การปฏิบัติเมื่อจะช่วยเหลือคนตาบอด


แอบจดจำและได้นำมาบันทึกไว้ ว่าเราควรจะปฏิบัติต่อคนตาบอดอย่างไร หากต้องการให้ความช่วยเหลือ ในบางเรื่องผมก็พูดคุยเอาบ้าง จากน้องที่เป็นเลขาฯ นายกสมาคมคนตาบอด จว.พัทลุง ในฐานะประธานฯ สาขาภาคใต้ตอนล่าง (ลุงช่วง เรืองจันทร์)

     ผมเห็นน้องที่เป็นเลขาฯ นายกสมาคมคนตาบอด จว.พัทลุง ในฐานะประธานฯ สาขาภาคใต้ตอนล่าง (ลุงช่วง เรืองจันทร์) ปฏิบัติต่อลงช่วงฯ ก็แอบจดจำและได้นำมาบันทึกไว้ ว่าเราควรจะปฏิบัติต่อคนตาบอดอย่างไร หากต้องการให้ความช่วยเหลือ ในบางเรื่องผมก็พูดคุยเอาบ้าง จากการที่ได้พบเจอกัน 2 ครั้ง ด้วยผมถือว่าน่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีได้ เพราะน้องเขาเรียนรู้มา และได้ปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ

     1. พูดด้วยน้ำเสียงปกติอย่าให้ดังเกินไป เพราะเพียงตาบอดแต่หูยังปกติดี

     2. เวลาจะเดิน ผู้ช่วยก็จะยื่นแขนไปให้จับ และเดินท่างกันประมาณ 1 ศอก ไม่ติดกันมาก และไม่ห่างกันเกินไป

     3. บอกตำแหน่งที่จะนั่ง ลักษณะของที่นั่งตามแต่เหตุการณ์

     4. เวลาจะแนะนำคนหลายคน ก็จะบอกตำแหน่งทางซ้าย ขวา คนที่เท่าไหร่ ชื่ออะไร

     5. ไม่ควรพูดคำว่า “ดู” หรือ “ชม” เน้นเกินควร เพราะจะทำให้คนพิการรู้สึกสะดุดได้ โดยเฉพาะรายใหม่ ที่เพิ่งจะพิการทางการมองเห็น ส่วนคำว่าพิการ หรือ ตาบอด พูดถึงได้ตามปกติ แต่คนเหล่านี้เขาก็อยากสนทนาเรื่องทั่ว ๆ ไปเช่นคนปกติ เรื่องความพิการนั้นบางทีก็น่าเบื่อและซ้ำซาก โดยเฉพาะอย่าชมว่าคนพิการทำอะไรได้อย่างวิเศษ เพราะจริง ๆ แล้วจะรู้สึกสดุดหูเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 9301เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2005 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท