ความเคยชินในการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์


หยั่งงี้ตัวผมเองก็เป็นโจรนะซิ พฤติกรรมมันฟ้องอยู่แล้ว แต่อาจไม่รู้ตัว

ค่าใช้จ่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสิ่งที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์(hardware)
ก็คือชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เห็นด้วยตา เสียบปลั๊กไฟก็ยังใช้งานไม่ได้
จำเป็นต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ซอฟต์แวร์(software) ติดตั้งเพิ่มเติม จึงจะใช้งานได้

เนื่องจากซอฟต์แวร์มีราคาสูงมาก ตัวอย่างที่นิยมกันมากเช่นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) รุ่น เอกซ์พีโฮม (XP-Home edition)
ราคาประมาณ 4,500 บาท และโปรแกรมสำนักงานไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft Office)
รุ่น เอกซ์พี (XP) ราคาประมาณ 15,000 บาท จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายของซอฟต์แวร์ที่
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถพิมพ์เอกสารได้มีราคารวมสูงถึง 4,500+15,000=19,500 บาท
ในขณะที่ราคาเครื่องปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทเท่านั้น

เห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์แพงกว่าฮาร์แวร์ซะอีก ดังนั้นจึงเกิดการกระทำ
เรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กันอย่างแพร่หลายทั่วไป

ผมเข้าสู่วงการไอทีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC)สมัยที่
ยังเป็นจอมอนิเตอร์สีเขียว(ขาว-ดำ) และได้มีประสบการณ์คุ้นเคยกับการลงมือกระทำ
สิ่งที่เรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มาตลอด

ในอดีตถ้าผมมีโอกาสเจอซอฟต์แวร์ก็จะรีบก๊อปปี้ไว้ก่อน แบบว่าหายากและราคาสูงมากๆ
ต่างกับปัจจุบันซฟอต์แวร์(เถื่อน)หาง่ายขึ้น มีขายกันอย่างโจ่งแจ้ง
จนกระทั่งบางคนเข้าใจว่าค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์คือค่าแผ่นซีดีราคา 100 บาท
ซึ่งผมก็เป็นลูกค้านิยมสินค้าแบบนี้ตั้งแต่ที่ศูนย์การค้าพันธ์ทิพย์วางขายแผ่นละ 1,200 บาท

จนกระทั่งเมื่อประมาณปี 2545 ผมได้กลับหันมามองการกระทำของตนเอง
ก็ค้นพบตนเองว่า ในตอนต้นผมละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพราะหายาก
แต่ตอนหลังละเมิดลิขสิทธิ์เพราะความมักง่ายและเคยชิน ทั้งที่มีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหรือฟรีแวร์
ที่อนุญาติให้ใช้งานได้โดยไม่ต้องมีเสียค่าลิขสิทธิ์

ขอยกตัวอย่างอื่นมาเปรียบเทียบคือ สมัยก่อนผมเป็นผู้ยากไร้และหิวโซ เมื่อเห็นผลไม้ในสวน
ยื่นล้นรั้วออกมาด้านนอก ผมก็เลยปลิดมากินประทังความหิวเอาตัวรอดไปวันๆ
แล้วก็มีผู้สงสารผมแจกเมล็ดพันธ์พืชให้ผมมาปลูกกินเอง แต่ ผมมักง่ายและเคยชิน
กับการโขมยของคนอื่น มากินซะแล้ว เพราะทำเองทั้งเหนื่อยและรสชาติไม่ดีเท่า
หยั่งงี้ตัวผมเองก็เป็นโจรนะซิ พฤติกรรมมันฟ้องอยู่แล้ว แต่อาจไม่รู้ตัว

เมื่อคิดได้ว่า ขนาดเรามีความรู้มาก(ขอยกยอตนเอง)ขนาดนี้ ยังคิดทำสิ่งแบบนี้
แล้วคนอื่นในสังคมที่มีความรู้น้อยกว่าเรา ก็มีโอกาสจมปลักกับสิ่งแบบนี้เช่นกัน
ผมจึงได้เริ่มต้นนำเสนอแนวคิดการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีตัวผมเองเป็นต้นแบบ
ทำให้คนอื่นดูเป็นตัวอย่าง อยากให้สังคมคิดตัดสินใจละเมิดลิขสิทธิ์เป็นทางเลือกสุดท้าย
ไม่ใช่เคยชินกับทางเลือกแรกสุดการละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างที่เป็นกันอยู่

ผมไม่อยากเห็นลูกหลานไทยเป็นโจรจากการบ่มเพาะของเราเอง ครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 97เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2005 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์มันแก้ยากครับ

เรื่องราคาเป็นเหตุผลนึง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ลองดู games สิครับ เมืองนอกขายเป็นพัน เมืองไทยขาย 4-5 ร้อย ก็ยังไม่ซื้อ ไปซื้อของ copy ที่ราคาใกล้ๆกันแทนนะครับ

ค่านิยมมันออกไปทางของ copy เพราะคิดว่าจะถูกกว่าเสมอ

คนส่วนใหญ่คิดแบบนี้ครับ ผมเชื่อว่าอย่างนั้น

ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องราคาครับ

จากราคาแพง => อยากได้ => ละเมิดลิขสิทธ์ => ความเคยชิน => นิสัย

อย่างเรื่องเกมที่ยกตัวอย่างมานั้นแหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท