Tacit Knowledge and Peer Assist


Peer Assist

            ต่างคนก็ต่างมีความรู้ ความสามารถซึ่งแตกต่างกันไปตามคุณวุฒิ วัยวุฒิ สภาพแวดล้อม หรือความสนใจของแต่ละบุคคล แต่ทุกคนก็สิทธิเท่ากันที่จะศึกษาความรู้ให้อยู่กับตนเองมากที่สุด ซึ่งหากมีความรู้แล้วก็ควรจะถ่ายทอดความรู้ให้ออกมา  มีการ Sharing ความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้ความรู้นั้นจะยิ่งได้เพิ่มขึ้น  และคนอื่นก็ได้ความรู้จากเราเพิ่มขึ้นโรงเรียนที่ดิฉันทำงานอยู่นั้นมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่แตกต่างกันตามสาขาที่สำเร็จการศึกษา จากประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล  ซึ่งในโรงเรียนดิฉันมีการจัดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ เช่น บุคลากรหมวดคอมพิวเตอร์อบรมโปรแกรมใหม่ ๆ ให้บุคลากรครูในโรงเรียน บุคลากรหมวดภาษาต่างประเทศจัดอบรมการสนทนาภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรครูในโรงเรียน ฯลฯ และนอกจากนี้มีการนิเทศการสอนภายใน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใ้ห้ครูจับคู่กับครูกันเองแล้วพลัดกันสังเกตการสอนของแต่ละคน ครั้งที่ 2 ให้ครูเลือกคณะกรรมการนิเทศที่โรงเรียนแ่ต่งตั้งไว้เป็นผู้สังเกตการสอนของครู ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการนิเทศครั้งที่ 1 หรือ 2 นั้นจุดประสงค์ของการนิเทศ เพื่อให้บอกถึงข้อบกพร่องของแต่ละคน เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียน การสอน ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเพื่อ Sharing ความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งวิธีการเหล่านี้ดิฉันคิดว่าเป็นระบบเพื่อนช่วยเพื่อน     (Peer Assist)  ผู้รู้กว่าเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น ผู้ที่ไม่รู้ก็เรียนรู้จากผู้อื่นที่มีความรู้มากกว่า ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีในองค์กรเป็นอย่างมาก  ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งดิฉันคิดว่าหากผู้บริหารแต่ละองค์กรสามารถนำเทคนิคดังกล่าวดึง Tacit Knowledge ของบุคลากรในองค์กรที่มีอยู่มากมาย  ออกมาใช้ก็ก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุดเลย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 918เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2005 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท