โครงการพัฒนาองค์กรระดับจังหวัดสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (๒)


ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ และภาคเครือข่ายนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้สร้างสมประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาศักยภาพได้ เพราะเด็กและเยาวชนไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา ด้วยความเชื่อมั่นว่า เครื่องมืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนำมาสู่การจัดการปัญหาชุมชน โดยได้ตั้งวิสัยทัศน์ของโครงการในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านเรื่องราวท้องถิ่น เพื่อมุ่งสร้างเยาวชนให้เป็นผู้นำที่มีจิตสาธารณะ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ได้จัดทำฐานข้อมูลและเชื่อมเครือข่ายคนทำงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อยกระดับความรู้และสรุปบทเรียนจากการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อนำไปสู่การสร้างสำนึกพลเมือง

ผลลัพธ์และความสำเร็จหลักของโครงการปีที่ ๑ ( KRA=KeY Result Area)

KRA 1 กลไกการบริหารจัดการ ... คณะทำงานสามารถทำงานแบบ one stop service ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสบการณ์และได้เรียนรู้วิธีการทำงานกับเด็กที่เป็นระบบใน ๔ จังหวัดของภูมิภาคตะวันตก มีการทำงานเป็นทีม วางแผนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรม รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการใช้งบประมาณที่สอดคล้องกับกระบวนการและจำนวนผู้เข้าร่วมงาน อีกทั้งทีมงานสามารถสื่อสารและประสานงานกับทุกเครือข่ายให้เข้าร่วมดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

KRA 2 เยาวชนมีหัวใจพลเมือง... เกิดเครือข่ายเยาวชน พี่เลี้ยงและแกนนำชุมชน เข้ามาเรียนรู้การทำงานอย่างมีส่วนร่วม ประมาณ ๑๒๐ คนต่อปี เกิดความสัมพันธ์และสานเครือข่ายพี่น้อง เพื่อรวมพลังเยาวชน สำหรับขับเคลื่อนสิ่งดีๆ ๔ จังหวัดของภูมิภาคตะวันตกในระยะต่อไป ในขณะเดียวกัน พี่เลี้ยงได้เรียนรู้บทบาทการทำงานด้านเด็กและเยาวชนในภูมิภาคตะวันตก และการเปิดพื้นที่รวมทั้งโอกาส เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในการทำงานท้องถิ่นอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งช่วยสังเกตพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสรุปบทเรียนหลังทำกิจกรรม

โปรดอ่านตัวอย่างโครงการของเยาวชนที่บันทึกตามลิ้งค์นี้ คลิ๊กที่ :

1.https://www.gotoknow.org/posts/592426

2.https://www.gotoknow.org/posts/592310

KRA 3 ชุดความรู้ ..ได้รู้ baseline ของเด็กที่เข้าร่วมโครงการทั้งในระบบและนอกระบบ สามารถประเมินต้นทุนทั้งด้านสาระ ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อนำมาปรับการพัฒนาศักยภาพได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถทำให้เรียนรู้ร่วมกันภายใต้การจัดกระบวนการและกิจกรรมอย่างเหมาะสมกับความสนใจของเด็ก ในขณะเดียวกันเกิดความคิดรูปแบบการประชาสัมพันธ์ เพื่อกระจายทุนในงานของเด็กและเยาวชน รวมถึงเกิดบทเรียนในการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม และการระดมความเห็น เพื่อกำหนดคุณลักษณะของพี่เลี้ยงผ่านเวทีสร้างความเข้าใจของคณะกรรมการ

KRA 4 กลไกพัฒนาเด็กและเยาวชน... เกิดความสัมพันธ์และสานเครือข่ายเพี่น้องเพื่อรวมพลังเยาวชนขับเคลื่อนสิ่งดีๆใน ๔ จังหวัด ของภูมิภาคตะวันตก มีการวางแผนกลไกเครือข่ายเยาวชน พี่เลี้ยงในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิชาการจากสถาบันการศึกษามาทำงานกันร่วมกัน ๓ ระดับในภูมิภาคตะวันตก เกิดการจุดประกายการทำงานด้านเด็กและเยาวชนให้มีพลัง เป็นการช่วยเสริมหนุนการขับเคลื่อนงานของเด็กและเยาวชนในยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของศูนย์ประสานงานด้านการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม

KRA5 ระบบฐานข้อมูล....อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลรายชื่อเครือข่ายเด็กและเยาวชน พี่เลี้ยงและคณะทำงาน มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น website facebook สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น เพื่อทราบฐานพี่เลี้ยง คนทำงานด้านเด็กและเยาวชน ผ่านเครือข่ายคนทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสะท้อนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนของผู่เข้าร่วม ในมุมมองที่หลากหลาย จากในแต่ละพื้นที่ มีการวางกลไกร่วมกัน

KRA 6 พี่เลี้ยง...มีการสร้างเครือข่ายพี่เลี้ยงชุมชนที่หนุนสริมการทำงานของเด็กและเยาวชนในภูมิสังคมภาคตะวันตก ๔ จังหวัด (ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ) พี่เลี้ยงมีความตระหนักในการสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนในพื้นที่ โดยสามารถสนับสนุนการทำงานการเรียนรู้ของเยาวชนในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้เรียนรู้บทบาทพี่เลี้ยง เปิดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการทดลองทำ และสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและชุมชนได้

ตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จของเด็กและเยาวชนในโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ทีมหญ้าสาน : การจัดการระบบน้ำเสีย

โครงการนี้ ทำให้เรารู้จักหน้าที่ของตนเอง และรู้จักการจัดการเวลาเพื่อส่วนรวม การทำงานเป็นขั้นตอน จากเดิมที่ไม่เคยสนใจสิ่งรอบข้าง กล้าคิด กล้าทำและมีความรับผิดชอบ เคารพตนเอง เคารพผู้อื่นใส่ใจชุมชน และรอบรั้วมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น ด้วยความเข้าใจกัน ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน สำหรับในมิติของชุมชน นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย ให้ความร่วมมือในการทำโครงการ ก่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้อาจารย์และบุคคลากร ให้ความสนใจที่จะต่อยอดโครงการเรื่องการประหยัดน้ำของมหาวิทยาลัย

ปัจจัยและเงื่อนไขของความสำเร็จ

* ความรับผิดชอบ มีจิตอาสาชอบทำงานเพื่อส่วนรวม

* อาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำและเปิดพื้นที่ให้น้องๆได้ใช้ความคิดอย่างเต็มที่

* มีการวางแผนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสรุปบทเรียนทุกครั้ง

* มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้มองเห็นเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์


โปรดติดตามโครงการพัฒนาองค์กรระดับจังหวัดสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (๓) คลิ๊กที่ :

https://www.gotoknow.org/posts/592698

....................................................................................................................................................

ภาพจากมูลนิธิสยามกัมมาจล และสรุปเนื้อหาจากการประชุมตามโครงการนี้

หมายเลขบันทึก: 592316เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2015 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Great Job...เป็นการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่นะคะพี่นงนาท

น่าติดตามต่อนะคะคุณป้าใหญ่ โครงการประหยัดน้ำ

เป็นโครงการที่มีเป้าหมายเด็กและเยาวชนเลยนะคะพี่

เป็นงานที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันตกหลาวจังหวัดเลยนะครับ

น่าสนใจมาก

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

ขอบพระคุณสำหรับบันทึกดีๆ ครับพี่ใหญ่


สำหรับ นศ.กลุ่มหญ้าสาน ม.ศิลปากร เพชรบุรี กับเรื่องการบำบัดน้ำเสียนี้ ผมขออนุญาตเท้าความอีกเล็กน้อยครับเพื่อให้เห็นถึงสิ่งที่เยาวชนได้เรียนรู้จากการทำโครงการครับว่า ทีแรกน้องๆ ไปได้ยินเสียงบ่นเสียงตัดพ้อจากชาวบ้านรอบมหาวิทยาลัยมาว่าพอมหาวิทยาลัยเข้ามาตั้งจนถึงปัจจุบันก็แย่งน้ำกินน้ำใช้จากแหล่งน้ำประจำของชุมชน หนำซ้ำยังปล่อยน้ำเสียลงสู่ชุมชนอีก


น้องๆ จึงเริ่มทำการศึกษาข้อมูลขึ้น จนในที่สุดได้ทราบความจริงว่า ความเข้าใจของชาวบ้านนั้นถูกเพียงส่วนเดียว เพราะเมื่อราว 7-8 ปีก่อน มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนแหล่งที่มาของน้ำใหม่ จากน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเป็นน้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค หากไม่เกิดกรณีสุดวิสัยจริงๆ ก็แทบไม่ได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติอีกเลย ส่วนเรื่องน้ำเสียนั้น มหาวิทยาลัยก็ได้น้อมนำระบบบำบัดน้ำเสียตามแนวทางโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ยมาใช้ตั้งแต่ต้น จึงตัดประเด็นเรื่องน้ำเสียไปได้เลย เมื่อประเด็นความความเข้าใจผิดทั้งสองจุดนีัได้รับความกระจ่างชัดขึ้นแล้วจึงเป็นหน้าที่ของนักศึกษาที่ต้องเป็นคนกลางแบบเนียนๆ ทำความเข้าใจให้ชาวบ้านเข้าใจเสียใหม่


ความงดงามของโครงการนี้ยังอยู่ที่การที่นักศึกษามองย้อนกลับมามองที่ตัวเองถึงพฤติกรรมการใช้น้ำ ว่าที่ผ่านมา หากมีน้ำใช้ ใช้ได้ฟรีตามสิทธิ์ของนักศึกษา แต่ละคนก็มักใช้กันอย่างสิ้นเปลือง ไม่เห็นคุณค่า ทั้งเวลาอาบน้ำ แปรงฟัน ซักผ้า ฯลฯ เวลาน้ำขาด น้ำไม่พอใช้ จากเหตุการณ์ท่อน้ำแตกที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็จะบ่นด่าต่อว่ามหาวิทยาลัย บ้างก็ไปโวยวายผ่านโซเชี่ยลมีเดีย แต่เมื่อทำโครงการและได้ไปคลุกคลี ไปเห็นการทำงานของทีมช่างของมหาวิทยาลัยที่ทุ่มเททำงานหนักเพื่อนักศึกษาได้มีน้ำกินน้ำใช้แล้ว นักศึกษาก็เกิดสำนึกใหม่ เห็นตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในวงจรปัญหา เกิดความเห็นอกเห็นใจ เลิกใช้อารมณ์บ่นว่าด่าทอเมื่อเกิดปัญหาน้ำไม่พอใช้ และปรับพฤติกรรมการใช้น้ำของตนเอง อีกทั้งช่วยกันรณรงค์ให้เกิดการประหยัดน้ำขึ้น ^^

  • จันทวรรณ
  • อ.นุ
  • โอ๋-อโณ
  • ขจิต ฝอยทอง
  • nui
  • Wasawat Deemarn
  • วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
  • ธิรัมภา
  • คนใต้โดยภรรยา
  • Pojana Yeamnaiyana Ed.D.
  • GD
  • วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ (น.ม.)
  • สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่โครงการนี้ค่ะ
  • น้องDr.Pojana...ยินดีมากค่ะที่เห็นคุณค่าของโครงการนี้
  • หลานทพญ.ธิรัมภา...ใช่ค่ะ นับเป็นหนึ่งในโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีผลดีต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนค่ะ
  • น้องnui...เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนลงสู่เยาวชนอย่างยั่งยืนค่ะ
  • น้องดร.ขจิต...เราสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพัฒนาเยาวชน เพื่อขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม
  • น้องสร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ...ดีใจ มากค่ะที่เข้ามาอ่านและเพิ่มความเห็นการทำงานของทีมงานกลุ่มหญ้าสาน ม.ศิลปากร เพชรบุรี กับเรื่องการบำบัดน้ำเสียนี้ พี่ใหญ่ขอชื่นชมความตั้งใจจริงของน้องกลุ่มนี้มากๆค่ะ
  • ….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/592316?592316

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท