มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (10): VOICE DIALOGUE


VOICE DIALOGUE

มีบางคนที่มาคราวนี้ได้ทำ voice dialogue ไปครั้งหนึ่งที่บ้านพี่แอะ (monthly mini-dialogue ของชุมชนจิตไร้สำนึก หาดใหญ่) แต่กระนั้นก็ตาม แม้แต่ตัวผมเองก็รู้สึกว่าน่าจะมีความแตกต่าง ครั้งแรกที่ทำคือที่อิงดอย โดย Yoda himself เป็นกระบวนกร ครั้งที่สองผมถอดมาทำที่บ้านพี่แอะ แค่สองวงๆละ 6 คน ครั้งที่สามผมไปทำงานปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนปีที่หนึ่งที่หาดแก้ว (45 คน) แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้ทำ (หรือร่วมทำ) หลังจากได้อ่าน Embracing OurSelves ของคนคิด คือ Dr Hal & Sidra Stone และคู่มือ Voice Dialogue Facilitator ของ Miriam Dyak หนังสือของ Dr Stones ทั้งสองทำให้เติมคำในช่องว่างและก่อให้เกิด "ประเด็น" ในใจขึ้นหลายประเด็น และประสบการณ์ของ Miriam Dyak ก็เพิ่มแง่มุมของกระบวนกรมาไม่น้อย

ผมกำลังนึกว่าจะเขียนอย่างไรดี จึงจะไม่ซ้ำกับที่เขียนไปแล้วสองครั้ง ต่างกรรม ต่างวาระ เอาเป้นอย่างนี้ดีกว่า หลังการทำ voice dialogue ครั้งนี้ที่สวนสัตว์สงขลา ใน session กลางคืน เราได้ทำ workshop สีทุ่มสแควร์ และผมถูกเชิญขึ้นไปในฐานะผู้ชายคนเดียว (ของผู้เข้าร่วม ไม่นับกระบวนกรคือ อ.มนตรี) คิดว่ามีอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ผม "ถอด" ออกมาตอนนั้น จะเอามา share ณ ที่นี้

ประการแรก Voice dialogue น่าจะนำด้วยกิจกรรมผู้นำสี่ทิศ (หรือ คิดๆดูอีกที กิจกรรมอะไรก็ได้ ที่มีส่วนแสดง "นัย" ของ subpersonalities หรือ hidden self หรือ ดีกว่านั้น "demonic energies")

ประการที่สอง Voice dialogue น่าจะทำหลังจากผู้เข้าร่วมมี "ประสบการณ์" สุนทรียสนทนามาบ้างแล้ว เพื่อจะ "ลดคม" ของการเสียดสีที่อาจจะเกิดขึ้น ผมเขียนรายละเอียดเรื่อง When not to do Voice Dialogue ไว้ในอีก blog หนึ่ง มีรายละเอียดที่ guru กระบวนกรเพิ่มเติม (ตาม link)

 When "not" to do Voice Dialogue

ในทางการแพทย์สำหรับเรื่องหัตถการต่างๆนั้น มีคนพูดเสมอว่า "ข้อห้าม หรือข้อพึงระวัง" นั้นสำคัญกว่า "ข้อบ่งชี้" เสียอีก ดังที่ Hippocrates บิดาแห่ง modern medicine กล่าวไว้ว่า "primum, non nocere" หรือ "First, Do No Harm" น้นเอง

บางครั้งเราก็รู้สึกกระตือรือร้นอยากจะช่วย อยากจะทำ มากกว่านิ่งเฉย จนกว่าเป็น over-enthusiastic ไป ศัลยแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านจึงได้กล่าวเตือนน้องๆว่า "To know when not to do is sometimes a good indicator you are a great surgeon" มนุษยเรานั้นมี healing mechanism ที่มหัศจรรย์ในตนเองอยู่ แต่กิจกรรมที่เราหยอดใส่ลงไปเป็น aritificial นั้น more or less มีผลข้างเคียงเสมอที่เราพึงชั่งน้ำหนัก

ในหนังสือของ Miriam Dyak's The Voice Dialogue Facilitator's Handbook p.47-48 ได้เขียนคำเตือนไว้ ในกรณีที่เราอาจจะเผลอใช้ voice dialogue ไปในบางสถานการณ์ที่อาจจะเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี (หรือไม่เกิดผลดีเลย) ไว้ดังนี้
  • ถ้าคนรับไม่พร้อมจะรับ สำคัญมาก เพราะ concept ที่ว่ามี awareness, มี self, มี Aware Ego เริ่มต้นแบบนี้สำหรับบางคนก็รับไม่ได้เลย อย่าฝืน
  • ถ้า primary selves หรือ self ไม่ยอมรับการมีอยู่ของ self ที่เหลือ พูดง่ายๆแบบของเราก็คือ ยังไงๆก็ไม่ยอมเก็บไพ่ที่ทิ้งไปคืนแน่นอน ฉันฉีก เผา ฝัง ไปหมดแล้ว ยังไงๆก็จะไม่ยอมเอา disowned cards เหล่านี้มาใช้อีก
  • ถ้าคนๆนี้ไม่มี operating ego เช่นในผป. multiple personality ที่ทุกๆ personality takes over ร่างกายหมดเป็นช่วงๆ เหมือนในภาพยนต์เรื่อง Identity ที่มีหลาย personalities ฆ่ากันไป ฆ่ากันมา ตลอดเรื่อง
  • ถ้าคนๆนั้นอยู่ในสภาวะโกรธ เกลียด เศร้า เสียใจอย่างรุนแรง ในตอนที่คนอยู่ใน vulnerable state แบบนั้น เป็นสภาวะที่ insecure และผลสรุปมักจะเพือ serve primary self ก่อน เพราะselves ทั้งหมดกำลังจะกระจัดกระจาย ต้อง empower primary self จะเป็นความสำคัญต้นๆ
  • คนไข้จิตเวช severe depression หรือ psychosis การทำ voice dialogue อาศัยความร่วมมือของคนเอง และสุขภาพที่ดีพอสมควร เป็นพื้นฐานเบื้อนต้นที่สำคัญ

Enjoy your facilitator class and your exploration of LIFE!!

ประการที่สาม คนทำควรจะ "เชื่อ และ ปฏิบัติ" ทำ voice dialogue กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะกระบวนกร ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์ ก็ไม่ได้แปลว่าจะพัฒนา Aware Ego ได้ร้อยเปอร์เซนต์ และยังมีโอกาสที่ตกเป็นเหยื่อของ pusher, controller, perfectionist, etc ของตนเองได้เหมือนกัน การทำ voice dialogue ให้ผู้อื่นนั้น เราก็ควรจะ exercise Aware Ego ไว้ตลอดเวลา

ในกระบวนการ voice dialogue นั้น วิธีก็เหมือนกับที่เคยบรรยายไปแล้วครั้งหนึ่ง ในกระทู้ อ่าน เขียน แปล กระบวนทัศน์ใหม่ แต่ผมขอเพิ่มเติม ข้อสังเกต ดังนี้

  • มีบุคลิกบาง traits ที่เราไม่สามารถจะหา แง่บวก ได้เลย เช่น ความอำมหิตของผู้ก่อการร้าย การโกงของนักการเมือง เป็นต้น ซึ่งถ้าเราเอาใส่ไว้ใน column 2 แล้วพยายามจะมองให้ได้ว่ามันดีอย่างไร ก็จะเจอตอ ที่ไปไหนต่อไม่ได้ ตรงนี้อาจารย์น้องเสนอวิธีแก้ไขที่แยบคาย ก็คือ การหา energy ที่เป็น "กลาง" ไม่ต้องถึงกับบวก แต่เป็น energy กลางที่เป็นตัวให้พลังของ demonic trait นั้นๆแทน จากตัวอย่างที่ยกมา เช่น "ความอำมหิต" ก็คือ "ความรุนแรง ใช้กำลัง" ซึ่งเป็นคำกลางๆ หรือ "การโกง" ก็คือ "จินตนาการ" แต่เป็นจินตนาการใน mode ปกป้อง  ที่ผลักดันด้วย subpersonality บางอย่าง เช่น ความกัลว insecure หรือแม้กระทั้ง aggressiveness ที่เก็บกดไว้
  • Voice Dialogue ถูก designed มาเพื่อ "ช่วยตนเอง" เพื่อช่วย embrace ourselves ดังนั้น เราจะ focus ที่นำมาใช้พัฒนาตนเอง มากกว่าทุ่มเทพลังงานไป make sense กับ demonic energies ของคนอื่นๆ
  • บุคลิกที่เราทิ้งไป หรือ disowned ไปนั้น มีทั้งบวกและลบ ประเด็นนี้ไม่ได้ถูก addressed ชดเจนในวิธีที่เราใช้กัน เพราะเราจะ identify แต่บุคลิกที่ทำให้เรา "จี๊ด๊" แต่เราพบว่าสิ่งที่เรา disown ไปนั้น มีทั้งที่ไม่ดี และมีทั้งที่ "ดีเกินไป" เช่น เราถูก "ฝัง" ความประทับใจตั้งแต่เด็กๆว่า "หน้าอย่างเราคงจะพูดหน้าชั้นไม่ได้ คิดค้นอะไรใหม่ๆไม่ได้ เก่งไม่ได้ ฉลาดมากๆไม่ได้ ฯลฯ และเราจะได้แต่ worship คนที่ทำได้ เช่น ดารา นักแสดง นักวิทยาศาสตร์ ในขณะที่การค้นพบ disowned self ที่เป็นลบ อาจจะทำให้เราเพิ่มพลังงานบางอย่างขึ้นมา การค้นพบ disowned self ด้านบวกมากๆ ก็จะเสริมความทะเยอทยาน ก้าวไปข้างหน้าได้อีกด้วย
  • ในขณะที่คำแนะนำโดยทั่วไปของการทำ voice dialogue ก็คือ เราอย่าพยายามใช้วิธีนี้ทดแทนวิธี therapy อื่นๆที่จำเป็น เช่น กับ psychopath หรือ คนที่ twisted มากๆ กระบวนกรอาจจะถูกแนะนำให้ทำในกรณีคนธรรมดา หรือบุคลิกอะไรที่เป็นของคนใกล้ชิด ที่เราจี๊ด แต่ไม่ถึงกับโกรธ อาฆาต อะไรมากเกินไป ผมมีความเห็นว่า ถ้าเรานำมา apply ใช้กับอาชีพแพทย์/พยาบาล และไม่ได้ใช้เพื่อ embracing self ของเรา แต่เป็นการ embracing คนอื่น ได้แก่ คนไข้ นั้น เราอาจจะต้องยอมทุ่มเทพิจารณาหาความดี หาข้อ acceptable ของคนไข้แม้ว่าจะดูแย่มากๆ สุดท้ายอาจจะต้องถึงขนาดยอมใช้ "ไพ่วิเศษ" ก็คือ "ความเป็นมนุษย์" ของเขาเท่านั้น ที่เป็นเครื่องยก self และเราสามารถที่จะ embrace ได้อย่างเต็มที่ มิฉะนั้น self ของเราก็จะถูกสั่นคลอน จน professionalism ของเราเสียไปก็ได้
หมายเลขบันทึก: 92716เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • อาจารย์หมอครับ ผมสนใจเรื่องนี้ มีเอกสารเต็มๆเรื่องนี้หรือไม่ครับ ผมจะหาได้ที่ไหนครับกรุณาแนะนำด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เอกสารเต็มๆก็แนะนำให้ซื้อหนังสือ Embracing OurSelves ของ Dr Hal & Sidra Stone ครับ เป็นต้นกำเนิดวิ voice dialogue และเขียนไว้ค่อนข้างละเอียด ถ้าติดใจก้ search Amazon หาหนังสือของทั้งสอง Drs ใน series นี้ได้อีกสามสี่เล่ม คงจะพอ whet appetite ได้ครับ

  • Embracing Your Inner Critic: Turning Self-Criticism into a Creative Asset by Hal Stone
  • Partnering: A New Kind of Relationship (Gawain, Shakti) by Hal Stone
  • Embracing Each Other: How to Make All Your Relationships Work for You by Hal Stone
  • The Shadow King: The Invisible Force That Holds Women Back by Sidra Stone
  • The Voice Dialogue Facilitator's Handbook, Part I: A Step By Step Guide To Working With The Aware Ego by Miriam Dyak
  • เนื้อหาและหนังสือที่แนะนำหน้าสนใจมากเลยค่ะ

    • ขอบคุณมากค่ะ

    สวัสดีครับอาจารย์หมอ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบายคำว่า "primum, non nocere" หรือ "First, Do No Harm" ให้ผมฟังหน่อยครับ ผมจะเอาไปเขียนเป็นบมความอธิบายให้คนธรรมดา และอาสาสมัครกู้ชีพ กู้ภัยเข้าใจกันครับ

    เป็นหนึ่งในสี่หลักทางจริยธรรม อันมี principle of autonomy (หลักสิทธิส่วนบุคคล) principle of non-maleficence (หลักแห่งการไม่ทำร้าย) principle of beneficence (หลักแห่งประโยชน์) และ principle of justice (หลักแห่งความยุติธรรม)

    First,do no harm คือหลักแห่งการไม่ทำร้าย ไม่กระทำการใดๆที่จะก่อมห้เกิดความทุกข์ต่อผู้คน

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท