จากคำไหว้ครู


แต่ในปัจจุบัน การเข้าใจความหมายและความสำคัญของการไหว้ครูดูเหมือนจะค่อนไปทางเป็นเพียงประเพณี “ทำสักแต่ว่าทำ” เข้าไปทุกทีๆ ใช้เวลาเพียงครึ่งวัน เสร็จแล้วเป็นเสร็จกัน โดยไม่มีกิจกรรมต่อเนื่องใดๆต่อไปอีก จึงควรจะต้องทบทวนดูว่า “การจัดกิจกรรมไหว้ครูของโรงเรียนต่างๆจะยังสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดีอยู่หรือไม่”? หรือจะมีอะไรต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพิ่มเติมได้อีก

ไหว้ครู  เป็นประเพณีที่บรรพบุรุษไทยได้กำหนดให้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล  เป็นกิจกรรมทีมีแก่นเนื้อหาสาระสมบูรณ์ด้วย  คุณธรรม  จริยธรรม และวัฒนธรรม  เป็นกิจกรรมเบื้องต้นของการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนให้มีคุณสมบัติเป็น  “นักเรียน  นักศึกษา”  เพื่อจะได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้มีจิตใจแสวงหา  “ความจริง  ใฝ่รู้ – ใฝ่เรียน”  รู้จักวิธีค้นคว้าศึกษาหาความรู้  วิเคราะห์  วิจัย  ฯลฯ  สร้างองค์ความรู้  เทคโนโลยี  และนวัตกรรมต่างๆ  เพื่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป


                       โดยทั่วไปกำหนดการไหว้ครูจะมีดังนี้

                      ๐๙.๐๐  น.       -   ทุกคนพร้อมกัน   ณ   ห้องประชุม

                      ๐๙.๑๕  น.       -   ประธานจุดธูป  เทียน  บูชา พระรัตนตรัย

-ทุกคนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยพร้อมกัน

-หัวหน้านำสวดคาถาไหว้ครู  และนักเรียน  นักศึกษาสวดคำไหว้ครูพร้อมกัน

-ตัวแทนนักเรียน นักศึกษา  สักการะ  ครู  -  อาจารย์  ด้วยพานดอกไม้  ธูป  เทียน  และเครื่องสักการะตามพิธีไหว้ครู  จะมีสิ่งของที่ระลึกด้วยก็ได้  (ถ้ามี)

-หัวหน้านำหนังสือ  (ปัจจุบันมีแหล่งความรู้อื่นๆเป็นอันมากจะจัดตั้งรวมไว้ด้วยก็น่าจะได้)  ให้ประธานเจิม

-ประธานให้โอวาท

-หัวหน้านำ  กราบลาพระรัตนตรัย

-เสร็จพิธี

บทสวดมนต์  และคำไหว้ครู  มีดังนี้

                       หัวหน้านำ

                    “  หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการัง  กะโรมะเส”

                       ทุกคนสวดพร้อมกัน

                    “  นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต   อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ  (๓ จบ)”

                    “  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา,   พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ  (กราบ)

                      สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,  ธัมมัง  นะมัสสามิ   (กราบ)

                      สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  สังฆัง  นะมามิ  (กราบ)

หัวหน้านำสวดคำไหว้คร

                     “ปาเจราจะริยา  โหนติ  คุณุตตะรานุสาสะกา”

                          สวดพร้อมกัน

                     “ข้าขอประณตน้อมสักการ       บุรพคณาจารย์

                   ผู้กอร์ปเกิดประโยชน์ศึกษา

                       ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา             อบรมจริยา

                   แก่ข้าในกาลปัจจุบัน

                        ข้าขอเคารพอภิวันท์               ระลึกคุณอนันต์

                   ด้วยใจนิยมบูชา

                         ขอเดชกตเวทิตา                    อีกวิริยะพา

                   ปัญญาให้เกิดแตกฉาน

                       ศึกษาสำเร็จทุกประการ          อายุยืนนาน

                   อยู่ในศีลธรรมอันดี

                       ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี           ประโยชน์ทวี

                    แก่ชาติประเทศไทย  เทอญ

                      

 หัวหน้า

                “ปัญญาวุฒิ  กะเร  เตเต  ทินโนวาเท  นะมามิหัง”


คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

                             สักการ-,  สักการะ    (- การะ)   ก.  บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น  ดอกไม้  ธูป  เทียน   บางทีก็ใช้คู่กับคำบูชา  เป็น  สักการบูชา  (ป., ส.  สัตการ.)

                              ประณต   ก.  น้อมไหว้  (ส.)  

                              ประสาท    (ประสาด)  น.  ยินดีให้,  โปรดให้  เช่น  ประสาทปริญญา  ประสาทพร

                             วิชา   น.  ความรู้,   ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนหรือฝึกฝน  เช่น  วิชาภาษาไทย   วิชาช่าง   วิชาการฝีมือ

                             อบรม  ก.  แนะนำพร่ำสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย,  แนะนำชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ,  ขัดเกลานิสัย  บางทีก็ใช้คู่กับบ่มนิสัย  เป็น   อบรมบ่มนิสัย

                             จริยา   (จะ  - )   น.  ความประพฤติ,  กิริยาที่ควรประพฤติ  ใช้ในคำสมาส  เช่น  ธรรมจริยา

                             อภิวันท์   ก.  กราบไหว้  (ส.  ป.)

                             นิยม   แบบ  น.  การกำหนด  (ป.  ส.)  ก.  ชมชอบ,  ยอมรับนับถือ,  ชื่นชมยินดี  ถ้าใช้ประกอบคำสมาสบางคำมีความหมายว่า  ลัทธิ  เช่น  ชาตินิยม  สังคมนิยม,  นิยมนิยาย  (ปาก)  น.  ความแน่นอน  ใช้ในความปฏิเสธว่า  เอานิยมนิยายไม่ได้  หมายความว่า  เอาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้

                             วิริยะ  น.  ความเพียร,  ความบากบั่น,  มักใช้คู่กับคำ  อุตสาหะ เป็น  วิริยะอุตสาหะ,  ความกล้า,  วิริยภาพ  ก็ใช้

                            ปัญญา  น.  ความรอบรู้,  ความรู้ทั่ว,  ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด,  เช่น  คนมีปัญญา   หมดปัญญา

                          ศึกษา  น.  การเล่าเรียน  ฝึกฝนอบรม

                          ศีลธรรม  (สีนทำ,  สีนละทำ)  น.  ความประพฤติที่ดีที่ชอบ,  ศีลและธรรม,  ธรรมในระดับศีล

                          เกียรติ,  เกียรติ  -,  เกียรติ์  (เกียด,  เกียดติ  -,  เกียน)  น.  ชื่อเสียง  ความยกย่องนับถือ,  ความมีหน้ามีตา

                           ศรี   (สี)  มิ่ง,  สิริมงคล,  ความรุ่งเรือง,  ความสว่างสุกใส,  ความงาม,  ความเจริญ,  เช่น  ศรีบ้าน  ศรีเรือน  ศรีเมือง  ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง  เช่นพระศรีรัตนตรัย.  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


หมายเลขบันทึก: 97468เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ว้าว!ใครพิมพ์คะ

เก่งจังเลยค่ะเรากำลังหัดอยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท