เรื่องของความเร่ง....


เหมือนกับเราย่างไก่ ถ้าเราเร่งไฟมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ข้างนอกไหม้แต่ข้างในดิบ สุดท้ายอยากกิน แต่กินไม่ได้เลย....

เรื่องของความเร่งนี้ไม่ใช่เรื่องของฟิสิกส์นะครับ  แต่เป็นเรื่องของธรรม(ชาติ) ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน


เรามักจะอ้างกันว่า เราต้องเร่ง เราต้องพัฒนาให้ทันความต้องการ แต่การเร่งผลิตสินค้า เกิดจากกิเลสที่ต้องการผลประโยชน์ตอบแทนส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติหรือสังคมโดยรวม
ผลก็คือ มีคนกลุ่มหนึ่งหลงตามกระแสกิเลส วิ่งตามเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยไม่จำเป็น ทำให้เกิดขยะเนื่องจากการวิ่งไล่ตามกระแสนี้


คนผลิต ก็เร่งผลิต โดยคำนึงแต่กำไร แต่ไม่เคยคิดถึงวิธีการกำจัดขยะที่เกิดขึ้น คนซื้อ ก็เร่งซื้อมาใช้ โดยไม่คำนึงว่าของที่ทิ้งไปจะเป็นขยะที่มีผลกระทบต่อสังคมทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษ ทำให้เกิดอาชีพที่ไม่น่าจะเป็นอาชีพ เช่นอาชีพเก็บขยะไปขาย ที่เป็นอาชีพที่ลำบาก และเป็นอันตรายต่อชีวิต


ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่าการ "เร่ง" ตามกิเลส ทำให้เกิดช่องว่างของชนชั้นในสังคมมากยิ่งขึ้น เพราะเรายิ่งเร่งผลิตโดยไม่จำเป็นมากเท่าใด คนก็จะต้องเร่งซื้อตามโปรโมชั่นการขาย ก็ยิ่งเร่งให้เกิดช่องว่างของชนชั้นมากยิ่งขึ้น


เหมือนกับเราย่างไก่ ถ้าเราเร่งไฟมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ข้างนอกไหม้แต่ข้างในดิบ สุดท้ายอยากกิน แต่กินไม่ได้เลย.... สังคมที่มีความเร่งก็จะเป็นเช่นเดียวกัน หรือท่านมีความคิดเห็นอย่างไร...

หมายเลขบันทึก: 94468เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ อ.ศิริศักดิ์

ดิฉันเห็นด้วยค่ะ ว่าเรา"เร่ง" หลายๆ อย่างมากเกินจำเป็น ชอบที่อาจารย์เขียนว่า เหมือนกับเราย่างไก่ ถ้าเราเร่งไฟมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ข้างนอกไหม้แต่ข้างในดิบ สุดท้ายอยากกิน แต่กินไม่ได้เลย.... สุดท้ายต้องทิ้งไก่ชิ้นนั้น ถ่านก็เปลืองไปแล้ว เวลาย่างไก่ก็เสียไปแล้ว แถมต้องหาที่ทิ้งไก่เสียอีก เห็นได้ชัดว่าสังคมขาดความพอดี ไม่มากไป ก็น้อยไป ... มีแต่ผลเสียมากกว่าผลดี

ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องย่างไก่ (เพราะเรายังจำเป็นต้องกินต้องอยู่) นั่นคือสังคมก็ต้องพัฒนา แต่เราต้องพัฒนาจิตใจ พัฒนาคนไปด้วย ดิฉันคิดว่าอย่างนั้นนะคะ เหมือนกับย่างไก่ด้วยความใจเย็น และพอดี จะทำอะไรก็ต้องละเอียดขึ้น ไม่ใช่ร้องแต่จะเอา หรืออยากได้ อยากมีอย่างเดียว หรือบอกแต่ว่าต้องการพัฒนา แต่ไม่ดูผลกระทบของการพัฒนานั้นๆ ค่ะ...

แล้วจะรออ่านบันทึกต่อค่ะอาจารย์....ขอบคุณที่ ลปรร ค่ะ

สวัสดีครับ

  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
  • ตอนนี้มีอาชีพที่ไม่น่าจะเป็นอาชีพเกิดขึ้นมากมาย
  • ทั้งสุจริตและทุจริต
  • การสร้างอาชีพ(สุจริต)น่ะผมว่าดี แต่สร้างอาชีพเพื่อปัดกวาดผลกระทบจากปัญหานี่มันจะได้ไม่คุ้มเสียนะครับ

ธรรมะสวัสดีครับ

สวัสดีครับ....
P
ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ  ผลกระทบจาก"ความเร่ง"ในสังคม"บริโภค"ยังมีอีกมากมาย น่าเป็นห่วง

ผมเห็นด้วยกับความช้านะครับ

          มีคนพูดว่า "หากเราเร่งรีบเดินทางเกินไปเราก็จะไม่เห็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และเสียคุณค่าแห่งทุกสิ่งไปอย่งน่าเสียดาย"

สวัสดีครับ.... อ.กมลวัลย์ mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง เกิดเหตุขัดข้องเล็กน้อยเลยขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพร้อมกันทั้งสองคนนะครับ ในสังคมปัจจุบัน คนที่ขาดปัญญา(ทางธรรม)มีเป็นจำนวนมากจนเป็นคนส่วนใหญ่ก็ว่าได้ คนเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสสังคมบริโภคขึ้นมา สังคมไม่รู้หรอกว่าสินค้าที่เกิดจาก"ความเร่ง"(ไก่ย่างไหม้ๆ สุกๆ ดิบๆ)มีอันตรายต่อการบริโภคแค่ไหน ลองคิดดูว่า สังคมจะมีอนาคตอย่างไรเมื่อบริโภคสินค้าเหล่านี้ น่าเป็นห่วงจริงๆ

สวัสดีค่ะ P อ.ศิริศักดิ์

มาชวนอาจารย์ไปอ่านเรื่อง "ทำไมถึงมาเรียนวิศวกรรมโยธา?" อยากรู้ว่าที่เครื่องกลเป็นเหมือนกันไหมคะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ผมไปอ่านเรื่องของอาจารย์แล้วครับ....เห็นด้วยทุกอย่าง....รู้สึกเป็นห่วงอนาคตของชาติจริงๆ

สวัสดีครับอาจารย์ศิริศักดิ์

แหม...ช่างคิดตรงกันเลยครับ

ผมเคยตั้งประเด็นกับตัวเองว่าประเทศเราเร่งการพัฒนามากเกินไปในบางด้าน  แต่ไม่พัฒนาเลยในบางด้าน มันก็เลยเกิดปัญหา

ขับชี่รถยนต์ รถมิเตอร์ไซด์เร็วเกินไปก็อันตราย อุบัติเหตุ เฉพาะสงกรานต์ ปีใหม่ก็มากกว่าสงครามบางแห่งอีก (อาจบวกความเมาเข้าไปด้วย..) การเร่งอาจจะเสียมากกว่าได้ อย่างน้อยเรื่องรถยนต์ก็คือสิ้นเปลืองน้ำมัน แล้วยังมีผลลูกโซ่ไปถึง โลกร้อน อีกด้วย...

เราพัฒนาด้านธุรกิจมาก แต่เราไม่พัฒนาคน  จิตใจอย่างที่อาจารย์กมลวัลย์และท่านอื่นๆกล่าว สังคมเราจึงเป็นไก่ย่างอย่างอาจารย์กล่าว

ในศาสนาตริสต์ มีคำกล่าวว่า "พัฒนาทั้งครบ" ในคำไทยไทย กล่าวกันว่า "พัฒนาแบบองค์รวม" อย่างคุ้นเคยกันมากก็คือ บูรณาการ  แต่ไปไม่ถึงไหน

ผมตั้งคำถามนี้กับตัวเองว่า เพราะระบบเสรีประชาธิปไตย หรือเปล่า (มองแบบวิชาการนะครับไม่ใช่มองแบบการเมือง) ที่เปิดโอกาสอิสระเสรีให้ใครก็ได้ทำอะไรก็ได้ที่ไม่ผิดกฏหมายในเรื่องการค้าขายสามารถทำได้ 

เมื่ออุดมการณ์การค้าอยู่ที่กำไรสูงสุด จึงระดมความรู้ที่ทันวมัยที่สุดลงมาสร้างนวัตกรรมเพื่อกำไรสูงสุด โดยไม่ได้คำนึงคลื่นน้ำที่กระเพื่อมจะไปกระทบอะไรบ้าง

เช่นไปกระทบการหล่อหลอมจิตใจคนให้หลงไหลอย่างที่อาจารย์กล่าวมา แล้วก็เกินเลยความพอดี เพราะวิ่งตามสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมากเกินไป  แล้วปรากฏการณ์นี้มันแพร่ขยายออกไปในทุกหัวระแหงที่มี ทีวี วิทยุ มือถือ วีดีโอ

ยิ่งชุมชนชนบทที่ตั้งตัวไม่ติดต่อกระแสนี้ จึงวิ่งตามทั้งๆที่ตัวเองก็เดินกระเพลกๆอยู่(ยากจน)

เอ...เราจะไปเหยีบเบรคตรงไหนดีหนอ...

สวัสดีครับคุณบางทราย

ผมเห็นด้วยกับประเด็นสาเหตุจาก"ระบบเสรีประชาธิปไตย"ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ร่ำรวยกว่า ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า และผู้ที่ฉลาดกว่า(แต่ขาดธรรมในหัวใจ)เอารัดเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่า  แล้วคนพวกนี้สอนยาก เพราะเขากลัวว่า"เชื่อธรรมมากเท่าไรก็จะเสียผลประโยชน์มากเพียงนั้น"

สิ่งที่เป็นไปได้ง่ายกว่าในทางปฏิบัติ คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สังคม(ของผู้ด้อยกว่า)อย่างที่คุณบางทรายทำอยู่

สินค้าเกือบทุกประเภทในปัจจุบันที่ไม่ใช่ปัจจัย ๔ ส่วนใหญ่จะออกแบบมาเพื่อตอบสนองกิเลสคนโดยตรง เปรียบเสมือน"ยาเสพติด"  ความจริงเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทั่วโลก  และผู้นำของทุกประเทศก็พยายามหามาตรการแก้ไขอยู่ อย่างเช่นประเทศจีนได้ออกมาตรเพื่อบำบัด"เด็กติดเกมคอมพิวเตอร์" ปัญหาหลายๆอย่างในบ้านเราก็มีความพยามยามที่จะแก้ไขอช่นเดียวกัน

ผมไม่เข้าใจอยู่อย่างหนึ่ง คนจนบ้านเรามัวเมาเสพย์"หวยใต้ดิน"อย่างหัวปักหัวปำ  แต่รัฐกลับจะออก"หวยบนดิน"เพื่อแก้ปัญหา

คงต้องเกณฑ์"เท้าทุกเท้า"ของชาวบล็อกมาช่วยกันเหยียบเบรกแหละครับ ยังไม่มั่นใจว่าจะช่วยชลอความเร่งนี้ได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท