ภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ไม่ได้คุณภาพ


ท่านทราบหรือไม่ ว่าภาพนี้ผิดพลาดจากสาเหตุใด?

artifact screen

วันนี้มีภาพถ่ายเอกซเรย์ ที่ไม่ได้คุณภาพ มานำเสนอให้ผู้ที่สนใจศึกษา

สำหรับประชาชนทั่วไป ดูข้อ 1 ก่อน / หากสนใจต่อดู ข้อ 2 และ 3

สำหรับรังสีเทคนิค ดูทั้ง 3 ข้อ

1.ท่านทราบหรือไม่ว่าเป็นภาพถ่ายส่วนใดของร่างกาย?

2.ภาพนี้ไม่ได้คุณภาพ เพราะอะไร?

3.สาเหตุของความผิดพลาดเกิดจากอะไร?

เฉลย (ลากแถบ Cursor ตามข้อที่เฉลยครับ)

1.ภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก

2.ภาพปอดด้านขวา ผิดปกติจากความเป็นจริง

3.เป็นความผิดพลาดจากการใส่ฟิล์มเข้าไปในตลับใส่ฟิล์ม(Cassette) คือ ใส่ฟิล์มเอียง ไม่ตรงตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้ฟิล์มพับอยู่ในตลับใส่ เมื่อนำไปตลับใส่ฟิล์มไปใช้ในการถ่ายภาพ ทำให้ภาพที่ปรากฏเส้นสีดำ แสดงบริเวณที่ฟิล์มพับที่ปอดข้างขวามีการซ้อนทับกัน ทำให้มีความเปรียบต่าง(Contrast)ที่ไม่เท่ากัน  เนื่องจากการเรืองแสงของสารเรืองแสง(Intensifing Screen)ในตลับใส่ฟิล์มที่มีต่อฟิล์ม

4. ความผิดพลาดเกิดจากบุคลากรโดยตรงนี้มาจากตัวบุคลากรโดยตรง

การแก้ไข

1.ไม่ควรทำงานอย่างรีบร้อนเกินไป ขณะใส่ฟิล์มเข้าในตลับใส่ฟิล์ม

2.ควรตรวจดูว่าฟิล์มถูกบรรจุ อยู่ในตลับตรงตำแหน่งหรือไม่ ก่อนปิดตลับใส่ฟิล์ม ก่อนจะนำไปใช้งาน สามารถทำได้โดยการใช้นิ้วมือ สัมผัสที่มุมใดมุมหนึ่งของฟิล์ม แล้วใช้นิ้วดันให้ฟิล์มเลื่อนขึ้น-ลง หรือไปทางซ้าย-ขวา เล็กน้อย

ข้อคิด

ปฏิบัติงานให้ช้าสักนิด ถ้าไม่คิดจะต้องถ่ายภาพซ้ำ

ช้า แต่ชัวส์

 

หมายเลขบันทึก: 94426เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2007 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
จริญญา เต็งชัยภูมิ

ชอบค่ะ อยากให้มีมาฝากเรื่อยๆนะคะ จะได้มีความรอบคอบในการทำงานมากขึ้นค่ะ ตอนที่หนูไปสัมภาษณ์งานเค้าจะเน้นถามเรื่องนี้มากค่ะ  เพราะคนส่วนใหญ่จะคิดว่าเอกซเรย์ปอดเป็นเรื่องง่าย ใครก็ถ่ายได้ และก็ถามว่า "ทำไมในรพ.ต้องมีรังสีเทคนิค เราให้เด็ก ม6 มาถ่ายเอกซเรย์ปอดได้ไม๊(ถ้าเค้าถ่ายได้)?" 

ตอนนี้มีใบประกอบโรคศิลปะ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องคงต้องตระหนักถึงข้อกฎหมายมากขึ้น

ส่วนรังสีเทคนิคเอง ก็ต้องใช้ตระหนักและใช้วิชาความรู้ ความสามารถ ทักษะ การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยที่ดีมากขึ้นครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท