ชุดความรู้กับ
KM
การถกเถียงระหว่าง ทพ. ไพรัช แห่ง รพ. บางมูลนาก จ. พิจิตร กับ ศ. นพ. เทพ หิมะทองคำ ผอ. รพ. เทพธารินทร์ เกี่ยวกับ KM เพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้ผมฉุกคิด
นี่คือเหตุการณ์ตอนบ่ายวันที่ ๖ กค. ๔๘ บนศาลาวัดยางสะพาย ต. บึงบัว อ. วชิรบารมี จ. พิจิตร ในรายการ KM สัญจร
เราแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มชาวนา กับกลุ่มหมอ ถกกันเรื่อง KM เพื่อการทำเกษตรปลอดสารพิษในกลุ่มชาวนา ส่วนกลุ่มหมอถกกันเรื่อง KM เพื่อคุณภาพของบริการสุขภาพ ในกลุ่มหมอมีคุณหมอไพรัชเป็นวิทยากร เล่าว่าใน จ. พิจิตรทำ KM เพื่อคุณภาพของบริการสุขภาพกันอย่างไร เล่าไปหน่อยก็โดน ศ. นพ. เทพ แย้งว่าชุดความรู้ที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะการคัดกรองนั้นเป็นชุดความรู้เก่า ที่ล้าสมัยแล้ว หมอไพรัชตอบว่าตนเคยฟัง อ. หมอเทพพูดในงาน HA Forum และติดใจมาก ได้เอามาบอกกลุ่มหมอในจังหวัดพิจิตร โดนว่าว่าหมอไพรัชเป็นหมอฟัน จะรู้เรื่องเบาหวานได้อย่างไร ตนจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเปลี่ยนความเชื่อหรือชุดความรู้ด้านการป้องกันโรคและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ KM การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จ. พิจิตร (และคงจะทั่วประเทศ) จึงเป็น KM ภายใต้ชุดความรู้แนวเดิม
ชุดความรู้เรื่องโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ผู้เล่าคือ ศ. นพ. ประเวศ วะสี เกี่ยวกับอาการปวดท้องหลังอาหารของตัวท่านเอง ก็ไม่คิดว่าเป็นเพราะแผลในกระเพาะอาหาร เพราะชุดความรู้เดิมบอกว่าโรคกระเพาะเกิดจากความเครียด และท่านก็ไม่เครียด แต่ต่อมามีผู้พิสูจน์ว่าแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร ท่านจึงลองกินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว อาการปวดท้องหายไปตั้งแต่บัดนั้น และไม่เคยกลับมาปวดอีกเลย
ชุดความรู้ว่าด้วยสาเหตุของโรค แผลในกระเพาะอาหารเปลี่ยนจากความ เครียดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย เอ็ช ไพลอไร
การเปลี่ยนชุดความรู้ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของชาวนา คือโรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรีที่ดำเนินการโดยมูลนิธิข้าวขวัญ มีเป้าหมายเปลี่ยนชุดความรู้ของชาวนาในการทำนา จากชุดความรู้ในการทำนาแบบเกษตรเคมี ไปเป็นเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรไร้สารพิษ การเปลี่ยนชุดความรู้ หรือเปลี่ยนความเชื่อนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องการการปฏิบัติให้เห็นจริง KM จึงเป็นเครื่องมือเปลี่ยนชุดความรู้ หรือเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradign) เปลี่ยนทิฐิ หรือความเชื่อ ของชาวนา
KM เกี่ยวกับชุดความรู้ใน ๒ สถาน
1. ทำ KM เพื่อเป็นกลไก หรือเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนชุดความรู้ อย่างกรณีโรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรี
2. ในการทำ KM ต้องรู้จักใช้ชุดความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ใช้ชุดความรู้ที่ล้าสมัย อย่างกรณีโรคเบาหวาน
วิจารณ์ พานิช
๘ กค. ๔๘
การถกเถียงระหว่าง ทพ. ไพรัช แห่ง รพ. บางมูลนาก จ. พิจิตร กับ ศ. นพ. เทพ หิมะทองคำ ผอ. รพ. เทพธารินทร์ เกี่ยวกับ KM เพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้ผมฉุกคิด
นี่คือเหตุการณ์ตอนบ่ายวันที่ ๖ กค. ๔๘ บนศาลาวัดยางสะพาย ต. บึงบัว อ. วชิรบารมี จ. พิจิตร ในรายการ KM สัญจร
เราแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มชาวนา กับกลุ่มหมอ ถกกันเรื่อง KM เพื่อการทำเกษตรปลอดสารพิษในกลุ่มชาวนา ส่วนกลุ่มหมอถกกันเรื่อง KM เพื่อคุณภาพของบริการสุขภาพ ในกลุ่มหมอมีคุณหมอไพรัชเป็นวิทยากร เล่าว่าใน จ. พิจิตรทำ KM เพื่อคุณภาพของบริการสุขภาพกันอย่างไร เล่าไปหน่อยก็โดน ศ. นพ. เทพ แย้งว่าชุดความรู้ที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะการคัดกรองนั้นเป็นชุดความรู้เก่า ที่ล้าสมัยแล้ว หมอไพรัชตอบว่าตนเคยฟัง อ. หมอเทพพูดในงาน HA Forum และติดใจมาก ได้เอามาบอกกลุ่มหมอในจังหวัดพิจิตร โดนว่าว่าหมอไพรัชเป็นหมอฟัน จะรู้เรื่องเบาหวานได้อย่างไร ตนจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเปลี่ยนความเชื่อหรือชุดความรู้ด้านการป้องกันโรคและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ KM การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จ. พิจิตร (และคงจะทั่วประเทศ) จึงเป็น KM ภายใต้ชุดความรู้แนวเดิม
ชุดความรู้เรื่องโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ผู้เล่าคือ ศ. นพ. ประเวศ วะสี เกี่ยวกับอาการปวดท้องหลังอาหารของตัวท่านเอง ก็ไม่คิดว่าเป็นเพราะแผลในกระเพาะอาหาร เพราะชุดความรู้เดิมบอกว่าโรคกระเพาะเกิดจากความเครียด และท่านก็ไม่เครียด แต่ต่อมามีผู้พิสูจน์ว่าแผลในกระเพาะอาหารเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร ท่านจึงลองกินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว อาการปวดท้องหายไปตั้งแต่บัดนั้น และไม่เคยกลับมาปวดอีกเลย
ชุดความรู้ว่าด้วยสาเหตุของโรค แผลในกระเพาะอาหารเปลี่ยนจากความ เครียดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย เอ็ช ไพลอไร
การเปลี่ยนชุดความรู้ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของชาวนา คือโรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรีที่ดำเนินการโดยมูลนิธิข้าวขวัญ มีเป้าหมายเปลี่ยนชุดความรู้ของชาวนาในการทำนา จากชุดความรู้ในการทำนาแบบเกษตรเคมี ไปเป็นเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรไร้สารพิษ การเปลี่ยนชุดความรู้ หรือเปลี่ยนความเชื่อนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องการการปฏิบัติให้เห็นจริง KM จึงเป็นเครื่องมือเปลี่ยนชุดความรู้ หรือเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradign) เปลี่ยนทิฐิ หรือความเชื่อ ของชาวนา
KM เกี่ยวกับชุดความรู้ใน ๒ สถาน
1. ทำ KM เพื่อเป็นกลไก หรือเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนชุดความรู้ อย่างกรณีโรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรี
2. ในการทำ KM ต้องรู้จักใช้ชุดความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ใช้ชุดความรู้ที่ล้าสมัย อย่างกรณีโรคเบาหวาน
วิจารณ์ พานิช
๘ กค. ๔๘
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก