จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ปล่อยไปได้งัย


วันนี้ผมได้ไปนั่งประชุมแทนท่านคณบดีในการพิจารณาผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัย เมื่อดูข้อมูลนักศึกษาแล้วอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ครับ ว่า "ปล่อยไปได้งัย" ที่ว่าปล่อยไปได้งัย ไม่ใช่เพราะเด็กอ่อนไม่ได้ตามเกณฑ์แล้วปล่อยให้จบนะครับ เพราะอันนี้วิทยาลัยเราไม่ทำอย่างนั้นแน่ แต่ที่ตั้งประเด็นว่าปล่อยไปได้งัย ก็เพราะว่า มีนักศึกษาสองคนจากสองสาขาวิชาได้เกรดเฉลี่ย 3.9 ครับ ซึ่งหมายถึงเรียนสี่ปีได้ a หมดทุกวิชา มีเพียงวิชาเดียวที่ได้ b+

ท่านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยตั้งคำถามว่า สองคนนี้ตอนนนี้อยู่ที่ไหน คำตอบคือ กำลังสมัครเรียนต่อปริญญาโท

ผมเสียดายครับ เพราะถ้าจบด้วยเกรดขนาดนี้ในต่างประเทศ เขาไม่ต้องเรียนโทแล้วครับ ทำปริญญาเอกเลย

แต่คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นในการประชุมคือ การดำเนินการของคณะคืออะไรกับสองคนนี้ คำตอบที่ได้ในเบื้องต้นคือ ไม่มีการดำเนินการใดๆ เลย ผมเลยพูดขึ้นว่า สมัยผมเป็นนักศึกษา ใครที่เกรดขนาดนี้เนียะหมายถึงจะได้เป็นอาจารย์ของสาขาวิชานั้นแน่นอนอยู่แล้ว อาจจะช่วยสอนสักปีหนึ่งแล้วก็ส่งไปเรียนต่อปริญญาโทหรือเอกเลยก็ได้ ทำไมไม่ได้มีการดำเนินการอะไร

ประเด็นนี้มีการคุยกันนอกรอบหลายครั้งแล้วครับ ว่าควรมีการติดตามนักศึกษาที่เรียนได้โดดเด่นแล้วให้ทุนเสียตั้งแต่ปี 3 ทุนพิเศษครับ เพราะโดยปกติวิทยาลัยก็ให้ทุกกับนักศึกษาที่ได้เกรด 3 อยู่แล้ว แต่การดำเนินการจริงๆ ไม่เคยมีเลยครับ และนี้คือสิ่งที่วิทยาลัยจะเสียโอกาส

ผมดูรหัสนักศึกษาก็ยิ่งทำให้พอใจมากขึ้นครับ เพราะสองคนนี้ไม่ได้เข้าเรียนที่สถาบันภาษาก่อนมาเรียนที่คณะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาอาหรับดีมากอยู่แล้ว

คำถามคือ ทำไมไม่มีการดำเนินการใดๆ จากคณะและผู้เกี่ยวข้องเลย

 

คำสำคัญ (Tags): #เด็กเก่ง
หมายเลขบันทึก: 96605เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครับ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ และในเวลาเดียวกันควรทำให้ครบวงจรเลยครับ

ทั้งสนับสนุน ช่วยเหลือ และแก้ไข

เมื่อวานลูกสาวมาเล่าเพื่อนของเขา ร้องไห้เป็นอาทิตย์เพราะไม่สามารถเรียนจบตามที่คาดได้ เพราะเมื่อไปติดต่อที่ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายทะเบียนแจ้งว่า ยังขาดอีกหนึ่งวิชา

ที่เป็นเช่นนี้เพราะเรียนตามเพื่อน โดยที่อาจารย์ทึ่ปรึกษาไม่ได้คำแนะนำใดๆ(คงเซ็นชื่ออย่างเดียว)

เหตุการณ์ลักษณะนี้สมัยที่ผมอยู่ สบศ เกิดขึ้นบ่อยและ ซึ่งเกิดขึ้นจากการผิดพลาดหลายๆฝ่าย แล้วโยนความผิดว่าคนโน้น คนนี้ แต่ผลเกิดขึ้นแล้วกับ นศ.

ความผิดพลาดถ้าเราโทษคนอื่น จะแก้ไขลำบาก แต่ถ้าเรายอมรับว่าเราผิดหรือมีส่วนผิด แก้ที่เรานั้นแหละง่ายที่สุด

ปีนี้ผมมีโครงการหนึ่งสำหรับ นศ.ปี 3 ตั้งชื่อเล่นๆไว้ว่า "รอถึงปีสีก็สายเสียแล้ว"

كل بني آدم خطاء وخير الخطائين التوابون

"ลูกหลานอาดัมทุกคนจะต้องผิด และผู้ผิดพลาดที่ดีที่สุดคือผู้เตาบัต(สำนึกว่าผิดและจะไม่ทำอีก)" (หะดีษนบี)

ผมก็ร่วมในเหตุการณ์ที่อาจารย์เล่ามาหลายครั้งเหมือนกันครับ

  • สาเหตุหนึ่งของปัญหาคือ นศ.แต่ละคนเข้าเรียนในปีหนึ่งไม่เท่ากัน เนื่องจากใช้เวลาเรียนในสถาบันภาษาไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้ายิ่งอาจารย์ที่ปรึกษาไม่สนใจ ไม่รอบคอบล่ะก้อมีปัญหาประจำ
  • นักศึกษาเราไม่รอบคอบในการศึกษาหลักสูตรก่อนการลงทะเบียนเรียน ส่วนตัวผมกว่าจะจบอ่านคู่มือตั้งหลายรอบ เพื่อป้องกันความผิดพลาด แต่นักศึกษาบางคนไม่เคยอ่านเลยด้วยซ้ำ
  • เราขาดเครื่องมือเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทบทวนรายวิชาที่ลงเรียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท