บทเรียน จาก Dialogue (ตอนที่ ๒)


วิทยากรไม่ได้สรุปรวบยอดให้กับเราว่า Dialogue หรือสุนทรียสนทนา คืออะไร ทำไมต้องมี Dialogue จะทำ Dialogue อย่างไร ทำ Dialogue ได้เมื่อไร เป็นต้น แต่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะเก็บเกี่ยวกันได้เองจากการพูดคุยกันในวงสนทนา จากการแลกเปลี่ยนกับทีมวิทยากร ตลอดระยะเวลา ๒ วัน

บทเรียน  จาก  Dialogue  (ตอนที่ ๒)

               

                ส่วนวันที่สอง  ตอนเช้าพวกเราทุกคน มีนัดทำกิจกรรมโยคะกับ ภรรยาของ Professor   เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง  และเป็นหนึ่งชั่วโมงที่น่าสนใจ  ได้รู้ว่า โยคะดีสำหรับเราอย่างไร  แล้วทำไม ภรรยาของ Professor จึงยังมีหน้าตาอิ่มเอม  รูปร่างทรวดทรงที่ดีมากเมื่อเทียบกับผู้หญิงวัย  ๖๐กว่าคนอื่นๆ ที่สำคัญ ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้ว่า การใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมใดๆ  ในชีวิตประจำวันของเราให้ช้าลงบ้าง  จะช่วยทำให้ชีวิตเราสงบ นิ่ง  ผ่อนคลาย และอิ่มสุขเพิ่มขึ้นอีกมากทีเดียว

                หลังจากจบกิจกรรมโยคะ  ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงโปรแกรมการเรียนรู้การทำสุนทรียสนทนาระดับสูง (การเข้าใจตนเอง)  เข้าใจถึงปัญหาตนเอง  การเปลี่ยน Mental Model  มีกิจกรรมกลุ่มย่อย  การจับกลุ่ม ๒ คนแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ   และการพูดคุยสนทนากลุ่มใหญ่   เป็นการจบการกิจกรรม Dialogue Workshop  จบแบบที่วิทยากรไม่ได้สรุปรวบยอดให้กับเราว่า  Dialogue  หรือสุนทรียสนทนา คืออะไร  ทำไมต้องมี Dialogue  จะทำ  Dialogue  อย่างไร  ทำ  Dialogue ได้เมื่อไร  เป็นต้น  แต่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะเก็บเกี่ยวกันได้เองจากการพูดคุยกันในวงสนทนา จากการแลกเปลี่ยนกับทีมวิทยากร  ตลอดระยะเวลา  ๒  วัน  นอกจากนั้น เราต้องนำไปคิดวิเคราะห์  ใคร่ครวญ พร้อมทั้งนำไปทดลองปฏิบัติเอง  เราจึงจะเข้าใจถึงคำว่า  Dialogue

            โดยวิทยากร ได้ให้หลักสำหรับฝึกฝนตัวเราเอง ในการทำ Dialogue  ไว้ดังนี้ คือ

๑. เขาพูดอะไร

๒. เขารู้สึกอย่างไร

๓. ทำไมเขาจึงรู้สึกเช่นนั้น แล้วถ้าเป็นเราจะรู้สึกอย่างไร

๔. ทางแก้ไขควรจะเป็นอย่างไร

              การทำ Dialogue  เมื่อฟังคนอื่นแล้วจะต้องหาคำถาม  เพื่อถามต่อ  ซึ่งการถามจะเป็นการถามเพื่อให้เกิดการ Reflection  ไม่ใช่ถามเพื่อตัดสินตีความ  ดังนั้น จำเป็นต้องใช้ศิลปะในการถาม  เราต้องฝึกเรียนรู้ที่จะถามคำถามอย่างสร้างสรรค์ และเป็นคำถามที่ช่วยสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยน  ไว้ใจซึ่งกันและกัน

             ซึ่งผู้เขียนได้ Key  Word  ของการ Dialogue  ร่วมวงในกลุ่มครั้งนี้มากมาย  อาทิ   การฟังคนอื่นๆ อย่างตั้งใจ,  การไม่ตัดสิน ตีความ, การคิดใคร่ครวญ,  การให้ใจ,  การถามคำถาม,  การคิดสร้างสรรค์,  การมองเป็นองค์รวม, การเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม,  การปฏิบัติจริง, มุมมองเชิงบวก, การชมเชย/ให้รางวัล, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน, ความเป็นกันเอง, ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงตนเอง, การประยุกต์ใช้,  การมีเป้าหมาย, ความเป็นธรรมชาติ,  การให้ความสำคัญของการ Care &  Share  เป็นต้น  และมีวลีที่ผู้เขียนประทับใจมาก ซึ่งเป็นคำพูดของคุณหมอสมนึก  จากโรงพยาบาลค่ายฯ ที่ได้เข้าร่วมวง Dialogue ในครั้งนี้ด้วย  คุณหมอกล่าวสรุปไว้ว่าการ  Dialogue  คือ  การพูดในสิ่งที่คนอื่นคิด  การคิดในสิ่งที่คนอื่นพูด  และการทำในสิ่งที่ทุกคนพูด (โดยผ่านการสังเคราะห์  ใคร่ครวญ  ด้วยตนเองแล้ว) และยังมีบางท่านสรุปเพิ่มเติมอีกว่า  Dialogue  คือการปฏิบัติธรรม  เป็นการพูดจากใจ  ฟังด้วยใจ  คิดด้วยใจ  และทำด้วยใจ ซึ่งผู้เขียนคิดว่า  เป็นแนวคิดหรือหลักการของการทำ  Dialogue  ที่เข้าใจง่ายดี 

yayaying

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 95เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2005 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พอดีเป็นผู้เข้าร่วม Dialogue ในครั้งนี้ ขอ share ประเด็นว่าการทำDialogue ถ้ามองในมิติคนพุทธ  จะเห็นได้ว่าบางสิ่งบางอย่างมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว เช่น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เข้าใจซึ่งกันและกัน  แต่สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน เราห่างไกลเรื่องศาสนา เพราะต้องทำแต่งาน  พึ่งเทคโนโลยีมากไปหน่อย  เลยไม่ค่อยเข้าใจตัวเองและผู้อื่น ติด Logic ไปหน่อย  เห็นด้วยกับการนำ Dialogueมาใช้ค่ะ  ประทับใจ,มากค่ะจากการได้ร่วมทำที่มน.ที่ผ่านมา 

                                Moleudee

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท