อนุทินล่าสุด


วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึก(After Action Review)/Reflection

เรื่อง การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

 1. สิงที่คาดหวัง

ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. สิ่งที่ได้รับจาการอบรม

จากการศึกษาวิเคราะห์ภาพลักษณ์ที่สำคัญคือเด็กไทยยุคนี้ต้องเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และ พลโลกที่มีคุณภาพมีทักษะสำคัญที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันอย่างมีความสุข ด้วยความมีคุณธรรม และจริยธรรม และกลุ่ม 4R : เมื่อมีการจัดกลุ่มย่อยแบ่งเป็น 3 ทักษะ หลักที่ควรเน้น คือ

1.1Literacy การรู้หนังสือคือ ความสามารถอ่านอย่างเข้าใจและเขียนอย่างมีคุณภาพ การเขียนบทความ โครงงาน รายงานวิชาการตลอดจนการนำเสนอด้วยวาจา

1.2 Numeracy การรู้เรื่องจำนวน คือทักษะ การใช้ตัวเลข ด้านความน่าจะเป็น สถิติ ทักษะการชั่ง วัด ตวง รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงประมาณ

1.3 Reasoning การใช้เห็นผลคือความสามารถในการอุปนัย นิรนัย การให้คำตอบแบบคาดคะเน การอุปมา อุปมัย และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม

ลักษณะครูไทยและเด็กไทยที่พึงประสงค์ในยุคที่ 21

ทักษะเพื่อการเป็นครูมืออาชีพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ครูต้องมีทักษะ 7C ทักษะทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

1. C₁: Curriculum development การพัฒนาหลักสูตร ครูต้องออกแบบสร้างหลักสูตรรายวิชา ทั้งรายวิชาพื้นฐานและ รายวิชาเพิ่มเติม ครูต้องเขียนแผนจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นสำคัญสามารถเน้นได้ทั้งครูและเด็กเป็นศูนย์กลางโดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งแหล่งเรียนรู้

2. C₂: Child-Centered approach การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง

3. C₃: Classroom Innovation implementation การนำนวัตกรรมไปใช้

4 C₄: Classroom authentic assessment การปะเมินตามสภาพจริง

5. C₅: Classroom action research การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

6. C₆: Classroom management การจัดการชั้นเรียน

7. C₇: Character enhancement การเสริมสร้างทักษะ

การพัฒนาครูในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นการพัฒนาทักษะ 7C ครูต้องมีจิตวิญญาณครู มีคุณธรรมจรรยาบรรณครู หรือเรียกว่า ความเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม หรือเป็น Ethics Character และทักษะสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครูยุคใหม่ เพื่อสร้างเด็กยุคใหม่เป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ครูต้องเป็นผู้มีสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์ หรือเป็น Electronics person

ลักษณะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 =E₁xE₂ (CIAC)

E₁ = Ethics Character ความเป็นคนทีมีจริยธรรม

E₂ = Electronics person ความเป็นทีมีสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์

C = Curriculum Competency สมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตร

I = Instructional Competency สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน

A = Assessment Competency สมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้สู่

การทำวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียน

C = Classroom Management Competency สมรรถนะด้านการจัดการ

ชั้นเรียนเพื่อบรรยากาศเชิงบวก

กลยุทธ์การเรียนการสอนที่ใช้เสริมสร้างผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  • 1.วิธีการสอน สอนแบบสืบสอบ สอนแบบโครงงาน สอนแบบอุปนัย
  • 2.รูปแบบการสอน เช่น CIPPA
  • 3.แนวการสอน เช่น เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง โครงงานเป็นฐาน ใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น
  • 4.เทคนิคการสอน เช่น การใช้คำถาม รูปแบบร่วมมือ การเสริมสร้างพหุปัญญา เป็นต้น

การสอนเป็นศาสตร์และศิลป์ เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของคนแต่ละคนในกาถ่ายทอดความรู้ผู้สอนรู้วิธีการถ่ายทอด มีความรู้ รู้เทคนิคการถ่ายทอด ผู้สอนใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสนใจเรียน นั่นคือศิลปะทางการสอน เช่นการถ่ายทอดโดยน้ำเสียงท่าทาง ภาษา หรือการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนและบรรยากาศทางจิตใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  • 3. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตการทำงาน

สามารถนำมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก่อนการออกแบบการเรียนการสอนครูต้องวิเคราะห์ผู้เรียน โดยใช้เทคนิคที่หลากหลายในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึกอนุทิน เรื่อง Knowledge Management (KM)

วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1. ความคาดหวังที่จะได้รับ

การใช้ KM ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

คนเราจะเกิดความรู้ได้จะต้องมีการแสวงหา มีการสังเกต มีการจดจำมีการจดบันทึกแล้วนำความรู้นั้นมาจัดระบบของความรู้ให้เป็นขั้นตอนแล้วผสมผสานเกิดเป็นความรู้และปัญญา ดังเช่น Hideo Yamazaki ได้จัดความรู้ไว้ดังนี้

Wisdom
Knowledgee
Information
Data

KM หมายถึง กระบวนการนำความรู้ประสบการณ์ที่มีอยู่หรือที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ประโยชน์สูงสุด ความรู้ที่อยู่ในตัวของคนเรานั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. Tacit Knowledge คือ ความรู้เดิมที่อยู่ในตัวบุคคล

2. Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่ได้จากภายนอก ประสบการณ์ ทักษะต่างที่เราได้รับจากภายนอก

ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ของ KM คือ การนำความรู้ที่ได้จากภายนอก ประสบการณ์ ทักษะต่างที่เราได้รับมาผสมผสานกับความรู้เดิมที่เรามีอยู่แล้วทำให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้นสามารถที่จะนำไปต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้ ซึ่งเราจะนำ KM ไปใช้โดยกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

1. การสร้าง

2. การรวบรวม

3. การจัดเก็บ

4. การแลกเปลี่ยน

5. การนำไปใช้

สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่จะ KM ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมแห่งการเรียนรู้พัฒนาองค์การต่อไป

3. การนำความรู้ไปใช้

การนำ KM ไปใช้ประโยชน์ คือ การนำเอาความรู้จากบุคคลที่ได้ถ่ายทอดไม่ว่าการอ่าน การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น มาผสมผสานความรู้เดิมของเราที่มีอยู่แล้วทำให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาหน่วยงานหรืออค์การของเราให้มีความเข้มแข็ง หรือมีความก้าวหน้าทันยุคทันสมัยก้าวทันวิถีชีวิตปัจจุบันได้ เช่น ความเรื่องการอ่านทำนองเสนาะอย่างไรให้ไพเราะ จะออกเสียงอย่างไร เอื้นเสียง กันเสียง หรือทอดเสียงอย่างไร ให้เกิดความรู้สึกหรือจินตนาการของผู้ฟังให้มากที่สุด ซึ่งความรู้นี้สามารถถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจได้ โดยทางลายลักษณ์อักษร หรือทางสื่อเทคโนโลยีต่างที่สามมารถเผยแพร่ให้คนได้ศึกษาเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ต่อไปได้

4.บรรยากาศในห้องเรียน

การอธิบายของอาจารย์มีความชัดเจน มีการยกตัวอย่างทำให้เข้าใจเนื้อหาและมีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่ยังไม่เข้าใจทุกคนในห้องเรียนให้ความสนใจตลอดเวลา  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึกอนุทิน วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1.สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

การเรียนวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อต้องการวิธีการในการจัดองค์ความรู้ขององค์กรให้เป็นระบบ แนวทางการจัดการองค์ความรู้ที่อยู่ในองค์กรณ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ในลักษณะต่างๆของบุคคลในองค์กรณ์

2. ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้

สังคมแห่งการเรียนรู้ คือ ลักษณะของหน่วยงานหรือชุมชนที่ดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน เกี่ยวกับเรื่องอนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ป้องกัน คุ้มครอง พิทักษ์ ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ และปลูกจิตสำนึกให้แก่สมาชิกให้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผ่านผู้รู้ สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจากองค์ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งทำให้สมาชิกสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะและมีระบบการจัดการความรู้ที่ดี รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งภายในและภายนอกกลุ่มสมาชิก ตลอดจนสามารถใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพของหน่วยงานหรือชุมชนนั้น

การสร้างบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้นต้องมีลักษณะดังนี้

1. ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้

2. ใฝ่รู้ในการเรียนรู้ สร้างกระบวนการเรียนนรู้ด้วยตนเอง

3. มีโอกาสและเลือกที่จะเรียนรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง

4. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา

การที่จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้นั้น ทุกคนจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในสังคม มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในสังคม มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ รับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา มีความรู้ความสามารถในด้านการใช้เทคโนโลยี เข้าถึงระบบเครือข่ายสารสนเทศที่ทันสมัยเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและที่สำคัญจะต้องมีทักษะด้านการคิด วิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

3. การนำความรู้ไปใช้

สามารถที่จะนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรณ์มาจัดระบบและเผยแพร่องค์ความรู้เหล่านั้นให้ผู้อื่นได้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆเช่น การเผยแพร่ผ่านสืออิเล็กทรอนิคส์ เว็ปไซต์ ที่ผู้สนใจสามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านั้นได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
Stoly Telling วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1. เทคนิคที่ทำให้จำได้

การเรียนวิชาภาษาไทยนักเรียนส่วนใหญ่มองว่าเป็นวิชาที่เข้าใจยากไม่รู้ว่าอะไรคือคำเป็น คำตาย คำซ้ำ คำซ้อน และเบื่อที่ต้องท่องบทอาขยาน และทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่อยากเรียน โดยเฉพาะการท่องบทอาขยานที่ครูพาท่องและต้องท่องสอบเอาคะแนน ต้องใช้ระยะเวลาเป็นภาคเรียนในการสอบท่องจำบทอาขยานแต่ละครั้งกว่านักเรียนจะมาท่องได้ ซึ่งทำให้เกิดปัญหากับครูผู้สอนและตัวนักเรียนด้วย

2. วิธีการที่จะทำให้เด็กจำได้

วิธีการช่วยจำของนักเรียนทำได้โดยการอธิบายให้เด็กเข้าใจก่อนว่าบทอาขยานนั้นมีความสำคัญอย่างไร เพราะเหตุใดเราต้องท่อง เมื่อเด็กเข้าใจแล้วก็จะเห็นความสำคัญของบทอาขยาน หลังจากนั้นครูก็พานักเรียนท่องก่อน 1-2 รอบ แล้วให้นักเรียนท่องเอง วันแรกๆ นักเรียนก็ท่องไม่ค่อยได้เพราะจำทำนองไม่ได้ ครูก็พาท่องทุกวันก่อนเรียนวันละ 1 รอบ ทำอย่างนี้ทุกคาบเรียน จนนักเรียนจำได้และเข้าใจว่าเวลาเรียนภาษาไทยก่อนอื่นต้องท่องบทอขายานก่อนแล้วถึงจะเรียนและที่สำคัญที่สุดผลที่ได้จากการทำบ่อยๆ ซ้ำ ๆ ทำให้นักเรียนนั้นจำทำนองได้ขึ้นใจและนักเรียนจากที่เคยให้เวลาเป็นภาคเรียนก็มาท่องบทอขยานเร็วขึ้นเพราะเขาจำได้และเข้าใจ และยังมีเหตุผลการให้คะแนนเป็นการวางเงื่อนไขว่าในการที่นักเรีนมาท่องบทอขยายนั้นจะต้องมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ถ้านักเรียนมาท่องภายในระยะเวลาที่กำหนดจะได้คะแนนเต็ม 10 แต่ครูต้องดูความถูกต้องของการท่องบทอขยายด้วย และถ้านักเรียนมาท่องหลังระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้คะแนนเต็มลดหลั่นกันลงไป จากเต็ม 10 ก็เหลือ 9 , 8 , 7 ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะใช้คะแนนเป็นตัวช่วยในการให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นในการมาท่องบทอาขยานเร็วขึ้นด้วย

ดังนั้น วิธีที่เด็กได้ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ หรือทำซ้ำเป็นประจำจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะมองว่าเป็นวิธีที่ง่ายแต่ก็ใช้ได้ผลดีกับผู้เรียน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึก(After Action Review)/Reflection วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1. ความคาดหวังที่จะได้รับ

( Learning Organization : LO ) มีความสำคัญอย่างไรกับการจัดการเรียนการสอน มีแนวทางในการสร้างองค์ความรู้อย่างไร

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO ) ผู้บริหารที่ดี ต้องรู้จักส่งเสริม การเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร ให้องค์กรของตนเกิดเป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” เพราะ “การเรียนรู้” จะก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่ มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) หลุดพ้นจากความคิดที่คับแคบ เชื่อมโยงกับโลกความจริง ความสุข (Instant Happiness) ลักษณะของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) คือการขยายความรู้ระดับต่างไปยัง บุคคล ระดับกลุ่ม ระดับองค์กร

เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีการกระจายการบริหารไปยังส่วนต่าง ๆ ลักษณะของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) จะต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสม มีวัฒนธรรมเรียนรู้ในองค์กร การเพิ่มอำนาจในการปฏิบัติงาน ต้องมีการตรวจสอบ ทุกคนต้องมีส่วนสร้างและถ่ายโอนความรู้ ใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุน เน้นความมีกลยุทธ์ มีบรรยากาศที่เกื้อหนุน ทำงานเป็นทีม มีวิสัยทัศน์

( Learning Organization : LO ) จะเป็นตัวที่จะช่วยพัฒนาบุคคลากรให้มีศักยภาพอย่างเติมที่ กล่าวคือ เมื่อบุคคลภายในหน่วยงานมีการรับเอาความรู้จากสังคมภายนอกเข้ามาแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคลกรภายในหน่วยงานแล้วนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาหน่วยงานของตนให้มีความเข้มแข็งทันสมัยในยุคปัจจุปันและขยายความรู้ที่ได้ไปยังองค์กรที่ใหญ่ขึ้นเพื่อพัฒนาต่อไป

3. การนำความรู้ไปใช้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO ) ที่นำไปใช้ในสถานศึกษาหรือโรงเรียน คือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นอกเหนือจากห้องสมุด เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต การเรียนผ่านระบบออนไลน์ หรือนำสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยสะดวก รวดเร็ว ตรงตามจุดประสงค์มาใช้ในการจัดการเรีนรู้ของผู้เรียน ให้มีผลสมฤทธิ์ดีขึ้น

4. บรรยากาศในห้องเรียน

การอธิบายของอาจารย์มีความชัดเจน มีการยกตัวอย่างทำให้เข้าใจเนื้อหาและมีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่ยังไม่เข้าใจทุกคนในห้องเรียนให้ความสนใจตลอดเวลา   



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึก(After Action Review)/Reflection เรื่อง Flipped Classroom

วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1. ความคาดหมายในการเข้าอบรม

การเข้าอบรม Flipped Classroom ห้องเรียนกลับด้านนั้นเพื่อต้องการทราบการจัดการเรียนการสอนแบบกลับด้านเป็นอย่างไร ถ้าจัดการเรียนการสอนแล้วนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไรและจะนำไปใช้ในโรงเรียนอย่างไรบ้าง

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

การจัดการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom นั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับครูผู้สอน กลับมาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนแทน หมายความว่าจากที่ครูเคยเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ อยู่ในชั้นเรียน แล้วมอบหมายงานให้ไปทำที่บ้าน ในขณะที่การบ้านนั้นนักเรียนอาจทำไม่ได้ หรือมีข้อสงสัย ไม่เข้าใจหรืออาจจะทำการบ้านไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นการให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาวิชาที่เรียนมาก่อนจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แทน แล้วนำการบ้านหรือกิจกรรมที่ให้ไปทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนโดยครูเป็นผู้แนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือ ตอบข้อสงสัยของนักเรียนเป็นการเรียนรู้ร่วมกันและให้ความสำคัญที่ตัวของผู้เรียนมากขึ้น

การจัดการเรียนแบบ Flipped Classroom นั้นเป็นการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับผู้เรียนที่จะให้ความสนใจในการเรียนมากน้อยแค่ไหน มีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม จากสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ครูจัดให้ ซึ่งบ้างครั้งขึ้นอยู่กับผู้เรียนให้ความสนใจในการเรียน ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนหรือไม่ แต่บางครั้งอาจจะพบกับปัญหาผู้เรียนที่ขาดความสนใจ ขาดความเอาใจใสในการเรียนไม่ไปศึกษาค้นคว้างานที่ครูมอบหมายให้ไปศึกษาค้นคว้ามาก่อน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ช้ากว่าคนอื่นได้

การจัดการเรียน Flipped Classroom เมื่อนำมาใช้ในชั้นเรียนแล้วผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นผู้เรียนได้ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูล เนื้อหามาก่อนแล้ว เมื่อมาถึงชั้นเรียนครูแค่อธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยแล้วก็ตอบข้อสงสัย ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำเพิ่มเติมให้กับของนักเรียนเท่านั้นและที่สำคัญทำให้เวลาในการทำกิจกรรมการเรียนรู้เหลือมากขึ้นที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ดียิ่งขึ้น

3. การนำ Flipped Classroom ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ในการจัดการเรียน Flipped Classroom นั้น เป็นการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยครูเป็นเพียงผู้แนะนำ ช่วยเหลือ ผู้เรียนเท่านั้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆได้ ตามความเหมาะสม เช่น ในรายวิชาภาษาไทย ในการเรียนวิชาวรรณคดี เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งก็จะมีภาพยนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวร ฯ กับพระมหาอุปราชา ครูก็มอบหมายให้นักเรียนไปดูทางอินเตอร์เน็ต แล้วนำความรู้ที่ได้มาวิพากษ์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น หรือการเรียนเรื่องการโต้วาที ครูก็ให้นักเรียนศึกษาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อที่เป็นแผ่นซีดีรอม ที่ครูจัดไว้ให้ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างการโต้วาทีที่ได้มีการนำมาลงไว้อย่างมากมายแล้วหลังจากนั้นพอถึงคาบเรียน ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนจัดประเด็นในการโต้วาที โดยครูเป็นเพียงผู้แนะนำและช่วยเหลือเท่านั้น

การจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom จะใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนอย่างมาก ซึ่งอาจจะเกิดปัญหากับผู้เรียนที่ไม่เข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น อาจทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ช้ากว่าคนอื่นได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึก(After Action Review)/Reflection เรื่อง Child Center (การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ)

วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1.สิ่งที่คาดหวัง

วิธีการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และรูปแบบการจัดกิจกรรมการสอนการสอนตามความถนัดของผู้เรียน

2. ความรู้ที่ได้รับ

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดหลักคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมองให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพตามแนวทางที่ถนัด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

ในการจัดกิจกรรมการเรียนสอนหรือจัดกิจกรรมผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียนว่าผู้เรียนถนัดการใช้สมองด้านไหน ถ้าใช้สมอง ต้องค้นหาความสามารถของผู้เรียนออกมาให้ได้ ต้องสังเกต พิจารณาผลการเรียน สำรวจความสามารถผู้เรียน หลังจากนั้นการจัดการเรียนเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ยืดหยุ่นสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนได้ตามแนวทางวิธีที่ตนถนัด

  • การจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT เป็นรูปแบบหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อความแตกต่างระหว่าง

บุคคล ซึ่งสอดคล้องกับผู้เรียนที่มีความสามารถของผู้เรียนที่มีความแตกต่าง มุ่งพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวาไปพร้อมๆกันทฤษฏี 4MAT ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงได้ประสบการณ์ ผู้เรียนสามารถสร้างจินตนาการเองได้สร้างความรู้ได้ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีพหุปัญญา ที่อธิบายความสามารถของเด็กที่แตกต่างกัน 10 ด้าน และเด็กแต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการใช้ความสามารถเป็นพื้นฐานการเรียนรู้

4. นำไปใช้ในชีวิต

นำทฤษฏี 4MAT การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายมาใช้กับผู้เรียนทีมีความแตกต่างด้านสมองเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดสามารถพัฒนาทักษะต่างๆได้ดี โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมให้ในการทำกิจกรรมเห็นความสำคัญกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีคุณค่าพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาไปพร้อมๆกับเพื่อน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท