อนุทิน 156765


กนกวรรณ เจริญสุข
เขียนเมื่อ

“บัวคลี่” เหยื่อของการชิงดีชิงเด่นระหว่าง “พ่อ” กับ “ผัว”

จะว่าไปเรื่องของขุนช้าง-ขุนแผนนั้นก็ยังมีการถกเถียงเหมือนกันว่ามีที่มาที่ไปยังไง อย่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเชื่อว่าเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริง สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ขณะที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องจริงแต่เป็นเรื่องแต่งเพื่อยกย่องสมเด็จพระพันวษา ส่วนคริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร เชื่อว่า มีเค้าโครงของเรื่องจริงปรากฏอยู่ในส่วนที่เป็นเหตุการณ์ฆ่านางวันทอง

แต่ไม่ว่า เรื่องราวของขุนช้างขุนแผนจะเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องแต่งมากน้อยเพียงใด มันก็เป็นเครื่องสะท้อนสภาพสังคมที่เสภาเรื่องนี้ค่อยๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุคอยุธยามาจนถึงกรุงเทพฯ และน่าจะหนักไปทางกรุงเทพฯ มากกว่า หากอิงตามความเห็นของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่กล่าวว่า “เรื่องนี้ถูกใช้สำหรับขับเสภามาแต่ปลายอยุธยา แต่เรารู้โครงเรื่องและตัวอย่างเสภาจากอยุธยาน้อยมาก ขุนช้างขุนแผนฉบับที่เรารู้จักทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นฉบับที่ถูกชำระแล้วหรือยังไม่ถูกชำระ ล้วนเป็นงานสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น”

และตอนหนึ่งที่คงจะสะเทือนใจผู้อ่านหลายๆ คน คือตอนที่ ขุนแผนฆ่านางบัวคลี่ ก่อนควักลูกในไส้ออกมาทำกุมารทอง ซึ่งคนสมัยนี้ได้ฟังคงเห็นว่า ขุนแผนพระเอกในอุดมคติทำไมถึงอำมหิตได้ถึงขนาดนั้น และเชื่อว่า ผู้ฟังสมัยก่อนหากเป็นชาวพุทธ (ที่เคร่งครัด) ก็คงรู้สึกได้ไม่ต่างกัน (แต่หากเคร่งครัดเฉพาะเรื่องพิธีกรรม และชอบหาเหตุให้ละเว้นศีลได้เสมอ ก็คงไม่รู้สึกรู้สาอะไร)

แต่ก่อนจะไปถึงข้อสรุปนั้น เราน่าจะต้องไปดูถึงที่มาที่ไปของการสังหารบัวคลี่ของขุนแผนกันเสียหน่อย

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท