BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ยุติธรรม


ยุติธรรม

คำนี้มีใช้ในสังคมไทยมานาน แม้ผู้เขียนจะรู้และวิเคราะห์ได้ว่าศัพท์นี้มาจากคำบาลี แต่ก็ยังไม่เคยเห็นในวรรณคดีบาลีที่ใช้ศัพท์นี้โดยตรง ตลอดถึงเนื้อหาอื่นๆ ที่จะอ้างถึงเรื่องความยุติธรรมตามที่เราคิดกันในยุคสมัยนี้...

วันนี้ที่ได้นำคำนี้ขึ้นมาบอกเล่า เพราะผู้เขียนได้รับการชักชวนจากคุณ Conductor ให้เข้าไปสังเกตการณ์หรือมีส่วนร่วมในเรื่อง แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจฉบับประชาชน (ผู้สนใจสมัครที่
http://innovation.thai.net/forums/index.php?t=coppa&rid=0)... หลังจากผู้เขียนเข้าไปแล้วก็เห็นหัวข้อ Social Justice - ความยุติธรรมในสังคม ว่าน่าสนใจสำหรับผู้เขียน... (ส่วนหัวข้ออื่น คงจะต้องเกาะติดไปก่อน)...ก็คงจะไปปัดฝุ่นหนังสือเรื่องนี้อีกครั้ง...

ยุติธรรม ศัพท์นี้เราบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้แทนคำว่า Justice ... ซึ่งก็คงจะเหมือนกับคำอื่นๆ ในภาษาไทยอีกหลายคำที่เรายืมมาใช้ โดยที่คำนั้นๆ มิได้มีใช้เป็นการเฉพาะในคำบาลีหรือสันสกฤตเดิมโดยตรง...

ยุติธรรม = ยุติ + ธรรม

ยุติ มาจาก ยุช รากศัพท์ แปลว่า ประกอบ, ควร  (ยุช + ติ = ยุติ, ยุตฺติ)... โดยเฉพาะในคำว่า ยุติธรรม น่าจะได้ความหมายว่า ควร ...อนึ่ง ยุช รากศัพท์นี้ มีใช้ในคำไทยหลายคำ เช่น ประโยค ประโยชน์ โยชน์ โยคะ ...

ธรรม มาจาก ธร รากศัพท์ แปลว่า ทรง (ธร + รรม = ธมฺม) ...

ดังนั้น ยุติธรรม น่าจะแปลว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งกรณีที่สมควร หรือ การทรงไว้ตามความเหมาะสม ... ประมาณนี้

........... 

ความยุติธรรม ตามที่เราเข้าใจกันก็หมายถึง การให้รางวัลหรือการลงโทษตามความเหมาะสมนั่นคือ...

เมื่อเป็นการให้รางวัลก็คือ การแบ่ง การแจกจ่าย การเฉลี่ย สิ่งต่างๆ ที่พึงได้พึงถึงแก่แต่ละคนหรือชุมชนนั้นๆ ตามความเหมาะสม...

เมื่อเป็นการลงโทษก็คือ การตัดสินความผิดบางอย่างของใครบางคนหรือบางองค์กรตามความความเหมาะสมแล้วก็บังคับให้การลงโทษนั้นๆ เป็นไปตามที่ควรจะเป็น... ประมาณนี้

ประเด็นความยุติธรรมนี้ ในจริยปรัชญาถือว่าเป็นคุณธรรมหลักที่สังคมทั่วไปพึงปรารถนา ซึ่งเรื่องนี้มีอยู่ ที่ จริยศาสตร์คุณธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๒.  เล็กน้อย ผู้สนใจสามารถดูได้...

........

ผู้เขียนไม่เคยเจอคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง... งานเขียนงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้ในทางพระพุทธศาสนาก็ไม่เคยเจอ (อาจเคยเจอ แต่ไม่สะดุดใจ นั่นคือ เมื่อจำไม่ได้ ก็เหมือนกับไม่เคยเจอ)

ส่วนที่พอจะนึกมาเทียบเคียงตอนนี้ ก็เช่น พระพุทธเจ้าทรงอ้างว่า พระหฤทัยของพระองค์ทรงมีความเสมอภาคทั้งในช้างนาฬาคีรี พระเทวทัต และสามเณรราหุล ...

อีกประเด็นหนึ่งคือ พรหมวิหาร ๔ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา .. นับว่าเป็นธรรมสำหรับผู้ใหญ่ที่จะต้องมี ...

พรหมวิหารธรรม เหล่านี้ ประสงค์เอาการที่ผู้เป็นใหญ่จะต้องแผ่ไปให้ถึงบรรดาผู้น้อยทั้งหลายเท่านั้น... แต่ถ้าใครก็ได้ แผ่ธรรมเหล่านี้ไปทั่วถึงทุกคน ทุกหมู่สัตว์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นภพ ภูมิ ชนชั้น วรรณะ หรือชนิดใดๆ จะเรียกว่า อัปปมัญญาธรรม นั่นคือ ธรรมที่พึงแผ่ไปโดยไม่มีประมาณ....ทำนองนี้...

ผู้เขียนคิดว่า อัปปมัญญาธรรม ทำนองนี้ น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการอ้างถึงแนวคิดเรื่องความยุติธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้... 

 

หมายเลขบันทึก: 95712เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

ตามมาเรียนรู้ให้ลึกซึ้งค่ะ  อยากบอกหลายครั้งแล้วแต่ลืมทุกทีค่ะ บล๊อกสวยมากจริง ๆ ค่ะ ใส ๆ ชอบสีฟ้าด้วยคะ

P

รู้สึกปลื้มที่อาจารย์ชม...ครั้งก่อนอาจารย์ขจิตก็ชมครั้งหนึ่งแล้ว....

อันที่จริง อาตมาไม่มีความรู้เรื่องธีม หรือการตกแต่งบล็อกอะไรนี้... เพียงแต่ไปลอกของพวกเด็กๆ ที่เค้าทำส่งอาจารย์มาลองดูเล่นๆ เท่านั้น....

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

  • เข้ามาติดตามอยู่เสมอครับ
  • ดีครับดี ที่ได้ทราบความเป็นมา(รากเหง้า)ของคำและความหมายของคำที่เป็น "คำไทย" ไปแล้ว
  • ผมคิดว่า ถ้าได้ทราบความหมายของคำบาลีที่เราคุ้นๆ กันอยู่แต่ไม่ทราบว่ามันคืออะไรแน่ก็น่าจะดีเหมือนกัน เช่น สุปฏิปัณโน (ไม่ทราบสะกดถูกหรือเปล่า) มัชฉิมาปฏิปทา (ไม่ทราบสะกดถูกหรือไม่) ซึ่งมีคำ -ปฏิ- อยู่ด้วย "ปฏิ" นี้คือปฏิบัติหรือเปล่า และมัชฉิมาปฏิปทา คงมีความหมายที่ลึกกว่า "ทางสายกลาง" ใช่ไหมครับ?
  • เรื่องของเรื่องคือ เวลามีพิธีกรรม แล้วเราต้องร่วมด้วย ต้องสวดต้องท่องไปด้วย โดยที่เราไม่เข้าใจว่าเราท่องบ่นอะไร แล้วรู้สึกขำตัวเองครับ แต่ก็เข้าใจครับว่า การคงภาษาบาลีไว้ก็ดีตรงที่นานแค่ไหนก็ยังเป็นต้นฉบับ มีจุดยึดมั่นไว้ให้กลับสู่รากเหง้าได้ตลอด แม้จะต่างคนต่างตีความ ต่างอธิบายกันด้วยภาษาของตัวเอง ตามยุคตามสมัย หรือตามใจชอบของตัว
  • สิ่งที่พระคุณเจ้าทำอยู่จึง "มีความหมาย" มากครับ ตีลงไปถึงตัว "ราก" ดั้งเดิมของมันเลย  

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

(อาจเคยเจอ แต่ไม่สะดุดใจ นั่นคือ เมื่อจำไม่ได้ ก็เหมือนกับไม่เคยเจอ)

ความคิดความจำ ไม่ใช่ความจริง

แต่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ยุติธรรม >> เสรีอยุติธรรมไปแล้วขอรับ

นิมนต์พระคุณเจ้า เมตตาให้คำชี้แนะ ในบันทึก

concept idear การเผยแพร่ธรรมะในเชิงรุก

กราบนมัสการครับ

P

ปฏิ เป็น อุปสัค ... แต่ ปฏิบัติ เป็น คำสำเร็จรูป ... ดังนั้น จึงแตกต่างกัน..

สุปฏิปันโน (น. หนูสกด)

มัชฌิมาปฏิปทา (ช.ช้างอักษรตัวที่สาม ซ้อนหน้า ฌ.เฌอ อักษรตัวที่สี ภายในวรรคเดียวกัน)

เจริญพร  

ไม่มีรูป
man in flame

เคยเข้าไปดูครั้งหนึ่งแล้ว...

เมื่อกี้ก็เข้าไปดูอีกครั้งแล้ว... แต่ไม่ได้อ่าน ลากดูผ่านๆ ว่าเรื่องอะไรเท่านั้น...

หลวงพี่อายุมากแล้ว อ่านหนังสือนานๆ ไม่ค่อยได้ และไม่ชอบใส่แว่น เมื่อจะอ่านจริงจังบันทึกใดก็ต้องหยิบแว่นมาใส่...  

อาจารย์ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ เคยปรารภกับหลวงพี่ว่า... ให้ผมไปนั่งฟังหรือมานั่งอ่านในสิ่งที่ผมอยู่กับเรื่องนั้นมาตลอดชีวิต ผมเบื่อมาก... ประมาณนี้ ...ซึ่งหลวงพี่ก็.... ประมาณนั้น

เจริญพร

 

พระอาจารย์ครับ...ผมปล่อยไก่ไปหลายเล้าแล้วครับ...55555

 

ยุติธรรม...คำนี้ผมเคยอธิบายให้คนเขาฟังว่า...เป็นการใช้ธรรมะ มายุติปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น(ฟังดูดีมาก)...

 

มาดูของพระอาจารย์แล้ว...ไปคนละทิศกันเลยนะครับ...อิอิ...

 

ยังดีที่รู้ตอนนี้...ไม่งั้นคงมั่วไปอีกหลายปี...555

โชคดีที่หลวงอา

P

มีโอกาสเบื่อในสิ่งที่ หลวงอาอยู่กับเรื่องนั้นมาตลอดชีวิตครับ

ซึ่งต่างกับบางคนไม่มีโอกาสแม้แต่จะเบื่อ หรือเบื่อโดยไม่มีโอกาสสัมผัสเลยตลอดชีวิตครับ

ถ้ามีโอกาศกลับไปสงขลาจะไปขอนอนวัดด้วยครับ

กราบนมัสการครับ

P

ท่านเลขาฯ ก็อรรถาธิบายได้สมเหตุสมผล...

...............

P

เรียก หลวงพี่ ซิ ... หรือ พี่หลวง ก็ได้...

เรียก หลวงอา  รู้สึกแก่ (.........)

วันก่อนนั่งรถเมล์มาจากหาดใหญ่ พอลุกขึ้นจากเก้าอี้ กระเป๋าก็ถามว่า พ่อหลวงลงไหน ? ... ตอนแรกนึกเคือง ในใจ แต่พิจารณาแล้ว เจ้ากระเป๋าอายุราว ๒๐... ก็คิดในใจว่า เรียกพ่อหลวงก็เหมาะสมแล้ว เพราะอายุรุ่นนี้เป็นลูกเราได้แล้ว (..........)

.........

เจริญพร 

 คงต้องเรียกหลวงอาแล้วละครับ เพราะหลวงอาอ่านหนังสือนานๆไม่ได้

สงสัยหลวงอา ต้องฝึกวิชาย้อนเวลาไปเป็นเด็กแล้วขอรับ

กราบนมัสการครับ

ไม่มีรูป
man in flame

ตามใจ จ้า...

วันก่อนญาติผู้น้องมาเยี่ยม เอาลูกมาด้วย บอกลูกให้เรียก พี่หลวง...

พอดี เค้านึกได้ต้องเรียก ลุงหลวง

..... 

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท