ประชุมวิชาการจริยธรรมประจำปี2549 (1)


การทำดีทำได้ยาก เพราะเราอยู่ภายใต้อำนาจแห่งวัตถุนิยม ความสะดวกสบาย เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสาเข็มของชีวิต ซึ่งคนส่วนใหญ่มองไม่เห็น"

5-6 กย.49 เข้าร่วมประชุมวิชาการจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุขประจำปี2549  ณ เค ยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม        ช่วงเช้าวันนี้ นพ.สถาพร วงษ์เจริญ  ผู้ตรวจกระทรวงสาธารณสุขมาเป็นประธานในพิธีเปิด และนำกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังแผ่นดิน

      จากนั้นมีบรรยายพิเศษ "ชีวิตพอเพียง" โดยคุณพรพิมล วรดิลก ผอ.กลางมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งได้พูดถึงปฐมบรมราชโองการของในหลวง และชี้ให้เห็นปัญหาของไทยในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาอันเป็นผลมาจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจของตะวันตกมาสอน และให้ธนาคารโลกมาชี้ทาง ทำให้เศรษฐกิจเติบโตในเชิงปริมาณ เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้คนรวย(20%)กับคนจน คุณภาพการศึกษาลดลง มีการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย ปัญหาสุขภาพ และวัตถุนิยม บริโภคนิยม  ในหลวงของเราท่านเคยกล่าวไว้ว่า "การทำดีทำได้ยาก เพราะเราอยู่ภายใต้อำนาจแห่งวัตถุนิยม ความสะดวกสบาย  เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสาเข็มของชีวิต ซึ่งคนส่วนใหญ่มองไม่เห็น"

    หลักการพัฒนาของในหลวง ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานเดิมของสังคม มีการพัฒนาตามลำดับขั้น เป็นการพัฒนาเพื่อรักษาสิ่งที่ดีให้คงอยู่ และอยู่บนหลักของภูมิสังคม

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องยึดหลักสายกลาง (พอประมาณมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี)ภายใต้เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) เพื่อนำสู่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม(ที่สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน)

     ดัชนีชี้วัดความสุขซึ่งภูฐานนำมาใช้เป็นประเทศแรกนั้นมีผู้สำรวจ ประเทศที่ประชาชนมีความสุขอันดับหนึ่งคือวานูอาตู(ไม่รู้จัก) ส่วนประเทศไทยอันดับที่ 32 ประเทศที่เจริญมากๆเช่นอเมริกาและรัสเซียอันดับที่150 และ172

     หลังจากนั้น ได้สอบถามผู้ร่วมประชุมใน 2 ประเด็น ข้อแรก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาใช้ในงานสธ.ของไทยได้อย่างไร ข้อที่2 ท่านและหน่วยงานมีแนวทางในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการอย่างไร(คอblogลองตอบกันดูนะคะ) เมื่อตอบกันตามอัธยาสัยแล้ว ก็มีนำเสนอผลงาน ด้านคุณธรรมจริยธรรมในการทำงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากหน่วยงานสธ. 4 ภาค

         ลพบุรีเป็นตัวแทนเขต 5 ภาคกลางได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้าน จิตวิญญาณอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เน้นให้รู้จักตัวเองจากข้างใน จนจนท.เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง มีความสุขที่จะเผื่อแผ่สิ่งที่ดีให้กับผู้อื่นในแนวทาง"ลดทุกข์ เพิ่มสุข"  และเชื่อมโยง บูรณาการงานที่ทำ

    Morph    ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือมีใจ และความเป็นกัลยาณมิตร

        เจ้าหน้าที่ได้รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น ปรับพฤติกรรม และให้อภัย

         ผู้นิเทศ คือผู้ชื่นชมบุญ (ฟังดูเป็นกัลยาณมิตรดีนะคะ)

       

                           ข้อเสนอแนะของทีมลพบุรี ต้องขุดค้นหาคนต้นแบบ (มีใจเมตตา,จิตเป็นกุศล,เห็นความสำคัญของงาน,บริหารจัดการได้,คนในองค์กรศรัทธา,เป็นผู้นำได้ และประสานงานได้)

ข้อคิดจากทีมลพบุรี" สร้างงานจากความสามารถของตน  เลือกสิ่งที่ดีของแต่ละคนนำมาหลอมรวมให้เป็นทีมกาละแม"

 

หมายเลขบันทึก: 48457เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบ มากเลยพี่ปิ่ง คติประจำใจ...แบบนี้เขาเรียกว่า ...."โดน"....ขอบคุณที่แบ่งปัน
  • สร้างงานจากความสามารถของตน 
  • เลือกสิ่งที่ดีของแต่ละคนนำมาหลอมรวมให้เป็นทีม....
สรุปประเด็นได้ดีมากๆ ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

อ่านแล้วลองนึกตอบคำถามดูค่ะ ว่าเราจะนำแนวคิดปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างไรดี?......ย้อนกลับไปอ่านที่พี่สรุปถึงแก่นหรือแนวคิดหลักของปรัชญานี้   ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องยึดหลักสายกลาง (พอประมาณมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี)ภายใต้เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) เพื่อนำสู่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม(ที่สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน)

ทบทวนถึงบทบาทชีวิตของตน  เรานั้นเปรียบเหมือน จิ๊กซอว์ชิ้นหนึ่ง หากเราเชื่อและศรัทธาว่าปรัชญานี้คือทางออกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และสังคมแล้วไซร้ การเริ่มนำเอาแนวคิดมาสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันของตนเองเป็นเหมือนดั่งจุดสตาร์ท ซึ่งสำหรับตัวเองคงต้องค้นหาและระบุให้ได้ชัดถึง" ทางสายกลาง"ที่พึงจะเป็นของชีวิตเรานี้คือ อะไรและอย่างไร...  จากนั้นก็นำมาเปรียบเทียบภาพฝันกับสภาพชีวิตจริงว่ามันใกล้หรือไกลห่างมากน้อยแค่ไหน อะไรคือโอกาสสำหรับการดำเนินต่อไปในทางที่"ใช่"นี้ และอะไรที่เป็นอุปสรรค

ปัญหา=ชีวิตจริงที่เป็นอยู่              Xศรัทธาที่มี      

            ทางสายกลางแห่งชีวิต

หากถามว่าต้นแบบในใจของผู้ที่นำแนวคิดนี้มาใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ตามความคิดเห็นของSeangja ก็คือ สมเด็จย่าของเรานั่นเอง ท่านเป็นผู้ที่มีชีวิตอันงาม สงบเย็น และเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อคนรุ่นหลัง...Seangjaเคยได้อ่านหนังสือพระราชประวัติและหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จย่าแล้ว อ่านแล้วก็บอกกับตนเองว่าขอเพียงทำให้ได้ หนึ่งในพันที่พระองค์ทรงกระทำมา ชาตินี้ก็พอตายตาหลับได้แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท