ข้อคิดการเป็นพี่เลี้ยง และบทบาทการ coaching ผู้จัดการโครงการและทีมงาน


ข้าพเจ้าขอขอบคุณ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ชักชวนให้เข้าร่วมฟังและแสดงความเห็นใน " Morning Dialog " ซึ่งเป็นการประชุมเชิงวิชาการสู่การปฏิบัติภายในมูลนิธิสยามกัมมาจล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างคนทำงานพัฒนาเยาวชน ที่จัดขึ้นช่วงเช้าเดือนละสองครั้ง โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ร่วมรับฟังและให้ความเห็นในช่วง AAR ด้วย

ในการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คุณศุทธิวัต นัสการ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ได้ถอดบทเรียน เมื่อออกสนามไปเป็นพี่เลี้ยงโครงการเครือข่ายเกษตรกรกล้าใหม่ ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตจากเมืองสู่ท้องถิ่น และยึดการทำเกษตรแบบอินทรีย์เป็นอาชีพ โดยจัดตั้งบริษัทธัญญพืชผลในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม ที่มุ่งหวังพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน และความมั่นคงทางด้านอาหาร

คุณศุทธิวัตร ยอมรับว่า เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยงในโครงการนี้ ตนเองไม่มีความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์อย่างลึกซึ้งมากนัก แต่ได้ใช้ทักษะของการเป็นที่ปรึกษา ที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ทีมงานโครงการในการร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยการกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์และแสวงหาคำตอบร่วมกัน ในขณะเดียวกันต้องใช้ศิลปะการโน้มน้าวใจ ให้ทุกฝ่ายลดอัตตาการถือตัวตน เพื่อสร้างความประนีประนอมระหว่างเครือข่าย เพื่อร่วมมือกันทำงานบรรลุสู่เป้าหมายตามที่ต้องการ และที่สำคัญอย่างมากคือ พี่เลี้ยงต้องมีทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อจุดประกายให้ผู้ทำงานรู้จักคิดคำตอบที่เป็นไปได้ในการปฎิบัติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีอื่นต่อไปได้ด้วย นอกจากนี้ พี่เลี้ยงต้องมีความสามารถในการประเมินสถานะการณ์และศักยภาพของทีมงานโครงการ เพื่อปรับลดความคาดหวังในการทำงาน แต่หาทางเพิ่มศักยภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนา โดยมุ่งเน้นให้เกิดการประเมินตนเองหรือถอดบทเรียนการทำงานเป็นระยะ เพื่อให้เกิดการยอมรับจุดอ่อน-จุดแข็ง เพื่อเติมเต็มช่องว่างสู่การปรับปรุงงานต่อไป




.ในการประชุมเช้าวันครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ คุณกิติรัตน์ ปลื้มจิตร และคุณอุบลวรรณ เสือเดช ในฐานะผู้ประสานงานโครงการมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้เล่าถึงประสบการณ์ในบทบาทการ Coaching ให้ผู้จัดการโครงการและทีมของ ๓ องค์กร คือ โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน และโครงการต้นกล้าในป่าใหญ่ โดยในขั้นตอนของกระบวนการ EE (Empowerment Evaluation) ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ ๓ องค์กร ได้วิเคราะห์และประเมินกิจกรรมพัฒนาเยาวชนในระยะที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิธีการพัฒนาเยาวชนระหว่างกัน นอกเหนือจากให้สงขลาฟอรั่ม และมูลนิธิกองทุนไทย ได้ปรับและนำเสนอแผนงานของโครงการปีที่ ๒


ตามแนวคิดของกระบวนการ EE ดำเนินการเป็น สามขั้นตอน คือ (๑) ทบทวนเป้าหมายและตัวชี้วัดผลลัพธ์ของโครงการ (๒) ประเมินผลลัพธ์ของโครงการตาม KRA (Key Result Area) + KPI (Key Performance Index) และขั้นตอนที่ ๓ ประเมินกิจกรรมโครงการและวางแผนกลยุทธ์ ทั้งนี้ ในส่วนของการประเมิน KRA นำเสนอโดยใช้เครื่องมือแผนผังใยแมงมุม ทำให้เห็นภาพรวมของผลงาน ของประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร


ด้วยท่าทีเชิงบวกของคุณกิติรัตน์ และคุณอุบลวรรณ ที่โน้มน้าวให้ภาคีทั้ง ๓ องค์กร ดำเนินกิจกรรมประเมินตนเอง ด้วยความเข้าใจกระบวนการร่วมกันอย่างชัดเจน และการตั้งคำถาม เพื่อชวนคิดตลอดเส้นทางการทำงาน สามารถทำให้แต่ละองค์กรชี้จุดแข็ง-จุดอ่อน ด้วยตนเองอย่างเป็นที่ยอมรับได้ นำไปสู่การร่วมกันคิดแก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนผลสำเร็จการทำงาน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ และพัฒนาต่อยอดต่อไป

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การทำงานลักษณะนี้ เป็นรูปแบบหนึ่งของ Interactive Learning ที่สร้างปัญญาและพลังขับเคลื่อน เพื่อดึง tacit knowledge หมุนออกมาเป็นเกลียวคลื่น หนุนเสริมการทำงานเป็นระลอก

ข้าพเจ้า ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การทำงานพี่เลี้ยง และการ Coaching โครงการ สมควรต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทั้งที่เป็น Knowledge และ Knowhow ซึ่งสั่งสมมาจากความรู้ และประสบการณ์การทำงานที่นำสู่ผลสัมฤทธิ์ ทั้งเชิงศาสตร์และศิลป์ บนความมีส่วนร่วมของผู้ดำเนินโครงการและทีมงานผสมผสานกันไปอย่างราบรื่น




ในช่วง AAR ผู้ร่วมงานด้านต่างๆของมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้ยอมรับการทำงานเชิงรุกของประสบการณ์ดังกล่าวทั้งสองกรณี ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในงานและชีวิตประจำวันต่อไป

....................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 570360เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2014 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

-สวัสดีครับป้าใหญ่

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-"การทำงานพี่เลี้ยง และ Coaching โครงการ สมควรต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทั้งที่เป็น Knowledge และ Knowhow ซึ่งสั่งสมมาจากความรู้ และประสบการณ์การทำงานที่นำสู่ผลสัมฤทธิ์ ทั้งเชิงศาสตร์และศิลป์ บนความมีส่วนร่วมของผู้ดำเนินโครงการและทีมงานผสมผสานกัน"

-ขอบคุณครับ..


...ความรู้มีแล้วไม่ได้ใช้...ใช้ไม่ถูกต้องตามหลักการ จนถึงไม่รู้จักนำมาปรับประยุกต์...หากได้รับแนวคิดใหม่ๆ เป็นแรงกระตุ้นแรงผลักดัน ก็สามารถดึงเอาความรู้นั้นกลับมาใช้งานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพนะคะ

เทคนิคกระบวนการต่างๆ ช่วยการประชุมได้เยอะ  แต่เกือบลืมไปหมดแล้วค่ะ

พยายามทำความเข้าใจเวลามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ 

สนใจคิดต่อประเด็นของ อาจารย์Pojana Yeamnaiyana Ed.D. คือ  การ "ประยุกต์ใช้ความรู้" ค่ะ  เพราะความรู้อยู่ในตำรา แต่เมื่อมีคน "เอามาใช้ได้" จึงเกิดประโยชน์

อย่างบางครั้งเราเองก็ลืมไปแล้วว่า เรื่องนี้เราเคยรู้  แต่เมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่พอเหมาะพอดี ความรู้เดิมนั้นจะโผล่มาให้เราใช้ได้

ขอบคุณบันทึกพี่ใหญ่ที่ทำให้ค่อยๆ คิดต่อได้เยอะ

มาให้กำลังใจด้วยคนค่ะ พี่นงนาท...

ชอบใจกระบวนการทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล

ที่มีการพัฒนางาน การเรียนรู้งาน การทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและบริบทอื่นๆของสังคม

มีการปรับและประยุกต์การทำงานต่างๆมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

ตอนสมัยเป็นวัยรุ่นเคยทำงานกับทีมนี้ครับ

โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

SCB proactive มากนะคะในเรื่อง CSR - Corporate Social Responsibility รู้สึกชื่นชมมาก ๆ ค่ะพี่ใหญ่

Coach  ของ   coach   นะคะ  คุณพี่ใหญ่  ..... สุดยอดค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ในการ "ประยุกต์"ใช้อย่างจริงจังนี้ด้วยคนครับ

ที่สุดแล้ว  ก็คือการเรียนรู้ไปด้วยครับ
ชื่นชม ครับ

  • มาอ่านซ้ำเป็นรอบที่สอง..ได้ความรู้ ข้อคิด เกี่ยวกับการทำหน้าที่โค้ชครับ 
  • พี่ใหญ่ นงนาทสบายดีนะครับ

Prof. Vicharn Panich

วัลลา ตันตโยทัย

ขจิต ฝอยทอง

nui

แผ่นดิน

pa_daeng

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

noktalay

เพชรน้ำหนึ่ง

ธิรัมภา

ยายธี

บุษยมาศ

Pojana Yeamnaiyana Ed.D.

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ

กุหลาบ มัทนา

rojfitness

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่บันทึก ข้อคิดการเป็นพี่เลี้ยง และบทบาท การ coaching ผู้จัดการโครงการและทีมงาน

* หลานเพชรน้ำหนึ่ง...ขอบคุณภาพยุวเกษตรกรกับงานเก็บเห้ดในช่วงหน้าฝนนี้ ได้ตามไปอ่านแล้วด้วยความสุขดีๆเช่นนี้ค่ะ

* น้องDr.Podjana....การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อยอดด้วยการนำมาปฏิบัติเชิงผลสัมฤทธิ์ ด้วยการประเมินผลงานร่วมกันในทุกมิติ ทำให้งานก้าวหน้าพัฒนาต่อไปตามเป้าประสงค์มากยิ่งขึ้นค่ะ

* น้องnui...ยินดีมากที่เห็นประโยชน์จากเรื่องเล่านี้...จะได้นำมาแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเราอีกค่ะ

* น้องบุษยมาศ...ดีใจมากค่ะที่เข้ามาเยี่ยมอ่าน...กลุ่มคนทำงานของพวกเราไม่ต่างเก็บประสบการณ์ไว้กับตัว แต่นำมาแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอค่ะ

* น้องดร.ขจิต...ขอบคุณที่มาแจ้งว่า เคยทำงานกับทีมโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลานี้ ซึ่งมีฐานการทำงานที่ต่อเนื่องอย่างเข้มแข็งค่ะ

* น้องกุหลาบ มัทนา....แก่นหลักของงานมูลนิธิสยามกัมมาจล คือ การพัฒนาเยาวชน ในหลายมิติ เช่น การพัฒนาเยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเีพียง การพัฒนาเยาวชนรักษ์ท้องถิ่น การพัฒนาเยาวชนในด้านการจัดทำสื่อ เป็นต้น ค่ะ

* น้องทพญ.ธิรัมภา...แม้แต่ Coach ก็ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเช่นกันค่ะ...

* น้อง rojfitness....เป็นประสบการณ์ที่มาเติมเต็มในงานที่ปฏิบัติได้เป็นอย่างดีค่ะ

* น้องแผ่นดิน...ใช่เลยค่ะ ร่วมมือ ร่วมใจ ประสานการทำงานเรียนรู้ไปด้วยกันอย่างต่อเนื่องค่ะ

* น้องครูธนิตย์...พี่ใหญ่สบายดีค่ะ...ขอให้น้องครูกาญจนา-ธนิตย์  มีความสุขกับการเป็นครูเพื่อศิษย์นะคะ

บทบาทการ Coaching
ต้องอาศัยทั้ง Knowledge + Knowhow 
ซึ่งประกอบด้วย ศาสตร์ + ศิลป์

ขอบพระคุณครับคุณครู ^_^

อ.นุ

Sukajan

ณัฐพัชร์

ฤทธิไกร มหาสารคาม

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่บันทึก ข้อคิดการเป็นพี่เลี้ยง และบทบาท การ coaching ผู้จัดการโครงการและทีมงาน

* น้องอ.นุ....การมีท่าทีเชิงบวก รับฟัง ตั้งคำถาม ชวนให้คิดวิเคราะห์ จะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลนะคะ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท