ทำงานทำการกันอย่างไรให้เข้าตาผู้บริหาร


เด่น

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมได้ฤกษ์เบิกโรง
เขียนเรื่องที่เป็นคำถามส่วนตัวของผมเอง
แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย

วันแรกที่ผมได้เข้าทำงานที่ร้านคอมพิวเตอร์
ก็มีคำถามขึ้นว่า "ทำงานอย่างไรให้ดี"

เหตุที่มีคำถามนี้ขึ้นมาเพราะ =

1.งานนี้เป็นงานที่ผมรักครับ มีความกระหายใคร่เรียนรู้

2.งานนี้เป็นงานแรกที่เป็นกิจจะลักษณะที่สุดครับ

3.ผมไม่มีความสามารถด้านอื่นๆที่เด่นชัดอะไรเลยจึงต้องการประสบการณ์ในด้านนี้ เพราะสิ่งไหนที่ผมไม่สนใจแล้ว ผมจะเฉยเมยกับมันมากครับ (น้องๆ อย่าเอาอย่างนะครับ)

4.สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยครับในชีวิตเราๆ ท่านๆแทบจะทุกคนนั่นคือ .....vitamin M (เงิน)นั่นเองครับ
ยิ่งประสบการณ์เป็น 0 ด้วยนะครับ ยิ่งต้องคิดให้หนักเลยครับ
เกิดวันไหนเฮียเค้าเหม็นหน้า ไล่ผมออก ก็แย่สิครับ ความรู้ก็ไม่ได้ แถมไม่มีตังกินหนมอีก

 

ทำงานให้ดี ดีสำหรับใคร ?

ตอบแบบตรงไปตรงมานะครับโดยเบื้องต้น
ดีที่สุดคือดีสำหรับตัวเองครับ
ผมเลือกจะทำงานนี้เพราะผมรักงานที่ทำ
ผมจึงเชื่อว่าผลงานจะออกมาดี
เมื่อผลงานออกมาดีลูกค้าก็พอใจ จ
ากนั้นลูกค้าก็ยินดีจ่ายเพื่อการบริการที่ดี
นายจ้างก็ยิ้ม(น้ำลายไหลมุมปาก)โอว ...ผลประกอบการไหลมาเทมา
เมื่อนายจ้างพอใจ ก็จะจ้างเราเพื่อทำงานให้ลูกค้าพอใจต่อไป

สรุปคือ Win - Win ครับทุกฝ่ายได้ประโยชน์

งานดีแล้วเราจะได้อะไร ?

 การทำงานให้ดีหรือไม่ดีนั้น มันมี feedback กลับมาแน่ครับ
ทำไม่ดีก็ต้องถูกตำหนิ หรือเหน็บ หรือหักเงินเดือน
หรือลงโทษตามแต่นายจ้างจะปฏิบัติ

แต่ก็มีบ้างครับที่จะไม่ปฏิบัติเพราะเหตุผลอันควรของนายจ้าง
และแน่นอนครับทำงานดีก็ได้รับรางวัล
ตามแต่จะนึกกันออกนั่นแหละครับ
อะไรก็ได้ครับที่เราได้รับมาแล้วสุขใจ ภูมิใจ อิ่มเอมใจ

ต้องมีอะไรบ้าง ?

สมัยเด็กๆผมยังตอบไม่ได้ครับ แต่วันนี้พอจะดำน้ำมาตอบตัวผมเองได้แล้วครับ

เราจะต้องมีส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ครับ

1.วิศัยทัศน์

2.นโยบาย

3.แผน

4.สรุปและประมิน

5.นำผลประเมินมาแก้ไข

ผมได้แนวคิดนี้จาก SDLC ครับ System Develop Life Cycle
จนกระทั่งได้มาทำงานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้
จึงได้พบกับเธอ...เธอคือ PDCA


ผมดูแล้ว ผมว่าคล้ายกันนะครับ
(ผมอาจตาเข คุณไม่จำเป็นต้องเชื่อตามนะครับ)

การลงมือทำ !!!

หัวข้อที่ผ่านมามี 5 ส่วนโดยมากข้อที่ 1
มักเป็นหน้าที่ในระดับ หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าสูงๆๆๆๆ ขึ้นไป
ข้อแรกสำคัญนะครับเราจะขึ้นสวรรค์ ตกนรก งานจะเจ๋ง หรือจะเจ๊ง ก็เพราะการมองให้ตลอดรอดฝั่งนี่เอง

การมีวิศัยทัศน์เป็นคุณสมบัติอันพึง "ต้อง" มีสำหรับผู้ทำงานระดับสูง
(ข้อนี้ผมไม่ค่อยได้ใช้ครับ)

 

ข้อที่ 2 นโยบาย


นโยบายคืออะไรผมตอบตัวเองไม่ค่อยจะได้ชัดเจนเท่าไหร่
หากท่านใดสามารถแนะนำก็โปรดบอกผมด้วยครับ


สำหรับผมแล้ว นโยบายคือแนวทางการปฏิบัติที่เป็นแนวคิดที่ "ต้อง" สอดคล้องกับวิศัยทัศน์ในข้อแรก

 

ข้อที่ 3 แผน


ข้อนี้ไม่ว่าใครก็มีนะครับ ขนาดจะทอดไข่เจียวยังต้องมีแผน
แผนเป็นขั้นตอนทั้งก่อนเริ่มลงมือทำ ดำเนินการ และปิดงาน
การวางแผนที่ดี เป็นการเริ่มต้นทำงานที่ดีครับ อย่างที่อาจารย์ท่านหนึ่งได้สอนผมไว้ว่า
Well begun 'has half done.

โดยนิสัยคนเราโดยทั่วไป ทำง่ายกว่าคิดครับ
จึงมักลงมือทำกันทันทียิ่งเป็นงานที่มีทักษะอยู่แล้ว
ก็จะกระโดดลงไปทำทันที
หากเป็นงานเล็กๆคงไม่มีปัญหาครับ

แต่หากเป็นโครงการขนาดกลาง - ใหญ่
และต้องทำงานร่วมกับคนอื่นมีหวังเละครับท่าน
และแผนแต่ละแผนจะต้องตอบโจทย์ของนโยบายได้

เพราะหากแผนไม่สามารถตอบโจทย์นโยบายได้
ก็หมายความว่าเราวางแผนผิดซะแล้ว

ซุนวูสอนว่าแม่ทัพที่วางแผนผิดพลาดแล้วออกรบ
ก็ไม่ต่างกับแม่ทัพที่ไม่วางแผนก่อนออกรบ

 

ข้อที่ 4.สรุปและประมิน


หลังจากทำงานตามแผนที่วางไว้แล้วเราจะต้องประเมิน
หากยิ่งเป็นงานสำคัญมากก็จะต้องประเมิน
เพื่อให้รู้ว่า แผนแต่ละแผนที่วางไว้และดำเนินการนั้น
มันบรรลุเป้าหมายหรือไม่

หากบรรลุก็ตั้งโต๊ะจีนเลี้ยงข้าวกันได้เลยครับ (ให้รางวัลตัวเองบ้างครับ)
แต่...หากไม่บรรลุล่ะ ไม่ยากครับ ไม่ยากเลย แก้สิครับ
แก้ไขให้เรียบร้อย คนดีจะแก้ไขงานให้ดีนะครับ ...

 

ข้อที่ 5.นำผลประเมินมาแก้ไขต่อไป


การทำงานจะมีผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไรครับ
ขออย่าทำให้โครงการล้มก็พอครับ
แต่ก็ไม่ควรผิดพลาดแบบเดิมๆ อีก

เพราะหากผิดพลาดครั้งแรกถือว่า ผู้ออกคำสั่ง สั่งไม่ชัดเจน
หากผิดพลาดครั้งที่สองถือว่า       ผู้ปฏิบัติขาดประสบการณ์ควรให้อภัย
หากผิดซ้ำครั้งที่ 3 ถือว่า               ผู้ปฏิบัติจงใจขัดคำสั่งให้ลงโทษ
(จากซุนวู อีกแล้วครับท่าน)

ปิดท้าย 

การทำงานจะให้ดีได้หรือไม่นั้น
ก็ขึ้นอยู่กับผู้กำหนดวิศัยทัศน์และผู้ปฏิบัตินะครับ


แต่ผมให้เครดิตกับผู้กำหนดวิศัยทัศน์มากหน่อยครับเป็นสัก 65 %
ที่เหลือเป็นของผู้ปฏิบัติครับ
ไม่ใช่ว่าผมยกยอปอปั้นนะครับ
แต่คนที่มีวิศัยทัศน์ที่ดีที่สุดคือคนที่อยู่สูงที่สุด
คนที่อย่สูงย่อมเห็นเป้าหมายได้ดีกว่าใช่ใหมครับ
ฉะนั้นเราผู้ปฏิบัติ จึงควรเชื่อผู้บริหารครับ

แต่หากว่าเรามั่นใจว่าเราวิศัยทัศน์ดีกว่า
เห็นทีต้องลาออกไปเป็นผู้บริหารเองเลยครับ

ต่อให้ปฏิบัติดีแต่ผิดเป้าหมายก็เสียแรงเสียเวลาเปล่าครับ

จบแล้วครับวันนี้ ทั้ง 5 ขั้นตอน หวังว่าเรื่องที่ผมเล่ามา
จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 95290เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่รู้ว่าดิฉันจะเชยเฉิ่มไปไหมที่จะถามว่า PDCA มันคืออะไรเหรอคะ

หากผมจำไม่ผิด PDCA เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างคุณภาพของสินค้า บอกถึงความสัมพันธ์ของการออกแบบ ผลิต จำหน่าย และการวิเคราะห์ตลาด เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ

•  P –Plan วางแผน

•  D- Do ปฏิบัติ

•  C-Check ตรวจสอบ

•  A-Act ดำเนินการให้เหมาะสม

PDCA เหมือนผมจะได้ใช้ตอนเรียนโทบ้าง 
ช่วงนี้ไม่ได้ใช้ก็เลยเริ่มเจือจางไปแล้ว.... 

อ่านบทความนี้แล้วได้แนวคิดดีดี  มีความหวัง
และอยากที่ตั้งใจทำงานมากกว่า
เผื่อจะเข้าตากะเค้าบ้าง (2step)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท