ประสบการณ์ อ่าน เขียน แปล กระบวนทัศน์ใหม่ (13)


คืนสุดท้าย Voice Dialogue หรือ Path to self-awareness

โยดาเกริ่นมาตั้งแต่วันแรกๆว่าคราวนี้จะมี "ของใหม่" มาให้ลอง นั่นคือ voice dialogue ซึ่งเราๆยังไม่เคยได้ยินมาก่อน เราก็ทานข้าวเย็ยกันด้วยจิตเบิกบาน เสียงหัวเราะดังกังวาน (จริงๆคำ "กังวาน" จะเพราะเกินไป เพราะเราหัวเรากันทีฝุ่นเพดานห้องแทบจะร่วงลงมาในจานข้าว โยดาแอบมาฟ้องว่ามีคนโต๊ะอื่นถามท่านว่า เวลาเขานั่งโต๊ะนี้ เขาหัวเราะดังแบบนี้ด้วยรึเปล่า) จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไร้พรมแดน ไร้จุดยับยั้ง ไร้ความระแวดระวังภัย ไม่มีความกลัว เป็นสนทนาระดับสามบ้าง สี่บ้าง ประจักษ์พยานคือเรื่องราวหลายๆเรื่องที่เล่ากันรวดเร็วปานสายฟ้าแลบ เราจำได้แทบจะ word by word แสดงถึง beta alpha theta เชื่อมโยงไร้ขอบเขตอยู่ชั่วขณะจิต

โยดาบอกให้สลายวงใหญ่ นั่งล้อมกระดาน flip board เพื่อที่จะเขียนอะไรให้ดู ให้พี่วิธานเป็นลิขิตกร เรื่องราวให้ โยดาเล่าว่า voice dialogue เป็นอะไรที่พัฒนามาตาม school ของ Carl Jung นักจิตวิทยาผู้ยิ่งหใญ่ในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง

ผมขออนุญาตไปค้นมาเพิ่มเติมเพื่อประกอบให้ชัดเจนขึ้น ถ้าเรา search google ด้วยคำ voice dialogue ก็จะพบว่ามี references มากมาย เป็น course ของทั้ง psychology department และของกลุ่มพัฒนาตนเอง พัฒนา self awareness 

สานุศิษย์ของ Jung สองท่านคือ Dr Hal Stone และ Sidra Stone เป้นคนคิดคนวิชานี้ หรือวิธีนี้ขึ้นมา และต่อมาก็มีโรงเรียนมากมายนำไปปฏิบัติ มีการอบรม facilitator course ที่ใช้ voice dialogue นี้ในแง่มุมต่างๆ

เนื่องจาก dollar ยังตกอยู่ ก็เลยฉวยโอกาสสั่งซื้อหนังสือมาเพิ่มอีกสองเล่ม คือ Embrace Ourselves ของ Hal & Sidra Stone และ Voice Dialogue, Facilitator handbook ของ Mirium Dyak ถ้าย่อยได้เมือไรจะมาเล่าให้ฟังอีกทีครับ

ปกติ voice dialogue โยดาจะจัดต่อเนื่องกับ 4 ทิศ (กระทิง อินทรีย์ หนู และหมี: จะไม่อธิบายแล้วกัน เก็บไว้เขียนต่ออีกเรื่อง) ซึ่งค่อนข้าง make sense เพราะ แต่ละ type นั้น มีร่องรอยของการ ทิ้งไพ่ที่ตนเองไม่ชอบไปหลายใบ เหลืออยู่ไม่กี่ใบในมือ การทำ voice dialogue ก็จะช่วยให้เรา recall ไพ่ที่ทิ้งไปและ remind ตัวเองถึง "ภาพอีกมุมหนึ่งของไพ่ที่เราถือ (บางใบขลิบทอง ฝังเพชร)

เริ่มต้นทุกคนเขียน characters หรือ traits อะไรก้ได้ ของคนอื่นที่ทำให้เรารู้สึก "จี๊ด" เวลามองเห็น หรือได้ยินเรื่องราว (จี๊ดนี่แปลว่า "ไม่ดี" นะครับ ไม่ใช่จี๊ดจ๊าดซู่ซ่า) หลังจากนั้นก็เขียนอีก column หนึ่งที่เป็น trait หรือ character ของเราที่ดีๆ เป็นเรื่องดีๆ ที่เราอาจจะภาคภูมิใจ หรือชอบตนเอง

หลังจากนั้นก็เข้ากลุ่มย่อย ช่วยกันคิดว่าในบรรดา characters หรือ traits ที่เราไม่ชอบนั้น เราพอจะช่วยกันหาเหตุผลที่ดีที่แม้แต่เราเองอาจจะยอมรับได้มาแก้ต่างให้ และทำนองเดียวกันก็กลับไปเขียนอีก column ว่า ไอ้บรรดา traits ต่างๆที่ "ยอดจะดี" ของเรานั้น ถ้าคนอื่นจะหมั่นไส้ ไม่เห็นด้วย แล้ว เขาจะคิดออกมาว่าอย่างไร

ก้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานมากครับ ตอนแก้ต่างให้ bad traits ของเรานั้น คนอื่นช่วยดูจะง่ายดายเหลือเกิน ส่วนอันสุดท้ายที่ traits เราโดนเล่นงานนั้น พอทำเป็นกลุ่มออกมาแบบนี้ ก็ช่วยสลายความรู้สึกไม่ดีลงไปได้เยอะมากทีเดียว จนกระทั่งเรามีเวลา "ห้อยแขวน" ไม่เร่งด่วนโกรธ หรือ ไปคิดว่าไอ้นี่ด่าตูอยู่นี่หว่าไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

ตอนทำทั้งสองกลุ่มท้ายนี่ ดูเหมือนเป็นการโจมตี self อยู่จางๆ แต่กลับมีเสียงหัวเราะออกมาดังๆอยู่เป็นระยะๆ ยิ่งอันสุดท้ายที่ฟังดูน่าจะ sensitive ที่สุด กลับสร้างเสียงหัวเราะได้ดังสุด (นักจิตวิทยาอาจจะอธิบายว่าเป็นการกลบเกลือนที่ self โดน attack ด้วยการ minimizing เรื่องราวลงไปซะ) หลังจากนั้น็เข้ากลุ่มใหญ่และสะท้อนกันว่าเมื่อตะกี้นี้ เห็น ได้ยิน รู้สึก และคิดยังไงบ้าง

ผมคิดว่า Voice Dialogue เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจในการเรียนการสอนวิชา empathy และ principle of autonomy ได้ดีมากๆ จนกระทั่งในชั่วโมงนั้นก็ตั้งใจแล้วว่าจะมาถ่ายทอดให้ชมรมจิตไร้สำนึกที่หาดใหญ่ฟังแน่นอน การมีคนมาช่วยสะท้อนเป็นกลไกที่ฉลาดมาก และทำให้เราสามารถเผ้า สังเกตความคิดของตนเอง ได้โดยไม่เสี่ยงต่อการกระโดดไปฆ่าใคร หรือฆ่าตนเอง เป็นการทดสอบ self value ของตนเอง เป็นการหัด empathy หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเราบ่อยๆ

โยดาอธิบายว่า characters ชุดแรกนั้นก็เสมือนไพ่ที่เราเคยถือท้งสำรับ แต่โตๆขึ้นมาก็ทิ้งไปทีละใบสองใบ เพราะอายบ้าง เพราะเขินบ้าง เพราะสังคมไม่ยอมรับ เพราะเพือนไม่ยอมรับ เพราะอาจารย์ ครอบครัวไม่ยอมรับ เพราะทำไม่เป็น เพราะเจ็บ เพราะกลัว ฯลฯ แต่พอเราได้ยินการ แก้ต่างให้ โดยกระบวนการกลุ่ม ปรากฏว่าหลายๆเหตุผลก็ sensible และเราก็สามรถรับได้ พูดคุยกับคนที่เชียร์ทีมเราได้อย่างสนิทสนม (แม้ว่าบางขณะอยากจะ kick some arses ก็ตาม)

และเมื่อ characters  เราโดนชำแหละนั้น ก็เป็นอะไรที่เกิด once in a while ก็ไม่เลว แบบฝึกหัด voice dialogue นี้น่าสนใจ และนำไปใช้ได้อย่างหลากหลายเอามากๆ การ "เฝ้าสังเกต" self ของเราถูกจิ้ม ถูกแทง ถูกวางระเบิด ต่อหน้าต่อตา โดยที่ต้อง restrain ไม่โต้ตอบ แต่ให้โอบกอดพลังการ criticism นั้นให้ได้ ให้หล่อเลี้ยงพลังต่างๆเหล่านี้ ให้ ขอหยิบยืมใช้พลังเหล่าน้ในการทำงานต่อไป

 การมี self awareness นั้น เป็นอะไรที่คุ้นเคยกับ Buddhist-on-board อย่างยิ่ง ที่จริง voice dialogue ก็เป็นหนทางหนึ่งในการพัฒนาสติ (mindfulness) การรับรู้ของตนเองที่ใตร่ตรองใคร่ครวญทุกๆด้าน นึกถึงคำของ อ.ฌานเดชขึ้นมาอีกคือ วิถีแห่งตันตระวัชรญาณ (Tibetan Buddhism) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถศึกษา Dualism ทั้งสิ้น (ไม่ทราบคำไทยมีบัญญัติไว้หรือยัง อาจจะเป็นประเภท "ทวิพิสัย" อะไทนองนี้) การที่ฝรั่งเอาเรื่องนี้มาจัดเป็น coursework ก็นับว่าทำให้เกิด intrend ขึ้นในมิติที่น่ายินดี หลายๆเรื่องที่เป็นของดีของเราอยู่แล้วยังไม่ฮิต จนกว่าจะมีภาษาอังกฤษรับรอง เช่น อริยสัจสี่ ก็คือ Problem-based learning หรือ PBL, กาลามสูตร ก็คือ evidence-based medicine หรือการแพทย์เชิงประจักษ์นั่นเอง, ส่วนที่ณัฐฬสไปเรียนที่นาโรปะ คือ contemplative education นั้น ผมได้ยินครั้งแรกสุดปุ๊บผมก็นึกถึง โพชฌงค์ 7 อันมี ธัมมะวิจัย น่าจะสะท้อน "จิตตปัญญาศึกษา" ได้ดีพอสมควร

Dualism น่าจะไปด้วยกันได้ดีกับ Voice Dialogue ธิเบตก็ไปด้วยกันได้ดีกับ Carl Jung และท่านเชอเกียมตรุงปะ ก็ทิ้งร่องรอยไว้ในโลกตะวันตกด้วยมหาวิทยาลัยนาโรปะ ส่วนพวกเราก็ได้ศึกษา "ร่องรอย" ของความเชื่อมโยงอันน่ามหัศจรรย์เหล่านี้ ด้วยความพิศวง เบิกบาน และความหวังจะตื่นรู้

 

 เมื่อคืนได้ chat กับคุณสมพล โดยไม่เคยได้พบเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน ผมว่าผมได้พิมพ์อะไรออกมาสักอย่าง รวดเดียวตอนที่คุณสมพลขอให้ยกตัวอย่างเรื่องการสนทนากับผู้ป่วยระยะสุดท้ายมา ในชั่วขณะจิตผมว่าบทความนั้นยาวไม่น้อยกว่าทุกๆบทความที่ผมเขียนมาเลยทีเดียว เป็นบทความสด ที่เก็บเกี่ยวจากคลื่น delta ผสม theta แถวๆนั้น (เข้าใจว่าเป็นเวลาเที่ยงคืน หรือ ตีหนึ่งนี่ล่ะ) พิมพ์เสร็จก็เข้านอนเลย

ยังเหลือ วาระแห่งชาติ วาระแห่ง Galactic ที่ยังไม่ออกหวย ออกก้อยว่าเราจะดำเนินไปตามครรลองคลองไหน คงจะต้องมาต่ออีก หนึ่งหรือสองฉบับล่ะทีนี้

 

หมายเลขบันทึก: 83597เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 01:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ ^_^

ขอบคุณสำหรับบทความนี้ค่ะ ถึงแม้ว่าจะอ่านแล้วยังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก็พอมองเหนภาพลางๆ จนชักอยากเข้าไปร่วมกิจกรรมกลุ่มแบบนั้นมั่งจัง

การถือไพ่ทั้งสำหรับ แล้วเมื่อเราโตขึ้น เวลาผ่านไป เราก็ทิ้งไพ่ที่เราไม่ชอบออกไป  .. เป็นการเปรียบเทียบที่เห็นภาพได้ชัด ทำให้เกิดความเข้าใจขึ้นมาเลย  จนรู้สึกทึ่ง..เจ้าของคนต้นคิดเรื่อง "การทิ้งไพ่" จังเลยค่ะ

ยิ่งอ่านบทความของอาจารย์ แล้วยิ่งรู้สึกว่า ความรู้ที่ตนเองมี เล็กจิ๋วกว่าหางอึ่งอีก.. แต่ละเรื่องคงเหนือกำลังฟันที่จะเคี้ยวเอง คงต้องขอมารับสิ่งที่อาจารย์เคี้ยวแล้วย่อยสลายแล้วเอามาเล่าให้ฟังดีกว่า.. เพราะพอรับมาทานแล้วไม่ต้องย่อยเอง ..ทานแล้วสบายท้องมากเลยค่ะ

อ่านจบจนถึง "ยังเหลือ วาระแห่งชาติ วาระแห่ง Galactic ที่ยังไม่ออกหวย ออกก้อย"  แล้วขำกิ๊ก เลยค่ะ

สรุปว่า คืนนั้น ฝันออก หวย หรือ ออกก้อย.. เอามาเล่าต่อกันบ้างนะคะ

^________^

 

ผมกำลังจะปรึกษาพี่แอะ พี่ป๊อบ พี่จุด ตอนไปสวนสัตว์สงขลาอาทิตย์หน้านี้ (ไปอบรมนะครับ ยังไม่ romantic ขนาดชวนกันไปเทียว zoo ตอน summer แบบนี้หรอก) ว่าถ้าหน่วย palliative care จะจัด voice dialogue workshop ให้บุคลากรแบบทั้งปี อาจจะเดือนละครั้งๆละ 2-3 ชม. จะมีคนสนใจ และฝ่ายการพยาบาลจะสนับสนุน (นั่นคือ release คนมาเข้าอบรมหรือไม่) เพราะคิดว่า voice dialogue นั้นสั้น ไม่ยาก แต่ตอนหลังผมถาม guru ผู้รู้ในการเป็น facilitator ก้ทราบว่าควรมีปูพื้นด้วย ชีวิตวัยเด็ก ผู้นำสี่ทิศ เสียก่อน จากสองชั่วโมงเลยจะกลายเป็นสามชั่วโมงไป

ถ้ายังไงๆโครงการนี้ผ่าน คุณจูนจะมาร่วมก็ยินดีครับ (ที่จริงระดับนี้ น่าจะเชิญมาเป็นกระบวนกรซะล่ะมากกว่านะเนี่ย)

 

"ผมกำลังจะปรึกษาพี่แอะ พี่ป๊อบ พี่จุด ตอนไปสวนสัตว์สงขลาอาทิตย์หน้านี้"

งั้นแสดงว่า ที่หัวหน้าฯ (พี่สุพัตรา) ไปอบรมกันที่สวนสัตว์ (น้องๆที่วอร์ด ขำกันใหญ่เลยค่ะ เรื่องการไปอบรมที่สวนสัตว์สงขลา แบบว่า อ่านแบบเร็วไงคะ สายตาจึงข้ามช่วงกลางๆที่บอกว่าอมรมอะไร สมองก็ไปจับใจความมาแค่ "อบรมที่สวนสัตว์")  ก็คืองานนี้หรือคะ

เสียดายจังเลย .. เพราะเท่าที่จำได้ ดูเหมือนว่ายังไม่เคยได้รับการอบรม ที่จัดโดยกลุ่ม Palliative เลยสักครั้ง (นอกจากเข้าฟังบรรยายวิชาการ ที่มีเรื่องนี้ เข้ามาเป็นหัวข้อหนึ่งในการอบรม เท่านั้น)

 

เรื่องการจัดการอบรมเรื่อง voice dialogue  น่าสนใจค่ะ  โดยส่วนตัวแล้ว สนใจและอยากเข้าร่วมมากๆ เพียงแต่ก็มีข้อเสนอแนะนิดหน่อยนะคะ

1. วอร์ดหลายวอร์ดมีปัญหาเรื่อง อัตรากำลังมาก ทำให้บุคลากรอ่อนล้า  การจัดอบรมบ่อยๆ (หมายถึงมากจำนวนครั้ง เพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้เข้ามาร่วม) อาจจะได้ประสิทธิผล ไม่คุ้มกับต้นทุน (แรงงาน ความคิด เวลา) ที่ลงทุนไป  ดังนั้นช่วงเวลาในการจัด จึงมีผลต่อประสิทธิภาพในการเข้าอบรม  จึงอยากให้จัดไปช่วงไตรมาสที่สามของปี ซึ่งมีน้อง RN ใหม่เข้ามาเป็นตัวจริง ทดแทนอัตรากำลังในวอร์ดบ้างแล้ว รุ่นพี่เวรไม่ตึงเกินไป  ได้เอาวันหยุดไปอบรม  ไม่ใช่ลงดึกแล้วไปนั่งฟังไปหลับไป หรือว่า ฟังอบรมไม่ทันจบ ก็ต้องรีบออกจากห้องเพื่อไปขึ้นเวร

2. เวลาในการอบรม ไม่อยากให้จัดแค่ 3 ชม. (ครึ่งวัน) แต่อยากจะให้ใช้เวลาทั้งวันไปเลย โดยอาจจะเอาเนื้อหาเรื่องอื่นเข้ามาเพิ่ม อาจจะจัดเป็นรุ่นๆ ทีละรุ่นก่อน  เพราะการอบรมเรื่องพวกนี้ ต้องใช้ อารมณ์ และสมาธิ เวลาครึ่งวัน จะไม่เพียงพอที่จะเหนี่ยวนำอารมณ์ในบังเกิดพลังออกมา

ก็เป็นข้อเสนอเล็กๆที่อยากจะได้น่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  ^____^

............................

 

 

2007年2月月历壁纸  1280*1024 14 - 1280x1024_2007_February_calender_gunbang_1280x1024.jpg

 ปล.. แง้ อยากไปเที่ยวสวนสัตว์

Voice Dialogue เป็น workshop ฉะนั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้เข้ารับอบรมในแต่ละครั้งแน่ๆ ถ้าจะหวังสัมฤทธิ์ผลครับ กลุ่มที่ผมว่ากำลังพอดีคือไม่เกิน 30 คน ถึงแม้ว่าบรรดาอาจารย์กระบวนกรผู้เชี่ยวชาญจะบอกว่า 60 ก็ยังพอไหว แต่ทุกคนเห็นด้วยว่ามากเกินไปจะลดประสิทธิภาพลง

เวลาอบรมเห็นด้วยว่ายิ่งนานยิ่งดี แต่คราวนี้มีอุปสรรค 2 อย่างคือ 1) คนอบรม ตอนนี้มีผมคนเดียว กำลังจะฝึกแยอีกคน ไม่ทราบพี่เต็มจะเป็นให้ด้วยไหม ถ้ามีสัก 2-3 คน ก็จะ perfect และจัดเป็นวันได้ 2) คนเข้าอบรม ผมไม่แน่ใจว่าจัดแบบไหนจึงจะ attract คนได้ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าคุณจูนสามารถส่งต่อข้อมูลความคิดเห็นขึ้นไป ก็จะช่วย เพราะให้ผม set เอง ก็จะไม่ใช่ customer-based และเห็นด้วยว่า workshop แบบนี้นั้น ต้อง "สมัครใจมาร่วม" คือมีแรงภายในเป็นหลัก ไม่ใช่ถึงเวรมาอบรมก็มา ผลที่ได้จะน้อยลงไปอย่างน่าเสียดายโดยเฉพาะเมื่อที่จำกัด

ที่จริงผมกลับคิดว่าสาเหตุที่เสนอเรื่องจัดบ่อยๆ ก็เพราะผมทราบว่าไม่สามารถจัดทีเดียววงใหญ่ได้แน่ๆ ดังนั้นหากเราสามารถกระจายๆกันไปเป็นหลายๆรอบ ใครจะเลือกเข้ารอบไหนก็จะได้ผลัดกันมา ไม่ load งาน ward ในครั้งเดียว (ซึ่งแต่ละครั้ง ผมก็จินตนาการว่ามากี่คนคงขึ้นกับจำนวนคนทำงานแน่ๆ) อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ ผมคิดเองเออเองอยู่ตอนนี้

อาจารย์ครับ ผมอยู่กรุงเทพฯ สนใจเข้าร่วม voice dialoque โดยมี ๒ วัตถุประสงค์ คือ ๑.เพื่อรู้จักตนเอง ๒.เพื่อสามารถนำวิธีการไปใช้ จะเข้าร่วมที่ไหน อย่างไรได้บ้างครับ

อ.สุรเชษฐ์ P ครับ

เท่าที่ผมทราบ ก็มีกระบวนกรจากสถาบันขวัญเมืองทำการอบรมเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ที่เชียงราย เคยได้ยินว่ามีพรรคพวกของขวัญเมืองจะทำที่กรุงเทพเหมือนกัน อาจารย์ลองติดต่อที่ อ.มนตรี ทองเพียร หรือ อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู จากที่อยู่บนนี้ดูนะครับ

ขอบคุณอาจารย์ Phoenix  P  มากครับ

ผมคลิกเข้าไปดูแล้วครับ กิจกรรมเดือนหน้าเขาจัดที่นครนายก

http://www.wongnamcha.com/index.php?option=com_content&task=view&id=50&Itemid=88888890

สวัสดีค่ะ อ.สกล

ไม่ได้พบกันเกือบปีแล้ว อ.สบายดีนะคะ ตามมาอ่าน VDW แล้วพบบันทึกของ อาจารย์ ไม่ทราบ อ.ย่อยหนังสือ 2 เล่มที่ซื้อมาหรือยังคะ ถ้ามีสรุปแล้วโปรดแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากมายค่ะ

ตอนเรียนครั้งแรก ก็รับไม่ได้กับ ช่องที่ 4 บรรยากาศไม่สนุกเหมือนที่ อ.เล่าในบันทึกนี้เลยค่ะ

เคยมีน้องที่ไปเป็น Fa Voice Dialogue เจอปฏิกิริยาอย่างแรงกับช่อง 4 นี้เหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท