อนุทินล่าสุด


กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

เจ้านายรุ่นเยาว์ทรงเล่นเป็น “พระ”

นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอเล่นเป็นพระ สมมุติเป็นพระราชาคณะ,พระครูฐานานุกรมกันอย่างสนุกสนาน รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเล่น ถือเป็นพระราชนิยม กล่าวกันว่าทรงเล่นกันประจำ

การที่รัชกาลที่ 5 ทรงให้พระเจ้าลูกยาเธอเล่นเป็นพระ พระมหาปกรณ์ กิตฺติธโร ป.ธ.9 แห่งวัดชนะสงครามได้ให้ข้อวิเคราะห์เบื้องต้นว่า เพื่อให้ทรงเรียนรู้ศาสนพิธีแบบจริง โดยมีการสวดมนต์จริง ซึ่งพระเจ้าลูกยาเธอ ก็ต้องสวดมนต์ได้ก่อนจึงจะให้เล่น เป็นกุศโลบายให้เด็กๆ สวดมนต์ได้ด้วย

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/old-...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

เหยื่อ “บำเรอกาม” ทหารญี่ปุ่น ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพญี่ปุ่นได้จัดตั้งสถานบริการเพื่อปลอบขวัญทหารญี่ปุ่น (Comfort station) เกือบทุกแห่งที่ญี่ปุ่นเข้าครอบครอง โดยสถานบริการแห่งแรกภายใต้การดูแลของกองทัพทัพญี่ปุ่นเกิดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ระหว่างที่ญี่ปุ่นเข้าไปทำสงครามกับจีน (Hicks, ๑๙๙๕ : ๑๙) อาจกล่าวได้ว่า จีนเป็นประเทศที่กองทัพญี่ปุ่นจัดตั้งสถานบริการลักษณะนี้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถานดังกล่าวในไต้หวัน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย และพม่า เป็นต้น (Lifei and Zhiliang, ๑๙๙๘)

บทความเรื่อง Present Situation and Perspectives of the Researches of the Comfort Women Issue in Mainland China โดย Lifei and Zhiliang (๑๙๙๘) เสนอว่า สถานบริการลักษณะนี้แบ่งได้เป็น ๔ แบบ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

จดหมายเหตุฝรั่งระบุ “พระเจ้าตาก” ทรงทนทานแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งทรงกล้าหาญและพระปัญญาก็เฉียบแหลม มีพระนิสัยกล้าได้กล้าเสีย…

https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2016/06/Screen-Shot-2016-06-09-at-2.55.45-PM-208x300.png 208w, https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2016/06/Screen-Shot-2016-06-09-at-2.55.45-PM-292x420.png 292w" sizes="(max-width: 683px) 100vw, 683px" style="box-sizing: border-box; border: 0px; margin-bottom: 0px; display: block; width: auto;">
“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกู้ชาติ” วาดโดย สนั่น ศิลากรณ์ พิมพ์ครั้งแรกเป็นปกนิตยสารฟ้าเมืองไทย ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๘๗๕ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๘

 “…พระองค์ (พระเจ้าตาก) ทรงทนทานแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งทรงกล้าหาญและพระปัญญาก็เฉียบแหลม มีพระนิสัยกล้าได้กล้าเสียและพระทัยเร็ว ถ้าจะว่าก็เป็นทหารอันกล้าหาญคน ๑ ตั้งแต่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้เสด็จยกทัพไปปราบเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองไทรบุรีก็มายอมอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ พระเจ้าตากได้เสด็จไปตีเมืองคันเคาและเมืองป่าสักมาได้ และทางฝ่ายเขมรนั้นไม่มีใครคิดสู้พระองค์เลย…”

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/quot...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ผูกนิพานโลกีย์ : ตำรากามสูตรสัญชาติไทย

ราคงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการเสพสมพาสมีความหมายอย่างยิ่งในการธำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์มิให้สูญสิ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอารยธรรมตะวันออกนั้น การเสพสมพาสได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คือเป็นศิลปะในการร่วมรักด้วยท่วงท่าต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติกิจนั้นเกิดความสุขอย่างหฤหรรษ์ ตำราในลักษณะนี้ที่ขึ้นชื่อลือชาและรู้จักกันทั่วโลกคงไม่พ้น “ตำรากามสูตร” ของอินเดีย

https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2017/05/4-2-199x300.jpg 199w, https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2017/05/4-2-279x420.jpg 279w" sizes="(max-width: 328px) 100vw, 328px" style="box-sizing: border-box; border: 0px; margin-bottom: 0px; display: block;">
เชิงสังวาสเชิงขบขัน จิตรกรรมที่วัดหนองโนเหนือ จังหวัดสระบุรี

ในสังคมไทยนับแต่โบราณมา เรื่องการเสพสมพาสถือเป็นเรื่อง “บัดสีบัดเถลิง” ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึง (ในที่แจ้ง) ดังนั้นตำราในลักษณะนี้จึงมักไม่เกิดขึ้นได้ง่าย อย่างไรก็ตามในขณะที่สังคมปิดกั้นเรื่องดังกล่าว นิทานพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้านกลับบรรจุเรื่องราวเหล่านี้ไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะนิทานแนวตาเถรกับยายชี เพลงปฏิพากย์ต่างๆ ที่แสดงถึงการระบายออกเรื่องเพศของสังคม แต่ก็ยังไม่พบตำราหรือบันทึกใดๆ ที่กล่าวถึงการเสพสมพาสไว้อย่างชัดเจน การค้นพบวรรณกรรมที่เป็นตำราในลักษณะ “กามสูตร” ที่มีสัญชาติไทยเต็มร้อยครั้งนี้จึงนับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง

 อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

งานศึกษา “กระแสธารวรรณกรรมไทย” ในช่วง 2530-2553 ที่ไม่ควรพล

สำหรับผู้ที่สนใจในแวดวงวรรณกรรมไทย ทั้งผู้สนใจทั่วไป หรือ นักศึกษาที่สนใจด้านวรรณกรรม มีงานวิจัยอยู่เรื่องหนึ่งที่น่าสใน จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คมบาง โดยตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง “วิจักษ์วิจัย
สถานภาพการศึกษาวิจัยวรรณกรรมปัจจุบันของไทย ประเภทร้อยแก้ว พ.ศ.2530-2550″

เขียนโดย วิมลมาศ ปฤชากุล ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

เป็นรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศาสตราจารย์ดวงมน จิตร์จำนงค์ ชุด “สถานะและบทบาทของการวิจารณ์ในการศึกษาวรรณคดีไทย” สนับสนุนโดยสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2552-2553

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

โอลิมปิกของแท้ต้อง “แก้ผ้าเล่น”

การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ในปัจจุบันถือเป็นมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเปิดโอกาสให้กับนักกีฬาทั้งระดับอาชีพและสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีต้นกำเนิดจากการแข่งขันกีฬาเมื่อเกือบ 3 พันปีก่อนในอารยธรรมกรีกโบราณ ก่อนเลิกลาไป และมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19

การแข่งขัน “โอลิมปิก” โบราณจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี ที่โอลิมเปียทางตะวันตกของคาบสมุทรเพโลพอนเนสของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานที่คนละแห่งกับเขาโอลิมปุสซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ โดยการแข่งขันกีฬาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทศกาลบวงสรวงเทพเจ้าซุสเท่านั้น ซึ่งในที่อื่นๆ ก็มีการจัดการแข่งขันลักษณะคล้ายกัน เพื่อบวงสรวงเทพเจ้าองค์ต่างๆ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ไก่งวง ฝรั่งนิยมกินในวันขอบคุณพระเจ้า ที่อีสาน นิยม “ลาบ” สังสรรค์

เรื่องราวของสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ พบหลายลักษณะด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกแตกต่างกันออกไป อย่างไก่แจ้ ไก่อู ไก่ชน ไก่ต๊อก ไก่งวง ไก่คอล่อน ไก่เก้าชั่ง ไก่เบตง

แต่ละลักษณะที่พบอยู่ มีพันธุ์แยกย่อย เช่น ไก่ชน มีพันธุ์เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียวพาลี และอื่นๆ

ส่วนไก่งวง เป็นไก่ตัวใหญ่ มีลักษณะแตกต่างจากไก่ทั่วไป

ไก่งวง ภาษาอังกฤษคือ Turkey จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Meleagridinae สกุล Meleagris มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขนที่เห็นชัด แต่มีหนังย่นๆ และตุ่มคล้ายหูด…ขนหางมี ๒๘-๓๐ เส้น แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ลักษณะนิ้วตีนเหมือนกับไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือย ขนตามลำตัวเป็นเงา

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

12 กุมภาพันธ์ 1912 : จักรพรรดิผู่อี๋ (ปูยี) สละราชบัลลังก์

ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ประเทศจีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมอย่างหนัก ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1908 รัฐบาลชิงยิ่งอ่อนแอลงไปอีก เมื่อพระนางฉือซี (ซูสีไทเฮา) ผู้ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจอย่างยาวนานของจีนสวรรคต จากนั้นจึงมีการเปิดเผยว่า จักรพรรดิกวางซี่ว์ผู้ต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศซึ่งปกติมีสุขภาพดีก็เพิ่งเสด็จสวรรคตก่อนหน้าพระนางอย่างลึกลับไปแค่วันเดียว

ก่อนสวรรคต พระนางฉือซีได้ระบุให้เหลนของพระองค์คือเจ้าชายผู่อี๋(ปูยี) ผู้มีพระชนม์เพียง 3 พรรษา รับราชสมบัติต่อมาในนามจักรพรรดิซวนถ่ง ซึ่งการเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาของจักรพรรดิกวางซี่ว์ได้ทำลายโอกาสที่จีนจะเปลี่ยนไปปกครองในระบอบ “กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เนื่องจากบัลลังก์ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่หวงอำนาจทัดทานการปฏิรูป

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/this...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ผู้หญิง “ปลอบขวัญ – บำบัดความต้องการ”!? ผู้หญิงไทยยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีนับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีฐานทัพญี่ปุ่นมาตั้งอยู่ แน่นอนอยู่แล้วว่าการสงครามย่อมมีความเครียดและแรงกดดันมากมาย ภายใต้สงครามที่มีแรงกดดันทหารล้วนมีความต้องการปลดปล่อยเพื่อผ่อนคลายในสถานการณ์ตรึงเครียดไม่ว่าจะเป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์หรือการปลดปล่อยทางเพศซึ่งนับเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ต้องการ ขณะเดียวกันนั้นในสถานการณ์และสถานที่เสี่ยงเช่นนี้การปลดปล่อยจะออกมาในแบบไหนกัน?

“ผู้หญิงปลอบขวัญ” เป็นชื่อหนึ่งที่ถูกตั้งขึ้นให้ดูมีความไพเราะในช่วงยุคสงครามครั้งที่สอง ทว่าผู้หญิงกลุ่มนี้เป็นผู้หญิงที่ถูกเกณฑ์ไปเพื่อบำเรอกามให้เหล่าทหารญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อที่ดูดีเรียกได้ว่าเป็น “ผู้หญิงปลอบขวัญ” 

หากจะกล่าวถึงระหว่างที่ทหารญี่ปุ่นตั้งค่ายอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีนั้น ได้มีการจัดส่งผู้หญิงเพื่อปลอบขวัญทหารเช่นเดียวกับที่เกิดในประเทศอื่นๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้หญิงที่เกี่ยวข้องแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรก เป็นผู้หญิงต่างชาติที่กองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้จัดหาและติดตามกองทัพมาอยู่ในประเทศต่างๆ ซึ่งการเข้ามาในประเทศไทยพบว่า มีลักษณะหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าไป โดยมาอยู่คราวละ ๒-๓ เดือน ผู้หญิงเหล่านี้จะพักอยู่ในสถานที่ที่กองทัพญี่ปุ่นจัดหาไว้ให้ สถานที่ดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะที่เรียกว่าเป็น Comfort station ซึ่งมีการขายเครื่องดื่ม เปิดเพลงตลอดทั้งวันและทั้งคืน ผู้หญิงทั้งหมดพักอยู่ในสถานบริการแห่งนี้ และมีการจัดเวียนผู้หญิงออกไปบริการในค่ายอื่นๆ นอกตัวเมืองกาญจนบุรี

อ่นต่อได้ที ่https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ชะตากรรมเจ้าหญิงอยุธยาหลังกรุงแตก

หลังกรุงแตก พระราชวงศ์กรุงศรีอยุธยาที่ตกค้างอยู่ในพระราชวังหลวงจำนวนหนึ่งถูกพม่ากวาดต้อนไปรวมกันไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นฐานทัพใหญ่ของกองทัพพม่า รายงานในเอกสารพม่าแจ้งจำนวนพระราชวงศ์กรุงศรีอยุธยาไว้ประมาณ ๖๓ พระองค์ ที่เป็นระดับพระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา นอกจากนี้ยังมี พระสนม เจ้านายชั้นรองลงมาอีกกว่า ๒,๐๐๐ พระองค์

“พระสนมที่เปนเชื้อพระวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา รวม ๘๖๙ องค์ พระราชวงษานุวงษ์ชายหญิงของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยารวมทั้งสิ้น ๒๐๐๐ เศษ”

หากจำนวนที่กล่าวนี้เป็นจริง ก็นับได้ว่าเจ้านายพระราชวงศ์กรุงศรีอยุธยาน่าจะแทบสิ้นพระราชวงศ์เลยทีเดียว ซึ่งตัวเลขนี้ก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะการบันทึกครั้งนั้น ทำไว้ค่อนข้างละเอียด มีการกล่าวถึงพระนามของเจ้านายชั้นสูงไว้ถึง ๖๓ พระองค์ และเมื่อเทียบกับจำนวนเชลยสงครามทั้งหมดที่กองทัพพม่ากวาดต้อนไปได้ครั้งนั้นมากถึง ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคน

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“นาซีเยอรมัน” ต้นแบบการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกๆปีถือเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ตามมติขององค์การอนามัยโลก ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศนักสูบไม่สามารถสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะได้อีกต่อไป การจำหน่ายบุหรี่ในบางประเทศยังกำหนดให้ซองบุหรี่นอกจากจะต้องมีภาพที่น่ากลัวเพื่อให้นักสูบเห็นถึงอันตรายแล้ว ยังไม่อนุญาตให้แสดงเครื่องหมายการค้าอันเป็นเอกลักษณ์ของตน ซึ่งเป็นผลสำเร็จมาจากความพยายามในการรณรงค์อย่างต่อเนื่องของกลุ่มต่อต้านการสูบบุหรี่มานานหลายสิบปี

เมื่อผู้เขียนลองค้นหาข้อมูลย้อนกลับไปว่า ประเทศใดเป็นประเทศแรกๆที่นำนโยบายห้ามการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะมาบังคับใช้ คำตอบที่ได้ทำให้ผู้เขียนประหลาดใจเล็กน้อยในเบื้องต้นว่า ประเทศดังกล่าวคือ เยอรมนีในยุคของ “นาซี”

แต่เมื่อนึกดูอีกทีก็เข้าใจได้เพราะท่านผู้นำนาซี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นคนรักสุขภาพมาก รายงานของนิวยอร์กไทม์ระบุว่า ฮิตเลอร์เป็นคนที่ไม่สูบบุหรี่และไม่กินเหล้า และยังเป็นมังสวิรัติ (แม้จะมีนักประวัติศาสตร์บางคนทักท้วงว่า อย่างฮิตเลอร์ยังเรียกว่าเป็นมังสวิรัติไม่ได้เพราะเขายังคงกินเนื้อแปรรูปอย่างไส้กรอก แฮม รวมไปถึงคาเวียร์ในบางโอกาส)

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/this...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“มูฮัมหมัด อาลี” ชายคนหนึ่งซึ่งเคยทำทั้งเรื่องดีๆ และเรื่องที่ไม่น่าจดจำ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1964 แคสเชียส เคลย์ (Cassius Clay) นักมวยหนุ่มผิวดำอเมริกันอดีตแชมป์เหรียญทองโอลิมปิกที่กรุงโรมขึ้นสังเวียน ชิงแชมป์โลกรุ่นแฮฟวีเวตจากซอนนี ลิสตัน (Sonny Liston) เคลย์ถูกมองว่าเป็นรองเจ้าของแชมป์ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักสู้ที่ทรงพลังและน่า เกรงขามที่สุดในยุคของตนเอง แต่กลับเป็นเคลย์ที่ได้ชัยชนะหลังผ่านการชกไปได้ 6 ยก อย่างเหนือความคาดหมาย

หลังจากนั้น 2 วัน เขาทำให้ชาวสหรัฐฯ ในยุคที่ยังมีการแบ่งแยกสีผิวต้องตกตะลึงอีกครั้งด้วยการประกาศว่าเขายอมรับในคำสอนของกลุ่มชาติอิสลาม (Nation of Islam) กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองและศาสนาแนวเชื้อชาตินิยมผิวดำที่ถูกโจมตีว่าเป็นกลุ่มอุดมการณ์แบบคนดำเป็นใหญ่หัวรุนแรง ก่อนประกาศให้โลกเรียกเขาว่า “มูฮัมหมัด อาลี” เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ปีเดียวกัน

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“หัวนม” เป็นอันตรายต่อสังคมยิ่งกว่า “การใช้ความรุนแรง” หรือ “อาวุธปืน”

เมื่อวานนี้ (7 มิถุนายน) ผู้เขียนได้ลงบนความชิ้นหนึ่งลงในเพจเฟซบุ๊กของศิลปวัฒนธรรม แต่ไม่นานหลังจากนั้นเฟซบุ๊กก็ส่งข้อความมาหาระบุว่ารูปประกอบบทความดังกล่าว “ขัดต่อมาตรฐานทางสังคม” ของเฟซบุ๊ก

รูปที่ผู้เขียนใช้มาจากบทความที่ลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับ พฤษภาคม 2559 เป็นภาพของหญิงไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในภาพหน้าอกข้างหนึ่งของหญิงคนนี้มิได้มีผ้าปกปิด “หัวนม” ของเธอเอาไว้

เฟซบุ๊กรีบส่งข้อความมาหาผู้เขียนในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 3 ชั่วโมง นับแต่ผู้เขียนได้ลงรูปนี้ไป พร้อมกับระงับการเข้าถึงเพจศิลปวัฒนธรรมเอาไว้ชั่วคราวจนกว่าจะยืนยันว่า รูปทุกรูปที่มีในเพจศิลปวัฒนธรรมเป็นรูปที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคม (ของเฟซบุ๊ก) พร้อมรับปากว่าจะไม่ลงรูปลักษณะเช่นนี้อีก

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“โนราชาตรีภาคใต้” ไม่ได้มาจากอินเดีย

จากข้อมูลในหนังสือ ร้องรำ ทำเพลง : ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวว่า “โนรา” เป็นที่รู้จักแพร่หลายในชื่อ “ชาตรี” มาก่อนมีหลักฐานเก่าสุดปรากฏอยู่ในโคลงกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1) ว่า

๐ ชาตรีตลุบตุบทิ้ง       กลองโทน
รำสะบัดซัดสะเอวโอน   อ่อนแปล้
คนกรับรับขยันโยน      เสียงเยิ่น
ร้องเรื่องรถเสนแก้       ห่อขยุ้มยาโรย

ต่อมาจึงเรียก “มโนราชาตรี” แล้วกร่อนเหลือเพียง “โนรา” สืบจนทุกวันนี้ (สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้เล่ม 3:2529)

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

กลุ่มชนที่ถูกเรียกว่า “ข่า” ไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ข่า” คำเรียกอันมีความหมายในเชิงลบ

“…ชาวข่าไม่ได้เรียกตัวเองว่า ‘ข่า’ แต่เรียกตัวเองว่า ‘บรู’ แปลว่า ภูเขา หรือคนที่อยู่ในป่าใกล้เขา ตามลักษณะของชนชาติตนที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ คือ รักสงบ มีวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามป่าเขา ซึ่งคำว่า ข่า ที่คนไทยเรียกนั้น หมายถึง ข้า, ขี้ข้า หรือ ทาส จิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ว่า ‘ต้นกำเนิดเดิมของชื่อ ข่า เป็นภาษาลาว ไทยเรายืมชื่อนี้มาจากลาวใต้อีกทอดหนึ่ง มิใช่ชื่อที่ไทยคิดขึ้นเอง เพราะชนชาติข่าเป็นชนชาติของลาว ชื่อที่พวกลาวกลาง ลาวใต้ เรียกว่า ข่า นั้น พวกลาวเหนือ เรียกว่า ค้า ถ้าเทียบตามสำเนียงการเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์แล้วก็ตรงกับคำภาษาไทยสำเนียงภาคกลางว่า ข้า แต่เนื่องจากชนเผ่าข่าอยู่ในลาว ไทยรู้จักชนพวกนี้โดยผ่านลาวกลางและลาวใต้ ไทยจึงเรียกเลียนเสียงลาวว่า ข่า เพราะเมื่อรับคำนี้มานั้นมิได้คิดเทียบเสียงกลับและมิได้ตรวจสอบหาความหมายที่แท้จริงก่อน ดังนั้น คำว่า ข่า ในภาษาไทย ลาวกลาง ลาวใต้ จึงออกเสียงตรงกันหมดว่า ข่า แต่ความหมายและคำที่ถูกคือ ข้า’

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

อเล็กซานเดอร์มหาราชคือ “กษัตริย์ที่ชอบแต่งหญิง?”

วันนี้ (13 มิถุนายน) เมื่อปี 323 ก่อนคริสตกาลถูกบันทึกว่าเป็นสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย ผู้พิชิตจักรวรรดิเปอร์เซีย ก่อนพากองทัพของพระองค์รุกรานดินแดนตะวันออกไปไกลถึงอินเดีย

วันนี้ผู้เขียนจึงขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ในประเด็นเรื่อง “เพศสภาพ” ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่น้อยเมื่อครั้งที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษา เมื่อฮอลลีวูดได้หยิบยกเรื่องราวของพระองค์มาทำเป็นภาพยนตร์ รับบทโดย โคลิน ฟาร์เรลล์ พระเอกสุดเซ็กซี่ในยุคนั้น

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ในเวอร์ชันของฟาร์เรลล์ มักปรากฏกายด้วยกระโปรงสั้นสุดวาบหวิว และยังเป็นไบเซ็กชวล (bisexual) โดยมีเฮฟาเอสเชียน (Hephaestion) เป็นคู่รักเพศชายที่พระองค์เปรียบว่าเป็นดั่งเพโตรคลัส (Petroclus) สหายสุดสเน่หาของอคิลลิส (Achilles) เมื่อเฮฟาเอสเชียนยกย่องพระองค์ว่าเป็นดั่งวีรบุรุษในสงครามแห่งกรุงทรอยผู้นี้

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/this...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“300” ยอดนักรบ “ชายรักชาย” ในยุคกรีกโบราณ

สังคมกรีกโบราณเป็นสังคมที่ค่อนข้างเปิดกว้างต่อความสัมพันธ์ทางเพศรวมไปถึงกลุ่มชายรักชาย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติมากๆ เห็นได้จากบันทึกยุคคลาสสิคของกรีกหลายชิ้น ที่บรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้ชายไว้อย่างชื่นชม

วีรบุรุษของชาวกรีกโบราณอย่างเฮราคลีส (Heracles) หรือเฮอร์คิวลีส (Hercules) ตามชื่อในเทพปกรณัมโรมันก็มีพฤติกรรมที่คนยุคปัจจุบันเรียกว่าเป็นพวก “เสือไบ” (Bisexual) และหนึ่งในคู่ขาชายของเขาก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นหลานของตัวเองที่ชื่อว่า “ไอโอลอส” (Iolaus) นักบังคับม้าผู้เก่งกาจและคนสนิทของเฮราคลีส

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

พิจารณาถ้อยคำใน “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าหรือไม่?

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาข่าวในวงการศึกษาซึ่งเป็นที่สนใจเป็นอย่างมากคือข่าวที่ว่า ข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ม.6 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีการเฉลยข้อสอบผิดถึง 5 ข้อ

หนึ่งในข้อสอบที่เป็นปัญหาคือข้อ 63 ซึ่งถามว่า ข้อใดเป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกระหว่างไทยกับชาติตะวันตก โดยมีตัวเลือก 5 ข้อ คือ 1.สนธิสัญญาครอว์ฟอร์ด 2.สนธิสัญญาเบอร์นีย์ 3.สนธิสัญญาบรุค 4.สนธิสัญญาเบาว์ ริง 5.สนธิสัญญาปาวี ซึ่ง สทศ.เฉลยว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง

คำเฉลยดังกล่าวมีหลายคนออกมาทักท้วง โดยอ้างว่า คำตอบที่ถูกต้องน่าจะเป็น สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ซึ่งทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 มากกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริงซึ่งทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ร. 4 ทรงลองใจเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ว่าจะมักใหญ่ใฝ่สูงหวังเป็นกษัตริย์หรือไม่

“…ผู้คนเกรงท่าน [กรมขุนราชสีหวิกรม] แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คงจะมีอะไรที่ทรงเกรงอยู่บ้าง ทั้งที่ท่านเป็นที่ใกล้ชิดกับพระองค์ เพราะปรากฏว่าในปลายรัชสมัยได้ตรัสเรียกให้ท่านเข้าไปปฏิญาณพร้อมกับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หน้าพระแก้วมรกตว่าจะไม่แย่งราชบัลลังก์ เรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกไว้ใน ‘พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 ก่อนเสวยราชย์’ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเล่าพระราชทาน ดังนี้

‘ในปีเถาะ พ.ศ.2410 เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนกรมเจ้านายเนื่องในเหตุที่พระมหาอุปราชสวรรคตตามราชประเพณีซึ่งเคยมีมา

‘เจ้านายซึ่งโปรดให้เลื่อนกรมครั้งนั้นมี 5 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา เป็นกรมขุนบำราบปรปักษ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีหวิกรม สองพระองค์หลังนี้เป็นกรมขุนคงพระนามเดิม ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุระสังกาศ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเปลี่ยนพระนามกรมเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ ด้วยทรงพระราชดำริว่ากรมมเหศวรศิววิลาศ กรมวิษณุนาถนิภาธร พระชันษาไม่ยั่งยืน จะเป็นด้วยพระนามพ้องกับนามของพระเป็นเจ้าในไสยศาสตร์ จึงทรงเปลี่ยนพระนามกรมหมื่นพิฆเนศวรสุระสังกาศ เป็นกรมขุนพินิตประชานาถ

‘เวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้เลื่อนกรมเจ้านายครั้งนั้น เสด็จประทับที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อทรงสั่งแล้วมีพระราชดำรัสให้หาเจ้านายทั้ง 4 พระองค์นั้นเข้าไปเฝ้า ณ ที่รโหฐานตรงหน้าพระพุทธรูป แล้วมีพระราชดำรัสว่าจะทรงปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฎิมากรว่า เจ้านายซึ่งจะเป็นกรมขุน 4 พระองค์นี้ ถ้าใครได้ครองราชย์สมบัติต่อไปจะไม่ทรงรังเกียจเลย

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ความเป็นมาของกฎหมาย “ลิขสิทธิ์” และ “หลักสากล” ในกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย

“ลิขสิทธิ์” เป็นคำไทยที่ใช้แทนแนวคิดของฝรั่งซึ่งแปลมาจากคำว่า “Copyright” ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก “copia” คำละตินที่แปลว่า “ทำให้มากขึ้น” ในที่นี้ถูกใช้เพื่อสื่อถึงสิทธิในการทำซ้ำผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากสมองของมนุษย์ อันเป็นสิทธิที่หวงกันมิให้ผู้อื่นกระทำการใดๆอันเป็นการทำซ้ำ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งงานอันได้รับความคุ้มครองนั้นๆ

แนวคิดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ในเมืองไทย ตอนเด็กๆ ผู้เขียนจำได้ว่าเทปเพลงสากลแทบทั้งหมดที่วางขายกันล้วนเป็นเทปผีทั้งสิ้น จนกระทั่งถึงวัยประถมปลายเทปเพลงฝรั่งที่ถูกลิขสิทธิ์จึงจะมีขายอย่างแพร่หลายมากขึ้นด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายและคุณภาพที่ดีกว่า

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

โบรชัวร์ฝรั่งเศสชวนเที่ยวอินโดจีน “ยุคอาณานิคม” อ้างปลอดภัย ขอแค่ให้ระวังยุงกับงู

เอกสารชิ้นนี้เป็นเอกสารแนะนำการท่องเที่ยวในดินแดนอินโดจีน อาณานิคมของฝรั่งเศสในยุคนั้น เผยแพร่เป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) จัดทำขึ้นโดย Touring Club de France หรือสมาคมการท่องเที่ยวฝรั่งเศส

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“The Beatles” เกือบไม่รอด หลังปฏิเสธคำเชิญร่วมงานเลี้ยง “เมียท่านผู้นำ” ฟิลิปปินส์

ไปตายซะเดอะบีทเทิลส์” คือเสียงตะโกนของชาวฟิลิปปินส์เพื่อสาปส่ง 4 นักดนตรีจากอังกฤษที่ท่าอากาศยานขณะที่พวกเขากลับจะเดินทางออกจากฟิลิปปินส์หลังเสร็จสิ้นการแสดงคอนเสิร์ตสองรอบเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1966 ในกรุงมะนิลาซึ่งมีผู้เข้าชมรวมกันมากถึง 75,000 คน (New York Times)

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

อธิบายว่าด้วยเรื่อง “พระภรรยาเจ้า”

คำว่า ‘พระภรรยาเจ้า’ นั้นผู้เขียนไม่ได้บัญญัติขึ้นเอง แต่เป็นคำที่มีมาแต่เดิมแล้วในกฎมณเฑียรบาล ตามที่ปรากฏหลักฐานในงานพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมบทละคอนดึกดำบรรพ์ ฉบับบริบูรณ์ พร้อมด้วยเรื่องประวัติเจ้าคุณพระประยูรวงศ์และตำนานละคอนดึกดำบรรพ์ (พิมพ์เป็นมิตรพลีในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖) หน้า ๕๓-๕๔ ดังต่อไปนี้

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

มหาวิทยาลัยถูกด่า เมื่อพยายามสอนประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องว่า “อังกฤษคือผู้รุกราน”

มื่อวานนี้ (30 มีนาคม) บีบีซีไทยรายงานว่า มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) ในออสเตรเลียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หลังออกคู่มือแนะนำการใช้คำในงานเขียนวิชาการว่าด้วยชนพื้นเมืองและประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย โดยแนะนำให้นักศึกษาใช้คำว่า “รุกราน” เมื่อกล่าวถึงการที่กัปตันเจมส์ คุก ชาวอังกฤษ เดินทางมาถึงและเข้ายึดครองออสเตรเลีย แทนการใช้คำว่า “ค้นพบ” หรือ “ตั้งถิ่นฐาน” แบบที่เคยใช้กันมา

แต่เมื่อผู้เขียนอ่านคู่มือดังกล่าวแล้วพบว่า คำแนะนำเพียงบอกว่า คำใดที่เหมาะสมกว่าอีกคำ แต่ไม่ได้ระบุถึงขนาดที่ว่าจะต้องใช้คำๆนี้แทนคำอีกคำไปอย่างตายตัว

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ข้าวแช่ (เปิงสงกรานต์) ของชาวรามัญ กับวิธีการกว่าจะได้ข้าวแช่

“…ชาวรามัญเขาเรียกว่าทำบุญเปิงซงกราน คำว่าเปิงแปลว่าข้าว คำซงกรานต์คือสงกรานต์เรานี่เอง รวมความว่าข้าวสงกรานต์

คำว่าข้าวสงกรานต์นี้เป็นคำที่ใช้เรียกข้าวแช่ที่จะนำไปทำบุญที่วัด ข้าวสงกรานต์หรือเปิงซงกรานไม่เหมือนกับข้าวแช่ที่คนทำขายตามตลาด นี่กล่าวเฉพาะข้อแตกต่างในเรื่องพิธีรีตอง

ข้าวแช่ที่ทำขายไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมาก หุงข้าวตามธรรมดานี่เอง แต่ข้าวแช่ที่ทำสำหรับถวายพระในวันสงกรานต์นั้นพิธีมาก เท่าที่สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่เคยทำเปิงซงกรานกล่าวว่า

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท