ดอกไม้


พรทิพย์ โคกทอง
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ 102321

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชานี้

-ได้รู้จักรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอนแบบต่างที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหารายวิชา ได้ฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนและมีการสอบปฏิบัติการสอนจริงทำให้เราทราบถึงข้อบกพร่องของตนเอง และยังได้รู้ถึงการจัดการชั้นเรียนที่ดีจะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลักว่าสามารถแสวงหาความรู้ได้มากเพียงใด ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีการเน้นในเรื่องที่คือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ครูทำหน้าที่เป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียนการสอนและ/หรือผู้สอนในรายวิชานี้

-ความรู้สึกที่มีต่อผู้สอน ในการเข้าสอนแต่ละครั้งฉันจะเห็นอาจารย์สะพายกระเป๋ามาหลายในทั้งโน้ตบุ๊คและสิ่งต่างที่ใช้ในการเรียนการสอนแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการสอน การเรียนรายวิชานี้นั้นเรียนในคาบบ่ายซึ่งฉันนั้นทั้งง่วงทั้งเหนื่อยแต่พออาจารย์เดินเข้ามาในห้องยิ้มแย้มทักทายแบบเป็นกันเองทำให้อยากเรียนและตั้งใจเรียนมากขึ้น อาจารย์จะจัดกิจกรรมการเรียนในห้องเป็นประจำ เช่น ให้นั่งเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้หรือความคิดเห็น นำเสนองานหน้าชั้นเรียนเป็นต้น และบรรยากาศในการเรียนนั้นก็ไม่กดดันเกินไป เพราะอาจารย์จะพูด ถามความคิดเห็นพร้อมด้วยรอยยิ้มของอาจารย์

3.สิ่งที่ตนเองต้องปรับปรุงหรือพัฒนา

- สิ่งที่ควรพัฒนาคือ การกล้าที่จะแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการแสดงออกหน้าชั้นเรียนควรมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น

6
1
ลลิตา
เขียนเมื่อ

นางสาวลลิตา ยิ่งแก้ว รหัส 5780107116 ปีที่ 3

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.docx

24
8
ลลิตา
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกการเรียนรายวิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ 102321

ครูผู้สอน อาจารย์สิริรัตน์ นาคิน

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้คือ การออกแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รู้จักเทคนิคการสอนและรูปแบบการสอนต่างๆที่มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง ได้รับความรู้เรื่องการเขียนแผนที่ดี องค์ประกอบของแผน ทำให้สามารถเขียนแผนได้อย่างถูกต้อง และสามารถสาธิตการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ในเรื่องการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงในด้านการจัดการชั้นเรียนของครูที่เปลี่ยนมาเป็นผู้ให้คำชี้แนะ คำปรึกษาต่อผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่ม การจัดสภาพห้องเรียนที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ครูควรพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาโดยศึกษาค้นคว้าความรู้อยู่เสมอ

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจ/ที่มีต่อการเรียน และ/หรือผู้สอนในรายวิชา

วันแรกที่เจออาจารย์รู้สึกว่าวิชานี้ยาก เพราะต้องออกแบบการสอนและได้สอนจริง หลังจากได้เรียนมาเรื่อยๆก็รู้สึกว่าไม่ยากอย่างที่คิด อาจารย์สอนได้เข้าใจมีกิจกรรมให้ทำระหว่างที่เรียน โดยกิจกรรมนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้จริง และช่วยให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเองภายในกลุ่ม ได้ทำงานกับเพื่อนๆที่อยู่กลุ่มอื่น แลกเปลี่ยนความคิดจนทำให้งานประสบผลสำเร็จ อาจารย์เข้าใจผู้เรียนถึงแม้ตอบผิดก็ไม่ว่าและยังให้ความรู้ที่ถูกต้อง ประทับใจมากค่ะ

3.สิ่งที่ต้องปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้น

- ควรปรับปรุงเรื่องความมั่นใจให้มีมากกว่านี้ ทั้งการสาธิตการสอนและการตอบคำถามอาจารย์

- ปรับปรุงในเรื่องความขยันในการทบทวนเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ

- พัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่เสมอ

9
3
ภาวนา รัตนศาลาแสง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย โดยความรู้จะไม่จำกัดอยู่แต่ภายในห้องเรียน ในอดีตนักเรียนใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆเพื่อรับเกรดและเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันนั้นแตกต่างกันออกไปเพราะในปัจจุบันการเรียนการสอนจะช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่ยืดหยุ่นมีการกระตุ้นและจูงใจผู้เรียน

ครูในศตวรรษที่ 21 คือ ครูที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางอินเทอร์เนต สามารถผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนได้หลากหลาย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ครูมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะฝึกให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการสืบค้าข้อมูลในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้จริงเพราะการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเองจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

นักเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นผู้ที่มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้ พยายามแสวงหาความรู้ ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ สามารถเล่นกีฬาและดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชนิด พร้อมเผชิญปัญหาและสามารถเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

การวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21 เป็นการวัดผลแบบ Constructivist assessment ซึ่งมักเรียกว่า การวัดผลเชิงประจักษ์ ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ โดยการเรียนการสอนและการวัดผลจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน การประเมนผลจะไม่เป็นเพียงแต่การทดสอบเท่านั้นแต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียนและมุมมองของนักเรียนด้วย ตัวอย่างการประเมิน เช่น การอภิปรายปากเปล่า แผนภูมิความคิด การลงมือทำ

การประเมินผลในศตวรรษที่ 21

1. สร้างความสมดุลในการประเมินผล

2. การนำผลการประเมินมาพัฒนา

3. การใช้เทคโนโลยีในการวัดผล

4. การประเมินตามสภาพจริง



20
4
ภัทราภรณ์ แกมจินดา
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.docx
นางสาวภัทราภรณ์ แกมจินดา
ค.บ.ภาษาไทย ปี 3 หมู่ 1
5780107113

31
10
พัชธิดา รักษาอินทร์
เขียนเมื่อ
29
7
กฤติกา เนตรพลกลาง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล

ดังนั้น การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21

แหล่งที่มา : www.sk1edu.go.th/dta/8939การศึกษาในทศวรรษที่%2021.docx


13
3
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท