ความสุขสร้างจากอะไร?


ความสุขมากจากไหน

ในปัจจุบันคนพูดกันว่า  เด็กในวันข้างหน้าต้อง  “ดี  มีความสุข  และเก่ง”  หรือ  คนไทยต้องมี  “คุณธรรมนำความรู้”  กลับกันกับเมื่อก่อนที่พูดกันว่า  “ความรู้คู่คุณธรรม”  เรียกว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลอง  คือ  หวนกลับไปใช้ของเก่าที่พระพุทธศาสนาสอนมาตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปีทีเดียว  เพราะอะไร?  เพราะถ้าเอาเก่งนำหน้าโดยไม่คิดทำให้เป็นคนดีและมีความสุข  “โลกมนุษย์พากันปั่นป่วน” เข้าขั้น “บ้าคลั่งจนจวนเจียนจะถล่มทะลาย”  ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน  มีแต่มนุษย์ที่เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกัน  โกงกัน  คอรัปชั่นทุกรูปแบบ  ระบาดไปทั่วทุกหัวระแหง  แม้กระทั่งในแต่ละครอบครัว  ก็ยากจะไว้วางใจได้

พระพุทธศาสนาสอนให้รักษาความสัมพันธ์  ๖  ทิศ  ไว้ว่าอย่างไร?

ข้อแรก  ทิศที่  ๑.  บิดามารดา  ต้องอนุเคราะห์บุตร  ดังนี้

๑.    ห้ามปรามป้องกันจากความชั่ว

๒.    ดูแลฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี

๓.    ให้ศึกษาศิลปะวิทยา

๔.    เป็นธุระเมื่อถึงคราวจะมีคู่ครองที่สมควร

๕.    มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

จะเห็นว่าการฝึกอรมในบ้านท่านเน้นใน  ๒  ข้อแรกเลยว่าต้องการ  “ความเป็นคนก่อนข้ออื่นๆ

ข้อที่สอง   ทิศที่  ๒.  ครู -  อาจารย์  ต้องอนุเคราะห์ศิษย์  ดังนี้

๑.    แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี

๒.    สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

๓.    สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง

๔.    ยกย่องความดีงามและความสามารถให้ปรากฏ

๕.    สร้างเครื่องคุ้มกันในสารทิศ  คือ  สอนฝึกศิษย์ให้ใช้วิชาเลี้ยงชีพได้จริงและรู้จักดำรงตนด้วยดี  ที่จะเป็นหลักประกันให้ดำเนินชีวิตดีงามโดยสวัสดี  มีความสุขความเจริญ

พอเด็กมาถึงโรงเรียนท่านก็เน้นสอนให้เป็น  “คนดี”  ถ้าเป็นคนดีไม่ได้ท่านก็จะไม่สอนศิลปวิทยาให้  นี่คือรูปแบบในการให้หลักประกันที่จะสร้างสังคมที่มีสันติสุขของพระพุทธศาสนา

แต่เดี๋ยวนี้  พวกเราพากันเดินตามก้นฝรั่ง  และอยากเป็นคนเก่งอย่างฝรั่ง  เลยพากันเป็นโรคอย่างฝรั่ง  จึงโทษใครไม่ได้ดอก  “เพราะเราสมัครใจที่จะทำร้ายตัวเอง”   ละทิ้งคำสอนของบุพการีของตนเองไปเห่อของเมืองนอก  มันก็ได้สมใจนึก  บางลำภูแล้วนี่ยังไม่ดีอีกหรือ?

ทีนี้พูดถึง  “ความสุข”  ใครๆ  ก็เอา  “ความสุข”  ไว้ข้างท้าย  คือ  มักจะเรียงถ้อยคำว่า  เด็กๆต้องเป็น  “คนดี  เก่ง  และมีความสุข”  แท้ที่จริง  “ความสุข”  เป็นทั้งคุณสมบัติและเป็นทั้ง  “แรงจูงใจ”  ของมนุษย์ในทุกๆเรื่อง  ทุกพฤติกรรม  ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกในทาง  “กาย  วาจา  และทางใจ” 

หมายเลขบันทึก: 96337เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท