อนุทินล่าสุด


กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

มีเงินก็ซื้อได้: “ตราพระราชลัญจกร” สัญลักษณ์แห่งโอรสสวรรค์สู่มือนักประมูลสมบัติ

ตราประทับชิ้นนี้ทำจากไม้จันทน์สลักคำว่า “จิงเทียน ชิงหมิง” หรือ “เคารพฟ้า รับใช้ประชาชน” ถ้อยคำอันเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจและเครื่องยืนยันสิทธิของฮ่องเต้ในฐานะผู้ได้รับอาณัติจากสวรรค์ให้ปกครองประชาชนตามปรัชญาจีนนับแต่โบราณ

“ความประสงค์ของสวรรค์คือเจตจำนงของประชาชน คุณต้องเคารพต่อผู้อยู่ใต้ปกครองเพื่อแสดงความเคารพต่อสวรรค์” นิโคลัส โจว (Nicolas Chow) รองประธานซอเธบีส์เอเชียกล่าวทั้งนี้จากรายงานของ South China Morning Post “มันเป็นหลักการที่ยังคงย้ำเตือนให้ทุกคนรู้ว่า ลัทธิขงจื๊อคือพื้นฐานอุดมการณ์แห่งรัฐเกือบตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์จีนซึ่งมีหัวใจหลักที่ความเมตตาและคุณธรรม”

ซอเธบีส์บรรยายคุณสมบัติของสินค้าชิ้นนี้เพื่อจูงใจนักประมูลมหาเศรษฐีว่าเป็น “วัตถุที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์จีน” ที่เคยถูกนำออกประมูล “มันเป็นวัตถุที่คุณค่าไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอกเหมือนเครื่องถ้วยชามหรือภาพเขียน คุณค่าของมันคือประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่กับมัน” โจวกล่าว

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ตำนานกษัตริย์อาร์เธอร์ เรื่องแต่งของบาทหลวงเพื่อระดมทุนจากนักแสวงบุญ

กลาสตันเบอรีแอบบีย์ (Glastonbury Abbey) โบสถ์คริสต์เก่าแก่ที่มีตำนานเล่าขานว่าเป็นโบสถ์คริสต์แห่งแรกบนเกาะอังกฤษ ซึ่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษแรก และยังเชื่อกันว่ากษัตริย์อาร์เธอร์ (King Arthur) ในตำนานอัศวินโต๊ะกลมก็ถูกฝังร่าง ณ โบสถ์แห่งนี้เช่นกัน แต่ตำนานดังกล่าวได้ถูกหักล้างโดยงานวิจัยซึ่งกินเวลาราว 4 ปีของผู้เชี่ยวชาญ 31 คน นำโดย โรเบอร์ตา กิลคริสต์ (Roberta Gilchrist) ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีประจำมหาวิทยาลัยเรดดิง(1) ที่พบว่าตำนานดังกล่าวเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยบาทหลวงในศตวรรษที่ ๑๒ เพื่อหารายได้เข้าโบสถ์เท่านั้น

https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ร่างทรงคือคนที่มักมีปัญหาชีวิต

…ปีนี้กระแสข่าวในโลกโซเชียลเกี่ยวกับการทรงเจ้ามีมากอย่างเห็นได้ชัด คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องประหลาด เป็นเรื่องใหม่ โดยเฉพาะการเข้าทรงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น พระนเรศวร กรมหลวงชุมพรฯ ฯลฯ แต่ความจริงแล้วการเข้าทรงบุคคลในประวัติศาสตร์มีมานานแล้ว ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจากงานวิทยานิพนธ์ทางด้านมานุษยวิทยาของนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ ทำเมื่อ พ.ศ. 2532 ได้สัมภาษณ์ร่างทรงผู้หนึ่ง เป็นร่างทรงเจ้าแม่อุไรทอง ร่างทรงนี้เป็นผู้หญิง อายุ 69 ปี (เมื่อราว พ.ศ. 2530) มีอาชีพค้าขาย ฐานะดี ทุกปีจะมีการจัดงานไหว้ครูประจำปี และการแก้บนอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเป็นการตอบแทนเจ้าหรือผี มีนิสัยชอบบริจาคเงิน สร้างพระ สร้างสำนักสงฆ์ และสร้างอุโบสถหลายแห่ง

 อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

นักการเมืองใหญ่ถึงคราวฉิบหายเพราะเรื่องผู้หญิง

“…จะเห็นได้ว่าทั้งฝ่ายเล่าปี่ โจโฉ และซุนกวน ต่างมีที่ปรึกษาระดับเซียนเหยียบเมฆทั้งสิ้น และผู้เป็นใหญ่ก็นับถือที่ปรึกษาของพวกเขา ยกเว้นกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัวอย่างยิ่ง ที่ปรึกษาอาจหมดความสำคัญก็ได้ เช่น เมื่อครั้งที่ตั๋งโต๊ะมีอำนาจขนาดผู้สำเร็จราชการของพระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วเสียรู้ขุนนางผู้ใหญ่เรื่องผู้หญิง คือ หลงนางเตียวเสี้ยนซึ่งเป็นแฟนของลิโป้บุตรเลี้ยง ลิยูบุตรเขยของตั๋งโต๊ะไปเตือนว่า ทหารเสือสำคัญกว่าผู้หญิง คนขนาดตั๋งโต๊ะจะหาอนุภริยาที่สวยขนาดไหนสักกี่สิบคนก็ได้ ควรยกหญิงนั้นให้ลิโป้เสีย เพราะคนเขารักกันมาก่อน ลิยูทู่ซี้เกลี้ยกล่อมตั๋งโต๊ะพ่อตาจนแกโกรธ ตวาดให้ว่า “ถ้าลื้อรักลิโป้นักก็ยกเมียลื้อให้เขาไป” เมียของลิยูคือลูกสาวตั๋งโต๊ะ ใครจะไปกล้า ลิยูลาพ่อตาออกมาหน้าทำเนียบ พบนายทหารคนสนิทหนุ่มๆ มารอรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ลิยูก็พูดพอให้ได้ยินทั่วกันว่า

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

หลุมศพในสโตนเฮนจ์ หลักฐานความเท่าเทียมทางเพศในยุคก่อนประวัติศาสตร์

สโตนเฮนจ์ (Stonehege) อนุสาวรีย์หินขนาดยักษ์ในเขตวิลต์เชียร์ (Wiltshire) ประเทศอังกฤษ ถูกสันนิษฐานว่าได้ถูกก่อสร้างขึ้นต่อเนื่องเป็น 6 ระยะ ในช่วง 3000-1520 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งการค้นพบร่างผู้เสียชีวิตในพื้นที่แห่งนี้มีมาตั้งแต่การขุดค้นในปี 1920

เบื้องต้นมีการสันนิษฐานว่า ร่างผู้เสียชีวิตเหล่านี้ถูกฝังมาตั้งแต่ยุคต้นๆที่มีการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ แต่การศึกษาหลักฐานต่างๆที่จะใช้ยืนยันข้อสันนิษฐานดังกล่าวกลับมีไม่มากนัก จนกระทั่งเมื่อปี 2008 ทีมนักวิจัยได้ทำการตรวจสอบซากโครงกระดูกเหล่านี้อีกครั้งและได้พบกับ “ความเท่าเทียมทางเพศจนน่าตกใจ”

รายงานการค้นพบในครั้งนี้ถูกเผยแพร่อยู่ในวารสาร British Archaeology ฉบับเดือนมีนาคม/เมษายน 2016 โดยทีมสำรวจได้ทำการตรวจสอบหลุม ออบรีย์หมายเลข 7 (Aubrey Hole 7, AH7) อีกครั้ง หลังซากโครงกระดูกเกือบทั้งหมดที่เคยถูกพบในหลุมแห่งนี้ได้ถูกฝังกลับไปดังเดิมตั้งแต่ 45 ปีก่อนเนื่องจากนักโบราณคดีในสมัยนั้นไม่ได้ความสนใจที่จะทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และไม่อาจหาพิพิธภัณฑ์ที่จะรับไปดูแลต่อได้


อ่านต่อได้ที่https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

พุทธประวัตินอกกระแส (ในไทย): “สิทธัตถะ” เกิดในสังคมแบบชนเผ่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์

ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วยเป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งชาวไทยส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ และรัฐไทยก็ถือเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติทั้งโดยพฤตินัย และนิตินัย (แม้จะยังมิได้ประกาศลงในรัฐธรรมนูญ) ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสสำคัญของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้

ตามประสบการณ์ของผู้เขียน การเรียนในหัวข้อพุทธประวัติ (ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) ในเมืองไทย ล้วนแต่มีเรื่องราวที่สอดคล้องกันไปในทิศทางเดียวกันว่า “สิทธัตถะ โคตมะ” เป็น พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ฟังแล้วย่อมทำให้เข้าใจได้ว่า กรุงกบิลพัสดุ์ ปกครองด้วย “ระบอบกษัตริย์” ที่อำนาจปกครองตัดสินและสืบทอดกันด้วยชาติกำเนิด

แต่เมื่อผู้เขียนลองไปอ่านพุทธประวัติในแหล่งข้อมูลจากต่างประเทศบางส่วนกลับให้คำอธิบายที่ต่างออกไป เช่น โดนัลด์ เอส. โลเปซ (Donald S. Lopez) ศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนาและธิเบตศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า ในช่วงปลายยุคพระเวท ผู้คนในลุ่มน้ำคงคาตอนใต้ของเนปาล ซึ่งรวมถึงกรุงกบิลพัสดุ์ น่าจะรวมตัวกันในลักษณะของสภาชนเผ่า ปกครองผ่านที่ประชุมผู้อาวุโส หรือผู้นำที่มาจากการลงคะแนนเสียง ส่วนปราสาทราชวังต่างๆที่ถูกบรรยายในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาก็ไม่เหลือหลักฐานทางโบราณคดีมาถึงปัจจุบัน

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ข้าราชการสยาม “หมิ่นพระพุทธรูปลาว” ชี้ไม่คู่ควรกับบ้านเมืองกรุงเทพฯ

ในบทความเรื่อง พระพุทธรูปอีสาน: ว่าด้วย การสร้าง และการเสื่อม แห่งการนิยาม คุณค่าความหมาย โดย ติ๊ก แสนบุญ ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พฤษภาคม 2559 นอกจากจะบอกที่มาที่ไปของพระพุทธรูปอีสานได้อย่างน่าสนใจแล้ว อีกประเด็นสำคัญของบทความคือการสะท้อนมุมมองของคนไทยที่มีต่อพุทธศิลป์ของคนลาว

ติ๊กยกบันทึกพงศาวดารในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งอ้างว่ามีกลุ่มเสนาบดี ตำหนิพระพุทธรูปลาว ซึ่งติ๊กให้ข้อมูลเพิ่มเติมเจาะจงว่า เสนาบดีกลุ่มนี้หมายถึงพระเสริม (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร) และพระใส (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) สองพระพุทธรูปที่สยามได้มาหลังการทำลายกรุงเวียงจันทน์ สมัยกบฎเจ้าอนุวงศ์ ว่าไม่คู่ควรกับบ้านเมืองกรุงเทพฯ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

คณะสงฆ์ไทยเคยปกครองแบบ “แบ่งแยกอำนาจ” อย่างประชาธิปไตย ก่อน “สฤษดิ์” สั่งเลิก

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองโดยให้ภูมิภาคขึ้นตรงกับส่วนกลางที่กรุงเทพฯ เมื่อมีพระราชดำริให้มีการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ พระองค์ก็ทรงใช้หลักการเดียวกัน ให้คณะสงฆ์ทั้งประเทศอยู่ภายใต้การปกครองและควบคุมจากส่วนกลาง ตามประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 โดยกำหนดให้มีมหาเถระสมาคมซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาและการปกครองบำรุงสังฆมณฑล

แต่เมื่อมีการเปลื่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา รัฐบาลในยุคนี้จึงมีดำริให้มีการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์เสียใหม่ให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองของบ้านเมือง โดยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ เพื่อการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อันเป็นลักษณะเดียวกันกับหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

(มาตรา 7 สมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติสังฆาณัติโดยคำแนะนำของสังฆสภา, มาตรา 8 สมเด็จพระสังฆราชทรงบริหารการคณะสงฆ์ทางคณะสังฆมนตรี และมาตรา 9 สมเด็จพระสังฆราชทรงวินิจฉัยอธิกรณ์ทางคณะวินัยธร)

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ฝรั่ง (โบราณ) คลั่งขาวไม่แพ้คนไทย (ในปัจจุบัน) ยอมเสี่ยงตายใช้สารตะกั่วทาหน้า

“…ลีด เมกอัพ (Lead Makeup) แฟชั่นหน้าขาวด้วยเครื่องสำอางนี้มีต้นกำเนิดมาจากกรีกโบราณกว่า 2,000 ปีมาแล้ว และมานิยมในฝรั่งเศสเมื่อราวศตวรรษที่ 14-19 เป็นการทำให้หน้าขาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยในสังคมชั้นสูงถือว่าคนหน้าตากระดำกระด่างเป็นคนไม่มีเงิน เครื่องสำอางที่ว่านี้มีส่วนผสมมาจากสารตะกั่ว ขี้ผึ้ง ไขมันสัตว์ น้ำมัน และไข่ขาว ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าสารตะกั่วนี้เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง ทำให้เบื่ออาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน มึนงง มือเท้าชา อาจตาบอด และอาจเป็นมะเร็งได้ บางรายอาจเสียชีวิต ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า Marie Gunning สตรีชั้นสูงชาวไอริชได้ตกเป็นเหยื่อรายแรกของการใช้สารตะกั่วใน ค.ศ. 1760 และ Madame Rachel ก็เสียชีวิตเพราะพิษของตะกั่วจากเครื่องสำอางหน้าขาวนี้เช่นกันใน ค.ศ. 1878 แต่ผู้หญิงใน พ.ศ. นี้ทั่วโลกรวมทั้งเมืองไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้อ่านประวัติศาสตร์ เลือกที่จะละเลงสารตะกั่วบนใบหน้าตนเองเพื่อให้ขาวใสใน 7 วัน โดยไม่เกรงใจเครือญาติที่ต่างก็เกิดมามีหน้าสีเดียวกัน…”

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

กาเซี่ยงชี้ทางโจโฉ “ตั้งทายาทคนโต” เป็นผู้สืบทอด เลี่ยงการล่มสลายของวุยก๊ก

ในบั้นปลายชีวิตของโจโฉ เขาต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญที่จะส่งผลถึงอนาคตของวุยก๊ก คือการแต่งตั้งผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเขา ซึ่งในบรรดาบุตรทั้งหมดของเขา คนที่มีหวังมากที่สุดหนีไม่พ้นโจผี และโจสิด

ข้อเด่นของโจสิดคือมีสติปัญญาสูงเยี่ยม ปราดเปรื่องทางอักษรศาสตร์ จึงได้รับความรักเป็นพิเศษจากโจโฉผู้เป็นกวีและรักอักษรศาสตร์เช่นกัน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่มักติดนิสัยปล่อยอารมณ์ไปกับสุราและกวีนิพนธ์

ส่วนโจผีหลังการตายของโจงั่ง ทำให้เขากลายเป็นบุตรคนโตซึ่งมีสถานะที่ได้เปรียบ แต่ความสามารถของเขาด้านบุ๋นก็ด้อยกว่าโจสิด ด้านบู๊ก็ด้อยกว่าโจเจียง ทำให้เขากังวลไม่น้อยว่าตนอาจถูกน้องๆแย่งการสืบทอดตำแหน่งจากบิดา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

เจ้าชายสายมืดแห่งบรูไน เจ้าของฮาเรมที่รวมสาวงามจากทั่วโลกไม่เว้นแม้ “ผู้เยาว์”

เจ้าชายเจฟรี โบลเกียห์ (Prince Jefri Bolkiah) พระอนุชาองค์เล็กซึ่งเคยเป็นคนโปรดของสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียร์ (Sultan Hassanal Bolkiah) แห่งบรูไนในยุคที่เศรษฐกิจของประเทศเฟื่องฟูจากการค้าน้ำมัน ก่อนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจแห่งเอเชีย (1997) ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่ตามไปด้วย จากที่เคยเป็นคู่หูแสวงหาความสำราญขององค์สุลต่าน เจ้าชายเจฟรี ถึงกับต้องเนรเทศตัวเองออกนอกประเทศ หลังถูกสุลต่านกล่าวหาว่าพระองค์ยักยอกทรัพย์สินของแผ่นดิน

ในปี 1983 สุลต่านโบลเกียห์ได้แต่งตั้งให้เจ้าชายเจฟรีเป็นผู้อำนวยการสำนักงานการลงทุนแห่งบรูไน (Brunei Investment Agency, BIA) ซึ่งดูแลเรื่องรายได้ของการค้าน้ำมันของประเทศ 3 ปี ต่อมายังได้แต่งตั้งให้เจ้าชายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกันเจ้าชายยังเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างของตัวเองในชื่อ Amedeo Development Corporation (ADC) ซึ่งได้งานทั้งโครงการของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

สุลต่านโบลเกียห์ และเจ้าชายเจฟรี ถือเป็นพี่น้องที่ใกล้ชิดกันมาก ทั้งคู่เคยขับรถหรูเฟอร์รารีแข่งขันกันบนถนนกลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวันยามค่ำคืน เป็นเพื่อนล่องเรือยอร์ช ซึ่งเจ้าชายเจฟรีตั้งชื่อไว้อย่างอีโรติกว่า “Tits” (นม) “Nipple 1” และ “Nipple 2” (หัวนม 1 และ หัวนม 2) นอกจากนี้ในการจัดงานปาร์ตีของทั้งคู่ว่ากันว่ามีการจัดกิจกรรมที่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลามรวมอยู่ด้วย และยังถูกกล่าวหาว่าได้ส่งแมวมองไปทั่วโลกเพื่อหาหญิงงามมาเป็นนางบำเรอในฮาเรมของตน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“รูปปั้นเลนิน” สิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์ หลังการล่มสลายของรัฐคอมมิวนิสต์

มื่อวันที่ 17 มีนาคม 2016 ยูเครนได้รื้อถอนรูปปั้นเลนินหนึ่งในผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตในเมืองซาโปริเชีย (Zaporizhia) ซึ่งเป็นรูปปั้นที่สูงกว่า 20 เมตร และนับเป็นรูปปั้นสัมฤทธิ์ของเลนินที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยต้องใช้เวลาถึงสองวัน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางกฎหมายของยูเครนที่ประกาศใช้ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยกำหนดให้สัญลักษณ์ของโซเวียตกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หลังยูเครนและรัสเซียมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงจากวิกฤติการณ์ในไครเมีย ซึ่งนับแต่การผ่านกฎหมายดังกล่าว มีการรื้อถอนรูปปั้นเลนินในยูเครนแล้วเกือบพันแห่ง

วลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin) คือผู้นำการปฏิวัติบอลเชวิก (Bolshevik Revolution) และผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (Bolsheviks) ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นผู้นำของรัฐบาลโซเวียตซึ่งก่อตั้งตามอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ รูปปั้นของเขามีนับหมื่นแห่งทั่วโลกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอดีตรัฐโซเวียตและรัฐพันธมิตร ทำให้รูปปั้นของเขาเป็นดังสัญลักษณ์ของคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต

แต่หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต อดีตรัฐบริวารต่างปรับเปลี่ยนนโยบายหันหน้าเข้าหาตะวันตก และพากันรื้อถอนรูปปั้นเลนิน รวมไปถึงอนุสาวรีย์ของกองทัพแดงที่ถูกมองว่าเป็นเหมือนดั่งสัญลักษณ์ของจักรวรรดินิยมโซเวียต (และรัสเซียในฐานะรัฐต่อเนื่อง) ด้านตะวันตกเองก็พยายามขยายอิทธิพลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการทหารเข้าไปยังอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียตเหล่านี้ จนกลายเป็นความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่สงครามเย็นครั้งใหม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

เมื่อการบีบบังคับยิ่งทำให้กระแส “หนีทหาร” ในเกาหลีใต้ขยายตัว

ที่เขตปลอดทหารบริเวณชายแดนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทหารเกาหลีใต้สองนายถูกทหารเกาหลีเหนือศัตรูคู่แค้นจับเป็นตัวประกัน ขณะเดียวกันในห้องประชุมฝ่ายปฏิบัติการของเกาหลีใต้ ผู้นำกองทัพได้กล่าวหาว่าทหารเกาหลีเหนือกลุ่มนี้บุกรุกเข้าเขตปลอดทหารอันเป็นการละเมิดสัญญาสงบศึกด้วยหวังยั่วยุให้เกาหลีใต้เปิดฉากโจมตี ซึ่งจะทำให้เกาหลีเหนือเป็นฝ่ายได้เปรียบในการเจรจาหกฝ่าย (เกาหลีเหนือ-ใต้, จีน, สหรัฐฯ,รัสเซีย และญี่ปุ่น)

แต่แผนของเกาหลีเหนือต้องล้มเหลว ด้วยความสามารถของทหารหน้าตาดีสองนายจากทีมอัลฟาที่ปลดอาวุธอาสาเข้าไปเจรจาอย่างสันติกับฝ่ายเกาหลีเหนือ แต่ฝ่ายเกาหลีเหนือปฏิเสธทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องปะทะกันด้วยการต่อสู้ระยะประชิด ซึ่งสุดท้ายเป็นทหารจากหน่วยรบพิเศษเกาหลีใต้ที่พลิกสถานการณ์จากที่ต้องเสียเปรียบด้วยจำนวนคน สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้สำเร็จโดยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

อะไรเอ่ย…ดอกไม้บานในถ้ำ ฝนฮำปีละเถี่ย? : หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่ วัดโพนชัย กับปริศนาลายแทงแห่งเมืองด่านซ้าย(?)

ความนำ

ช่วงกลางเดือนกันยายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา หลายจังหวัดในประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากพายุราอี ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชุมชนลุ่มน้ำหมันในท้องที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย บ้านเรือนประชาชนและหน่วยงานราชการหลายแห่งถูกน้ำจากแม่น้ำหมันล้นตลิ่งไหลเอ่อท่วม พระสงฆ์สามเณรจากวัดโพนชัยซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญคู่เมืองด่านซ้าย ต้องนั่งเรือท้องแบนออกบิณฑบาต ถือเป็นภาพเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ชุมชนในหุบเขาได้มีโอกาสตักบาตรทางเรือ เมื่อเห็นภาพเหตุการณ์ฝนตกและน้ำท่วมเมืองด่านซ้ายครั้งนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงปริศนาคำทายพื้นบ้านของชาวด่านซ้าย ที่มีข้อความในคำทายเกี่ยวข้องกับฝนตกในรอบปี ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย ควรที่จะนำเสนอให้เป็นที่รับรู้และศึกษาตีความ และตอบปัญหาปริศนาคำทายดังกล่าว

ในบทความนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอปริศนาคำทายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองด่านซ้ายที่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาช้านาน ข้อความในคำทายเกี่ยวข้องกับฝนตก หลายคนเชื่อว่าเป็นลายแทงขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในบริเวณรอบองค์พระธาตุศรีสองรัก หรือในบริเวณเมืองด่านซ้าย แต่แท้จริงแล้วปริศนาคำทายดังกล่าวกลับเป็นเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีของชาวด่านซ้ายที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“บางคาง” “ประจิม” หรือ “ปราจิน” !? ที่มาชื่อเมือง “ปราจีนบุรี”

คำว่า “ปราจีน” เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า “มีในทิศตะวันออก” คำนี้เดิมเรียกว่า “ประจิม”หมายถึงทิศตะวันตก ตามศัพท์ “ปราจีนบุรี” จึงหมายถึงเมืองในทิศตะวันออก แต่หากใช้ชื่อว่า “ประจิม” จะหมายถึงเมืองในทิศตะวันตก จากการตรวจสอบเอกสารโบราณต่างๆ พบว่าในเอกสารโบราณของไทย เรียกชื่อเมืองปราจีนบุรีออกเป็น ๓ ชื่อ คือ ๑. เมืองบางคาง ๒. เมืองประจิม และ ๓. เมืองปราจีนบุรี

“เมืองบางคาง” ปรากฏในพงศาวดารละแวก ฉบับพระองค์เองแปลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรียกเมืองปราจีนบุรีว่า “เมืองบางคาง” ดังข้อความตอนหนึ่งว่า

“..พระเจ้าคำขัดมีเดชานุภาพ แลพระนครนั้นเคยขึ้นพระนครศรีอยุทธยาก็มิได้ไปอ่อนน้อม พระเจ้าคำขัดก็ยกกองทัพเข้ามาจะตีเอาพระนครศรีอยุทธยา ครั้นมาถึงคลองสะมัดไชย แล้วยกล่วงเข้าไปถึงด่านสำโรง แขวงเมืองจันทบูรร บางคาง กวาดได้ครัวอพยพเป็นอันมาก…” ๑

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ตีเกาะเคาะกะละมังไล่ราหูอมจันทร์ : ความเชื่อแต่โบราณ ราหูอมจันทร์เป็นลางร้าย?

จากปรากฏการณ์จันทรุปราคา หรือ ซูเปอร์มูนสีเลือดในทางดาราศาสตร์ที่นานๆ ที ปรากฏให้ได้ชมกัน ทางดาราศาสต์นั้นเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวของดวงจันทร์ มืด หรือจางลงในชั่วเวลาหนึ่ง ขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงาของโลก ซึ่งทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นดวงจันทร์เป็นสีค่อนข้างคล้ำออกแดง หรือน้ำตาล

คนไทยสมัยก่อนนั้นมีความเชื่อปรากฏการณ์ลักษณะนี้แตกต่างกันไปตามของท้องถิ่น ซึ่งความเชื่อนี้มีบางส่วนที่คล้ายๆ กันที่ีถือว่าเป็น “ลางบอกเหตุที่ไม่ดี”

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“พุทธศาสนา” บนเส้นทางสายแพรไหมจาก “อินเดีย” สู่ “จีนกลาง”

เชื่อกันว่าพระพุทธศาสนาจากอินเดียได้เผยแพร่เข้าสู่ลุ่มน้ำสินธุและเอเชียกลางในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชครองราชย์ (ปี ๒๖๙-๒๓๒ ก่อนคริสตกาล) โดยพระองค์ได้ส่งคณะพระธรรมทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในบริเวณแคว้นคันธาระทางตอนเหนือของปากีสถาน และแคว้นแคชเมียร์ จากแคว้นคันธาระ ในช่วงการแพร่ขยายอำนาจของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกทำให้ศาสนาพุทธได้หยุดชะงักการเผยแพร่ไปชั่วคราว

กระทั่งในสมัยคริสตกาล พุทธศาสนิกายมหายานจึงได้ข้ามผ่านเทือกเขาฮินดูกูช ประเทศอัฟกานิสถาน และที่ราบสูงคาราโครามเข้้าสู่ประเทศจีนที่เมืองคาชการ์ (KASH-GAR) ที่ได้นับถือพระพุทธศาสนามาจนถึงประมาณ ปี ค.ศ. ๙๐๐ จึงได้หันมานับถือศาสนาอิสลาม เพราะการขยายอำนาจของรัฐอิสลามจากเอเชียกลางในยุคนั้น)

จากเมืองคาชการ์ ศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้าประเทศจีนตามเส้นทางสายไหม ทั้งเส้นทางตอนเหนือ และตอนใต้ในเส้นทางตอนเหนือนั้นได้ปรากฏหลักฐานเป็นพุทธโบราณสถานกระจัดกระจาย ทั้งในรูปของถ้ำพระสหัสพุทธ (พันองค์) ที่เมืองคู่เชอ นับร้อยถ้ำ หรือจากสถูป และวัดวาอารามที่เมืองโบราณเกาชาง และเมืองโบราณเจียวเหอ ในเมืองทูหลู่ฟาน ส่วนเส้นทางตอนใต้ก็ได้ปรากฎอาณาจักรโบราณกลางที่ราบทาริม ที่เมืองโบราณเหอเถียน และโหลวหลานซึ่งนับถือศาสนาพุทธตั้งแต่สมัยต้นคริสตกาล มาจนถึงในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

สิงห์โตมาจากไหน เพราะเมืองไทยไม่มีสิงห์โต

มื่อถามว่า “เมืองไทยเมื่อก่อนมีสิงห์โตหรือเปล่า” หมอบุญส่ง เลขะกุล นายแพทย์นักนิยมไพรผู้มีชื่อเสียงของประเทศหัวเราะและตอบว่า

“เมืองไทยไม่มีสิงห์โตหรอกคุณ จะมีก็แต่สิงห์โตจีนเท่านั้น…อย่าว่าแต่เมืองไทยเราเลย ในภูมิภาคแถบอินโดจีน ตั้งแต่พม่ามาจนสุดแหลมมลายูก็ไม่มี ตามเกาะตามแก่งในจีนในญี่ปุ่น ก็ไม่มีทั้งนั้น สิงห์โตมันชอบอากาศร้อน แต่ไม่ใช่ร้อนชื้นอย่างบ้านเรา ต้องเป็นร้อนแห้งแล้ง จนถึงขั้นทะเลทรายฉะนั้นพื้นถิ่นเดิมของมันจึงอยู่ในอาฟริกาเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็คาบเกี่ยวมาถึงอินเดียแถบตะวันตกและตอนกลางของประเทศ” 

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ทำไมจึงเรียก “โลงมอญ” ว่า “โลงญี่ปุ่น”?

โลงมอญแท้แต่ชื่อโลงญี่ปุ่นชวนสงสัย สอบถามที่มาที่ไปจากชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญช่างฝืมือโลงมอญปากลัด (พระประแดง) ได้ความรู้ใหม่ล้วนน่าตื่นใจ 2 นัย 2 เหตุ พิเศษทั้งคู่

พระสิทธิพัฒนาทร (พระอาจารย์หมู) เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมวรวิหาร และรองเจ้าคณะอำเภอพระประแดง มือทำโลงมอญระดับพระกาฬเล่าว่า “โลงญี่ปุ่น” เป็นโลงศพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมอญปากลัด ไม่มีที่อื่น เป็นโลงทึบ 6 ด้าน เรียบง่าย ไม่มีลาย ไม่มีหน้าต่าง ไม่มีฝายอดปราสาท ใส่ศพสตรี ผู้เป็นภรรยาหรือบุตรธิดา ต่างจากโลงมอญที่มีฝายอดปราสาท เจาะหน้าต่าง ติดลวดลายหลากสีสวยงาม ประดับดอกไม้ไหว สำหรับใส่ศพบุรุษ หรือสามี ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว เพียงแต่ปัจจุบันมีการเพิ่มลวดลายบนตัวโลง ฝาโลง โดยเฉพาะผู้ตายในภาพแรกท่านนี้คือ ‘กิตติ บุลสถาพร’ ผู้อุทิศตนทำงานเพื่อชนชาติมอญมาโดยตลอด อีกทั้งเป็นที่รักของชาวมอญทั่วไป ทำให้พระอาจารย์หมูเพิ่มยอดปราสาทบนสุดให้เป็นกรณีพิเศษ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

การก่อสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 7 แม้มีอุปสรรค แต่ได้ระยะทางรวมกันกว่า 3 พันกม.

การคมนาคมในสยามยุคก่อนนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากอยู่พอสมควร ดังนั้นการพัฒนารูปแบบการเดินทางจึงมีความสำคัญไม่น้อย เมื่ออิทธิพลของตะวันตกแผ่ขยายมายังดินแดนในแถบเอเชียตะออกเฉียงใต้ สังคมสยามก็ก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เทคโนโลยี ความรู้ความคิดของผู้คนเปลี่ยนไปก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่ทำให้สังคมสยามเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง และ รถไฟ ก็เป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยในสมัยนั้นและได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งของการเดินทางแบบใหม่

คนไทยเห็นรถไฟครั้งแรกมาจากอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2389 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่เป็นเพียงรถไฟ “ของเล่น” เท่านั้น ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระราชินีอังกฤษได้ทรงจัดส่งรถไฟจำลองเข้ามาถวาย

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

เหยื่อ “บำเรอกาม” ทหารญี่ปุ่น ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพญี่ปุ่นได้จัดตั้งสถานบริการเพื่อปลอบขวัญทหารญี่ปุ่น (Comfort station) เกือบทุกแห่งที่ญี่ปุ่นเข้าครอบครอง โดยสถานบริการแห่งแรกภายใต้การดูแลของกองทัพทัพญี่ปุ่นเกิดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ระหว่างที่ญี่ปุ่นเข้าไปทำสงครามกับจีน (Hicks, ๑๙๙๕ : ๑๙) อาจกล่าวได้ว่า จีนเป็นประเทศที่กองทัพญี่ปุ่นจัดตั้งสถานบริการลักษณะนี้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถานดังกล่าวในไต้หวัน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย และพม่า เป็นต้น (Lifei and Zhiliang, ๑๙๙๘)

บทความเรื่อง Present Situation and Perspectives of the Researches of the Comfort Women Issue in Mainland China โดย Lifei and Zhiliang (๑๙๙๘) เสนอว่า สถานบริการลักษณะนี้แบ่งได้เป็น ๔ แบบ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“มอญขวาง”: ขวางหูขวางตา ขวางทัพ อุปนิสัยหรืออวัยวะ…! ที่ว่า “ขวาง”?

“มอญขวาง” เป็นคำที่คนไทยกล่าวถึงมอญ พูดกันมานานหนักหนา ที่พูดกันไปพูดกันมามีด้วยกัน 4 เหตุที่มา คือ

  1. คนมอญมีนิสัย “ขวาง” ใครพูดอะไรก็ขัดคอไปเสียหมด
  2. คนมอญ (ผู้หญิง) มีอวัยวะเพศ “ขวาง” ต่างจากคนชาติอื่น
  3. คนมอญทำหน้าที่กองอาทมาต ลาดตระเวน สืบข่าว และ “ขวาง” ทัพพม่าที่จะเข้าโจมตีไทยตลอดมาทุกยุคสมัย
  4. คนมอญนิยมปลูกบ้านเรือน “ขวาง” ลำน้ำ

“มอญขวาง” บ้างว่าเป็นนิสัยของคนมอญที่มักไม่ลงรอยกัน ทั้งกับคนมอญด้วยกันเองและกับคนชาติอื่น จะทำอะไรสักอย่างก็ขัดกันอยู่นั่นเอง ไม่รู้แล้ว (ออกแนวสมน้ำหน้า-ถึงได้เสียบ้านเสียเมืองไงล่ะ)

“มอญขวาง” อีกพวกหนึ่งตีความแนวลามกอนาจาร ทำนองว่าอวัยวะเพศของผู้หญิงมอญนั้น “ขวาง” คาดว่าเป็นเรื่องสนุกปากมากกว่าจะเป็นจริงเป็นจัง เพราะเป็นเรื่องที่ผิดหลักกายวิภาคศาสตร์ หากเป็นจริงคงได้ออกงานวัด เก็บเงินกันเพลินไป เรื่องผู้หญิงมอญขวางนี้เป็นเรื่องเล่าหนาหูแถบเมืองปทุมธานี เคยเป็นคดีถึงโรงถึงศาลกันมาแล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน เหตุจากสาวมอญสามโคกนางหนึ่งหน้าตาสะสวยเกล้าผมมวยสวมซิ่นเดินนวยนาดอยู่ในตลาดสามโคก หนุ่มไทยเห็นเข้าคันปากอยากจีบแต่ทะเล่อทะล่าล้อเลียนของสงวนของเธอเข้า หาว่าอวัยวะในร่มผ้าของเธอนั้นขวางผิดมนุษย์ เธอเกิดฉุนขาดขึ้นมาจึงเปิดท้าพิสูจน์ต่อหน้าธารกำนัล ผลก็คือหนุ่มไทยใจหายวาบไม่กล้ามอง แต่คนอื่นๆ มองและเห็นว่า “ไม่ขวาง” ที่สุดสาวมอญนางนั้นก็ต้องขึ้นโรงพักเสียค่าปรับ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ส่อง “ตำรานรลักษณ์” สาวมีไฝใต้นม-ที่ลับ ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย?

ตำราดูลักษณะคนมีอยู่แพร่หลายไปทั่วทั้งตะวันตกและตะวันออก แต่ตอนนี้ศาสตร์ที่ว่านี้ในตะวันตกได้ถูกมองว่าเป็น “วิทยาศาสตร์เทียม” และไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป ขณะที่ในตะวันออกวิชาดูลักษณะยังคงได้รับความนิยมอยู่

ที่ยังคงแพร่หลายในยุคนี้ก็คือวิชาดูโหงวเฮ้งของจีน ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างมากในเมืองไทย ขนาดที่ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ๆ ยังต้องจ้างซินแสมาให้คำปรึกษาในการคัดคนเข้าทำงานด้วย

ของไทยเองก็มีศาสตร์ทำนองนี้เหมือนกัน ซึ่งผู้เขียนต้องยอมรับว่า “ไม่รู้” ว่าไทยเราไปรับเอามาจากข้างไหน (หรือคิดค้นขึ้นเอง, มิตรรักผู้อ่านมีความรู้ก็ฝากแบ่งปันผ่านโซเชียลกันมาได้นะครับ) ตำราที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึงคือตำราที่ชื่อว่า “นรลักษณ์” หรือลักษณะของนารี ที่เคยถูกนำมาตีพิมพ์ใน นิตยสาร “บานไม่รู้โรย” ฉบับกรกฎาคม 2528 ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงเท่าใดนัก แต่ผู้เขียนก็อยากยกมาให้ท่านผู้อ่านได้ลองดูว่าคุณลักษณะที่ถูกอ้างถึงเหล่านี้ จะทำให้ผู้หญิงมีพฤติกรรมตรงตามที่เขาว่าหรือไม่ เช่น

1. หญิงใดมีหนวดเครา และมีขนหน้าแข้งเหมือนผู้ชาย เป็นหญิงอัปลักษณ์ ชอบทำลายทรัพย์สมบัติของผัว หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

2. หญิงใดมีสะโพกเอียง หรือเวลาเดินไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นหญิงอัปลักษณ์ หาผัวยาก หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

3. หญิงใดที่แก้มมีลักยิ้มบุ๋มทั้งสองข้าง เป็นหญิงหลายใจ รักง่ายหน่ายเร็ว หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

4. หญิงใดชอบนอนคว่ำนอนหงายเป็นประจำ เป็นหญิงที่ชอบนอกใจผัวไม่น่าไว้วางใจ หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

5. หญิงใดมีหลังมือหลังเท้านูนเหมือนหลังเต่า และมีนิ้วมือชิดสนิทกัน เป็นหญิงเจ้าทรัพย์ ใครได้เป็นเมียจะมีแต่ความสุขความเจริญ หญิงเช่นนี้ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ผู้เชี่ยวชาญอ้าง “อีฟ” ถูกสร้างจาก “กระดูกองคชาติของอดัม” ไม่ใช่กระดูกซี่โครง (?!!)

แต่ไหนแต่ไรมาใครๆ ที่พอจะคุ้นเคยกับตำนานการกำเนิดมนุษย์คู่แรกตามพระคัมภีร์เก่า ก็น่าจะจำได้ว่า พระเจ้าทรงสร้างผู้หญิงขึ้นมาจากกระดูกซี่โครงของอดัม มนุษย์คนแรกที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ดังความตามหนังสือปฐมกาลบทที่ 2 ตอนหนึ่งที่ระบุว่า

“พระเจ้าตรัสว่า ‘ไม่ควรที่ชายผู้นี้จะอยู่คนเดียว เราจะสร้างคู่อุปถัมภ์ที่สมกับเขาขึ้น’ พระเจ้าจึงทรงปั้นบรรดาสัตว์ในท้องทุ่งและนกในท้องฟ้าให้เกิดขึ้นจากดิน แล้วทรงนำมายังชายนั้น เพื่อดูว่า เขาจะเรียกชื่อมันว่าอะไร ชายนั้นตั้งชื่อสัตว์ทั้งปวงที่มีชีวิตว่าอย่างไร สัตว์นั้นก็มีชื่ออย่างนั้น ชายนั้นจึงตั้งชื่อบรรดาสัตว์ใช้งานและนกในอากาศและบรรดาสัตว์ป่า แต่ชายนั้นยังหามีคู่อุปถัมภ์ที่สมกับตนไม่ แล้วพระเจ้าจึงทรงกระทำให้ชายนั้นหลับสนิท ขณะที่เขาหลับสนิทอยู่ พระองค์ทรงชักกระดูกซี่โครงอันหนึ่งของเขาออกมา แล้วทำให้เนื้อติดกันเข้าแทนกระดูกอย่างเดิม ส่วนกระดูกซี่โครงที่พระเจ้าได้ทรงชักออกจากชายนั้น พระองค์ทรงสร้างให้เป็นหญิง แล้วทรงนำมาให้ชายนั้น

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

การพนันสมัยคุณปู่ ถึง “ลอตเตอรี่” สมัยปัจจุบัน

การพนันดั้งเดิมของคนไทยมีตั้งแต่ ชนไก่ กัดปลา แข่งเรือ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการพนันแปลกๆ เช่น เล่นเด็ดปลีกล้วย, แทงห่วง, กอบข้าวสาร แต่ไม่ทราบว่าเขาเล่นกันอย่างไร

หากการพนันที่คนไทยติดกันงอมแงมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นนำเข้ามาจากจีนมานั่นก็คือ ไพ่

คนไทยเรานิยมเล่นไพ่มาตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่พบว่ามีพระราชกำหนดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2337 ในรัชกาลที่ 1 มีคำว่า “ไพ่งา”

ท่านผู้รู้ภาษาจีนว่าคำไทยที่เรียกว่าไพ่นั้นน่าจะมาจากภาษาแต้จิ๋วว่า ไป๊ หรือไม่ก็ภาษากวางตุ้งว่า ผ่ายส่วนที่เรียกว่า ไพ่ผ่องนั้น คำว่าผ่อง นั้นบางท่านว่ามาจากภาษาแต้จิ๋ว พ้องไป๊  ภาษาแต้จิ๋วอ่านว่าผ่งแปลว่าพบ อย่างเช่นมีไพ่อย่างเดียวกันอยู่สองตัวแล้ว เมื่อพบอีกตัวหนึ่งก็จะร้องว่า ผ่ง แปลง่ายๆ ก็ว่าเจออีกตัวแล้ว แต่ไทยเรียกกลับเป็น ไพ่ผ่อง ซึ่งเข้าใจว่าการเล่นไพ่แบบนี้ได้กลายมาเป็นชื่อเรียกกันว่าไพ่ผ่อง หรือไพ่อตองตามวิธีที่เล่น

การเล่นไพ่ของคนไทยแพร่หลายมาก พวกขุนนางข้าราชการก็คงเล่นกันจนเป็นนิสัย เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอได้ทอดพระเนตรเห็นพวกมหาดเล็กเล่นไพ่บนดาดฟ้าเรือ ทรงขัดเคืองมีพระบรมราชโองการให้นำพวกเล่นไพ่ไปปล่อยไว้บนฝั่ง ส่วนหมื่นวิเศษเจ้าของไพ่ให้ลงพระราชอาญา 30 ที

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท