฉันมีต่อ HR เมื่ออดีต) แต่วันนี้ พี่ยม ทำให้ดิฉันเห็นว่า  สิ่งที่ดิฉันคิด เป็นสิ่งที่ผิด  พร้อมทั้งคิดได้แล้วว่า  แม้เราจะไม่ได้รับความจริงใจตอบกลับมา แต่การที่เราตั้งมั่น ในการทำสิ่งที่ดี  สิ่งที่ถูกต้องนั้น  จะได้รับความสุขที่เกิดขึ้นทางใจ  เป็นสิ่งตอบแทนกลับมาอยู่แล้ว  ซึ่งดูจะมีค่ามากกว่าสิ่งตอบแทนอื่นใด   (ไม่เกิดความรู้สึกที่ละอายใจ หม่นหมองในจิตใจ)   ต่อจากนี้ไปดิฉันจะขอนำความ จริงใจ  กลับมาใช้เป็นตัวเบิกทางในการทำงาน และใช้ในการจัดการกับคน (HR)อีกครั้ง  โดยมุ่งที่จะให้เขาได้รับแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  ช่วยเหลือ  เอื้อเฟือ มีน้ำใจให้กันและกัน แบบไม่หวังผลตอบแทน  เคารพความเป็นเป็นมนุษย์  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขในการทำงาน  และ ของตัวดิฉันเอง  สุดท้ายดิฉัน ขอฝากบทความที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง  คนเราต่างเกิดมาเพื่อเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในโลกใบนี้  ร่วมรับรู้ความงดงาม  ความน่าอัศจรรย์ของชีวิต  จึงควรรู้จักสามัคคี  เกื้อกูล  ช่วยเหลือกัน  เพราะเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามธรรมชาติ  และไม่ควรกดขี่ข่มเหงเบียดเบียนกัน  ไม่ควรทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์  ต้องเจ็บปวด  สิ่งใดที่เราไม่ชอบ  อย่าทำกับคนอื่นเขา  เหตุที่ต้องทำเช่นนี้  เพราะ  เราทุกคนบนโลกต่างก็เป็นเพื่อนกัน นั้นเองค่ะ ***ถ้าทุกองค์กร หรือทุกสังคม  สามารถเปลี่ยนแนวความคิดได้อย่างข้างต้น ก็จะประสบความสำเร็จ  และเกิดความสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างแน่นอน  (โลกน่าอยู่  โลกในฝัน)                                                                                        ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ จีระ และ อาจารย์ ยมและเพื่อนๆ ชาว Blog ในวันอาทิตย์ ที่ 2 ได้เรียนรู้ประโยชน์ ของวิชาทรัพยากรมนุย์ จากประสบการณ์จริงของ อาจารย์ยม แล้ว ได้ประเด็นสำคัญอยู่ 2 ประเด็น ที่เกี่ยวกับพนักงานระดับล่าง คือ ต้องให้พวกเขานั้นมี ทุนแห่งความสุข เป็นอันดับแรก ในการอยู่ในองค์กร และจะเกิดความรัก และอยากอยู่ในองค์กรนั้นๆ ได้อย่างมีโดย มีความตั้งใจทำงาน และมีความขยัน ให้ความร่วมมือในองค์กรได้ดี และ ทุนความรู้ ทักษะ และทัศนคติเป็นอันดับ สอง เป็นสิ่งที่พนักงานได้เกินความควาดหวังของเขาเพราะได้ความรู้ใหม่ๆ ในการทำงาน ทำให้สามารถเกิดความรู้สึกจงรักภัคดีกับองค์กรได้ ส่วนความหมายการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร นั้นอาจจะหมายความว่า การจัดการคน  ด้วยวิธีการใดๆ ทำให้คนมีความสุข และได้รับความพึงพอใจ โดยให้ความจริงใจและความยุติธรรมในการจัดการ ทำให้คนในองค์กรนั้นเป็นกำไร มีมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรในทิศทางที่เป็นเป้าหมายขององค์กรได้อย่างยังยืน

                ส่วนที่โป้ะแชะ คือ

1.รูปแบบการจัดองค์กร

2. การวิเคราะห์องค์กร

3 .กระบวนการการบริหาร

                                                                                                ด้วยความเคารพอย่างสูง
บทเรียนจากความจริง : เรื่องเล่าในห้องเรียน น.ศ. ป.โท อาทิตย์ ที่ 2 ก.ค. (ตอนที่ 2)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ นักศึกษา ป.โท ทุกท่าน  ต่อจากคราวที่แล้ว   ก่อนที่ผมจะพูดคุยประสบการณ์ HR ในองค์กรผมได้พูดคุยถึง กลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานด้านกลยุทธ์ธุรกิจก่อน เพราะแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จะสัมพันธ์กับกลยุทธ์ของธุรกิจ จากนั้นจะเชื่อมโยงไปถึงยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจอาหาร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอาหาร และธุรกิจอื่น ๆ ที่เคยมีประสบการณ์ มาเลาสู่กันฟัง ธุรกิจทั้งหลาย ใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อยู่ 3 แบบ ได้แก่ 1.        กลยุทธ์ด้านต้นทุน (Cost Leadership) ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์นี้ จะใช้วิธีการบริหารจัดการให้มีต้นทุนต่ำ และประสิทธิภาพทำงานสูง เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการที่มีราคาที่ต่ำ แต่ยังคงได้กำไรสูง ธุรกิจประเภทนี้ จะมีการจัดโครงสร้างองค์กรแบบราชการ ทำงานตามสายการบังคับบัญชา  มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มงวดในการทำงาน เน้นประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนทุกกระบวนการ บริษัท ผู้ผลิต ในประเทศญี่ปุ่น ในอดีตมักนิยมใช้กลยุทธ์นี้ เพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตสินค้าแถบยุโรปและอเมริกา บริษัทโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์ ในอดีตใช้กลยุทธ์นี้เพียงกลยุทธ์เดียวกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะเน้นการสรรหา คัดเลือกที่เข้มงวด ทั้งภายในและภายนอก หาคนที่มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ที่ราคาเงินเดือนไม่แพง  ผู้บังคับบัญชาจะเข้มงวดในการทำงาน เน้นทุนทางความรู้ ทุนทางจริยธรรม ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชาตามสายงาน  พนักงานต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสูญเสีย ความสิ้นเปลือง ที่เกิดจากการทำงาน  จึงต้องเน้นคนที่มีทุนทางจริยธรรม คนที่มีทุนทางความสุข สูง มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เข้มงวด เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการทำงาน  มักจะเน้นงานมากกว่าเน้นที่คน    การอบรม มีเฉพาะอบรมการทำงาน การเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน การตรวจสอบกระบวนการภายใน  จึงเน้นทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนทางปัญญา ทุนทางจริธรรม ทุนทางความสุข เนื่องจากองค์กร เข้มงวดกวดขันการทำงานสูง อาจจะมีปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ ความขัดแย้งในองค์กร จึงต้องเน้นให้ทรัพยากรมนุษย์มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  2.        กลยุทธ์มุ่งเน้นที่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม(Customer focus)  ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์นี้ จะมุ่งเน้นสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ธุรกิจที่ปรึกษาและฝึกอบรม ที่เน้นเฉพาะกลุ่มสถานประกอบการ หรือเน้นเฉพากลุ่มผู้บริหาร หรือเน้นเฉพาะกลุ่มแรงงาน  ธุรกิจเครื่องดื่ม ที่เน้นเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ธุรกิจอาหารที่เน้นเฉพาะลูกค้าต่างประเทศแถบยุโรป ธุรกิจบ้านจัดสรร ที่เน้นเฉพาะกลุ่มลูกค้าระดับกลาง ผงซักฟอกที่เน้นเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน  สถานประกอบการที่รับจ้างผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการ พวกนี้ จะหาความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าก่อนแล้วนำมาสู่การปฏิบัติให้เป็นสินค้าและบริการตามที่ลูกค้าต้องการ เป็นต้น   ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์แบบนี้ มักจะมีการจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คล้ายกับแบบที่ 1 กล่าวคือ มีการจัดองค์กรแบบกึ่งราชการ มีสายการบังคับชาที่ชัดเจนและเข้มงวด  มีแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เน้นการสรรหาบุคลากรทั้งภายในภายนอก ต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา เน้นทุนทางจริยธรรม สูง พยายามสรรหาคนที่เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร   การอบรม จะเน้นข้อกำหนดและความต้องการของลูกค้า  การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การประหยัด การสนองความพึงพอใจของลูกค้า   องค์กรเช่นนี้ จะต้องหลีกเลี่ยงปัญหาแรงงานสัมพันธ์ ความขัดแย้งกับพนักงาน  เพราะลูกค้าจะสัมภาษณ์คณะกรรมการลูกจ้าง สหภาพแรงงาน ถึงทัศนคติของพนักงานที่มีต่อผู้บริหารและองค์กร ในขณะเดียวกันต้องพยายามรักษาความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้  และต้องควบคุมดูแลต้นทุนด้านการเงินไม่ให้ขาดทุน  การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงควรเน้นทุนมนุษย์ ทุนด้านความรู้ ทุนทางด้านปัญญา ทุนทางด้านสังคม ทุนด้านจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT  3.   กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation)  ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์นี้ มักจะเน้นการสร้างนวตกรรม ทางด้านสินค้าและบริการ ให้แตกต่าง แหวกแนวจากคู่แข่งขัน เช่นธุรกิจเสื้อผ้า เน้นรูปแบบใหม่ ๆ ธุรกิจรถยนต์ที่เน้นนวตกรรม ในตัวเครื่องยนต์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ธุรกิจอาหารที่มีอาหารตามสั่ง มีรสชาติที่แปลกกว่าที่อื่น ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการต่าง ๆ ผู้ผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น  ธุรกิจที่ใช้ยุทธศาสตร์แบบนี้ มักจะมีโครงสร้างองค์กรที่แบนราบทันสมัย ไม่แน่นอนตายตัว เพื่อความสะดวกในการทำงาน  ไม่เข้มงวดเวลาการทำงาน เน้นทุนทางความสุข มากกว่ากลยุทธ์ธุรกิจประเภทอื่น ๆ   เน้นทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ให้คนได้มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้คนได้มีอารมณ์ที่ดีในการทำงาน สามารถสร้างสินค้าและบริการได้ดี  เป็นที่ประทับใจของลูกค้า การสรรหาจึงเน้นสรรหาลุคลากรภายนอก ไม่เน้นเอาพวก ๆ กันมาเพราะจะเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก และคิดแต่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่กลุ่มของตน  การอบรมพัฒนาบุคลากรเน้น ความคิดสร้างสรรค์ รักษาพัฒนาทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทาง IT พูดมาถึงตรงนี้แล้ว ถามว่า โตโยต้าใช้กลยุทธ์ธุรกิจแบบใด ผมตอบได้ว่า เริ่มแรก โตโยต้าใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน  เน้นผลิตรถ ราคาถูก  ต่อมาโตโยต้าพัฒนา บูรณากลยุทธ์ด้านเน้นความต้องการของลูกค้า เข้ามาเพิ่ม มีการทำวิจัยถึงความต้องการของลูกค้า  นำข้อมูลมาผลิตรถเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าระดับกลางและระดับล่าง  ต่อมาโตโยต้าพัฒนาการทำงานได้ดีขึ้น จึงเพิ่มกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง เข้ามาใช้ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  โตโยต้านำรถบางยี่ห้อ บางรุ่นที่เป็นคู่แข่งมาศึกษา และพัฒนารูปแบบ ให้แตกต่างเหนือชั้นกว่า ในขณะที่ให้ราคาถูกกว่า และสามารถสนองความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้าได้ดีกว่า จึงทำให้โตโยต้าเติบโต กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกอยู่ในขณะนี้  

ส่วนธุรกิจอาหารที่ผมเป็นส่วนหนึ่งในทีมบริหาร  ใช้กลยุทธ์ด้านสนองความต้องการของลูกค้า เราผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และแน่นอนว่า เราใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งขันด้วย การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เน้นทุนทางด้านความสุข ควบคู่ไปกับทุนทางด้านความรู้ ทุนทางด้านปัญญา ทุนทางด้าน IT ทุนทางด้านจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน เพื่อไม่ให้เกิดปํญหาซ้ำซ้อน หรือปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีก เนื่องจากเป็นการผลิตอาหารโดยฝีมือแรงงาน จึงจำเป็นต้องให้พนักงานมีความสุขในการดำเนินชีวิตในการทำงาน มิฉะนั้นอาจจะมีสิ่งแปลกปลอมลงไปในอาหารได้ 

 สำหรับตอนที่สอง ผมเขียนเท่านี้ก่อน ตอนที่สาม จะเป็นการพูดคุยถึงปัญหา อุปสรรค กรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร จากประสบการณ์จริงที่พบ  วันนี้คุยกันเท่านี้ก่อน ขอให้ทุกท่านโชคดี สวัสดีครับ
เรียนท่านอาจารย์จีระ/อาจารย์ยม/อาจารย์สมภพที่เคารพ              ในการเรียนวันที่ 02/07/09 ความรู้ที่ผมได้รับจะเป็นเรื่องการมองทุกภาคส่วนให้สัมพันธ์กัน และให้ครบทุกด้านโดยเฉพาะภาพตัวอย่าง คือภาพพายเรือในสายน้ำนั้น มองได้ว่าทุกๆกิจกรรมจะต้องมีการสัมพันธ์กันทุกๆส่วนาน มิเช่นนั้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ  แนวคิดนี้ประยุกต์เข้ากับความสัมพันธ์ของธุรกิจอาหารกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ คือ เมื่อทรัพยากรทุกอย่างในโลกมีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น     เกษตรอินทรีย์จึงมีความสำคัญ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับการใช้ทรัพยากร อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีผสมผสานเข้ามาช่วยน่าจะเป็นทางออกสำหรับการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงคนทั้งโลกที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต      หัวข้อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นหัวข้อหนึ่งที่ต้องใช้วิธีการมองใกลและคิดให้ครบทุกด้านขององค์กร รู้จักการการวิเคราะห์ตัวเอง ในเรื่อง ระบบ กับ คน จึงต้องสร้างให้มีความสำพันธ์กันเนื่องจากจะเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งให้กับองค์กรได้ โดยเฉพาะเรื่อง คน ถ้าองค์กรมีระบบที่ดีเยี่ยมในการบริหาร(จุดแข็ง) แต่คนที่อยู่ภายในไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากขาดทุนแห่งความรู้ ก็จะกลายเป็นจุดอ่อนได้ทันที  อย่างไรก็ตามทุกอย่างก็สามารถแก้ไขได้ ถ้าหากเรานำเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กรมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างการบริหารธุรกิจ โดยใช้หลักการของห่วงโช่คุณค่า ซึ่งแบ่งออกเป็น   กิจกรรมหลัก(งานวิจัย งานผลิต งานขนส่ง งานด้านการตลาดและงานบริการ) และ กิจกรรมสนับสนุน (โครงสร้างธุรกิจ,การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดการทรัพยากร) โดยเฉพาะกิจกรรมสนับสนุนในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะทำให้กิจกรรมหลัก ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ควรจะให้ความสำคัญกับจุดนี้ให้มากที่สุด  โดยจะต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ขณะเดียวกันพนักงานในองค์กรก็ต้องได้รับความพึงพอใจในการทำงาน และจะส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดี โดยสรุปความหมายของการบริหารทัพยากรมนุษย์ระดับองค์กรในความหมายของผม คือ การนำเอาองค์ประกอบของโครงสร้างธุรกิจมาประสานสัมพันธ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่องค์กรและสังคม ซึ่งในวันนี้ผมขอเสนอหลักการสร้าง 3 สร้างในการบริหารงาน คือ  สร้างความรู้  สร้างความสุข และสร้างประสิทธิภาพโดยการนำเอาทฤษฎี 8 k ของท่านอาจารย์จีระมาประยุกต์ใช้นั่นเอง                                   

                                                                                    

                                                                         

 
นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก

เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีคุณยม,คุณสมภพที่นับถือ กระผมนายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก นศ.ป.โท การจัดการบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากการที่ได้เรียนรู้เมื่อ2/7/2549 ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณ คุณพี่ทั้งสองที่ได้นำความรู้และประสบการณ์มาสอนให้พวกกระผมได้มีความเข้าใจในแนวทางของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความหลากหลายจากกลุ่มธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มของสังคมส่วนใหญ่ภายในประเทศที่มีบทบาทต่อภาคการผลิตอาหารให้กับมนุษย์ และจากการที่คุณพี่สมภพได้กล่าวถึงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมในอนาคตควรมีการทำอาชีพนี้ในแนวทางของเกษตรอินทรีย์ให้ยั่งยืน จากข้อคิดดังกล่าวกระผมคิดว่าถูกต้องและเหมาะสมเพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องสูญเสียรายจ่ายกับสารเคมีต่างๆมากมายที่จะต้องนำมาใช้ในการเกษตร และจากการที่คุณยมได้นำเสนอประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกษตรจากประสบการณ์จริงๆที่ได้เจอมานับว่าเป็นความรู้ที่แทบจะไม่มีการเปิดเผยมาก่อน ดังนั้นจากการที่คุณพี่ทั้งสองได้นำเสนอและมาเล่าสู่กันฟัง นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพวกกระผม ต้องขอขอบคุณมาในณ ที่นี้ด้วย

     มาเริ่มกันที่เนื้อหาว่าจากการเรียนรู้ในวันนั้นได้อะไรบ้างผมขอสรุปเนื้อหาที่ได้ดังนี้

-ในแง่ความคิดของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระดับองค์กรหมายถึงอะไร เบื้องต้นเราต้องรู้ก่อนว่าองค์กรหมายถึงอะไร มีจุดประสงค์อย่างไรเพราะแต่ละองค์กรจะมีความแตกต่างกันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการที่จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กรพอจะสรุปได้ว่า เป็นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในกลุ่มหรือสังคมที่มีอยู่ให้มีความสุขและมีคุณค่าสูงสุด ทั้งในชีวิตประจำวัน,ชีวิตการงาน ในปัจจุบันจนถึงอนาคตตลอดไป

   แนวทางหรือกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กรให้มีคุณภาพได้นั้นเราต้องคำนึงถึงใจเขาใจเราเป็นหลัก โดยมีกฎเกณฑ์เป็นบรรทัดฐานในการปกครองเพื่อให้เกิดความเสมอภาคของความถูกต้องและความผาสุขในการดำเนินชีวิต

-การบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยช์สูงสุด ควรปฎิบัติดังนี้

 1มีระบบและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี

 2มีหลักธรรมในการปกครอง

 3มีอุดมการณ์ร่วมที่ดีและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

 4ต้องมีการสร้างทุนแห่งความสุขให้เกิดขึ้นในการบริหาร

-หัวข้อสุดท้ายที่ได้จากการเรียนรู้จากคุณยมพอที่จะสรุปได้ดังนี้

1ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

2การแก้ปัญหาทรัพยากรมนุษย์

3แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางของคุณยมเป็นการแบ่งปันความสุขให้ทั่วถึงและมีการดำเนินชีวิตที่ดีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด

นางสาวศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา
                สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม และอาจารย์สมภพ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.49 ได้มีโอกาสได้ฟังประสบการณ์การทำงานด้านธุรกิจอาหารของทั้ง 2 ท่าน(อ.ยม/อ.สมภพ) ทำให้เห็นภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรชัดขึ้น ซึ่งดิฉันคิดว่าการฟังจากประสบการณ์จริงนั้นทำให้ได้รู้การจัดการกับอุปสรรคต่างๆที่อาจจะใช้วิชาการในตำราไม่ได้ จากที่ได้ฟังดิฉันเข้าใจว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร)  คือ การพัฒนาบุคลากร ทั้งเรื่องของ ความรู้ ความสามารถ จริยธรรม ความสุข เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุดและบรรลุวัตถุประสงค์ (ในระยะยาว) จากการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถของบุคลากร และการที่จะ บริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด ขอยึดหลักความพอใจและความพอดี ทุกคนเต็มที่กับการงานที่ตนเองพอใจก็จริง แต่ในองค์กรเป็นสังคมที่เราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น จึงต้องอยู่ในขอบเขตที่พอดีด้วย องค์กรจึงมีกฎระเบียบ วัฒนธรรม นโยบาย เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติไปในทางเดียวกัน การให้รางวัลคนทำดี และการลงโทษคนทำผิดเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่ต้องมีเหตุผลและความยุติธรรม ส่วนกระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วการเข้ามามีส่วนร่วมของคนในองค์กรจะเริ่มตั้งแต่ ก่อนเข้าองค์กรการรับคนเข้ามาทำงานใหม่โดยทั่วไปจะดูจากคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงาน เช่น การศึกษา ประสบการณ์ สิ่งจูงใจหลัก ที่ทำให้คนสนใจมาทำงานให้กับองค์กร คือ ค่าตอบแทน และลักษณะงาน เมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร แล้วเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามแนวทางและบรรลุเป้าหมายขององค์กร จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรด้วย เช่น ให้พนักงานรับทราบนโยบายและเป้าหมายขององค์กร ฝึกอบรมให้ความรู้ที่จำเป็นต่องาน มีการอบรมเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เช่น นำเครื่องจักรมาใช้ใหม่ จัดทำระบบมาตรฐานเพิ่มเติม เช่น ระบบ ISO ฝึกความชำนาญโดยเฉพาะงานตามหน้าที่ แต่ก็ควรรู้งานอื่นๆด้วย ประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบว่าพนักงานถนัดด้านใด ต้องเสริม/ปรับปรุงอะไรบ้าง                นอกจากจะพัฒนาด้านความรู้ความสามารถแล้ว ยังมีการรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรนานๆ เช่น ให้ผลตอบแทนตามสมควร ให้สวัสดิการต่างๆ เพื่อให้พนักงานเต็มที่และมีความสุขและเมื่อมีคนออกจากองค์กร บางตำแหน่งจำเป็นต้องมีคนมาแทนทันที ธุรกิจทั่วไปรวมถึงธุรกิจอาหารจะมีข้อกำหนดให้แจ้งล่วงหน้า 30 วัน เพื่อสรรหาและพัฒนาบุคลากรมาทำงานนั้นแทน กรณีบุคลากลที่ทำประโยชน์ต่อองค์กรเกษียณอายุ ควรมีการให้ค่าตอบแทนตามนโยบายและความเหมาะสม สำหรับข้อคิดต่างๆที่ดิฉันได้รับพอจะสรุปได้ดังนี้-          ใช้หลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรามาใช้กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อยากให้เขาปฏิบัติกับเราแบบไหน ก็ต้องปฏิบัติกับเขาแบบนั้น แต่ควรระวังไว้ว่าบางคนก็อยากเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว ไม่ควรให้เต็มร้อย และหวังที่จะได้รับเท่าที่เราให้ -          ต้องมีขอบเขต (Limited)ที่จะให้หรือดูแลพนักงาน บางคนไม่รู้จักพอ งานก็ไม่ได้ดีขึ้น ก็ต้องมีการลงโทษด้วย-          ความยุติธรรมไม่ได้หมายความว่า ทุกคนต้องได้เท่ากัน แต่หมายถึง ควรได้ในสิ่งที่ควรได้ เช่น ทำงานมากก็ควรได้รับผลตอบแทนมากกว่าคนที่ทำงานน้อย-          ทุกส่วนในองค์กรต้องมีการประสานงานกัน เพราะถ้าเกิดปัญหาที่จุดใด มักจะส่งผลกระทบไปยังจุดอื่นด้วย เหมือนการก่ออิฐที่ไม่มีการฉาบปูน กำแพงนั้นจะพังลงมาได้ง่าย  การประสานงานจะทำให้ค้นหาสาเหตุได้เร็วขึ้น -          ธุรกิจอาหาร ต้องการความซื่อสัตย์o       ซื่อสัตย์ต่อองค์กร   ทั้งกับตนเอง หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และสิ่งแวดล้อมในองค์กร เพื่อให้เกิดบรรยากาศการทำงานทีมีความสุข ไว้ใจกันได้o       ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า/ผู้บริโภค  แม้ธุรกิจต้องการผลตอบแทนเป็นกำไร แต่ต้องคิดถึงผู้บริโภคด้วย ยิ่งในธุรกิจอาหารที่มีผลต่อสุขภาพของคน ผู้ผลิตต้องซื่อสัตย์ ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ระมัดระวังระหว่างผลิตและตั้งราคาที่เหมาะสม ถ้าผู้บริโภคไม่พอใจสินค้า จะไม่ซื้ออีก เป็นผลเสียต่อธุรกิจo       ซื่อสัตย์ต่อสังคม  การผลิตต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กรด้วย เช่นทำตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควบคุมการผลิตไม่ให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม กรณีส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ แล้วส่งสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่เพียงแต่เกิดความเสียหายต่อธุรกิจตัวเองแล้ว ยังมีผลต่อเศรษฐกิจและชื่อเสียงของประเทศด้วย 
สวัสดีคะ อาจารย์จีระ คุณยม และเพื่อนๆ การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสได้เรียนรู้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลจากคุณยม โดยเป็นบทเรียนที่ถูกถ่ายทอดจากชีวิตการทำงานจริงของคุณยม  ซึ่งเป็นเรื่องราวที่สะท้อนการเป็นนักบริหารทรัพยากรบุคคลคนหนึ่งที่สิ่งต่างๆมากมายที่น่าสนใจ จากการเรียนวันนนั้นสิ่งที่ได้ คือ HR ระดับจุลภาค หรือ HR ระดับองค์กรคือ การบริหารงานบุคคลภายในองค์การให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งแก่บริษัท และพนักงาน สิ่งการทำงานนั้นต้องเป็นระบบ แบบ “WIN-WIN” คือ ต้องชนะทั้งสองฝ่าย   พนักงานได้รับการมอบหมายงานที่ดี การเอาใจใส่จากผู้บริหาร และสวัสดิการต่างๆ ทำให้เค้าที่รู้สึกได้รับการดูแลอย่างเต็มที่  แล้วเค้าจะพร้อมทำงานให้เราอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน     การมาบรรยายของคุณยมในครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอที่น่าสนใจโดยเฉพาะ Google earth ที่นำมาฉายควบคู่กับตำบรรยายที่ได้รับจากคุณสมภพ เกี่ยวกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมในปัจุบันกับ ธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้เห็นว่าประเทศยังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก  หากเราใช้อย่างถูกวิธีควบคู่กับการดูแลรักษา คำว่าครัวโลกสำหรับประเทศไทยคงไม่ใช่เรื่องไกลตัว  ส่วนidea ที่ได้รับจากการเรียนครั้งนี้ คือ หลักการบริหารทุนมนุษย์ ระดับองค์กร คือ-          ต้องรู้จักบริหารตัวเอง ก่อนจะบริหารผู้อื่น-          ใช้หลักธรรมภิบาลในการดูแลคน-          รู้จักให้กับคนที่สมควรให้ บนหลักเหตุและผล-          สร้างวิสัยทัศน์ในการทำงานของพนักงานให้ตรงกับเป้าหมายขององค์กร

-          สร้างความไว้วางใจ กับพนักงาน 

และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ทุนแห่งความสุข ที่ควรได้รับทั้งสองฝ่าย ทั้งพนักงานและผู้บริหาร สำหรับพนักงานก็คือ การดูแล การให้หลักประกันที่มั่นคง การให้ความใกล้ชิดในการให้คำปรึกษา สำหรับผู้บริหารคือ การได้งานที่มีประสิทธิภาพ พนักงานงานไม่มีความขัดแย้งทั้งกับองค์กรและระหง่าพนักงานกันเอง

ขอบคุณคะสำหรับความรู้ครั้งนี้

น.ส.สุพัชชา ขับกล่อมส่ง

เรียน อาจารย์จีระ และคุณยม               

              ก่อนอื่นขอเพิ่มเติม blog ของครั้งที่แล้วเรื่อง นวัตกรรม เนื่องจากมีความเห็นบางอย่างอยากจะแบ่งปันกับสมาชิก คือ เมื่อกล่าวถึง นวัตกรรม ก็มี 5 ส.  ที่เกี่ยวข้อง                1. สิ่งใหม่ : นวัตกรรมเป็นการคิดค้น หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมา                2. สั่งสม : โดยใช้ความรู้ ประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาเดิมที่สั่งสมมา เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมก็ได้                3. สร้างสรรค์ : สิ่งสำคัญในการสร้างนวัตกรรมนั้น ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อคิดประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆออกมา                4. ส่งเสริม : ควรมีการส่งเสริม และสร้างบรรยากาศ ให้มนุษย์มีการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ ๆอยู่เสมอ สังคมควรยอมรับและสนับสนุนผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย                5. สู่ประโยชน์ : เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อเราคิดค้น นวัตกรรมออกมาได้แล้ว ควรนำไปสู่การสร้างประโยชน์ต่อสังคม ไม่เช่นนั้นแล้ว นวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่มีคุณค่า สูญเสียแรงงาน ทรัพยากรต่าง ๆ ไปโดยเปล่าประโยชน์                  สิ่งที่ดิฉันได้จากการเรียนกับคุณยม  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ก.ค.49 คือ                  1. สังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ดังนั้นองค์กรต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ต้องอาศัยทีมเวอร์ค   คนในองค์กรต้องมีทุนมนุษย์เพียงพอ                2.  เดิมธุรกิจแข่งขันกันในด้านการผลิต การขาย การตลาด การบริการ  แต่สิ่งเหล่านั้นสามารถเรียนรู้และตามทันกันได้ ปัจจุบันธุรกิจจึงแข่งขันกันในด้าน Leader Ship (ความเป็นผู้นำ)  โดยแข่งขันกันเรื่องคน  คนจะต้องมีทุน 8 K                 3.  แม้ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจน้ำมัน ร้านเช่าวีดีโอ จะประสบปัญหา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป แต่ธุรกิจอาหารกลับมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  การผลิตอาหารในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ  และมีแนวโน้มว่าปัจจุบันคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นการผลิตอาหาร แบบเกษตรอินทรีย์ จึงเป็นทางเลือกในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ยั่งยืน ทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม                4.  การจัดโครงสร้างธุรกิจอาหาร จะระบุหน้าที่ของแต่ละส่วนอย่างชัดเจน โดยทั่วไปจะเป็นการสั่งการลง จากผู้บริหารระดับสูง สู่ผู้บริหารระดับกลาง  ผู้บริหารระดับล่าง จนถึงพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ  ฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กรล้วนสำคัญและมีความสัมพันธ์กัน เช่น  ฝ่ายตลาดทำวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ ฝ่าย R&D ก็พัฒนา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จากนั้นฝ่ายผลิตก็ทำการผลิต โดยมีฝ่าย QC/QA คอยควบคุมเรื่องคุณภาพ ฝ่ายตลาดก็มาดูแลลูกค้า และบริการหลังการขาย  ซึ่งการทำงานของทุกฝ่ายก็เพื่อ out put 3 ตัว คือ ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของพนักงาน และผลกำไรขององค์กร                5. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร) เป็นการบริหารคนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร และพนักงานมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วยการวางแผนกำลังคน จัดสวัสดิการ ผลตอบแทน ประเมินผลการทำงาน การฝึกอบรม สร้างความก้าวหน้าให้พนักงาน วางแผนหาคนสืบทอดตำแหน่ง                 6.  การสื่อสารภายในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ  ข้อมูลต้องกระชับ ทันสมัย ถูกต้องชัดเจน เพื่อไม่ให้คลุมเครือในการนำไปปฏิบัติ         7.  ในทุกธุรกิจมีการแบ่งกลยุทธ์เป็น 3 แบบ แต่ละแบบก็มีวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ต่างกัน  -  กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน  ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูก เพื่อให้ได้กำไร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงมีลำดับชัดเจน เข้มงวด สั่งการจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงลงมายังพนักงาน  ทุกคนทำงานตามหน้าที่ตัวเอง   มีวินัย เน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ- กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง  เน้นให้เกิดความแตกต่างของสินค้าและบริการ ดังนั้นการบริหารจึงต้องให้ความเป็นอิสระแก่พนักงาน ให้ความสะดวกสบายในการทำงาน เพื่อให้พนักงานคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกมา-  กลยุทธ์ที่มุ่งสนใจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก การบริหารเป็นการผสาน 2 แบบแรกเข้าไว้ด้วยกัน เน้นตามความพึงพอใจของลูกค้า โดยต้องเน้นด้านแรงงานสัมพันธ์ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับพนักงาน8. ปัญหาด้าน HR มีหลายอย่าง บางส่วนเกิดจากตัวพนักงานเอง บางส่วนเกิดจากความไม่รู้เรื่องกฎหมายแรงงานของผู้ปฏิบัติงานด้าน HR บางส่วนเกิดจากเจ้าของ  โดยมุ่งหวังแต่กำไร แต่ไม่ใส่ใจต่อบุคคลในองค์กร ดังนั้น องค์กรควรเสริมทุน ทั้ง 8K แก่บุคลากรทุกระดับขององค์กร โดยเฉพาะทุนด้านความรู้และจริยธรรม เพื่อให้ภายในองค์กรมีความสุข เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในความคิดเห็นของดิฉัน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร หมายถึง การจัดการกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีอย่างจำกัดภายในองค์กร ให้สามารถทำงานด้วยศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด โดยตัวพนักงานเองมีความสุขในการทำงานด้วย  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี สิ่งแรกควรคำนึงถึงว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการเห็นความสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ดี เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ มีทุน ทั้ง 8K เพราะเมื่อบุคคลมีทุนครบถ้วนแล้ว ย่อมนำมาซึ่งกำไรต่ององค์กรในที่สุด ดิฉันคิดว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นควรใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อง พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา (ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น) อุเบกขา (การวางเฉย การวางตัวเป็นกลาง)เมตตา  ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรนั้น ควรบริหารด้วยความเมตตา อยากให้บุคคลมีความสุขในการทำงาน องค์กรควรสร้างทุนแห่งความสุขให้พนักงาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีค่าตอบแทน สวัสดิการที่เหมาะสม จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคคล เสริมสร้างความรู้ เพื่อเพิ่มความสามารถของบุคลากรในการทำงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีความก้าวหน้า และมั่นคงในการทำงานกรุณา  เมื่อบุคลากรเกิดความทุกข์ก็ควรหาหนทางช่วยเหลือในส่วนที่ช่วยได้ องค์กรควรให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กรให้เหมือนบุคคลในครอบครัว มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน มุทิตา  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความยินดีเมื่อบุคลากรประสบความสำเร็จ เช่น เมื่อบุคลากรสร้างผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สร้างชื่อเสียงให้องค์กร  ควรพยายามหาทางที่จะช่วยเหลือและส่งเสริมบุคลากรให้มีความเจริญก้าวหน้า  ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ความรับผิดชอบ ให้สูงขึ้น เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจในการทำงานอุเบกขา ในที่นี้หมายถึงการวางเฉย และความยุติธรรม  โดยในบางครั้งเมื่อไม่สามารถช่วยเหลือพนักงานที่มีความทุกข์ได้ก็ควรวางเฉย ไม่ซ้ำเติมหรือกล่าวตำหนิติเตียนจนพนักงานเสียกำลังใจ รวมทั้งต้องมีความยุติธรรมในการบริหาร กล่าวคือ ให้ความสำคัญต่อบุคคลทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  เมื่อองค์กรมีความยุติธรรมในการบริหารงานย่อมทำให้พนักงานตั้งใจทำงานด้วยความสามารถอย่างเต็มที่ มีความสบายใจในการทำงานแนวความคิดแบบ โป๊ะเช๊ะ ที่ได้รับจากการเรียน  1.  เมื่อเห็นภาพเรือยอร์ช ซึ่งแล่นไปในมหาสมุทรที่ราบเรียบ มั่นคง เทียบกับเรือเล็กที่อยู่ท่ามกลางคลื่นน้ำที่ปั่นป่วน ทำให้เข้าใจเรื่องความสำคัญของบุคลากรต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน อย่างชัดเจน โดยเรือยอร์ชเปรียบเสมือนการบริหารองค์กรแบบเดิม ๆ ท่ามกลางสภาพสังคมที่ราบเรียบ ไม่เปลี่ยนแปลง ทุกคนต่างก็ทำงานกันตามแบบเดิม ๆ ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อความอยู่รอด  แต่ภาพของเรือเล็กสะท้อนให้เห็นชัดเจนเกี่ยวกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง เพราะฉะนั้นทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง และเข้าใจถึงความสำคัญของทุนมนุษย์ซึ่งต้องมีให้เพียงพอ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถช่วยกันพาองค์กรไปได้ตลอดรอดฝั่ง2.  ทุนทางจริยธรรมมีความสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าบุคคลขาดทุนข้อนี้แล้ว เมื่อประสบปัญหา ขาดทุนด้านอื่น ๆ ก็จะทำให้คิด และทำในสิ่งที่ไม่ดี ต้องการทำลายผู้อื่น โดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา ดังตัวอย่างที่คุณยมเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการที่ลูกน้องไม่ชอบหัวหน้า ขาดทุนด้านความสุข ดังนั้นลูกน้องจึงเอาตะปูใส่ในผลิตภัณฑ์เพื่อหวังแกล้งหัวหน้า แสดงว่าเขาขาดทุนทางจริยธรรมด้วย จึงหวังเพียงการแก้แค้นโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทุนชนิดต่าง ๆ  ต่อองค์กร และต่อประเทศชาติ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่าภายในองค์กรเกิดปัญหา ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาทางแก้ไข และเสริมสร้างทุน ให้แก่พนักงานมากขึ้น 3. ปัญหาเกี่ยวกับแรงงานที่เกิดภายในองค์กรมักมาจากการที่พนักงานถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้บริหารขององค์กร จากปัญหาเล็ก ๆ ก็อาจลุกลามปานปลายได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทุกคนอยากเป็นคนดี อยากได้รับการปฏิบัติด้วยดี ดังนั้นองค์กรควรบริหารงานโดยไม่ได้มุ่งหวังแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจพนักงานด้วย การสื่อสารภายในองค์กรควรพูดจากันด้วยดี มีเหตุผล ไม่เอารัดเอาเปรียบ ควรมีการจัดกิจกรรมดี ๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างคนภายในองค์กร รวมถึงชุมชนด้วย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในองค์กร4.  การเป็นผู้นำที่ยิ่งสูงยิ่งต้องถ่อมตัว โดยผู้บริหารยิ่งระดับสูง ไม่ทำตัวสูงส่ง เข้าถึงยาก แต่ควรเข้าหาพนักงานมากขึ้น  ทำให้พนักงานรู้สึกว่าผู้บริหารเข้าใจ ใส่ใจพวกเขา ย่อมทำให้เขากล้าแสดงความคิดเห็น กล้าเอ่ยปากขอความช่วยเหลือเมื่อเป็นทุกข์  รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญต่อหน่วยงาน  ดังนั้นพนักงานก็จะพร้อมทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ เพื่อให้งานออกมาดี ดังที่คุณยมได้ยกตัวอย่างถึงในหลวง ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำที่ถ่อมตัว เข้าถึงประชาชนที่สุด 

นส.ทิพวรรณ คงเมือง

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์จีระ ,พี่ยม,คุณสมภพและเพื่อน ๆ ชาว blog ดิฉัน นส.ทิพวรรณ คงเมือง นิสิตป.โท สถาบันพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารฯ ลาดกระบัง จากการได้มีโอกาสได้ฟังบรรยายวิชา HR จากพี่ยมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่าเหมาะสมแล้วที่พี่ยมเป็นศิษย์เอกของอาจารย์จีระ และน้อง ๆ นิสิตเต็มใจที่จะเรียกว่า"อาจารย์ยม" จากการเรียนครั้งนี้ทำให้ทราบว่าการนำทฤษฎี ของวิชา HR ไปใช้นั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เอาหัวใจใส่ลงไปในการบริหาร ซึ่งในความคิดของดิฉัน ความหมายของ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร" คือการบริหารคนที่อยู่ในองค์กร ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาสนับสนุนวิสัยทัศน์และภาระกิจหลักให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร และคนเหล่านั้นมีความสุขกับการทำงานด้วย

วิธีการบริหารทรัพยากร ที่ดีในความคิดของดิฉันคือการทำให้ทฤษฎี 3Q (ของพี่ยม) มีคุณภาพคือ

1)Quality Worker

2)Quality Company

3)Quality Product

ทั้งนี้ทั้งนั้น จะทำให้สำเร็จได้ดิฉันคิดว่าต้องเพิ่มแรงจูงใจให้เค้าด้วยคือ 

 MOTIVATION

-Behaviour (พฤติกรรม)

-Creating (ความคิดสร้างสรรค์)

-A process (กระบวนการ)

เพราะดิฉันมีความคิดว่าคนไม่ใช่เครื่องจักร การจะบริหารเค้าให้เพิ่มมูลค่าให้ตัวเองและองค์กร จะใช้ระบบ กฏเกณฑ์อย่างเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ จึงจะเห็นผลได้ชัดเจน รวดเร็ว และยืนยาว การทำงานร่วมกันจะได้มีความสุขหรือทุนแห่งความสุขที่อาจารย์จีระสอนให้พวกเราได้เรียนรู้นั่นเองค่ะ

เรียนกับพี่ยมวันนี้ทำให้เรามองเห็นภาพชัดเจนจากประสบการณ์ตรงของพี่ยม และรู้จักและเข้าใจที่จะนำไปใช้ การเข้าใจและเข้าถึงและทำให้เค้าไว้ใจสำคัญมาก ๆ สำหรับการบริหารงานในยุคสมัยนี้ ซึ่งจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงค่ะ

   ขอบคุณพี่ยมมากค่ะที่นำความรู้รอบตัวใหม่ ๆ มาเล่าสู่กันฟัง เปิดโลกทัศน์ให้น้อง ๆ สอนแนวเดียวกับอาจารย์จีระที่ให้พวกเรามองระดับ Macro Economicสู่ Micro Economic และพยายามอธิบายสอดแทรกให้พวกเราเข้าใจทฤษฎี 8 ทุนของอาจารย์จีระมากขึ้น

                                               ขอบคุณจากใจจริงค่ะ

                                                  ทิพวรรณ  คงเมือง

นางสาวจุฑาวรรณ เทพลิบ
กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  และสวัสดีเพื่อน ๆนักศึกษาทุกคน  ดิฉันนางสาวจุฑาวรรณ  เทพลิบ  นักศึกษาปริญญาโทสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ยมมากที่สละเวลามาสอนพวกเรา  จากการเรียนในวันที่  2  ก.ค.  ที่ผ่านมารู้สึกโชคดีอีกแล้วที่ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ยม  สมแล้วที่อาจารย์ยมเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์จีระ  การเรียนในวันนั้นสนุกมากได้รับความรู้จากประสบการณ์จริงของอาจารย์  อาจารย์ได้ยกตัวอย่างของพนักงานคนหนึ่งซึ่งมีปัญหากับครอบครัวแล้วกล้ามาปรึกษา  แสดงว่าเค้าให้ความไว้วางใจกับอาจารย์  กล้าที่จะเปิดเผย  ก็เหมือนกับเด้กที่เวลามีปัญหาก็มักจะปรึกษาเพื่อน  แต่ถ้าหากพ่อ แม่ให้ความเป็นกันเอง  ดูแลและเอาใจใส่ลูกจะกล้าบอกกล้าปรึกษา เมื่อก่อนดิฉันคิดว่าฝ่าย  HR  มีแค่การรับพนักงานเข้ามาทำงาน  ดูว่าใครสายใครขาดเท่านั้น  แต่จริง ๆแล้วมันไม่ใช่เพียงแค่นั้น  เราต้องดูแลเค้าตั้งแต่เข้ามาวันแรกจวบจนวันสุดท้ายที่เข้าลาออกหรือเกษียณไป  ความจริงใจต่อการทำงานและเพื่อนร่วมงานอีกทั้งผู้บังคับบัญชา  เป็นสิ่งที่ต้องมีในทุกองค์กร  เมื่อเรามีความจริงใจแล้ว  ความเชื่อใจก็จะตามมาเมื่อมีปัญหาการทำงานหรือปัญหาอื่น ๆ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้  สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะเป็นความสุขใจไม่ต้องมาเบื่อหน่ายกับการทำงาน  บวกกับการสร้างความมั่นใจในการทำงานด้วยการจัดฝึกอบรมตามสายงาน  เพราะปัจจุบันนี้วิวัฒนาการเปลี่ยนไปเราจึงจำเป็นต้องตามให้ทันเพื่อประสิทธิผลในการทำงาน สำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร  ในความคิดของดิฉันหมายถึง  การจัดการกับทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กร  และเสริมสร้างความเป็นคนดี  ประพฤติดี  มีคุณธรรม  เพื่อนำพาความสุขและความสำเร็จในการดำเนินชีวิตให้ไปถึงเป้าหมาย 
น.ส. พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์
เรียน อาจารย์ ดร.จีระ  อาจารย์ ยม และ อาจารย์ สมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จากการที่ อาจารย์ ยม และ อาจารย์ สมภพได้มาเล่าถึงประการณ์การ การทำงานที่ผ่านมา และให้ข้อแนะนำในการเรียนเกี่ยวกับ HR ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ประการณ์ของทั้ง 2 มากขึ้น คำถามที่ว่าหลังจากที่ได้เรียนกับอาจารย์ ยม แล้วได้อะไรจาก Food Business บ้าง อย่างแรกคงเป็นหนึ่งใน 8 K ของอาจารย์จีระ คือ Happiness ที่อาจารย์ ยม เล่าถึงประการณ์ การทำงานที่ผ่านมา และอย่างที่ 2 ดิฉันชอบในภาพเรือทั้ง 2 ภาพที่อาจารย์ ยม สื่อถึงการจัดรูปแบบองค์กร 2 องค์กร ซึ่งดิฉันเองคิดว่าองค์ที่ดีต้องมีทั้ง 2 อย่างในภาพนั้น คือต้องมีทั้งการวางแผนที่แน่นอนในจุดมุ่งหมายขององค์กร มีการทำงานเป็นระบบที่มีคน เป็นคนควบคุม และมีการปรับเปลี่ยนอย่างมีแบบแผนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สำหรับเรื่อง Food Business นั้นจะเห็นได้ว่าเวลาเปลี่ยนไปประเด็นความสนใจที่ใช้ในการบริหารธุรกิจอาหารก็เปลี่ยนไปด้วย เห็นได้จากในปัจจุบันธุรกิจด้านอาหารจะเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นหลัก พร้อมๆกับการนำเสนอข้อมูลต่างๆที่เน้นทั้งในด้านคุณภาพและประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากคนไทยในปัจจุบันเห็นความสำคัญของสุขภาพมากกว่าแต่ก่อนที่จะเลือกซื้อที่ราคา บริษัทอาหารรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มาปรับใช้เพื่อความอยู่รอดกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มีบทบาทที่เด่นชัดในการคิดผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ที่เป็นที่สนใจในตลาด ในช่วงเวลานั้นๆ และมีแนวทางการผลิตที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุด พร้อมกับยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ได้ นอกจากนี้แล้วระบบของโครงสร้างองค์กรต้องมีความเฉียบขาด ชัดเจนในสายบังคับบัญชาเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็ว มีข้อมูลที่เข้าใจตรงกันในทุกๆส่วนขององค์กร แต่นั้นยอมหมายถึงการมีผู้บริหารที่เข้าใจในเรื่องการบริหาร HR เป็นอย่างดีด้วย มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของคนทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีความเด่นชัดในเรื่องของ HR มากขึ้น กว่าแต่ก่อนที่เป็นเพียงแค่การรับคนเข้าทำงาน ผู้บริหารสมัยใหม่จะให้ความสำคัญกับบุคลากรที่เข้ามาทำงานในบริษัท เพราะถือว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ถ้าขาดบุคลากรเหล่านี้บริษัทก็ไม่สามารถที่จะอยู่รอดได้ จึงมีนโยบายในการฝึกอบรมและให้การศึกษาแก่บุคลากรเหล่านั้น ตามความเหมาะสมกับขอบเขตความรับผิดชอบของงานนั้นๆ และต้องมีความยุติธรรมในการบริหารงานเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับหัวหน้างานระดับต่างๆ เป็นการสร้างความศรัทธาและความมั่นใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย เพราะเมื่อพนักงานทำงานให้กับบริษัทด้วยความตั้งใจ เค้ายอมต้องการได้รับการสนับสนุนและความสนใจจากผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารเองก็ต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับเค้าเวลาที่เค้ามีปัญหา มันเป็นการสร้างทั้งความศรัทธา และความจงรักภักดีที่พนักงานจะมีให้กับบริษัท และยังส่งผลทางอ้อมให้บริษัทมีคนเก่งในการทำงานมากขึ้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ถ้ามองมันสามารถแยกคำออกเป็น 2 คำ คือ บริหาร และ ทรัพยากรมนุษย์ นั่นคือกลุ่มคน 2 กลุ่มที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่เมื่อมีคนมากกว่า 2 คนขึ้นไป การไว้ใจกัน เชื่อใจกัน ศรัทธาซึ่งกันและกัน ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะมันจะทำให้สังคมหรือองค์กรนั้นๆ อยู่กันอย่างสงบสุข และมีการพัฒนาที่ดีอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะฉะนั้นพื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ได้จากการเรียนในอาทิตย์ที่ผ่านมาคือ ความศรัทธา และมั่นใจซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้บริหาร และ พนักงาน                                                                                                                ด้วยความเคารพ
น.ส.อโณทัยแก้วสำอางค์
เรียนอาจารย์จีระ อาจารย์ยม อาจารย์สมภพ และสวัสดีเพื่อนๆชาว Blog             จากการเรียนกับคุณยมครั้งนี้รู้สึกสนุกดีค่ะ  ไม่น่าเบื่อ คุณยมพูดเก่ง มีอารมณ์ขันสอดแทรก  นอกจากนั้นคุณยม ยังเป็นผู้ที่มีประสบการณ์จริงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำให้วันนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมหลายอย่าง ทั้งเรื่องทิศทางการเติบโตของธุรกิจอาหารในอนาคต  กลยุทธ์เพื่อความสามารถในการแข่งขัน  แนวทางและกระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งยังได้รับฟังประสบการณ์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์จากคุณยมอีกด้วย

            ซึ่งจากการฟังคุณยมครั้งนี้ดิฉันสามารถสรุปในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร ในความคิดของดิฉันคิดว่าเป็นการจัดการกับคน เพื่อให้คนสามารถก่อประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ส่วนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้น นอกจากจะเป็นการบริหารจัดการให้คนมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดกับองค์กรแล้ว  ยังเป็นการบริหารจัดการบนพื้นฐานแห่งความสุข กล่าวคือต้องให้คนเหล่านั้นมีความสุขในการดำเนินชีวิตและมีความสุขในการทำงานด้วย

Quaiity Management

  Quality

  Worker

  Quality

  Worker

  Quality

  Worker

   Quaiity Company
นาย ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์
เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ ยม นาคสุข และอาจารย์ สมภพ

                   สวัสดีเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน

กระผมนาย ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์ ตามที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์  ได้มอบหมายให้ทาง อาจารย์ ยม นาคสุข และ อาจารย์ สมภพ    มาสอนใน class ที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์จริงในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในธรุกิจอาหาร ( Food Business) นั้นนับว่าเป็นความโชคดีของนักศึกษาใน class เป็นอย่างมากเนื่องจากทางด้านอาจารย์ ยม นาคสุข และ อาจารย์ สมภพ มีประสบการณ์ในด้านธุรกิจอาหารอย่างโชกโชนตั้งแต่เป็นหัวหน้างานระดับต้นจนถึงเป็นหัวหน้างานระดับสูงในสายงานทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงโดยส่วนตัวของท่านอาจารย์ ยม นาคสุข เป็นผู้ที่มีความคิดที่รักเรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งไม่เฉพาะศาสตร์ที่ใฝ่รู้เท่านั้นแม้ศาสตร์ด้านอื่นๆที่สนใจก็มีการศึกษาเช่นศาสตร์การดูโหวเฮ้งเป็นต้น และจาก power point ของอาจารย์เองก็ประกอบด้วยความคิดหรือ theory จาก guru หลายๆท่านแต่ทางอาจารย์ ยม นาคสุข ก็มีการนำเสนอที่ดีไม่ใช่แค่การนำมารวมกัน แต่เป็นการใช้ความรู้และประสบการณ์มาตกผลึกความคิดเหล่านั้นให้นำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น สำหรับคำถามของอาจารย์ ยม นาคสุข นั้นผมขอตอบตามความเข้าใจดังนี้

    1) ในความเข้าใจของนักศึกษา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร) หมายถึงอะไร กระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร) มีอะไรบ้างจงอธิบาย

           ในส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นคือการทำทุกอย่างเพื่อที่จะดึงความสามารถของบุคคลากรออกมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่องค์กร และผู้เกี่ยวข้อง (ตัวพนักงานเอง ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และสังคม)อย่างเต็มความสามารถที่เขามี ซึ่งจะดูเหมือนง่ายๆแต่จริงๆยากมากส่วนกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นประกอบด้าย

      1.1) การจัดวางโครงสร้างขององค์กร(ซึ่งถ้าเทียบกับบ้านก็คงเป็นส่วนของเสา ซึ่งถ้าไม่มั่นคงบ้านก็พังได้ง่ายๆ) ตรงนี้คงต้องเลือกว่าเราจะใช้โครงสร้างแบบใดนั้นก็ต้องขึ้นกับธรุกิจที่จะทำ (ตามที่ Michael E. Porter ที่แนะนำก็มีอย่างน้อย 3 แบบ คือ  Cost Leadership ,Differentiation , and Customer focus การวางแผนอัตรากำลังแลสรรหาว่าจ้าง ดังที่ฝรั่งชอบพูดว่า ‘Put the right man to the right job’

       1.2) การจัดการทางด้านเงินเดือน สวัสดิการ และ การบริหารค่าตอบแทนดังคำกล่าวที่ว่า กองทัพเดินด้วยท้อง หรือที่ Maslow ได้ระบุถึงบันได 5 ขั้นของความต้องการมนุษย์นั้นความต้องการขั้นแรกสุดของมนุษย์ก็เป็นความต้องการทางร่างกายและความอยู่รอดซึ่งตรงนี้คือเงิน และสวัสดิการนั้นเอง

       1.3) การประเมินผลการปฎิบัติงาน ในส่วนนี้มีความสำคัญคือการจะทำอะไรก็ตามทางเราควรมีการตั้ง Objective หรือ target ของงานที่จะทำจากนั้นจะต้องมีการกำหนดวิธีการทำงาน หรือกลยุทธ์เพื่อให้งานสัมฤทธิ์ผล และต้องมีการประเมินการผลการปฎิบัติงานเป็นระยะๆเพื่อไม่ให้งานออกนอกลู่นอกทางและสำเร็จตาม timeline

       1.4) การฝึกอบรมพนักงาน  พนักงานควรได้รับทุนทางความรู้ (Knowledge capital) เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดทุนตัวอื่นๆเช่น Innovation capital , Cultural capital ตามมา

       1.5) การวางแผนความก้าวหน้าของพนักงานในองค์กร เนื่องจากต้อง challenge พนักงานให้มีความท้าทายใหม่ๆสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในกาทำงาน รวมถึงการที่เราแจ้งเขาถึง career path เขาจะได้ทราบจุดมุ่งหมายของงาน การที่จะทำให้ตัวเองพัฒนาตัวเองให้หน้าที่การงานดีขึ้น พนักงานก็จะเกิดทุนแห่งความสุข (Happiness capital) และจะก่อให้เกิดทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable capital) ต่อไป

       1.6) การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งงานของพนักงานในองค์กร ทาง HR ควรมีการเตรียมความพร้อมในอนาคตที่ Business จะเจริญเติบโต หรือมีการลาออกของพนักงาน การดำเนินธุรกรรมขององค์กรจะได้ต่อเนื่อง พนักงานก็จะมีความสุขและอารมณ์ที่ดีในการปฎิบัติงานก่อให้เกิดทุน Happiness & Emotional capital

      1.7) การลาออกและการเกษียณอายุของพนักงาน การที่พนักงานทำงานกับเราจนเกษียณนั้นเป็นเรื่องที่ดีในองค์กร ดังนั้นการที่เขาเกษียณจากเราไปนั้นเราควรมีการดูแลเขาตามความเหมาะสมเช่น ตอนที่ปฎิบัติงานกับเราอยู่ก็มีการส่งเสริมให้มีการออมเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ การฝึกหัดงานวิชาชีพง่ายๆที่จะสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ป้องกันความเหงา ส่วนพนักงานที่จะลาออกนั้นทางเราต้องดูแลเขาด้วยว่ามีสาเหตุใดที่ทำให้เขาลาออก (ซึ่งจะสามารถนำมาแก้ไของค์กรต่อไปในอนาคต) ซึ่งถ้าเราจัดการทั้งสองอย่างได้เป็นอย่างดีแล้วขวัญ กำลังใจของพนักงานโดยรวม (Moral) ก็ดีขึ้นก็ให้เกิดทุนทางด้าน Happiness , Emotional ,Cultural and Sustainable ภายในองค์กร

       1.8) การวางกลยุทธ์การบริหารจัดการงานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในสภาวะการณ์ปัจจุบันที่การแข่งขันรุนแรงมากๆ จากกระแสของ globalization ทาง HR ต้องมีส่วนร่วมอย่างมากกับทุกแผนกในการที่จะดำเนินกลยุทธ์ขององค์กรเพราะทาง HR จะมีคาวมเข้าใจในด้านของทรัพยากรมนุษย์มากที่สุดและ ทรัพยากรมนุษย์ ก็เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร

            2) ถ้าท่านได้มีโอกาสบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านคิดว่าจะบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดประโยชน์ สุข สูงสุด ทำ HR ให้ดีที่สุด ได้อย่างไร

             การบริหารก็ต้องส่งเสริมให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้( Knowledge base organization) เพื่อให้เกิดทุนทั้ง 8 Ks และ new 5 Ks  แต่แนวทางที่ใช้จะใช้แนวทางทางตามพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากเป็นแนวทางที่เป็นสัจจะนิรันทร์ สามารถพิสูจน์ได้วิทยาศาสตร์ในหลายๆเรื่อง  โดยเน้นที่ด้านจิตใของพนักงานเป็นหลักมากกว่าทางกาย เพราะจิตเป็นนายกายเป็นบ่าว ถ้าจิตใจของพนักงาน ดี รู้จักพอตาม(หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเรา) เริ่มจากอย่างแรกสุดที่การที่ทำให้ทุกคนเกิด หิริโอตับปะ คือมีละอายและเกรงกลัวต่อบาป(ธรรมโลกบาล) ถ้าทุกคนทำได้บริษัทก็จะสงบสุข การทำการพัฒนาอะไรก็ง่าย พนักงานมีเหตุผผลสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ผันผวนอย่างหนักได้ดี การทำงานของพนักงานก็พยามเน้นหลัก อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) การปฎิบัติกับผู้อื่นก็เน้นหลัก พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)โดยจะมีการจัดให้ทุกสัปดาห์จะมีช่วง free time อยู่ 1 ชั่วโมงในการฟังคำสั่งสอนทางศาสนา(ทุกศาสนาตามแต่พนักงานนับถือ)เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นมนุษย์มากขึ้น  ถ้าทุกคนสามารถทำได้ทุนทางวัฒนธรรมก็จะเกิดขึ้นเป็นจุดเด่นขององค์กร ในส่วนของทุนทางวัฒนธรรม ก็เป็นทุนอีกตัวที่ประเมินค่าไม่ได้ยกตัวอย่างเช่นประเทศ ภูฏานที่เน้นอนุรักษ์วัฒนธรรมเขาเป็นอย่างมาก การที่จะเข้าไปเที่ยวประเทศ ภูฏานจะเข้าได้ยากมากเนื่องจากทางเขาไม่อยากให้วัฒนธรรมเขาสูญเสียไปจากวัฒนธรรมอื่นที่หลั่งไหลเข้าไป ถ้าข้อมูลไม่ผิดประเทศไทยมีโควต้าเข้าประเทศเขาแค่ปีละไม่เกิน 5000 คนเท่านั้นและการเข้าไปเที่ยวก็มีข้อกำหนดว่าต้องใช้จ่ายวันละประมาณ 2500 US Dollars แต่จากการที่เขาสามารถรักษาวัฒนธรรมของเขาไว้ได้ใครๆก็อยากไปเที่ยว ซึ่งตรงข้ามกับเมืองไทยของเราที่มีวัฒนธรรมดีๆมากมายแต่เราไม่เคยอนุรักษ์ไว้ ชอบรับวํฒนธรรมที่เลวๆของต่างชาติมาใช้ โดยอ้างว่าเป็นความทันสมัยเช่น การท้องก่อนแต่ง การมั่วสุมของเด็กวัยรุ่น แต่วัฒนธรรมที่ดีๆของเขาเช่นการตรงต่อเวลา เขากลับไม่ยอมรับเข้ามาใช้ ประเทศเราก็เกิดปัญหาขึ้นมากมายในปัจจุบัน 

            3) ให้นักศึกษาเขียนว่าเรียนกับผมแล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง ให้ตอบเป็นประเด็น

ประเด็นที่ผมชอบในการบรรยายของอาจารย์มีอย่างน้อย 2 อย่างเช่น

   3.1) ประเด็นของกกลยุทธ์ที่ประกอบด้วย CEO คือ

          - Customer satisfaction (ความพึงพอใจของลูกค้าทั้งลูกค้าภายในและภายนอก)

             - Employee satisfaction (ความพึงพอใจของพนักงาน ทุนความสุขในการทำงาน)

             - Organization profit (กำไรขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดในธุรกิจได้)

    3.2) คำว่า ลูกน้อง เป็นอะไรที่เขาต้องประคับประคองให้เขาไปกับเราได้มากที่สุด ช่วเขาในการแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรืองของงานหรือเรื่องส่วนตัวเพราะเขาเป็นทั้ง ลูก และ น้อง ของเรา
น.ส.อโณทัยแก้วสำอางค์
เรียนท่านอาจารย์ และผู้อ่านทุกท่าน

            ขอแก้ไขคำผิดนิดนึงนะคะ ตรงช่วงท้ายนะคะ จริงๆแล้วทำเป็น chart  แสดงความสัมพันธ์ ของ Quaiity Management  นำไปสู่ Quality  Worker   นำไปสู่  Quality  System  และนำไปสู่  Quality  Products  และถ้าองค์กรใดทำได้อย่างนี้  ก็จะก้าวไปสู่   Quality  Organization.

นายสุทธิพงศ์ คงขาว
เรียนอาจารย์ ดร.จีระ , อาจารย์ ยม และ อาจารย์ สมภพ ที่เคารพ เนื้อหาที่ผมประทับใจ (โปะ เชะ )  จากการเรียนในหัวข้อ HRM กับการ Food business  1.                 การใช้กลยุทธ รู้ก่อน ได้เปรียบ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกBusiness แต่ที่สำคัญคือการนำไปวิเคราะห์ และการนำไปปฏิบัติเพื่อเตรียมตัวรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่น ในอนาคตมีการพยากรณ์ว่าปี  ค.ศ. 2100 ประชากรไทยจะเพิ่มเป็น 240 ล้านคนแล้วอาหารจะต้องเพิ่มขึ้นแล้วเรามีการเตรียมรับมืออย่างไร 2.                 จากการอ่านบริษัทที่เจริญก้าวหน้ามักมีวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่มากกว่าคิดว่าจะต้องกำไร กำไรเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ขององค์กร  กำไรเป็นเงือนไขที่จำเป็นที่จะทำให้บริษัทอยู่ได้ เปรียบเสมือน อากาศที่เราหายใจ  ซึ่งแท้ที่จริง อากาศไม่ใช้วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชีวิต3.                 ในปัจจุบันการแข่งขันทางด้านธุรกิจมีการแข่งขันมาก และเปลี่ยนแปลงจากการแข่งขัน Service เป็น  Leadership ดังนั้นการใช้ทุนมนุษย์ 8K’s ดร.จีระมาใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) 4.                 การทำงานที่ดีไม่ใช่ทำแต่งานควรมีสร้างความสัมพันธ์กับทีมงาน(Social capital) จะทำให้เกิดความทีมงานที่เข้มแข็ง ทำให้เกิดความสุขในการทำงานมากขึ้น5.                 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่นำไปสู่การกำหนดทิศทางขององค์กรส่วนใหญ๋จะเป็นแบบ Top ไปยัง bottom เช่นมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ( VISION)  แต่ในวงการบันเทิงจะมีการกำหนดทิศทางขององค์กรจาก Bottomไปยัง Top  เช่นรายการของ Khun Andrew Biggs6.                 ทำให้ผมสามารถมองยุทธศาสตร์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  ได้แก่  Cost leadership , Differentiation, Customer  Focus เช่น มองไปที่ Beer LEO  ใช้ยุทธศาสตร์  Cost Leadership7.                 ในองค์กรควรสร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ให้เกิดขึ้น  องค์กรอยู่อย่างมีความสุข เช่น การให้ค่าตอบแทน การให้สวัสดิการ การให้ความรู้ใหคำปรึกษาปํญหาแก่ทีมงาน  เมื่อไรก็ตามที่องค์กรไม่มีทุนความสุขจะเกิดความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง  8.                 ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ได้แก่ หัวหน้างานไม่รู้กฎหมายแรงงานทำให้เขียนไบเตือนไม่ถูกต้อง เช่น ให้เขียนหากทำผิดครั้งจะมีบทลงโทษอย่างไร9.                 ควรมีการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ว่าจะให้ใครสืบทอดตำแหน่งต่อจากเรา   เช่น เมื่อเราเป็นเจ้าของกิจการมีการวางแผนให้ลูกไปศึกษาทางเกี่ยวกับธุรกิจของครอบครัวเพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจขอขอบคุณมากที่ให้ความรู้และประสบการณ์เป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน
นางสาววิชชุวรรณ ชอบผล
สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ อาจารย์ยม อาจารย์สมภพ และท่านผู้อ่านทุกท่าน           ดิฉัน  น.ส.วิชชุวรรณ  ชอบผล  นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังค่ะ           ดังที่อาจารย์สมภพได้กล่าวไว้ เมื่อประชากรโลก มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าความต้องการอาหารก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อประเทศไทยซึ่งมีความสามารถในการผลิตอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่ ก็ควรที่จะใช้จุดนี้ให้เป็นข้อได้เปรียบของเรา แต่การที่เราจะมีทุนแห่งความยั่งยืนหรือไม่นั้น ดิฉันคิดว่าเราควรมีการบริหารและจัดการทรัพยากรที่เรามีอยู่ด้วย ไม่ใช่ว่าผลิตอย่างเดียว และก็คิดต่อไปอีกว่าเราควรบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเราเพื่อสร้างความได้เปรียบด้วยค่ะ ทุกวันนี้คนไทยขาดศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรมากกว่าประเทศอื่นๆในแถบเดียวกัน ( อาจารย์ยมบอกว่าคนในประเทศเวียดนามมีความสามารถในการผลิตมากกว่าไทยเราถึง 2 เท่า แต่ค่าแรงถูกกว่า ) และดิฉันก็คิดว่าประเทศไทยน่าจะใช้ทุนทางนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทุนทางวัฒนธรรมของไทยเรา ( ซึ่งของไทยเรานั้นแตกต่างจากชาติอื่นอย่างเห็นได้ชัด )มาสร้างความได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่าง ( Differentation) จากชาติอื่น ๆ ได้ค่ะ          และในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร ดิฉันคิดถึงการที่ทำให้คนในองค์กรมีความสุข มีความจงรักภักดีต่อองค์กร จึงจะดึงความสามารถสูงสุดที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลออกมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ โดยที่ผู้บริหารต้องมีความอดทน ดูแลเอาใจใส่ให้เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ให้ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และอิสระ ในการมอบหมายงานที่ท้าทาย มีการบริหารแบบโปร่งใส เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้องค่ะ          และที่ดิฉันประทับใจที่สุดในการเรียนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาคือ รูปเรือยางค่ะ ดิฉันเห็นว่าถึงแม้เราจะมี team work ที่ดีมากขนาดไหน หากเราไม่มีผู้นำที่ดีหรือมีผู้นำที่ดี แต่ไม่มี team work เรือหรือองค์กรที่เต็มไปด้วยหิน น้ำที่มากระทบ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ก็ไม่สามารถไปถึงฝั่งได้ เพราะฉะนั้นองค์กรที่ดีควรต้องมีทั้ง 2 อย่าง และที่สำคัญนั้นเราต้องมีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาค่ะ          สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์จีระที่ทำให้ดิฉันมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ยมและอาจารย์สมภพ และขอขอบพระคุณอาจารย์ยมและอาจารย์สมภพสำหรับทุนความรู้และทุนแห่งความสุขค่ะ             

               

ยม ถึง น.ศ. ป.โท ที่รักทุกคน

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ น.ศ. ทุกคน

 

  ขณะนี้เวลา 21.30 น. ของวันพฤหัสฯ ที่ 6 ก.ค.2549  ผมอ่านสิ่งที่นักศึกษาเขียนส่งมา ณ เวลานี้ มี ผู้เขียนมาแล้วได้แก่  
  1. คุณพรชนก สุขอาจ เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 16:18
 
  1. ปรัชญา เคียนงาม เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 19:02
 
  1. คุณกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 01:44
 
  1. คุณศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 09:31
 
  1. ไม่แสดงตน เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 10:15
 
  1. คุณสุพัชชา ขับกล่อมส่ง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 11:55
 
  1. นส.ทิพวรรณ คงเมือง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 12:47
 
  1. คุณจุฑาวรรณ เทพลิบ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 15:27
 
  1. คุณ พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 18:00
 
  1. คุณอโณทัยแก้วสำอางค์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 19:25
 
  1. คุณ ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 19:30
 
  1. ประชา กองสุข เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 22:48
 
  1. คุณกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 01:44
   

ผมก็ขอชื่นชม นักศึกษา ผุ้ที่ทยอยเขียนแสดงความเห็น ตามมาเป็นลำดับต้น ๆ และมีหลายคนที่เขียนมาได้ดี  และมีแววเป็นนักคิดนักเขียนที่ดีในอนาคต  เช่น การบ้านของ ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์  เขียนฟันธง ตรงกับคำถาม ที่ผมให้ไว้ และสรุปได้ดี  ผมเห็นความพยายาม ความตั้งใจอย่างมากอยู่ในนั้น  และเห็นทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญาฯ เป็นต้น

  

การเขียน Blog ผมแนะนำให้เขียนลงใน word ของ Microsoft ก่อน ใช้ตัวอักษรแบบ Tahoma ขนาดตัวอักษร 12 หรือ 14 ก็ได้  เมื่อเขียนแล้วทำตัวหนา แถบสีตามที่ต้องการ แล้ว Copy ไปวางใน Blog

 การเขียน ต้องตรงประเด็น ฟันธงที่อาจารย์ปักธงไว้ให้  คือตอบคำถาม ตรงประเด็น ตามความเข้าใจ บางคนที่จำไม่ได้ ผมเขียนสรุปไว้ ในบทเรียนจากความจริง : เรื่องเล่าในห้องเรียน น.ศ. ป.โท อาทิตย์ ที่ 2 ก.ค. (ตอนที่ 1-2) ผมกำลังอ่านสิ่งที่นักศึกษาเขียนมา  และหวังว่าคงจะส่งสิ่งที่ตนเองเขียนมาใน Blog นี้ ร่วมเป็นทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ให้เกิดทุนทางสังคม ทุนแห่ง IT ทุนทางจริยธรรมฯ ใน Blog นี้ ขอให้ท่านผู้อ่าน น.ศ.ทุกคน จงโชคดี สวัสดี ยม
นางสาวปรียานันท์ ไทยงามศิลป์
เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คุณยม นาคสุข และคุณสมภพ              ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาคุณยมได้ทำให้พวกเรามีทุนแห่งความสุขเพิ่มมากขึ้นมากทีเดียวค่ะจากการสอนในครั้งนี้ของคุณยมทำให้ดิฉันมองเห็นภาพรวมของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ตั้งแต่วันแรกที่พนักงานคนหนึ่งเดินเข้ามาสู่รั้วของบริษัท  ทุกๆวันที่เขาทำงาน จนกระทั่งวันสุดท้าย  ระหว่างนี้เราจะดูแล และบริหารพนักงานทุกคนด้วยความรัก ความจริงใจ เอาใจใส่                  ดิฉันคิดว่าเราควรจะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของตนเองให้ก้าวหน้า แข็งแกร่ง และยั่งยืน เพราะจากพื้นที่สีเขียวที่ลดน้อยลง และจากการพยากรณ์ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก  เราก็จะเป็นครัวของโลกได้จริงๆ   การบริหารทรัพยากรมนุษย์(ในระดับองค์กร) ที่ดี ในความคิดของดิฉันคือ ความจริงใจ  เพราะคนที่มีความจริงใจกับผู้อื่น  ก็จะทำและพูดเรื่องจริง ไม่เสแสร้ง ไม่หวังผลตอบแทน  ซึ่งคนที่มีความจริงใจในสมัยนี้นั้นหาได้ยาก  เพราะสังคมในธุรกิจที่มีแต่การแข่งขัน  ต่างก็หวังแต่จะเอาเปรียบและผลกำไรจากผู้อื่นเสมอ  นายจ้างก็จะใช้แรงงานลูกจ้างเกินความพอดี  เพียงหวังแต่ต้องการกำไรสูงสุดให้แก่ธุรกิจของตนเอง  โดยมองข้ามความสุขของพนักงานซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญไป  และการเป็นคนที่มีความจริงใจให้กับผู้อื่น  ก็จะทำให้เราเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ  การที่เราสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้อื่นได้  มีคนมาคุยอย่างเปิดใจกับเราได้เพราะเขาเห็นความจริงใจในตัวเรา   นอกจากนี้แล้วความยุติธรรม ความถูกต้อง และถ่อมตัวก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะความเย่อหยิ่งจะทำให้เราย่ำแย่และตกต่ำลงเรื่อยๆ               สิ่งที่โป๊ะเชะคือ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  ความจริงใจ การพูดคุยอย่างเปิดใจระหว่างผู้บริหารและพนักงาน  จะได้ไม่เกิดปัญหากับแรงงานสัมพันธ์  ไม่เกิดเรื่องที่ทำให้เรื่องเสื่อมเสียให้กับองค์กร  และการให้ทุนแห่งความสุข ต้องให้อย่างถูกคน ถูกเวลา ถูกสถานที่   และวิธีการทำให้ตนเองหรือองค์กรขึ้นถึงจุดสูงสุดเราก็ต้องคำนึงถึงวิธีที่จะทำให้ลงอย่างสวยงามได้อีกด้วยขอเสนอการมอบทุนแห่งความสุขอีกกิจกรรมหนึ่งนะคะ ไม่ทราบคุณยมเคยจัดงานแต่งงานให้กับพนักงานมั้ยคะ  วันแต่งงานเป็นวันที่สำคัญและเป็นวันที่คนๆนั้นมีความสุขมาก  ถ้าเราช่วยให้เค้ามีความสุขได้เราจะทำให้เค้ามั้ยคะ 
กัลย์สุดา วังชนะชัย
เรียนท่านอาจารย์จีระ/อาจารย์ยม/อาจารย์สมภพที่เคารพ   และสวัสดีเพื่อนๆทุกคน           ในการเรียนวันที่ 02/07/09 ความรู้ที่ดิฉันได้รับจากการมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน1.การมองอะไรต้องมอง 2 ด้านเสมอ(บวกและลบ)แล้วนำมาวิเคราะห์2.ในปัจจุบันการทำธุรกิจมีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบอยู่ตลอดเวลาปัจจัยภายนอกองค์กร                        1.Political (การเมือง)                        2.Economy (เศรษฐกิจ)                        3.Social  (สังคม  วัฒนธรรม ประเพณี)                        4.Technology (เทคโนโลยี)3.จำนวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  แต่ทรัพยากรที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อยลงทุกวัน  ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจการทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด4.ปัญหาของธุรกิจต่างๆ                        1.ระบบ (ไม่ชัดเจน  ไม่ทันสมัย)                        2.ทรัพยากรมนุษย์ (คนไม่มีคุณภาพ  ไม่ตรง spec  อัคราการเข้าออกสูง ) การแก้ไข  คือ  เราต้องศึกษาโครงสร้างองค์กร  บุคลากร  การศึกษา  อุดมการณ์ร่วม5.ทฤษฎี  3 Q                        1.Quality worker  (การคัดเลือกคนคุณภาพ)                        2.Quality company (องค์การมีคุณภาพ)                        3.Quality product  (ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ) ยุทธศาสตร์ของธุรกิจมี 3 ประเภท
  1. ยุทธศาสตร์ การเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุน(Cost Leadership)  ราคาถูกกว่าสินค้าตัวอื่น 
  2. ยุทธศาสตร์ สร้างความแตกต่าง (Differentiation)                    หาจุดแข็งของสินค้าประเภทเดียวกันแล้วนำมาสร้างเป็นแบรนด์ของตัวเอง
  3. ยุทธศาสตร์ การมุ่งจุดสนใจ (Customer Focus)                       มีจุดมุ่งหมายเฉพาะกลุ่ม
 การบริหารทรัพยากรมนุษย์  คือ การคัดเลือกคนที่มีคุณภาพ  และเพิ่มพูนคุณภาพของเขาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะดึงศักยภาพที่เขามีอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร    และยังต้องมีความสุขในการทำงานอีกด้วยสำหรับดิฉันขอเปรียบเทียบองค์กรเสมือนบ้านหลังหนึ่ง  คนที่จะเข้ามาอยู่ในองค์กรคือสมาชิกในครอบครัว  ซึ่งมีบทบาทสำคัญ  ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกสมาชิกที่เป็นคนดี และเก่ง  และเมื่อเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วผู้นำครอบครัวที่ดีก็ต้องให้ความรู้  ความรัก  และสร้างความคุ้นเคยกัน  ยามเมื่อเขาเดือดร้อนก็ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยคุ้มครองเขา  และต้องปฏิบัติให้ครอบคลุมกับสมาชิกทุกคน  ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าต่อครอบครัว  แล้วเราจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า  ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่เพียงตัวเงินแต่ยังต้องประกอบด้วยความสุขในครอบครัวและสืบเนื่องต่อไปยังสังคมอีกด้วย โป๊ะเชะ1.ผลตอบแทนจากการประกอบการที่ควรได้รับประกอบด้วย (CEO)                        1.Customer satisfaction  ความพอใจของลูกค้า                        2.Employee satisfaction         ความพอใจของพนักงาน                        3. Organization profit       ผลประกอบการซึ่ง 3 ตัวนี้จะสำเร็จได้คนในองค์กรต้องมี 8K และต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ตลอดเวลา2.การให้ที่ดี                        1.ให้ถูกคน                        2.ให้ถูกเวลา                        3.ให้ถูกสถานที่                        4.ให้ในสิ่งที่ต้องการ
กัลย์สุดา วังชนะชัย
เรียนท่านอาจารย์จีระ/อาจารย์ยม/อาจารย์สมภพที่เคารพ   และสวัสดีเพื่อนๆทุกคน           ในการเรียนวันที่ 02/07/09 ความรู้ที่ดิฉันได้รับจากการมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน1.การมองอะไรต้องมอง 2 ด้านเสมอ(บวกและลบ)แล้วนำมาวิเคราะห์2.ในปัจจุบันการทำธุรกิจมีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบอยู่ตลอดเวลาปัจจัยภายนอกองค์กร          1.Political (การเมือง)          2.Economy (เศรษฐกิจ)          3.Social  (สังคม  วัฒนธรรม ประเพณี)          4.Technology (เทคโนโลยี)3.จำนวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  แต่ทรัพยากรที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อยลงทุกวัน  ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจการทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด4.ปัญหาของธุรกิจต่างๆ          1.ระบบ (ไม่ชัดเจน  ไม่ทันสมัย)          2.ทรัพยากรมนุษย์ (คนไม่มีคุณภาพ  ไม่ตรง spec  อัคราการเข้าออกสูง ) การแก้ไข  คือ  เราต้องศึกษาโครงสร้างองค์กร  บุคลากร  การศึกษา  อุดมการณ์ร่วม5.ทฤษฎี  3 Q          1.Quality worker  (การคัดเลือกคนคุณภาพ)          2.Quality company (องค์การมีคุณภาพ)          3.Quality product  (ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ) ยุทธศาสตร์ของธุรกิจมี 3 ประเภท
  1. ยุทธศาสตร์ การเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุน(Cost Leadership)  ราคาถูกกว่าสินค้าตัวอื่น
  2. ยุทธศาสตร์ สร้างความแตกต่าง (Differentiation)         หาจุดแข็งของสินค้าประเภทเดียวกันแล้วนำมาสร้างเป็นแบรนด์ของตัวเอง
  3. ยุทธศาสตร์ การมุ่งจุดสนใจ (Customer Focus)            มีจุดมุ่งหมายเฉพาะกลุ่ม
 การบริหารทรัพยากรมนุษย์  คือ การคัดเลือกคนที่มีคุณภาพ  และเพิ่มพูนคุณภาพของเขาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะดึงศักยภาพที่เขามีอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร    และยังต้องมีความสุขในการทำงานอีกด้วยสำหรับดิฉันขอเปรียบเทียบองค์กรเสมือนบ้านหลังหนึ่ง  คนที่จะเข้ามาอยู่ในองค์กรคือสมาชิกใน ครอบครัว  ซึ่งมีบทบาทสำคัญ  ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกสมาชิกที่เป็นคนดี และเก่ง  และเมื่อเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วผู้นำครอบครัวที่ดีก็ต้องให้ความรู้  ความรัก  และสร้างความคุ้นเคยกัน  ยามเมื่อเขาเดือดร้อนก็ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยคุ้มครองเขา  และต้องปฏิบัติให้ครอบคลุมกับสมาชิกทุกคน  ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าต่อครอบครัว  แล้วเราจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า  ซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่เพียงตัวเงินแต่ยังต้องประกอบด้วยความสุขในครอบครัวและสืบเนื่องต่อไปยังสังคมอีกด้วย โป๊ะเชะ 1.ผลตอบแทนจากการประกอบการที่ควรได้รับประกอบด้วย (CEO)          1.Customer satisfaction         ความพอใจของลูกค้า          2.Employee satisfaction         ความพอใจของพนักงาน          3. Organization profit            ผลประกอบการซึ่ง 3 ตัวนี้จะสำเร็จได้คนในองค์กรต้องมี 8 K และต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ตลอดเวลา 2.การให้ที่ดี          1.ให้ถูกคน          2.ให้ถูกเวลา          3.ให้ถูกสถานที่          4.ให้ในสิ่งที่ต้องการ
นางสาวณัฏฐา มั่นคง
เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ อาจารย์ยม และอาจารย์สมภพ ที่เคารพ และผู้อ่านทุกท่าน

การบริหารทัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร ในความคิดเห็นของดิฉัน คือ การพัฒนาศักยภาพของคนให้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ในการทำงานและมีความพร้อมในการควบคุมพฤติกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและมีความพึงพอใจในองค์กร มีกระบวนการการบริหารดังนี้

1.       เลือกคนที่มีคุณภาพเข้าทำงาน ดูจากพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะรักสบายจนลืมตัว พอไปเจอสิ่งลำบากก็ไม่สามารถฝ่าฟันไปได้ จึงต้องมีความรู้เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา ถ้าคนสามารถควบคุมพฤติกรรมที่เป็นความเคยชินได้ก็น่าจะเป็นคนที่มีคุณภาพได้เช่นกัน เพราะมีจริยธรรมในใจ2.       สนองความต้องการขั้นพื้นฐานโดยใช้แรงจูงใจ และสร้างทัศนคติที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้บริหาร ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นธรรม และต้องมีความจริงใจต่อพนักงานในองค์กร 3.       พัฒนาและฝึกอบรม ให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เข้มแข็ง นำความสามารถที่ตนมีไปใช้ประโยชน์ให้กับสังคมและองค์กร จะได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง4.       วางแผนงานตั้งแต่เข้าทำงานจนออกจากงาน ต้องดูแลพนักงานให้ความรัก ให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แนะนำ แก้ไขปัญหา สร้างความก้าวหน้าให้กับพนักงานสิ่งที่ได้จากพี่ยม 1.ดิฉันคิดว่าเหมือนการปลูกต้นไม้                 เราปลูกต้นไม้ สุดท้ายที่เราต้องการก็คือผลผลิตของมัน ผลผลิตจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ถ้าเรารู้ว่าอะไรที่ทำให้ผลผลิตเสื่อมคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรค แมลง หรือแม้แต่การขาดสารอาหาร เราต้องทำการดูแลใส่ปุ๋ย ป้องกันกำจัดโรคและ โดยมีวิธีการอย่างไรที่จะไม่ให้เป็นอันตรายต่อสังคม เศรษฐกิจ และประเทศ เพราะถ้าเราป้องกันกำจัดโดยการใช้สารเคมีอาจทำให้คนได้รับอันตราย ผลไม้หรือผักส่งออกไม่ได้ ก็มีผลเสียต่อเศรษฐกิจและชื่อเสียงของประเทศ เมื่อเราใช้วิธีดูแลถูกจุดแล้วเราก็จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงความต้องการของเรา ก็จะไปเหมือนทฤษฎี CEO ของพี่ยมที่พูดถึง ความพึงพอใจของลูกค้า ก็คือ ตัวเรา ความพึงพอใจของพนักงาน คือ ต้นไม้ และผลประกอบการคือ ผลผลิต นั่นเอง 2. เรื่องการทำงานกับความสัมพันธ์ต้องคู่กันไป ทำให้รู้ว่าการทำงานคนเดียวไม่มีทางสำเร็จได้ต้องมีทีมที่ดีด้วย ต้องรู้จักเปิดใจกับผู้อื่นก่อน ก็จะทำให้เราเข้าถึงตัวตนของคนที่เราต้องการจะศึกษาด้วย ถือได้ว่าการสร้างมิตรเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะผู้บริหารกับลูกน้องเท่านั้น พนักงานกับพนักงานด้วยกันเองก็สำคัญด้วยเช่นกัน 3. เรื่องยุทธศาสตร์ที่องค์กรจะประสบความสำเร็จ ทำให้เข้าใจว่ากลยุทธของแต่ละบริษัทเป็นอย่างไร ต้องมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยนำทฤษฎี 8k ของศ.ดร.จีระมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมด้วย
พิมพ์พร เอี่ยมสอาด
(1)จากการเรียนวันที่ 2/7/06 ซึ่งบรรยายโดยคุณยม และคุณสมภพได้กล่าวถึงแนวทางการบริหารงานในองค์กรอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และต่อไปประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ผลิตและ supply อาหารให้กับคนทั่วโลกด้วยเพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง องค์กรทุกองค์กร ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมรถยนต์ หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมอาหารเองก็ตาม เริ่มมีการปรับตัวให้เข้ากับกระแสการแข่งขันการเป็นผู้นำ (Leadership)  การบริหารงานของ management จะต้องรู้จักดึงเอาทฤษฎี 8K’s  เข้ามาเป็นพื้นฐาน โดยเริ่มจาก 

Employee satisfaction è Customer satsfaction èOrganization result

 คือ เมื่อพนักงานมีความสุข ก็จะทำงานด้วยความเต็มใจ มีจรรยาบรรณ และจริยธรรมในการทำงาน  ส่งผลให้งานที่ทำนั้นออกมาดี  เป็นที่พอใจของลูกค้า และส่งผลให้เกิดกำไรกลับคืนมาสู่ธุรกิจ  (2)ฉะนั้น หน้าที่สำคัญจึงอยู่ที่แผนกทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องสามารถบริหารคนในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอยู่บนพื้นฐาน และสามารถสนับสนุนนโยบายและวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร 
นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล
สวัสดีครับจากที่ได้ศึกษาจาก อ.ยม  สิ่งที่ได้มันคือความรู้และประสบการณ์ของบุคคลหนึ่งคนที่ถ่ายทอดเรื่องราวความสำคัญของสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรมากก็คือ มนุษย์หรือคนในองค์กรนั่นเอง  เราอาจเปรียบองค์ต่างๆได้กับต้นไม้ต้นหนึ่ง  ลองคิดดูสิว่าต้นไม้ต้นนี้จะแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โตได้อย่างไร  จะขอกล่าวถึงส่วนประกอบหลักของต้นไม้องค์กร ได้แก่1. ราก   ส่วนที่อยู่ต่ำที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุด  ถึงต้นจะถูกตัด แต่ถ้ามีรากก็ยังมีสามารถมีโอกาสรอด เปรียบได้กับพนักงานในระดับล่างที่เป็นดั่งจักรกลกำลังให้กับองค์กร ***โดยปกติเขาจะใส่ปุ๋ยไปที่รากก่อน  แล้วฉีดยารักษาที่ใบ2. ลำต้น  เปรียบเหมือนกับความมั่นคงขององค์กร ต้นไม้ที่ดีจะต้องมีลำต้นที่แข็งแรง ทนทานต่ออุปสรรคต่างๆ อาจไม่จำเป็นจะต้องใหญ่โตมากก็ได้  ตัวอย่างเช่นต้นมะพร้าวอาจไม่ใหญ่เท่าต้นยางป่า แต่ก็สามารถยืนหยัดแม้จะมีลมพายุพัดมา(ถ้าพายุเก ก็อาจจะไม่รอด) หรืออาจจะเปรียบได้กับ วิธีการส่งผ่านสิ่งต่างๆ จากรากขึ้นไปอยู่จนถึงยอดใบก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าวิธีการใดที่จะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งเราก็ไม่ควรที่จะมองข้ามเด็ดขาด3. กิ่งก้าน  เป็นดั่งรูปลักษณ์ภายนอกขององค์กร สร้างรูปทรงให้กับต้นไม้  นอกจากนั้นหน้าที่หลักยังเป็นส่วนที่ผลิตใบ ดอก และผล  รวมถึงเป็นเส้นทางส่งน้ำ สารอาหารด้วย  4. ใบ  เป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญ ช่วยสังเคราะห์สารอาหารให้กับต้นไม้   หมายถึงพนักงานในระดับหัวหน้างานซึ่งเป็นส่วนที่คอยผลักดันให้เกิดความอยู่รอดขององค์กร5. ยอด   เปรียบได้กับผู้บริหารขององค์กรเป็นผู้ชี้นำให้องค์กรไปในทิศทางที่ดีได้  ความก้าวหน้าก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้บริหารด้วยส่วน ผล ถือ ว่าเป็นตัวที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพขององค์กร  ก่อนจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ต้องได้มาจากการสะสมจากสิ่งต่างๆ มากมายถึงจะทำให้ผลผลิตดีได้ทุกส่วนที่กล่าวมาถือเป็นที่มาของต้นไม้ใหญ่ที่ให้ประโยชน์ต่อโลกนี้- คนงานไม่ใช่เจ้าของบริษัท  ฉะนั้นอย่าทำให้เขาโกรธ เพราะเขาอาจทำอะไรบางอย่าที่ไม่มีเหตุผล สุดท้ายความเสียหายก็อาจจะเกิดขึ้นกับส่วนรวมก็ได้- ปัจจุบันประชากรของโลกมากขึ้นไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง  อย่าลืมทุกคนต้องกินอยู่ทุกวัน  และโลกที่มีอยู่ก็มีขนาดเทาเดิม- คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด ทำอย่างไรให้ไม่เกิดการเอาเปรียบทางความคิด  ฉะนั้นอย่าคิดให้ด้อยกว่าเขา-เกษตรเพียงพอ  คือ กินให้พอ เหลือค่อยขาย  ก้าวสั้นๆ แต่เป็นก้าวที่เข้มแข็ง- การวิเคราะห์องค์กร ที่ดี จะต้องทราบยุทธศาสตร์ ขององค์กรนั้นๆ ว่างมีกี่ระบบ และต้องทำการวิเคราะห์ในหลายๆ  ด้านหรือยึดทฤษฎี ต่างๆ   เช่น    8S   8 K- คนในองค์กรจะต้องทำงาน ควบคู่ไปกลับการสร้างความสัมพันธ์  ให้เกิดเป็นสายใยที่มีความหมายต่อชีวิตของคนในองค์กร- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี คือ ทำให้คนในองค์กรตั่งใจ และเต็มใจที่จะทำหน้าที่ของตนในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป  ขาดไม่ได้คือ  ผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรมและต้องเป็นคนเก่งมีความรู้ในระดับที่ผู้บริหารควรมีก่อนจะไปถึงจุดสูงสุดได้   จะต้องมองถึงตอนขาลงด้วยว่าลงมาอย่างสวยงามหรือเปล่า คนจะจำเราในแบบไหน ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเท่านั้นคนทุกคนมีพื้นฐานเหมือนกันต่างกันตรงสิ่งแวดล้อม สิทธิขึ้นอยู่กับโอกาสของแต่ละคน.... 
บทเรียนจากความจริง : เรื่องเล่าในห้องเรียน น.ศ. ป.โท อาทิตย์ ที่ 2 ก.ค. (ตอนที่ 3)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ นักศึกษา ป.โท ทุกคน  ผมติดตาม สิ่งที่นักศึกษาเขียนมาใน blog นี้  ซึ่งหลังจากที่ผมสอนและให้การบ้านไปขณะนี้ มี น.ศ. ส่งข้อความมา 19 ท่าน ตามรายชื่อที่ปรากฏอยู่ข้างล่างนี้   1.     นางสาวปรียานันท์ ไทยงามศิลป์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 22:00  2.     คุณพรชนก สุขอาจ เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 16:18 3.     ปรัชญา เคียนงาม เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 19:02  4.     คุณกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 01:44  5.     คุณศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 09:31  6.     ไม่แสดงตน เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 10:15 7.     คุณสุพัชชา ขับกล่อมส่ง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 11:55  8.     นส.ทิพวรรณ คงเมือง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 12:47  9.     คุณจุฑาวรรณ เทพลิบ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 15:27 10. คุณ พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 18:00 11. คุณอโณทัยแก้วสำอางค์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 19:25  12. คุณ ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 19:30  13. ประชา กองสุข เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 22:48  14. คุณกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 01:44  15. กัลย์สุดา วังชนะชัย เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 22:19  16. กัลย์สุดา วังชนะชัย เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 22:31 17. นางสาวณัฏฐา มั่นคง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 23:30  18. พิมพ์พร เอี่ยมสอาด เมื่อ ศ. 07 ก.ค. 2549 @ 00:31  19. นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล เมื่อ ศ. 07 ก.ค. 2549 @ 02:03 ต่อจากคราวที่แล้ว เกี่ยวกับ บทเรียนในห้อง ป.โท เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ตอนนี้เป็นตอนที่ 3  ในห้องแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ตอนท้ายของชั่วโมง ได้กล่าวถึงถึงปัญหา อุปสรรค กรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร จากประสบการณ์จริงที่พบ    ปัญหาอุปสรรค ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กร กรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร จากประสบการณ์จริงที่พบ   เช่น   ·        นโยบาย ของผู้บริหารระดับสูง    ถ้าผู้บริหารระดับสูงมีทุนทางจริยธรรม  มีความเชื่อว่า ทร้พยากรมนุษย์ สำคัญและมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะง่ายต่อการเสริมสร้าง ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ   ·        ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของผู้รับนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไปปฏิบัติ  หากมีมาก ก็จะสามารถแบ่งบันทุนต่าง ๆ เหล่านี้ไปสู่ทรัพยากรมนุษย์ ทั่วทั้งองค์กร ·        ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของผู้บังคับบัญชา ฝ่ายต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับ ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของทรัพยากรมนุษย์ระดับล่าง ผู้ปฏิบัติงานจริง  องค์กรที่มีผู้บังคับบัญชาที่มีคุณภาพ  จึงมักจะมีพนักงานที่มีคุณภาพ ทำให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรแห่งทุนมนุษย์ เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ ย่อมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ ตามมา  ·        ทรัพยากรเครื่องจักร ต้องซ่อมบำรุง ทรัพยากรมนุษย์ ก็ต้องดูแลเอาใจใส่ซ่อมรักษาทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ต้องซ่อมบำรุงรักษาให้มีอยู่เสมอในทรัพยากรมนุษย์  ต้องบริหารทัศนคติของพนักงาน ไม่ใช้งานอย่างเดียว ·        กิจกรรมที่จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน ที่เคยทำมาเช่น  o       การจัดบริการ Employee clinic บริการปรึกษาปัญหา ที่คับข้องใจ  ปรึกษาปัญหาครอบครัว วางแผนครอบครัว ปัญหาหัวใจ ปัญหาทางการเงิน สอนการบริหารเงินในครอบครัวให้ฯ o       การรับคำร้องเรียน  การให้ร่วมกิจกรรม เสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  การประหยัดพลังงาน การประหยัดต้นทุน เป็นต้น  o       การพึ่งบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการนำเอาสหภาพแรงงานที่มีพลังมวลชน  มาเดินเทิดพระเกียรติ ร่วมถวายพระพร โอกาสต่าง   o       การจัดสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก ลูกหลานของพนักงานที่มีอายุ ไม่เกิน 5 ปี  o       การจัดบ้านพักให้พนักงานที่ยากจน มาจากต่าง จังหวัด o       การจัดรถบริการรับ ส่ง ลูกหลานพนักงานไปเรียนหนังสือ ตามโรงเรียน o       การจัดสนามและอุปกรณ์กีฬาไว้ให้พนักงานได้ออกกำลังกาย คลายเครียด o       การจัดสถานพยาบาล มีแพทย์คอยดูแล ตรวจ รักษาพยาบาล ครบถ้วน มีเตียงผู้ป่วยมากพอฯ o       การ Manage by working around เดินเยี่ยมพนักงาน เช้า สาย บ่าย เย็น สร้างทุนทางความสุขให้พนักงาน เป็นระยะ ๆ  o       การเยี่ยมพนักงานที่เพิ่งคลอดบุตร พนักงานที่ป่วย ถึงบ้านพัก เป็นต้น ·        ลูกน้อง มาจากสองคำผสมกัน คือลูก + น้อง จึงต้องบริหารเขาเปรียบเสมือนเขาเป็นลูก และเป็นน้อง ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ การพูดจา การดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการก็จะไปอีกแบบหนึ่ง  แต่ถ้าคิดว่าเขาคือลูกจ้าง เท่านั้นการบริหารจัดการก็จะไปอีกแบบหนึ่ง ·        ความคิดกำหนดชะตากรรม  เมื่อคิดดี การกระทำจะออกมาดี  การกระทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นเวลานานเรียกว่า เป็นนิสัยดี  คนที่มีนิสัย การกระทำดี บ่อย ๆ จะทำให้มีบุคลิกท่าทางดี  สง่า ทำให้คนที่พบเห็นใกล้ชิด พลอยยินดี มีความสุขไปด้วย  ฉะนั้น หน้าที่ของพวกเราประการหนึ่ง ก็คือการพยายาม สะสม สร้างทุน ทฤษฎี 8K’s ให้มีอยู่ในตัวตนเองอยู่เสมอ คิดดี ทำดี ประพฤติดี  การปฎิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ   ·        องค์กรที่ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง เช่น ธุรกิจการจัดผลิตละคร ภาพยนตร์ รายการทีวี  ควรจะเน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม  กับทรัพยากรมนุษย์  ไม่เน้นเวลาการทำงาน ต้องเข้างาน 8.00 น. เลิก 17.00 น. ไม่เคร่งครัดต่อชุดฟอร์มในการทำงาน พวกเขาจะต้องคิด หาสิ่งใหม่ ๆ มาให้กับรายการ กับฉากแต่ละฉาก บทแต่ละบท ต้องใช้ความคิด ·        ธุรกิจอาหารมักจะใช้กลยุทธ์ธุรกิจ ในการลดต้นทุนและ การสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จึงมีลักษณะองค์กรแบบราชการ มีศูนย์รวมอำนาจ ทำงานแบบเข้มงวดกวดขัน ก็ควรเน้นทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม  ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT เป็นต้น  เพราะพวกเขา ต้องทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด มีเครื่องแบบการทำงานที่ชัดเจน  เป็นฟอร์มเหมือนกัน เป็นต้น บทเรียนในห้องที่พูดคุยกัน ตอนที่สาม ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน  หวังว่านักศึกษาทุกคน คงทำการบ้านได้ดี  จะมีผลทำให้เกิดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทาง It ตามมา  ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกคน  ยม
บทเรียนจากความจริง : เรื่องเล่าในห้องเรียน น.ศ. ป.โท อาทิตย์ ที่ 2 ก.ค. (ตอนที่ 3)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ นักศึกษา ป.โท ทุกคน   ผมติดตาม สิ่งที่นักศึกษาเขียนมาใน blog นี้  ซึ่งหลังจากที่ผมสอนและให้การบ้านไปขณะนี้ มี น.ศ. ส่งข้อความมา 19 ท่าน ตามรายชื่อที่ปรากฏอยู่ข้างล่างนี้    1.     นางสาวปรียานันท์ ไทยงามศิลป์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 22:00   2.     คุณพรชนก สุขอาจ เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 16:18  3.     ปรัชญา เคียนงาม เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 19:02   4.     คุณกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 01:44   5.     คุณศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 09:31   6.     ไม่แสดงตน เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 10:15  7.     คุณสุพัชชา ขับกล่อมส่ง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 11:55   8.     นส.ทิพวรรณ คงเมือง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 12:47  9.     คุณจุฑาวรรณ เทพลิบ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 15:27  10. คุณ พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 18:00  11. คุณอโณทัยแก้วสำอางค์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 19:25   12. คุณ ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์ เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 19:30   13. ประชา กองสุข เมื่อ พ. 05 ก.ค. 2549 @ 22:48   14. คุณกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 01:44   15. กัลย์สุดา วังชนะชัย เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 22:19   16. กัลย์สุดา วังชนะชัย เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 22:31  17. นางสาวณัฏฐา มั่นคง เมื่อ พฤ. 06 ก.ค. 2549 @ 23:30   18. พิมพ์พร เอี่ยมสอาด เมื่อ ศ. 07 ก.ค. 2549 @ 00:31   19. นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล เมื่อ ศ. 07 ก.ค. 2549 @ 02:03 ต่อจากคราวที่แล้ว เกี่ยวกับ บทเรียนในห้อง ป.โท เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ตอนนี้เป็นตอนที่ 3  ในห้องแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ตอนท้ายของชั่วโมง ได้กล่าวถึงถึงปัญหา อุปสรรค กรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร จากประสบการณ์จริงที่พบ     ปัญหาอุปสรรค ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กร กรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร จากประสบการณ์จริงที่พบ   เช่น    ·        นโยบาย ของผู้บริหารระดับสูง    ถ้าผู้บริหารระดับสูงมีทุนทางจริยธรรม  มีความเชื่อว่า ทร้พยากรมนุษย์ สำคัญและมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะง่ายต่อการเสริมสร้าง ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ    ·        ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของผู้รับนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไปปฏิบัติ  หากมีมาก ก็จะสามารถแบ่งบันทุนต่าง ๆ เหล่านี้ไปสู่ทรัพยากรมนุษย์ ทั่วทั้งองค์กร  ·        ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของผู้บังคับบัญชา ฝ่ายต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับ ทุนมนุษย์ ทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ของทรัพยากรมนุษย์ระดับล่าง ผู้ปฏิบัติงานจริง  องค์กรที่มีผู้บังคับบัญชาที่มีคุณภาพ  จึงมักจะมีพนักงานที่มีคุณภาพ ทำให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรแห่งทุนมนุษย์ เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ ย่อมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ ตามมา   ·        ทรัพยากรเครื่องจักร ต้องซ่อมบำรุง ทรัพยากรมนุษย์ ก็ต้องดูแลเอาใจใส่ซ่อมรักษาทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s ต้องซ่อมบำรุงรักษาให้มีอยู่เสมอในทรัพยากรมนุษย์  ต้องบริหารทัศนคติของพนักงาน ไม่ใช้งานอย่างเดียว  ·        กิจกรรมที่จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน ที่เคยทำมาเช่น  o       การจัดบริการ Employee clinic บริการปรึกษาปัญหา ที่คับข้องใจ  ปรึกษาปัญหาครอบครัว วางแผนครอบครัว ปัญหาหัวใจ ปัญหาทางการเงิน สอนการบริหารเงินในครอบครัวให้ฯ  o       การรับคำร้องเรียน  การให้ร่วมกิจกรรม เสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  การประหยัดพลังงาน การประหยัดต้นทุน เป็นต้น  o       การพึ่งบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการนำเอาสหภาพแรงงานที่มีพลังมวลชน  มาเดินเทิดพระเกียรติ ร่วมถวายพระพร โอกาสต่าง    o       การจัดสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก ลูกหลานของพนักงานที่มีอายุ ไม่เกิน 5 ปี   o       การจัดบ้านพักให้พนักงานที่ยากจน มาจากต่าง จังหวัด  o       การจัดรถบริการรับ ส่ง ลูกหลานพนักงานไปเรียนหนังสือ ตามโรงเรียน  o       การจัดสนามและอุปกรณ์กีฬาไว้ให้พนักงานได้ออกกำลังกาย คลายเครียด  o       การจัดสถานพยาบาล มีแพทย์คอยดูแล ตรวจ รักษาพยาบาล ครบถ้วน มีเตียงผู้ป่วยมากพอฯ  o       การ Manage by working around เดินเยี่ยมพนักงาน เช้า สาย บ่าย เย็น สร้างทุนทางความสุขให้พนักงาน เป็นระยะ ๆ   o       การเยี่ยมพนักงานที่เพิ่งคลอดบุตร พนักงานที่ป่วย ถึงบ้านพัก เป็นต้น ·        ลูกน้อง มาจากสองคำผสมกัน คือลูก + น้อง จึงต้องบริหารเขาเปรียบเสมือนเขาเป็นลูก และเป็นน้อง ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ การพูดจา การดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการก็จะไปอีกแบบหนึ่ง  แต่ถ้าคิดว่าเขาคือลูกจ้าง เท่านั้นการบริหารจัดการก็จะไปอีกแบบหนึ่ง  ·        ความคิดกำหนดชะตากรรม  เมื่อคิดดี การกระทำจะออกมาดี  การกระทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นเวลานานเรียกว่า เป็นนิสัยดี  คนที่มีนิสัย การกระทำดี บ่อย ๆ จะทำให้มีบุคลิกท่าทางดี  สง่า ทำให้คนที่พบเห็นใกล้ชิด พลอยยินดี มีความสุขไปด้วย  ฉะนั้น หน้าที่ของพวกเราประการหนึ่ง ก็คือการพยายาม สะสม สร้างทุน ทฤษฎี 8K’s ให้มีอยู่ในตัวตนเองอยู่เสมอ คิดดี ทำดี ประพฤติดี  การปฎิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ    ·        องค์กรที่ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง เช่น ธุรกิจการจัดผลิตละคร ภาพยนตร์ รายการทีวี  ควรจะเน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม  กับทรัพยากรมนุษย์  ไม่เน้นเวลาการทำงาน ต้องเข้างาน 8.00 น. เลิก 17.00 น. ไม่เคร่งครัดต่อชุดฟอร์มในการทำงาน พวกเขาจะต้องคิด หาสิ่งใหม่ ๆ มาให้กับรายการ กับฉากแต่ละฉาก บทแต่ละบท ต้องใช้ความคิด  ·        ธุรกิจอาหารมักจะใช้กลยุทธ์ธุรกิจ ในการลดต้นทุนและ การสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จึงมีลักษณะองค์กรแบบราชการ มีศูนย์รวมอำนาจ ทำงานแบบเข้มงวดกวดขัน ก็ควรเน้นทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม  ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT เป็นต้น  เพราะพวกเขา ต้องทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด มีเครื่องแบบการทำงานที่ชัดเจน  เป็นฟอร์มเหมือนกัน เป็นต้น   บทเรียนในห้องที่พูดคุยกัน ตอนที่สาม ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน  หวังว่านักศึกษาทุกคน คงทำการบ้านได้ดี  จะมีผลทำให้เกิดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทาง It ตามมา     ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกคน    ยม
ศรัญญา จำเนียรกาล
กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน  ดิฉัน นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล นศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง             จากที่ได้เรียนเกี่ยวกับ Food Business ในวันที่ 2 ก.ค. 49 กับคุณยม นาคสุข สิ่งที่ได้รับในวันนั้นคือ                1.การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์(ระดับองค์กร) หมายถึง การบริหารคน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร จัดคนให้เหมาะกับงาน และดูแลให้คนในองค์กรมีชีวิตที่ดี ตลอดจนให้ทุนแห่งความสุขแก่คนเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ ที่ดีต่อองค์กร ซึ่งสามารถนำทฤษฎี 8K มาใช้ในการพัฒนาองค์กร และต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อองค์กร            การบริหารงานทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วยงาน 4 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการงานทรัพยากรบุคคล   (Human Resources Strategy) กระบวนการเสริมสร้างผลการปฏิบัติงานพนักงาน (Performance Enhancement) กระบวนการให้บริการงานด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resources Services) และระบบข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Human Resources Information System – HRIS)             ที่เข้าใจตามประสบการณ์ที่ตัวดิฉันเองก็ทำงานในสายงานธุรกิจ Food Business  กระบวนการในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์(ระดับองค์กร) เริ่มต้นตั้งแต่ การวางโครงสร้างองค์กร การวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาว่าจ้างตามที่แต่ละแผนกให้บริษัทมีการขอกำลังเพิ่ม ตลอดจนเรื่องอัตราค่าจ้างแก่พนักงาน สวัสดิการ และการบริหารค่าตอบแทน เมื่อทำงานครบตามเงื่อนไข 3 เดือน ก็จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อบรรจุ เมื่อเข้ามาเป็นพนักงานก็จะมีการฝึกอบรมพัฒนาพนักงาน เพื่อให้เข้าใจว่า บริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร ลูกค้าคือใคร เป้าหมายของบริษัทคืออะไร หรือ นโยบายของบริษัทคืออะไร การตั้งระดับของพนักงานตลอดจนวางแผนความก้าวหน้าของพนักงานในองค์กร ซึ่งต้องมีการประเมินการทำงานประจำ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อการวางแผนสืบทอดตำแหน่งงานของพนักงานในองค์กร ตลอดจนทำงานให้บริษัทจนลาออกและเกษียณอายุของพนักงาน  2.ดิฉันคิดว่าจะบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดประโยชน์ สุข สูงสุด ทำ HR ให้ดีที่สุด ได้โดย  
  • HR ต้องเปลี่ยนตัวเอง จากลักษณะวิชาชีพที่เป็นศิลปะ [Art] ให้เป็นการตัดสินใจที่เป็นศาสตร์ [Science] โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพราะโลกยุคใหม่มีการแข่งขันสูง และต้องมีการ "แข่งประสิทธิภาพ"ที่วัดผลได้จริงทำให้การจัดการเรื่องคนต้องวัดประสิทธิภาพได้ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน
·         นักบริหาร HR ต้องทำตัวเก่งและรับบทบาทในด้าน "การประสานและสร้างความร่วมมือ" [Collaboration and Cooperation] เพราะ การประสานความร่วมมือคือ "หัวใจขององค์กร" ในอนาคต รวมพลังทำงานเป็นหนึ่งเดียว
  • การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องรับบทบาทในการสร้าง "ความสามารถ [Capabilities] ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อใช้แทน "โครงสร้าง" [Structure] ดังนั้นการสร้างความสามารถที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางจึงมีความสำคัญมากขึ้น
  • ต้องพิถีพิถันเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูพนักงานให้อยู่ได้ รวมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานมากขึ้น ด้วยเหตุผลของการพัฒนาธุรกิจที่ก้าวข้ามประเทศทำให้ระดับการครองชีพและความเป็นอยู่ถูกกระทบสูง โดยเฉพาะ ความมั่นคงในการทำงานอันเนื่องจากการขาดความรู้ ควรให้ทุนทางความรู้ (Knowledge capital)
  • ถึงเวลาต้องปรับตัว และต้องคิด วิเคราะห์ และวางแผน โดยคาดคะเนถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เท่าทัน และตรงเงื่อนไขใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และในระหว่างการเป็นพนักงานก็จะมีการอบรมสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากธุรกิจอาหาร จะมีกฏหมาย เกิดเป็นประเด็นใหม่ๆ เช่น สถานการณ์ไข้หวัดนก, กฎหมายฮาลาล(อาหารที่คนมุสลิมทานได้)
 3.สิ่งที่ได้รับจากคุณยม และประสบการณ์บริหาร  *   ทรัพยากรมนุษย์ คือ "การจัดการทรัพยากรมนุษย์" ถึงเวลาต้องปรับตัว และต้องคิด วิเคราะห์ และวางแผน โดยคาดคะเนถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เท่าทัน และตรงเงื่อนไขใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยตามทันกระแสโลกาภิวัตน์ในโลกสมัยใหม่ และสามารถประยุกต์การแก้ปัญหาให้ตรงกับสถานการณ์ในท้องถิ่นได้ด้วย เหมือนคำกล่าวที่ว่า "Live Globally, Act Locally" นั่นเอง*      HR คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร  *      การรู้อะไรต้องรู้จริงและนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆได้ในปัจจุบัน และให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท*      การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากระดับโลก(macro)ไปสู่องค์กร(micro) ซึ่งเหมือนกับท่านอาจารย์จีระ*      เราควรสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยนำทุนทั้ง 8 มาช่วยในการพัฒนาและพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องให้ยั่งยืน                   หัวใจของการบริการลูกค้าภายนอก เริ่มที่การตอบสนองลูกค้าภายในถ้าหน่วยงานภายใน  ยังไม่สามารถบริการกันได้           อย่างมีคุณภาพแล้ว  อย่าคาดหวังว่าหน่วยงานภายนอก / ลูกค้าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพกลับไป              ด้วยความเคารพอย่างสูง
นายปรัชญา พุดดี นศ.ป.โท การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สวัสดีครับ อาจารย์ยม ครั้งนี้ได้ฟังการบรรยายจากอาจารย์ ดูจากเนื้อหาแล้ว อาจารย์ยังมีความรู้อีกมากมายที่จะมา share ในห้องแต่เนื่องด้วยเวลาจำกัด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าถ้ามีเวลาอาจารย์จะมาเล่าประสบการณ์ให้พวกเราฟังอีกนะครับ ครั้งนี้อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นหลายข้อ ผมจึงขออนุญาตเขียนเป็นข้อๆครับสิ่งที่ได้จากการบรรยายในครั้งนี้ ·        โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นยุคของการค้าเสรี ในการดำเนินธุรกิจจะต้องคำนึงถึงทั้งปัจจัยภายใน เช่น ระบบการผลิต ฯลฯ และภายนอกองค์กร เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องติดตามการเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพราะล้วนมีผลต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ไม่มากก็น้อย การจะเป็นผู้นำทางธุรกิจ จะต้องสามารถเป็นผู้นำในเรื่องข้อมูลข่าวสารต่างๆด้วย·        ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้น การแก้ปัญหาต้องทำความเข้าใจ หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาให้ได้ บางครั้งการแก้ปัญหาในเรื่องเดียวกันจะต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ทฤษฎี 8 k ก็เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขององค์กรได้·        ปัจจุบันปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรจะมุ่งไปที่ความเป็นผู้นำ (leadership) ของผู้บริหาร ที่จะบริหารงานส่วนต่างๆให้สำเร็จลุล่วงโดยมีทีมงานและปัจจัยอื่นๆเป็นสิ่งสนับสนุน สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาองค์กร·        ในวงจรธุรกิจ ถ้าเริ่มต้นถูกทางจะทำให้ธุรกิจมีผลประกอบการที่ดี ควรมีการใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมการขาย จากนั้นธุรกิจจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งที่ผลประกอบการจะเริ่มคงตัวและลดลง เนื่องจากการแข่งขันทางการค้า ในจุดนี้ต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้กับองค์กรเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ธุรกิจเติบโตอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามถ้าต้องการหยุดการดำเนินธุรกิจเมื่อไปสู่จุดสูงสุดที่ต้องการแล้ว ควรคำนึงถึงเรื่องของการออกจากตลาดว่า เมื่อถึงจุดสงสุดแล้วการจะลงก็ต้องลงอย่างสง่างามการบริหารงาน HR ระดับองค์กร ในการทำธุรกิจหนึ่งๆให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดย่อมต้องผ่านขั้นตอนต่างๆทางธุรกิจ ในแต่ละขั้นตอนก็มีมนุษย์เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการ จึงต้องมีการคัดสรร เพื่อบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมารับผิดชอบงานในส่วนนั้น การจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพควรมีทัศนคติที่ดีต่องานนั้น มีความสุขในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรก้าวสู่เป้าหมายที่กำหนด ส่วนพนักงานก็มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอย่างผาสุก อย่างไรก็ตามบางองค์กรไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิต หรือความสุขในการทำงานของพนักงาน มักจะมุ่งเพียงผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรต้องสูญเสียผู้ที่มีความรู้ความสามารถและองค์กรก็จะไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้นาน ด้วยเหตุนี้การบริหารงานHRจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งในทุกๆองค์กรการบริหารHRที่ดี เพียงนึกถึงคำว่าเอาใจเขา มาใส่เราเพียงคำนี้ก็สามารถทำให้งานบริหารHRผ่านไปได้ดีกว่าครึ่งทาง นอกจากนี้ควรคำนึงว่า มนุษย์ทุกคนมีขีดจำกัดของตัวเอง การจะทำอะไรที่เกินกำลังความสามารถของตนเองย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี แต่ถ้ามีการพัฒนาขีดความสามารถนั้นให้สูงขึ้นไปก็จะส่งผลดีต่อทั้งตนเองและองค์กร การบริหารงานHRนั้นมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับสถานการณ์และองค์กรนั้นๆ อย่างไรก็ตามหัวใจของการบริหารHRน่าจะอยู่ที่ตัวผู้บริหารว่ามีวิธีการอย่างไรและต้องเป็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมในการบริหาร                สุดท้ายอยากฝากถึงทุกท่านที่มักจะเปรียบเทียบการบริหารงานองค์กรในยุคปัจจุบันที่เน้นเรื่องของการเป็นผู้นำ (leadership)ว่าเปรียบเสมือนต้นไม้ ผมเห็นด้วยกับข้อความนี้ครับแต่อยากเสริมว่าต้องเป็นต้นไม้จำพวกตระกูลปาล์มหรือหมากนะครับ เพราะต้นไม้อื่นส่วนใหญ่เมื่อตัดยอดทิ้งก็จะทำให้ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกมามากมายแต่ถ้าเป็นตระกูลปาล์มหรือหมากถ้าถูกตัดยอดออกไป ต้นก็จะรอวันตายอย่างเดียว เปรียบเสมือนการบริหารงานองค์กรในปัจจุบันถ้าขาดผู้นำที่มีความสามารถและขาดคุณธรรม องค์กรก็ไม่สามารถก้าวสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้รอพียงวันปิดตัวหรือตายไปเหมือนต้นไม้...                                                                                                                               

 

น.ส.ศิริรัชน์ หินกล้า
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ อาจารย์ยม  อาจารย์สมภพ และสวัสดีเพื่อน ๆนักศึกษาทุกท่าน   ก่อนอื่นต้องขอขอบ คุณพี่ยมและคุณสมภพที่เล่าประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาและให้ข้อเสนอแนะในการ เรียน HR  นะคะ  สิ่งที่ดิฉันสามารถสรุปได้จากการเรียนในวันนั้นคือ 1.       ปัจจุบันประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่พื้นที่เพาะปลูกกลับน้อยลง  ผู้ผลิตอาหารบางรายอาจใช้สาร เคมี่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ แต่เขาไม่ได้คิดถึงความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรในวันข้างหน้า เพราะเมื่อ เขาใช้สารเคมีมากๆ ก็จะเกิดการตกค้างของสารพิษทั้งในดินและในผักที่บริโภค ซึ่งจะส่งผลเสียเป็น ห่วงโซ่ต่อไปเรื่อย  ดังนั้นผู้ผลิตต้องหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรและความ ปลอดภัยของผู้บริโภคโดยการลดการใช้สารเคมีและหันมาทำเกษตรอินทรีย์แทน2.       ในการเรียนหรือการทำงานต้อง “ สนใจ  ใส่ใจ  เอาใจใส่ “  จึงจะประสบควาสำเร็จ  ในองค์กรก็เช่นเดียว กันพนักงานทุกระดับรวมทั้งผู้บริหารเองก็ต้องทำทั้ง 3 อย่างนี้ คือ เริ่มต้นต้องมีความสนใจในงานที่จะทำ (เป็นแรงดึงดูดให้มาทำ) เมื่อเริ่มลงมือทำก็ต้องส่ใจและเอาใจใส่ ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน เมื่อทุกคนทำทั้ง 3 อย่างในงาานหรือ หน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดแล้วก็จะมีความสุขในการทำงานผล ผลิตที่ออกมาก็จะดีตามไปด้วย หรือเกิดทุนแห่งความสุขขึ้นนั่นเอง3.       การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร คือ  การบริหารจัดการเกี่ยวกับคน (ซึ่งเป็นทรัพยากรที่่มีค่า มากที่สุด)ให้สามารถทำงานอย่างเต็มศักยภาพที่เขามีอยู่่และมีความสุขในการทำงาน  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร 4.       เราต้องทำงานและความสัมพันธ์ไปพร้อมๆ กันจึงจะเกิดทุนทางปัญญาและทุนทางความรู้HR ต้องเป็นทั้ง service center และ clinic  center  ให้กับพนักงานดังเช่นตัวอย่างที่พี่ยมเล่าให้ฟัง ว่าลูกน้องมาปรึกษาปัญหาส่วนตัวได้เพราะนายมีความจริงใจกับลูกน้องทำให้ลูกน้องไว้ใจ / เชื่อใจ กล้ามาปรึกษาแม้จะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตาม ในข้อนี้พี่ยมเป็นตัวอย่างที่ดีในการเข้า ถึงพนักงานระดับล่างเหมือนที่พี่ยมพูดว่า “ยิ่งสูงยิ่งต้องถ่อมตัว” 5.       ปัจจุบันสภาพแวดล้อมภายนอก P – E– S - T เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ในการปรับตัวขององค์กรต้อง อาศัยความสามัคคีหรือทีมเวิร์ค  ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องมีทุนทั้ง 8 เป็นพื้นฐานจึงจะสามารถผ่าน พ้นปัญหาและอุปสรรคไปได้ขอขอบคุณพี่ยมและคุณสมภพที่สละเวลาอันมีค่ามาช่วยเพิ่มทุนแห่งความรู้ให้พวกเรานะคะ
นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ
เรียนอาจารย์จีระ , อาจารย์ ยม และ อาจารย์ สมภพ ดิฉัน น.ส. อรุณี วงษ์กุหลาบ นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม ในหัวข้อ FOOD BUSINESS ประสบการณ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร ถ้าดูจากหัวข้อเรื่องก็คงมองภาพของธุรกิจอาหารที่นำเรื่องของการจัดการ บริหาร พัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สิ่งที่ดิฉันคิดว่าทุนที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ ทุนแห่งความสุข ถ้าการที่ผู้บริหารมอบทุนแห่งความสุข สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ แล้วหาแนวทางให้พนักงานมีความรู้สึกผูกพันกับองค์กร ทำให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนั้นไปนานๆ อย่างที่บริษัทอาหารสยามของพี่ยม ที่พูดถึงเรื่องสวัสดิการที่ให้กับพนักงาน ทำให้อยากทำงานด้วย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับองค์กร ในความคิดของดิฉัน เป็นการจัดการเรื่อง “คน” ให้มีประสิทธิภาพ เค้นความสามารถของแต่ละคนออกมาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แล้วสร้างทีมเวิร์กให้กับคนในองค์กร รวมทั้งองค์กรจะต้องอำนวยความสะดวกคนในองค์กรให้เหมาะสมกับความต้องการของคน เพราะถ้าคนในองค์กรได้รับความดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร ทำให้พนักงานองค์กรนั้นๆ มีความเป็นอยู่ที่ดี และเต็มใจที่จะทำงาน เกิดความสุขในการทำงานภายในองค์กร นำไปสู่คุณภาพและปริมาณงานที่ดี สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ยมสรุปได้ดังนี้ - สิ่งที่ดิฉันได้รับเป็นอันดับเมื่อก้าวเข้าห้องเรียน ก็คือ เรียนแบบมีความสุข อาจารย์ยมให้นักศึกษาทุกคนเรียนแบบสบายๆ ดื่มกาแฟ ขนมปังไป เรียนไป ทุกคนก็มีความรู้สึกเป็นกันเองไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ต่อจากนั้นเมื่ออาจารย์ยมได้ให้ความรู้และแนวทางในการเรียนว่า ควรมอง 2 ด้าน คือ ด้านบวกและด้านลบ ให้มองในเชิงวิเคราะห์ - การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องหลายด้านไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี และเทคโนโลยี แต่ถ้าคนในองค์กรมีการทำงานเป็นทีม WORK และอาศัย ทุน 8K ใช้ปัญญา ใช้องค์ความรู้ จะทำให้องค์กรนั้นๆ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ และนำไปสู่ความสำเร็จและการพัฒนาอย่างยั่งยืน - ประสบการณ์ที่นำมาเล่าให้ฟังในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กร ที่ยกตัวอย่างเรื่องเจอตะปูในสับปะรดกระป๋อง ทำให้ดิฉันได้แนวทางว่าพนักงานควรที่จะได้รับ ทุนความสุข และหัวหน้างานควรมี ทุนจริยธรรม ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายมีทุนเหล่านี้ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้น - องค์กรของธุรกิจอาหารนอกจากจะประกอบไปด้วย โครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ, การบริหาร HR, Technology ,ทรัพยากร แต่ยังมีสิ่งที่สำคัญได้แก่ C = Customer satisfication ความพึงพอใจของลูกค้า E = Employee satisfication ความพึงพอใจของพนักงาน O = Organızatıon Resource ผลประกอบการ - การบริหาร HR จะมองไปถึงเรื่องการอยู่ดีมีสุข มีชีวิตที่ดี และยั่งยืน - ยุทธศาสตร์ของธุรกิจมี 3 ประเภท 1. การเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุน(Cost Leadership) เน้นประสิทธิภาพเรื่อง Output มากๆ 2. สร้างความแตกต่าง (Differentiation) 3. การมุ่งจุดสนใจ (Customer Focus) มุ่งจุดสนใจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม - การบริหารธุรกิจทฤษฎี 3Q 1. Quality Worker 2. Quality Company 3. Quality Product - ปัญหาทางด้าน HR ที่อาจารย์บอกและยกตัวอย่างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับทุกองค์กร และทำให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา สิ่งที่โป๊ะเช๊ะ - การบริการธุรกิจใช้ทุน 8K โป๊เช๊ะ - เมื่อมีปัญหาในเรื่องของคนต้องวิเคราะห์ปัญหาอย่างแท้จริงก่อนแล้วถึงจะไปแก้ปัญหา และต้องยุติธรรม - ผู้บริหารที่มีคุณธรรมทำให้มีความสุข(องค์กรส่วนใหญ่ต้องการเช่นนี้) - HR ต้องดูเรื่องความสุข “ สะสมความสุข” - การเข้าถึงองค์กรต้องมีมนุษยสัมพันธ์ และต้องทำงานไปด้วยให้สัมพันธ์กัน เมื่อทำงานแล้วจะได้ทั้งทุนความสุข ปัญญา สังคม สุดท้ายการพัฒนา HR ต้องมองให้ไกล แล้วไปให้ถึง การให้ทุนความสุขต้องให้ถูกเวลา ถูกคน ถูกสถานที่ "คนถือว่าเป็นหัวใจขององค์กร ถ้าขาดคนองค์กรก็อยู่ไม่ได้ แต่ถ้าไม่อยากให้หัวใจหยุดเต้น ต้องหมั่นออกกำลัง ให้อาหารที่ดีมีประโยชน์ และยังทำให้หัวใจใหญ่ขึ้นอีกด้วย เปรียบเทียบได้กับองค์กรที่ยิ่งใหญ่"
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน    
เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม
   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital   เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คนเราถ้าทำอะไร แล้ว ขาดไม่มีอารมณ์ที่ดี นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว


·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย  การบริหาราทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  ทำกับสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   
·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน
ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล     
เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 
 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart 
 
ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ  ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  
 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

             o       I ตัวที่ 2 เน้น Imagination เพราะ ไอ   น์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย
  
เรื่องนี้ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  มองไปทางไหน จะเห็นร่องรอยของการสอนเด็กนักเรียน แบบเก่า ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  
 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    
อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ได้มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับผุ้ใหญ่เท่านั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็นในโรงเรียน สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR ในสถานประกอบการ ก็นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ลูกหลานพนักงานที่จะสามารถมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้ อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล ครับ

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้    
  
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  
ยม  
น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิต  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1] 
โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
(คัดมาจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 8 ก.ค. 2549)
ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน

เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา

สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
 
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย

ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น

ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ

ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

- I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง

- ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ "

เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้

การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร.
02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร
0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" (ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

ผมปรับปรุงข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ บทเรียนจากความเป็นจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเช้านี้รีบเขียนไป แล้วเห็นว่าน่าจะปรับปรุงข้อความบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนที่ผมเขียนต่อจากข้อความของ ศ.ดร.จีระ ตอนท้ายนี้/สีฟ้า/ ส่วนที่ผมเขียนแสดงความคิดเห็น ผมทำสีดำไว้   มีดังนี้ครับ

 

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี


- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว


- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน


ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ


- Head และ


- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 

             o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

 

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 
ขอให้ผู้ที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน Blog นี้กรุณาใช้ Blog ที่ทำใหม่ชื่อ food scince/HR/2 แทน   ขอบคุณค่ะ
สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข และ อาจารย์ พิทยา พุกมาน ในวันอาทิตย์ ที่ 9/7/06 ทางท่านอาจารย์จีระ ได้มอบหมายให้ อาจารย์ พิทยา พุกมาน มาถ่ายทอดความรู้จากประสบประการณ์ ต่อจาก อาจารย์ ยม ในอาทิตย์ที่แล้ว ให้กับนักศึกษา ป. โท สจล. สาขาวิชา การจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ในหัวข้อ Workforce Alignment in a Organization ซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการทำงานเป็นทีมในระดับองค์กรต่างๆ  อาจารย์ พิทยา พุกมาน ได้พูดถึงประสบการณ์และหลักการวิธีการบริหารและการจัดการ ให้บุคลากรในองค์กร เดินทางไปในทางเส้นตรง ซึ่งเป็นเส้นที่มีการขจัดน้อยที่สุด และไปในทิศทางเดียวกัน ตามนโยบาย จุดหมาย ทิศทาง เป้าหมาย ขององค์กรนั้นๆได้เร็ว ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งถ้าไม่มีการบริหารการจัดการ Workforce Alignment in a Organization องค์กรนั้นๆ อาจใช้เวลาเดินทางยาวนาน เพราะทางเดิน อาจมีอุปสัก หลงทาง เดินชนกัน ไม่เดินไปในทิศเดียวกัน ทำให้ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอาจมีผลเสียกับองค์กรนั้นได้
Dear Dr. Chira context in learning on 17/7/06 following.Reformation or Development Human Resource to obvious in Japan.1. Discipline Importance in development Human Resource.2. Oner is intention including straightness.3. Cleanliness come from religious. 4. Well-mannered to keep one's manners, speech, and thoughts under control.Social in Japan is no make who to be in trouble as a excrement dog, owner keep it.                                                                                                             Best Regards                                                                                                Pratchaya Kienngarm
- การล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ - เศรษฐกิจยุคใหม่ ( New economy ) บทบาทของ internet และ web services การค้าระหว่างประเทศเกี่ยวข้องอะไรกับ อินโดรามา - ส่งออก - นำเข้า - พัฒนาคนดีขึ้น สินค้าเป็นที่ยอมรับมากขึ้ ส่งออก และนำเข้าเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร - ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนแพง (เงินบาทแข็ง) สินค้าส่งออกแพง - ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนถูก (เงินบาทอ่อน) สินค้าส่งออกราคาถูก แต่แลกเป็นเงินบาทได้เยอะขึ้น ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์พัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารและข่าวสาร(IT)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท