อนุทิน 137831


วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
บันทึก(After Action Review)/Reflection เรื่อง Flipped Classroom

วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1. ความคาดหมายในการเข้าอบรม

การเข้าอบรม Flipped Classroom ห้องเรียนกลับด้านนั้นเพื่อต้องการทราบการจัดการเรียนการสอนแบบกลับด้านเป็นอย่างไร ถ้าจัดการเรียนการสอนแล้วนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไรและจะนำไปใช้ในโรงเรียนอย่างไรบ้าง

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

การจัดการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom นั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับครูผู้สอน กลับมาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนแทน หมายความว่าจากที่ครูเคยเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ อยู่ในชั้นเรียน แล้วมอบหมายงานให้ไปทำที่บ้าน ในขณะที่การบ้านนั้นนักเรียนอาจทำไม่ได้ หรือมีข้อสงสัย ไม่เข้าใจหรืออาจจะทำการบ้านไม่ได้ ก็เปลี่ยนเป็นการให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาวิชาที่เรียนมาก่อนจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แทน แล้วนำการบ้านหรือกิจกรรมที่ให้ไปทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนโดยครูเป็นผู้แนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือ ตอบข้อสงสัยของนักเรียนเป็นการเรียนรู้ร่วมกันและให้ความสำคัญที่ตัวของผู้เรียนมากขึ้น

การจัดการเรียนแบบ Flipped Classroom นั้นเป็นการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับผู้เรียนที่จะให้ความสนใจในการเรียนมากน้อยแค่ไหน มีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม จากสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ครูจัดให้ ซึ่งบ้างครั้งขึ้นอยู่กับผู้เรียนให้ความสนใจในการเรียน ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนหรือไม่ แต่บางครั้งอาจจะพบกับปัญหาผู้เรียนที่ขาดความสนใจ ขาดความเอาใจใสในการเรียนไม่ไปศึกษาค้นคว้างานที่ครูมอบหมายให้ไปศึกษาค้นคว้ามาก่อน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ช้ากว่าคนอื่นได้

การจัดการเรียน Flipped Classroom เมื่อนำมาใช้ในชั้นเรียนแล้วผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นผู้เรียนได้ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูล เนื้อหามาก่อนแล้ว เมื่อมาถึงชั้นเรียนครูแค่อธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยแล้วก็ตอบข้อสงสัย ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำเพิ่มเติมให้กับของนักเรียนเท่านั้นและที่สำคัญทำให้เวลาในการทำกิจกรรมการเรียนรู้เหลือมากขึ้นที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ดียิ่งขึ้น

3. การนำ Flipped Classroom ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ในการจัดการเรียน Flipped Classroom นั้น เป็นการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยครูเป็นเพียงผู้แนะนำ ช่วยเหลือ ผู้เรียนเท่านั้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆได้ ตามความเหมาะสม เช่น ในรายวิชาภาษาไทย ในการเรียนวิชาวรรณคดี เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งก็จะมีภาพยนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวร ฯ กับพระมหาอุปราชา ครูก็มอบหมายให้นักเรียนไปดูทางอินเตอร์เน็ต แล้วนำความรู้ที่ได้มาวิพากษ์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น หรือการเรียนเรื่องการโต้วาที ครูก็ให้นักเรียนศึกษาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อที่เป็นแผ่นซีดีรอม ที่ครูจัดไว้ให้ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างการโต้วาทีที่ได้มีการนำมาลงไว้อย่างมากมายแล้วหลังจากนั้นพอถึงคาบเรียน ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนจัดประเด็นในการโต้วาที โดยครูเป็นเพียงผู้แนะนำและช่วยเหลือเท่านั้น

การจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom จะใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนอย่างมาก ซึ่งอาจจะเกิดปัญหากับผู้เรียนที่ไม่เข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น อาจทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ช้ากว่าคนอื่นได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท