beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

นิทานเซ็น เรื่องน้ำชาล้นถ้วย


คือไม่สามารถเติมอะไรลงไปได้อีก ถ้าเติมลงไปมันก็ไม่ได้อยู่ในถ้วย ต้องล้นถ้วยออกมานั่นเอง

      เรื่อง "น้ำชาล้นถ้วย"  เป็นนิทานเซ็น ที่เล่าโดย....ท่านพุทธทาสภิกขุ ณ หอประชุมคุรุสภาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕  มีเรื่องว่า (ดัดแปลงสำนวนเล่าโดย beeman)

      อาจารย์ น่ำอิน  แห่งนิกายเซ็น เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศในสมัยนั้น  วันหนึ่งท่านศาสตราจารย์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงเหมือนกัน ได้ไปพบอาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเซ็น

    ในขณะที่ให้การต้อนรับอยู่นั้น ท่านอาจารย์น่ำอิน ได้รินน้ำชาลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก ท่านศาสตราจารย์ จึงมองดูด้วยความสงสัย ทนดูไม่ได้ จึงพูดแบบมีอารมณ์ออกไปว่า "ท่านอาจารย์จะรินน้ำชาลงไปได้อย่างไร มันเต็มจนล้นถ้วยออกมาหมดแล้ว"

     ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า "ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไรลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วยความคิด ความเห็น ตามความยึดมั่นถือมั่นของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบของท่านเอง สองอย่างนี้แหละมันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็นไม่ได้" 

      คือไม่สามารถเติมอะไรลงไปได้อีก ถ้าเติมลงไปมันก็ไม่ได้อยู่ในถ้วย ล้นถ้วยออกมานั่นเอง

     ท่านทั้งหลายที่จะเข้าสู่เวที "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้" หรือ "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" ต้องทำจิตให้ว่าง (หรือบางคนบอกว่าเป็นการเปิดใจ) ถ้าว่างแล้วก็พร้อมที่จะรับฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับคนอื่นๆ การเรียนรู้ของเราก็จะไม่สิ้นสุด เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ....

     อ่านเรื่องเต็มได้ใน <Link>

หมายเลขบันทึก: 6341เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2005 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมักจะพูดถึงเรื่อง "น้ำชาล้นถ้วย" อยู่เรื่อยๆ โดยที่ไม่ทราบว่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้เล่าไว้ตั่งแต่ปี 2505 ขอบคุณคุณ beeman ที่นำมาถ่ายทอดต่อ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่า การทำ knowledge sharing จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย ถ้าปราศจากซึ่งการ "เปิดรับ" แต่ก่อนผมนึกว่าปัญหาอยู่ที่ว่าไม่มี "ผู้พร้อมให้" แต่ผมเข้าใจผิดไปครับ สังคมเราขาด "ผู้ที่มีใจเปิดกว้าง" ขาดผู้ที่ใฝ่รู้ ใฝ่พัฒนาต่างหาก หลายๆที่ต้องการจะเป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ทั้งๆที่คนในองค์กรส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะเรียนรู้ ไปจ้าง Consult ให้ช่วยมาทำองค์กรของตนให้เป็น Learning Organization ฟังแล้วก็ตลกดี แต่ก็หัวเราะไม่ออกครับ ....คงต้องช่วยๆกันนะครับ เพื่อให้สังคมไทยเป็น Learning Society ให้ได้ 

   สังคมไทยเป็นอย่างที่อาจารย์ประพนธ์เขียนมานั่นแหละครับ คือ เป็นสังคมที่รอคนอื่นมาช่วย หารู้ไม่ว่าความเป็น "พุทธะ" นั่นอยู่ที่ตัวเองครับ เรามีความสามารถพร้อม ขอให้เปิดใจให้กว้าง ทำจิตให้ว่างพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำงานเป็นทีม เป็นเครือข่ายก็จะเกิดพลัง "พาสังคมรอด"

   อาจารย์มนูญ ปิยาวรานนท์ (อยู่ม.นเรศวร) ชอบพูดบทกลอนของสุนทรภู่ แต่ดัดแปลงให้เหมาะแก่ยุคสมัยว่า "รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา รู้แล้วพาสังคมรอดเป็นยอดดี" ครับ....

  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยครับอาจารย์ Beeman
  • ถ้าอย่าไรขออนุญาตเข้ามาเยี่ยมอาจารย์ในบล็อคนี้บ่อย ๆ นะครับ
  • หลังจากที่ได้อ่านบันทึกนี้แล้วก็ได้ไปติดตามอ่านบันทึกเรื่อง "ยำใหญ่" ของท่านอาจารย์
  • โดยเฉพาะในประเด็น "หลายบันทึก เป็นเรื่องราวที่มีการเขียนแล้วใน GotoKnow แต่ก็มักจะนำมาเขียนกันอีก เพราะอาจไม่มีเรื่องที่จะเขียน เช่น เรื่องบล็อก, และบันทึก"
  • อ่านแล้วต้องสะดุ้งเฮือกครับ เข้ากับเรื่องผมพอดีเลยครับ
  • ก็เลยต้องขออนุญาตแจ้งเหตุผลให้ท่านอาจารย์ทราบพอสังเขปครับ
  • คือนอกเหนือจากที่เมื่อก่อนผมลงบันทึกเป็นไดอารี่แล้วก็สกัดประสบการณ์แล้วนำออกมาเขียนครับ
  • ตอนนี้มีภาระกิจสำคัญอีกประการหนึ่งที่กำลังพยายามที่จัดกระบวนการ PAR  เพื่อปรับทัศนคติและ Paradigm ของระบบการศึกษาที่นี่โดยใช้บล็อคเป็นวงในการจัดเวทีครับ
  • บางครั้งก็เลยต้องลงบันทึกที่เหมาะสมกับ Timing ช่วงเวลา สถานการณ์และบริบทที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันทันด่วนครับ เพื่อที่จะได้ปรับแนวคิดกันได้อย่างทันท่วงทีครับ ก็เลยต้องลงบันทึกที่อาจจะซ้ำกับของอาจารย์หรือของท่านอื่น ๆ ไปบ้างครับ ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท