นักศึกษาใหม่กับผึ้งเมืองกรุง


ตอนไปทานข้าวที่โรงอาหาร ก็พบว่ามีผึ้งเป็นจำนวนมากอยู่บริเวณศาลกำลังตอมขวดน้ำหวานอยู่ พอมองไปก็แปลกใจมากเพราะน้ำหวานแต่ละขวดหมดไปแล้วครึ่งค่อนขวด ก็นึกในใจว่าผึ้งดูดน้ำหวานจากหลอดได้อย่างไร...

วันจันทร์นี้จะเป็นวันเปิดภาคการศึกษา ๑/๒๕๕๐ ของสจพ. นักศึกษาที่สอบเข้ามาใหม่ก็ได้เข้ามาลงทะเบียนและรายงานตัวแล้ว นักศึกษาที่จบการศึกษาก็ทยอยมาทำเรื่องลาออก บรรยากาศในอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ค่อนข้างคึกคัก มีนักศึกษาใหม่และผู้ปกครองจำนวนมากเดินกันขวักไขว่ในสถาบัน

ที่สจพ.นอกจากจะมีพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.๔ และมีหอพระสิงห์ที่เป็นที่เคารพของบุคลากรและนักศึกษาแล้ว ก็ยังมีศาลเสด็จปู่ฤาษี ที่มีผู้มากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก ช่วงนี้เป็นช่วงเปิดการศึกษาใหม่ ก็จะมีการมาบนบานศาลกล่าวกับศาลเสด็จปู่เป็นจำนวนมากด้วยน้ำแดงและรูปปั้นยีราฟดังรูป

ศาลเสด็จปู่ฤาษี

ตุ๊กตายีราฟเป็นจำนวนมากทางด้านขวาของศาลฯ

<h4>ดิฉันเคยสงสัยมานานแล้วว่าทำไมต้องเป็นรูปปั้นยีราฟ ก็ได้ไปสอบถามมาบ้าง ทราบมาว่ามีอาจารย์ท่านหนึ่งใช้ปูนที่เหลือจากการฝึกของนักศึกษามาลองปั้นเป็นตุ๊กตายีราฟ เพราะมีวัสดุเหลือและสีเหลืออยู่ (อาจารย์หลายท่านที่เคยเรียนที่นี่คงจะเล่าได้ดีกว่าดิฉันเป็นแน่  อ.ศิริศักดิ์ ช่วยเสริมด้วยค่ะ..) อ.ศิริศักดิ์ มาช่วยเสริมแล้วค่ะ ปรากฏว่าที่ดิฉันเขียนไว้ข้างต้นผิดค่ะ อ.ศิริศักดิ์ เล่าว่า…</h4><blockquote>

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว....มีคำสั่งจากหน่วยงานให้นักการกลุ่มหนึ่งทำการก่อสร้างอาคารเล็กๆหลังหนึ่ง  หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จ   มีวัสดุก่อสร้างเหลือ...จะทำอย่างไรดีกับสิ่งที่เหลือนี้  ในที่สุด...หนึ่งในนักการก็ออกความเห็นให้ปั้นรูปยีราฟ (สมัยนั้นกำลังฮิต) 

รูปปั้นยีราฟ(ที่ไม่ค่อยสวยนัก สีที่ทาก็ซีดๆ)ตัวหนึ่งก็เกิดขึ้น  ยีราฟตัวนั้นยืนอยู่บริเวณอาคารนั้นอยู่นานพอสมควร  จนต่อมา...หน่วยงานมีความต้องการใช้พื้นที่บริเวณที่รูปปั้นยีราฟยืนอยู่   รูปปั้นยีราฟจึงถูกนำไปทิ้ง

จากการสำรวจสถานที่จะทิ้งพบว่า  บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ริมคลองหน้าคณะครุศาสตร์มีศาลเก่าๆสภาพชำรุดทรุดโทรมมากหลังหนึ่ง และที่บริเวณนั้นมีคนนำพระพุทธรูปบูชาแตกๆหักๆมาวางทิ้งไว้ด้วย ดังนั้นรูปปั้นยีราฟตัวแรกซึ่งนับเป็นบรรพบุรุษตุ๊กตายีราฟทั้งหลายจึงถูกนำมาทิ้งไว้ที่นี่

อยู่มาวันหนึ่ง...มีเจ้าหน้าที่ฝันเห็นคนแก่ๆเดินอยู่บริเวณศาลนั้น   และบอกว่าอยู่ที่นี่  เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็เลยนำพวงมาลัยมาเซ่นไหว้เพื่อขอพร ตั้งแต่นั้นมาก็มีการเซ่นไหว้มากขึ้น 

จนกระทั่งเมื่อมีการปรับปรุงสถานที่ภูมิทัศน์ริมคลอง  ศาลพ่อปู่ฤาษีที่เห็นในภาพจึงเกิดขึ้นแทนที่ศาลชำรุดหลังเก่า   ตุ๊กตายีราฟก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ....  

</blockquote><h4>คนก็เลยเข้าใจว่าเป็นของมาบูชาแก้บน ก็เลยมีตุ๊กตายีราฟเป็นจำนวนมากถูกนำมาบนหรือแก้บนเป็นจำนวนมากจนปัจจุบัน</h4><h4>ของอีกอย่างที่ถูกนำมาไหว้เสด็จปู่เป็นประจำคือน้ำแดง โดยช่วงเปิดเทอมนี้จะมีมากเป็นพิเศษ จากทั้งนักศึกษาเก่าและใหม่ ซึ่งก็คงลอกเลียนแบบจากที่เห็น เพราะดิฉันเห็นนักศึกษาใหม่และครอบครัวมาด้อมๆ มองๆ อยู่หลายราย เพราะตุ๊กตายีราฟกับศาลฯ เป็นอะไรที่ค่อนข้างสะดุดตา</h4><h4 align="center"></h4><h5 align="center">น้ำแดงที่ถูกนำมาไหว้ที่ศาลฯ กับผึ้งเมืองกรุง</h5><h4> เมื่อต้นอาทิตย์ที่แล้วเดินผ่านศาลฯ ตอนไปทานข้าวที่โรงอาหาร ก็พบว่ามีผึ้งเป็นจำนวนมากอยู่บริเวณศาลกำลังตอมขวดน้ำหวานอยู่ พอมองไปก็แปลกใจมากเพราะน้ำหวานแต่ละขวดหมดไปแล้วครึ่งค่อนขวด ก็นึกในใจว่าผึ้งดูดน้ำหวานจากหลอดได้อย่างไร...ใครแอบมากินของบนหรือเปล่าหนอ...เดินผ่านอีก ๒ ๓ วันถึงค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นฝีมือผึ้งมากกว่าคนแน่ๆ..ฝีมือจริงๆ ผึ้งพวกนี้ ฝากให้ท่านทั้งหลายเดาว่าผึ้งดูดน้าหวานอย่างไรนะคะ : )  ดิฉันเอารูปผึ้งกับแฟนต้าน้ำแดงไปปะไว้ที่บันทึกของคุณบางทรายไว้ หลายท่านเริ่มถามแล้วค่ะว่าน้ำผึ้งหรือรังผึ้งจะแดงและมีรสแฟนต้าซาบซ่าด้วยหรือไม่ อิอิ </h4><h4> บันทึกนี้เป็นเรื่องเบาๆ แต่ก็มีประเด็นซ่อนอยู่บ้างเหมือนกัน มีผึ้งกับแฟนต้า ความพยายามของผึ้งในการอยู่รอดหาอาหาร ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะของเมือง เป็นธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่ง แล้วก็มีนักศึกษาใหม่ที่ต้องปรับตัวกับสถานศึกษาและการศึกษาในเทอมใหม่ กับที่พึ่ง(ทางใจ)ของนักศึกษา .. เล่าให้ฟังสนุกๆ ค่ะ.. </h4>

หมายเลขบันทึก: 98831เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2007 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะอาจารย์...กมลวัลย์

  • ครูอ้อยไม่เคยเรียนที่นี่ค่ะ...แต่...เคยไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่นี่ค่ะ...ครูอ้อยกราบไหว้บูชา   และก็ได้พบอาจารย์ที่ปรึกษาที่ตึกนี้ค่ะ...ชื่อตึก 5 ค่ะ

ไปคราวหน้าต้องไปหาอาจารย์...กมลวัลย์ ให้ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

ดิฉันว่าเราหาจุดนัดพบได้แล้วค่ะ 5555 หน้าศาลฯ เป็นไงคะ..

ไว้ครูอ้อยจะมาแล้วเรามาวางแผนกันอีกทีนะคะ : ) สงสัยจะได้ F2F กับครูอ้อยเป็นคนแรกเลย

 

สวัสดีครับ แวะมาทักทาย มาอ่าน มาชมเอาความรู้พัฒนาสมองครับ

อาจารย์ขา...ถ้าครูอ้อยไปอีกครั้ง...จะขับรถไปค่ะ...แต่ยังไปไม่ถูกเลยค่ะ...ต้องศึกษาหาทางไปก่อนค่ะ..แต่อยากไปค่ะ...คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์...วันนี้ที่ มข ก็มีทั้งนักศึกษาและผู้ปกครองมากันเต็มมหาวิทยาลัย รถติดมากในมหาวิทยาลัย ไม่น่าเชื่อนะค่ะ ติดพอๆ กับวันพระราชทานปริญญาบัตรเลยค่ะ.....

ที่อาจารย์บอกว่า "นักศึกษาที่จบการศึกษาก็ทยอยมาทำเรื่องลาออก" ตรงนี้ ทำมั้ยนักศึกษาที่จบการศึกษาต้องทำเรื่องลาออกด้วยหรอค่ะ ... สงสัยค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • อาจารย์เข้าใจสังเกตจัง
  • ผมมองว่าถ้าเด็กเข้ามาแล้วไม่ได้ตั้งใจเรียน
  • จะเหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟครับ
  • นักศึกษาใหม่คงต้องปรับตัว
  • ปรับสภาพจิตใจ
  • อยากให้อาจารย์ทุกๆๆท่านดูแลให้ดี
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีค่ะอ.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า

ยินดีต้อนรับค่ะอาจารย์ ขอยืมตุ๊กตาของอาจารย์ say  เช่นกันค่ะ : )

สวัสดีอีกรอบค่ะครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก

ถ้าจะขับรถมา บอกล่วงหน้านะคะ จะได้บอกทาง แต่ต้องรู้ก่อนค่ะว่ามาจากทางไหน มาจากทางเมืองนนท์ มาจากทางด่วน มาจากบางโพ มาจากสะพานพระราม ๕.... มาได้หลายทางค่า...

แล้วพบกันตอนครูอ้อยมานะคะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์paew

พอดีที่สจพ.เขามีเก็บเงินประกัน(ของเสียหาย)น่ะค่ะ เพราะฉะนั้น นักศึกษาก็จะมาทำเรื่องลาออกเพื่อ clear ว่าไม่มีของตกค้าง เช่น หนังสือห้องสมุดที่ไม่ได้คืน ภาควิชาฯ ก็ต้องตรวจดูว่านักศึกษายืมอะไรไปหรือเปล่า หรือทำอะไรเสียหายหรือเปล่า (ที่ผ่านมาไม่เคยมีเลยค่ะที่ยึดเงินประกันนักศึกษา) พอทำเอกสารเสร็จ นักศึกษาก็เอาเงินประกันคืนได้ค่ะ จำไม่ได้ว่าเท่าไหร่เหมือนกัน แต่จำนวนไม่มากต่อคน

มาคิดๆ ดูสถาบันก็ได้กำไรหลายนะคะ เพราะเอาเงินนักศึกษาปัจจุบันไปใช้ได้ แล้วก็ไม่ต้องให้ดอกเบี้ยนักศึกษา...ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ากฎเก็บเงินประกันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไรค่ะ แต่เท่าที่จำได้ก็เป็นอย่างนี้มาตลอดค่ะ..  แสดงว่าที่ มข.ไม่มีแบบนี้แน่เลย..

ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นนะคะ ถ้าจำได้จะไปหาคนถามค่ะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะถามใครว่าที่มาของเงินประกันนี้มาจากยุคไหน เพราะอะไรค่ะ..

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง

ดิฉันว่านักศึกษาใหม่ในแง่หนึ่งก็เหมือนผึ้งเหล่านี้แหละค่ะ ที่จากบ้านมา อยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ต้องอยู่รอด ต้องปรับตัวเข้าสู่ภาวะเมืองกรุง ถ้าฉลาดหน่อยก็สามารถลงไปกินน้ำหวานในขวดได้ ได้ความรู้และทักษะไป แต่ถ้าทำไม่เป็น ปรับตัวไม่ได้ ไม่มี skill ก็คงวนได้อยู่รอบๆ ปากขวด อด..ค่ะ

อย่างไรก็ดี ในฐานะของสถานศึกษา ก็คงต้องทำปากขวดให้กว้างขึ้น นักศึกษาจะได้เข้าถึงการศึกษาและความรู้ได้ง่ายขึ้น เหมือนผึ้งบินเข้าปากขวดได้ง่ายขึ้นนั่นแหละค่ะ แต่ก็ไม่ทำให้ปากขวดกว้างจนกระทั่งที่ไม่มีทักษะเลยก็สามารถกินน้ำหวานได้อย่างสบาย ถ้าเป็นอย่างนั้น ผึ้งหรือนักศึกษาคงไม่ได้อะไรเพิ่มเติม นอกจากใบปริญญาบัตรหรือน้ำหวานเป็นแน่แท้..

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆ เรื่องแมงเม่านะคะ ; )

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์

  • ผึ้งกับน้ำหวานนี่ผมเองก็ไม่มีความรู้ด้านนี้ อาจารย์ beeman คงให้ความรู้ได้มากครับ
  • แต่ในทัศนแบบคนทั่วไปนี้นะครับ ผึ้งในเมืองหลวงไม่มีแหล่งน้ำหวานมาเลี้ยงตัวอ่อนก็ต้องอ่ศัยน้ำหวานจากแหล่งอื่น เช่นน้ำขวดแฟนต้าที่คนเอาไปถวายศาล หรือตามรถเข็นขายน้ำหวานน้ำแข็งใส ที่เคยเห็นตัวผึ้งบินมาเกาะปากขวดเต็มไปหมด
  • แต่จะมีผลอย่างไรไม่แน่ใจ  เราเพียงตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นแบบคนไม่รู้เรื่องว่า เออ เมื่อผึ้งเอาน้ไหวานจากแฟนต้าไปแล้วตัวน้ำผึ้งในรังเขาจะซาบซ่าแบบแฟนต้าไหมหนอ??? เป็นข้อคิด ที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุน ท่านผู้รู้น่าที่จะมีข้อมูลครับ
  • น่าสนใจที่ว่า คนในเมือง หรือคนที่เลี้ยงผึ้งใกล้ตัวเมือง ที่ผึ้งมาหาน้ำผึ้งแบบนี้นั้น คุณภาพน้ำผึ้งจะเป็นเช่นไร ดีเหมือนน้ำหวานจากดอกไม้ ?? หรือต่างกันลิบลับ?? แล้วหากคนเอาไปบริโภคจะเป็นเช่นไร..เป็นเพียงข้อสงสัยที่ไม่มีข้อมูลยืนยัน 
  • หรือตั้งข้อสังเกตุว่า เอาละ คงไม่มีผู้เลี้ยงผึ้งที่ไหนมาเลี้ยงผึ้งใกล้เองกรุง มีแต่เอาไปทำฟาร์มกลางป่าไกลเมืองโน้น  ถ้าเช่นนั้น ผึ้งที่เอาน้ำหวานแฟนต้าไปเลี้ยงตัวอ่อนนั้น คุณสมบัติผึ้งรุ่นใหม่ที่เกิดจากน้ำแฟนต้าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรบ้างไหม เช่นดุขึ้น หรืออย่างไรบ้าง????
  • หรือทั้งหมดนี้ ช่างมัน เพราะเป็นเรื่องของผึ้ง...อิ อิ..
  • ทีนี้สำหรับนักศึกษาที่มาถวายสิ่งสักการะนั้น เป็นเรื่องปกติของสังคมไทย ที่ไหนๆก็มี มหาวิทยาลัยที่ไหนๆก็มีทั้งนั้น
  • เป็นทางออกของ "คนสองโลก" หรือ "คนทวิลักษณ์" คือโลกสมัยใหม่ กับโลกของความเชื่อ หรือโลกของการพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ  เรา เรา ท่าน ท่าน มีด้วยกันทั้งนั้น ตั้งแต่คนที่เรียนทาง Science เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จนถึงตาสีตาสาที่บ้านนอกคอกนา ก็เป็นคนทวิลักษณ์นี้ เพียงว่าโลกไหนมากน้อนกว่ากันเท่านั้น  แต่น่าสนใจบทบาทของส่วนนี้เช่นกัน  เพราะหลายต่อหลายคนกล่าวว่า "ทำแล้วมันสะบายใจขึ้น" มิเช่นนั้นจิตมันว้าวุ่น ไม่มีสมาธิ พอทำแล้วมีสมาธิมากขึ้น นิ่งขึ้น (ไม่ใช่ข้อสรุปนะครับ) บางคนบอกเข่นนั้น
  • ถามว่าฝรั่งมังค่ามีไหม  มีครับ เข้าโบสถ์สวดขอพรจากพระเจ้าไงครับ  ทำแล้วสบายใจ---> นิ่ง----> อาจส่งผลถึงการมีสมาธิมากขึ้น (หรือเปล่า ?) แต่ที่แน่ๆคือสบายใจขึ้น
  • ผมลองลากยาวไปถึง เคยมีนักวิชาการอธิบายว่าทำไมเกษตรกรไทยจึงซื้อหวยกันมาก หรือเกิดต้นไม้ประหลาดขึ้นมาก็ไปกราบไหว้แล้วจบลงที่ขอหวย ขูดผิวต้นไม้หาเบอร์ นักวิชาการท่านนั้นอธิบายว่า ก็ชาวบ้านทำการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพที่ใครต่อใครบอกกันมานานแล้วว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ผมทำ Risk Management profile ออกมาก็เป็นเช่นนั้น เขาคลุกคลีกับความเสี่ยงนี้มาตลอดอายุขัย ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง  แล้วทำไมเขาจะเสี่ยงเพิ่มโดยการซื้อหวยไม่ได้  เพราะเขาคลุคลีกับความเสี่ยงมาตลอดอยู่แล้ว เท่ากับพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เผลอๆถูกหวยขึ้นมาก็รอดตัวไป ไม่ถูกก็แล้วไป...รัฐบาลไปแก้ปัญหาให้เขาลดความเสี่ยงลงมาได้ไหมเล่าจนถึงไม่มีความเสี่ยงเลย  ผมว่าน่าสนใจ หากรัฐประกันราคาสูงๆให้ เขาจะแห่กันไปทำการเกษตรกันหมดเดือดร้อนคนกรุงเทพฯอีกด้วยซ้ำไป เพราะจะไม่มีรถแท๊กซี่นั่งน่ะซีครับ  เขากลับไปบ้านทำการเกษตรกันหมด  อิ อิ...
  • ขอบคุณครับอาจารย์ ทั้งสองประเด็นน่าสนใจ
P

สวัสดีค่ะอาจารย์

เรื่องนี้ น่าสนใจนะคะ ว่าผึ้งก็มีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดเหมือนกัน

ที่บ้านดิฉัน ต้นไม้สูงถูกลมพัดโค่นครึ่งต้น ผลปรากฏว่า มีแต่กิ่งใหม่ๆงอกบริเวณรอบต้นด้านล่างค่ะ ไม่มีกิ่งสูงอีกเลย ใครๆบอก ต้นไม้ก็รู้จักปรับตัว มิฉะนั้น ก็จะถูกลมพัดโค่นอีก ถ้าแตกกิ่งสูงเกินไป

นี่คือธรรมชาติ นะคะ

อาจารย์มีเรื่องเบาๆบ้าง ดีแล้วค่ะ เปลี่ยนบรรยากาศ

สวัสดีครับอาจารย์

ที่ลาดกระบังฯ (สจล) เปิดวันที่สี่ครับ...เตรียมตัวสอนเตรียมตัวเรียนกันอีกปี...ที่คณะสถาปัตย์มีพระพรหมครับ..อยู่หน้าอาคารทรงไทย ริมน้ำ...มีนักศึกษามาบนเหมือนกันครับ...ขอให้ผ่าน thesis แล้วจะวิ่งแก้บน...

ทั่วบริเวณสถาบันฯก็มีอีกหลายที่นะครับ...เป็นที่พึ่งทางใจที่ดี...ทำแล้วอาจจะลดความเสี่ยงในชีวิตเหมือนที่พี่บางทรายพูดก็ได้นะครับ...

โอชกร

สวัสดีค่ะคุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ขอบคุณที่มาตามคำเชิญนะคะ แถมให้ข้อคิดเห็นดีๆไว้เต็มเลย

สำหรับเรื่องผึ้ง คิดว่าน้ำหวานน่าจะเปลี่ยนไปบ้างน่ะคะ เพราะจำได้ว่าเคยเห็นเขาขายน้ำผึ้งในเมืองนอก บอกว่าเป็นน้ำผึ้งที่ดูดน้ำหวานจากเกสรโน่นเกสรนี่ แล้วน้ำผึ้งก็จะมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปค่ะ แถวๆ นิวซีแลนค์มีน้ำผึ้งบรรจุขวดหลากหลายเลยค่ะ สงสัยต้องไปถามอ.beeman แล้วจริงๆ นั่นแหละ

เรื่องคนทวิลักษณ์นี้ดิฉันเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก หมายถึงคำศัพท์น่ะค่ะ แต่พฤติกรรมน่ะ เห็นจนชินตาเลยค่ะ คนไทยส่วนใหญ่จะบอกว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ประมาณนั้นหรือไม่ก็เชื่อเลย หาที่ไม่เชื่อไม่สนใจค่อนข้างน้อยค่ะ

เรื่องเกษตรกรกับความเสี่ยงที่คุณบางทรายสรุปไว้นั้นจริงเลยค่ะ น่าเห็นใจมาก ทำงานแบบความเสี่ยงสูงมากๆ ทุกอย่างเกือบขึ้นกับคนอื่นๆ หมด ไม่ได้ขึ้นกับว่าเขาขยันแค่ไหนเลย มันขึ้นกับดินฟ้าอากาศ ขึ้นกับรัฐบาล ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง ขึ้นกับ......อีกสารพัด แค่คิดแค่นี้ยังรู้สึกเหนื่อยเลย..

คนที่เผชิญและมีชีวิตในภาวะแบบนี้จริงๆ ก็คงไม่แปลกที่เขาต้องการความสบายใจจากการเสี่ยงโชคบ้างหรือการไหว้พระบ้าง...มองในแง่ดีก็คือมีความหวัง มองในแง่ร้ายก็คือ ความหวังแบบสมหวังยาก..เหมือนกับนักศึกษามาไหว้บนบานศาลกล่าวนั่นแหละค่ะ แต่สำหรับนักศึกษาแล้วดิฉันว่าเขามีโอกาสทำให้ตัวเองสมหวังโดยการลงมือเรียนจริงๆ เพราะปัจจัยหลายๆ อย่างขึ้นอยู่กับตัวเขา ไม่เหมือนเกษตรกรค่ะ...

ขอบคุณที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นทั้งๆ ที่งานยุ่งมากๆ นะคะ : )

สวัสดีค่ะคุณ sasinanda

ธรรมชาติเป็นอะไรที่มหัศจรรย์จริงๆ ค่ะ บางอย่างดูเหมือนไม่มีชีวิตจิตใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกเหมือนมีชีวิตจิตใจเลย  คงเป็นความสามารถปรับตัวสร้างสมดุลของธรรมชาตินั่นเอง ไม่งั้นอยู่รอดไม่ได้... ครูก็ต้องปรับตัว นักศึกษาก็ต้องปรับตัวกันต่อไปค่ะ..

พยายามเขียนบันทึกให้เป็นเรื่องเบาๆ เหมือนกันค่ะ อ่านสนุกๆ แล้วได้ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยน มาปรับปรุงกันด้วย ดีจริงๆ เลยค่ะ ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมเยียนเสมอ...  : )

สวัสดีค่ะ อ.โอชกร - ภาคสุวรรณ

ของอาจารย์เปิดวันที่ ๔ เหรอคะ เมื่อเช้าไป มจธ. มา ของเขาเปิดวันที่ ๑๔ แน่ะค่ะ

ที่สจล.ใช้วิ่งแก้บนหรือคะ ดีต่อสุขภาพนะคะ ดิฉันว่า : ) ที่นี่ที่แคบค่ะ เลยไม่มีการวิ่งแก้บน .. เห็นด้วยค่ะ ว่าการบนเป็นการทำให้จิตใจสบายขึ้น เท่าที่เดินผ่านศาลฯ ทุกวันก็เห็นว่ามีคนสมหวังพอสมควรค่ะ เมื่อเช้าเพิ่งเห็น แฟนต้าขวดลิตร ๑๒ ขวดมาวางไว้แต่เช้า ผึ้งตอมเต็มเช่นเคยค่ะ : )

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาแลกเปลี่ยนข้อมูลค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์

มาช่วยเล่าเรื่องเก่าๆตามคำเรียกร้องแล้วครับ ถึงจะช้าไปหน่อย ต้องขออภัยด้วยนะครับ

เรื่องรูปปั้นยีราฟและตุ๊กตายีราฟมีความเป็นมาที่น่าทึ่งมาก   จะว่าเป็นเรื่องเหตุบังเอิญก็ไม่ได้  เพราะในโลกนี้ไม่มีเหตุบังเอิญ

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว....มีคำสั่งจากหน่วยงานให้นักการกลุ่มหนึ่งทำการก่อสร้างอาคารเล็กๆหลังหนึ่ง  หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จ   มีวัสดุก่อสร้างเหลือ...จะทำอย่างไรดีกับสิ่งที่เหลือนี้  ในที่สุด...หนึ่งในนักการก็ออกความเห็นให้ปั้นรูปยีราฟ (สมัยนั้นกำลังฮิต) 

รูปปั้นยีราฟ(ที่ไม่ค่อยสวยนัก สีที่ทาก็ซีดๆ)ตัวหนึ่งก็เกิดขึ้น  ยีราฟตัวนั้นยืนอยู่บริเวณอาคารนั้นอยู่นานพอสมควร  จนต่อมา...หน่วยงานมีความต้องการใช้พื้นที่บริเวณที่รูปปั้นยีราฟยืนอยู่   รูปปั้นยีราฟจึงถูกนำไปทิ้ง

จากการสำรวจสถานที่จะทิ้งพบว่า  บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ริมคลองหน้าคณะครุศาสตร์มีศาลเก่าๆสภาพชำรุดทรุดโทรมมากหลังหนึ่ง และที่บริเวณนั้นมีคนนำพระพุทธรูปบูชาแตกๆหักๆมาวางทิ้งไว้ด้วย ดังนั้นรูปปั้นยีราฟตัวแรกซึ่งนับเป็นบรรพบุรุษตุ๊กตายีราฟทั้งหลายจึงถูกนำมาทิ้งไว้ที่นี่

อยู่มาวันหนึ่ง...มีเจ้าหน้าที่ฝันเห็นคนแก่ๆเดินอยู่บริเวณศาลนั้น   และบอกว่าอยู่ที่นี่  เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็เลยนำพวงมาลัยมาเซ่นไหว้เพื่อขอพร ตั้งแต่นั้นมาก็มีการเซ่นไหว้มากขึ้น 

จนกระทั่งเมื่อมีการปรับปรุงสถานที่ภูมิทัศน์ริมคลอง  ศาลพ่อปู่ฤาษีที่เห็นในภาพจึงเกิดขึ้นแทนที่ศาลชำรุดหลังเก่า   ตุ๊กตายีราฟก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ....

สวัสดีค่ะ อ.ศิริศักดิ์

มาช้าไม่เป็นไรค่ะอาจารย์ ...

ดิฉันเล่าเรื่องยีราฟผิดหมดเลย...เดี๋ยวจะเอาเรื่องที่อาจารย์เล่าไปแก้ค่ะ

ของอย่างนี้...ไม่มี"เหตุบังเอิญ" ใช่ไหมคะอาจารย์...อิอิ  เขียนผิด เพื่อที่จะได้เชิญคนรู้มาเขียนให้ถูกต้องไงคะ ^ ^

ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์...วันนี้เดินผ่านศาลฯ มา เห็นผึ้งเต็มเหมือนเดิม..คราวนี้มีผึ้งสละชีวิตลงไปนอนแอ้งแม้งในน้ำแดงด้วยค่ะ...

อยากทราบว่าหาซื้อรูปปั้นยีราฟได้ที่ไหนหรอค่ะ เอาใกล้ๆๆ มจพ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท