การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ใน อบต.


เนื่องจากมีคนสนใจเรื่องการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการแก่ชุมชนในท้องถิ่น   ผมจึงนำเรื่องโครงการ สถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น ที่ดำเนินการโดยคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ มาให้ได้ทราบกัน    อบต. ที่สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อที่คุณทรงพล โดยตรงนะครับ  โทรศัพท์ 01 874 4054 หรือ e-mail : [email protected]

ความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ท้องถิ่น

 

การทำงานโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ระยะที่ 1 ที่ดำเนินการในภาคกลาง (5 จังหวัด) ได้พัฒนา นักจัดการความรู้ท้องถิ่น’ (นจท.) ขึ้นมาเป็นกลไกสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ชุมชนเป็นสุขทำหน้าที่เชื่อมโยงและจัดการความรู้เพื่อชุมชน ซึ่งจำเป็จะต้องทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในฐานะเป็นรัฐบาลท้องถิ่น  ขณะเดียวกันชุมชนเองจำเป็นต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับตัวภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้คาดว่าภายใน 2 ปี สมาชิกของ อบต. ที่เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ 1) การวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 2) การเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้และเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้  3) พลังกลุ่ม  4) การออกแบบการเรียนรู้  5) การจัดการเรียนรู้สู่ดุลยภาพ 6) การบูรณาการ  7) การจัดการความรู้  8) การจัดองค์กรและเครือข่าย 9) การประชุมอย่างมีส่วนร่วม สำหรับแนวทางการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน  คือ 1) รวบรวมรายชื่ออบต. และผู้ประสานงาน 2) ประชุมพัฒนาหลักสูตร 3) กำหนดแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้  4) ลงมือปฎิบัติ  จากนั้นจึงทำให้เกิดโครงการสรส.ในระยะที่ 2 โดยใช้หลัก การเรียนรู้ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพื่อแก้ปัญหาทุกข์ของชาวบ้าน ตัวอย่างเช่น  โรงเรียนชาวนาที่เกิดรูปธรรมของความสำเร็จในหลายๆ ที่ เพราะจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวนา แต่ชุมชนยังต้องการโรงเรียนพ่อ-แม่ โรงเรียนผู้นำ โรงเรียนสุขภาพ และอื่นๆ ซึ่งเห็นว่าหน่วยงานที่มีความเป็นไปได้ในการทำงานร่วมกัน คือ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) สหกรณ์ โดย นจท. เดิม และที่คาดว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องทำงานเสมือนเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงชุมชนกับหน่วยงานภายนอกได้ ซึ่งเครื่องมือด้านการจัดการความรู้ชุดธารปัญญาจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เรียนรู้ส่วนนี้ได้ และจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากสามารถผลักดันให้เกิดเป็นสถาบันการจัดการความรู้ของชุมชนท้องถิ่น เพราะจะทำให้กิจกรรมแต่ละส่วนสอดคล้องและต่อเนื่องกัน

จากการประชุมแนวทางในการพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ของชุมชน ที่ผ่านมา ทางสรส. อบต. ที่สนใจเข้าร่วมโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ท้องถิ่น โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง จากการประชุมได้นำเนื้อหาความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น แบ่งได้เป็น 7 หัวข้อหลัก คือ 1) เสริมศักยภาพตนเองขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2) การจัดการแบบแยกส่วนของหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาในชุมชน 3) องค์กรปกครองท้องถิ่นจะเข้มแข็งไม่ได้หากไม่มีหน่วยจัดการความรู้ 4) ลักษณะคนรุ่นใหม่ที่จะจัดการความรู้ในท้องถิ่น 5) ลักษณะของการจัดการความรู้ของท้องถิ่น  6) นักจัดการความรู้ท้องถิ่น (นจท.) ตัวช่วยที่โครงการฯได้สร้างขึ้น 7)  ตัวอย่างการทำงานของสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น  ยังมีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นและศักยภาพของอบต. ที่เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็น 4 ข้อ คือ 1) อบต. เป็นความหวังของจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เล็ก ๆ  2) เริ่มมีการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การจัดการความรู้ท้องถิ่น  3) การรวมกลุ่มกันจนเกิดสภาหมู่บ้าน  4) ตัวอย่างดี ๆ ที่เดินหน้าไปให้เห็นก่อน   และยังมีแนวทางและแผนการดำเนินงาน  ซึ่งมีทั้งหมด 8 ข้อ คือ 1) คัดเลือกแกนนำ  2)  ออกแบบหลักสูตร  3)  การคัดเลือกแกนนำและบทบาทหน้าที่แกนนำ  4)  ความสามารถหลักของนจท. และแกนนำที่คาดหวัง  5) จุดยืนของนักจัดการความรู้ท้องถิ่นในชุมชน  6)  การประเมินผล 7)  สรุปความคาดหวังของโครงการ

การเข้าร่วมโครงการนี้สิ่งที่คำนึงถึงด้านโครงสร้างโดยไม่ติดอยู่ด้านวาระของการบริหาร แต่เป็นโครงสร้างที่มีความร่วมมือของส่วนต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา  ส่วนหนึ่ง อบต. ต้องไปสร้างความร่วมมือของหน่วยงานทั้งหลาย เมื่อนจท. และแกนนำเข้ามา ก็สามารถจัดการเชื่อมร้อยระบบได้อย่างบูรณาการ ซึ่งขณะนี้บุคลากรของหน่วยงานต่างๆ เข้ามาโดยตอบสนองนโยบายของหน่วยงานตัวเอง ทำอย่างไรเราจะให้เขาตอบสนองต่อนโยบายของอบต. ด้วย ซึ่งคิดว่าระยะเวลา 2 ปีนั้นที่โครงการเป็นคนสนับสนุน การมองเรื่องการเตรียมคนของอบตโดยเฉพาะเกี่ยวโยงกับฝ่ายการศึกษาของอบต. ซึ่งยาวพอที่เราจะสร้างให้เห็นรูปธรรม และเป็นเวลาที่พิสูจน์ให้ทางเขาเห็นความสำคัญ ประโยชน์ และคุณค่า ว่ามันเป็นสิ่งดี มีการประเมินผล มีตัวชี้วัด เขาน่าจะเริ่มเล็งเห็นว่า การมีหน่วยจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ดีในชุมชน ที่จะเป็นหน่วยงานคอยประสานและเชื่อมโยงทั้งสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนและสิ่งที่เข้ามาในชุมชน เมื่อถึงจุดหนึ่งโครงการก็พร้อมที่จะเอาไปเสนอต่อหน่วยนโยบายในระดับบน เนื่องจากการที่จะรอให้เจ้าหน้าที่รัฐคิดออกนอกกรอบนั้นยากมาก แต่หลัง 2 ปี อบต.ต้องช่วยพิจารณานักจัดการความรู้ท้องถิ่นด้วย  สิ่งที่เราจะทำมันจะกระเทือนอบต.ทั่วประเทศ 

นอกจากนี้การที่อบต.ไม่มีเครื่องมือ วิธีการ ไปนำเสนอให้แก่พวกเขา เขาก็จำวิธีเก่า ๆ มาใช้กับสมาชิกอบต. ซึ่งจริงๆ เราสามารถทำงานให้ชาวบ้านได้หลายเรื่องมาก แต่มักเข้าไม่ถูก ต้องมีคนไปแนะแนวทางให้ เนื่องจากโครงการก่อสร้างทำได้ง่ายสุดจึงไปมุ่งเน้นตรงนั้น บางคนอาจอยากทำอย่างอื่นแต่ไม่มีรูปแบบที่จะทำกับชาวบ้าน  ถ้าหากอบต. ออกไปจัดกิจกรรมกับชาวบ้านในชุมชนบ่อยๆ ให้รู้สึกว่าการมีหน่วยจัดการความรู้อย่างนี้เป็นสิ่งที่ดีอยู่ในหมู่บ้าน ก็น่าจะสร้างความนิยมกับชาวบ้านได้ง่าย แต่มักจะมีวิธีคิดในเรื่องรูปแบบการสร้างความนิยมกับชาวบ้านแบบเก่า  อย่างตัวเด็ก ๆ เวลาเขาเรียนรู้ ถ้าแบบเดี่ยวๆเขาจะไม่สนุก ต้องเรียนรู้แบบเป็นกลุ่ม มีเพื่อนทำเหมือนๆกัน นั่นคือ พลังกลุ่ม คอยประคับประคอง เป็นกำลังใจให้แก่กันดีกว่าการทำเดี่ยวๆ ซึ่งอาจก่อให้การดำเนินต่อไปไม่ได้ผลได้ 

สถาบันนี้จึงต้องอำนวยสภาพแวดล้อมให้เขาเกิดการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งต้องอาศัยการจัดการ ทุนก็มีอยู่มากมายในชุมชนอยู่แล้ว สิ่งดีๆ อยู่ตรงไหน จะเชื่อมต่อกันอย่างไร เชื่อมด้วยอะไร ใครจะมาช่วยเชื่อม (เราจะสร้างช่างเชื่อมนั่นเอง) ต้องปักธงคือตรึงคนรุ่นใหม่อยู่ในชุมชนให้ได้ อยู่บนฐานเศรษฐกิจอย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณค่า  การศึกษาไม่ใช่เส้นทางเดียวของการมีศักดิ์ศรีมีคุณค่า แต่สามารถสร้างจากการเรียนรู้บนชีวิตจริงของตัวเราเองได้  ตัวสถาบันต้องดึงผู้หลักผู้ใหญ่มาคอยให้กำลังใจ ให้คุณค่าของเขา ประเด็นอยู่ที่กลุ่มการเรียนรู้ ดูว่าเงื่อนไขแห่งความสำเร็จมีอะไรบ้าง เราต้องคิดให้ทะลุ คิดไปล่วงหน้าไห้ได้ เตรียมการล่วงหน้าให้ได้ บทบาทหรือกลไกเหล่านี้จะทำหน้าที่อย่างไรได้บ้าง  จึงฝากสื่อสารถึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต่าง ๆ ด้วยว่าหากสนใจเรื่องอะไร โครงการฯจะจัดกลุ่มแล้วร่วมฝึกอบรมด้วยกัน ไม่ว่าจะเรื่องโรงเรียนเด็ก โรงเรียนเกษตรกรหรือโรงเรียนผู้นำ 

ดังนั้นจึงเล็งเห็นว่า อบต. จำเป็นต้องเตรียมคน ภายใต้สภาวะปัจจุบันที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อันมีผลต่อความคาดหวังของสังคมที่มีต่อบทบาทของอบต.

ทรงพล  เจตนาวณิชย์  

ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)

 

 

 

 

 

 

         

 

 

 

 

 

สืบเนื่องจาก การประชุมความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ท้องถิ่น วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ ได้รับความ ๑๗ แห่ง   และได้มีการแนะนำ ทำความเข้าใจแนวคิด แนวทางการทำงานของโครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และได้เสนอชื่อผู้ประสานงานไว้นั้น

ทางโครงการ สรสดังกล่าว ประชุมทำความเข้าใจแผนการดำเนินงานในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยมีสาระจากการประชุมดังนี้

          . จากการที่โครงการ สรส. เป็นตัวกลางเชื่อมร้อยการทำงานเพื่อให้ อบต.ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐบาลท้องถิ่นได้ใช้การจัดการความรู้เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการทำงานพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ตามที่แต่ละท่านได้สะท้อนวัตถุประสงค์ของการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอบต. เช่น

-          ต้องการทราบปัญหา และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน

-          ต้องการใช้ความสามารถ/ความคิดที่มีสร้างสรรค์สังคมให้เจริญรุ่งเรือง

-          ต้องการให้หมู่บ้านที่ตนอยู่เจริญก้าวหน้าพัฒนาไปในทางที่ดี 

-          ต้องการเร่งแก้ปัญหา ประคับประคองชุมชน 

-          ต้องการใช้สิทธิบริหารท้องถิ่นของตัวเองที่รัฐกระจายอำนาจมาให้

-          ต้องการใช้ความเดือดร้อนของประชาชน มาช่วยแก้ปัญหา

-          ต้องการเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนมาช่วยกันแก้ปัญหา

-          ต้องการเป็นตัวแทนของประชาชนและกับราชการ รับฟังปัญหาชาวบ้าน นำความรู้มาให้

จะเห็นได้ว่าการเข้ามาทำงานในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอบต.ของทุกท่านก็เพื่อทำตัวเองให้มีคุณค่ามีประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง มากกว่าเพื่อประโยชน์ในแง่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่จะดำเนินการไปด้วยกัน เราจะร่วมมือ/เกื้อหนุนกันอย่างไร ซึ่งจะได้ขยายความเพิ่มขึ้น และคาดหวังให้ท่านที่เข้าร่วมประชุมกลับไปสื่อสารกับอบต.ให้เข้าใจมากขึ้นต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว

 

. การจัดการแบบแยกส่วนของหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาในชุมชน  ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน แต่งบประมาณอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ชาวบ้านยังคงตกอยู่ในวัฏจักรความยากจนมาตลอด เห็นได้ชัดทั้งเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต  จากเวทีตำบลที่โครงการฯจัดขึ้นได้วิเคราะห์พบว่า มีหน่วยงานมากมายที่เข้ามาช่วย เช่น ราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน สหกรณ์ ธุรกิจ สถาบันศาสนา หรือแม้แต่อบต.เอง แต่ทั้งหมดล้วนมีการจัดการปัญหาแบบแยกส่วน  ชาวบ้านยังมีปัญหา  ต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน ไม่สามารถจัดการตนเองได้  อบต.ในฐานะเป็นรัฐบาลท้องถิ่น มองอย่างไร จะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร

สภาพความยากจนของชาวบ้าน คือการที่รายได้น้อยกว่ารายจ่ายทำให้เกิดหนี้สิน สุขภาพกายและจิตอ่อนแอ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากขาดโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ อันได้แก่

) ขาดข้อมูลข่าวสาร ไม่รู้เท่าทัน 

) ขาดตลาด ไม่ทราบว่าตลาดอยู่ไหน จะขายใคร

) ขาดการรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าไม่ถึงแหล่งเทคโนโลยี ถึงแม้อยู่ใกล้ตัว  

) ขาดทุนคือตัวเงินในการทำมากิน

) ขาดปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์พืช ปุ๋ย อุปกรณ์

) ขาดฐานทรัพยากรในการประกอบอาชีพ เช่น แหล่งน้ำ ที่ดินทำกิน

นักจัดการความรู้ท้องถิ่นของโครงการฯ (นจท.) ได้ไปสำรวจและวิเคราะห์ทุนพบว่า ความรู้ภายในชุมชนมีอยู่มาก มีเงินลงมาในชุมชนจำนวนมหาศาล  แต่เป็นที่น่าเสียใจที่โครงการต่างๆไม่เป็นผล ทั้งนี้เพราะ ขาดการจัดการ เป็นสำคัญ จึงต้องเสริมสร้างกลไกการจัดการเรียนรู้ของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

          ทำอย่างไรให้ในท้องถิ่นมีคนทำงาน มีกลไกที่สามารถบริหารจัดการเป็น นักจัดการจะต้องเป็นคนในท้องถิ่นจึงจะก่อให้เกิดความเข้มแข็ง องค์การส่วนท้องถิ่นและชุมชนจะเข้มแข็งได้อย่างไรในเมื่อหนุ่มสาวมุ่งเข้าในเมืองหมด ในตำบลมีคนแก่กับเด็ก อบต.ต้องมองระยะยาวถึงจุดที่จะสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นได้คือ ต้องสร้างคน

 

. องค์กรปกครองท้องถิ่นจะเข้มแข็งไม่ได้หากไม่มีหน่วยจัดการความรู้ หากมองชุมชนเป็นประเทศ มีเงินอยู่ในชุมชน องค์กรปกครองมีฝ่ายการจัดการเรียนรู้หรือฝ่ายการศึกษาที่จะช่วยชุมชนได้  ความยากจนจะแก้ไขไม่ได้ อบต.จะเข้มแข็งไม่ได้ ถ้าชุมชนไม่มีหน่วยการจัดการความรู้ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ปัญหาความยากจนซึ่งเน้นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จะเกิดขึ้นได้ ชาวบ้านต้องการการเรียนรู้ และปรับตัว ต้องการกระบวนการ ต้องการความช้า ต้องคอยตั้งคำถาม พาไปเรียนรู้ นำมาทดลองปฏิบัติจริง เพราะธรรมชาติการเรียนรู้ของชาวบ้านเกิดจากการลงมือทำ อบต.ต้องทำให้ชาวบ้านสามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้

 

. ลักษณะคนรุ่นใหม่ที่จะจัดการความรู้ในท้องถิ่น  หากพิจารณาจากปรากฏการณ์จริงในปัจจุบัน เห็นความจริงอยู่ ๒ ด้านคือ ด้านหนึ่งคนรุ่นใหม่ที่เข้าไปในชุมชนผ่านระบบการศึกษาที่เน้นเรียน อ่าน ท่อง ไม่ได้ลงมือ เจ้าหน้าภาครัฐที่เข้าไปส่งเสริมเรื่องต่างๆก็ไม่ได้รู้จริง เพราะไม่ได้ทำมาก่อน ชาวบ้านก็ไม่ค่อยเชื่อ  อีกด้านหนึ่งชาวบ้านอยู่ในระบบการปกครองมานาน เขาจึงคิดว่าเมื่อมีปัญหาอะไร รัฐก็มีหน่วยงาน
เข้ามาจัดการ เขาจึงไม่คิดเอง รออย่างเดียว สำนึกการพึ่งตนเองหายไป รู้ไม่เท่าทัน

การที่เราจะพาชาวบ้านเรียนรู้อย่างเท่าทันและพอเพียงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ความพอเพียงของคนไม่เท่ากัน เด็กในชุมชนเห็นมีรถก็อยากได้ เห็นเพื่อนมีโทรศัพท์ก็อยากได้ ถ้าพ่อแม่ไม่ให้ก็หนีออกจากบ้าน ประชดตัวเอง สะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมต้องมีความสมดุลไปพร้อมกัน ระบบการศึกษาให้สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เราต้องลุกขึ้นมาทำการศึกษาให้ชุมชน เพื่อสร้างกลไกการจัดการความรู้ของชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งโครงการฯถือว่าเป็นความสำคัญ ดังนั้น การคัดเลือกคนทำงานจึงต้องมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการคือ

() มีใจ (ใจต้องมาก่อน)

() มีธรรมมะ

() ลงมือทำจริง

 

. ลักษณะของการจัดการความรู้ของท้องถิ่น  จากเวทีตำบลในพื้นที่ โครงการฯได้ประสานให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งเด็กเยาวชน พ่อแม่ พระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่ มาพูดถึงปัญหาของชุมชน เช่น ความรุนแรงของสื่อที่เข้ามาโดยตรง พ่อแม่ไม่ทันลูกซึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ความอดทน/ความแกร่งหายไป  มีความสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้จิตวิทยาการเลี้ยงลูก แต่พ่อแม่จะเข้าใจในสิ่งเหล่านี้อย่างไร หากชุมชนไม่เห็นความเชื่อมโยงของปัญหา ไม่เห็นรากเหง้าที่แท้จริง  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะชุมชนไม่มีการเรียนรู้ของตนเอง ปล่อยให้เป็นเรื่องของโรงเรียน ต่างจากสมัยก่อน  ทั้งที่ปัจจุบันพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ เปิดโอกาสออกมาแล้วว่า ชุมชนสามารถสร้างการศึกษาและการเรียนรู้เองได้

          สิ่งสำคัญที่ชุมชนต้องเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายคือการกินดี อยู่ดี มีสุข ได้แก่

() รู้จักตัวเอง โดยการทำบัญชีครัวเรือน บัญชีชุมชน บัญชีชีวิต ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกัลยาณมิตร ไม่มีเพื่อนแท้คอยเตือน

() รู้จักชุมชน  เรียนรู้และทำความเข้าใจทุนในชุมชนซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น กองทุนหมู่บ้าน อาชีพ สุขภาพ วัฒนธรรมประเพณี ฯลฯ ซึ่งต้องมีการจัดการ มีแต่เงินอย่างเดียวแต่ความรู้ไม่ไหลมาก็ไม่มีประโยชน์

ปัจจัยสำคัญของชุมชนคือผู้นำ ผู้นำควรมีใจให้ชุมชน มีความรู้ มีทักษะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน  มีคำถามที่น่าสนใจว่า สมาชิกอบต.ในฐานะผู้นำท้องถิ่น จะ ๑) สามารถเข้าไปสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนได้หรือไม่ และ ๒) รู้เท่ารู้ทันสิ่งที่เข้ามาในชุมชนหรือไม่   แนวคิดของโครงการฯ เชื่อว่าส่วนมากทุกท่านเข้ามาสู่ตำแหน่งหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็เพื่อประโยชน์ของชุมชนอย่างแท้จริง การจะทำเช่นนั้นได้ต้องสามารถสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามา สามารถตรึงลูกหลานให้อยู่ในชุมชนให้ได้ มิฉะนั้นองค์กรปกครองท้องถิ่นเองจะไม่มีกำลังทำงานชุมชน  โดย แผนแม่บทชุมชนจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยชุมชนได้

() รู้จักโลก รู้ทันการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก รู้ทันกระกระแสโลกาภิวัตน์ที่เข้ามาสู่ชุมชน

 

. นักจัดการความรู้ท้องถิ่น (นจท.) ตัวช่วยที่โครงการฯได้สร้างขึ้น โครงการให้ความสำคัญต่อการสร้าง นจท. ระยะแรกที่ผ่านมาเน้นให้เขารู้จักตัวเอง พัฒนาฐานคิด ความรู้ และทักษะที่จำเป็น  ระยะที่ ๒ เน้นให้นจท.มีบทบาทในการพัฒนาของอบต. โดยสร้างรูปธรรมของการจัดการความรู้ของชุมชน ซึ่งประกอบ ด้วย

()วิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

()เรียนรู้ธรรมชาติการเรียนรู้ของชาวบ้าน ว่าชาวบ้านเรียนรู้แบบไหน เราต้องมีเครื่องมือและกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กหรือชาวบ้านเรียนรู้อย่างสนุกได้อย่างไร 

()สร้างกลุ่ม และใช้พลังของกลุ่ม

()ออกแบบการเรียนรู้สู่ดุลยภาพทั้งทางกาย ใจ ปัญญา ชุมชน และสังคม อย่างบูรณาการ

()สร้างเครือข่ายการเรียนรู้

()มีการจัดการองค์กรและเครือข่าย

()ใช้การประชุมอย่างมีส่วนร่วม

นจท.ที่สร้างขึ้นนี้ แม้จะยังไม่เก่งเพราะแค่เป็นการเริ่มต้น แต่กำลังพัฒนาไปสู่ชั่วโมงบินที่เพิ่มขึ้น จะเป็นกำลังหลักของการจัดการความรู้ท้องถิ่น หรือจะเรียกว่า โรงเรียนหรือวิทยาลัยชาวบ้านเป็นสถาบันที่มีความยั่งยืน มีคนทำงาน มีทีมงาน ชุมชนจึงจะเป็นสุขอย่างแท้จริง  ความเป็นสถาบันดังกล่าวไม่ใช่อาคาร แต่เป็นความต่อเนื่อง มีความร่วมมือเชื่อมโยงถึงกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) สถาบันเทคโนโลยีต่างๆ  ซึ่งควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ตลอดถึงมีการบันทึก สะสมความรู้อย่างเป็นระบบ

          หากองค์กรปกครองท้องถิ่นเห็นว่าสถานภาพคอขวดที่กล่าวมาเป็นความจริง และเห็นด้วยในการทำงานโดยมีนจท.เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งสามารถเป็นผู้ช่วยที่ไม่ใช่เพียงแต่ทำในพื้นที่ แต่จะทำในระดับเครือข่าย อย่างเช่นภาคกลางของเรามี ๕ จังหวัด ภายในระยะเวลา ๓ เดือนเราจะมาเรียนรู้ร่วมกัน เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ โครงการฯจะมีเครื่องมือให้ ขณะเดียวกันจะเป็นผู้เชื่อมวิทยากรจากภายนอกให้เข้ามาให้ความรู้ด้วย

 

. ตัวอย่างการทำงานของสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น จะเน้นสร้างการเรียนรู้เรื่องใหญ่ ๆ  เช่น สุขภาวะ ผู้นำชุมชน อาชีพ การสื่อสาร วัฒนธรรม กองทุน ครอบครัว เพื่อนำไปสู่ความเป็นสุขของชุมชน  โดยเกาะเกี่ยวสถาบันการศึกษาเข้ามาเชื่อมโยง  ดึงห้องเรียนมาอยู่ในชุมชน การจัดการเรียนการสอนติดอยู่พื้นที่ มีการให้ปริญญาบัตรได้ด้วย นักเรียนก็จะอยู่ในชุมชน ได้เรียนรู้ชุมชนของจริง 

ตัวอย่างหน่วยงานที่สามารถเชื่อมโยงได้ เช่น โครงการวิจัยที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับ- สนุนการวิจัย (สกว.) ที่ปฏิบัติงานให้เกิดผลได้มาก (เช่น เรื่องหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน) แต่ยังขาดคนที่จะเชื่อมลงมาสู่พื้นที่   สถาบันสิรินธร ทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับคนพิการ ก็ยินดีจะถ่ายทอดและปฏิบัติการในพื้นที่  

มีตัวอย่างชุมชนที่จัดการตัวเองได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว คือชุมชนไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราช ที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรผู้นำท้องถิ่น เรียนในพื้นที่ สามารถเทียบโอนประสบการณ์ได้ด้วย   หรือการให้ลูกหลานเกษตรกร ทำการเกษตรในพื้นที่ ๓ ไร่ให้อยู่ได้ พิสูจน์ตัวเองบนฐานการเกษตรได้ภายใน ๓ ปี  หรือการเชื่อมโยงกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ให้บัณฑิตคืนถิ่นทำเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนโดยได้รับประกาศนียบัตร เป็นต้น

หากบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความหวัง ความปรารถนาที่ต้องการพัฒนาท้องถิ่นโครงการฯจะเป็นตัวเชื่อมร้อยชุมชนกับสถาบันภายนอก  โดยใช้ใช้ นจท.และแกนนำซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น ปลุกระดมรักท้องถิ่นง่ายกว่าคนนอกชุมชน  แต่เราควรให้จุดยืนแก่เขาซึ่งอบต.น่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุด

โครงการฯ ไม่ใช่หน่วยราชการ ใช้วิธีการสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ  ต้องการสร้างให้อบต.เป็นตัวอย่าง ซึ่งหากอบต.ทำด้วยความมุ่งมั่นก็จะเป็นจุดเรียนรู้ของทั่วประเทศ แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่าอบต.จะเป็นรัฐบาลท้องถิ่นจริงหรือไม่  โครงการฯจะเข้ามาในฐานะเพื่อน โครงการฯมีทุนอะไร อบต.เองมีทุนอะไร ก็จะช่วยหนุนเสริมกำลังแก่กันได้

ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นและศักยภาพของอบต.ที่เข้าร่วมประชุม

 

) อบต.เป็นความหวังของจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เล็กๆ  เห็นด้วยว่า เริ่มต้นจากการเรียนรู้ของทุกฝ่าย  เมื่อประสานกับหน่วยงานราชการ (รวมทั้งอบต.) รู้สึกหนักใจ/น้อยใจทุกครั้ง ในเรื่องกฎระเบียบของส่วนราชการ ที่มีข้อบังคับ และคำนึงถึงฐานเสียง คิดจะพัฒนาโดยดึงงบประมาณไปแต่หมู่บ้านตนเอง  เมื่อประสานกับชาวบ้านก็เจอกับความคิดที่ต้องการเงินอย่างเดียว ต้องมีเงินตอบแทนจึงจะมา  เราก็พยายามทำงานร่วมกัน  เป็นข้อเท็จจริงที่ควรพิจารณาว่าเราจะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ตำบลของตัวเองมา ๒ คน อีกหลายพันคนยังไม่ได้รับรู้ แต่ถ้าเราไม่เป็นคนเริ่มต้น อีกหลายพันคนนั้นจะรับรู้ได้อย่างไร การเรียนรู้ของชุมชน ถ้าลำพัง ๒ คนนี้ คงไม่มีกำลังเพียงพอ  อบต.ได้รับบทบาทมากมายที่ลงมาเป็นเอกสาร  ในฐานะที่เราเป็นตัวกลาง เราเล่นบทบาทที่เขาให้แสดง แต่เมื่อจบเราก็ยังเป็นพี่น้องกัน เราต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าจะมีเวทีน้อยนิดแค่ไหน อยากให้เราทุกคนแสดงศักยภาพของเราให้เขารับรู้  อบต.ถูกคาดหวังและถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก  เราเป็นหน่วยงานใหม่ ไม่มีองค์กรมาเป็นหน้าเสือให้เรา  แม้มีเงินเพียงนิด แต่มีเพื่อนฝูงคอยฝ่าฝันอุปสรรคไปร่วมกัน คนสุพรรณไม่ได้คิดจะมีถนนหนทางที่ดีอย่างเดียว เราอยากปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนของเราไปในทิศทางที่ดีด้วย (องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย)

กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่า เราต้องไปต่อสู้กับความคิด ความเคยชิน มากมาย ภายใต้ปัญหา และความยุ่งยาก ไม่ใช่ไม่มีทางออก หัวใจสำคัญคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงความคิด พฤติกรรม เราต้องไปสร้างไว้มากๆก่อน อยู่ๆจะเปลี่ยนทันใจไม่ได้ เราเปลี่ยนโลกทั้งโลกไม่ได้ แต่ความสุขของเราก็ยังมีแม้เพียงน้อยนิด

 

          เริ่มมีการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การจัดการความรู้ท้องถิ่น เริ่มต้นจากกลุ่มย่อยก่อน จากนั้นก็ขยายต่อไปไม่ได้สร้างกลุ่มเดียว มีคนมาช่วยเราสมทบด้วย  ต้องเดินหาซึ่งกันและกัน  งานที่ทำคือลดปัญหาด้านการเกษตรที่เป็นอยู่ซึ่งรอน้ำฟ้าเท่านั้น กักเก็บน้ำไม่ได้ผล ถ้าน้ำไม่มีก็ไม่ได้ทำการเพาะปลูก  จึงมีการรวมกลุ่มกันเลี้ยงสัตว์ ทางผู้บริหารก็เห็นความสำคัญเป็นอาชีพหนึ่งเพิ่มขึ้นมา  พอรวมกลุ่มกันได้ก็ประสานความช่วยเหลือจากเทศบาล ปศุสัตว์ก็เข้ามาแนะนำว่าพื้นที่เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ชนิดใด  เทศบาลจึงกลายเป็นศูนย์รวมการเรียนรู้ด้วยความต้องการของเขาเอง  ได้รับสนับสนุนงบประมาณครัวเรือนละ ๓ หมื่นบาท ไปซื้อสัตว์มาเลี้ยง ให้ชาวบ้านเลือกซื้อเอง เงินเหลือก็มาทำโรงเรือน กำหนด ๓ ปีให้ส่งเงินคืน จากควาย ๒ ตัว ขยายเป็นเกือบ ๑๐ ตัวแล้วในขณะนี้  จาก ๑๖ หมู่บ้านในตำบลขยายเป็นมีวัว ควาย แพะ ๒๒๐ ครัวเรือน นอกจากนี้มีกลุ่มยุวชนเลี้ยงผึ้ง กลุ่มผู้ปลูกข้าวพันธุ์ดีอีก ๔-๕ กลุ่ม  แต่ยังขาดการประสานงานเชื่อมโยงหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในการลงไปสู่ชุมชน เช่น กศน. ซึ่งทำให้ชาวบ้านรู้ว่าลักษณะต่างคนต่างทำ (องค์การบริหารส่วนตำบลตลุกดู่)

 

            ) การรวมกลุ่มกันจนเกิดสภาหมู่บ้าน การแก้ปัญหาของหมู่บ้าน ส่วนใหม่ชาวบ้านไม่ค่อยเสนอความคิดเห็น ให้ผู้ใหญ่เป็นฝ่ายคิดอย่างเดียว เริ่มการมีส่วนร่วมโดยคัดเฉพาะผู้นำโดยธรรมชาติมาร่วมคิด จาก ๑ หมู่บ้าน เป็น ๒ หมู่บ้าน ขยายไปเรื่อย ๆ จนถึง ๑๑ หมู่บ้าน การแก้ปัญหาโดยทำ สภาหมู่บ้านนี้ มีการเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านที่เริ่มเห็นคือ จากแรกๆมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่กี่สิบคน ขณะนี้มีมาร่วมประชุมนับร้อยคน  (องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าไซ)

 

            ) ตัวอย่างดีๆที่เดินหน้าไปให้เห็นก่อน  ตำบลประดูยืนมีความโชคดีตรงที่เราเริ่มทำแผนแม่บทชุมชนก่อน เนื่องจากมีทรัพยากรที่สมบูรณ์และมีผู้นำที่เก่ง โดยเฉพาะนายกฯประดู่ยืนที่เป็นผู้นำในเวทีระดับชาติ ประสานความร่วมมือจากภาครัฐได้ดี และสิ่งที่ทำก็ตรงกับนโยบายของรัฐบาลพอดี นายกฯอบต.เป็นแกนนำในการขยายผล ๓๐ ตำบลทั่วจังหวัดร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐให้ความร่วมมืออย่างมาก การทำงานง่ายขึ้น  การแก้ปัญหาเริ่มจากพิจารณาเห็นว่าตำบลประดู่ยืนเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว แต่ทำไมเกษตรกรกว่า ๘๐% ทำการเกษตรแต่สภาพความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้น วิเคราะห์ทราบว่าเป็นเพราะต้นทุนสูง เราค้นหาถึงปัญหา มาทำเป็นแผนแม่บท หาหนทางการแก้ปัญหา ตั้งกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มโรงสีชุมชน รับซื้อข้าวจากกลุ่มเกษตรในตำบล  นายกฯก่อนที่จะมาอยู่อบต. ได้มีการขับเคลื่อนงานอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้ามาอยู่ใน อบต. การผลักดันงานก็ง่ายขึ้น อบต.มีการจัดบัญญัติที่จะสร้างชุมชน
ให้เข้มแข็ง เริ่มต้นโดยมีโครงการรองรับอยู่แล้ว รอการประสานงานจากทางโครงการอยู่ว่าจะให้ร่วมมืออย่างไร

ประดูยืนได้เรียนรู้ว่า บางสิ่งบางอย่างหน่วยราชการเข้ามาสนับสนุนตามกระแส พอหมดก็ถดถอยเลิกรากันไป ปล่อยให้เราต่อสู้กันเอง สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นปัญหาหลัก คือเรื่องอาชีพ ที่จะมาเป็นปัจจัยหนุ

หมายเลขบันทึก: 93เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2005 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
รังสิมันตุ์ สุวรรณจ่าง

อ่านแล้ว  ได้ความรู้   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางที่ยังไม่เห็นความสำคัญ

อ่านแล้วมีความรู้มากๆครับ

จากพรมมา

อ่านแล้วค่ะ

 

ตวงรัตน์

รังสิมันตุ์ สุวรรณจ่าง

อ่านแล้ว  ได้ความรู้   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางที่ยังไม่เห็นความสำคัญ

ได้อ่านแล้ว  ได้ความรู้ และมีคุณค่ายิ่งนัก  อยากเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ท้องถิ่น (อปท.) ที่คุณครู(บางกลุ่ม)กำลังดูแคลน  โดยขออนุญาติ นำเรื่องราวบางตอนไปถ่ายทอดเพื่อน ๆ ต่อ ไม่ทราบว่าอาจารย์จะขัดข้องหรือไม่

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ท้องถิ่นตัวเล็ก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท