อนุทินล่าสุด


กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ที่ดินที่ตั้ง “สถานทูตอังกฤษแห่งแรก” ในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4

อังกฤษกับไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่สมัยอยุธยา ความสัมพันธ์ช่วงหนึ่งขาดตอนไปช่วงหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตอนปลายสมัยอยุธยา และได้กลับมาเริ่มมีความสัมพันธ์กันใหม่สมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๒

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษที่เริ่มขึ้นเกิดจากความสัมพันธ์ทางการค้า ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ (ค.ศ. ๑๘๕๕) อังกฤษมีการส่ง เซอร์จอห์น เบาว์ริง อัครราชทูตของอังกฤษเชิญพระราชสาส์นมาเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับไทย ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเจรจาครั้งนี้มีการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์กันด้วย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” โดยมีการลงนามสนธิสัญญาต่อกันเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงมีความสำคัญอย่างหนึ่งคือการที่ไทยต้องยอมให้อังกฤษจัดตั้งสถานกงสุลเพื่อใช้เป็นสถานที่พิจารณาคดีคนในบังคับอังกฤษ โดยไม่ต้องขึ้นศาลไทย ในปี ๒๓๙๙ (ค.ศ. ๑๘๕๖) ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาแล้วรัฐบาลอังกฤษได้ส่งนาย ซี.บี. ฮิลเลียร์ (C.B.Hillier) มาเป็นกงสุลคนแรกและต้องหาสถานที่ก่อสร้างกงสุลขึ้น ซึ่งขณะนั้นในกรุงเทพฯ ยังมีการคมนาคมแบบอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นหลักยังไม่มีการตัดถนน จึงมีการเลือกที่ดินตั้งสถานกงสุลอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“แมนดาริน” คืออะไร? ทำไมเรียกภาษาจีนกลางว่า “แมนดาริน”

ภาษาจีนกลาง เป็นภาษากลางและภาษาราชการของประเทศจีน แต่ชาวตะวันตกเรียกว่า ภาษาแมนดาริน (Mandarin Language)

คำว่า “แมนดาริน” มาจากไหน? ทำไมชาวตะวันตกจึงเรียกภาษาจีนกลางว่า “ภาษาแมนดิน”?

อาจารย์ถาวร สิกขโกศล เคยเขียนอธิบายไว้ในบทความชื่อ “ภาษาจีน : เส้นทางสร้างชาติและวัฒนธรรม” นิตยสารศิลปวัฒนธรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ว่า

“แมนดาริน” มีรากเหง้ามาจากคำสันสกฤตว่า มนฺตฺริน (มันตริน) ภาษาบาลีว่า มนตรี แปลว่าขุนนาง ที่ปรึกษา โปรตุเกสรับคำนี้ผ่านภาษาฮินดีไปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ยุคพระสุริโยทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา) แล้วกลายเสียงเป็นแมนดาริน หมายถึงขุนนาง ต่อมาชาวตะวันตกใช้คำนี้เรียกขุนนางและภาษาราชการของจีน

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ผู้หญิง “ปลอบขวัญ – บำบัดความต้องการ”!? ผู้หญิงไทยยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

ป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีนับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีฐานทัพญี่ปุ่นมาตั้งอยู่ แน่นอนอยู่แล้วว่าการสงครามย่อมมีความเครียดและแรงกดดันมากมาย ภายใต้สงครามที่มีแรงกดดันทหารล้วนมีความต้องการปลดปล่อยเพื่อผ่อนคลายในสถานการณ์ตรึงเครียดไม่ว่าจะเป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์หรือการปลดปล่อยทางเพศซึ่งนับเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ต้องการ ขณะเดียวกันนั้นในสถานการณ์และสถานที่เสี่ยงเช่นนี้การปลดปล่อยจะออกมาในแบบไหนกัน?

“ผู้หญิงปลอบขวัญ” เป็นชื่อหนึ่งที่ถูกตั้งขึ้นให้ดูมีความไพเราะในช่วงยุคสงครามครั้งที่สอง ทว่าผู้หญิงกลุ่มนี้เป็นผู้หญิงที่ถูกเกณฑ์ไปเพื่อบำเรอกามให้เหล่าทหารญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อที่ดูดีเรียกได้ว่าเป็น “ผู้หญิงปลอบขวัญ” 

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

คนไทยโบราณเชื่อ “แมวดำคือแมวดี แมวอัปรีย์คือแมวขาว”

ผู้เขียนเป็นคนที่ชอบแมวมาก ขอให้เป็นแมวไม่ว่าจะสีอะไรก็ชอบหมด แต่ตอนเด็กๆ ผู้เขียนมักถูกผู้ใหญ่ทักไม่ให้ไปยุ่งกับ “แมวดำ” โดยอ้างว่า แมวดำคือ “แมวผี” ซึ่งมีอำนาจชั่วร้ายที่สามารถทำให้คนตายไปแล้วฟื้นขึ้นมาได้ หากว่ามันได้ไปกระโดดข้ามโลงศพของใครเข้า ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่กลับกัน ซากศพที่ถูกแมวดำกระโดดข้ามจะกลายเป็นผีร้ายที่มาพร้อมความอาฆาตพยาบาท

ถึงตอนนี้เมื่อนึกย้อนกลับไปก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนเฒ่าคนแก่เหล่านั้นเขาเชื่อกันอย่างนั้นจริงๆ หรือแค่ต้องการขู่ไม่ให้เด็กไปยุ่งกับแมวเพราะกลัวว่าจะกลายมาเป็นภาระของตัวเองหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ในหลายวัฒนธรรม แมวดำเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้แมวดำจรจัดเป็นแมวที่หาผู้รับเลี้ยงได้ยาก (บางประเทศไม่ยอมให้สัตว์เลี้ยงออกเพ่นพ่านในที่สาธารณะจึงถูกจับมาขังจนกว่าจะหาผู้รับเลี้ยงได้)

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“บัวคลี่” เหยื่อของการชิงดีชิงเด่นระหว่าง “พ่อ” กับ “ผัว”

จะว่าไปเรื่องของขุนช้าง-ขุนแผนนั้นก็ยังมีการถกเถียงเหมือนกันว่ามีที่มาที่ไปยังไง อย่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเชื่อว่าเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริง สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ขณะที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องจริงแต่เป็นเรื่องแต่งเพื่อยกย่องสมเด็จพระพันวษา ส่วนคริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร เชื่อว่า มีเค้าโครงของเรื่องจริงปรากฏอยู่ในส่วนที่เป็นเหตุการณ์ฆ่านางวันทอง

แต่ไม่ว่า เรื่องราวของขุนช้างขุนแผนจะเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องแต่งมากน้อยเพียงใด มันก็เป็นเครื่องสะท้อนสภาพสังคมที่เสภาเรื่องนี้ค่อยๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุคอยุธยามาจนถึงกรุงเทพฯ และน่าจะหนักไปทางกรุงเทพฯ มากกว่า หากอิงตามความเห็นของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่กล่าวว่า “เรื่องนี้ถูกใช้สำหรับขับเสภามาแต่ปลายอยุธยา แต่เรารู้โครงเรื่องและตัวอย่างเสภาจากอยุธยาน้อยมาก ขุนช้างขุนแผนฉบับที่เรารู้จักทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นฉบับที่ถูกชำระแล้วหรือยังไม่ถูกชำระ ล้วนเป็นงานสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น”

และตอนหนึ่งที่คงจะสะเทือนใจผู้อ่านหลายๆ คน คือตอนที่ ขุนแผนฆ่านางบัวคลี่ ก่อนควักลูกในไส้ออกมาทำกุมารทอง ซึ่งคนสมัยนี้ได้ฟังคงเห็นว่า ขุนแผนพระเอกในอุดมคติทำไมถึงอำมหิตได้ถึงขนาดนั้น และเชื่อว่า ผู้ฟังสมัยก่อนหากเป็นชาวพุทธ (ที่เคร่งครัด) ก็คงรู้สึกได้ไม่ต่างกัน (แต่หากเคร่งครัดเฉพาะเรื่องพิธีกรรม และชอบหาเหตุให้ละเว้นศีลได้เสมอ ก็คงไม่รู้สึกรู้สาอะไร)

แต่ก่อนจะไปถึงข้อสรุปนั้น เราน่าจะต้องไปดูถึงที่มาที่ไปของการสังหารบัวคลี่ของขุนแผนกันเสียหน่อย

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ทุ่ง ป่า และภู เพื่อล่าโพนช้าง ของสมเด็จพระนารายณ์

ผู้เขียนเป็นชาวลพบุรี คุ้นเคยกับวัง วัด และโบราณสถานที่นั่น ตลอดจนทุ่งนา ป่าเขาของเมืองแห่งประวัติศาสตร์นี้ค่อนข้างมากมาแต่ครั้งเรียนหนังสือชั้นมัธยม โบราณสถานชื่อฝรั่งฟังแปลกๆ เช่น ตึกพระเจ้าเหา วัดสันเปาโล ตึกปิจู้ และตึกโคระส่าน เป็นต้น รวมทั้งชื่อไทยๆ ที่ไม่คุ้นเคยอีกหลายชื่อ เช่น บ้านพระยาวิชาเยนทร์ ทิมดาบ ช่องกุด สะพานเรือก เพนียด ปากจั่น ทะเลชุบศร ทุ่งพุดซ้อน และประตูชัย ล้วนชวนให้สงสัย และความสงสัยในครั้งนั้นเป็นแรงหนุนส่งให้อ่านและค้นหาในเวลาต่อมา ก่อนจะเรียบเรียงขึ้นเป็นบทความนี้ หากมีข้อบกพร่องผิดพลาดและอาจทำให้รู้สึกขุ่นเคืองใจท่าน ต้องขออภัยและโปรดชี้แนะด้วยก็จะเป็นพระคุณ

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” คบไม่ได้ ?

บ่อยครั้งที่ได้ยินคำพังเพยที่ว่า “หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” เขาว่ากันว่าคบไม่ได้จริงหรือ?

“หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” ถูกนำมาสร้างเป็นนวนิยายเรื่อง ชายสามโบสถ์ ขึ้น และปรากฏในคำนำของไม้ เมืองเดิม ในการพิมพ์เรื่องชายสามโบสถ์ว่า

ผู้ใหญ่ท่านกล่าวว่า “ชายสามโบสถ์” เป็นผู้ที่ใครยากจะคบหาหรือคบไม่ได้เสียเลย ซึ่งก็เนื่องจากในสมัยที่กล่าวคำนั้น เมื่อผู้ใดได้เข้าวัดบวชเรียนเพราะสำนักศึกษาคงมีอยู่ตามวัดนั่นเองจึงเป็นผู้ฉลาดเฉลียว รู้ธรรมะสูงกว่าชาวบ้านสามัญ แต่หากการบวชบ่อยสึกบ่อยย่อมทำให้ผู้อื่นเล็งไปว่าเป็นคนเหลวไหล สิ้นหนทางสิ้นคิดที่จะเป็นฆราวาสก็จำเป็นต้องผินหน้าเข้าวัดเพื่อล้างชั่วหรือจ้องโอกาสและช่องทางที่จะบ่ายหน้าสู่เพศฆราวาสอีก และเป็นคำคู่กันไปกับ “หญิงสามผัว” ก็น่าจะมีความหมายเป็นทำนองเดียวกันว่า หญิงซึ่งมีเหย้าเรือนลูกผัวไปแล้วและมีอีกแลเลิกร้างกันไปอีก ก็ย่อมจะมีผู้เล็งเห็นว่าหากหญิงดีไหนเลยจะเกิดการเลิกร้างและได้เสียกันบ่อยอย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่งการมีสามีมากก็ย่อมจะรู้และชำนาญในเล่ห์ผัวเล่ห์เมียมากขึ้นพร้อมมารยาสาไถยตามส่วน

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“กอสซิป หรือ เรื่องจริง” พระเจ้าตากขอเป็น “ราชบุตรเขย” เฉียนหลงหว่างตี้


ประวัติศาสตร์เหตุการณ์ต่างๆ ของพระเจ้าตากล้วนได้รับความสนใจ เพราะแฝงเร้นไปด้วยมนต์เสน่ห์ของประวัติศาสตร์เรื่องจริง และเรื่อง “เล่า”

หนึ่งในเรื่องเล่าของพระเจ้าตากที่ยังคงความคลาสสิค คือเหตุการณ์ “ขอลูกสาวพระเจ้ากรุงปักกิ่ง” ซึ่งมักถูกนำมาโยงใยกับอาการ “วิปลาส” (หรือเปล่า) ของพระองค์ ว่านอกจากพระองค์จะทรงหมกมุ่นอยู่กับการเจริญพระกรรมฐาน ตัดสินลงโทษขุนนางและพระสงฆ์อย่างเด็ดขาดแล้ว พระองค์ยังทรงพระสติฟั่นเฟือนถึงขั้นส่งคณะราชทูตไปสู่ขอพระธิดาพระเจ้ากรุงปักกิ่งเลยทีเดียว

ปัจจุบันในแวดวงนักประวัติศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และสืบหาหลักฐานใหม่ๆ เพื่อพิสูจน์เหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นเรื่องจริง หรือเป็นแค่ “กอสซิป”

ล่าสุด นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 นำเสนอบทความของ กำพล จำปาพันธ์ ซึ่งเขียนถึงเหตุการณ์ครั้งพระเจ้าตากทรงส่งคณะทูตไปยังเมืองจีนเพื่อสู่ขอพระธิดาเฉียนหลงหว่างตี้ เจ้าเมืองปักกิ่ง โดยนำหลักฐานต่างๆ มาอธิบาย ในบทความชื่อว่า “การเมืองเรื่อง ‘กอสซิป’ เมื่อพระเจ้าตากขอเป็นราชบุตรเขยของเฉียนหลงหว่างตี้”

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

ควีนแมรีแห่งสก็อต (Queen Mary of Scots, Queen Mary of Scotland) หรือพระนามเดิมว่า แมรี สจวร์ต (Mary Stuart, Mary Stewart, Mary I of Scotland) ทรงเป็นรัชทายาทหนึ่งเดียวของคิงเจมส์ที่ 5 แห่งสก็อตแลนด์ พระองค์ขึ้นเป็นราชินีแห่งสก็อตแลนด์ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุเพียง 6 วัน (ค.ศ.1542-1567) หลังการสวรรคตของพระบิดา

พระมารดาของพระองค์ส่งพระองค์ไปอยู่ภายใต้การดูแลของคิงเฮนรีที่ 2 แห่งราชสำนักฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาพระองค์ทรงได้เป็นราชินีของฝรั่งเศสในฐานะพระชายาของคิงฟราซิสที่ 2 พระโอรสองค์โตของคิงเฮนรีด้วย แต่พระองค์ต้องทรงเป็นม่ายตั้งแต่พระชนมายุเพียง 18 พรรษา เมื่อคิงฟราซิสสวรรคตก่อนวัยอันควร

นอกจากนี้ควีนแมรีซึ่งเป็นคาทอลิกยังสืบสายเลือดของราชวงศ์ทิวดอร์ของอังกฤษผ่านทางพระอัยยิกาซึ่งเป็นพระขนิษฐาของคิงเฮนรีที่ 8 ผู้ตัดขาดจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก และคิงเฮนรีที่ 8 ยังเป็นพระราชบิดาของควีนเอลิซาเบ็ธที่ 1 การครองราชย์ของควีนอลิซาเบ็ธจึงทำให้ควีนแมรีมีสถานะเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งในบัลลังก์อังกฤษไปด้วย

แต่ชาวคาทอลิกหลายรายมองว่า ควีนแมรีคือผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งราชินีแห่งอังกฤษที่แท้จริง ยิ่งกว่าควีนเอลิซาเบ็ธ เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมรับการหย่าร้างระหว่างคิงเฮนรีและแคเธอรีนแห่งอารากอน ทำให้การสมรสในภายหลังของคิงเฮนรีกับแอนน์ โบลีน พระมารดาของควีนอลิซาเบ็ธตกเป็นโมฆะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท