นิทานจี้ใจ "การวางแผนเชิงกลยุทธ์" (เรื่องที่ 2)


ผู้ที่ด้อยกว่า ถ้าอยากจะชนะก็ต้องรู้สภาวะแวดล้อมที่เป็นจุดเด่นและโอกาสของตนเอง รวมทั้งต้องกล้าที่จะเสี่ยงด้วย

       มีนิทานที่ให้ข้อคิดเรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง เรื่องเต่าแข่งกับกระต่ายภาค 3 ต่ออีกเรื่อง 
     
กล่าวคือ  กระต่ายรู้สึกอับอายมากที่วิ่งแพ้เต่าเป็นครั้งที่สอง   ก็พยายามทบทวนว่า
แพ้เต่าได้อย่างไร ทั้งๆที่ตนมีจุดแข็งและโอกาสที่มีเหนือเต่าทุกอย่าง  กระต่ายคิดเท่าไรก็คิดไม่ออก  เพื่อให้หายสงสัยจึงไปขอท้าเต่าแข่งขันแก้ตัวเป็นครั้งที่ 3  เต่าเองก็รู้ตัวว่าตนมีข้อเสียเปรียบกระต่ายเกือบทุกอย่าง  ที่ชนะครั้งแรกเพราะกระต่ายประมาท  ส่วนครั้งที่สองก็เกิดจากการใช้ปัญญา  ครั้งนี้จึงมีข้อจำกัดจะนำวิธีการเก่าๆมาใช้ในครั้งที่สามก็คงไม่ได้  แต่ถ้าไม่รับคำท้าก็เสียศักดิ์ศรีความเป็นแชมเปี้ยน  การแข่งครั้งนี้จึงเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสสำหรับเต่าอย่างมาก  เต่าจึงขอเวลาคิดแผนกลยุทธ์สักหนึ่งวันก่อนที่จะรับคำท้ากระต่าย

                        หลังจากเต่ากลับไปนอนคิดได้หนึ่งคืน  จึงมาตอบรับคำท้ากระต่าย  โดยเสนอเงื่อนไขว่า  ครั้งนี้ขอเปลี่ยนสนามวิ่งแข่งขันใหม่เป็นบริเวณภูเขา  กระต่ายพิจารณาแล้วเห็นว่าภูมิประเทศที่เต่าเสนอมาตนเองย่อมคุ้นชินและได้เปรียบเต่า  จึงตอบตกลง

                        การแข่งขันจะเริ่มวิ่งจากยอดภูเขาจนถึงเส้นชัยคือบริเวณเชิงเขา 
                    
เมื่อสิ้นสัญญาณการปล่อยตัว  กระต่ายกระโจนออกไปอย่างสุดกำลัง  ส่วนเต่าก็คลานต้วมเตี้ยมไปจนถึง
หน้าผาที่สูงชัน  แล้วหดหัวและขาตนเองลงในกระดอง  จากนั้นก็ทิ้งตัวให้ตกลงจากหน้าผาแล้วกลิ้งลงมาที่เชิงเขา  จนถึงเส้นชัยก่อนกระต่าย  ด้วยสภาพกระดองที่สะบักสะบอม 
            ผลการแข่งขันเต่าจึงชนะกระต่ายอีกเป็นครั้งที่สาม  แต่เป็นชัยชนะที่แลกกับความบอบช้ำและเจ็บปวดจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด

                       

หมายเลขบันทึก: 96339เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะครูธเนศ

อ่านแล้วได้แง่คิดจริง ๆ ค่ะ ราณีคิดว่าการที่รู้จักคำว่ายอม ไม่ได้หมายคำว่าแพ้ และไม่ได้เสียศักดิ์ศรีอะไร   แต่ถ้าเป็นชัยชนะที่แลกกับความบอบช้ำและเจ็บปวดจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ได้แล้วมีประโยชน์อะไรค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ ธเนศ ที่บับถือ

  •  บอบช้ำภายนอก กระดองแทบพัง
  • ไม่รู้ว่า "หัวใจเต่า" จะเจ็บปวดแค่ไหน เนาะ
  • "ชนะ แต่ ใจสับสน"
   อยู่ที่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายว่าจะตั้งว่า "ยอมแพ้"ก็ไม่ต้องคิดกลยุทธ์ให้เจ็บตัว(ในสถานการณ์ที่อุดตันทางกลวิธีแล้ว) 
     แต่ถ้าตั้งว่า "สู้" เพราะศักดิ์ศรี หรือไม่ยอมเสียหน้า  ก็ต้องหากลวิธีอันแยบยล  แม้จะเสี่ยงก็ต้องยอม เพื่อมุ่งมั่นให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารในยุคปัจจุบันที่อยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลง และมีการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย(โลกทุนนิยม)  เขาจึงสอนให้มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กล้าตัดสินใจ  กล้าเสี่ยง  ฯลฯ ไงครับ
      ดูแล้วเครียดไหมครับ?

ขอแจมด้วยคนครับ

ผมว่าขึ้นกับสถานะการณ์

สู้เพื่อชาติ เจ็บตัว ตาย ก็ยอม พยายามเอาชนะด้วยกลวิธีต่างๆ

สู้เพื่อธุรกิจ เจ็บตัว ก็ยอม เมื่อลูกค้าเห็นว่าเราสู้เต็มที่ ให้โอกาสแข่งขันต่อไป

 

ถูกแล้วครับ...ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ก็ต้องถามใจตัวเองให้ดีเสียก่อน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท