ดอกไม้


sunee leknok
เขียนเมื่อ

อนุทินครั้งที่ 1

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน  ผศ. ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย  นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโทภาคพิเศษสาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่  26 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2557E-mail  [email protected]

…………………………………………………………………………………………………………………………………

1. ความรู้ที่ได้

รายวิชาการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้มีความสำคัญมากต่อมนุษย์ควรมีการส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องดั้งนั้นพวกเราทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคนและทุกส่วนอยู่เสมอเพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดชีวิตการที่จะเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ต้องเริ่มจากตัวเองก่อนโดยบุคคลแห่งการเรียนรู้มีลักษณะดังนี้

  • *ตระหนักถึงความสำคัญแห่งการเรียนรู้
  • *มีทักษะกระบวนกระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
  • *มีความใฝ่รู้สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • *เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอก

2. บรรยากาศการเรียน

เป็นการเรียนในรูปแบบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนและผู้สอนทำให้เห็นมุมมองทัศนคติที่หลากหลายจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันพร้อมทั้งอาจารย์เป็นจุดศูนย์กลางที่เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์จากเรื่องที่อาจารย์ยกตัวอย่างขึ้นมาทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของรายวิชานี้ไม่น่าเบื่อเพราะสามารถนำมาเชื่อมโยงใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

3. การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันมีการปรับแนวความคิดเรื่องการสอน เน้นกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

4. สิ่งที่คาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้นำรายวิชานี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุด


1
0
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 2

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผศ. อดิศรเนาวนนท์

โดย นางสาวสุนีย์  เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่ 9 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง การอบรมเรื่อง Flipped Classroom

…………………………………………………………………………………………………………………………………..

ความคาดหวัง

ต้องการรู้ว่า Flipped Classroomคืออะไรมีประโยชน์อย่างไรและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่

ความรู้ที่ได้

จากการเข้าร่วมอบรมเรื่อง Flipped Classroom ทำให้รู้ถึง Type of generationว่าแต่ละช่วงวัยมีลักษณะอย่างไร ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจบุคคลแต่ละช่วงวัยได้ง่ายโดยเริ่มจาก

  • -Babybloomerคือคนที่เกิดในปี2489 – 2507มีลักษณะเคารพกฎเกณฑ์ มีชีวิตอยู่เพื่องานมีความจงรักภักดีต่อองค์กรไม่ค่อยเปลี่ยนงาน
  • -Gen X เกิดในช่วงปี 2508 – 2522มีพฤติกรรมที่ชอบอะไรง่ายๆไม่เป็นทางการทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใครมีความคิดเปิดกว้างพร้อมปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  • -Gen Yเกิดในช่วงปี 2523 – 2553คนกลุ่มนี้ชอบนอกกรอบรักอิสระไม่ชอบเงื่อนไขมีความคิดเป็นตัวของตัวเองสามารถทำงานหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกันเนื่องจากเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี
  • -Gen Z คนในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป หรือเด็กศตวรรษที่ 21มีอิสระในการเลือกสิ่งที่ตัวเองสนใจ มีลักษณะเป็นตัวของตัวเองต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงกับความพอใจและความต้องการของตนเองสามารถตรวจสอบความจริงเบื้องหลังได้ชอบความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงานและการเรียนรู้ชีวิตและสังคมเป็นตัวของตัวเองและสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารการหาข้อมูลและคำตอบสร้างนวัตกรรมต่อทุกทุกสิ่งทุกอย่าง

Type of generationนั้นทำให้รู้ถึงความแตกต่างของบุคคลในแต่ละช่วงวัยว่ามีความต้องการไม่เหมือนกัน

ดั้งนั้นลักษณะการเรียนรู้ก็แตกต่างกันด้วย

Flipped Classroomห้องเรียนกลับด้านเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกคิดค้นในต่างประเทศในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาแนวคิดของ Flipped Classroomคือ นำสิ่งที่เคยทำที่บ้านมาทำที่โรงเรียนนำสิ่งที่ทำที่โรงเรียนไปทำที่บ้าน (เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน) เน้นการเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยมีการบูรณการ PBLPCL และ Essentialเข้าด้วยกัน

Essential : มีลักษณะการสอนไม่มากนักเริ่มทีละน้อยๆโดยการฝึกให้เด็กคิดและนำไปเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆได้

Problem based Learning (PBL) : คือการเรียนโดยผ่านงานหรือการปฏิบัติจริงโดยอาจมีการฝึกทำในลักษณะของโครงงานก็ได้โดยมีครูเป็นผู้คอยดูแล

Programmable Logic Controller (PLC) : เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบการเรียนรู้เน้นทุกฝ่ายช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็น

โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำเน้นผู้เรียนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญของ Flipped classroom ประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้ในชีวิตและการทำงาน การเรียนรู้และนวัตกรรม และด้านสารสนเทศเทคโนโลยี

การนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

บรรยากาศในการอบรมครั้งนี้ เอื้อต่อการเรียนรู้มีทั้งสื่อ เทคโนโลยี ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนไม่เบื่อในทุกกิจกรรมคลิปวิดีโอต่างๆ ที่นำมาให้ดูเป็นตัวสะท้อนเปรียบเทียบเรื่องวิธีการสอนได้ดีมากทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในเรื่องการสอนของตัวเองดั้งนั้นการอบรมครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสามารถนำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและส่งผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้


4
0
Jane_Amoure
เขียนเมื่อ

                                                                     บันทึกอนุทิน                             ครั้งที่ 4วันที่ 8กันยายน พ.ศ. 2557

                                 อบรมเรื่อง การพัฒนาการคิด                  โดย รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ   สุเสารัจ
   
    
โดย นางสาว ณัฐพร   เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ   สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                  ********************************************************************************************

                                                                  ารจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

           ก่อนที่จะเข้าเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT จะขอพูดถึง ”สมอง”ก่อน สมองของมนุษย์ประกอบไปด้วย 2 ซีก จะมีซีกซ้าย กับ ซีกขวา

สมองซีกซ้าย จะมีศักยภาพเกี่ยวกับภาษา การฟัง ความจำ การวิเคราะห์ การ จัดลำดับ การคำนวณสัญลักษณ์ เหตุผลเชิงตรรกะ และวิทยาศาสตร์

สมองซีกขวา จะมีศักยภาพเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้ภาพรวม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส ศิลปะความงาม รูปทรง รูปแบบ สี ดนตรี มิติสัมพันธ์ และการเคลื่อนไหว

เนื่องจากมนุษย์เกิดมาจะถนัดการใช้สมองไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก็จะมีความสามารถต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องกีฬา เรื่องดนตรี เราจะเห็นได้ว่าบางคนเรียนไม่เก่งแต่เล่นกีฬาเก่ง เป็นต้น

          การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เช่น ชอบสังเกต ชอบฟังเฉยๆ ชอบทดลอง ชอบปฏิบัติ ชอบนำความรู้ไปปรับใช้ ไม่ชอบทำตามครูบอก อาจจะไม่ชอบทำอะไรเลย ชอบเป็นผู้ตามอย่างเดียว ซึ่ง มอร์ลิส(Susan Moris)และแมคคาร์ธี (Mc Carthy) พบว่า ผู้เรียนมีการใช้สมองแต่ละซึกต่างกัน ดังนั้น มอร์ลิสและแมคคาร์ธี จึงเสนอวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนออกเป็น 4 แบบ

1.พวกที่เรียนรู้จากการดู การสังเกต ซักถาม พูดคุย = WHY

      บทบาทของครูในแบบที่ 1 ครูเป็นผู้กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนโดยการให้เขาฟัง ซักถาม คิด แล้วก็ตั้งคำถามว่า “ทำไม”

2.พวกที่เรียนรู้จากการฟัง คิด จดจำข้อมูล = WHAT

      บทบาทของครูในแบบที่ 2 ครูจะเป็นผู้บอก อธิบาย เล่ารายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งบทบาทนี้ครูจะเป็นผู้สอน ผู้เรียนจะมีหน้าที่ฟัง

3.พวกที่เรียนรู้จากการลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ = HOW

      บทบาทของครูในแบบที่ 3 ครูจะเป็นผู้ชี้แนะ สร้างสถานการณ์ ผู้กำกับ ซึ่งขั้นนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ

 4.พวกที่เรียนรู้จากการคิดค้น ทดลอง พิสูจน์ จินตนาการ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง = IF

      บทบาทของครูในแบบที่ 4 ครูจะเป็นผู้ประเมิน ผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เช่น ครูให้นักเรียนปลูกต้นคริสมาสด้วยปุ๋ยธรรมชาติ ขณะเด็กปลูกก็จะเห็นว่าต้นไม้เป็นยังไง ผู้เรียนมักจะถามว่า “ถ้า…” (If) เช่น ถ้าปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ล่ะ จะได้ไหม ใช้ทิชชู่แบบถั่วงอกได้ไหม เป็นต้น

           สรุป การเรียนรู้แบบ 4 MAT คือการดึงความสามารถเฉพาะตัวของผู้เรียนออกมา ให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถของตนเอง ไม่ว่าผู้เรียนจะเป็นแบบที่1 2 3 4 ต่างก็เป็นความสามารถทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าแบบที่ 2ที่นั่งฟังเฉยๆจะเป็นคนไม่ฉลาด แต่เขาสามารถเข้าใจจากการฟังมากกว่า ในความคิดของผู้เขียนการเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ที่ดีแบบหนึ่ง เป็นการทำให้เด็กรู้ เข้าใจว่าตัวเองมีความสามารถแบบไหน เหมือนกับการอ่านหนังสือ บางคนอ่านหนังสือไปต้องฟังเพลงเบาๆ บางคนต้องอ่านเสียงดังๆถึงจะจำได้ เป็นต้น

 อ้างอิง

หนังสือ การพัฒนาการคิด ฉบับ ปรับปรุงใหม่ ของ รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ

4
0
Jane_Amoure
เขียนเมื่อ

The Virtues Project.docx


                                                                    บันทึกอนุทิน                      ครั้งที่ 3วันที่ 25-26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
                                             อบรมเรื่อง The Virtues   Project โดย Derek W. Patton
โดย นางสาว ณัฐพร เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                            ************************************************************************************************

1.มีข้อสงสัยอะไรบ้าง?แล้วได้คำตอบที่ตัวเองสงสัยไหม? ถ้าได้ คืออะไร?

      ต้องยอมรับเลยค่ะว่า ตอนแรกได้ยินว่ามีอบรม The Virtues Projectก็ยังงงนะคะคืออะไรพอมาเห็นชื่อวิทยากรยิ่งงงกว่าเดิมเลยค่ะว่า   แล้วจะฟังรู้เรื่องหรอ? พอได้ฟังการบรรยายจบ   ได้รู้ว่า The Virtues   Projectคือ   การใช้คำพูดกับผู้อื่นด้วยความอ่อนน้อม พูดแบบสุภาพ รู้จักขอบคุณ ขอโทษ ผู้อื่น   และควรบอกเหตุผลเวลาพูดขอบคุณ

เช่น Thank you for   your helpfulness in carrying the packages.ประโยคนี้แปลได้ว่า   ขอบคุณที่คุณช่วยถือของให้นะคะ คือ เราบอกเหตุผลที่เราขอบคุณเขาด้วย

ประโยคขอบคุณสามารถใช้ได้กับทุกๆคน ทุกๆที่   เช่น เราไปทำผม ช่างทำผมให้เราเสร็จเราก็บอกว่า ขอบคุณที่ทำให้เราสวยนะคะ   จะทำให้คนฟังรู้สึกดีขึ้น 90% เราก็ได้สิ่งที่ดี   คนฟังก็รู้สึกดี เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า มีแต่ได้กับได้ ได้ทั้งความสุข   ได้มิตรภาพใหม่ด้วย

          สรุป เราควรระมัดระวังในการใช้คำพูด   เพราะบางทีเราพูดๆไป ไม่ได้คิดอะไร แต่คนฟังถ้าฟังแล้วไม่คิดอะไรก็ไม่เป็นไร   แต่ถ้าเขาฟังแล้วเก็บไปคิดมาก คนที่เสียใจก็คือเขา   เพราะเราไม่รู้หนิว่าทำให้ใครเสียใจ อาจจะทำให้เสียมิตรภาพไปได้ง่ายๆ   คำพูดเมื่อเราได้พูดไปแล้ว มันเอาคืนไม่ได้ ก่อนพูดเราเป็นนายของคำพูด   แต่หลังจากพูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา ฉะนั้นเราควรจะคิดก่อนพูด คิดถึงใจเขา ใจเรา   ให้มากที่สุด

2.บรรยากาศในห้องเรียนเป็นยังไง

        บรรยากาศในห้องเรียนเป็นแบบเน้นให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายกันในกลุ่ม   สิ่งนี้ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนใหม่ๆ มีทั้งพี่ๆปริญญาเอก   พี่ๆภาคพิเศษคณะอื่นๆอีก ทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างดี และร่วมมือในงานที่ได้รับมอบหมาย   ทำให้ในห้องเรียนเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ ภาพคนช่วยกันทำงาน   เป็นภาพที่หาได้ยากจริงๆในสังคมสมัยนี้   เพราะสังคมสมัยนี้เป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง   จึงไม่ค่อยเห็นภาพแบบนี้สักเท่าไหร่   แต่ภาพแบบนี้สามารถเห็นได้จากห้องเรียนห้องนี้ที่ได้ชื่อว่า The   Virtues Project

4
0
xiaomin Li
เขียนเมื่อ

AAR

ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

มีคนบอกว่าครูก็แค่พูดหน้าห้องเรียนให้นักเรียนฟัง ประสบการณ์ และให้นักเรียนทำตามสิ่งที่บอก นั้นคือรูปแบบการสอนแบบเก่า แต่ในโลกปัจจุบันนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้หลายทาง ครูจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองและเทคนิการสอนให้ไปตามความต้องการของโลก Product นักเรียนที่มีคุณภาพและมีความสามารถในการประกอบอาชีพถึกเป็นประเด็นสำคัญในการจักการเรียนการสอน นักเรียนมีความรู้ ทฤษฏีอย่างเดี่ยวไม่สามารถออกไปเข็ม กับความต้องของสังคม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นให้นักเรียนได้ฝึกฝน ปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนจะต้องมีหลักสูตร curriculum และเทคนิการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีทักษะ

① หลักสูตร curriculum คือ แผนประสบการณเรียนรู้ของผู้เรียนระบบที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรกระบวนการจัดการบุคคลและกระบวนนำระบบไปใช้สาขาวิชา เนื้อหาวิชา

② ทักษะ 5C 1). Creative problem solving skills (ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ) นักเรียนมีความสามารถและชำนาญในการสร้างความรู้วิธีการใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือแก้ปัญหา ให้เป็น Innovator 2). Critical thinking skills ทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณ มีความรถในการคิดไตร่ตรองคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อจะทำหรือเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเมื่อมีประเด็นข้อแย้งargument หรือพัฒนาให้คนไทยเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณ critical thinker 3).collaborative skills ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง มีความสมารถทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่มเรียนรู้ประสบการย์การทำงานเป็นทีม เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและเก็ดความสุขในการทำงาน 4). Communicativeskills ทักษะสื่อสาร มีความสมารถในการสื่อสาร มีทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียนอย่างมีคุณภาพ 5).computing skills ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการใช้เทคโลโนยีสารสเทศ อย่างมีคุณภาพ

AAR.pdf see here 

สรูป การจัดการการสอนกรบวกการวิทยาศาสตร์ และวิธีการวิทยาศาสตร์สามารถทำให้การสอนมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น

4
0
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 3

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง  ทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

สิ่งที่คาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจแนวทางในพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21

ความรู้ที่ได้รับ

การเป็นเด็กดี เด็กเก่ง เด็กมีสุขนั้นเป็นลักษณะที่ชาติต้องการซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคที่จะต้องสร้างเด็กไทยให้ยืนอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุขและอยู่ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆได้ ซึ่งลักษณะที่เด็กไทยพึ่งประสงค์ในยุคศตวรรษที่ 21 คือ E (L+L+I) E=Ethical จริยธรรมL=Learner เป็นผู้ใฝ่รู้ L=Leader ผู้นำ I=Innovator เปลี่ยนแปลงดังนั้นเพื่อให้สามารถพัฒนาเด็กไทยให้ได้ลักษณะดังกล่าวจึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ โดยสรุปคือ ครูต้องมีทักษะสำคัญ 7 ประการเรียกสั้นๆว่า 7Cเป็นทักษะเพื่อการเป็นครูมืออาชีพโดยทั้งหมดนี้ต้องมีการพัฒนาผ่านการสร้างหลักสูตร การที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะการคิดที่ดีนั้นต้องผ่านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 5 Steps คือ 1.ระบุคำถาม 2.แสวงหาสารสนเทศ เป็นขั้นพิสูจน์สมมติฐาน เพื่อหาคำตอบของสมมติฐาน 3.สร้างความรู้ หรือการสรุปความรู้ที่ได้ 4.สื่อสาร เป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากการสร้างความรู้ความเข้าใจ 5.ตอบแทนสังคม เป็นการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่การสอนด้วยกระบวนการ 5 ขั้น เป็นวิธีการสอนแบบสืบค้นและวิธีสอนแบบโครงงานโดยบูรณาจากเรื่องราวต่างๆซึ่งเมื่อวิเคราะห์กระบวนการขั้น 1, 2, และ 3 จากการระบุคำถามถึงการสร้างความรู้ หรือสรุปผลขั้นที่ 3 ดังกล่าว คือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการคิดประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้ 1) ระบุคำถาม 2)[ ตั้งสมมติฐาน 3) ออกแบบรวบรวมข้อมูล4) ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล5) วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล6) แปลความหมายและสรุปส่วนขั้นที่ 4 ของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมทักษะการอ่าน พูด เขียน ขั้นที่ 5 เป็นตอบแทนสังคม ซึ่งเป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้มีการนำผลงานไปเผยแพร่ หรือใช้ในชีวิตจริง

การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

นำความรู้ที่ได้ ทักษะการพัฒนาครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพราะทักษะครูมืออาชีพเป็นทักษะที่สำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ต้องปฏิบัติและพึงมีได้แก่ พัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การนำนวัตกรรมไปใช้ การประเมินตามสภาพจริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การเสริมสร้างลักษณะ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลอย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเกิดนวัตกรรมด้วยวิจัยมาใช้ในการเรียน การสอน

6
0
MONTANA
เขียนเมื่อ

ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

หลักสูตร เป็นแผนและประสบการณ์ที่ต้องจัดทำขึ้นหรือพัฒนาขึ้นเป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือผู้เรียนบรรลุ มีผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดซึ่งหลักสูตรควรได้รับการวิเคราะห์ และพัฒนาให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ วิธีการสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ วิธีสอนแบบสืบสอบ (inquiry teaching method) การจัดการเรียนการสอนโดยวิธีให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย วิธีการสอนแบบโครงงาน (project teaching method) ขั้นตอนของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาเพื่อค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา วิธีสอนแบบอุปนัย (inductive method) กระบวนการสอนที่ผู้สอนใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยนำตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (research – based learning) การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานเป็นแนวการสอนที่เน้นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเน้นการทำวิจัยที่เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการสอน รูปแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5E learning cycle model) การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นการให้นักเรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างความรู้ด้วยตนเอง อันทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้สร้างชิ้นงานเพื่อนำไปบริการสังคมได้ แนวการสอน กลยุทธ์ กลวิธีการสอนเป็นแนวทางกว้าง ๆ โดยมีหลักการเพื่อการจัดการเรียนการสอน แนวการสอนโดยใช้กิจกรรม (activity teaching approach) การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกิจกรรม แนวการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (case study) กรณีตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน เทคนิคการสอน กลวิธีต่าง ๆ ที่เสริมกระบวนการ ขั้นตอน เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอนนั้นมีคุณภาพ เทคนิคการใช้คำถาม (questioning technique) การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ (cooperative learning techique) วิธีการที่กำหนดโครงสร้างหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เทคนิคการใช้พหุปัญญา (technique of using multipleintelligences) เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (techniqur of using graphic organizers) แบบการสื่อความหมาย เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ การเสริมสร้างทักษะการคิดด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ระบุคำถาม ออกแบบรวบรวมข้อมูล ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุป กลยุทธ์การเรียนการสอนและกระบวนการที่ใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความรู้ กระบวนการเรียนรู้สร้างความรู้และเข้าใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การเป็นแบบอย่าง ทักษะกระบวนการ กระบวนการเรียนภาษา อ่าน ฟัง เขียน สื่อความหมายข้อมูล จัดกระทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เหตุผลแบบนิรนัยอุปนัย คิดสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเองของครูจากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิจัย CICA สามารถวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชา สาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด สามารถออกแบบการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการชั้นเรียนเพื่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

การแสวงหาความรู้ด้วยการใฝ่รู้ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีความรู้ความเข้าใจ คือ ความรู้พื้นฐาน ความรู้ในอาชีพ ความรู้โลกศึกษา มีทักทักษะ 5C ดังนี้ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง ทักษะการสื่อสาน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แนวการสอนแบบผสมผสาน อาจใช้แนวการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ หรือ แนวการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางได้ เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก การจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ จึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนในปัจจุบันต้องเผชิญปัญหาและมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นการกำหนดลักษณะผู้เรียนจะต้องมีความสามรถในการคิดเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามรถในการสร้างชิ้นงาน ครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจและมีความสามารถในการพัฒนาผู้เรียน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นเด็กสร้างความรู้ ใช้แนวทางสอนเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ใช้รูปแบบวิธีและเทคนิคการสอนหลากหลาย ใช้สื่อแหล่งการเรียนรู้ ใช้การประเมินผลการเรียนรู้รอบด้าน การจัดชั้นเรียนเพื่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ คือ บันทึกหลังสอน ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ได้นวัตกรรมการเรียนรู้ ทำวิจัยเชิงวิชาการ

จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร

นำทักษะการพัฒนาครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพราะทักษะครูมืออาชีพเป็นทักษะที่สำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่ครูต้องปฏิบัติและพึงมีได้แก่ พัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การนำนวัตกรรมไปใช้ การประเมินตามสภาพจริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การเสริมสร้างลักษณะ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลอย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเกิดนวัตกรรมด้วยวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน เพราะทำให้ได้พัฒนาตนเองด้วยว่า สามารถวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชา สาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัก สามารถออกแบบการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการชั้นเรียนเพื่อใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะได้มาจากการบันทึกหลังสอน และทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

บรรยากาศในการร่วมกิจกรรม

มีความเป็นกันเองระหว่างผู้บรรยายและผู้รับฟังการบรรยาย จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้รับฟังการบรรยายได้รู้จักกัน ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับหมอบหมาย 

6
1
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท