ทีใคร....ทีมัน....


You may study all the “ologies” of the world, but if you do not learn swimology, all your studies are useless. You may read and write books on swimming, you may debate on its subtle theoretical aspects, but how will that help you if you refuse to enter the water yourself? You must learn how to swim.

เมื่อ ๑๖ ปีที่แล้ว ผมเริ่มปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง อ่านตำราวิปัสสนา...ประวัติหลวงปู่...หลวงตา...ต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นที่ผมเห็นว่าแปลกก็คือ หนังสือชื่อ “The Art of Living: Vipassana Meditation as taught by S.N. Goenka” เขียนโดย William Hart


ที่เห็นว่าแปลกก็เห็นจะเป็น Goenka ซึ่งเป็นอาจารย์สอนการทำวิปัสสนามีชื่อเสียงไปทั่วโลก ท่านเป็นชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู  ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนอย่างเราๆ   แต่กลับปฏิบัติวิปัสสนาจนมีความรู้แจ้งในระดับที่เป็นครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนาได้


 วันนี้ผมจะไม่แนะนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้นะครับ...เพราะว่า...ก็คล้ายๆกับของเรา... แต่อยากจะนำเรื่องขำขันที่ท่านใช้สอนธรรมให้แก่ลูกศิษย์ฝรั่งของท่านมาคัดลอกและแปลให้อ่านกันครับ  จะได้คลายเครียด...    

Swimology

 

Once a young professor was making a sea voyage.  He was a highly educated man with a long tail of letters after his name, but he had little experience of life.  In the crew of the ship on which he was traveling was an illiterate old sailor.  Every evening the sailor would visit the cabin of the young professor to listen to him hold forth on many different subjects.  He was very impressed with the learning of the young man.

กาลครั้งหนึ่ง อาจารย์หนุ่มคนหนึ่งกำลังเดินทางทางทะเล อาจารย์คนนี้เป็นคนที่มีการศึกษาสูงมาก มีดีกรีห้อยท้ายชื่อมากมาย แต่มีประสบการณ์ชีวิตน้อย บนเรือเดินทะเลเดียวกันนี้ มีกลาสีเฒ่าไม่รู้หนังสืออยู่คนหนึ่ง ทุกๆ เย็น กลาสีคนนี้จะก็ไปเยี่ยมอาจารย์หนุ่มที่ห้องพัก เพื่อฟังความรู้ต่างๆ ที่อาจารย์หนุ่มคนนี้คุยให้ฟัง กลาสีรู้สึกประทับใจในความรู้ของอาจารย์หนุ่มเป็นอย่างมาก

One evening as the sailor was about to leave the cabin after several hours of conversation, the professor asked, “Old man, have you studied geology?

เย็นวันหนึ่ง ในขณะที่กลาสีกำลังจะเดินออกจากห้องพักของอาจารย์หนุ่มหลังจากที่คุยกันมาหลายชั่วโมง อาจารย์หนุ่มก็ถามกลาสี ขึ้นมาว่า "ท่านผู้เฒ่า ท่านเคยเรียนธรณีวิทยาหรือไม่"

What is that, sir?

The science of the earth.

No sir, I have never been to any school or college.  I have never studied anything.”

Old man, you have wasted a quarter of your life.

"นั่นมันวิชาอะไรครับ"

"วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของพื้นโลก"

"ไม่เคยครับ ผมไม่เคยไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนหรือวิทยาลัยเลย"

"ท่านผู้เฒ่า ท่านเสียเวลาไป ๑ ใน ๔ ของชีวิตเสียแล้ว"

 

With a long face the old sailor went away.  “If such a learned person says so, certainly it must be true,” he thought.  “I have wasted a quarter of my life!

กลาสีเฒ่าก็ได้แต่เดินจากไปด้วยความเสียใจ "ถ้าอาจารย์เขาบอกว่าอย่างนี้ ก็คงจะจริง" เขาคิด "เราได้เสียเวลาไป ๑ ใน ๔ ของชีวิตเสียแล้ว 

Next evening again as the sailor was about to leave the cabin, the professor asked him, “Old man, have you studied oceanography?”

เย็นต่อมา เมื่อกลาสีกำลังจะออกจากห้องพักเช่นเดิม อาจารย์หนุ่มก็ได้ถามกลาสีเฒ่าอีกครั้ง "ท่านผู้เฒ่า ท่านเคยเรียนวิชาสมุทรวิทยา (สมุทรศาสตร์) หรือไม่"

What is that, sir?

The science of the sea.

No sir, I have never studied anything.

Old man, you have wasted half of your life.

"นั่นมันวิชาอะไรครับ"

"วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของมหาสมุทร"

"ไม่เคยครับ ผมไม่เรียนอะไรเลย"

"ท่านผู้เฒ่า ท่านเสียเวลาไปครึ่งหนึ่งของชีวิตเสียแล้ว"

 

With a still longer face the sailor went away:  “I have wasted half of my life; this learned man says so.”

กลาสีเฒ่าก็ได้แต่เดินจากไปด้วยความเสียใจ "ถ้าอาจารย์เขาบอกว่าอย่างนี้ ก็คงจะจริง เราได้เสียเวลาไปครึ่งหนึ่งของชีวิตเสียแล้ว 

Next evening once again the young professor questioned the old sailor: “Old man, have you studied meteorology?

ในเย็นวันถัดมา อาจารย์หนุ่มก็ได้ถามกลาสีเฒ่าอีกครั้งว่า "ท่านผู้เฒ่า ท่านเคยเรียนอุตุนิยมวิทยาหรือไม่"

What is that, sir?I have never even heard of it.”

Why, the science of the wind, the rain, the weather.”

No sir. As I told you, I have never been to any school.  I have never studied anything.”

You are not studied the science of the earth on which you live; you have not studied the science of the sea on which you earn your livelihood; you have not studied the science of weather which you encounter every day? Old man, you have wasted three quarters of your life.”

"นั่นมันวิชาอะไรครับ ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย"

"วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของลม ฝนและสภาพอากาศ"

"ไม่เคยครับ เหมือนกับที่ผมเคยบอกอาจารย์น่ะครับ ผมไม่เคยไปเรียนที่โรงเรียนไหนเลย ไม่เคยเรียนอะไรเลย"

"ท่านผู้เฒ่า ท่านไม่เคยเรียนเรื่องเกี่ยวกับพื้นดินที่ท่านอาศัยอยู่ ท่านไม่เคยเรียนเกี่ยวกับทะเลที่ท่านใช้ทำมาหาเลี้ยงชีพ ท่านไม่เคยเรียนเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศที่ท่านต้องเผชิญทุกวัน  ท่านผู้เฒ่า...ท่านเสียเวลาไป ๓ ใน ๔ ของชีวิตเสียแล้ว"

The old sailor was very unhappy: “This learned man says that I have wasted three quarters of my life! Certainly I must have wasted three quarters of my life.

กลาสีเฒ่ารู้สึกเป็นทุกข์มาก "อาจารย์ผู้รอบรู้คนนี้บอกว่าเราเสียเวลาไป ๓ ใน ๔ ของชีวิต คงจะจริงของเขา ที่เราเสียเวลาไปเปล่าๆ ถึง ๓ ใน ๔ ของชีวิต"

The next day it was the turn of the old sailor.  He came running to the cabin of the young man and cried, “Professor sir, have you studied swimology?”

ในวันต่อมา ก็เป็นคราวของกลาสีเฒ่าบ้าง กลาสีเฒ่าวิ่งมาหาอาจารย์หนุ่มที่ห้องพัก และร้องตะโกนถามว่า "อาจารย์ครับ ท่านเรียนวิชาว่ายวิทยาหรือยังครับ"

Swimology? What do you mean?

Can you swim, sir?”

No, I don’t know how to swim.

Professor sir, you have wasted all your life! The ship has struck a rock and is sinking.  Those who can swim may reach the nearby shore, but those who cannot swim will drown.  I am so sorry, professor sir, you have surely lost your life.”

"อะไรนะ ว่ายวิทยา!! หมายความว่าอะไรน่ะ"

"อาจารย์ว่ายน้ำเป็นหรือเปล่าครับ"

"ไม่เป็น ผมว่ายไม่เป็น"

"ท่านอาจารย์ครับ ท่านได้สูญเสียทั้งชีวิตของท่านเสียแล้ว! เรือเราชนหินโสโครก และกำลังจม คนที่ว่ายน้ำเป็นอาจว่ายไปถึงฝั่งที่อยู่ใกล้ๆ นี้ได้ แต่คนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ผมเสียใจด้วยครับอาจารย์ ท่านคงจะต้องเสียชีวิตเป็นแน่แท้"

You may study all the “ologies” of the world, but if you do not learn swimology, all your studies are useless.  You may read and write books on swimming, you may debate on its subtle theoretical aspects, but how will that help you if you refuse to enter the water yourself?  You must learn how to swim.

 

ท่านอาจจะได้เรียนวิทยาการทั้งหลายในโลก แต่ถ้าท่านไม่เคยเรียน "ว่ายวิทยา" วิทยาการทั้งหลายที่เล่าเรียนมาอาจไร้ประโยชน์ ท่านอาจเขียนและอ่านเรื่องว่ายวิทยาได้ ท่านอาจโต้ในทฤษฎีได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะช่วยท่านได้อย่างไร ถ้าท่านไม่ได้ลงว่ายน้ำจริงๆ ท่านจะต้องเรียนการว่ายให้เป็น

 

อ่านจบแล้ว...ท่านคิดว่าท่านได้อะไร?จากเรื่องนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 99614เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ อ.ศิริศักดิ์

ทีใคร....ทีมันจริงๆ ค่ะอาจารย์ ^ ^

วิชา"ว่าย" ได้ แต่ว่ายน้ำไม่เป็น...

แปลว่าเรียนเพื่อรู้อย่างเดียวไม่ได้ เรียนเรียนแล้วต้องปฎิบัติได้..ไม่งั้นก็เอาตัวรอดยากนะคะอาจารย์

ขอบคุณค่ะสำหรับเรื่องราวเตือนใจดีๆ อีกเรื่องค่ะ..

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์

ขอบคุณครับที่อาจารย์เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง

ครับ"เรียนเพื่อรู้อย่างเดียวไม่ได้" เรียนแล้วต้องนำไปปฏิบัติ และต้องปฏิบัติให้ได้ 

ถ้ายังปฏิบัติไม่ได้ผล ก็ต้องมี"ความอดทน"และต้อง"เพิ่มความเพียร"ในการปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะได้ผลสำเร็จ

อ่านแล้วชอบจังคะ   ...ว่ายวิทยา
  • ขอบคุณสำหรับนิทานธรรมดีๆ ครับอาจารย์
  • ด้วยวิทยาการ  วิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
  • มีวิชาแปลกๆ ดีกรีมากๆ ให้เราได้ไขว่คว้ามาห้อยคอ
  • แต่ยิ่งเรียนมาก มีให้ห้อยคอมาก แต่อัตราคนที่มีดีกรีแขวนคอแล้วฆ่าตัว(หรือคนอื่น)ตาย กลับเยอะขึ้นเรื่อยๆ
  • ไม่รู้เราจะเดินกันมาผิดทางหรือเปล่านะครับ

ธรรมะสวัสดีครับ

  • ชอบจังเลยครับ
  • ได้อ่านภาษาอังกฤษด้วย
  • อ่านจบแล้วคิดถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
  • หลายๆๆท่าน
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับคุณดอกแก้ว

นิทานฝรั่งเรื่องนี้ผมอ่านทีไรก็ชอบใจ"กลาสีเฒ่า"ทุกที

แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึง "ปริยัติ" และ "ปฏิบัติ" ในสังคมฝรั่งได้ดีนะครับ...

สวัสดีครับคุณธรรมาวุธ

มนุษย์ส่วนใหญ่เรียนเอาดีกรีมาห้อยคอเพื่อ"อวด"  คงคิดว่า"โก้"น่ะครับ  มนุษย์พวกนี้ยิ่งเรียนมาก มีดีกรีมากยิ่งเครียดมาก เพราะคอมัน"หนัก"

มนุษย์ส่วนน้อยที่มี"ปัญญา"เรียนเพื่อ"รู้"แล้วนำมาเป็นเครื่องมือ"เลี้ยงชีพ"  ดีกรีที่ได้เป็นเพียง"ไม้ตีหมา"เท่านั้นแหละครับ  เดินไปไหน ถ้าไม่มีหมามาคอยเห่า เขาก็ไม่พกหรอกครับ เลยไม่เครียด ไม่หนักคอ

 ผมเชื่อว่ากระแสสังคม(ทั้งโลก)น่าจะเดินผิดทาง เพราะเอา"เงิน"(รายได้ประชาชาติ)เป็นเกณฑ์ตัดสิน"ระดับการพัฒนา"ของประเทศ

โลกที่เกิด"อาเพศ"ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นผลมาจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ที่ฉาบด้วย"กิเลส"มนุษย์แหละครับ  ถ้าคนไม่ฆ่ากันเอง ธรรมชาติก็ช่วยฆ่า จริงมั้นครับ

สวัสดีครับคุณขจิต ฝอยทอง

ขอบคุณครับที่ชอบ 

บอกว่า"อ่านแล้วคิดถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายๆท่าน"  อยากรู้จังเลยว่า "คิดถึงในแง่ไหนน๊า?"

  • .ในแง่การปฎิบัติครับ
  • บางที่มีแต่ทฤษฎี
  • ไม่มีปฏิบัติ
  • ฮ่าๆๆๆ ทำนาบนกระดาน
  • ขำๆๆๆ

สวัสดีครับคุณขจิต

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่าอาจารย์หลายท่านเป็นอย่างที่ว่า  คือมีแต่ทฤษฎี 

ผมเคยเขียนแสดงความเห็นที่ไหนสักแห่งว่า ปัจจุบัน การเรียนวิชาทางช่างของเรา เฟืองจะหมุนกระดาน  ซ่อมรถก็บนกระดาน นักศึกษาไม่เคยเห็นของจริงด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่ได้ลงมือปฏิบัติเลย

ผมเคยได้ยินแต่ อาจารย์"ทำธุรกิจการศึกษา"  เพิ่งได้ยินนี่แหละครับ "ทำนาบนกระดาน"  โฮ...โฮ...

ขอยืมไปใช้บ้างนะครับ....ชอบมาก :)

โอ้โฮ ผมหลงท่องเข้ามาใน web blog นี้แล้ว รู้สึกหูตาสว่างมากกว่าเดิมครับ ได้รู้แนวคิดในการใช้ชีวิตในหลายๆอย่างเลยทีเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท