เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (15.4)


บรรยากาศในโรงพยาบาลเงียบสงบมาก ไม่ค่อยมีคนไข้ เพราะไม่มีแผนกผู้ป่วยนอก ไม่มีห้องคลอด หากมีคลอดจะส่งไปที่โรงพยาบาลแทมเวอร์ธเพื่อให้สูติแพทย์ดูแล

          โรงพยาบาลบาราบ้า (Barraba) เป็น Community Hospital & MPS เป็นโรงพยาบาลขนาด 22 เตียง เป็นโรคเฉียบพลัน 6 เตียง (แพทย์ที่อยู่เขาเรียกว่าเป็นโรงพยาบาลขนาด 6 เตียง) และการดูแลโรคเรื้อรังแบบNursing home จำนวน 22 เตียง ชื่อเป็นทางการเรียกว่า Barraba Health Services   เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ทำให้มีส่วนบริการต่างๆเพิ่มมากขึ้นเพราะได้เงินบริจาคจากคนในพื้นที่ 3 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย อาคารบริการเป็นชั้นเดียวแต่มีแผนกต่างๆครบครันทั้งหอผู้ป่วยที่เป็นแบบห้องรวมสองเตียง ห้องฉุกเฉินกว้างขวางติดต่อกับห้องผ่าตัดเล็กและรังสีวิทยาแต่แทบไม่มีคนไข้ฉุกเฉินมาเลย  มีแผนกต้อนรับและเวชระเบียน ห้องพักแพทย์เวร ห้องพักเจ้าหน้าที่ จิตวิทยา ห้องสมาธิ  โรงครัว โรงอาหาร มีแผนกทันตกรรมเป็นห้องเล็กๆมีเตียงทำฟันเตียงเดียวแต่ไม่มีทันตแพทย์เพราะมีความขาดแคลนอย่างมากในออสเตรเลีย มีทันตาภิบาลเป็นผู้ทำงานหากมีภาวะแทรกซ้อนหรือยากๆจะมีการปรึกษาทันตแทย์เป็นรายไป  ส่วนที่เป็นNursing care จะมีห้องนั่งเล่น นั่งพักผ่อนของผู้ป่วย มีกายภาพบำบัด มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ผมสะดุดตาที่หนึ่งคือห้องเก็บผ้าถูพื้นจะแยกเป็นสีเพื่อแยกพื้นที่ติดเชื้อกับไม่ติดเชื้อ ไม่ให้ปะปนกัน

           โรงพยาบาลนี้ก็ได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานระบบบริการสุขภาพออสเตรเลีย มีอายุใบรับรอง 4 ปี อีกอย่างที่เห็นในโรงพยาบาลนี้ก็คล้ายที่แทมเวอร์ธคือมีรูปโรงพยาบาลและรูปบุคคลของโรงพยาบาลหรือผู้บริจาคติดผนังทางเดินโรงพยาบาล มีบอร์ดแสดงผู้บริหารและทีมงาน ผู้ที่นำเราเดินชมโรงพยาบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการพยาบาล (Director of Nursing) ชื่อคุณ Kay Wright ซึ่งบริหารโรงพยาบาลทั้งที่มะนิลลาและบาราบ้า บรรยากาศในโรงพยาบาลเงียบสงบมาก ไม่ค่อยมีคนไข้ เพราะไม่มีแผนกผู้ป่วยนอก ไม่มีห้องคลอด หากมีคลอดจะส่งไปที่โรงพยาบาลแทมเวอร์ธเพื่อให้สูติแพทย์ดูแล โรงพยาบาลนี้รับผิดชอบประชากรทั้งเมือง 1,600 คน มีแพทย์สองคนที่ตรวจรักษาคนไข้ทั้งในโรงพยาบาลและในคลินิก เป็นสามีภรรยากันคือหมอDeepal กับหมอ Sanjeevani Gunasegera ซึ่งจะดูแลผู้ป่วยในที่เป็นAcute care จำนวน 6 เดือน ส่วนChronic care อีก 16 เตียงจะดูเดือนละ 1 ครั้ง

        ตอนเดินดูงานที่นี่อาจารย์ประวิทย์ได้อ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเคล็ดลับการลดความเครียดแล้วก็ได้จดมา ผมก็เลยถือโอกาสมานำเสนอไปด้วยเลย โดย10 เคล็ดลับสู่การลดความเครียด(10 Tips to Stress Less) ประกอบด้วย

  1. Give someone you love a living ทำให้คนที่คุณรักมีชีวิตชีวา
  2. Play a sport เล่นกีฬา
  3. Go for a walk with friend เดินเล่นกับเพื่อน
  4. Share a joke เล่าเรื่องตลกขบจันให้กันฟัง
  5. Forgiveให้อภัย
  6. Keep in touch with loved one สัมผัสใกล้ชิดคนที่คุณรัก
  7. Read a book อ่านหนังสือ
  8. Mix with new, like-minded people พบปะสร้างสัมพันธ์กับคนกลุ่มใหม่ๆ
  9. Have a time to youthly ทำตัวเป็นเด็กบ้าง
  10. Turn off the TV ปิดทีวี

 

            ดังนั้นโรงพยาบาลจึงบริหารจัดการโดยผู้อำนวยการด้านการพยาบาล แพทย์จะดูเรื่องบริการทางการแพทย์เท่านั้นและใช้เวลาส่วนใหญ่ดูแลคนไข้ในคลินิก จึงสมกับเรียกว่า โรงพยาบาล เพราะมีพยาบาลเป็นหลัก แพทย์ไม่ค่อยมี มีมาบางเวลา ซึ่งในเมืองไทยแพทย์เป็นผู้บริหารหลัก แต่อย่างไรก็ตามต้องย้อนไปดูถึงความเป็นมา ธรรมเนียมต่างๆด้วย โรงพยาบาลของออสเตรเลียมาจากสถานที่ดูแลคนไข้ของกลุ่มแม่ชีแล้วก็พัฒนามาเป็นพยาบาลและโรงพยาบาล แล้วจึงมีแพทย์เข้าไปช่วยดูแลเป็นครั้งคราว ส่วนของเมืองไทยเราเริ่มต้นด้วยการมีแพทย์ไปอยู่ที่ศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท ที่มีแพทย์อยู่ก่อนทำเกือบทุกอย่างแล้วกระทรวงสาธารณสุขก็ผลิตพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่กลุ่มอื่นๆไปสนับสนุนเพิ่มเติมให้ แพทย์จึงมีความโดดเด่นในโรงพยาบาลมาก่อน เป็นผู้นำทีมและก็กลายมาเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลด้วย การดูงานเพื่อนำเอาความรู้หรือการปฏิบัติใดๆไปใช้จึงจำเป็นต้องดูบริบทหรือContext ประกอบด้วย จึงจะเห็นภาพต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น
หมายเลขบันทึก: 9415เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2005 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท