34 : การจัดการเรื่อง " เสื้อผ้า "


เนื่องจากการไปใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลถึง 4 เดือนครึ่ง ทำให้ได้สังเกตุวิธีการต่างๆ ในหลายๆ เรื่อง มาปรับใช้ที่บ้าน ซึ่งก็รวมถึงเสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยครับ
สวัสดีครับทุกคน และก็มาถึงเรื่อง " เสื่อผ้า " ของผมว่ามีการจัดการอย่างไร เช่นเคยครับ ขอย้ำว่า เป็นวิธีการที่ปฏิบัติเป็นประจำของนายปรีดา ถ้าผู้อ่านคิดว่ามีประโยชน์ก็นำไปใช้ได้เลยครับ แต่ถ้าผู้อ่านมีข้อเสนอแนะที่ดีกว่า ผมก็จะนำไปปรับใช้ครับ

สืบเนื่องจากการไปใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลถึง 4 เดือนครึ่ง ทำให้ได้สังเกตุวิธีการต่างๆ ในหลายๆ เรื่อง มาปรับใช้ที่บ้าน ซึ่งก็รวมถึงเสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยครับ ผมขออธิบายเป็นข้อ เป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้ครับ

1. เมื่อสวมใส่เสื้อผ้าเสร็จแล้ว จะใส่ไว้ในตระกร้าผ้า เป็นตระกร้าสำหรับเสื้อผ้าใช้แล้ว

2. นำเข้าไปซักในเครื่องซักผ้า ซึ่งต้องแยกซัก จากเสื้อผ้าปกติในครอบครัว (เครื่องซักผ้าที่ใช้จะปั่นผ้า จนแห้งหมาดๆ)

3. นำผ้าที่แห้งหมาดๆ เข้าเครื่องอบผ้ายี่ห้อ Electrolux ซึ่งจะเป็นลักษณะถังปั่น ทำให้ฝุ่นที่ติดอยู่ และใยผ้าถูกปั่นมารวมกัน เห็นได้ชัดเจน ทำให้เสื้อผ้าของผมแทบไม่มีฝุ่น หรือมีน้อยมาก ผมจึงหายใจได้อย่างเต็มที่ (ถ้าผู้อ่านได้เคยอ่านตอน " การติดเชื้อในโรงพยาบาล " ที่ผมเคยเขียนในตอนแรกๆ จะทราบว่าผมจะป้องกันเชื้อโรคเข้าปอด ด้วยการกลั้นหายใจ แต่เสื้อผ้าของผม ผมจะไม่มีความรู้สึกนั้น เพราะสบายใจ) และการใช้ความร้อนในการอบ ก็เป็นการฆ่าเชื้อไปในตัว

สำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ป่วย หรือมีญาติ หรือคนรู้จักเป็นผู้ทุพพลภาพ ผมอยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของเรื่องนี้อีกเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นการป้องกันการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี อีกปัจจัยหนึ่ง

เมื่อ 3 ปีก่อน หลังจากผมรถคว่ำได้ 2 ปีครึ่ง น้องๆ สังเกตุเห็น "ขี้นก" ที่เสื้อผ้า และกางเกง หรือผ้าเช็ดตัว ซึ่งก็จะรีบนำออกทันที เพราะทุกๆ คนก็น่าจะทราบกันดีว่า ในขี้นกต้องมีเชื้อโรคของนกแน่ๆ บวกกับกระแส "ไข้หวัดนก" ที่กำลังระบาดหนักในช่วงนั้น ทำให้ต้องตัดสินใจซื้อเครื่องอบผ้า และยังได้ประโยชน์ในช่วงหน้าฝนด้วยครับ

4. จากนั้นจะนำออกไว้ในตระกร้าผ้า สำหรับเสื้อผ้าซักใหม่

5. อย่าทิ้งไว้นาน เพราะผ้าแห้งอยลู่แล้ว ให้รีบพับผ้าแบบไม่ต้องเรียบร้อยมากนัก แต่เน้นความสะอาดคือสัมผัสผ้าให้น้อยที่สุด ใช้แต้มือและข้อมือในการพับผ้า ไม่ต้องนำมาพักที่ตัว หรือใช้ท่อนแขนช่วยในการพับผ้า ผ้าที่พับอย่างง่ายๆ ให้รีบใส่ถุงหิ้วขนาด 9" x 18" ทันที ต้องเป็นถุงใหม่ที่นำออกจาก pack

(ถุงหิ้วขนาดนี้ 100 ใบ ประมาณ 25 บาท ผมอยากให้คิดเสียว่าจำเป็นต้องเสียเงินในส่วนนี้ เพื่อความสะอาด เพราะหลังจากที่ใส่เสื้อผ้าเสร็จแล้ว ก็นำไป reuse ไว้ใส่ขยะในห้องนอน หรือห้องทำงานของผมต่อได้)

สำคัญมากๆ นะครับ ก่อนพับผ้า อย่าลืมล้างมือด้วยน้ำยาล้างมือ หรือสบู่ หรือซันไลต์ เป็นต้น และถ้าบังเอิญว่าปั่นผ้าเสร็จตอนอาบน้ำเสร็จพอดี ก็แสดงว่าคนพับผ้าสะอาดมากๆ ครับ

ผูกถุงหิ้ว ทุกถุงเมื่อบรรจุผ้าในปริมาณที่สมดุลกับขนาดของถุง ถ้าจำเป็นต้องมีการขนย้าย ก็ให้นำใส่ถุงหิ้วขนาดใหญ่อีกที

6. จากนั้นก็นำถุงที่บรรจุเสื้อ กางเกง ผ้าขนหนู ถุงเท้า ผ้าปูเตียง ผ้าเช็ดตัว ซึ่งแยกประเภทเก็บเข้าตู้เสื้อผ้า การแยกประเภททำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ครับ

7. ลักษณญะของการใช้ประโยชน์ของเสื้อผ้า แต่ละชนิดมีดังนี้ครับ

A. เสื้อ : ผมใส่เสื้อเชิ๊ต แขนสั้น ขนาด XL โดยใส่กลับหลัง (ลองดูจากรูปของผมทางด้านขวาของ blog ได้ครับ) ติดกระดุมเพียง 1-2 เม็ดด้านหลัง เพื่อให้ระบายไม่ร้อน เลียนแบบเสื้อในโรงพยาบาล ที่ผูกปมด้านหลัง แขนสั้นทำให้ง่ายต่อการเกา เวลาคัน ล้วงง่ายครับ (แต่ผมเกาไม่ได้หรอกครับ ถูๆ ไปอย่างนั้นแหละครับ)

B. เสื้อยืดเทิดพระเกียรติในหลวงสีเหลือง : ผมจะใส่เฉพาะเวลาออกไปข้างนอกเท่านั้น เช่น ไปประชุม สัมมนา ไปหาคุณหมอ เป็นต้น โดยจะมีเพื่อนซี้คือ

C. เสื้อแจ๊คเก็ต : สีเขียวคู่ใจของผมอีก 1 ตัว เพื่อป้องกันสกปรกตามสถานที่ภายนอก และป้องกันให้เกิดรอยช้ำบริเวณแขนทั้ง 2 ข้างให้น้อยลง เพราะเวลานั่ง ผมต้องใช้แขนยันให้ตัวลอย จึงทำให้แขนช้ำง่าย รวมถึงป้องกันความหนาวจากแอร์ในรถ TAXI หรือสถานที่ที่เราไป ถ้าไม่เย็นมากก็ถอดออกได้

D. กางเกงเล : หลากสี ที่ต้องใช้กางเกงเล เพราะตัวใหญ่ ใส่ง่าย ถอดง่าย ไม่โป๊ ทั้งขณะทำงาน หรือทำกายภาพบำบัด ถ้ารู้สึกได้ ก็คงสบ่ยตัวน่าดู และที่หลากสี ไม่ซ้ำกันเลยเพราะจะได้สังเกตุง่าย ไม่ว่าจะเป็นตอนหยิบมาใส่ หรือจะไม่พลาดว่าใส่ไปแล้ว

กางเกงเลสีเรียบร้อย ก็ยังใส่ตอนไปโรงพยาบาลได้ด้วย คือไม่ต้องเป็นทางการมาก แต่ถ้าไปธุระก็ต้องกางเกงวอร์มครับ

E. กางเกงวอร์ม : สีดำ เป็นสีเรียบร้อยใช้ได้กับทุกโอกาส ผมให้พี่เลี่ยงตัดกระเป๋าข้างในทิ้ง เพื่อเป็นทางออกของถุงเก็บปัสสาวะ ตรงนี้ถือว่าดีกว่ากางเกงเลมาก เพราะกางเกงเลต้องใช้วิธีผูก ซึ่งอาจทำให้สายยางนำปัสสาวะหักงอได้บ่อยๆ

F. ถุงเท้า : สีเรียบร้อย เช่นสีดำ สีเทาเข้ม สีน้ำเงิน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก เวลานั่งในรถ เพราะต้องอุ้มเข้ารถ เท้าก็ต้องสัมผัสพื้นในรถก่อนใส่รองเท้าแตะ Bata เมื่อกลับมาจากข้างนอก ต้องถอดถุงเท้าทันที

H. ผ้าขนหนู : ใช้สำหรับ 3 หน้าที่ คือ 1. พับแล้วหนุนหัวแทนหมอน (แต่เดิม ผมจะนอนหมอนแบนๆ ไม่เต่งมาก) 2. ไว้ปิดตัว เวลาเช็ดตัว (ผมจะอธิบายละเอียดในตอนที่เกี่ยวข้องอีกทีครับ) 3. เวลาไปข้างนอกจะนำติดตัวไป 1 ผืน แล้ววางที่หน้าตัก เพื่อเก็บซ่อนถุงเก็บปัสสาวะ เวลาอุ้มขึ้น-ลงรถ และป้องกันฝุ่นจากข้างนอก เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็ใส่ตระกร้าผ้ารอซักทันที

I. ผ้าปูเตียง : ต้องเปลี่ยนทุกครั้งที่เช็ดตัว เพื่อป้องกันฝุ่น และเชื้อโรคระหว่างวัน

J. ปลอกหมอน : เปลี่ยนทุก 2 สัปดาห์

8. เสื้อผ้าทุกประเภท เมื่อใช้เสร็จแล้ว ก็ใส่ตระกร้าผ้าสำหรับผ้าใช้แล้ว

ผมคงจะไม่เรื่องมากไปนะครับ แต่ก็เป็นอีกเรื่องที่ปฏิบัติเป็นประจำตลอด 5 ปีครึ่ง ที่ผ่านมาครับ

ตอนหน้ามาติดตามเรื่อง เวชภัณฑ์ ที่ผมใช้เป็นประจำกันครับ


ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 089-6910225
Tel. & Fax.: 02-9232724
email : [email protected]
คำสำคัญ (Tags): #ผู้ทุพพลภาพ
หมายเลขบันทึก: 96347เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท