3. ประวัติศาสตร์ชุมชนญี่ปุ่นเข้มแข็ง (หัวใจท้องถิ่น : เจ้าเอื๊อกมาเมืองไทย)


ทุกคนมีสำนึกความเป็นชุมชนที่จะร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น

เพื่อเป็นการปูพื้นให้คนไทยได้เข้าใจเรื่องชุมชนและการท่องเที่ยวชุมชนของญี่ปุ่นอาจารย์ดวงใจ หล่อธนวณิชย์ ได้กรุณาบรรยายเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว: มุมมองจากญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ให้ฟังอย่างละเอียด เลขาฯสรุปได้ย่อๆว่า ชุมชนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่มายาวนาน ถึงแม้นโยบายการพัฒนาจากส่วนกลางจะมีการใช้ระบบทุนนิยม พยายามเข้าครอบงำบ้าง แต่ก็ไม่คิดทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้แทบทุกชุมชนมีบันทึกประวัติศาสตร์อย่างละเอียดมาก คอยช่วยในการฟื้นฟู หรือสร้างสิ่งที่สูญหายไปแล้วขึ้นมาใหม่

อย่างไรก็ตามการจัดการทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นก็ได้ใช้วิธีการลองผิดลองถูกมาเป็นเวลานาน และชุมชนที่ประสบผลสำเร็จก็มีจำนวนเพียงไม่มาก ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ จะมีเงื่อนไขต่างๆ คือ เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง ถือเป็นชาวบ้านคนหนึ่ง ทุกคนมีสำนึกความเป็นชุมชนที่จะร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และปรับตัว องค์กรท้องถิ่นมีความสามารถในการต่อรองกับส่วนกลางได้ นอกจากนั้นชุมชนยังมีนักวิชาการจากภายนอกเข้ามาช่วย เมื่อต้องการการสนับสนุนจากภายนอก คนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็จะเสนอโครงการกับหน่วยงานขึ้นไปเป็นทอดๆ โครงการจึงเกิดขึ้นมาจากชุมชนอย่างแท้จริง การจัดการทุกอย่างอยู่ในมือของชุมชนทั้งหมด (อ่านรายละเอียดได้ ที่นี่)

หมายเลขบันทึก: 92886เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท