BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

แนะนำปรัชญาและศาสนา


ปรัชญาและศาสนา

ผู้สนใจห้องสมุดหรือใช้ห้องสมุดอยู่เสมอคงจะรู้ว่า ระบบของการจัดเก็บหนังสือในห้องสมุดทั่วไปนิยมอยู่ 2 แบบ คือ แบบทศนิยมของดิวอี้ และแบบรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งทั้งสองแบบนี้ แบบทศนิยมของดิวอี้จะใช้ตัวเลขเป็นหลักในการกำหนดหมวดหมู่หนังสือ โดยเริ่มตั้งแต่ หลัก 0 จนกระทั้งถึงหลัก9 ฟังเขาเล่ามาว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้นดิวอี้มิได้กำหนดหลัก 0 ขึ้นมา ได้ใช้เพียงหลัก 1 ถึง 9 เท่านั้น ซึ่งตามแนวคิดของดิวอี้นั้น ท่านจินตนาการว่าปรัชญาเกิดขึ้นก่อนอย่างอื่น และศาสนาก็เกิดต่อมาจากปรัชญา และวิชาการด้านอื่นก็เกิดขึ้นตามลำดับ จนกระทั้งถึงหลัก 9 จะเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อจารึกสิ่งก่อนๆ ไว้เพื่อศึกษาทบทวนเท่านั้นเอง....

จะกล่าวเฉพาะปรัชญาและศาสนา ดิวอี้คิดว่า มนุษย์ชอบสงสัยเรื่องต่างๆ เมื่อสงสัยก็คิดไป พยามแสวงหาคำตอบเหล่านั้น คำตอบที่ได้มา เรียกว่าความเชื่อ และดำเนินชีวิตไปตามความเชื่อเหล่านั้น ...แต่ต่อมา เมื่อมนุษย์รุ่นหลังสงสัยในความเชื่อเดิมๆ ก็คิดและแสวงหาคำตอบอีกครั้ง เพื่อจะพิสูจน์ว่าความเชื่อเดิมๆ นั้นถูกต้องหรือไม่ หรือเพื่อคนหาคำตอบใหม่ๆ และคำตอบใหม่ๆเหล่านี้ก็จะกลายเป็นความเชื่อใหม่ๆ มนุษย์ก็จะอาศัยความเชื่อใหม่ๆ เหล่านี้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตสืบต่อไป ..ต่อมา มนุษย์อีกรุ่นก็เกิดความสงสัย อีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ...ซึ่งความเป็นไปทำนองนี้เองที่เรียกกันว่า ปรัชญา ส่วนว่ามนุษย์สงสัยประเด็นใดบ้าง ข้อนั้นเป็นรายละเอียดของปรัชญาสาขาต่างๆ นั้นเอง ...สรุปได้ว่า ปรัชญาเกิดขึ้นเริ่มแรกที่สุดของมนุษย์ ดังนั้น ดิวอี้ จึงจัดปรัชญาไว้ในหลัก 1 หรือเรียกกันว่า หมวด100 และจะมีทศนิยมจำแนกออกไปอีกตามสาขาต่างๆ.

ส่วนศาสนา ดิวอี้บอกว่า ศาสนาก็คือความเชื่อที่แปรสภาพมาเป็นวิถีปฏิบัติของมนุษย์นั้นเอง กล่าวคือ พิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความเชื่อนั้นแหละจัดเป็นศาสนา.. โดยศาสนาแรกเริ่มเกี่ยวข้องอยู่กับธรรมชาติสิ่งรอบตัว เช่น สายน้ำ ไฟ ภูเขา ท้องฟ้า ต้นไม้ ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถให้คุณให้โทษต่อมนุษย์ได้ .มนุษย์จึงต้องมีแนวทางปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้โดยคาดหมายว่า ถ้าทำอย่างนี้แล้ว สิ่งเหล่านี้จะให้คุณเพิ่มขึ้นและให้โทษน้อยลงต่อมนุษย์ ...ต่อมาวิถีปฏิบัติเดิมๆ ก็ค่อยๆ แปรเปลี่ยนไป กล่าวคือบางอย่างก็อาจสูญหายไป บางอย่างก็อาจถูกสร้างขึ้นใหม่ และบางอย่างที่ยังคงอยู่ก็จะปรับสภาพไปตามความเหมาะสม ...เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตราบเท่าปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เรียกกันว่า ศาสนา ...เพราะศาสนานี้เกิดจากความเชื่อ ซึ่งความเชื่อนี้ก็คือคำตอบของสิ่งที่มนุษย์สงสัยนั้นเอง ...สิ่งที่มนุษย์สงสัยและคนหาคำตอบเป็นความเชื่อ เรียกว่า ปรัชญา และสิ่งที่ความเชื่อสร้างขึ้นเป็นวิถีปฏิบัติเรียกว่าศาสนา ดังนั้น ดิวอี้จึงจัดศาสนาไว้ในหลัก 2 หรือเรียกกันว่า หมวด 200 และจะมีทศนิยมจำแนกออกไปอีกเป็นสาขาต่างๆ ตามแนวคิดของวิชาการด้านศาสนาอีกครั้ง ....

ผู้เขียนจะอาศัยที่นี้นำเสนอสิ่งต่างๆ ด้านปรัชญาและศาสนาตามที่ได้เล่าเรียนมาบ้าง ฟังมาบ้าง นึกคิดเอาเองบ้าง โดยจะเสนอเป็นเรื่องราวไปเรื่อยๆ ตามที่จะตั้งหัวข้อไว้ และจะไม่เน้นเป็นวิชาการ ผู้ใดสนใจประเด็นใดก็คุยกันได้ในประเด็นนั้นๆ 

โดยความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาและศาสนา
หมายเลขบันทึก: 63376เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สมัยที่ผมเริ่มเรียนปรัชญา(ในหลักสูตรปริญญาตรี)...ผมเริ่มคิดว่า... ที่จริงเราไม่ควรนับถือศาสนาใดเลย...

 

เพราะปรัชญาคือสุดยอดของความเชื่อแล้วครับท่าน...

 

ผมทำตัวคล้ายกับคนไร้ศาสนาปานฉะนั้น... จนกระทั่งพบเพื่อนคนหนึ่ง... เกิดอาการปุจฉาวิสัชชนาจนถึงขึ้นท้าทายกัน...

เพื่อนผมเชื่อว่า พุทธศาสนา คือสุดยอดของความเชื่อทั้งปวง....

 ผมก็แก้ต่างว่า...อะไรเล่าจะเทียบได้กับความรักในความรู้...ความรักในความฉลาด...ความรักในปัญญา...

ปรัชญาต่างหากที่พาให้คนมุ่งสู่ความเป็นปัญญาชนอย่างแท้จริง...

 

วันนั้นเราโต้แย้งกันไม่มีที่สิ้นสุด...

 

เมื่อเรียนจบ...ผมจำใจต้องบวช....เพราะรับปากพ่อไว้ก่อนพ่อเสียชีวิต...

ผมบวช 21 วัน... พบเห็นแต่พระที่มิได้รักษาพระธรรมวินัยอันใดเลย(มีแต่ปมเท่านั้นที่พยามยามกระทำกิจของสงฆ์ให้ครบ 10 ประการ)...ยิ่งทำให้ผมเสื่อมถอยต่อการนับถือพระมากยิ่งขึ้น...

โดยเฉพาะหลวงพี่อ้วน(ที่ชอบเอาใบปริญญาจากศรีลังกามาอวดอ้าง)...ที่ตอบคำถามก่อนผมลาสึกว่า...ไฉนท่านจึงมิยอมลาสิกขาบทไปเสียล่ะท่าน...จะอยู่ให้ศาสนามัวหมองไปใย...(ก็ด้วยท่านมิเคยทำกิจของสงฆ์...ท่านรับดูแลพระใหม่ด้วยกลกามแห่งเพศราคะ...ท่านไม่เคยบิณฑบาตร...ท่านไม่รับกิจนิมนต์...ท่านรับดูดวง...แทงหวย...รวมทั้งจัดทัศนาจร...)

เขาตอบผมว่า...ถ้าเราสึกไปแล้ว...เราต้องไปปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์...ท่านจะเห็นเป็นประการใด...

ผมได้แต่ปลงสังเวชแล้วครับ....

แต่โชคดียังเป็นของผม...เมื่อยามว่างในช่วง 21 วัน...ผมก็มีเวลาไปเปิดตู้พระไตรปิฎกอ่านอย่างเมามัน(ซึ่งภายหลังผมเสียดายโอกาสที่มิได้เลือกสถานที่บวชเพื่อปุจฉาวิสัชชนากับผู้รู้ท่านใดเลย)...

ผมเริ่มมองเห็นความคิดรวบยอด(Concept)ของพุทธศาสนา...เริ่มมองเห็นสิ่งที่พุทธองค์รู้แจ้งแล้วนั้น...หลังจากพุทธองค์ทรงตรัสรู้...ท่านมิได้ตรัสเรื่องใดที่ไม่เป็นความจริงเลย(มีแต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายที่พยายามดัดแปลงเพื่อเป็นกุศโลบาย...จนห่างหายไปจากแก่นแท้...ตามที่ท่านพุทธทาสต้องการตัดทอนทิ้งเสียบ้างฉะนั้น)

ผมต้องเทศนาโปรดโยมแม่...จึงต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งในธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ต้องแสดงธรรม... ปฏิจจสมุทปบาท...ลามเลยไปถึงอิทธัปปัจยตา... นั่นต้องถือเป็นคุณแก่ผมอย่างยิ่ง(แม้ดูว่าโยมแม่จะมิอาจเข้าถึงรสพระธรรมอย่างถ่องแท้...ด้วยความด้อยในการแสดงปริศนาธรรม...และไม่มีตาทิพย์พอที่จะคาดการณ์ว่าควรใช้กุศโลบายใดในเทศนาบทนั้น)

ผมเริ่มนึกถึงเพื่อนเก่าของผมคนนั้น...เมื่อผมเรียนรู้เรื่องราวหลากหลายศาสนามากขึ้น...จนกระทั่งเกิดการปุจฉาวิสัชชนากับเหล่าชาวคริสเตียน(ที่อ้างตนว่าเป็นคริสแท้...กล่าวเช่นนี้เพราะผมคุยกับคริสนิกายอื่น ๆ แล้ว) ครั้งนั้นผมได้คำตอบสุดท้ายที่แตกต่างจากศาสนาคริสต์ที่เน้นการสอนเรื่องความรัก... ความเชื่อของเขา คือพระเจ้าอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างทุกแห่งหน(มีตัวตน) ต่างจากของเราที่ทุกสิ่งทุกอย่างไร้ตัวตน...มีแต่ความเป็นไปตามธรรม(ดาและธรรมชาติ)

ปรัชญาเป็นเครื่องมือให้เสาะหา(เมื่อพบแล้วก็มิใช่ปรัชญาอีกต่อไป)พุทธศาสนาคือความเชื่อที่แจ้งจริงแล้วพิสูจน์ได้(จึงมิใช่ปรัชญา)...เพียงแต่พิสูจน์รู้ได้ด้วยตนเพียงนั้น  

เจริญพร จ้า

ด้วยความยินดีครับ รอคนมาคุยด้วยเป็นเดือนแล้วครับ 5 5 5

มีคำสองคำ ที่อาจารย์เขียนพลาดไปนะครับ ตอนแรกอ่านแล้วรู้สึกว่าขัดความรู้สึก ไม่เชื่อความรู้สึกก็หยิบหนังสือมาเทียบเคียงแล้วครับ (พอดีหนังสืออยู่ใกล้มือครับ) เค้าเขียนอย่างนี้

ปฏิจจสมุทปบาท ...ต้องเขียนว่า ปฏิจจสมุปบาท

อิทธัปปัจจยตา ... ต้องเขียนว่า อิทัปปัจจยตา

โดยความยินดีครับอาจารย์ มีความคิดเห็นอะไรก็คุยหรือบ่นได้

อ๋อ ความเห็นเบื้องต้นของอาจารย์ตรงกับสิ่งที่อาตมากำลังวิตกอยู่พอดี คือว่า เมื่อตะกี้ก็ลงไปฉันเพลที่งานศพ มีพระจากวัดไหนไม่ทราบมาหาพระที่วัด ก็ธุระเรื่องหวยนะแหละครับ อาตมาย้อนคิดไปถึงปัญหาพระศาสนาและปัญหาคณะสงฆ์อีกหลายๆ เรื่อง

การแก้ปัญหาเหล่านี้ยากส์ครับ... วันก่อนขึ้นไปสัมมนาเรื่องหลักสูตร,,, เมื่อโยงมาถึงปัญหาของสถานศึกษา เค้าก็มักจะโยงมาถึงเรื่องวัฒนธรรมองกรค์

วัฒนธรรมองกรค์ เป็นปัญหาที่หยั่งรากลึก นะครับ อาจารย์

เจริญพร  

นมัสการ....พระคุณเจ้า

ขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ...เขียนผิดจริง ๆ ครับ...เกือบ 20 ปีแล้วที่ไม่ได้แตะต้องภาษาบาลีเลย...

 

คราวนี้หันมาดูเรื่องปรัชญา... ผมเคยได้อ่านปรัชญาตะวันตกของพระอาจารย์จรัล(หรือไงไม่ทราบครับเข้าใจว่าเป็นภาคนิพนธ์ปริญญาเอกของท่าน...ถ้าพระอาจารย์รู้ช่วยทบทวนความจำด้วย...หนังสือเล่มนั้นก็หาไม่พบแล้ว) ทำให้เห็นมุมมองเรื่องราวของปรัชญาต่อเนื่อง(พระอาจารย์เรียงลำดับไว้ตามช่วงเวลาอย่างละเอียด) ....

ผมเลยสรุปความคิดรวบยอดไว้คุยกับเพื่อน ๆ ว่า... อันที่จริงความรู้ในโลกนี้ล้วนมีต้นตอเดียวกัน... มาจากวิชาปรัชญาทั้งสิ้น... ต่อเมื่อมีองค์ความรู้ที่ได้รับการพิสูจน์เป็นทฤษฎีแล้ว(Explicit Knowledge)...ความรู้เหล่านั้นก็แตกแยกย่อยไปตามความปรารถนาที่จะเรียนรู้ของมนุษย์....

สาขาวิชาต่าง ๆ จึงมีเกิดขึ้นมากมายหลายร้อยสาขาเป็นพันแขนงวิชาเป็นหมื่นแสนล้านองค์ความรู้เป็นตำราหลายล้านๆเล่มกระจายอยู่ทั่วพื้นปฐพี....

ความรู้เหล่านั้นก็ยังไม่มีวันจบสิ้น ยังมีความรู้อีกมากมายในตัวคน(Tacit Knowledge)ที่ยังมิได้นำออกมาปะทะสังสรรค์ให้เป็นบทเรียนที่แลกเปลี่ยน...จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่อีกนับไม่ถ้วน...

แถมยังมีความรู้อีกประเภทหนึ่งที่คนจำนวนไม่มากนักที่จะกลั่นกรองให้ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ได้...เนื่องจากเป็นความรู้ประเภทแวบเดียวก็จางหาย...หลายท่านเรียกว่าความรู้แบบผุดบังเกิด(Tran self essendence & Enlightenment) ...

 

 พระอาจารย์ครับ... ความหลากหลายสวยงามในความแตกต่างขององค์ความรู้ที่กระจายอยู่ทั่วแผ่นดินนั้นมีอยู่ก็จริง... แต่มนุษย์ผู้เร่งร้อนเร่งรัดในการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ก็ไม่อาจสามารถ(มิได้เกี่ยวข้องกับชื่ออำเภอครับท่าน...อิอิ)ที่จะเชื่อมโยงต้นตอกับปลายยอดองค์ความรู้ได้... มิใยที่คนรุ่นหลัง(อาจหมายรวมถึงองค์กร/สถานศึกษาที่ท่านว่า)จะสนใจว่า...แท้จริงเราเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ไปเพื่อการใด... มีความสำคัญกับชีวิตมากน้อยแค่ไหน...

 

เจริญพรคุณโยมขำ (5 5 5)

มีนักปรัชญาอินเดียร่วมสมัยคนหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) เค้าอธิบายว่า โลกนี้มีสิ่งรู้และสิ่งไม่รู้ ทั้งสิ่งรู้และสิ่งไม่รู้นี้แหละได้แก่ ความจริง...

สิ่งรู้แล้วนะมีน้อย ส่วนสิ่งที่ยังไม่รู้มีมาก ...

เค้าเปรียบเทียบไว้ว่า สิ่งไม่รู้ที่ว่ามีมากนั้นคล้ายๆ กับก้อนหินขนาดใหญ่ ส่วนสิ่งรู้ซึ่งมีน้อยก็คล้ายๆ สะเก็ดหินที่แตกออกมาจากหินก้อนใหญ่...ทำนองนี้แหละ จ้า

...ประเด็นต่อมา มิอาจทราบได้ว่ามวลมนุษยชาติจะเรียนรู้ไปเพื่อสิ่งใดเหมือนกัน 5 5 5

...ประเด็นสุดท้าย ที่ว่ามีความสำคัญกับชีวิตมากน้อยแค่ไหน ? ก็คงจะสำคัญมากบ้างน้อยบ้าง 5 5 5

ปล. วันนี้ ไปสอนหนังสือมา สอนตรรกศาสตร์กับอภิธรรมปิฏกสองวิชา เมื่อคืนก็นอนตีห้า รู้สึกเหนื่อยครับคุณโยม 5 5 5

ถึงจะเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน...พระอาจารย์ก็ยังอารมณ์ดีเป็นที่ตั้ง...

ควรนับได้ว่าเป็นพระที่ทำความประหลาดใจให้ผมตามสมควรทีเดียวครับ...

 

มีพระอธิการท่านนึงอยู่วัดส่วนร่มบารมี หนองตม พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก... ท่านเคยไปอบรมเป็นวิทยากรพร้อมผม... วันแรกผมไม่เคยยกมือไหว้ท่านเลย(อาจเป็นเพราะยังมีนิวรณ์อย่างหนา)... ผมเริ่มแปลกใจที่ท่านสอนพระลูกวัดที่มาร่วมอบรมด้วยว่า... ระวังนะ อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าไปเที่ยวสั่งสอนใคร...อาจสะดุดขาโสดาบันล้มคะมำไม่เป็นท่าได้...อิอิ 

ผมแซวท่าน(จนได้ความรู้ใหม่ ๆ หลายเรื่อง...เช่น ใครนินทา ท่านก็ว่าเขาระลึกถึง...คำว่าวาสนาแปลว่าสันดาน...คนชื่อวาสนาอยากเปลี่ยนชื่อเลย...555) จนกระทั่งเสร็จสิ้นการอบรม ผมก็มีโอกาสผ่านไปแวะเยี่ยมเยียนที่วัดท่าน...

ผมยกมือไหว้ท่านครั้งแรก...ท่านว่า...โยมยกมือไหว้อาตมานั้น...อาตมามิขอรับไว้...(ผมงง)...หากอาตมารับไหว้โยมแล้ว...ฐิถิจะเกิดแก่อาตมา...(ผมยิ้ม)...

ถ้าเช่นนั้นผมขอใช้ใจไหว้พระอาจารย์ก็แล้วกัน...555

วัดของท่านเป็นวัดที่แปลกแตกต่างจากวัดอื่น อย่างน้อย 2 ประการ...

1. คือไม่มีรั้ววัด...กลายเป็นข้อปุจฉาวิสัชชนาของเราในวันนั้น... ทำไมวัดต้องมีรั้ว... กำแพงบางวัดสูงราวกับที่คุมขัง... (ขังใจตนเองยังไม่เพียงพอหรือกระไร...555)

2. วัดของท่านมีสัญญลักษณ์ของศาสดาทุกศาสนาในโบสถ์... ท่านวิสัชชนาว่า... ใยต้องกีดกันความเชื่อของผู้คนด้วยเล่า... หากเขาจะเชื่อถือนับถือสิ่งใด...ล้วนแล้วแต่จริตที่ตรงแท้... ใครก็บีบบังคับมิได้...

 

นับแต่นั้น...เราก็เป็นพันธมิตรเสวนาธรรมกันไม่ว่าจะพบปะกันที่ใด...

เจริญพร จ้า

แฮๆ ไม่มีเรื่องคุยครับ 5 5 5

เจริญพร

สงสัยว่าพระอาจารย์กำลังว่าง....555

 

ส่วนผมอยากเข้าสู่ความว่าง...อิอิ

 

มัวแต่ไปคุยกันเรื่องความว่างจนไม่ว่าง....ฮาๆๆ

 

เลยไม่มีเรื่องที่จะคุยกันต่อ....

 

เอ...หรือว่าที่เราคุยกันพบว่าเป็นความจริงแท้แน่นอนเสียแล้ว...จึงไม่เป็นปรัชญาอีกต่อไป...5555

 

วันนี้ผมได้คุยกับกัลยาณมิตรเก่าคนหนึ่ง...เราคุยกันเรื่องของการตกผลึกทางความคิดของเพื่อนร่วมเส้นทางของผมคนนี้....

เขาลาออกจากราชการ 5 ปี....นับว่าขอกระโดดออกจากมรสุม(Chaos)ของกิจกรรมการงานที่ประเดประดังมาหาจนเขาเองก็สับสนไปหมด....

กลับมาวันนี้เขาขอเล่าเรื่องที่เขา(เชื่อว่า)ไปตกผลึกทางความคิดมาแล้ว(หลังจากอยู่นิ่ง ๆ 5 ปี)...

ผมนั่งฟังเขา(พร้อมกับแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นไปเล็กน้อย)... พบว่า สิ่งที่เขากลับมาบอกผมก็ยังวนเวียนอยู่ในขั้นความอยากระดับสูง(อยากให้สังคมมีความสุข) โดยต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน... ซึ่งเขาพยายามที่จะอธิบายถึงความจริงที่มีอยู่ในตัวคนทุกคน... ความจริงที่ถูกค่านิยมลวงเบียดบีบให้แต่ละคนแทบค้นหาความจริงในตนไม่พบ... และทำให้เราบางทีก็สับสนได้เหมือนกันว่าอะไรจริงอะไรลวง...

 

ที่อยากถามพระอาจารย์ก็คือ...การกระทำแบบกัลยาณมิตรของผมคนนี้...แตกต่างไปจากการบวชเป็นพระอย่างไร... ขอข้อเปรียบเทียบเชิงวิจารณ์ด้วยขอรับ....

เจริญพรคุณโยมขำๆ (5 5 5)

เคยฟังว่า นักสังคมศาสตร์จำแนกคนในสังคมไว้เป็น ๕ กลุ่ม คือ

๑. ประสบความสำเร็จในแนวทางที่ถูกต้อง เช่น ขยันค้าขายจนรวย หรือเรียนหนังสือเก่งแล้วก็ทำงานมีความมั่นคง...โดยถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม

๒. ประสบความสำเร็จในแนวทางที่ไม่ถุกต้อง เช่น รวยเพราะค้ายาเสพติต ซื้อวุฒิการศึกษามาทำงานด้วยการชะเลียร์เจ้านาย...ประมานี้

๓. ไม่ประสบความสำเร็จแต่ยึดถือวัฒนธรรม หมายถึง คนธรรมดาอยู่ไปเรื่อยๆ ตามประเพณีวัฒนธรรม

๔. แสวงหาแนวทางอื่น หมายถึง ดำเนินชีวิตแสวงหานอกรูปแบบของวัฒนธรรมที่คนทั่วไปเค้าทำๆ กัน

และ ๕. หนีโลก คือหลีกเร้นจากสังคม ไม่พบผู้คน ..ทำนองนี้แหละ

ตั้งหัวข้อเสร็จแล้วก็มาถึงคำถามของคุณโยม ...การบวชพระตามวัฒนธรรมไทยก็ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น ๕ นัยนี้ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงนำเอาไปเปรียบเทียบกับประเด็นที่คุณโยมถามมาไม่ได้ ต้องวิจารณ์เฉพาะบุคลหรือกรณี

ส่วนกัลยาณมิตรของคุณโยมนี้ อาจจัดอยุ่ในกลุ่มที่ ๔.คือ แสวงหาแนวทางอื่น...

เพิ่มเติม นักสังคมศาสตร์บอกว่า คนกลุ่มที่ ๓ เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและมีความสุขที่สุด ซึ่งอาตมาเองสมัยก่อนอาจจัดตัวเองได้ในกลุ่มที่ ๔ หรือที่ ๕ ...แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว ขอจัดตัวเองอยู่ในกลุ่มที่ ๓ จ้า 5 5 5

เหนื่อยแล้วจ้า คุณโยม

ปล. ที่เล่นสีสัน เพราะอาจารย์ขจิตแนะนำ ไม่ทำตามบ้าง ท่านก็แนะนำตลอด 5 5 5

ช่วงปีใหม่ผมไปเชียงใหม่มาครับ...

ม่มีอะไรมาฝากพระอาจารย์เลย...พอดีช่วงสามทุ่มวันที่ 31 ธันวาคม ผมเดินอยู่ที่ถนนคนเดินเมืองเชียงใหม่...คนเยอะมาก...ไม่ทันได้เคาท์ดาวน์...มีการประกาศให้แม่ค้าเก็บของให้หมดก่อนสี่ทุ่ม... อะไรกันนักหนานะ ประเทศไทย...  อิอิ

 

ปีใหม่แล้วนะครับ...พระอาจารย์... ผมจะใช้ห้องของท่านเป็นที่ไขข้อข้องใจ...จนกว่าจะสิ้นสงสัยกันเลยทีเดียว...(ขอเป็นศิษย์ฆารวาสครับ)

เรื่องแรกที่ชวนพระอาจารย์วิสัชชนาคือ... เรื่องชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกเนี่ย...พระอาจารย์เห็นว่าเป็นเรื่องเกิดขึ้นจริงแท้แน่นอนประการใด... เห็นทีต้องถามเลยเถิดไปถึงเรื่อง...ชาติ...ในความหมายของพระอาจารย์ ที่น่าจะเชื่อมโยงไปยังแนวปรัชญาด้วยอีกทางหนึ่งครับ...

เจริญพรจ้า คุณโยมขำๆ

นิทานชาดก ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจริงหรือเท็จ เพราะไม่สามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้ แต่ถ้าเรายึดถือในแนวทางการบำเพ็ญบารมี ก็จะเป็นอุทาหรณ์สอนใจได้ ..

การบำเพ็ญบารมีก็คือการทำให้ตัวเองมีพลังสมบูรณ์เพื่อบรรลุธรรม เราเกิดมาเป็นอยู่ทุกวันนี้ คือการบำเพ็ญบารมี ถ้าเราไม่ตกต่ำกว่าเดิม บารมีของเราก็จะสูงขึ้นๆ เราสามารถพูมใจในตัวเองได้ ซึ่งชาดกก็สอนในทำนองนี้... ส่วนอนาคตจะจริงหรือไม่จริงนั้น ช่างเถอะ อาจารย์

ส่วนเรื่อง ชาติ ไม่เข้าใจคำถาม ต้องถามมาใหม่ จ้า

เจริญพร 

ที่จริงควรถามต่อเนื่องเรื่องบารมีนะครับ พระอาจารย์... เพราะมีการตีความเรื่องบารมีหลากหลายมาก...(ไม่เกี่ยวกับบารมีนอกรัฐธรรมนูญครับ...555)

 

แต่ถ้ายังไม่ตอบ...ก็หันมาดูเรื่องชาติก่อนละกันครับ...

ชาดกเป็นการเทียบเคียงกับชาติก่อน ๆ ของพระพุทธเจ้า... แต่ผมสังเกตุดูในพระไตรปิฎกแล้วเหมาเอาว่า...พุทธองค์เมื่อตรัสรู้แล้วไม่ทรงตรัสเรื่องชาติก่อน...ชาตินี้...ชาติหน้า...ประเภทที่เกี่ยวข้องกับการตายแล้วเกิดใหม่... แต่พระองค์เน้นเรื่องการเกิดการตายของวงรอบกิเลสอาสวะเท่านั้น...

เรื่องนี้เกี่ยวพันถึงสถาบันศาสนาเชี่ยวนะท่านอาจารย์... วันที่ผมเสวนากับตัวแทนพระคริสต์แท้...เขาเรียกพุทธเจ้าว่าสิทธัตถะทุกคำ...และบอกว่าสิทธัตถะไม่แน่จริง...ไม่รู้ว่าเราเกิดมาจากไหน...เกิดมาเพื่ออะไร...ตายแล้วไปไหน...ซึ่งเขาตอบได้หมด...

แล้วก็โดนผมตอกกลับไปหลายดอก...เช่นผมถามย้อนกลับไปว่า

พระเยซูเกิดมาจากไหน...

เขาว่า  พระเจ้าสร้าง...

แล้วใครสร้างพระเจ้า 

เขาว่า  แฮโรอิม...

แล้วใครสร้าง แฮโรอิม

เขาว่า ...ถ้าพูดถึงแฮโรอิมแล้ว...จะไม่มีคำถามอีกต่อไป(ใจผมนึก...ก็ตอบไม่ได้เหมือนกันแหละว้า)

แล้วแฮโรอิมคืออะไร

เขาว่า...แฮโรอิมมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...(ที่ผมเดาเอาว่า เขาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีตัวตนและถูกกำหนดไว้แล้ว...ตรงข้ามกับของเรา)

ที่จริงวันที่เขาวิสัชชนากับผมใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง แต่เขา 3 ผม 1 ...เล่นเอาเขาเครียดกันไปหมด...อิอิ

กลับมาที่คำถามเดิม เรื่อง ชาติ ผนวกกับการเวียนว่ายตายเกิด แท้จริงเป็นเช่นไรกันแน่ครับ...พระอาจารย์

เจริญพร คุณโยม (ทำท่าจะไม่ค่อย) ขำ

ชาติ ตามศัพท์แปลว่า เกิด หมายถึง ปัจจัยหลายสิ่งหลายอย่างก่อตัวขึ้นมาแล้วเป็นอยู่ได้ขณะหนึ่ง ...ประมาณนี้...

ขี้เกียจอธิบายแล้ว เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด นะครับ เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลเชิงประจักษ์ ...ถ้าจะตอบก็เป็นเพียง ความเชื่อ ซึ่งถ้าความเชื่อเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติให้เรามองโลกและเป็นแนวทางให้เราดำเนินชีวิตได้ ก็ถือว่าใช้ได้ ..ประมาณนี้แหละ

เฉพาะเรื่อง ชาติ ในคำว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้น อาจตีความตามปฏิจจสมุปบาทได้ ๒ นัย คือ

ชั่วขณะจิตนี้จัดเป็นปัจจุบันชาติ ขณะจิตก่อนก็เป็นอดีตชาติ ขณะจิตต่อไปก็เป็นอนาคตชาติ ..๑

ก่อนที่เราจะเกิด ก็เป็นอดีตชาติ ตั้งแต่เราเกิดมาก็เป็นปัจจุบัชาติ และหลังจากเราตายไปแล้วก็เป็นอนาคตชาติ...๑

ถ้าสนใจประเด็นนี้ ก็ลองไปอ่านหนังสือพุทธธรรมของท่านอาจารย์เจ้าคุณปยุทธ์ (เดียวนี้ท่านเป็น พระพรหมคุณาภรณ์) หน้า ๑๔๐...ตอน หมายเหตุ : การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีอ้างอิงเพื่อค้นคว้าต่อไปได้ ครับ..

ส่วนตัวอาตมา ไม่ชอบอธิบาย 5 5 5 ชอบวิเคราะห์ภาษาแล้วโต้แย้งหรือ "ขัดคอ" มากกว่า 5 5 5

เจริญพร 

อิอิ...ที่จริงแล้ว...ผมอยากเรียนพระอาจารย์ว่า....

ถามไปก็เท่านั้น....ตอบมาก็เท่านี้... อย่าได้หมดความขำเป็นอันขาด....555

เป็นเพราะว่าชื่อประเด็นปรัชญาและศาสนาต่างหาก...ที่พาให้กระผมเข้าใจว่า...หากเราได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน...น่าจะช่วยให้เกิดความกระจ่างมากขึ้นทั้งในส่วนของผมเองและผู้ผ่านเข้ามาพบเห็น...

 

ทีนี้ก็กลับมาในมุมของเรื่องบารมี...บารมี...เป็นของสะสมชนิดหนึ่ง...(ซึ่งไม่มีใครมองเห็นแต่รู้สึกได้) ส่วนในมุมมองของผม ที่จริงฝรั่งมังค่าเขาพยายามวัดบารมีกันนะครับพระอาจารย์... เขาเรียนว่า IQ,EQ,AQ, SQ (Quantity ต่าง ๆ นา ๆ) ...

ส่วนบารมีในทางศาสนา ผมเห็นว่าเป็นผลคืบหน้าของความชัดเจนแจ่มแจ้งจากการปฏิบัติเพื่อผลนิพพาน(ว่าเข้าไปนั่น)...ผิดถูกประการใดต้องฟังพระอาจารย์แล้วครับ... 

 

 

เจริญพร โยมขำ

ลืมบอกไป ว่า พระวิทยานิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ ...เรื่อง "บารมี"

ทรงวิเคราะห์ไว้ละเอียด ทั้งความหมายตามรากศัพท์ ความหมายตามนัยแห่งพระศาสนา และความหมายตามค่านิยมไทย

ถ้า คุณโยมขำสนใจเรื่องบารมี เล่มนี้ ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ

เจริญพร

5 5 5 

55555555...

กระผมหาได้สนใจเช่นนั้นไม่...

พระอาจารย์ครับ...มิว่าท่านจะเลี่ยงบาลีอย่างไร...ก็มีอาจรอดพ้นจากคนขี้สงสัยอย่างผมไปได้...อิอิ

 

ในโลกแห่งมนุษย์...กับโลกแห่งธรรม...ดูเหมือนแตกต่างกัน...เรื่องความเชื่อ(ในใจลึกๆ)ว่ามีตัวตนกับไม่มี...ราวกับว่าเดินคู่ขนานไม่อาจพบพานกันได้...

ยกเว้นต้องกระโดดข้ามสีทันดร(เขียนผิดป่าวนะ...เขียนผิดไม่สำคัญ...เข้าใจผิดนี่ซิ...555) 

นั่นทำให้ผู้คนแปลกแยกแตกต่าง...ลุ่มหลงงงงวย...

พระอาจารย์พยายามจะดึงให้กระผมออกนอกลู่...กระผมก็จะไม่ไป...อิอิ

พระอาจารย์เหนื่อยหน่ายรำคาญผม...ผมก็จะเข้ามารบเร้าเอาเรื่องพระอาจารย์อยู่ร่ำไป...555

 

ลูกชายคนโตของกระผมเริ่มมีความรัก...ผมบอกเขาว่า...รักไปเถอะ... ไม่มี่ทฤษฎีอะไรบอกได้ชัดเจนว่าความรักเป็นอย่างไร... เพียงรู้สึกว่ารักขอให้เชื่อใจในความรู้สึกนั้น... 

หากแต่คอยตรวจสอบตัวเองด้วยว่า... อย่าตกเป็นทาสแห่งความรัก... ต้องทำให้ความรักเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของเรา... นั่นจึงจะสามารถมาคุยกับพ่อได้....555555

 

กรณีเช่นเดียวกันกับการทำงาน... ผมมักถูกทักท้วงเป็นประจำว่า อย่าใช้ความรู้สึกมาตัดสิน... เอาข้อมูลมาดู...เอาทฤษฎีมาจับ(ตามจริตของนักวิชาการ)... โธ่เอ้ย...ไอ้กระผมก็ดันไปเกิดความเบื่อ หน่าย กับ ข้อมูล ทฤษฎี งานวิจัยมากมายหลายล้านเล่มที่อ่านดูแล้วไม่โดนจัยเลยอ่ะครับ...

 

เออ...นั่นซิ... แล้วความรู้สึกนี่มันมิดีประการใดเหรอครับ

ถ้าไม่รู้สึกรู้สาอะไร... ผมคงเข้าวัดไปนานแล้วครับ...5555

เจริญพร คุณโยมขำๆ (อีกแล้ว 5 5 5)

เล็งเห็นแล้วว่าคุณโยมต้องเบี่ยงเบนไปทางใดทางหนึ่งเป็นแน่ 5 5 5 ...

เรื่องราวที่คุณโยมคุยมานั้น เกือบทั้งหมดเป็นข้อความบอกเล่าตามที่ได้ประสบมา ซึ่งข้อความทำนองนี้ อาตมาก็เพียงรับรู้ข้อมูลเท่านั้น ปรกติมักจะไม่เสนอความเห็น และมักจะไม่ยืนยันหรือคัดค้านข้อความทำนองนี้ ....นี้ นัยแรก

ถ้าข้อความเป็นไปในท่วงทำนองวิชาเกิน อาตมาก็อาจเสริมหรือแย้งเพื่อให้เห็นว่ามีอีกบางมุมมองตามที่อาตมาพอผ่านหูผ่านตามาบ้าง ...นี้ นัยต่อมา

นัยที่สาม ถ้าข้อความนั้นเป็นเชิงชี้แนะข้อผิดพลาดโดยตรง อาตมาก็จะอนุโมทนาขอบใจสำหรับน้ำใจของผู้ที่แนะนำมา...

นัยที่สี่ ถ้าข้อความนั้น....(มีอีกเยอะ ฯลฯ) 5 5 5

การโต้ตอบทำนองนี้ ศัพท์บาลีใช้คำว่า พยากรณ์ ซึ่งแปลว่า กระทำให้แจ่มแจ้ง ...สำหรับ พุทธพยากรณ์ นั้น พระองค์มี ๔ ประการด้วยกัน คือ ๑. ถามมาก็ตอบไปตรงๆ ๒. ย้อนถามก่อนแล้วจึงค่อยตอบ ๓. ตอบแบบแยกแยะเป็นประเด็นๆ ๔. ไม่ตอบ (ไม่ต้องใช้ศัพท์วิชาเกิน เดียวเข้าใจยากส์อีก)

คุณโยมขำครับ คนนะ จะมีเหตุผลในการเป็นอยู่ทุกคน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดข้อสรุปสุดท้ายในการเป็นอยู่นี้ แต่ละคนก็แตกต่างกัน

ยกเว้น ประการเดียวที่อาจเหมือนกัน คือ เป็นอยู่ไปจนกว่าจะตาย 5 5 5

เจริญพร 

 

 

อิอิ...พระอาจารย์ครับ...

พระอาจารย์ก็(แก่)พรรษามากแล้ว...พอจะมีปริศนาธรรมดี ๆ สำหรับตัวพระอาจารย์เองมั่งป่าวคับ...555

เอาแบบที่ไม่ต้องอ้างผู้รู้หรือตำราใดๆ(ฤาว่าอ้างหลักกาลามสูตร)...อ่ะครับ...

เพราะผมถามเมื่อไรพระอาจารย์ก็จะอ้างผู้รู้...อ้างตำราอยู่ร่ำไป(ไม่ต่างอันใดกับครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาเร้ยยย....555)

 

กล้าถามตรง ๆ แบบนี้ เพราะเชื่อว่าพระอาจารย์แก่(พรรษา)พอ... 55555

 

เรื่องที่เป็นความเชื่ออันแตกต่างของคนทั่วไปกับเคล็ดวิชาทางธรรมะ  เช่น เรื่องภูติผีปีศาจ กายทิพย์ หูทิพย์ ตาทิพย์  ประมาณเนี้ย...

ถ้าพระอาจารย์ไม่แถลงไขให้ผมกระจ่างใจ...ผมเอาไปประยุกต์ ถ่ายทอดผิด ๆ ... พระอาจารย์ก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยนะครับ...555555

เจริญพรคุณโยม ขำๆ

กำลังจะเล่าเรื่องทำนองนี้อยู่พอดี คุณโยมก็ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาก่อน... แบบว่า มีเพื่อนรุ่นน้องของอาตมาคนหนึ่ง เค้าชอบแวะมาที่ห้อง มาดูหนังสือ หรือมาสนทนาธรรมบ้าง อธรรมบ้าง ตามเรื่องตามราว ...เค้าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาและความสำเร็จอย่างยิ่งยวด (อย่างน้อยก็ยิ่งกว่าอาตมา) เมื่อมีความคิดความเห็นอะไรใหม่ๆ ก็มักจะมาคุยอวดเสมอ และก็ถูกอาตมาค้านไปเสมอ เช่นเดียวกัน 5 5 5

วันหนึ่ง เค้าคงจะเหลืออด จึงโพล่งขึ้นว่า หลวงรู้อะไรบ้าง อะไรบ้างที่เป็นของหลวง เห็นหลวงอ้างของเพื่อนเพ พอแหลงพันนี้ หลวงก็ค้านพันนู่ พอแหลงพันนู่ หลวงก็ค้านพันนี่ (ตรงนี้ เสียงในฟิลม์... หลวง เป็นคำเรียกผู้อาวุโสกว่าที่คุ้นเคยตามสำนวนใต้) 5 5 5

ตอนหลังเค้าก็ได้ เปรียญ ๙ และจบ ป.ตรี แต่เค้าก็มิได้ใช้ความรู้เหล่านี้ไปประกอบอาชีพโดยตรง เพราะหลังจากจบแล้ว เค้าก็ลาสิกขา (สึก) ไปทำสวนยางของบรรพบุรุษ ไม่ได้ข่าวเค้าหลายปีแล้ว คาดว่าคงจะมีครอบครัวและเป็นเถ้าแกสวนยางไปแล้ว 5 5 5

คุณโยมขำ ครับ สรุปว่า ที่คิดเองนะ ตอนนี้ยังนึกไม่ออก หรืออาจไม่มีก็ได้ 5 5 5

อาตมาชอบอ่านและชอบดูนิยายจีน (หนังสือหรือหนัง) คาดว่าคุณโยมคงผ่านมาบ้าง...ชอลิ่วเฮียง มีฝืมือสูง แต่ก็ไม่ปรากฎว่าเป็นศิษย์ของสำนักใด เพราะชอลิ่วเฮียงนั้นได้ผาดโผนในยุทธภพและผ่านการต่อยตีมาตั้งแต่เล็กๆ.. อาศัยผู้ใจดีถ่ายทอดให้บ้างในบางเรื่อง ลอกเลียนหรือเลียนแบบมาบ้างในบางเรื่อง และประมวลผลทั้งหมดไปเป็นของเค้าเอง...อาตมาก็คงเป็นทำนองนั้นแหละ 5 5 5

อีกเรื่องนะครับ แต่จำชื่อเรื่องไม่ได้ ยุคหนึ่งวัดเส้าหลิ่นถึงคราวตกต่ำ มีปัญหาถูกพวกยอดฝืมือมาเกะกะท้าทายอยู่เสมอ ทั้งๆ ทีมีคนมากและคัมภีร์มาก แต่ก็หาคนรับมือกับยอดฝืมือเหล่านั้นไม่ค่อยได้ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียอย่างมาก...

มีศิษย์ไร้เพื่อนฝูงในวัดเส้าหลิ่นอยู่คนหนึ่ง เค้าถูกรังแกอยู่เสมอ และมักจะหนีไปหลบซ่อนอยู่ในหอคัมภีร์ซึ่งอยู่ในอิทธิพลของท่านผู้เฒ่า ...เค้ามักจะไปปรับทุกข์กับท่านผู้เฒ่าอยู่เสมอ ...ท่านผู้เฒ่ารูปนี้มีความเห็นขัดแย้งกับท่านเจ้าอาวาส ได้แนะนำเค้าว่า ลงจากภูเขาไป กราบเท้าอาจารย์ร้อยสำนัก ผนึกเป็นหนึ่งเดียว แล้วเจ้าจะเป็นใหญ่ในปฐพี... 5 5 5

สรุปว่า ความคิดเห็นส่วนตัวแม้ไม่มี แต่ถ้ารู้จักประยุกต์มาใช้ และพัฒนาได้ ก็อาจเป็นหนึ่งในปฐพีได้เหมือนกัน นะครับ คุณโยม 5 5 5

เจริญพร  

555...พระอาจารย์นี่ไม่เบาจริง ๆ....สงสัยเป็นนิ่ว...55555

 

หนังสือกำลังภายในของโกวเล้งนี่...แทบอยู่ในกระแสเลือดผมเลยครับ...ประมาณว่าสำนวนต่าง ๆ ของผมก็ลอกเลียนแบบโกวเล้งหลายอย่างทีเดียว...อิอิ

 

ที่จริงอยากยั่วยวนใจพระอาจารย์ให้มากกว่านี้...

ผมเคยเสวนากับพรรคพวกถึงเรื่องความรู้ใหม่ ๆ ในโลกนี้มีจริงหรือ....

 

โดยส่วนตัวผมคิดว่า...แท้จริงแล้วหาได้มีความรู้ใหม่ ๆ ในโลกนี้ไม่....เพียงแต่เราเผอิญไปพบเข้า...แล้วทึกทักเอาว่าเป็นผู้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ (ที่จริงเป็นสิ่งเก่า)  แล้วก็จดลิขสิทธิ์กันให้วุ่นวาย... ห้ามใครมาพบซ้ำ....5555

 

ความรู้ทางธรรมก็เช่นกัน... ไอ้ที่เราคิดกันว่าเป็นความคิดแบบผูดบังเกิด...ก็หาได้เป็นความรู้ใหม่ ๆ ไม่... เป็นสิ่งที่มี เป็นอยู่ ดำเนินไป แล้วก็สิ้นสุด...

 

คิดไปคิดมา...เดี๋ยวก็ขอเข้าเป็นคนในสังคมกลุ่มที่ 3 ตามพระอาจารย์ซะให้รู้แล้วรู้รอดไป.....555

เขาว่ากันว่า...ถ้าเป็นคนกลุ่มที่ 3 จริง... คนภายนอกจะมองว่าเป็นพวกเฉื่อย...ไม่รู้ร้อนรู้หนาวครับ....อิอิ

เจริญพร คุณโยม (๒) ขำ

คอยคุณโยมอยู่หลายวันแล้ว (สงสัยติดเสาร์อาทิตย์) จะได้มีเรื่องโม้ต่อ 5 5 5 ..คุณโยมเล่ามา มี ๓ ประเด็น

๑. ประเด็นนิยายจีน ....ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม

๒. ประเด็นความรู้ใหม่-เก่า....ปราชญ์หลายคนก็มักจะพูดทำนองนี้

๓. ประเด็นคนกลุ่มที่สาม ...คนกลุ่มนี้ เค้าว่ามีความสุขที่สุด แม้จะถูกกล่าวหาว่าเฉื่อยๆ ก็ตาม...

ช่วงนี้ ฝนตกหนัก ทำให้เป็นหวัดเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดเลย สมองไม่ค่อยควรแก่งานเลย... จะขึ้นบันทึกใหม่เรื่อง คุยธรรมะ ครับคุณโยม

เจริญพร

ขอให้หายหวัดเร็ว ๆ นะครับ...พระอาจารย์

 

เสาร์อาทิตย์ผมไปเชียงใหม่มาครับ...บ้านแม่ยายน่ะครับ...ไปติดกันสองสัปดาห์ละ...

 

1. ประเด็นนิยายจีน... สำนวนชวนให้ติดตาม(แต่บางคนก็ไม่ชอบ) แต่ผมเห็นตัวเอกแต่ละเรื่องของโกวเล้ง ล้วนประหลาดพิสดาร... สิ่งที่คล้ายกันของตัวเองแต่ละคน...คือคุณธรรมน้ำมิตร... แม้ตัวเอกบางคนดูโดดเดี่ยวทรนง...แต่คุณธรรมน้ำมิตรกลับควรค่าแก่การสรรเสริญอย่างยิ่ง...

2. ประเด็นความรู้ใหม่-เก่า... เก่าหรือใหม่ไม่สำคัญ... พบความจริง...ยอมรับความจริง...เชื่อมั่นในความจริง...ทำความจริงให้กระจ่างใจ...(ผมเพียรมานาน...ยังฝ่าด่านนิวรณ์มิได้ถึงไหนเลย...เฮ้อ....555)

3. ประเด็นกลุ่มคนที่สาม... พอได้ยินคนบอกว่าเราเฉื่อย... เราก็พาลอยากอยู่นิ่ง ๆ สันโดษ...  ยิ่งนานไปถูกหาว่าเป็นคนแปลกๆ... เพื่อนผมหลายคนถูกนินทาว่าบ้า... ไม่ยอมทำเรื่องเอาซีมาก ๆ เงินเดือนเยอะ ๆ(เหมือนคนอื่นเค้า)... แถมถูกกล่าหาว่าดักดานขัดขวางความก้าวหน้าของรุ่นน้องๆ...  55555

 

ส่วนเรื่องเปิดประเด็นคุยธรรมะ....กับพระชัยวุธ ผมจะตามไปร่วมวงเสวนาด้วยครับ...

  • คุณโยมขำ ...
  • ไปคุยกันที่ สนทนาธรรม นะครับ

เจริญพร

สวัสดีครับพระอาจารย์ผมกะว่าจะอ่านบทความของอาจารย์ทุกบล็อกเลยครับ ผมพึ่งจะเริ่มอ่านวันนี้

P

สุคล ศรีอ่อน

ยินดีด้วย ที่มีรูปถ่ายปรากฎแล้ว....

ประเด็นสงสัยก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ .... 

บางท่านถามบางเรื่องที่ค้นหาได้ทั่วไป ก็ไม่อยากจะตอบ...

อามันตา 

กำลังศึกษาปรัชญาและศาสนาอยู่ยังอ่อนความรู้ขอคำแนะนำจากหลวงพ่อและนายขำทีว่ามีวิธีลำดับอย่างไร ใกล้สอบแล้ว

ไม่มีรูป นิค

 

  • อ่านปูพรมให้เยอะ แล้วก็เลือกค้นหาอ่านเฉพาะที่สนใจ...
  • ถ้าใกล้สอบแล้วก็กำหนดจำเฉพาะที่เป็นแกนสำคัญ ทำความเข้าใจเรื่องนั้นๆ ก็อาจนำไปอธิบายได้...

เจริญพร

เกรียงศักดิ์ รักษาชาติ

ก่อนอื่นนมัสการพระอาจารย์ครับ

ผมมีคำถามอยากถามว่าถ้าเรียนคณะปรัชญาและศาสนาเนี่ย

จบไปแล้วจะทำงานอะไรครับ

แล้วเรียนเรียนยากไหมครับ

แล้วก็มีอีกอย่างที่อยากจะถามพระอาจารย์นะครับ

ผมเข้าไปอ่านหัวข้อเรื่องเรียนคณะ ปรัชญาและศาสนาเนี่ยเขาบอกว่า

เรียนเพื่อเข้าใจความสำคัญของปรัชญาและศาสนาเท่านั้น

แต่จะให้ไปประกอบเป็นเป็นอาชีพคงไม่มีเป็นอย่างแน่นอนครับ

แล้วท่ากระนั้นผมจะเรียนไปเพื่ออะไรกันในเมื่อเรียนแล้วไม่มีงานทำครับ

สุดท้ายนี้ขอให้พระอาจารย์ช่วยตอบทีนะครับ

ไม่มีรูปเกรียงศักดิ์ รักษาชาติ

 

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท