beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เอาเวลาที่ไหนมาเขียนบันทึกลงบล็อก


ใช้เวลาช่วง หลังเลิกงาน หรือ ก่อนทำงาน ในการเขียนบันทึก

    เคยมีคนถามผมว่า เอาเวลาที่ไหนมาเขียนบันทึกลงบล็อก (อ.หนึ่ง) ผมก็ลองสังเกตการเขียนบันทึกของท่านอื่นๆ และพบว่า เป็นโรคเดียวกัน คือ "โรคติดบล็อก" (ไม่ทราบว่าใครใช้เป็นคนแรก แต่ก็เป็นคนที่เป็นสมาชิก gotoknow แน่ๆ) ผมลองให้เหตุผลดูเรื่อง "เวลา" และ "ติดบล็อก" ดังนี้

  1. ใช้เวลาช่วง หลังเลิกงาน (เย็น-ค่ำ-ดึก) หรือ ก่อนทำงาน (เช้ามืด-เช้า) ในการเขียนบันทึก
  2. บางท่านใช้เป็นบันทึกช่วยจำ เขียนเรื่องต่างๆ เอาไว้กันลืม เพราะมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการทำงานมาก
  3. บางท่านใช้ส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นเขียนเป็นจดหมายติดต่อพูดคุยกันก็ได้ หรือบางท่านใช้บันทึกเขียนนัดหมายกันก็ได้
  4. หลายท่าน ถ้าหากไม่ได้เขียนบันทึกสัก 2-3 วัน อาจจะนอนไม่หลับ ชีวิตเหมือนขาดอะไรต้องรีบกลับมาเขียน (เช่น beeman ไง)
  5. บางท่าน เช่น Dr.Ting ขนาดไม่ได้อยู่เมืองไทยก็ยังขวนขวายเขียนบันทึกมาให้พวกเราได้อ่านกัน
  6. บางท่าน เช่น คุณชายขอบ ขนาดไม่สบาย นอนหลับไปแล้ว ตื่นขึ้นมายังไม่ง่วงก็ยังมาบันทึก แล้วผมเดาว่า เมื่อไปกรุงเทพคงติด Notebook ไปด้วยและหาทางบันทึกมาให้พวกเราได้อ่านกัน
  7. เป็นความต้องการของผู้เขียนบันทึก ที่ต้องการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนให้ผู้อื่นได้ทราบ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบางท่านเอาความรู้หรือประสบการณ์นั้นไปปรับใช้ในชีวิตของตนเอง
  8. บางท่านก็เขียนโดยความันในอารมณ์ (อยากเขียน) โดยไม่ได้สนใจว่าจะมีผู้อ่านหรือแสดงความคิดเห็นหรือไม่ อย่างไรก็ตามถ้าเขียนบันทึกแล้วต้องมีคนอ่านแน่ๆ อย่างน้อยก็ตัวเอง และท่านอาจารย์จันทวรรณ ได้เคยบอกไว้ว่า มีอีกหลายบันทึกที่ผู้เขียน เขียนไว้อ่านเอง โดยที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้คนอื่นๆ อ่าน
  9. บางท่านไม่ได้พิมพ์บันทึกเอง (บ่อยครั้ง) เพราะไม่มีเวลา หรือไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็บันทึกลงสมุด แล้วให้คนอื่นช่วยพิมพ์บันทึกให้ (ต้องเป็นลูกน้อง คงหาคนทำให้ฟรียาก)
  10. การบันทึกเองต้องใช้เวลามาก อย่างผมพิมพ์บันทึกเองสถิติมากที่สุดไม่เกิน 8 บันทึกต่อวัน แต่มีบางท่านทำสถิติ 14-17 บันทึกต่อวัน (Maximum)

        ครบ 10 ข้อ แล้วขอจบครับ......

หมายเลขบันทึก: 9939เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2005 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เท่าที่ผมทราบ ท่านคณบดีสมบัติ (ศึกษาศาสตร์ มน.) เป็นเป็นคนแรกครับที่ใช้คำว่า "โรคติดบล็อก"

เรียนท่าน Beeman ที่นับถือ

 ผมว่าได้ประโยชน์ครับ เป็นการบันทึกกิจกรรมจริง หรือ ประสบการณ์ ที่เขียนลงเพราะว่า "คนแก่ กลัวลืม ครับ" (เฉพาะตัวผมนะครับ งานศูนย์บริการหลากหลาย เป็น Outlet ให้มหาวิทยาลัย ท่านอาจารย์ หมออนุวัฒน์ ท่านตัด Link ผมออกไป เพราะ เรื่องราวในชีวิต ชาวศูนย์ เชื่อมโยงหลายอย่าง ไม่ได้เน้น HA อย่างเดียว)

JJ

ผมติดตามอ่าน Blog ของอาจารย์เรื่อยๆครับ ผมว่าบล็อกมันอ่านมัน(สนุก) ตรงที่เราได้ใส่ ความรู้สึกความคิดเห็นลงไปด้วย และถ้าเราไม่ต้องคำนึงถึงว่าใครจะมาอ่านแล้วว่าอย่างไร ผมว่าก็คงจะดี แต่ก็ยังทำใจไม่ได้สักที เพราะยังติดความรู้สึกที่ว่าพอเขียนแล้วมันก็ไปโผล่ตรงนั้นตรงนี้(หมายถึงไปปรากฏ) ผมเห็นที่เว็บของ Bloggang เค้าสามารถกำหนดให้บล็อกสามารถอ่านได้เฉพาะกลุ่มคนที่กำหนดให้อ่านได้ เช่นอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนในแก๊งเดียวกัน หรือกลุ่มงานวิจัยในโปรเจคเดียวกัน สามารถอ่านได้ ส่วนเรื่องที่เผยแพร่ได้เราก็กำหนดให้สาธารณชนรับรู้ได้

ส่วนผมนั้นจะเขียนบล็อกแค่ อาทิตย์หรือสองอาทิตย์ครั้งเองครับ ทั้งๆที่อยากเขียน แต่ก็ไม่ได้เขียน จึงถามอาจารย์ไงครับว่าอาจารย์เอาเวลาที่ไหนมาเขียนได้สม่ำเสมอ แต่ที่แน่ๆ คือวันนี้เข้ารหัส พาสเวิร์ตัวเองไม่ได้ไม่รู้เป็นอะไร เลยต้องอาศัยแจมกับคนอื่นไปก่อนแล้วกันนะครับ

เรียน อาจารย์หนึ่ง

ถ้าลืม Password ให้อ่านบันทึกนี้คะ http://gotoknow.org/archive/2005/10/12/12/25/29/e5284

และหากอาจารย์อยากให้เพิ่ม Features อะไรในระบบบล็อก GotoKnow.org ก็สามารถแจ้งเข้ามาได้โดยตรงที่ http://gotoknow.org/contact คะ ยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นคะ

ขอบคุณคะ

จันทวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท