อนุทิน 137833


วัชชิระ วรรณปะเข
เขียนเมื่อ
 
Stoly Telling วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

นายวัชชิระ วรรณปะเข รหัส 56D0103212

รุ่น 13 ภาคเรียนที่ 1สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ผู้สอน ผศ.ดร. อดิศร เนาวนนท์

1. เทคนิคที่ทำให้จำได้

การเรียนวิชาภาษาไทยนักเรียนส่วนใหญ่มองว่าเป็นวิชาที่เข้าใจยากไม่รู้ว่าอะไรคือคำเป็น คำตาย คำซ้ำ คำซ้อน และเบื่อที่ต้องท่องบทอาขยาน และทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่อยากเรียน โดยเฉพาะการท่องบทอาขยานที่ครูพาท่องและต้องท่องสอบเอาคะแนน ต้องใช้ระยะเวลาเป็นภาคเรียนในการสอบท่องจำบทอาขยานแต่ละครั้งกว่านักเรียนจะมาท่องได้ ซึ่งทำให้เกิดปัญหากับครูผู้สอนและตัวนักเรียนด้วย

2. วิธีการที่จะทำให้เด็กจำได้

วิธีการช่วยจำของนักเรียนทำได้โดยการอธิบายให้เด็กเข้าใจก่อนว่าบทอาขยานนั้นมีความสำคัญอย่างไร เพราะเหตุใดเราต้องท่อง เมื่อเด็กเข้าใจแล้วก็จะเห็นความสำคัญของบทอาขยาน หลังจากนั้นครูก็พานักเรียนท่องก่อน 1-2 รอบ แล้วให้นักเรียนท่องเอง วันแรกๆ นักเรียนก็ท่องไม่ค่อยได้เพราะจำทำนองไม่ได้ ครูก็พาท่องทุกวันก่อนเรียนวันละ 1 รอบ ทำอย่างนี้ทุกคาบเรียน จนนักเรียนจำได้และเข้าใจว่าเวลาเรียนภาษาไทยก่อนอื่นต้องท่องบทอขายานก่อนแล้วถึงจะเรียนและที่สำคัญที่สุดผลที่ได้จากการทำบ่อยๆ ซ้ำ ๆ ทำให้นักเรียนนั้นจำทำนองได้ขึ้นใจและนักเรียนจากที่เคยให้เวลาเป็นภาคเรียนก็มาท่องบทอขยานเร็วขึ้นเพราะเขาจำได้และเข้าใจ และยังมีเหตุผลการให้คะแนนเป็นการวางเงื่อนไขว่าในการที่นักเรีนมาท่องบทอขยายนั้นจะต้องมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ถ้านักเรียนมาท่องภายในระยะเวลาที่กำหนดจะได้คะแนนเต็ม 10 แต่ครูต้องดูความถูกต้องของการท่องบทอขยายด้วย และถ้านักเรียนมาท่องหลังระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้คะแนนเต็มลดหลั่นกันลงไป จากเต็ม 10 ก็เหลือ 9 , 8 , 7 ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะใช้คะแนนเป็นตัวช่วยในการให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นในการมาท่องบทอาขยานเร็วขึ้นด้วย

ดังนั้น วิธีที่เด็กได้ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ หรือทำซ้ำเป็นประจำจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะมองว่าเป็นวิธีที่ง่ายแต่ก็ใช้ได้ผลดีกับผู้เรียน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท